ID
stringlengths
9
13
Domain
stringclasses
4 values
Instruction
stringlengths
10
894
Input
stringclasses
0 values
Output
stringlengths
110
13.8k
Tags
stringlengths
7
676
Task_type
stringclasses
6 values
License
stringclasses
2 values
Legal_47611
Legal
คำพิพากษาฎีกาใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับกรณีไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ
null
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๓๓/๒๕๔๘ การฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ เมื่อลูกหนี้ไม่ได้ประกอบกิจการใดๆ แล้ว และไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ได้รับทุนหมุนเวียนมาจากสถาบันการเงินใด ลูกหนี้ไม่มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา ๙๐/๑๐ คำพิพากษาศาลฎีกา ๘๒๗๑/๒๕๕๙ การฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มี โอกาสฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินธุรกิจตามปกติต่อไปได้ ทั้งการฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะรักษากิจการที่ดำเนินอยู่แต่ประสบปัญหาให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อกิจการของ ลูกหนี้ไม่ได้ประกอบกิจการใดๆ แล้ว ทั้งได้หยุดดำเนินกิจการมาก่อนยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเป็นเวลาประมาณ ๖ ปี ขณะที่ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้คงมีเพียงเครื่องจักรในสภาพที่ไม่มีการใช้งานและไม่มีพนักงานที่จะดำเนินการ เช่นนี้การร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะรักษากิจการที่ดำเนินการอยู่ให้ดำเนินธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการนั้น หากว่าศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้วก็จะมีการเสนอแผนฟื้นฟูกิจการต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ ลงมติยอมรับแผนดังกล่าว เมื่อเจ้าหนี้รายใหญ่มีจำนวนหนี้ประมาณร้อยละ ๘๐ คัดค้าน การร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายลักษณะหนี้,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท,กฎหมายล้มละลาย-ฟื้นฟูกิจการ,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47623
Legal
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชย์ มาตราที่เกี่ยวข้องกับพินัยกรรม มีอะไรบ้าง
null
มาตรา ๑๖๔๖ บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ มาตรา ๑๖๔๗ การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้นย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม มาตรา ๑๖๔๘ พินัยกรรมนั้นต้องทำตามแบบซึ่งระบุไว้ในหมวด ๒ แห่งลักษณะนี้ มาตรา ๑๖๔๙ ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น มาตรา ๑๖๕๐ ค่าใช้จ่ายเกิดมีหนี้เป็นคุณแก่บุคคลใดในการจัดการทำศพนั้น ให้เรียกเอาได้ตามบุริมสิทธิที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๕๓ (๒) แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าการจัดการทำศพต้องชักช้าไปด้วยประการใดๆ ให้บุคคลผู้มีอำนาจตามความในมาตราก่อนกันเงินเป็นจำนวนอันสมควรจากสินทรัพย์แห่งกองมรดกเพื่อใช้ในการนี้ โดยให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องต่อศาลได้ในกรณีที่ไม่ตกลงหรือคัดค้านการกันเงินจำนวนนั้น กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม เงินค่าใช้จ่าย หรือเงินที่กันไว้อันเกี่ยวกับการจัดการทำศพนั้น ให้กันไว้ได้แต่เพียงจำนวนตามสมควรแก่ฐานะในสมาคมของผู้ตาย แต่จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียต่อสิทธิของเจ้าหนี้ของผู้ตาย มาตรา ๑๖๕๑ ภายใต้บังคับบทบัญญัติลักษณะ ๔ (๑) เมื่อตามข้อกำหนดพินัยกรรม บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์มรดกทั้งหมดของเจ้ามรดก หรือตามเศษส่วน หรือตามส่วนที่เหลือแห่งทรัพย์มรดก ซึ่งมิได้แยกไว้ต่างหากเป็นพิเศษจากกองมรดก บุคคลนั้นเรียกว่าผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป และมีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียวกับทายาทโดยธรรม (๒) เมื่อตามข้อกำหนดพินัยกรรม บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สินเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ซึ่งเจาะจงไว้โดยเฉพาะ หรือแยกไว้ต่างหากเป็นพิเศษจากกองมรดก บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ และมีสิทธิและความรับผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ มาตรา ๑๖๕๒ บุคคลผู้อยู่ในความปกครองนั้น จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนให้แก่ผู้ปกครองหรือคู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องของผู้ปกครองไม่ได้จนกว่าผู้ปกครองจะได้ทำคำแถลงการณ์ปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๗๗ และมาตราต่อๆ ไป แห่งประมวลกฎหมายนี้เสร็จสิ้นแล้ว มาตรา ๑๖๕๓ ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ ให้ใช้บทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความแห่งพินัยกรรมที่พยานนำมาแจ้งตาม ให้ถือว่าเป็นผู้เขียนพินัยกรรมตามความหมายแห่งมาตรานี้ มาตรา ๑๖๕๔ ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมนั้นให้พิจารณาแต่ในเวลาที่ทำพินัยกรรมเท่านั้น
กฎหมายมรดก-พินัยกรรม
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47624
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9683 - 9685/2558 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9683 - 9685/2558 พินัยกรรมพิพาทมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบธรรมดา หรือพินัยกรรมแบบมีพยาน เป็นหนังสือที่มีการลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรม รอยลบ ขีด ฆ่า เติมข้อความที่ช่องวัน เดือน ปี และอายุของผู้ตายมีการลงลายมือชื่อผู้ตายและลงลายมือชื่อของ ว. กับ ศ. ผู้เป็นพยานรับรองลายมือชื่อผู้ตายซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วทั้งสองคนกำกับไว้ ทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อกับพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือไว้ที่ช่องผู้ทำพินัยกรรม โดยมีลายมือชื่อของ ศ. และ ว. ที่ช่องพยานครบถ้วน แม้พินัยกรรมที่พิพาทไม่มีข้อความที่เป็นถ้อยคำระบุการเผื่อตายไว้โดยชัดแจ้ง แต่ก็มีข้อความว่า "พินัยกรรม" ที่หัวกระดาษตรงกลาง ซึ่งหมายถึงเอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย และยังมีข้อความระบุไว้ว่า "....ข้าพเจ้าขอให้ ผ. บุตรสาวเป็นผู้จัดการมรดกให้ปฏิบัติตามเจตนาของข้าพเจ้าในการแบ่งปันทรัพย์สิน... ขอทำพินัยกรรมให้แบ่งทรัพย์สินดังนี้..." กรณีจึงมีความหมายอยู่ในตัวว่าข้อกำหนดในเอกสารดังกล่าวจะมีผลต่อเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย พินัยกรรมที่พิพาทจึงเป็นไปตามแบบที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 1656 แห่ง ป.พ.พ. และมีผลบังคับตามกฎหมาย หาได้เป็นโมฆะไม่ การที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากผู้ตายให้ปลูกสร้างอาคารห้องเช่า 26 ห้อง บนที่ดินของผู้ตายเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410 อันเป็นทรัพย์สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งที่ไม่อาจได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นสิทธิเหนือพื้นดินที่ได้มานั้นยังไม่บริบูรณ์และไม่อาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อตกลงที่ผู้ตายอนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารห้องเช่าบนที่ดินดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ โจทก์จึงปราศจากสิทธิตามกฎหมายที่จะใช้ยันต่อจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 6 ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินชอบที่จะขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินตามฟ้องแย้งได้
กฎหมายมรดก-พินัยกรรม,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47625
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538 ข้อความในพินัยกรรมข้อ1ระบุว่าแม้พ.และล. จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นใน ภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวแต่พินัยกรรมข้อ2ระบุว่า"แต่พินัยกรรม นี้ให้เงื่อนไขดังนี้"การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1จึงต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ2ด้วยทั้งพินัยกรรมข้อ2ข.ระบุว่าหาก พ.ตายก่อน ล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมดแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำ พินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรมข้อ 2 เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วยมิฉะนั้น แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรมข้อ 1 อยู่แล้วและพินัยกรรมข้อ 2 ข. ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่ จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ ล. ถึงแก่ความตายภายหลังอีก พินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อ กำหนดในพินัยกรรมข้อ 2 เท่านั้นหาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ1มีผลบังคับเป็นหลัก ไม่ เมื่อบุตรของโจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะ คลอดออกมาและล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับพ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนพ. ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ2ค.ที่ระบุให้ล. ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่จึง เป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)เพราะเงื่อนไขนั้นไม่ อาจสำเร็จได้เมื่อล. ตามก่อนพ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ2ก.ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตาม พินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ2ข. ที่พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้าพ.ตายก่อนล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงตกไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของพ. ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของพ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายมรดก-พินัยกรรม,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47644
Legal
ข้อเท็จจริงจากฎีกาที่ 3142/2557 มีอะไรบ้าง
null
ข้อเท็จจริงจากฎีกาที่ 3142/2557 1. อัยการจังหวัดชุมพรได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยว่า เมื่อระหว่างวันที่ 18 กันยายน 2549 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 19 กันยายน 2549 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงต่อเนื่องกัน จำเลยลักกรีดน้ำยางพารา302 ต้น ราคา 1,860 บาท ของนางสมศรี ทับแก้ว ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ของผู้เสียหายผู้มีอาชีพกสิกรรมไป เหตุเกิดขึ้นที่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 334, 335 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 1,860 บาทแก่ผู้เสียหาย 2. ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับเป็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335(1)(12) วรรคสอง ประกอบมาตรา 80, 86 3. ในชั้นศาลฎีกา มีประเด็นที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัย ดังนี้ 3.1 ผู้เสียหายและจำเลยเป็นเจ้าของรวมในสวนยางพาราที่เกิดเหตุ และจำเลยยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุยอมให้ผู้เสียหายครอบครองและได้ประโยชน์เพียงผู้เดียว ที่จำเลยจ้างนายสมปองเข้าไปกรีดยางพาราก็ทำโดยเปิดเผยเพราะเข้าใจว่ามีอำนาจกระทำได้ ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า การเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตก็เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 334, 335 ดังนั้น แม้ฟังได้ตามข้ออ้างของจำเลยว่าจำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของรวมในน้ำยางพาราแต่จำเลยก็จะเอาน้ำยางพาราที่นายสมปองกรีดจากต้นยางพาราไปเพียงผู้เดียว โดยขณะนั้นผู้เสียหายเป็นผู้เดียวที่ครอบครองและได้ประโยชน์ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ผู้เสียหายจะครอบครองสวนยางพาราที่เกิดเหตุแทนจำเลยด้วย เพราะมีเหตุพิพาทและหย่าขาดจากกันแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองย่อมเป็นการทุจริตแล้ว จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ (ของผู้มีอาชีพกสิกรรม) เมื่อน้ำยางพาราที่กรีดยังอยู่ในถ้วยรองน้ำยางยังไม่ได้ถูกนำไปเป็นเพียงพยายามกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ 3.2 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำการลักทรัพย์เอง แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้จ้างวานให้ผู้อื่นกระทำความผิด จึงเป็นการแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ศาลไม่อาจลงโทษฐานเป็นผู้ใช้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง คงลงโทษได้ในฐานผู้สนับสนุน
คำพิพากษาศาลฎีกา,ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47650
Legal
ความผิดฐานชิงทรัพย์อยู่ใน มาตราใด ระหว่าง มาตรา 339 หรือมาตรา 324
null
มาตรา 339 เพราะความผิดฐานชิงทรัพย์อยู่ในมาตรา 339 ของประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดชิงทรัพย์ผู้อื่น โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท องค์ประกอบของความผิดฐานชิงทรัพย์ 1. มีการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไป 2. เป็นการเอาทรัพย์สินไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 3. มีการใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ตัวอย่าง • นาย ก. ใช้มีดจี้ น.ส. ข. เพื่อเอาเงิน • นาย ค. ขู่เข็ญ นาย ง. ว่าจะทำร้ายร่างกาย หากไม่ยอมมอบโทรศัพท์มือถือ โทษ • จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี • ปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท หมายเหตุ • หากการชิงทรัพย์นั้นเป็นการกระทำในสถานที่ราชการ สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สถานที่ซึ่งเป็นที่ชุมนุมชน หรือยามวิกาล โทษจำคุกจะเพิ่มขึ้นเป็น ตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับ ตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท • หากการชิงทรัพย์นั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส โทษจำคุกจะเพิ่มขึ้นเป็น ตั้งแต่สิบห้าปีถึงตลอดชีวิต และปรับ ตั้งแต่สามแสนบาทถึงห้าแสนบาท • หากการชิงทรัพย์นั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจำคุกจะ จำคุกตลอดชีวิต และปรับ ตั้งแต่สี่แสนบาทถึงแปดแสนบาท
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47656
Legal
“นายยอดสามารถฟ้องนายเยี่ยมให้คืนเงินมัดจำและเรียกค่าเสียหายต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้หรือไม่?”
null
ได้ เหตุผล: ประเภทของคดี: คดีนี้เป็นคดีบังคับตัวจำเลยซึ่งเป็นหนี้เหนือบุคคล มิได้บังคับเอาแก่ตัวอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่ใช่คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ทวิ ภูมิลำเนาของจำเลย: นายเยี่ยม จำเลย ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร สถานที่ทำสัญญา: สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างนายยอดและนายเยี่ยมทำขึ้นที่มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สัญชาติของโจทก์: นายยอด โจทก์ เป็นผู้มีสัญชาติไทย สถานที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์: ที่ดินสัญญาตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การบังคับคดี: นายเยี่ยม จำเลย มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราชอาณาจักร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง: 1. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ตรี 2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ทวิ คำอธิบาย: - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ตรี วรรคหนึ่ง กำหนดว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่มีภูมิลำเนาของโจทก์ - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ตรี วรรคสอง กำหนดว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลที่มีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในเขตศาล กรณีนี้ นายยอด โจทก์ มีสิทธิฟ้องนายเยี่ยม จำเลย ต่อศาลแพ่ง หรือต่อศาลจังหวัดลำพูนซึ่งเป็นศาลที่มีภูมิลำเนาของโจทก์ หรือต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นศาลที่มีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในเขตศาล สรุป นายยอดสามารถฟ้องนายเยี่ยมให้คืนเงินมัดจำและเรียกค่าเสียหายต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47660
Legal
“จำเลยที่นำรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดและตั้งแสดงบนที่ดินของโจทก์เพื่อขายในเวลากลางวัน และนำกลับไปเก็บรักษาที่ร้านของจำเลยในเวลากลางคืน เป็นการกระทำความผิดฐานบุกรุกหรือไม่?”
null
เป็นการกระทำความผิดฐานบุกรุก 1. การกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 บัญญัติว่า “ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ในกรณีนี้ จำเลยนำรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดและตั้งแสดงบนที่ดินของโจทก์เพื่อขาย แม้จะนำกลับไปเก็บรักษาที่ร้านของจำเลยในเวลากลางคืนก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ถือว่าเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต 2. การกระทำของจำเลยเป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 วรรคสอง บัญญัติเพิ่มเติมว่า “ถ้าการเข้าไปนั้นเป็นการรบกวนการครอบครองของเจ้าของ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” การกระทำของจำเลยเป็นการนำรถจักรยานยนต์มาจอดและตั้งแสดงบนที่ดินของโจทก์ ย่อมเป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์ 3. การกระทำของจำเลยเป็นการบุกรุกตามมาตรา 362 จากเหตุผลข้างต้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ฎีกาที่เกี่ยวข้อง: คำพิพากษาฎีกาที่ 815/2541 หมายเหตุ: การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นเพียงการสรุปประเด็นกฎหมายโดยคร่าวๆ เท่านั้น การดำเนินการทางกฎหมายจริงควรปรึกษาทนายความ เพิ่มเติม: ในคดีนี้ จำเลยอาจอ้างว่า การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “เจ้าของมีสิทธิที่จะห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของตน เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร” อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาเคยพิพากษาไว้ว่า “การที่เจ้าของที่ดินไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าไปในที่ดินของตนนั้น ย่อมเป็นสิทธิตามกฎหมายซึ่งเจ้าของที่ดินสามารถใช้ได้ แต่การใช้สิทธิเช่นว่านั้นจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น” (คำพิพากษาฎีกาที่ 1454/2541) ในกรณีนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการนำรถจักรยานยนต์มาจอดและตั้งแสดงบนที่ดินของโจทก์เพื่อขาย ย่อมเป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์ ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ และไม่สามารถอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรคสอง ได้
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง)
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47667
Legal
ทายาทของ น. มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์หรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: น. ได้ก่อให้เกิดภาระจำยอมต่อโจทก์ น. เสนอขายที่ดินโดยแสดงรูปแผนที่หลังโฉนดที่ดินแก่โจทก์ ยืนยันว่าหากโจทก์ซื้อที่ดิน โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกและใช้ประโยชน์จากสาธารณูปโภค โจทก์ตกลงซื้อที่ดินตามข้อเสนอของ น. เกิดเป็นสัญญาก่อให้เกิดภาระจำยอม ภาระจำยอมยังมีผลอยู่แม้จะไม่ได้จดทะเบียน การที่ น. ไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอม ไม่ได้ทำให้ภาระจำยอมสิ้นสุดลง ภาระจำยอมยังมีผลใช้บังคับได้ระหว่างคู่สัญญา (โจทก์และ น.) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาภาระจำยอมตกทอดแก่ทายาท เมื่อ น. ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาภาระจำยอมตกทอดแก่ทายาท (จำเลย) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และ 1600 ทายาทมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอม: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1303 วรรคสอง บัญญัติว่า ทายาทของผู้รับภาระจำยอมมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอม กรณีนี้ จำเลยเป็นทายาทของ น. จึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ สรุป ทายาทของ น. มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ เพราะ -น. ก่อให้เกิดภาระจำยอมต่อโจทก์ -ภาระจำยอมยังมีผลอยู่แม้จะไม่ได้จดทะเบียน -สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาภาระจำยอมตกทอดแก่ทายาท -ทายาทมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอม หมายเหตุ โจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนภาระจำยอมได้ โจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางพิพาทได้ เพิ่มเติม -ภาระจำยอมเป็นสิทธิส่วนบุคคล ไม่ใช่สิทธิติดตามทรัพย์สิน -ภาระจำยอมมีผลใช้บังคับเฉพาะระหว่างคู่สัญญาและทายาทของคู่สัญญา -การจดทะเบียนภาระจำยอมมีผลทำให้ภาระจำยอมมีผลใช้บังคับแก่บุคคลภายนอก
กฎหมายมรดก-พินัยกรรม,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายซื้อขาย
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47668
Legal
เมื่อโจทก์เป็นผู้ยืมรถที่ถูกชน และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย โจทก์มีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้หรือไม่?
null
โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เหตุผล: การยืมใช้คงรูป: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 643 บัญญัติว่า ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืมเฉพาะกรณีที่ผู้ยืมเอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้น หรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ ในคดีนี้ โจทก์เป็นเพียงผู้ยืมรถที่ถูกชน ไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่ได้ใช้รถไปในทางอื่นนอกเหนือจากปกติ และไม่ได้เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีความรับผิดต่อผู้ให้ยืม การประนีประนอมยอมความ: บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยในมูลละเมิดระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การรับช่วงสิทธิ: โจทก์ไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิของเจ้าของรถมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วงสิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ แต่ในคดีนี้ โจทก์ไม่มีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าของรถ สรุป: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับผิดต่อเจ้าของรถ และสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยในมูลละเมิดระงับไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เพิ่มเติม: โจทก์อาจมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลอื่น เช่น บุคคลที่สามที่ขับรถชน หรือบริษัทประกันภัยของบุคคลที่สาม โจทก์ควรปรึกษาทนายความเพื่อหาแนวทางการดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47682
Legal
ผู้มีวิชาชีพ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายความว่าอย่างไร ?
null
ตาม ป.อ. ไม่ได้ให้คำนิยามของคำว่า ผู้มีวิชาชีพ ไว้จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของคำว่า วิชาชีพ หมายถึง อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ ส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่า วิชาชีพ หมายถึง วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์ และคำว่า วิชา พจนานุกรมทั้งสองฉบับให้ความหมายว่า ความรู้ ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน ดังนั้น คำว่า ผู้มีวิชาชีพ จึงหมายถึง ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญหรือผู้ที่มีความรู้ซึ่งอาจได้จากการเล่าเรียนโดยตรงหรือจากการทำงานอันเป็นการฝึกฝนในการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระก็ได้ ผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 227 จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ได้เล่าเรียนมาโดยตรงเพื่อเป็นสถาปนิก วิศวกร หรือโฟร์แมน (หัวหน้าคนงาน) บริษัทจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการเพียงคนเดียว ในการรับเหมาก่อสร้างบ้านให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 3 เป็นผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาตั้งแต่ก่อนทำสัญญารับเหมาก่อสร้างและรับผิดชอบการก่อสร้างในฐานะเป็นเจ้าของกิจการบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นผู้ทำการแก้ไขแบบแปลนการก่อสร้างเพื่อให้การก่อสร้างเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ดังนี้แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้จบการศึกษาทางด้านการก่อสร้างอาคารก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีความรู้ความชำนาญและใช้ความรู้ด้านการก่อสร้างในการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระ จำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 227
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย
Closed QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47684
Legal
1พยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายจนหมดสติแล้วนำไปทิ้งที่อ่างเก็บน้ำ โดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว จึงถือว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาฆ่าผู้ตายหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่1ไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดอันจะถือว่าจำเลยที่ 1ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรคสาม การกระทำของจำเลยที่ 1จึงไม่เป็นความผิดฐานเจตนาฆ่าผู้ตายตามมาตรา 288แต่เป็นการกระทำผิดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามมาตรา 291 ใช่หรือไม่
null
ใช่ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 276 วรรคหนึ่ง ประกอบ 80และ มาตรา 288 ศาลอุทธรณ์แก้ว่าจำเลยไม่ผิด 288 แต่ผิดมาตรา 291 ศาลฎีกาพิพากษายืน เหตุผลที่จำเลยที่ 1 ไม่ผิดมาตรา 288 ศาลฎีกาได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายหรือไม่ ป.อ.มาตรา 59 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า “ การกระทำโดยเจตนา ได้แก่การกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ ขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น” และ มาตรา 59 วรรคสาม “ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้ ดังนั้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าได้นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด คือต้องรู้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นด้วย หากจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตาย (เป็นศพ) ไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่า ข้อสังเกต การที่จำเลยผิดมาตรา 291 เพราะความ “ไม่รู้” ของจำเลยเกิดจากความประมาท ถ้าใช้ความระมัดระวังให้มากกว่านี้ ก็จะรู้ว่าผู้ที่ถูกข่มขืนยังไม่ตาย แต่รีบร้อน “เพื่อปกปิดความผิด”หรือเพื่อทำลายพยานหลักฐานมิให้ผู้ใดมาพบการกระทำผิด จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 291 ประกอบ 59 วรรคสี่ (ดูมาตรา 62 วรรคสอง) ประเด็นคือจำเลยควรจะผิดมาตรา 290 ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายด้วยหรือไม่ เพราะแม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม มาตรา 288 แต่ศาลมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 290 ตามที่พิจารณาได้ความได้ทั้งนี้ตาม วิ.อาญามาตรา 192 วรรคหก นอกเหนือจากมาตรา 291 ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือความตายของหญิงสัมพันธ์กับการกระทำของจำเลยที่ 1 ในตอนแรกหรือไม่ “หลักมีอยู่ว่า”การที่จำเลยที่ 1 นำหญิงไปถ่วงน้ำ ซึ่งถือเป็นเหตุแทรกแซงนั้น วิญญูชนคาดหมายได้หรือไม่ เห็นว่า จำเลยกระทำไปเพื่อปกปิดความผิด ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่คาดหมายได้ เหตุผลเพราะการที่คนบางคนกระทำความผิดแล้วทำสิ่งใดขึ้นใหม่เพื่อปกปิดความผิดของตน พฤติการณ์ดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ “คาดหมายได้”
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับศพ,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47687
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2513 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2513 ข้อเท็จจริงฟังได้ความว่า จำเลยเป็นพลตำรวจ ผู้ตายเป็นผู้บังคับกองเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลย ผู้ตายได้สั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอำนาจหน้าที่ แต่จำเลยละเลยไม่ปฏิบัติกลับประพฤติผิดวินัย เมาสุราอาละวาดพกอาวุธปืนเถื่อนและขัดขืนคำสั่ง พูดจาท้าทายจะยิงกับผู้ตายต่อหน้าประชาชน ผู้ตายจึงตบหน้าจำเลยไป 1 ที แล้วนำตัวไปสถานีตำรวจระหว่างทางจำเลยยังทำร้ายและพูดจาก้าวร้าวท้าทายผู้ตายอีก เมื่อถึงสถานีตำรวจ ผู้ตายจึงชกและเตะจำเลยไปอย่างละที แล้วสั่งให้ขังจำเลยเป็นการลงทัณฑ์ตามอำนาจหน้าที่ที่ผู้ตายในฐานะผู้บังคับบัญชากระทำได้ตามพระราชบัญญัติวินัยตำรวจ จำเลยกลับหนีไปบ้านพักเอาอาวุธปืนมายิงผู้ตายด้วยเจตนาฆ่าจนผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นการฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเพราะเหตุที่ได้กระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(2) แม้ผู้ตายจะกระทำแก่จำเลยเกินเลยไปบ้าง การกระทำของผู้ตายก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ใช่เจ้าพนักงานไปได้ การที่จำเลยถูกผู้ตายตบหน้า ชกและเตะแล้วจำเลยหลบหนีไปห้องพักของจำเลยเอาปืนมายิงผู้ตาย การกระทำของผู้ตายที่มีต่อจำเลยได้ขาดตอนไปแล้ว จำเลยมิได้กระทำในขณะจำเลยถูกทำร้ายด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลยที่ยิงผู้ตายในตอนหลังนี้ไม่เข้าลักษณะเป็นการบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายปกครองว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47700
Legal
เงื่อนไขของการหมั้น มี ๒ ประการ อะไรบ้าง
null
“การหมั้น เป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่ายหญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อชายกับหญิงจะสมรสกัน” “เงื่อนไขของการหมั้น มี ๒ ประการ” อายุของคู่หมั้น ชายและหญิงต้องมีอายุครบ ๑๗ ปี ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๔๓๕ บัญญัติไว้ อายุของคู่หมั้นถือเป็นเงื่อนไข การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขนี้ถือว่าเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1435 วรรคสอง แม้ภายหลังชายหญิงจะอายุครบ 17 ปี ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ เพราะขัดมาตรา 172 ดังนั้นต้องมีการหมั้นใหม่ ชายหญิงคู่หมั้นที่มีอายุไม่ครบ 17 ปี จะมาร้องขอต่อศาลให้อนุญาตให้ทำการหมั้นไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ต่างจากการสมรสตาม มาตรา 1448 หากมีเหตุสมควรสามารถร้องขอได้ สัญญาหมั้นที่ตกเป็นโมฆะเพราะชายหญิงอายุไม่ครบ 17 ปี ถือว่าเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น และถือว่าคู่สัญญาหมั้นอยู่ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียสามารถยกความเสียเปล่า ตามมาตรา 172 ขึ้นกล่าวอ้างได้ หากมีการให้ของหมั้นและสินสอดแก่ฝ่ายหญิง ถือเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ฝ่ายชายเรียกคืนได้ เว้นแต่ฝ่ายชายจะรู้ว่าฝ่ายหญิงอายุไม่ครบ 17 ปี เพราะหากรู้แล้วยังให้สินสอดหรือของหมั้น ต้องถือว่าฝ่ายชายชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 411 จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน “อย่างไรก็ดีการให้ของหมั้นและสินสอด โดยต่อมามีการแต่งงานกันตามประเพณี ชายและหญิงไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ถือว่าทรัพย์ที่ให้ไม่ใช่ของหมั้นและสินสอด จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเช่นกัน”
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายเยาวชนและครอบครัว พรบ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47703
Legal
ความระงับของสัญญายืมใช้คงรูปคืออะไร
null
1.ระงับเมื่อผู้ยืมตาย (ดู มาตรา 648 ประกอบ ) หากผู้ให้ยืมตาย สัญญาไม่ระงับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2479ให้ยืมทรัพย์กันตลอดอายุของผู้ยืม เมื่อผู้ให้ยืมตาย ผู้รับมฤดกยังไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์ที่ยืมคืนจนกว่าผู้ยืมจะถึงแก่ความตายแล้ว การยืมทรัพย์นั้นกำหนดเวลากันได้เช่นเดียวกับการเช่าทรัพย์ 2.สัญญายืมระงับ เพราะเหตุอื่น เช่น - เมื่อส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม -เมื่อทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือเสียหาย -เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุที่ผู้ยืมปฎิบัติผิดหน้าที่ ตาม มาตรา 643 หรือ 644 ทั้งนี้ ตามที่ มาตรา 645 บัญญัติไว้ อายุความ 1.อายุความเรียกค่าทดแทน (ดูมาตรา 649 ประกอบ ) ** อายุความตามมาตรานี้ ใช้บังคับเฉพาะกรณีเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาตามมาตรา 643 , 644 และ มาตรา 647 เท่านั้น หากการผิดหน้าดังกล่าว ถึงขนาดเป็นละเมิด เมื่อมีการฟ้องให้รับผิดฐานละเมิด กรณีนี้ต้องนำอายุความละเมิดมาใช้บังคับ 2.อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน ต้องฟ้องภายในกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2526 อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 649 เป็นกรณีฟ้องให้รับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอันเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปเช่นค่าเสียหายเกี่ยวกับความชำรุดหรือเสื่อมราคาเนื่องจากการใช้สอยทรัพย์ที่ยืม ในกรณีฟ้องเรียกคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยืมไม่มีบทกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีอายุความ 10 ปี
กฎหมายกู้ยืม-ยืมใช้คงรูป-ยืมใช้สิ้นเปลือง
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47706
Legal
จำเลยมีสิทธิคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: จำเลยมีสิทธิที่จะคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 7 (1) -จำเลยมีเหตุผลที่จะคัดค้าน เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ("HALOTRON") คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ("HALOTRION") -ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลย ("HALOTRION") คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ("HALOTRON") การวิเคราะห์เพิ่มเติม -จำเลยมีสิทธิที่จะคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ตาม -จำเลยมีเหตุผลที่จะคัดค้าน เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ("HALOTRON") คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ("HALOTRION") -เครื่องหมายการค้าทั้งสองมีรูปลักษณะคล้ายคลึงกันมาก -เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายคลึงกันมาก -สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นสินค้าจำพวกเดียวกัน -ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลย ("HALOTRION") คล้ายคลึงกับ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ("HALOTRON") -ศาลฎีกาพิจารณาจากรูปลักษณะ เสียงเรียกขาน จำพวกสินค้า และรายการสินค้า -ศาลฎีกาพิจารณาถึงเจตนาของจำเลย -ศาลฎีกาพิจารณาถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อโจทก์ สรุป: -จำเลยมีสิทธิที่จะคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ -จำเลยมีเหตุผลที่จะคัดค้าน -ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลย ("HALOTRION") คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ("HALOTRON")
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47711
Legal
เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องคดีหนี้ที่ขาดอายุความต่อศาลได้หรือไม่?
null
ใช่ เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องคดีหนี้ที่ขาดอายุความต่อศาลได้ แต่ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ เหตุผล: -อายุความ: หมายถึง ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิฟ้องร้องคดีต่อศาล กรณีหนี้แพ่ง หากเจ้าหนี้ไม่ฟ้องร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หนี้นั้นจะกลายเป็น "หนี้ที่ขาดอายุความ" ผลของหนี้ขาดอายุความ: -ลูกหนี้มีสิทธิปฏิเสธการชำระหนี้: ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9 และ 193/10 -ศาลจะยกฟ้อง โดยอ้างว่าหนี้ขาดอายุความ ไม่ได้ เว้นแต่ ลูกหนี้ไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลมีหน้าที่พิพากษาไปตามรูปคดี ปัญหาเรื่องอายุความ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ การฟ้องร้องคดีหนี้ที่ขาดอายุความ: -เจ้าหนี้มีสิทธิ: ฟ้องร้องคดีต่อศาลได้ -ลูกหนี้มีสิทธิ:ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ปฏิเสธการชำระหนี้ -ศาล:พิจารณาว่าหนี้ขาดอายุความหรือไม่ยกฟ้อง โดยอ้างว่าหนี้ขาดอายุความ ไม่ได้ เว้นแต่ ลูกหนี้ไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ปัญหาเรื่องอายุความ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตัวอย่าง: กรณี: โจทก์ฟ้องร้องจำเลยเพื่อทวงหนี้ จำเลยต่อสู้ว่าหนี้ขาดอายุความแล้ว ผล: ศาลต้องพิจารณา: 1. ว่าหนี้ขาดอายุความจริงหรือไม่ 2. จำเลยยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือไม่ หาก: 1. หนี้ขาดอายุความ: ศาลต้องยกฟ้อง 2. จำเลยไม่ยกอายุความ: ศาลต้องพิพากษาไปตามรูปคดี สรุป: -เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องคดีหนี้ที่ขาดอายุความต่อศาลได้ -ลูกหนี้มีสิทธิปฏิเสธการชำระหนี้ -ศาลจะยกฟ้องโดยอ้างว่าหนี้ขาดอายุความ ไม่ได้ เว้นแต่ลูกหนี้ไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ปัญหาเรื่องอายุความ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หมายเหตุ: ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น กรณีมีข้อสงสัยเพิ่มเติมควรปรึกษาทนายความ
กฎหมายลักษณะหนี้
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47713
Legal
หน่วยงานของรัฐควรดำเนินการอย่างไร เมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด-หัวหน้าส่วนราชการ และกรมบัญชีกลาง มีความเห็นให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๑๐ ประกอบมาตรา ๘ แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ แต่ระยะเวลากำลังใกล้จะขาดอายุความ ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิด?
null
แนวทางปฏิบัติ ตรวจสอบระยะเวลา: พิจารณาว่าระยะเวลาระหว่าง "วันท่ีหน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน" หรือ "วันท่ีหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง" กับ "วันที่ทำละเมิด" เหลือระยะเวลาเท่าใด เปรียบเทียบระยะเวลา: เปรียบเทียบระยะเวลาท่ีเหลือกับอายุความ 2 กรณี ดังนี้ กรณี 1: ระยะเวลาท่ีเหลือ > 1 ปี: หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการตามลำดับดังนี้ แจ้งผลการสอบข้อเท็จจริงและความเห็นของคณะกรรมการฯ ให้เจ้าหน้าที่ทราบ ออกคำสั่งทางปกครองให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๑๒ ภายในระยะเวลาท่ีเหลือ ระยะเวลาท่ีเหลือ <= 1 ปี: หน่วยงานของรัฐมี 2 ทางเลือก ดังนี้ ทางเลือก 1: ดำเนินการตามลำดับท่ี 2.1 และ 2.2 ดังข้างต้น ทางเลือก 2: ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ต่อศาลภายในระยะเวลาที่เหลือ กรณี 2: ระยะเวลาท่ีเหลือ > 2 ปี: หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการตามลำดับดังนี้ แจ้งผลการสอบข้อเท็จจริงและความเห็นของคณะกรรมการฯ ให้เจ้าหน้าที่ทราบ รอผลการพิจารณาของกระทรวงการคลัง ระยะเวลาท่ีเหลือ <= 2 ปี: หน่วยงานของรัฐมี 2 ทางเลือก ดังนี้ ทางเลือก 1: ดำเนินการตามลำดับท่ี 2.1 และ 2.2 ดังข้างต้น ทางเลือก 2: รอผลการพิจารณาของกระทรวงการคลัง กรณีท่ีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต: ระยะเวลาท่ีเหลือ > 1 ปี: หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการฟ้องร้องทายาทต่อศาลภายในระยะเวลาท่ีเหลือ ระยะเวลาท่ีเหลือ <= 1 ปี: หน่วยงานของรัฐต้องฟ้องร้องทายาทต่อศาลภายในระยะเวลาท่ีเหลือ ข้อควรระวัง: หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและรวดเร็ว เพื่อไม่ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนขาดอายุความ หน่วยงานของรัฐควรปรึกษากับนิติกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายปกครอง(วิธีปฏิบัติราชการ-จัดตั้งและพิจารณาคดีของศาลปกครอง)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47725
Legal
จำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 1076/2522 มีความผิดฐานคอรัปชั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 หรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: - จำเลยเป็นรองอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเงินสมนาคุณจากงบประมาณแผ่นดินประเภทค่าทดแทน - จำเลยซื้อที่ดินในนามของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากภรรยา จำเลยร่วมกัน - จำเลยดำเนินการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน แปลงที่ดินส่วนของภรรยาให้ติดชายทะเลไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ - จำเลยดำเนินการจดทะเบียนการจำยอมในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ที่ดินของภรรยาใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ประเด็นสำคัญ: - จำเลยมีเจตนากระทำผิดหรือไม่? - จำเลยเข้าใจข้อเท็จจริงของกฎหมายหรือไม่? การวิเคราะห์: จำเลยอาจเข้าใจผิดคิดว่าการกระทำของตนชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากจำเลยเป็นรองอธิการบดี มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย จำเลยได้รับเงินสมนาคุณจากงบประมาณแผ่นดิน จำเลยดำเนินการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน แปลงที่ดินส่วนของภรรยาให้ติดชายทะเล จำเลยดำเนินการจดทะเบียนการจำยอมในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ที่ดินของภรรยาใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ศาลฎีกาพิจารณาว่า จำเลยน่าจะเชื่อโดยสุจริตว่าการกระทำของตนชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีเจตนากระทำผิด ข้อสรุป: จำเลยไม่มีความผิดฐานคอรัปชั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 หมายเหตุ: - คดีนี้เป็นคดีเก่า เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2522 กฎหมายบางฉบับอาจมีการเปลี่ยนแปลง - คดีนี้เป็นคดีที่เฉพาะเจาะจง ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน - คำตอบนี้เป็นเพียงแนวทาง ไม่ได้เป็นคำปรึกษาทางกฎหมาย แหล่งข้อมูล: - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 - คำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2522
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับการปกครอง(ความผิดต่อเจ้าพนักงาน-ตำแหน่งราชการ),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47726
Legal
โจทก์ฟ้องร้องจำเลยเพื่อเรียกค่าเสียหายจากการส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่องเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ส่งมอบ โจทก์จะชนะคดีหรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: ประเด็นหลัก คดีนี้เกี่ยวข้องกับอายุความในการฟ้องร้องค่าเสียหายจากการส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่อง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467 กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ส่งมอบ ข้อเท็จจริง -โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย -ที่ดินที่ส่งมอบมีเนื้อที่ขาดตกบกพร่อง -โจทก์ฟ้องร้องจำเลยเพื่อเรียกค่าเสียหายหลังจาก 1 ปี นับแต่วันที่ส่งมอบ การวิเคราะห์ -โจทก์ฟ้องร้องเกินกำหนดอายุความตามมาตรา 467 -คดีของโจทก์มีโอกาสแพ้สูง -โจทก์อาจอ้างเหตุยกเว้นอายุความได้ เช่น จำเลยหลอกลวง โจทก์ไม่รู้ว่าที่ดินขาดตกบกพร่อง แต่โจทก์ต้องมีหลักฐานสนับสนุน ฎีกาที่เกี่ยวข้อง -ฎีกา 2100/2535: โจทก์ฟ้องร้องให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเพิ่มเติม 8 ตารางวา เกินกำหนด 1 ปี ศาลพิพากษาว่าขาดอายุความ -ฎีกา 698/2536: โจทก์ฟ้องร้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินเพิ่มเติม 30 ตารางวา เกินกำหนด 1 ปี ศาลพิพากษาว่าขาดอายุความ -ฎีกา 1496/2539: โจทก์ฟ้องร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากที่ดินขาด 30 ตารางวา เกินกำหนด 1 ปี ศาลพิพากษาว่าขาดอายุความ สรุป -โจทก์มีโอกาสแพ้คดีสูง -โจทก์ควรปรึกษาทนายความเพื่อหาแนวทางต่อสู้คดี หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้น ไม่สามารถใช้แทนคำปรึกษาทางกฎหมายจากทนายความ คดีแต่ละคดีมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดแตกต่างกัน ศาลจะพิจารณาตัดสินคดีตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47753
Legal
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องร้องทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง และผู้เสียหายบางคนถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหายที่ถอนคำร้องทุกข์นั้น จะตกไปด้วยหรือไม่? ในกรณีที่โจทก์ฟ้องร้องทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง และผู้เสียหายบางคนถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหายที่ถอนคำร้องทุกข์นั้น จะตกไปด้วยหรือไม่ จงอธิบาย
null
ขึ้นอยู่กับประเภทของคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องร้อง 1. คดีอาญาแผ่นดิน: คดีอาญาแผ่นดินเป็นคดีอาญาที่รัฐเป็นผู้เสียหาย โจทก์ในคดีคือพนักงานอัยการ ผู้เสียหายสามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ แต่ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาคดีต่อไป คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ไม่ตกไป 2. คดีอาญาส่วนตัว: คดีอาญาส่วนตัวเป็นคดีอาญาที่บุคคลเป็นผู้เสียหาย โจทก์ในคดีคือผู้เสียหาย ผู้เสียหายสามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ตกไป หลักกฎหมาย: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 (1) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ฎีกาที่เกี่ยวข้อง: ฎีกาที่ 1445/2549 ฎีกาที่ 3041/2519 ตัวอย่าง: โจทก์ฟ้องร้องจำเลยฐานฉ้อโกง (มาตรา 341 ป.อ.) ผู้เสียหาย 2 คนถอนคำร้องทุกข์ คดีอาญาเป็นคดีอาญาส่วนตัว คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ตกไป หมายเหตุ: คำอธิบายข้างต้นเป็นเพียงหลักทั่วไป อาจมีข้อยกเว้นอื่นๆ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของแต่ละคดี ควรปรึกษาทนายความเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีเฉพาะ คำอธิบายเพิ่มเติม: คดีอาญาแผ่นดินเป็นคดีอาญาที่มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม รัฐจึงมีหน้าที่ในการดำเนินคดีต่อไป แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ก็ตาม คดีอาญาส่วนตัวเป็นคดีอาญาที่มีผลกระทบต่อบุคคลเฉพาะ รัฐจึงเคารพในสิทธิของผู้เสียหายที่จะถอนคำร้องทุกข์ คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์เป็นการฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47770
Legal
เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหนังสือเล่มหนึ่ง ย่อมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในหนังสือเล่มนั้นโดยอัตโนมัติหรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: ความแตกต่างระหว่างกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์: กรรมสิทธิ์ หมายถึง สิทธิที่จะใช้ ยึดถือ ครอบครอง หรือจัดการทรัพย์สินนั้น ๆ ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น การทำซ้ำดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์: กรรมสิทธิ์ ในหนังสือเล่มหนึ่ง เกิดขึ้นได้หลายวิธี เช่น การซื้อ การได้รับมรดก การประมูล ลิขสิทธิ์ ในหนังสือเล่มหนึ่ง เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ บุคคลที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์: กรรมสิทธิ์ ในหนังสือเล่มหนึ่ง อาจเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์งาน ลิขสิทธิ์ ในหนังสือเล่มหนึ่ง เป็นของผู้สร้างสรรค์งาน เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น ตัวอย่าง: นาย ก. ซื้อหนังสือจากร้านหนังสือ นาย ก. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหนังสือเล่มนั้น แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นาย ข. แต่งหนังสือ นาย ข. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในหนังสือเล่มนั้น สรุป: การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหนังสือเล่มหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในหนังสือเล่มนั้นโดยอัตโนมัติ บุคคลที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์อาจเป็นคนละบุคคลกัน ผู้สร้างสรรค์งานเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น
กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า),ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47772
Legal
ข้อเท็จจริงจากฎีกา 7743/2556 มีอะไรบ้าง
null
ข้อเท็จจริงจากฎีกา 7743/2556 1. โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2546 จำเลยทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์จำนวน 222,500 บาท ยอมเสียดอกเบี้ยตามกฎหมายหลังจากนั้นจำเลยไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลย โจทก์ทวงถามจำเลยแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 300,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน 222,500 บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ 1.1 ลักษณะคำฟ้องของจำเลยจะเป็นคดีมโนสาเร่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 189(1) และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามมาตรา 190 จัตวา ไม่เกิน 1,000 บาท 1.2 ศาลที่มีอำนาจพิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมได้แก่ศาลแขวง 1.3 โจทก์สามารถนำคดีไปยื่นต่อศาลซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในกรณีนี้ก็คือที่ทำสัญญากู้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(1) 2. จำเลยให้การว่า จำเลยกู้ยืมเงินโดยรับเงินจากโจทก์เป็นครั้งๆ ครั้งละ 500 ถึง 1,000 บาท ครั้งสุดท้ายวันที่ 29 สิงหาคม 2546 จำนวน 5,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท ตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือนและโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินโดยไม่มีการกรอกข้อความต่อมาโจทก์นำสัญญาดังกล่าวไปกรอกข้อความและจำนวนเงิน 222,500 บาท โดยจำเลยไม่รู้เห็นและให้ความยินยอมสัญญากู้เงินตามฟ้องจึงเป็นเอกสารปลอมขอให้ยกฟ้อง 3. ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ 4. คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกามีว่า จำเลยมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบหักล้างสัญญากู้ได้หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ 222,500 บาท จำเลยได้รับเงินจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวจากโจทก์สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมโดยโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริง คำให้การของจำเลยเป็นการปฏิเสธชัดแจ้งว่า จำเลยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินตามข้ออ้างของตน ส่วนที่จำเลยให้การว่ากู้ยืมเงินโจทก์ครั้งละ 500 ถึง 1,000 บาท ครั้งสุดท้ายกู้ยืมเงินโจทก์เพียง 5,000 บาท เป็นเพียงเหตุแห่งการปฏิเสธว่าสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม หาใช่เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ที่ทำให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์ว่าไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องไม่ จึงไม่มีประเด็นพิพาทให้ศาลชั้นต้นต้องทำการชี้สองสถานและกำหนดให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์ และเมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเงินปลอม จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบหักล้างสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องเป็นคดีมโนสาเร่จึงเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องทำการชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182(5)
คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47783
Legal
กรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จับตัวลูกหนี้ไปกักขังและบังคับให้เขียนจดหมายถึงญาติให้โอนเงินมาชำระหนี้ การกระทำของเจ้าหนี้เป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 313 หรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: องค์ประกอบของความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตาม ป.อ. มาตรา 313: การเอาตัวบุคคลไป: กรณีนี้ เจ้าหนี้จับตัวลูกหนี้ไปกักขัง ถือว่าเป็นการเอาตัวบุคคลไป เจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่: ประเด็นสำคัญอยู่ที่ "ค่าไถ่" หมายถึง ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอาหรือให้ เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป การวิเคราะห์กรณีนี้: เจตนาของเจ้าหนี้: เจ้าหนี้มีเจตนาหลักเพื่อทวงหนี้ ไม่ได้มุ่งหวังแลกเปลี่ยนเสรีภาพของลูกหนี้ ประโยชน์ที่เรียกร้อง: ประโยชน์ที่เจ้าหนี้เรียกร้องคือเงิน ซึ่งเป็นการชำระหนี้ ไม่ได้เป็นการแลกกับเสรีภาพ หลักฐานสนับสนุน: จดหมายที่ลูกหนี้เขียน อาจตีความได้ว่าเป็นการทวงหนี้ ไม่ได้เป็นการแลกเปลี่ยนเสรีภาพ ศาลฎีกาเคยตัดสินในคดีที่คล้ายคลึงกันว่า การกระทำของเจ้าหนี้ไม่เป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่ (ฎ. 1061/2504, ฎ. 5255/2534, ฎ. 7742/2542 และ ฎ. 9046/2554) สรุป: การกระทำของเจ้าหนี้ในกรณีนี้ ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตาม ป.อ. มาตรา 313 เจ้าหนี้อาจมีความผิดฐานอื่น เช่น กักขังหน่วงเหนี่ยว ผิดสัญญา หรือละเมิด หมายเหตุ: การวิเคราะห์คดีอาญามีความซับซ้อน ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน และดุลพินิจของศาลตัวอย่างนี้เป็นเพียงแนวทางการวิเคราะห์ ไม่ได้เป็นคำตัดสินที่ชี้ขาด
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47786
Legal
จำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 มีสิทธิที่จะฟ้องคดีใหม่เพื่อโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนหรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: 1. คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 และคดีนี้มีประเด็นพิพาท "ไม่เหมือนกัน" 2. คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 โจทก์ (ผู้ร้องสอดที่ 2) ฟ้องจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลย คดีนี้ จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ฟ้องผู้ร้องสอดทั้งสอง ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของตน และขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของตน 3. ประเด็นพิพาทในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 เกี่ยวข้องกับ "สถานะ" ของที่ดินพิพาท ว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ 4. ประเด็นพิพาทในคดีนี้ เกี่ยวข้องกับ "กรรมสิทธิ์" ในที่ดินพิพาท ว่าเป็นของใคร 5. ประเด็นพิพาททั้งสองประเด็น "ไม่เหมือนกัน" แม้จะเกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงเดียวกันก็ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องคดีซ้ำในเรื่องเดียวกัน เว้นแต่จะมีเหตุผลอันสมควร 6.ในคดีนี้ จำเลยมีเหตุผลอันสมควรที่จะฟ้องคดีใหม่ เพราะว่าประเด็นพิพาทในคดีนี้ "ไม่เหมือนกัน" กับประเด็นพิพาทในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 7. จำเลยไม่สามารถโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ ในที่ดินพิพาทในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ได้ เพราะว่าประเด็นพิพาทในคดีนั้น เกี่ยวข้องกับ "สถานะ" ของที่ดินพิพาท 8. จำเลยมีสิทธิที่จะฟ้องคดีใหม่ เพื่อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท สรุป: จำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 มีสิทธิที่จะฟ้องคดีใหม่เพื่อโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน เพราะว่าประเด็นพิพาทในคดีนี้ "ไม่เหมือนกัน" กับประเด็นพิพาทในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 และจำเลยมีเหตุผลอันสมควรที่จะฟ้องคดีใหม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายที่ดิน,กฎหมายอสังหาริมทรัพย์,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47809
Legal
ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีแพ่งที่คู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันหรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาของตนเองได้เสมอ ก่อนที่จะมีการบังคับคดี เว้นแต่คู่ความยอมกัน" ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 บัญญัติว่า "เมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสีย" ฎีกาที่ 7357/2553 วินิจฉัยว่า "เมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลให้แก่คู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคสอง" ในคดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งไม่คืนค่าขึ้นศาลจำนวน 75,000 บาท แก่จำเลย แม้ว่าคู่ความจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วก็ตาม คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นการละเลยต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคสอง ศาลฎีกา ในฐานะศาลชั้นสูงสุด ย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สรุป: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีแพ่งที่คู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน เพื่อให้คำสั่งของศาลสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายและหลักความยุติธรรม เพิ่มเติม: คำสั่งของศาลฎีกาในคดีนี้ เป็นการตีความบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 151 วรรคสอง อย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดผลเป็นประโยชน์แก่คู่ความ คดีนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งสามารถช่วยให้คู่ความยุติข้อพิพาทได้โดยไม่ต้องรอคำพิพากษาของศาล คู่ความควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และปรึกษาทนายความก่อนที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง)
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47812
Legal
การตกลงซื้อขายรถยนต์กระบะระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย มีผลเป็นอย่างไรในทางกฎหมาย
null
"คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2555 ยักยอก" การตกลงซื้อขายรถยนต์กระบะระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย ไม่ใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เหตุผล กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะยังไม่ตกเป็นของจำเลย รถยนต์กระบะเป็นของผู้เสียหายที่ 2 โจทก์ร่วมทำสัญญาเช่าซื้อจากผู้เสียหายที่ 2 ขณะเกิดเหตุยังอยู่ระหว่างการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะจึงยังเป็นของผู้เสียหายที่ 2 มีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่โจทก์ร่วมยังคงค้างชำระแก่ผู้เสียหายที่ 2 ด้วย ข้อตกลงนี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยยังไม่ชำระค่ารถยนต์กระบะให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะ มีข้อตกลงว่า โจทก์ร่วมจะโอนทะเบียนให้จำเลยต่อเมื่อจำเลยชำระราคารถยนต์ครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงนี้แสดงให้เห็นว่า การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะจะเกิดขึ้นเมื่อจำเลยชำระค่ารถยนต์ครบถ้วน จำเลยยังไม่ชำระค่ารถยนต์ครบถ้วน จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะ ผล จำเลยเป็นเพียงผู้ครอบครองรถยนต์กระบะไว้แทนโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะที่แท้จริง การที่จำเลยยังคงครอบครองรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วมต่อมาโดยไม่ส่งมอบคืน น่าเชื่อว่าจำเลยมีเจตนาเบียดบังปกปิดและซุกซ่อนรถยนต์กระบะ เป็นความผิดฐานยักยอก บทสรุป การตกลงซื้อขายรถยนต์กระบะระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย ยังไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะตกเป็นของจำเลย จำเลยจึงเป็นเพียงผู้ครอบครองรถยนต์กระบะไว้แทนโจทก์ร่วมเท่านั้น การที่จำเลยยังคงครอบครองรถยนต์กระบะไว้โดยไม่ส่งมอบคืน เป็นความผิดฐานยักยอก เพิ่มเติม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2555 นี้ เป็นเพียงตัวอย่าง คดีความแต่ละคดีมีข้อเท็จจริงแตกต่างกัน ผลของคดีจึงอาจแตกต่างกันไป
กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์,ประมวลกฎหมายอาญา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47819
Legal
นโยบายการเงินแบบตึงตัวจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร?
null
นโยบายการเงินแบบตึงตัว หมายถึง นโยบายที่ธนาคารกลางใช้เพื่อชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยน การลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ นโยบายการเงินแบบตึงตัว ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้ 1. การชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ: เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ผู้บริโภคและธุรกิจจะกู้ยืมเงินน้อยลง ส่งผลให้การลงทุนและการบริโภคชะลอตัว ธุรกิจจะมีต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น ส่งผลให้กำไรลดลง ผู้บริโภคจะมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการผ่อนชำระหนี้ ส่งผลให้มีเงินเหลือเก็บน้อยลง 2. การลดลงของเงินเฟ้อ: เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เงินจะไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจน้อยลง ส่งผลให้เงินเฟ้อลดลง ผู้บริโภคจะมีกำลังซื้อน้อยลง ธุรกิจจะต้องปรับลดราคาสินค้าลงเพื่อกระตุ้นยอดขาย 3. การแข็งค่าของเงินบาท: เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น นักลงทุนต่างชาติจะสนใจลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า การส่งออกสินค้าไทยจะชะลอตัว สินค้าจากต่างประเทศจะถูกลง 4. การเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย: เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ธุรกิจและผู้บริโภคจะมีภาระผ่อนชำระหนี้ที่มากขึ้น ธุรกิจและผู้บริโภคที่มีรายได้ไม่แน่นอน อาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ส่งผลให้หนี้เสียเพิ่มขึ้น 5. การลดลงของตลาดหุ้น: เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น นักลงทุนจะหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากขึ้น เช่น พันธบัตรรัฐบาล ส่งผลให้ราคาหุ้นลดลง อย่างไรก็ตาม นโยบายการเงินแบบตึงตัว ไม่ได้ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจไทยเสมอไป นโยบายการเงินแบบตึงตัว จะช่วยลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ เช่น เงินเฟ้อที่สูงเกินไป นโยบายการเงินแบบตึงตัว จะช่วยสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้น การใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว** จำเป็นต้องพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจโดยรวม** หากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตสูงเกินไป นโยบายการเงินแบบตึงตัว จะช่วยชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัว นโยบายการเงินแบบตึงตัว อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย จะติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด และปรับใช้นโยบายการเงินที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัวอย่าง ในปี 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ในปี 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย สรุป นโยบายการเงินแบบตึงตัว มีทั้งผลดีและผลเสียต่อเศรษฐกิจไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย จะพิจารณาใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว ให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47823
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2560 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2560 โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าร้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายทองคำแท่งที่จำเลยสั่งซื้อไปจากโจทก์ มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ประกอบมาตรา 193/34 (1) ซึ่งตามสัญญาซื้อขายทองคำแท่ง ข้อ 5.3 การชำระเงินระบุว่า จำเลยต้องชำระค่าซื้อทองคำแท่งภายใน 5 วันทำการ และในข้อ 7 ระบุว่า หากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไข จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิปิดสถานะการซื้อขายทองคำแท่งของจำเลยได้ทันที โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้า จำเลยต้องรับผิดส่วนต่างของราคาทองคำที่ซื้อขายขาดทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แสดงว่าการซื้อขายทองคำแท่งของจำเลยกับโจทก์มีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนโดยจำเลยต้องชำระเงินภายใน 5 วันทำการ หากครบกำหนด 5 วันทำการ จำเลยไม่ชำระเงินโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้นับแต่เวลานั้น ส่วนกรณีที่โจทก์นำทองคำแท่งที่จำเลยสั่งซื้อไว้ออกขายนำมาหักจากราคาที่จำเลยสั่งซื้อ เป็นเพียงการดำเนินการตามข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ทำได้เพื่อบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยเท่านั้น มิใช่สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์เพิ่งเกิดในวันที่โจทก์นำทองคำแท่งที่จำเลยสั่งซื้อออกขาย ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยสั่งซื้อทองคำแท่งจากโจทก์ 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 วันที่ 17 ธันวาคม 2555 และวันที่ 11 เมษายน 2556 ตามลำดับ กำหนดชำระราคาภายใน 5 วันทำการนับแต่วันสั่งซื้อแต่ละครั้ง โดยเฉพาะการสั่งซื้อทองคำแท่งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2556 นั้น ปรากฏว่าวันที่ 12 ถึง 16 เมษายน 2556 เป็นวันหยุดราชการ ต้องเริ่มนับวันทำการวันพุธที่ 17 เมษายน 2556 ถึงวันอังคารที่ 23 เมษายน 2556 ไม่รวมวันที่ 20 และ 21 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์หยุดราชการ ดังนั้น วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้คือวันที่ 23 เมษายน 2556 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2558 จึงพ้นกำหนดเวลา 2 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายลักษณะหนี้
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47824
Legal
กรณีจำเลยที่ 2 ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539 เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: จากข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว สัญญาค้ำประกันระบุชัดเจนว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ชำระแทน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 บัญญัติว่า "ผู้ค้ำประกันย่อมรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา" ในคดีนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระหนี้ตามสัญญาเงินกู้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เฉพาะในสัญญากู้เงิน 2 ฉบับแรกเท่านั้น เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับที่ 3 เพิ่มเติม: - จำเลยที่ 2 ไม่สามารถอ้างว่า สัญญาค้ำประกันนั้นไม่มีผลบังคับใช้ได้ เพราะสัญญาดังกล่าวมีข้อความครบถ้วน ชัดเจน และไม่ขัดต่อกฎหมาย - จำเลยที่ 2 ไม่สามารถอ้างว่า โจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายใน 60 วัน เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ เพราะกฎหมายค้ำประกันใหม่ไม่ได้บังคับใช้กับสัญญาค้ำประกันนี้ - จำเลยที่ 2 ไม่สามารถอ้างว่า โจทก์ได้ลดจำนวนหนี้ให้กับจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ เพราะกฎหมายค้ำประกันใหม่ไม่ได้บังคับใช้กับสัญญาค้ำประกันนี้เช่นกัน สรุป: จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ 2 ฉบับแรก เพราะ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระหนี้ตามสัญญาเงินกู้ สัญญาค้ำประกันมีข้อความครบถ้วน ชัดเจน และไม่ขัดต่อกฎหมาย
กฎหมายค้ำประกัน
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47827
Legal
มีมาตราใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงิน
null
-มาตรา ๑๗๓๔ เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น -มาตรา ๑๗๓๕ ทายาทจำต้องบอกทรัพย์มรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก -มาตรา ๑๗๓๖ ตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดก หรือผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัว ยังไม่ได้รับชำระหนี้ หรือส่วนได้ตามพินัยกรรมแล้วทุกคน ให้ถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ ในระหว่างเวลาเช่นว่านั้น ผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใดๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ เช่นฟ้องคดีหรือแก้ฟ้องในศาลและอื่นๆ อนึ่งผู้จัดการมรดกต้องทำการทุกอย่างตามที่จำเป็น เพื่อเรียกเก็บหนี้สินซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดกภายในเวลาอันเร็วที่สุดที่จะทำได้ และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้จัดการมรดกต้องทำการแบ่งปันมรดก -มาตรา ๑๗๓๗ เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดก ให้เจ้าหนี้เรียกเข้ามาในคดีด้วย -มาตรา ๑๗๓๘ ก่อนแบ่งมรดก เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ทายาทคนหนึ่งๆ อาจเรียกให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้จนถึงเวลาแบ่งมรดก เมื่อแบ่งมรดกแล้ว เจ้าหนี้อาจเรียกให้ทายาทคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นได้รับไป ในกรณีเช่นนี้ ทายาทคนใดซึ่งได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดกเกินกว่าส่วนที่ตนจะต้องเฉลี่ยใช้หนี้ ทายาทคนนั้นมีสิทธิไล่เบี้ยจากทายาทคนอื่นได้ -มาตรา ๑๗๓๙ ให้ชำระหนี้ที่กองมรดกค้างชำระตามลำดับต่อไปนี้ และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยบุริมสิทธิ โดยต้องไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่บรรดาเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิพิเศษตามประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และบรรดาเจ้าหนี้ที่มีประกันโดยการจำนำหรือการจำนอง (๑) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก (๒) ค่าใช้จ่ายในการทำศพเจ้ามรดก (๓) ค่าภาษีอากรซึ่งกองมรดกค้างชำระอยู่ (๔) ค่าจ้างซึ่งเจ้ามรดกค้างชำระแก่เสมียน คนใช้และคนงาน (๕) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวันซึ่งส่งให้แก่เจ้ามรดก (๖) หนี้สินสามัญของเจ้ามรดก (๗) บำเหน็จของผู้จัดการมรดก -มาตรา ๑๗๔๐ เว้นแต่เจ้ามรดกหรือกฎหมายจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้จัดสรรทรัพย์สินของเจ้ามรดกเพื่อชำระหนี้ตามลำดับต่อไปนี้ (๑) ทรัพย์สินนอกจากอสังหาริมทรัพย์ (๒) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งจัดสรรไว้ชัดแจ้งในพินัยกรรมว่าสำหรับชำระหนี้ถ้าหากว่ามีทรัพย์สินเช่นนั้น (๓) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งทายาทโดยธรรมชอบที่จะได้รับในฐานะเช่นนั้น (๔) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งโดยมีเงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องชำระหนี้ของเจ้ามรดก (๕) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมให้โดยลักษณะทั่วไปดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๕๑ (๖) ทรัพย์สินเฉพาะอย่างซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมให้โดยลักษณะเฉพาะดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๕๑ ทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งได้จัดสรรไว้ตามความที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ให้เอาออกขายทอดตลาด แต่ทายาทคนใดคนหนึ่งอาจมิให้มีการขายเช่นว่านั้นได้ โดยชำระราคาทรัพย์สินนั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามที่ผู้ตีราคาซึ่งศาลตั้งขึ้นได้กำหนดให้ จนพอแก่จำนวนที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ มาตรา ๑๗๔๑ เจ้าหนี้กองมรดกคนใดคนหนึ่ง จะคัดค้านการขายทอดตลาดหรือการตีราคาทรัพย์สินดั่งระบุไว้ในมาตราก่อน โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเองก็ได้ ถ้าเจ้าหนี้ได้ร้องคัดค้านแล้ว ยังได้กระทำการขายทอดตลาด หรือตีราคาไป จะยกการขายทอดตลาดหรือตีราคานั้นขึ้นยันต่อเจ้าหนี้ผู้ร้องคัดค้านแล้วนั้นหาได้ไม่ -มาตรา ๑๗๔๒ ถ้าในการชำระหนี้ซึ่งค้างชำระอยู่แก่ตน เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้รับตั้งในระหว่างที่ผู้ตายมีชีวิตอยู่ ให้เป็นผู้รับประโยชน์ในการประกันชีวิต เจ้าหนี้คนนั้นชอบที่จะได้รับเงินทั้งหมด ซึ่งได้ตกลงไว้กับผู้รับประกัน อนึ่ง เจ้าหนี้เช่นว่านั้น จำต้องส่งเบี้ยประกันภัยคืนเข้ากองมรดกก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้คนอื่นๆ พิสูจน์ได้ว่า (๑) การที่ผู้ตายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยวิธีดั่งกล่าวมานั้นเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๒๓๗ แห่งประมวลกฎหมายนี้ และ (๒) เบี้ยประกันภัยเช่นว่านั้น เป็นจำนวนสูงเกินส่วนเมื่อเทียบกับรายได้หรือฐานะของผู้ตาย ถึงอย่างไรก็ดี เบี้ยประกันภัยซึ่งจะพึงส่งคืนเข้ากองมรดกนั้นต้องไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้รับประกันชำระให้ -มาตรา ๑๗๔๓ ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรมโดยลักษณะทั่วไป ไม่จำต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในพินัยกรรมลักษณะเฉพาะเกินกว่าจำนวนทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ -มาตรา ๑๗๔๔ ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์มรดกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก่อนปีหนึ่งนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เว้นแต่เจ้าหนี้กองมรดกและผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัวได้รับชำระหนี้และส่วนได้ตามพินัยกรรมแล้วทุกคน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายมรดก-พินัยกรรม
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47840
Legal
จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 หรือไม่?
null
มี เหตุผลเพราะพฤติการณ์ จำเลยใช้มีดดาบฟันไปที่ศีรษะของ พ. ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย แสดงถึงเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง ผลลัพธ์ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส กระดูกข้อศอกขวาแตก แสดงว่ามีการใช้กำลังอย่างรุนแรง เจตนา จากพฤติการณ์และผลลัพธ์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะฆ่า พ. แม้จะพลาดไปถูกข้อศอกขวา แต่ก็แสดงถึงเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง เจตนาของจำเลยไม่ได้เปลี่ยนแปลง แม้ผลลัพธ์จะไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ หลักกฎหมาย • ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ผู้ใดพยายามฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี • ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 60 บุคคลใดกระทำความผิดโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การวิเคราะห์ • พฤติการณ์ของจำเลยเข้าข่ายความผิดฐานพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 แม้ผลลัพธ์จะไม่เป็นไปตามที่จำเลยตั้งใจไว้ แต่ก็แสดงถึงเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง จำเลยจึงต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2555 • ศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น แม้จะพลาดไปถูกผู้เสียหาย แต่ก็แสดงถึงเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง • การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยพลาดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 60 สรุป • จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 แม้จะพลาดไปถูกผู้เสียหาย แต่ก็แสดงถึงเจตนาที่จะทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง • จำเลยจึงต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47847
Legal
เงินจำนวน 20,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยในวันจอง ถือว่าเป็น "เบี้ยปรับ" หรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: ลักษณะของเงิน: -มัดจำ: เป็นเงินที่ให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญาขึ้นแล้ว และเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้น (ป.พ.พ. มาตรา 377) -เบี้ยปรับ: เป็นการตกลงค่าเสียหายล่วงหน้ากรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดหรือผิดสัญญา (ป.พ.พ. มาตรา 379) เจตนาของคู่สัญญา: -มัดจำ: คู่สัญญามีเจตนาให้เงินจำนวนนี้เป็นหลักประกันว่าจะปฏิบัติตามสัญญา -เบี้ยปรับ: คู่สัญญามีเจตนาให้เงินจำนวนนี้เป็นค่าเสียหายล่วงหน้า กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา การตีความตามกฎหมาย: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3216/2554 ระบุว่า เงินจำนวน 20,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยในวันจอง ถือว่าเป็น "มัดจำ" คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8942/2554 สนับสนุนว่า เงินที่ชำระในวันทำสัญญาจะซื้อจะขาย เป็น "มัดจำ" ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 บัญญัติถึง "มัดจำ" ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 บัญญัติถึง "เบี้ยปรับ" สรุป: จากเหตุผลทั้งหมด เงินจำนวน 20,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยในวันจอง ไม่ ถือว่าเป็น "เบี้ยปรับ" แต่ถือว่าเป็น "มัดจำ" เพิ่มเติม: ศาลมีอำนาจลดจำนวนมัดจำลงได้ หากศาลเห็นว่ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน (ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 7) กรณีนี้ ศาลฎีกาได้ลดจำนวนมัดจำลงเหลือ 10,000 บาท (จาก 20,000 บาท)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายหลักทรัพย์,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47851
Legal
สิทธิเก็บกิน ป.พ.พ. มาตรา 1417 และมาตรา 1418 วางหลักไว้อย่างไร
null
1.1 อสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในบังคับสิทธิเก็บกิน ผู้ทรงสิทธิเก็บกินนั้นมีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินนั้น (มาตรา 1417 วรรคหนึ่ง) 1.2 ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน (มาตรา 1417 วรรคสอง) 1.3 สิทธิเก็บกินอาจมีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเก็บกิน (มาตรา 1418 วรรคหนึ่ง) 1.4 ถ้าไม่มีกำหนดเวลาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า สิทธิเก็บกินมีอยู่ตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเก็บกิน (มาตรา 1418 วรรคสอง) 1.5 ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย 2. สิ่งที่จะต้องระมัดระวังและต้องระลึกไว้เสมอว่า สิทธิเก็บกินเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภท “ทรัพยสิทธิ” 3. ได้มีคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวถึงสิทธิเก็บกินที่ควรทราบดังต่อไปนี้
กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47865
Legal
จำเป็นต้องทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง หรือไม่ สำหรับกรณีสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า "ปตท." กับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำหน่ายในสถานีบริการ
null
ไม่ เหตุผล: สัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ใช่ สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า เหตุผลหลัก คือ โจทก์ (ปตท.) เป็นผู้ขายสินค้า (ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม) ให้กับจำเลย (ผู้ประกอบการสถานีบริการ) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "ปตท." และเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าเอง จำเลยไม่ได้จัดหาสินค้ามาเอง แต่ซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้า "ปตท." กับสินค้าของโจทก์ จึงไม่ถือว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย กรณีนี้จึงไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง ที่กำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน แหล่งอ้างอิงสนับสนุน: - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2555 - หลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า เพิ่มเติม: แม้สัญญาไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน แต่สัญญาก็ยังมีผลผูกพันตามกฎหมาย โจทก์สามารถฟ้องร้องจำเลยได้ หากจำเลยผิดสัญญา เช่น จำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือใช้เครื่องหมายการค้า "ปตท." โดยไม่ได้รับอนุญาต สรุป: สำหรับกรณีสัญญาให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า "ปตท." กับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำหน่ายในสถานีบริการ ไม่จำเป็น ต้องทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า),กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47878
Legal
จำเลยในคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาท ยังมีสิทธิ์ต่อสู้คดีหรือไม่ เมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับเช็คใบเดียวกันแล้ว?
null
ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิ์ต่อสู้คดีอาญา เหตุผล: มูลหนี้ตามเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพัน: เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็คพิพาทเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น คดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทต้องเลิกกัน: ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 7 เมื่อหนี้ที่จำเลยออกเช็คเพื่อใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการฟ้องร้องคดีอาญาระงับไป: เมื่อคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทต้องเลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 ข้ออ้างของโจทก์ไม่เป็นผล: ข้ออ้างของโจทก์ว่า โจทก์และจำเลยยังมิได้มีเจตนาท่ีจะยุติข้อพิพาทในทางอาญา และไม่มีข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงให้เห็นว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยจะชดใช้ให้แก่โจทก์อันเป็นสิทธิทางแพ่ง ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไป บทสรุป: จำเลยไม่มีสิทธิ์ต่อสู้คดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทอีกต่อไป หมายเหตุ: คำตอบนี้เป็นการสรุปประเด็นหลักของคำพิพากษาฎีกาที่ 10302/2550 ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงของคดีแต่ละคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา)
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47897
Legal
กรณีลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ที่ดินแปลงดังกล่าวติดจำนองกับธนาคาร ม. อยู่ ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบต่อภาระจำนองหรือไม่?
null
ใช่ ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อภาระจำนอง เหตุผล: สิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้น หมายความว่า เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ติดจำนอง สิทธิจำนองจะติดตามไปยังที่ดินนั้นโดยไม่ต้องทำสัญญาใหม่ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสอง) กรณีนี้ ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าวติดจำนองกับธนาคาร ม. อยู่ สิทธิจำนองของธนาคาร ม. ย่อมติดตามไปยังที่ดินส่วนที่ลูกหนี้ซื้อมาด้วย ลูกหนี้จึงต้องรับผิดชอบต่อภาระจำนองในส่วนที่ดินที่ซื้อมา หมายความว่า ลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ให้ธนาคาร ม. แทนบริษัท อ. ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาจำนอง แม้ธนาคาร ม. จะจดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. ในเวลาต่อมา แต่สิทธิจำนองของธนาคาร ม. ในส่วนที่ดินของลูกหนี้ยังคงอยู่ สาเหตุที่ธนาคาร ม. ปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. อาจเป็นเพราะบริษัท อ. ชำระหนี้บางส่วนให้ธนาคาร ม. แต่ลูกหนี้ไม่ได้ชำระหนี้ส่วนที่ตนรับผิดชอบ หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: -ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 -ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1353 -พระราชบัญญัติจำนอง พ.ศ. 2479 ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545 สรุป: ลูกหนี้ที่ซื้อที่ดินติดจำนองมา จะต้องรับผิดชอบต่อภาระจำนอง เว้นแต่จะมีสัญญาหรือข้อตกลงอื่นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายจำนอง,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_47950
Legal
จากคำพิพากษาฎีกาที่ 1161/2551 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าอะไร
null
คำพิพากษาฎีกาที่ 1161/2551 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 103403 เนื้อที่ 5 ไร่ 12 ตารางวา และบ้านเลขที่ 20/1, 20/5 และ 20/10 ซึ่งปลูกบนที่ดินดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2540 โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 103403 และบ้านเลขที่ 20/5 แก่จำเลย มีกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี เป็นเงิน 23,400,000 บาท แล้วโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ไถ่ถอนภายในกำหนด บ้านเลขที่ 20/1 และ 20/10 ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 อยู่ และนางมะลิ ภรรยาของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 75892 เนื้อที่ 1 ไร่ 1 ตารางวา โจทก์ที่ 2 ได้ปลูกบ้าน 2 หลัง เลขที่ 1/4 บนที่ดินดังกล่าวโดยได้รับอนุญาตจากนางมะลิ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2540 นางมะลิทำสัญญาขายฝากที่ดินโฉนด เลขที่ 75892 แก่จำเลย ในราคา 10,400,000 บาท มีกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี แล้วนางมะลิไม่ได้ไถ่ถอนภายในกำหนด บ้านเลขที่ 1/4 ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 อยู่ โจทก์ทั้งสองได้เจรจาขอชำระค่าใช้ที่ดินเฉพาะส่วนที่บ้านทั้งสี่หลังปลูกอยู่ แต่จำเลยไม่ยินยอม เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง จำเลยมีหน้าที่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่บ้านทั้งสี่หลังของโจทก์ทั้งสอง โดยโจทก์ที่ 1 ยอมชำระค่าใช้ที่ดินแก่จำเลยเดือนละ 5,000 บาท และโจทก์ที่ 2 ยอมชำระค่าใช้ที่ดินแก่จำเลยเดือนละ 3,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนให้ ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่บ้านทั้งสี่หลังของโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย (บ้านทั้งสี่หลัง) โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและอุทธรณ์คำสั่งของ ศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ ทั้งสอง และยื่นคำร้องว่าตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองนั้นโจทก์ทั้งสองจะเป็นฝ่ายชนะคดี แต่เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังจะรื้อถอนบ้านทั้งสี่หลังของโจทก์ทั้งสองในคดีที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ทั้งสองรื้อถอนบ้านทั้งสี่หลังออกไปจากที่ดินของจำเลย หากมีการรื้อถอนบ้านทั้งสี่หลังของโจทก์ทั้งสองออกไป บ้านดังกล่าวจะกลายเป็นเศษอิฐเศษปูน ไม่สามารถที่จะนำไปปลูกสร้างบ้านใหม่ได้อีก ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างการพิจารณา โดยมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีระงับการรื้อถอนบ้านทั้งสี่ หลังไว้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองมีว่า มีเหตุผลเพียงพอที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองไว้ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้นได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา หรือเพื่อความสะดวกในการบังคับคดีตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,กฎหมายซื้อขาย,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47954
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11711 - 11712/2554 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11711 - 11712/2554 เงิน เบี้ยประกันชีวิตที่ ม. ผู้เอาประกันภัยส่งแก่ผู้คัดค้านที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำอันเป็นความผิดมูลฐาน แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 รับไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก็ย่อมได้รับ ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านที่ 4 โดยชอบแล้ว ผู้คัดค้านที่ 4 จึงไม่อาจยกเอาความสำคัญผิดแหล่งที่มาเกี่ยวกับเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับ ชำระจาก ม. มาเป็นข้ออ้างอันจะเป็นเหตุให้สัญญาประกันชีวิตระหว่างผู้คัดค้านที่ 4 กับ ม. เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 เงินเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นเงินที่ ม. ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการ กระทำความผิดตามความหมายใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (เดิม) การนำเอาเงินไปชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นค่าเบี้ยประกันภัย แล้วได้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาทมา เงินดังกล่าวย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใดๆ ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือเปลี่ยนสภาพไปกี่ครั้ง และไม่ว่าจะอยู่ในความครอบครองของบุคคลใด โอนไปเป็นของบุคคลใด หรือปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลใด เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาท จึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงิน ค่าเวนคืนกรมธรรม์ตกเป็นของแผ่นดิน แม้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง จะบัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงก็ตาม แต่คดีนี้ถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ศาลเห็นสมควรมีคำสั่งเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายประกันภัย,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47977
Legal
ในคดีนี้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องการยินยอมของเจ้าของรวมในการจำหน่ายที่ดินพิพาทอย่างไร?
null
ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นเรื่องการยินยอมของเจ้าของรวมในการจำหน่ายที่ดินพิพาทดังนี้: 1. การตีความ ป.พ.พ. มาตรา 1361: มาตรา 1361 วรรคแรก บัญญัติว่า เจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดสามารถจำหน่ายส่วนของตน หรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น มาตรา 1361 วรรคสอง บัญญัติว่า แต่ตัวทรัพย์สินรวมนั้น จะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน 2. ข้อเท็จจริงของคดี: ผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง 1 ใน 7 ส่วน จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก นำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไปจำนองไว้แก่โจทก์ โดยไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้ร้อง ผู้ร้องรู้มาโดยตลอด แต่ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้าน ผู้ร้องมีส่วนเจรจากับโจทก์ และดูแลการขายทอดตลาดแทนจำเลย 3. วินิจฉัยของศาลฎีกา: ศาลฎีกาพิจารณาว่า แม้จำเลยจะไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้ร้องในการจำนองที่ดิน แต่จากพฤติการณ์ของผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาให้จำเลยแสดงตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียว และยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทได้ การจำนองที่ดินพิพาทจึงผูกพันผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงออกจากการขายทอดตลาด 4. หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ป.พ.พ. มาตรา 1361 หลักการเรื่องเจตนา หลักการเรื่องส estoppel 5. ผลของคำพิพากษา: คำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ เป็นการย้ำหลักกฎหมายว่า การจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือ ก่อให้เกิดภาระติดพันต่อทรัพย์สินรวมนั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน อย่างไรก็ตาม เจ้าของรวมคนอื่น อาจจะแสดงเจตนาให้เจ้าของรวมคนหนึ่งคนใด แสดงตนเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว และยินยอมให้จำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันต่อทรัพย์สินรวมได้ การแสดงเจตนาของเจ้าของรวม สามารถทำได้โดย พฤติการณ์ การกระทำ หรือ การละเว้นการกระทำ 6. สรุป: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีเจตนาให้จำเลยแสดงตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียว และยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทได้ การจำนองที่ดินพิพาทจึงผูกพันผู้ร้อง และผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงออกจากการขายทอดตลาด คำอธิบายเพิ่มเติม: คดีนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับเจ้าของรวม กฎหมายนี้ช่วยคุ้มครองสิทธิของเจ้าของรวมทุกคน ในการร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพย์สินรวม ในคดีนี้ จำเลยแม้จะะเป็นผู้จัดการมรดก แต่ก็ไม่มีอำนาจที่จะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันต่อทรัพย์สินรวม โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน การแสดงเจตนาของเจ้าของรวม สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การลงนามในสัญญา การยินยอมโดยวาจา
กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง,ประมวลกฎหมายอาญา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_47984
Legal
จำเลยที่ 1 ในฎีกาที่ 3548/2554 สามารถนำพยานบุคคลมาเบิกความเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญากู้เงินได้หรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: ประเด็นข้อเท็จจริง: จำเลยที่ 1 อ้างว่ากู้ยืมเงินจากโจทก์แทนบริษัท จ. ประเด็นกฎหมาย: - ป.พ.พ. มาตรา 789 วรรคสอง: การกู้ยืมเงินที่มีจำนวนเกินกว่า 500 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ - ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข): ห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร การวิเคราะห์: จำเลยที่ 1 ต้องการนำพยานบุคคลมาเบิกความเพื่อยืนยันว่ากู้ยืมเงินแทนบริษัท จ. ซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงว่าบริษัท จ. ตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนกู้ยืมเงิน การนำพยานบุคคลมาเบิกความเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้เงิน เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) สรุป: จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำพยานบุคคลมาเบิกความเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญากู้เงินได้ เพิ่มเติม: จำเลยที่ 1 อาจใช้หลักฐานอื่น เช่น เอกสาร หนังสือราชการ บันทึกการสนทนา ฯลฯ เพื่อสนับสนุนข้ออ้างว่ากู้ยืมเงินแทนบริษัท จ. ศาลจะพิจารณาหลักฐานทั้งหมดและวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินแทนบริษัท จ. หรือไม่ อ้างอิง: - ฎีกาที่ 3548/2554 - ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 789 - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
กฎหมายลักษณะพยาน,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48029
Legal
ทำไมหนังสือแบ่งผลประโยชน์ค่าเช่าตึกแถวที่จำเลยทำกับโจทก์จึงตกเป็นโมฆะ?
null
หนังสือแบ่งผลประโยชน์ค่าเช่าตึกแถวที่จำเลยทำกับโจทก์ตกเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทำหนังสือดังกล่าวโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม คำอธิบาย: - ประเด็นสำคัญในคดีนี้คือ สถานะกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท - ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตึกแถวพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าในปี 2531 เหตุผลคือ: - จ. เจ้าของที่ดินเดิม ยกที่ดินให้แก่จำเลย โดยไม่ได้ระบุถึงตึกแถวพิพาทในหนังสือสัญญาให้ที่ดิน แสดงว่า จ. คิดว่าตึกแถวพิพาทยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของตน เพราะมีข้อสัญญาจะให้ตึกแถวพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า - ดังนั้น เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ตึกแถวพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 อย่างไรก็ตาม จำเลยได้ทำหนังสือแบ่งผลประโยชน์ค่าเช่าตึกแถวกับโจทก์ การทำหนังสือดังกล่าวนั้น แสดงว่า จำเลยสำคัญผิดคิดว่า ตึกแถวพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ซึ่งเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคญแห่งนิติกรรม เพราะวัตถุประสงค์ของนิติกรรมคือ การแบ่งผลประโยชน์จากสิ่งที่คิดว่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ในความเป็นจริง ตึกแถวพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของ จ. ดังนั้น หนังสือแบ่งผลประโยชน์ค่าเช่าตึกแถวที่จำเลยทำกับโจทก์จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: - ป.พ.พ. มาตรา 144 - ป.พ.พ. มาตรา 156 ผลของคำพิพากษา: - โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากตึกแถวพิพาทตามหนังสือแบ่งผลประโยชน์ค่าเช่า สิทธิในตึกแถวพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย ข้อคิดจากคดีนี้: - ก่อนทำนิติกรรมใดๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า เข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมนั้นๆ อย่างถูกต้อง - การทำสัญญาควรมีทนายความตรวจสอบ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48030
Legal
ผู้รับประกันภัยสามารถบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตได้หรือไม่ เมื่อรู้ว่าเงินเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับมาจากการกระทำอันเป็นความผิดมูลฐาน
null
ไม่ เหตุผลคือ การคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เงินเบี้ยประกันชีวิตที่ผู้รับประกันภัยได้รับจากผู้เอาประกันภัย ถือว่าเป็นทรัพย์สินตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดว่า ทรัพย์สินที่บุคคลอื่นได้รับไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนตามปกติย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีนี้ ผู้รับประกันภัยได้รับเงินเบี้ยประกันชีวิตโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จึงย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาที่มีผลบังคับใช้ เมื่อผู้เอาประกันภัยตกลงทำสัญญาประกันชีวิตและชำระเบี้ยประกันภัยแล้ว สัญญาก็มีผลบังคับใช้ ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย เว้นแต่จะมีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่ให้อำนาจผู้รับประกันภัยบอกเลิกสัญญาประกันชีวิต กรณีที่ผู้เอาประกันภัยใช้เงินที่ได้มาจากการกระทำอันเป็นความผิดมูลฐานมาชำระเบี้ยประกันภัย ไม่ได้เป็นเหตุให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้รับประกันภัยไม่สามารถบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตได้ หลักความยุติธรรมและความสมเหตุสมผล - การบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตโดยผู้รับประกันภัย จะส่งผลเสียต่อผู้รับประโยชน์ - ผู้รับประโยชน์อาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำอันเป็นความผิดมูลฐานของผู้เอาประกันภัย - การบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตจึงขัดต่อหลักความยุติธรรมและความสมเหตุสมผล ตัวอย่าง นาย A ทำประกันชีวิตกับบริษัท B และชำระเบี้ยประกันชีวิตด้วยเงินที่ได้มาจากการค้ายาเสพติด ภายหลัง บริษัท B ทราบว่าเงินเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับมาจากการค้ายาเสพติด บริษัท B ไม่สามารถบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตกับนาย A ได้ สรุป ผู้รับประกันภัยไม่สามารถบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตได้ เมื่อรู้ว่าเงินเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับมาจากการกระทำอันเป็นความผิดมูลฐาน ข้อควรระวัง - ผู้รับประกันภัยอาจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตได้ ในกรณีอื่นๆ ตามกฎหมาย - ผู้รับประกันภัยควรตรวจสอบที่มาของเงินเบี้ยประกันภัยอย่างรอบคอบ
กฎหมายประกันภัย,กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48031
Legal
จำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี หรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: จำเลยหลอกลวงโจทก์: -จำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค.1 -จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ -จำเลยระบุในสัญญาว่าหากโจทก์ดำเนินการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน จำเลยจะให้ความสะดวก ให้-ความร่วมมือในการออกเอกสารสิทธิจนเสร็จสิ้น -การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิแล้วมาหลอกขายให้โจทก์ โจทก์เข้าใจผิดในสาระสำคัญของสัญญา: -โจทก์เข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดิน -โจทก์เข้าใจว่าจำเลยสามารถโอนสิทธิในที่ดินให้โจทก์ได้ -โจทก์เข้าใจว่าจำเลยสามารถนำที่ดินไปออกเอกสารสิทธิได้ -การเข้าใจผิดของโจทก์เป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาการซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะเสียเปล่า: -ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 สัญญาที่ทำโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนั้น เป็นโมฆะเสียเปล่า สัญญาการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะเสียเปล่า จำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์: -ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 413 ผู้ใดได้รับประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ต้องคืนสิ่งนั้นให้แก่เจ้าของ -จำเลยได้รับเงินจากโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย -จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์ -จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี: ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 408 ผู้ใดไม่มีสิทธิยักยื้อทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ ต้องคืนทรัพย์สินนั้นพร้อมด้วยดอกผล -จำเลยไม่มีสิทธิยักยื้อเงินของโจทก์ไว้ -จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สรุป: -จำเลยหลอกลวงโจทก์ -โจทก์เข้าใจผิดในสาระสำคัญของสัญญา -สัญญาการซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆะเสียเปล่า -จำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์ -จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ดังนั้น จำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายที่ดิน,กฎหมายอสังหาริมทรัพย์,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายซื้อขาย,กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ,กฎหมายลักษณะหนี้
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48037
Legal
โจทก์มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการโอนห้องชุดทั้ง 8 ห้อง กับจำเลยหรือไม่
null
มีสิทธิ เหตุผล: โจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน: -โจทก์มีความประสงค์จะได้ห้องชุดที่อยู่ชั้นบนสุด -จำเลยไม่ได้แจ้งโจทก์ว่าอาคารชุดจะถูกดัดแปลงจาก 27 ชั้น เป็น 30 ชั้น -โจทก์เข้าใจผิดคิดว่าห้องที่รับโอนมาอยู่ชั้นสูงสุด คุณสมบัติของห้องชุดชั้นบนสุดเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม: -โจทก์ให้ความสำคัญกับชั้นของห้องชุดเป็นพิเศษ -โจทก์คงจะไม่ซื้อห้องชุดหากทราบว่าไม่ใช่ชั้นบนสุด -นิติกรรมการโอนห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157: โจทก์มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 อย่างไรก็ตาม โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกล้าง ดังนั้น โจทก์จึงยังมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดทั้ง 8 ห้องอยู่ การที่โจทก์ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดชั้นที่ 26 และ 27 ทั้ง 8 ห้อง คืนให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงโดยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดชั้นที่ 29 และ 30 ให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าคู่กรณีต่างตกลงโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกันอันเป็นการแลกเปลี่ยนตาม ป.พ.พ. มาตรา 518 ซึ่งมาตรา 519 ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายมาใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วย ดังนั้น การแลกเปลี่ยนห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น ค่าฤชาธรรมเนียมการโอนโจทก์และจำเลยจึงพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 457 สรุป: -โจทก์มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการโอนห้องชุดทั้ง 8 ห้อง กับจำเลย -โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกล้าง -การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยถือเป็นการแลกเปลี่ยน -โจทก์และจำเลยจึงต้องออกค่าธรรมเนียมการโอนเท่ากัน
กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48058
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2503 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2503 โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดโดยผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นของบุตรสาวผู้ตายทั้งหมดและบุตรสาวผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยครึ่งหนึ่งโจทก์ครึ่งหนึ่ง ถึงแม้จำเลยจะรับรู้สิทธิของโจทก์ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งของที่ดินตามพินัยกรรมก็ตาม ก็ต้องคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทตามราคาที่ดินทั้งหมด ไม่ใช่เพียงครึ่งหนึ่งเพราะพิพาทกันในชั้นมรดกเดิม ไม่ใช่มรดกตอนหลัง เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท นั้น ทายาทก็อาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้ตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคท้าย เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมยกที่ดินให้วัดโจทก์โดยระบุให้ยายและมารดามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต เมื่อเจ้าของที่ดินตายแล้ว โจทก์มิได้ใช้สิทธิแก่ที่ดินนี้ประการใดปล่อยให้มารดาของเจ้ามรดกครอบครองที่ดินและจดทะเบียนโอนรับมรดกเป็นของตนด้วย ซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงขาดอายุความไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคท้าย ศาลฎีกาประชุมใหญ่มีมติว่า วัดโจทก์หมดสิทธิตามพินัยกรรมแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2503)
กฎหมายมรดก-พินัยกรรม
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48059
Legal
พนักงานจ้างเหมาบริการของมหาวิทยาลัยรัฐ จะถือเป็น "เจ้าหน้าที่" ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 หรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: พนักงานจ้างเหมาบริการไม่ใช่ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พนักงานจ้างเหมาบริการมีสถานะเป็นผู้รับเหมาช่วง ไม่ได้เป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับพนักงานจ้างเหมาบริการเป็นไปตามสัญญาจ้างเหมาบริการ ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการจ้างพนักงาน พนักงานจ้างเหมาบริการไม่มีสิทธิประโยชน์และหน้าที่เช่นเดียวกับข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บัญญัติไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น มาตรา 3 ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก มาตรา 4 บัญญัติความหมายของ "เจ้าหน้าที่" ว่าหมายถึง ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้จึงจำกัดอยู่เฉพาะบุคคลที่เข้าข่ายนิยาม "เจ้าหน้าที่" เท่านั้น พนักงานจ้างเหมาบริการอาจต้องรับผิดทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลใดก็ตามที่มีหน้าที่ต้องระมัดระวังและไม่ประมาทเลินเล่อ หากละเลยจนเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ย่อมต้องรับผิด พนักงานจ้างเหมาบริการมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างด้วยความระมัดระวังและไม่ประมาทเลินเล่อ หากการละเลยของพนักงานจ้างเหมาบริการทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอก บุคคลนั้นสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ ตัวอย่าง นาย A เป็นพนักงานจ้างเหมาบริการของมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง ทำหน้าที่ทำความสะอาดพื้นห้องโถง ในขณะปฏิบัติหน้าที่ นาย A ทำน้ำยาทำความสะอาดหกบนพื้นจนเกิดเป็นคราบน้ำมัน นาง B เดินผ่านมาเหยียบคราบน้ำมันจนลื่นล้มได้รับบาดเจ็บ นาง B สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากมหาวิทยาลัยรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ได้ แต่ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนาย A โดยตรงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ นาง B อาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนาย A โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ สรุป พนักงานจ้างเหมาบริการของมหาวิทยาลัยรัฐไม่ถือเป็น "เจ้าหน้าที่" ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 แต่พนักงานจ้างเหมาบริการอาจต้องรับผิดทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายปกครองว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48077
Legal
สัญญาการใช้บัตรเครดิตมีข้อความระบุว่า "หากมีการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าด้วยประการใด ให้ถือว่าเป็นการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น มิใช่เป็นการยกเลิกสัญญา" กรณีนี้ จำเลยสามารถใช้สิทธิหักกลบลบหนี้จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับยอดหนี้บัตรเครดิตได้หรือไม่ จงอธิบาย
null
จากหลักกฎหมายและคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง จำเลยไม่สามารถใช้สิทธิหักกลบลบหนี้จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับยอดหนี้บัตรเครดิตได้ เหตุผล: สัญญาการใช้บัตรเครดิตมีข้อความระบุไว้ชัดเจน: สัญญาการใช้บัตรเครดิตระบุไว้ว่า "หากมีการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าด้วยประการใด ให้ถือว่าเป็นการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น มิใช่เป็นการยกเลิกสัญญา" ข้อความนี้แสดงเจตนาของคู่สัญญา (โจทก์และจำเลย) ว่า การยกเลิกการใช้บัตรเครดิตจะส่งผลเพียงการยกเลิกการใช้บัตรเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าสัญญาการใช้บัตรเครดิตสิ้นสุดลง ไม่มีข้อตกลงในการหักกลบลบหนี้: สัญญาการใช้บัตรเครดิตไม่มีข้อความระบุถึงสิทธิของจำเลยในการหักกลบลบหนี้จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับยอดหนี้บัตรเครดิต หลักกฎหมาย: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 309 บัญญัติไว้ว่า "ลูกหนี้มีสิทธิหักกลบลบหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีต่อลูกหนี้ ซึ่งถึงกำหนดชำระแล้ว เมื่อทั้งสองหนี้มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน" คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง: ฎีกาที่ 5384/2551: โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ค่าสินค้าและค่าบริการตามสัญญาซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระ จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้แจ้งยกเลิกสัญญาซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระแล้ว และจำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้กับโจทก์จากเงินฝากออมทรัพย์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระมิได้ให้อำนาจจำเลยหักกลบลบหนี้ และการยกเลิกสัญญาซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระ ไม่ได้หมายความว่าสัญญาการใช้บัตรเครดิตสิ้นสุดลง ฎีกาที่ 10969/2555: โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ค่าสินค้าและค่าบริการตามสัญญาซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระ จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้กับโจทก์จากเงินฝากออมทรัพย์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า "กรณีลูกค้าต้องการยกเลิกสัญญา ลูกค้าจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการยกเลิกสัญญาจำนวน 5% ของยอดซื้อ และหากมีการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าด้วยประการใด ให้ถือว่าเป็นการยกเลิกการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น มิใช่เป็นการยกเลิกสัญญา" ข้อความนี้แสดงเจตนาของคู่สัญญาว่า การยกเลิกการใช้บัตรเครดิตจะส่งผลเพียงการยกเลิกการใช้บัตรเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าสัญญาการใช้บัตรเครดิตสิ้นสุดลง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48078
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551 กล่าวถึงการรับสภาพหนี้อย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2551 หนี้จากการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นหนี้จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ หรือหนี้จากการถอนเงินสด ล้วนเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตด้วยกัน จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ไม่อาจแยกบังคับนับอายุความแตกต่างกันได้ การรับสภาพหนี้โดยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ดังนั้น การที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตอันเป็นการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ โดยมิได้มีข้อตกลงกันไว้ขณะทำสัญญา ดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจะถือว่าจำเลยยินยอมในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ กรณีไม่ถือว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนอันเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ ห้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ ดังนั้น การที่โจทก์หักทอนบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้บัตรเครดิตอันเป็นการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ โดยมิได้มีข้อตกลงกันไว้ขณะทำสัญญา ดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจะถือว่าจำเลยยินยอมในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวด้วยหาได้ไม่ กรณีไม่ถือว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนอันเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
กฎหมายลักษณะหนี้,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48082
Legal
จำเลยในฎีกาที่ 6615/2553 มีหน้าที่ต้องคืนเงินจองพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หรือไม่
null
ใช่ เหตุผล: จำเลยผิดสัญญาซื้อขายห้องชุด จำเลยได้โอนขายห้องชุดแก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญา การกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 389 จำเลยต้องคืนเงินจองให้แก่โจทก์ สัญญาซื้อขายห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยได้ระบุให้โจทก์วางเงินมัดจำ เงินมัดจำมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ซื้อจะชำระค่าซื้อห้องชุด เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและได้รับเงินมัดจำคืน จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินจองให้แก่โจทก์ ตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 7 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อสัญญาเลิกกันเพราะโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยต้องคืนราคาห้องชุดที่โจทก์ชำระแล้วแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย เงินจองเป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุด จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินจองให้แก่โจทก์ อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย ตามมาตรา 7 วรรคสอง ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่ไม่มีสัญญา กำหนด ดอกเบี้ย ให้คิดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สรุป: จำเลยในฎีกาที่ 6615/2553 มีหน้าที่ต้องคืนเงินจองพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ จำเลยผิดสัญญาซื้อขายห้องชุด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและได้รับเงินมัดจำคืน จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินจองให้แก่โจทก์ อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48085
Legal
คำพิพากษาฎีกาที่ 7618/2552 ป.พ.พ. มาตรา 383, 391 ป.วิ.พ. มาตรา 161 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาฎีกาที่ 7618/2552 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383, 391 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ได้กล่าวว่า เมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่ง กลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน จึงมิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่าของงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความเป็นจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดงานที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระตามสัญญานั้น อาจมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของงานลงไปด้วย ที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ความรับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี คำพากษาฎีกานี้เกี่ยวข้องกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383, 391 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48088
Legal
หากผู้ให้เช่าซื้อส่งมอบที่ดินให้ผู้เช่าซื้อเกินจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วคืนได้หรือไม่ จงอธิบาย
null
จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2552 ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วคืนได้ เหตุผล: มาตรา 466 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดเสียและเลิกสัญญาได้ เมื่อทรัพย์สินที่ซื้อนั้นมีตำหนิ หรือคุณภาพต่ำกว่าที่ตกลงกันไว้ เนื้อที่ดินที่ล้ำจำนวนเกินกว่าร้อยละ 5 ของเนื้อที่ทั้งหมดที่ระบุไว้ในสัญญา: ถือว่าเป็นการผิดสัญญา สัญญาเช่าซื้อ: เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าและสัญญาซื้อขาย จึงสามารถนำบทบัญญัติในลักษณะเช่าทรัพย์และลักษณะซื้อขายมาใช้บังคับได้ มาตรา 391 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: เมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อชำระไปแล้ว: กรณีสัญญาเลิกกันโดยมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าซื้อ การชดใช้คืนย่อมทำได้ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ตัวอย่าง: นาย A ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับนาย B เนื้อที่ 27 ตารางวา แต่เมื่อถึงวันส่งมอบ นาย B กลับส่งมอบที่ดินให้ 69 ตารางวา และเรียกเก็บเงินเพิ่มอีก 840,000 บาท นาย A จึงบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วคืน ศาลฎีกาพิพากษาว่า: นาย A มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ เพราะนาย B ส่งมอบที่ดินเกินจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา นาย B ไม่มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่นาย A ชำระไปแล้ว เพราะสัญญาเลิกกันโดยมิใช่ความผิดของนาย A บทสรุป: หากผู้ให้เช่าซื้อส่งมอบที่ดินให้ผู้เช่าซื้อเกินจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วคืนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48096
Legal
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรกหรือไม่?
null
ใช่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก เหตุผล 1. องค์ประกอบของความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว - กักขัง จำเลยพาเด็กหญิง ฟ. ไปจากผู้เสียหายโดยไม่ได้รับความยินยอม เป็นการกักขังเด็กหญิง ฟ. ไว้ - หน่วงเหนี่ยว จำเลยไม่ยอมคืนเด็กหญิง ฟ. ให้แก่ผู้เสียหาย เป็นการหน่วงเหนี่ยวเด็กหญิง ฟ. ไว้ 2. เจตนาของจำเลย - เจตนาที่จะกักขัง จำเลยมีเจตนาที่จะพาเด็กหญิง ฟ. ไปจากผู้เสียหาย - เจตนาที่จะหน่วงเหนี่ยว จำเลยมีเจตนาที่จะไม่ยอมคืนเด็กหญิง ฟ. ให้แก่ผู้เสียหาย 3.การเรียกร้องเอาทองคำและเงิน - ไม่ใช่ค่าไถ่ จากข้อเท็จจริง ทองคำและเงินที่จำเลยเรียกร้องจากผู้เสียหายและ อ. ไม่ได้เป็นค่าไถ่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (13) - ไม่ส่งผลต่อองค์ประกอบความผิด การเรียกร้องเอาทองคำและเงินไม่ส่งผลต่อองค์ประกอบของความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว บทสรุป การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก จำเลยมีความผิดฐานกักขังหน่วงเหนี่ยว หลักฐานสนับสนุน - คำพิพากษาฎีกาที่ 9046/2554 - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก หมายเหตุ - คำตอบนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์เบื้องต้นจากข้อเท็จจริงที่ให้มา - การวิเคราะห์คดีอาญาที่สมบูรณ์จำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทั้งหมด
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48106
Legal
กรณีสามีพาภริยาไปกักขังโดยเข้าใจว่ามีสิทธิ์ตามกฎหมาย จะเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก หรือไม่?
null
ใช่ สามีมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก เหตุผล: 1. องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก -ผู้กระทำต้องเป็นบุคคลอื่น : กรณีนี้ สามีและภริยาเป็นบุคคลคนเดียวกัน จึงไม่เข้าองค์ประกอบ -มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น: กรณีนี้ สามีมีเจตนาพาภริยาไปกักขัง -มีการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย: กรณีนี้ สามีพาภริยาไปกักขัง 2. สามีไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะกักขังภริยา -ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 บัญญัติว่า "สามีภริยามีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกัน" หมายความว่า สามีไม่มีสิทธิ์เหนือร่างกายของภริยา -การกักขังภริยาเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในร่างกาย 3. เจตนาของสามีไม่ใช่เหตุยกเว้นโทษ - แม้สามีจะเข้าใจผิดคิดว่ามีสิทธิ์กักขังภริยา แต่ก็ไม่ใช่เหตุยกเว้นโทษเพราะการเข้าใจผิดกฎหมายไม่ใช่เหตุผลที่สามารถอ้างเพื่อพ้นผิด 4. ฎีกาที่เกี่ยวข้อง -ฎีกาที่ 735/2555 -ฎีกาที่ 1288/2564 สรุป: สามีมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรกแม้สามีจะเข้าใจผิดคิดว่ามีสิทธิ์กักขังภริยา แต่ก็ไม่ใช่เหตุยกเว้นโทษ หมายเหตุ -ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการให้ความรู้เบื้องต้น ไม่สามารถใช้แทนคำปรึกษาทางกฎหมายจากวิชาชีพได้ -กรณีมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ควรปรึกษาทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา)
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48111
Legal
ความแตกต่างระหว่างความผิดฐานชิงทรัพย์กับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามบทบัญญัติของกฎหมายคืออะไร
null
คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ -คำพิพากษาฎีกาที่ 11052/2553 ความแตกต่างระหว่างความผิดฐานชิงทรัพย์กับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามบทบัญญัติของกฎหมายมิได้อยู่ที่จำนวนทรัพย์สินที่ผู้กระทำผิดได้ไปว่าจะเป็นทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน เพราะไม่ว่าคนร้ายจะได้ทรัพย์สินไปเพียงใด การกระทำความผิดก็เกิดขึ้นแล้วเช่นกัน แต่ข้อสาระสำคัญอยู่ที่ว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ต้องมีฐานเดิมจากความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 โดยคนร้ายใช้กำลังประทุษร้ายเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์นั้นหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้นตามความใน ป.อ. มาตรา 339(2) โดยการลักทรัพย์กับการใช้กำลังประทุษร้ายต้องไม่ขาดตอน หรือเป็นการลักทรัพย์ที่ต้องขู่เข็ญให้ปรากฎว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายต่อเนื่องกันไป เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ถูกจำเลยตบหน้าทันทีที่เปิดประตูห้อง เมื่อ ช. ตามเข้าไปปิดประตูห้อง จำเลยก็ล้วงมีดพับออกมาจี้ที่แก้มผู้เสียหาย ขู่ขอเงินไปซื้อสุรา พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนั้นบ่งชี้ไปทำนองว่าหากผู้เสียหายขัดขืนไม่ให้เงินก็จะประทุษร้ายต่อเนื่องไปในทันใดนั้น แสดงให้เห็นว่ามุ่งหมายมาทำร้ายและขู่เข็ญผู้เสียหายโดยประสงค์ต่อทรัพย์มาแต่แรก ไม่ใช่เป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินบางส่วนโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามที่จำเลยฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 จึงชอบแล้ว
ประมวลกฎหมายอาญา,คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48133
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2555 วินิจฉัยว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2555 วินิจฉัยว่า กรณีความผิดอาญาซึ่งกระทำต่อนิติบุคคล ผู้จัดการหรือ ผู้แทนอื่นของนิติบุคคล มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 (3) สำหรับโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 51 บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนหรือผู้จัดการทำการแทนก็ได้" ประกอบกับข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 58 (16) ระบุให้คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์มีอำนาจและหน้าที่ ฟ้อง ต่อสู้คดี หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์ฯ ดังนี้ คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ที่เป็นเสียงข้างมาก จึงเป็นผู้แทนโจทก์ที่มีอำนาจฟ้องคดีด้วยตนเอง หรือจะมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีแทนก็ได้ เมื่อการฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ ได้มอบหมายให้ ช. และ ก. ดำเนินคดีแทน แม้ ช. และ ก. จะเป็นกรรมการของโจทก์ หรือสมาชิกโจทก์ก็ ไม่อาจฟ้องคดีแทนโจทก์ และไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ แม้กรรมการของโจทก์คนใดคนหนึ่งจะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยลำพัง
คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48151
Legal
ภริยาที่ด่าทอสามีด้วยถ้อยคำหยาบคาย กรณีนี้ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ สามีสามารถฟ้องถอนคืนการให้ที่ดินได้หรือไม่ จงอธิบาย
null
กรณีนี้ สามีไม่สามารถฟ้องถอนคืนการให้ที่ดินได้ เหตุผล: การด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย แม้จะฟังดูไม่ดี แต่ไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณตามกฎหมาย การประพฤติเนรคุณตามกฎหมาย หมายถึง การกระทำที่แสดงถึงความอกตัญญูต่อผู้ให้ เช่น การประทุษร้ายต่อผู้ให้ การทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือการบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นแก่ผู้ให้ ในกรณีนี้ ภริยาไม่ได้กระทำการใดๆ ดังที่กล่าวมา การด่าทอสามีด้วยถ้อยคำหยาบคาย อาจจะเป็นการระบายอารมณ์ หรือเป็นการตอบโต้จากการที่สามีข่มเหงน้ำใจ ศาลฎีกาเคยพิพากษาไว้ในคดีหมายเลข 1953/2537 ว่า การด่าทอสามีว่า "ไอ้ห่าบ้าตัณหาเลวที่สุดได้หน้าหีมือถือสากปากถือศีล" ไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ ตัวอย่าง นาย A โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ นาง B ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต่อมานาย A ทะเลาะกับนาง B และถูกนาง B ด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย นาย A จึงฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอถอนคืนการให้ที่ดิน อ้างว่านาง B ประพฤติเนรคุณ ศาลพิพากษาว่า นาง B ไม่ได้ประพฤติเนรคุณ นาย A จึงไม่สามารถถอนคืนการให้ที่ดินได้ บทสรุป: การด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคาย ไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ สามีจึงไม่สามารถฟ้องถอนคืนการให้ที่ดินได้ ประเด็นทางกฎหมาย การประพฤติเนรคุณ การถอนคืนการให้ สามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส คำแนะนำ กรณีสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ควรตกลงกันให้ชัดเจนเกี่ยวกับทรัพย์สิน เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง กรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สิน ควรปรึกษาทนายความเพื่อหาแนวทางการแก้ไข
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายเยาวชนและครอบครัว,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48163
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๒๗๐/๒๕๕๔ กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๒๗๐/๒๕๕๔ กล่าวว่า องค์ประกอบความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้นต้องกระทำต่อทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย คำว่า “ทรัพย์ของผู้อื่น” หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายโดยตรงจากเจ้าของทรัพย์ให้เป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์นั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่ารถยนต์กระบะคันดังกล่าวเป็นของบิดาผู้เสียหายที่ ๑ และเป็นรถยนต์ที่ใช้ในครอบครัวของผู้เสียหายที่ ๑ ดังนี้ แม้ผู้เสียหายที่ ๑ ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของรถยนต์กระบะสามารถใช้รถยนต์คันดังกล่าวได้ทุกเวลาก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงสิทธิใช้รถยนต์กระบะในฐานะบุตรเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าบิดาของผู้เสียหายที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะได้มอบหมายโดยตรงให้ผู้เสียหายที่ ๑ เป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์ดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของทรัพย์ผู้เสียหายที่ ๑ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและเมื่อปรากฏว่าบิดาของผู้เสียหายที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ และพนักงานอัยการไม่มีสิทธิฟ้องในข้อหาฐานทำให้เสียทรัพย์ได้ คำพิพากษาฎีกานี้ มีคำสำคัญคือ “ทรัพย์ของผู้อื่น” ซึ่งหมายถึง บุคคลที่ได้รับมอบหมายโดยตรงจากเจ้าของทรัพย์ให้เป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์นั้น
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายหลักทรัพย์,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48178
Legal
จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในคดีนี้หรือไม่
null
ไม่ เหตุผล: โจทก์ฟ้องคดีเกินกำหนดอายุความ: คดีนี้โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2539 ซึ่งเกินกว่า 1 ปีหลังจากที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้: จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่ความร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ คดีนี้เป็นการชำระหนี้ซึ่งบังแยกจากกันมิได้: โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลแห่งคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1: แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ และมิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) และ 247 หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: -ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง -ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) และ 247 คำอธิบายเพิ่มเติม: -อายุความคือ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิ หากปล่อยเนิ่นนานเกินกว่ากำหนด สิทธิ์นั้นจะตกเป็นโมฆะ -คดีนี้เป็นการฟ้องร้องเกี่ยวกับละเมิด ซึ่งมีอายุความ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน -จำเลยมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ หากโจทก์ฟ้องคดีเกินกำหนดอายุความ -กรณีคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งบังแยกจากกันมิได้ หากคู่ความคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจะพิพากษายกฟ้องทั้งคดี สรุป: จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในคดีนี้ เพราะคดีของโจทก์ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48194
Legal
จำเลยในคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติด สามารถยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกาได้หรือไม่?
null
ใช่ จำเลยสามารถยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกาได้ เหตุผล: หลักทั่วไป: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "จำเลยจะแก้ไขคำให้การได้ก่อนศาลมีคำพิพากษา" หลักทั่วไปนี้ หมายความว่า จำเลยสามารถแก้ไขคำให้การได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อยกเว้นสำหรับการแก้ไขคำให้การในชั้นฎีกา ดังนี้ 1. กรณีจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: หากจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ได้ 2. กรณีจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย: หากจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายใหม่ได้ 3. กรณีมีเหตุผลอันสมควร: ศาลฎีกามีอำนาจให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้ แม้จะพ้นกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสองแล้วก็ตาม คำพิพากษาฎีกาที่ 9481/2553 วินิจฉัยว่า การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา ถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริง โดยไม่ได้โต้แย้งข้อที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิด ผลของการยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา: 1. ศาลฎีกา: ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาคำร้องของจำเลย และวินิจฉัยว่า จำเลยมีเหตุผลอันสมควรที่จะแก้ไขคำให้การหรือไม่ 2. โทษจำคุก: หากศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ และจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยตามกฎหมาย สรุป: จำเลยในคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติด สามารถยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกาได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายยาเสพติดให้โทษ
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48213
Legal
การเขียนคำตอบในข้อสอบวิชากฎหมาย มีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง?
null
การเขียนคำตอบในข้อสอบวิชากฎหมาย มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ 1. ภาษา: ต้องใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้อง ชัดเจน ควรใช้ภาษากฎหมายที่ได้มาจากตัวบท คำพิพากษาฎีกา หรือตำรากฎหมาย หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาปากหรือภาษา slang 2. โครงสร้าง: ควรแบ่งคำตอบเป็นย่อหน้า แต่ละย่อหน้าควรมีประเด็นหลัก เรียงลำดับประเด็นให้ชัดเจน สรุปธงคำตอบตอนท้าย 3. เนื้อหา: ตอบคำถามให้ครบทุกประเด็น อธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อเท็จจริง ยกตัวอย่างประกอบ สรุปผล 4. ความถูกต้อง: หลักกฎหมายต้องถูกต้อง วิเคราะห์ข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง อ้างอิงตัวบทกฎหมายและคำพิพากษาฎีกาที่ถูกต้อง 5. ความเป็นระเบียบ: เขียนคำตอบให้เรียบร้อย อ่านง่าย ไม่ควรเขียนยาวเกินไป ตรวจทานก่อนส่ง ตัวอย่าง: โจทย์: นาย A ขับรถชนนาย B บนถนนสาธารณะ นาย B ได้รับบาดเจ็บสาหัส นาย A จะต้องรับผิดฐานอะไรบ้าง? คำตอบ: 1. ภาษา: ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้อง ชัดเจน ใช้ภาษากฎหมาย เช่น "ทำละเมิด" "ประมาทเลินเล่อ" "ค่าเสียหาย" 2. โครงสร้าง: แบ่งคำตอบเป็น 3 ย่อหน้า ย่อหน้าแรก: อธิบายหลักกฎหมายฐานละเมิด ย่อหน้าที่สอง: วิเคราะห์ข้อเท็จจริง ย่อหน้าที่สาม: สรุปผล 3. เนื้อหา: อธิบายหลักกฎหมายฐานละเมิด วิเคราะห์ว่านาย A ประมาทเลินเล่อหรือไม่ อธิบายว่านาย B ได้รับความเสียหายอะไรบ้าง สรุปผลว่านาย A ต้องรับผิดฐานละเมิด 4. ความถูกต้อง: อ้างอิงตัวบทกฎหมายมาตรา 420 วิเคราะห์ข้อเท็จจริงตามหลักกฎหมาย 5. ความเป็นระเบียบ: เขียนคำตอบให้เรียบร้อย อ่านง่าย ไม่เขียนยาวเกินไป สรุป: การเขียนคำตอบในข้อสอบวิชากฎหมายที่ดี จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังที่กล่าวมา
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48220
Legal
บุคคลที่มีเงินเดือน 100,000 บาทต่อเดือน สามารถขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้หรือไม่?
null
เป็นไปได้ เหตุผลคือ หลักเกณฑ์การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156/1 บุคคลสามารถขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าตนเป็นคนยากจน เพียงแต่ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า • สถานะของผู้ร้องขอในขณะนั้น ไม่มีเงินเพียงพอ ที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่เดือดร้อนเกินสมควร คำฟ้อง/คำร้อง มีมูล การพิจารณา • ศาลจะพิจารณาจาก สถานะทางการเงิน ของผู้ร้องขอใน ปัจจุบัน เงินเดือน 100,000 บาท อาจ ไม่เพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล โดยไม่เดือดร้อนเกินสมควร ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น จำนวนบุคคลที่ต้องอุปการะ หนี้สินที่มี ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ศาลจะพิจารณา มูล ของคำฟ้อง/คำร้อง ว่ามีเหตุผลสมควรที่จะยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่ ตัวอย่าง บุคคลที่มีเงินเดือน 100,000 บาท อาจมีภาระหนี้สินจำนวนมาก หรือมีบุคคลที่ต้องอุปการะหลายคน ในกรณีนี้ ศาลอาจพิจารณาว่า เงินเดือน 100,000 บาท ไม่เพียงพอ ที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล โดยไม่เดือดร้อนเกินสมควร ดังนั้น บุคคลที่มีเงินเดือน 100,000 บาท สามารถ ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ ข้อควรระวัง การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเป็น ดุลพินิจ ของศาล ศาลจะพิจารณาจาก ข้อเท็จจริง แต่ละกรณี บุคคลที่ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลควร เตรียมหลักฐาน เกี่ยวกับสถานะทางการเงินของตน สรุป บุคคลที่มีเงินเดือน 100,000 บาท สามารถ ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ ศาลจะพิจารณาจาก สถานะทางการเงิน ของผู้ร้องขอใน ปัจจุบัน และ มูล ของคำฟ้อง/คำร้อง บุคคลที่ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลควร เตรียมหลักฐาน เกี่ยวกับสถานะทางการเงินของตน หมายเหตุ • ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงข้อแนะนำทั่วไป • บุคคลควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มเติม • บุคคลควรปรึกษาทนายความหากต้องการคำแนะนำทางกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48232
Legal
มาตรา 218 บัญญัติว่าอย่างไร
null
มาตรา 218 บัญญัติว่า “ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง” ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขมาก ไม่เข้ากรณีมาตรา 218 ต้องพิจารณาต่อไปว่าต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 219 หรือไม่ กรณีที่ศาลฎีกาวางแนวบรรทัดฐานตลอดมาว่า กรณีที่จะถือว่าศาลอุทธรณ์แก้ไขมาก นั้น มีอยู่ 4 กรณี เท่านั้น คือ 1. ศาลอุทธรณ์แก้ทั้งบทและโทษ 2. ศาลอุทธรณ์แก้เรื่องการรอการลงโทษ 3. ศาลอุทธรณ์แก้เป็นไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปรับการอบรบ ข้อสังเกต แต่ถ้าเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษจำคุก เป็นการส่งตัวเด็กไปฝึกอบรม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย 4. ศาลอุทธรณ์แก้จากโทษปรับสถานเดียวเป็นจำคุกแล้วเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ประเด็นที่สำคัญ การที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขระบุวรรคของความผิดให้ชัดเจน เพราะศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุวรรคมานั้น ก็ถือว่าไม่เป็นการแก้บท แม้ศาลอุทธรณ์จะแก้โทษด้วย ก็ถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย
คำพิพากษาศาลฎีกา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48241
Legal
อะไรคือองค์ประกอบหลักของการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา?
null
การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา หมายถึง การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง องค์ประกอบหลักของการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มีดังนี้: 1. มีการใส่ความผู้อื่น: หมายถึง การกล่าวข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับบุคคลอื่น ซึ่งข้อความนั้นไม่เป็นความจริง 2. ต่อบุคคลที่สาม: หมายถึง การกล่าวข้อความใส่ความต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่กรณี 3. โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง: หมายถึง การกล่าวข้อความนั้น ย่อมทำให้บุคคลที่สามเข้าใจผิดเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกใส่ความ 4. มีเจตนา: ผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะใส่ความผู้อื่น ตัวอย่าง: การเขียนข้อความใน Facebook ว่า "นาย A เป็นคนโกง" การพิมพ์แผ่นพับโฆษณาว่า "ร้าน B ขายสินค้าปลอม" การพูดในที่ประชุมว่า "นางสาว C เป็นเมียน้อยของนาย D" บทลงโทษ: ผู้ใดหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประเด็นสำคัญ: การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เป็นการละเมิดต่อสิทธิในชื่อเสียงของบุคคล ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำได้ ภาระการพิสูจน์ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง อยู่ที่ผู้กระทำ คำอธิบายเพิ่มเติม: การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เป็นการละเมิดต่อสิทธิในชื่อเสียงของบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่บุคคลทุกคนพึงมี การกระทำดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และความน่าเชื่อถือของบุคคล กฎหมายจึงกำหนดบทลงโทษเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคล ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำได้ ภาระการพิสูจน์ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง อยู่ที่ผู้กระทำ
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48243
Legal
ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้หรือไม่
null
โดยทั่วไปแล้ว ไม่ ผู้ให้เช่าไม่สามารถบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้ ยกเว้นแต่มีเหตุผลตามกฎหมายที่กำหนดไว้ เหตุผล: หลักการคุ้มครองผู้เช่า: กฎหมายไทยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้เช่า สัญญาเช่าจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ผู้ให้เช่าไม่สามารถบอกเลิกสัญญาโดยพลการได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560: บัญญัติไว้ว่า "ถ้าไม่มีกำหนดโดยสัญญาหรือโดยจารีตประเพณีว่าจะพึงชำระค่าเช่า ณ เวลาใด ท่านให้ชำระเมื่อสิ้นระยะเวลาอันได้ตกลงกำหนดกันไว้ทุกคราวไป กล่าวคือว่าถ้าเช่ากันเป็นรายปีก็พึงชำระค่าเช่าเมื่อสิ้นปี ถ้าเช่ากันเป็นรายเดือนก็พึงชำระค่าเช่าเมื่อสิ้นเดือน" หมายความว่า สัญญาเช่ามีผลผูกพันคู่สัญญาจนครบกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ข้อยกเว้น: มีบางกรณีที่ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้ เช่น ผู้เช่าผิดสัญญา: เช่น ไม่ชำระค่าเช่า ล่าช้า หรือไม่ดูแลรักษาสิ่งปลูกสร้าง เกิดเหตุการณ์สุดวิสัย: เช่น สิ่งปลูกสร้างเกิดไฟไหม้ น้ำท่วม หรือเกิดภัยธรรมชาติ มีข้อตกลงในสัญญา: ผู้ให้เช่าและผู้เช่าสามารถตกลงกันล่วงหน้าในสัญญาเช่า เกี่ยวกับกรณีที่สามารถบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้ ตัวอย่างฎีกา: ฎีกาที่ 976/2495: ผู้ให้เช่าไม่สามารถบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้ แม้จะมีข้อความในสัญญาว่า "เมื่อผู้ให้เช่าจะต้องการคืนห้องทั้งสองฝ่ายจะต้องบอกให้รู้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนไม่น้อยกว่า 30 วัน" ก็ตาม เพราะข้อความนี้ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ฎีกาที่ 8043/2559: ก่อนจะมีสัญญาเช่าฉบับใหม่เกิดขึ้น โจทก์และจำเลยต้องตกลงกันในเรื่องอัตราค่าเช่า แม้จะมีเจตนาจะทำสัญญาเช่านานถึง 12 ปี แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยยังคงผูกพันกันแค่สามปี สรุป: โดยทั่วไปแล้ว ผู้ให้เช่าไม่สามารถบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้ ยกเว้นแต่มีเหตุผลตามกฎหมายที่กำหนดไว้ หมายเหตุ: คำตอบข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลทั่วไป ไม่ได้เป็นการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญญาเช่า หรือต้องการคำปรึกษาทางกฎหมาย แนะนำให้ปรึกษาทนายความ
กฎหมายเช่าทรัพย์,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48252
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14213/2557 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14213/2557 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายเบิกถอนเงินของผู้เสียหายจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารโดยสำคัญผิดว่าจำเลยที่ 3 ผู้มอบบัตรเอทีเอ็มและใช้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปเบิกถอนเงินมีสิทธิที่จะใช้บัตรเอทีเอ็มนั้นได้ แม้ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 มีสิทธิใช้บัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายไปเบิกถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารจะไม่มีอยู่จริง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 สำคัญผิดว่ามีอยู่จริง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดของจำเลยที่ 3 เอง และแม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิด แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อมโดยใช้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวแทนโดยบริสุทธิ์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะกระทำผิดด้วยตัวเอง หรือเป็นการกระทำผิดโดยอ้อม จำเลยที่ 3 ก็มีสถานะเป็นผู้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเหมือนกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาจึงย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),ประมวลกฎหมายอาญา,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48256
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520 บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพันบาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2,3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้ ต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงินฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถูบ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดีตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยวตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326 ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 2 ผู้เป็นประธานกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้หมิ่นประมาทโจทก์เพราะมีสาเหตุกันเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ากระทำไปในฐานะประธานกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายนิติบุคคล,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48274
Legal
โจทก์มีอำนาจฟ้องร้องจำเลยฐานรับของโจรหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้รับของกลางที่จำเลยรับไว้คืนแล้ว
null
ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องร้องจำเลยฐานรับของโจร เหตุผล: ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยฐานรับของโจรมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ผู้ใดรับของโจรไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่ได้มาโดยการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อโจทก์ได้รับของกลางที่จำเลยรับไว้คืนแล้ว หมายความว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดฐานรับของโจรของจำเลยแล้ว ดังนั้น ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยฐานรับของโจรจึงมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องร้องให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ได้คืนแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 บัญญัติว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องร้องให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิด อย่างไรก็ตาม มาตรา 43 นี้ ไม่ได้ให้อำนาจโจทก์ฟ้องร้องให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับคืนแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องร้องให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ได้คืนแล้ว โจทก์สามารถไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีใหม่ได้ หากโจทก์ต้องการเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพิ่มเติม โจทก์สามารถไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีใหม่ได้ สรุป: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องร้องจำเลยฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ได้รับของกลางที่จำเลยรับไว้คืนแล้ว หมายเหตุ: คำตอบนี้เป็นเพียงแนวทางทั่วไปเท่านั้น การพิจารณาคดีแต่ละคดีเป็นไปตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏในคดีนั้นๆ
ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง)
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48314
Legal
ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเสมอไปหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง?
null
ไม่เสมอไป เหตุผล: 1. บทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป มาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ภายในสิบห้าวัน ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ" อย่างไรก็ตาม คำว่า "ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ" นั้น ไม่ได้แปลว่าศาลมีหน้าที่ต้องจำหน่ายคดีเสมอไป แต่เป็นการให้อำนาจแก่ศาลในการพิจารณาสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยพิจารณาตามพฤติการณ์ของคดีเป็นรายๆ ไป 2. ศาลมีดุลพินิจในการพิจารณาสั่งจำหน่ายคดี ศาลมีอำนาจในการพิจารณาสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ เจตนารมณ์ของโจทก์: โจทก์ยังประสงค์ที่จะดำเนินคดีต่อหรือไม่ เหตุผลที่โจทก์ไม่ยื่นคำร้อง: โจทก์มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ ที่ไม่ยื่นคำร้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ผลกระทบต่อคู่ความ: คู่ความจะได้รับผลกระทบอย่างไร หากศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี 3. ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง คำพิพากษาฎีกาที่ 10330-10331/2553: ศาลชั้นต้นมีดุลพินิจที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยพิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นรายๆ ไป กรณีนี้ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ฟ้องแย้งผู้ร้องมาในคำคัดค้าน แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ว่ายังมีความประสงค์ที่จะดำเนินคดี นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงต่อไปว่า ผู้ร้องได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการรับฟ้องแย้งของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ว่าไม่ถูกต้อง อันอาจเป็นเหตุทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าต้องรอคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องดังกล่าวก่อน พฤติการณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นไม่จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ออกเสียจากสารบบความ คำพิพากษาฎีกาที่ 7420/2541: ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะพิจารณาสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ของคดี กรณีนี้ โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน และไม่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีได้ 4. สรุป ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะพิจารณาสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ โดยพิจารณาจากพฤติการณ์ของคดีเป็นรายๆ ไป ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48317
Legal
คู่ความสามารถขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำเงินหรือทรัพย์สินที่พิพาทมาวางศาลได้หรือไม่?
null
ได้ เหตุผล: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 อนุญาตให้คู่ความสามารถร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนในระหว่างพิจารณาคดี การนำเงินหรือทรัพย์สินที่พิพาทมาวางศาล เป็นวิธีการหนึ่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความ ศาลมีอำนาจพิจารณาคำร้องและมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา: -ฎีกาที่ 5982/2549: คดีแบ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์นำเงินจำนวน 2,000,000 บาท มาวางศาล เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลย -ฎีกาที่ 954/2510: คดีแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์นำรายได้จากกิจการโรงแรมและบ้านเช่ามาวางศาล เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ ข้อควรพิจารณา: -ศาลจะพิจารณาคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของแต่ละคดี -ศาลอาจกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ แทนการนำเงินหรือทรัพย์สินมาวางศาล เช่น ให้จำเลยวางหลักประกัน หรือ ให้โจทก์งดเว้นการกระทำบางอย่าง สรุป: คู่ความสามารถขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำเงินหรือทรัพย์สินที่พิพาทมาวางศาลได้ แต่ศาลจะพิจารณาคำร้องโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของแต่ละคดี
กฎหมายทรัพย์สิน-กรรมสิทธิ์-ทรัพย์อิงสิทธิ
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48319
Legal
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เสียหายไปใช้เบิกถอนเงินสด พนักงานอัยการสามารถมีคำขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้หรือไม่ จงอธิบาย
null
พนักงานอัยการสามารถมีคำขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้ เหตุผล: ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 บัญญัติว่า พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีอาญาและมีอำนาจขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนผู้เสียหาย คำพิพากษาฎีกาที่ 52/2553 วินิจฉัยว่า การที่จำเลยนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เสียหายไปใช้เบิกถอนเงินสด เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีอาญาและมีอำนาจขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนผู้เสียหาย หลักฐาน: ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 คำพิพากษาฎีกาที่ 52/2553 คำแนะนำ: - ผู้เสียหายควรแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับจำเลย - พนักงานอัยการสามารถมีคำขอให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้ - ผู้เสียหายควรปรึกษาทนายความเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินคดี เพิ่มเติม: - ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้ แม้ว่าพนักงานอัยการจะไม่มีคำขอท้ายฟ้องก็ตาม - ผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพิ่มเติมจากคดีอาญาได้
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48390
Legal
คำพิพากษาฏีกา ๕๖๗๔/๒๕๔๔ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับแบบพิมพ์ใบเสร็จรับเงินธนาคารอย่างไรบ้าง
null
๑. แบบพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ที่ไม่มีข้อความใด ๆ ในแบบพิมพ์ ไม่ใช่เอกสาร การเอาไปจึงไม่เป็นความผิดฐานเอาไปซึ่งเอกสารผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา ๑๘๘ (คำพิพากษาฏีกา ๕๖๗๔/๒๕๔๔) มีความผิดฐานลักทรัพย์คือลักกระดาษ เพราะมีการนำไปกรอกข้อความว่าธนาคารได้มีการรับแลกเปลี่ยนเงิน เมื่อมีการตรวจสอบ การที่ผู้ต้องหานำไปลงรายการแล้วนำไปมอบให้นาง ส. เพื่อให้ตนพ้นจากความผิด เนื่องจากตนไม่ได้ลงรายการซื้อขายเงินสกุลวอนซึ่งทำให้ธนาคารขาดรายได้ โดยการแลกเปลี่ยนเงินต้องเสียค่าธรรมเนียม เมื่อไม่มีการลงรายการไว้ว่ามีการแลกเปลี่ยนเงินสกุลนี้ย่อมทำให้ธนาคารขาดรายได้ในส่วนนี้ไป เมื่อตนถูกธนาคารตรวจสอบจึงได้นำแบบฟอร์มใบเสร็จเปล่ามากรอกข้อความให้ตนเองพ้นผิด จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายซึ่งไม่ใช่ตัวเงิน มีผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง (ลักกระดาษ) ๒. การที่ผู้ต้องหาไม่ได้ลงรายการแลกเปลี่ยนเงินสกุลวอนซึ่งต้องมีการเสียค่าธรรมเนียม ทำให้ธนาคารขาดรายได้ไป น่าเชื่อว่าผู้ต้องหาได้นำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง (ลักเงินค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนเงิน) ๓. การที่ผู้ต้องหานำแบบฟอร์มใบเสร็จรับเงินเปล่าไปกรอกข้อความว่าธนาคารได้รับแลกเปลี่ยนเงิน อันเป็นการกรอกข้อความในอำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ต้องหามีอำนาจกรอกข้อความในใบเสร็จได้และเป็นการกรอกข้อความตรงตามความเป็นจริง และไม่ได้มีการปลอมลายมือชื่อใคร จึงไม่เป็นการปลอมเอกสาร และเมื่อนำไปยื่นให้นาง ส. ก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ๔. ความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ปลอมและใช้เอกสารปลอมเป็นความผิดที่เป็นอาญาแผ่นดิน แม้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก็ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะทำการสอบสวน ไม่ตัดอำนาจพนักงานอัยการที่จะฟ้อง แต่ไม่สามารถฟ้องได้ เพราะการกระทำของผู้ต้องหาไม่เป็นการเอาไปซึ่งเอกสารของผู้อื่น ไม่เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม ๕. ความผิดฐานลักทรัพย์ (ลักกระดาษ) กับความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง (ลักเงินค่าธรรมเนียม) เป็นความผิดคนละกรรมกัน เพราะทำต่างกรรมต่างวาระกัน คนละวันคนละเวลากัน
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับการปลอมและแปลง,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48399
Legal
ข้อสังเกตจากคดีสมัครใจวิวาทอ้างป้องกันไม่ได้ ซึ่งชี้ขาดความเห็นแย้ง ๘๐/๒๕๕๓ มีอะไรบ้าง
null
ข้อสังเกตจากคดีสมัครใจวิวาทอ้างป้องกันไม่ได้ ซึ่งชี้ขาดความเห็นแย้ง ๘๐/๒๕๕๓ ๑. ผู้ต้องหาเมื่อถูกนาย ม. ด่า ผู้ต้องหาก็ตรงเข้าไปชกนาย ม. แม้ผู้เสียหายและนาย ธ. จะเข้ามาช่วย จะถือว่าตนต้องสู้กับคน ๓ คน โดยตนโดนรุมไม่ได้ ถือมีเจตนาทะเลาะวิวาท เมื่อสมัครใจทะเลาะวิวาทจะถือว่าการที่ตนถูกรุมเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดกฏหมายไม่ได้ จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายได้ ๒. แทงที่หน้าอกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญถือมีเจตนาฆ่า ทั้งการที่ดึงมีดออกจากอกผู้ตายแล้วเสียหลักล้มไปถูกผู้เสียหาย แสดงว่ามีดปักแน่นอันแสดงให้เห็นว่าแทงโดยแรงไปที่อวัยวะสำคัญ ส่อให้เห็นว่ามีเจตนาฆ่าผู้ตาย ๓. ผู้ต้องหาชักมีดออกจากอกผู้ตายแล้วล้มมีดไปถูกผู้เสียหายที่หลังโดยผู้เสียหายนั่งอยู่บริเวณดังกล่าว ย่อมเล็งเห็นได้ว่า การแทงโดยแรงมีดย่อมปักเข้าไปลึกเมื่อชักมีดออกย่อมเสียหลักไปถูกผู้เสียหายที่นั่งบริเวณดังกล่าวได้ เมื่อมีดถูกผู้เสียหายที่หลังซึ่งไม่ใช่อวัยวะสำคัญและผู้เสียหายรักษาบาดแผลเพียง ๗ วัน เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ๔. มีดพับโดยสภาพไม่ใช่อาวุธ ใช้ในการปอกหรือตัดสิ่งของต่างๆ แต่เมื่อได้ใช้หรือมีเจตนาใช้ประทุษร้ายเป็นอันตรายสาหัสอย่างอาวุธ โดยใช้แทงผู้ตายถึงแก่ความตาย มีดพับจึงเป็นอาวุธ ตาม ป.อ. มาตรา ๑ (๕) ๕. เมื่อมีดพับเป็นอาวุธ การที่ผู้ต้องหานำติดตัวจึงเป็นการพาอาวุธไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยไม่มีเหตุอันควร ๖. ข้อหาพาอาวุธฯ พนักงานสอบสวนยังไม่ได้แจ้งข้อหา ถือยังไม่ได้มีการสอบสวนในความผิดฐานนี้ จึงให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนผู้ต้องหาในความผิดนี้ ก่อนฟ้อง ๗. มีดพับที่พาไปในเมืองหมู่บ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอศาลสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา ๓๗๑ และเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือได้ใช้ในการกระทำผิดฐานฆ่า จึงต้องริบตาม ป.อ. มาตรา ๓๓ (๑)
ประมวลกฎหมายอาญา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48408
Legal
ข้อสังเกตจากคำพิพากษาฏีกา ๙๘๕/๒๕๔๖ มีอะไรบ้าง
null
ข้อสังเกตจากคำพิพากษาฏีกา ๙๘๕/๒๕๔๖ ๑. การกระทำความผิดแต่ละกรรมมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน ความผิดใดครบองค์ประกอบความผิดก็เป็นความผิดไปในตัวแม้จะกระทำต่อเนื่องกัน แต่การกระทำแต่ละอันมีเจตนาในการกระทำที่แตกต่างกัน องค์ประกอบกฏหมายก็แตกต่างกัน แต่ละการกระทำความผิดได้กระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว จึงมากระทำความผิดฐานอื่นอีก แม้กระทำต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ได้มีเจตนาในการกระทำความผิดเจตนาเดียว จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน จึงต้องลงทุกกรรมที่เป็นความผิด ๒. จับผู้เสียหายกดน้ำจนหมดสติ ผู้เสียหายไม่สามารถช่วยตัวเองได้อาจตายเพราะการกดน้ำหรือจมน้ำตายได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย ถือว่าจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า ๓. การที่จำเลยไม่ยอมมอบผู้เสียหายให้นาย ก. เพื่อนำไปโรงพยาบาล เป็นการหน่วงเหนียวกักขังหรือกระทำด้วยประการใดๆให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย อันเป็นความผิดเสรีภาพ ตาม ป.อ. มาตรา ๓๑๐ เป็นความผิดอีกกรรมที่มีเจตนาและองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดฐานพยายามฆ่า ๔. การที่จำเลยกระชากเสื้อผู้เสียหาย เห็นสร้อยคอพร้อมพระเลี่ยมทองจึงกระชากมาเป็นของตน เป็นการแย่งการครอบครองในสร้อยคอและพระเลี่ยมทองของผู้เสียหายโดยเจตนาทุจริตแสวงหาผลประโยชน์อันไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายโดยใช้กำลังประทุษร้ายกระชากเสื้อผู้เสียหายจนหลุดออก เพื่อให้ความสะดวกในการลักทรัพย์ ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์ ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ เป็นอีกกรรมต่างหากจากกากรกระทำตามข้อ ๒, ข้อ ๓ ๕. การที่จำเลยถอดกางเกงของผู้เสียหายจนหลุดออก มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดทางเพศ อันเป็นการกระทำอนาจาร อีกกรรมแตกต่างจากการกระทำตามข้อ ๒, ข้อ ๓, ข้อ ๔ ๖. จำเลยคงมีเจตนาข่มขืน แต่เมื่อผู้เสียหายบอกเป็นโรคเอดส์ จำเลยเกิดลังเลจนผู้เสียหายวิ่งหนีไปได้ จำเลยเองก็ยังไม่ได้ถอดกางเกงของตนออก และยังไม่มีการกระทำใดๆอันใกล้ชิดอันมีลักษณะใดอันจะเป็นความผิดฐานข่มขืนได้ จึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับเพศ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48411
Legal
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการแซงรถด้วยเจตนาเล็งเห็นผล ในคำพิพากษาฏีกาที่ ๑๐๐๓/๒๕๑๒ มีอะไรบ้าง
null
๑. การแซงรถด้วยการขับรถด้วยความเร็วสูงแล้วปาดหน้ารถที่แซงอย่างกระทันหัน ย่อมเห็นได้ว่า รถที่จำเลยขับอาจอาจเฉี่ยวชนรถผู้เสียหายได้ หากผู้เสียหายหยุดรถไม่ทันย่อมเกิดการเฉี่ยวชนกันและตกถนนได้ ตามทฤษฏีผลโดยตรง หากไม่ทำผลไม่เกิด ดังนั้นต้องถือว่าผลเกิดจากการกระทำของจำเลย นั่นก็คือ หากจำเลยแซงรถผู้เสียหายแล้วผู้เสียหายหยุดรถไม่ทันเกิดเฉี่ยวชนกันหรือผู้เสียหายหักหลบแล้วรถตกถนน ต้องถือว่าการที่รถตกถนนหรือรถชนกันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยคาดเห็นหรือเล็งเห็นผลได้ว่า ผู้เสียหายอาจหยุดรถไม่ทันจนเกิดการเฉี่ยวชนกันหรือผู้เสียหายหักพวงมาลัยหลบรถที่จำเลยขับ และรถผู้เสียหายอาจตกถนนได้ ดังนั้น จึงถือเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย หากผู้เสียหายหักหลบแล้วรถตกถนนหรือรถเฉี่ยวชนกัน จำเลยจึงต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น ๒. หากที่เกิดเหตุเป็นเหวหรือที่สูง และผู้เสียหายหยุดรถไม่ทันหรือหักรถหลบแล้วเกิดการเฉี่ยวชนหรือหักหลบแล้วรถตกถนนถึงแก่ความตาย ต้องถือว่าจำเลยฆ่าผู้เสียหายโดยเจตนาเล็งเห็นผล แต่หากผุู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย ต้องถือว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ๓. แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้เสียหายสามารถหยุดรถได้ทันและเครื่องรถดับคงเป็นเพราะเหยียบเบรคอย่างเร็วไม่ได้เหยียบครัชด้วยรถจึงเครื่องดับ โดยล้อรถห่างขอบถนน ๒ ศอก ถนนที่เกิดเหตุก็สูงจากท้องนา เพียง ๑ เมตร ผู้เสียหายขับรถมาด้วยความเร็วเพียง ๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงไม่เป็นที่แน่นอนว่า หากรถตกถนนแล้วผู้เสียหายจะถึงแก่ความตายหรือไม่ แต่อย่างไรผู้เสียหายคงได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กาย แต่เมื่อรถไม่ตกลงไปข้างถนน จึงเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงการทำร้ายร่างกายเท่านั้น เมื่อผู้เสียหายไม่ได้รับบาดเจ็บ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเพียงพยายามทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น ๔. ศาลไม่ได้คำนึงถึงความเร็วรถจำเลยที่ขับเพราะรถไม่ได้เฉี่ยวชนกัน หากรถเกิดเฉี่ยวชนกันย่อมต้องนำความเร็วรถจำเลยมาประกอบ เพราะการขับรถด้วยความเร็วแล้วเกิดเฉี่ยวชนย่อมได้รับความเสียหายมาก แต่เมื่อรถไม่ได้เฉี่ยวชนกัน ศาลจึงมองไปที่ความเร็วรถผู้เสียหายว่าขับด้วยความเร็วเท่าไหร่เพียงพอที่จะสามารถหยุดรถได้ทันหรือไม่อย่างไร
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48417
Legal
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8311/2559 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8311/2559 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 มีเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริมและคุ้มครององค์กรของฝ่ายลูกจ้าง มิให้ถูกนายจ้างแทรกแซง ครอบงำ หรือใช้อำนาจบังคับบัญชาที่เหนือกว่าในฐานะนายจ้าง และใช้อำนาจทางเศรษฐกิจในการกดดันบีบคั้นมิให้ลูกจ้างหรือองค์กรของฝ่ายลูกจ้างใช้สิทธิโดยชอบตามกฎหมายในการยื่นข้อเรียกร้อง เจรจาต่อรองเพื่อปรับปรุงสภาพการจ้างให้ดีขึ้น โดยห้ามมิให้นายจ้างใช้วิธีการเลิกจ้างลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ดังนั้น การเลิกจ้างที่จะเป็นการฝ่าฝืนตามมาตรานี้ นายจ้างจะต้องมีมูลเหตุจูงใจที่จะขัดขวางการดำเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงานหรือขัดขวางมิให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการเจรจาตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างหรือจากคำชี้ขาด เมื่อโจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเพราะไม่ผ่านการประเมินการทดลองงานเนื่องจากผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดมีผลการปฏิบัติงานไม่เป็นที่น่าพอใจ บางคนได้รับโอกาสให้ทำงานในตำแหน่งใหม่ก็ปฏิเสธไม่ไปทำงาน โจทก์ย่อมมีเหตุผลและความชอบธรรมที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามเงื่อนไขข้อตกลงของสัญญาจ้างแรงงานที่ได้ทำไว้ขณะลูกจ้างเข้าทำงานโดยความสมัครใจของลูกจ้างและตามหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการบริหารงานบุคคลที่นายจ้างย่อมมีสิทธิคัดสรรแรงงานที่มีคุณภาพที่สุดแก่กิจการได้ แม้จะมิได้มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ระบุไว้ให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ตาม (1) ถึง (5) ของบทบัญญัติดังกล่าวก็ตาม นอกจากนั้น การที่โจทก์เลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ผ่านการประเมินการทดลองงานและมิได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในคราวเดียวกันด้วยถึง 6 คน และรับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ร่วมนัดหยุดงานจำนวน 2 คน เข้าเป็นพนักงานประจำต่อไป ย่อมแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งหรือเลือกปฏิบัติต่อผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเพราะเหตุที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหรือเพราะไปร่วมนัดหยุดงาน การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องปกติในการบริหารงานบุคคล มิได้เกิดจากมูลเหตุจูงใจเพื่อขัดขวางการดำเนินกิจกรรมของสหภาพแรงงานหรือเพื่อกลั่นแกล้งลูกจ้าง จึงไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกา,กฎหมายแรงงาน,กฎหมายจ้างแรงงาน,กฎหมายคุ้มครองแรงงาน-แรงงานสัมพันธ์-เงินทดแทน
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48430
Legal
คำพิพากษาฎีกาที่ 2679/2559 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาฎีกาที่ 2679/2559 แม้โจทก์ร่วม ทำสัญญาในนามบริษัท อ. มิใช่กระทำในนามส่วนตัว แต่เป็นไปเพื่อกิจการของบริษัท อ. ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของ และโจทก์ร่วมอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาหลอกลวง ให้โอนเงินชำระค่าข้าว แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการจัดส่งข้าวสารให้ตามสัญญา โจทก์ร่วมในฐานะผู้แทนบริษัท อ.จึงได้รับความเสียหาย จากการกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญา และมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ โจทก์ร่วมดำเนินการติดต่อซื้อขายข้าวสารจากจำเลยที่ 1 ในประเทศไทย และมีการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในขณะที่โจทก์ร่วมอยู่ต่างประเทศ ซึ่งจำเลยที่ 1 อยู่ในประเทศไทย การที่จำเลยที่ 1 พูดหลอกลวงโจทก์ร่วมให้หลงเชื่อและมีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยที่ 1 ที่ประเทศไทย แม้จะมีการส่งมอบเงินจำนวนหนึ่งในต่างประเทศก็ตาม แต่มีการกระทำส่วนหนึ่งอยู่ในประเทศไทย จึงไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร ซึ่งพนักงานอัยการต้องเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 20 ข้อสังเกต คดีนี้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเอาไว้ชัดว่า “ถือว่ามีการกระทำส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย” กรณีจึงน่าจะต้องด้วย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 5 วรรคหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 20 ในกรณีที่ ความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทย ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรนั้น หมายถึง กรณีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 4 วรรค 2 มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 นั่นเอง ซึ่งกรณีนี้ เมื่อถือว่าการกระทำส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดขึ้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ในเรื่องอำนาจพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ จึงน่าจะต้องปรับเข้ามาตรา 20 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกา,ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48439
Legal
สาระสำคัญของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีอะไรบ้าง
null
สาระสำคัญใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่รัฐบาลในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง เมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีมี่อำนาจออกข้อกำหนดเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด นายกรัฐมนตรีมี่อำนาจ สั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเพิ่มเติม เช่น จับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัย ยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใด ตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร สั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร บุคคลใดฝ่าฝืนข้อกำหนด หรือคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อควรระวัง: พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่รัฐบาลอย่างกว้างขวาง การใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะต้องเป็นไปเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประชาชนมีสิทธิตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ,พระราชกำหนด,กฎหมายปกครอง(วิธีปฏิบัติราชการ-จัดตั้งและพิจารณาคดีของศาลปกครอง)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48440
Legal
การปลอมลายมือชื่อผู้อื่นเพื่อถอนเงินจากบัญชีธนาคาร มีความผิดฐานอะไรบ้าง?
null
การปลอมลายมือชื่อผู้อื่นเพื่อถอนเงินจากบัญชีธนาคาร มีความผิดฐาน: 1. ฐานปลอมเอกสารสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ์หรือทำเอกสารปลอมขึ้นโดยประการใดๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการโต้ความหรือเพื่อสิทธิอย่างอื่น 2. ฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ผู้ใดใช้เอกสารสิทธิปลอมหรือเอกสารที่ได้กระทำปลอมขึ้นโดยประการใดๆ 3. ฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ผู้ใดเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย บทลงโทษ • ฐานปลอมเอกสารสิทธิ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 6,000 บาทถึง 30,000 บาท • ฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 10,000 บาท • ฐานลักทรัพย์ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 10,000 บาท ตัวอย่างคดี ชี้ขาดความเห็นแย้ง 201/2552 บริษัทผู้ต้องหาที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคาร ก. มีเงื่อนไขในการถอนเงิน โดยให้ผู้เสียหาย (ซึ่งเป็นบุตรผู้ร่วมทุนในบริษัทผู้ต้องหาที่ 1) และผู้ต้องหาที่ 3 (พนักงานบริษัท) ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 ในการเบิกถอนเงิน ผู้ต้องหาที่ 2 (กรรมการผู้จัดการบริษัทผู้ต้องหาที่ 1) นำใบถอนเงินที่มีลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายและประทับตราบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 ไปมอบให้ผู้ต้องหาที่ 3 ไปถอนเงินจากธนาคาร 3 ครั้ง รวม 3,000,000 บาท แล้วนำเงินมามอบให้ผู้ต้องหาที่ 2 ผลการพิจารณา • ผู้ต้องหาที่ 2 มีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม • ผู้ต้องหาที่ 3 ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะฟ้อง เหตุผล • ผู้ต้องหาที่ 2 เป็นผู้ที่มีอำนาจบริหารงานกิจการทั้งหมดของบริษัทผู้ต้องหาที่ 1 เพียงผู้เดียว และเป็นผู้ที่ได้รับเงินที่ถอนมา และได้หลบหนีไปหลังเกิดเหตุ จึงน่าเชื่อว่า ผู้ต้องหาที่ 2 เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อผู้เสียหายหรือรู้เห็นลายมือชื่อผู้เสียหาย • ผู้ต้องหาที่ 3 ให้การปฏิเสธมาตลอด ไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ต้องหาที่ 3 เป็นคนปลอมลายมือชื่อผู้เสียหายหรือรู้เห็นในการปลอมลายมือชื่อผู้เสียหาย ทั้งผู้ต้องหาที่ 3 ก็ไม่ได้หลบหนีหลังเกิดเหตุ และไม่ได้ประโยชน์อย่างใดในการถอนเงินดังกล่าว ลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายก็คล้ายคลึงลายมือชื่อผู้เสียหายที่ให้ไว้กับธนาคารจนธนาคารยอมให้ถอนเงินไปได้ ประเด็นสำคัญ • การปลอมลายมือชื่อผู้อื่นเพื่อถอนเงินจากบัญชีธนาคาร เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม • บุคคลที่นำใบถอนเงินที่มีลายมือชื่อปลอมไปถอนเงิน จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถอนเงินให้ถูกต้องก่อนอนุญาตให้ถอนเงิน คำแนะนำ • ไม่ควรลงลายมือชื่อในเอกสารสำคัญโดยไม่ได้ตรวจสอบให้ละเอียด • เก็บเอกสารสำคัญไว้ให้ปลอดภัย • แจ้งธนาคารทันทีหากพบธุรกรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับการปลอมและแปลง,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48455
Legal
จากแนวทางการเรียนเนติบัณฑิต เทอม 1 จะแบ่งกฎหมายอาญาได้กี่ข้อ อไรบ้าง
null
กฎหมายอาญา จะแบ่งเป็น 10 ข้อ ซึ่งเป็นกฎหมายอาญา 6 ข้อ วิชาเลือก 4 ข้อ 1. กฎมายหมายอาญา ม.1-58,107-208 อ่านคำบรรยายเนติ แต่ละปีจะมีเนื้อหาที่เพิ่มเข้ามาซึ่งเนื้อหาดังกล่าวอาจออกข้อสอบได้ โดยเรื่องที่ออกข้อสอบบ่อย จะเป็นเรื่องเจ้าพนักงาน ในเรื่องเจ้าพนักงานจะมีอยู่เล่มหนึ่งในคำบรรยายเนติ จะแยกหมวดหมู่ของเรื่องเจ้าพนักงานไว้ ส่วนเรื่องความผิดนอกราชอาณาจักร มาตรา 4-11 นั้น ก็ยังมีเรื่องน่าออกอยู่ให้อ่านไว้ด้วย ข้อ 2-3 กฎหมายอาญา ม.59-106 จะออกสองข้อ โดยสามารถหาอ่านจากคำบรรยายเนติ และเอกสารประกอบการเรียน และแนะนำให้อ่านหนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญา เพื่อศึกษาวิธีการเขียนข้อสอบ มีวิธีการเขียนที่แตกต่างจากกฎหมายอาญาข้ออื่นๆ อยู่ ซึ่งผู้ศึกษาจะต้องเข้าใจถึงเรื่อง เจตนา ประมาท พลาด สำคัญผิดในตัวบุคคล สำคัญผิดในข้อเท็จจริง จำเป็น ป้องกัน บันดาลโทสะ พยายาม ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน เป็นอย่างดี ข้อ 4 กฎหมายอาญา ม.209-287 หาหนังสือนอกมาอ่าน โดยกลุ่มนี้เรื่องที่ออกบ่อยมาก คือ ความผิดฐานปลอมเอกสาร มาตรา 264 268 และรองลงมาคือเรื่องข่มขืนและอนาจาร แต่อย่าลืมกฎหมายที่แก้ไขใหม่เรื่องกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ข้อ 5 -6 กฎหมายอาญา ม.288-389 ให้อ่านคำบรรยายเนติครับ โดยกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็นชีวิต ร่างกาย แท้ง เสรีภาพ ชื่อเสียง หน่วงเหนี่ยว พรากผู้เยาว์ เรียกค่าไถ่ หมิ่นประมาท ทรัพย์ บุกรุก ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยออกไปถึงเรืองความผิดลหุโทษ และเกือบทุกปีจะออกทรัพย์ 1 ข้อเสมอ ข้อ 7 กฎหมายภาษีอากร ให้อ่านคำบรรยายเนติ โดยภาษีจะแบ่งออกเป็นภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มกับภาษีธุรกิจเฉพาะต้องดูคู่กันอยู่แล้ว เนื่องจากถ้าเข้าอันใดอันหนึ่งแล้วอีกอันไม่ต้องเสีย และบางครั้งการอ่านภาษีต้องศึกษาเพิ่มเติมจากกฎกระทรวงด้วย ข้อ 8 กฎหมายแรงงาน ให้อ่านคำบรรยายเนติ โดยแรงงานจะมีกฎหมายทั้งหมด 4 ฉบับด้วยกัน คือ แรงงานสัมพันธ์ คุ้มครองแรงงาน เงินทดแทน และจัดตั้งศาลแรงงาน โดยแรงงานสัมพันธ์กับคุ้มครองแรงงานจะได้รับเลือกเป็นข้อสอบ ส่วนจัดตั้งศาลแรงงานนั้นมาตราที่ออกข้อสอบจะมีไม่กี่มาตรา ผู้บรรยายจะสรุปมาตราที่น่าจะออกข้อสอบไว้ ข้อ 9 กฎหมายรัฐธรรมนูญ 1 ให้อ่านคำบรรยายเนติ หรือจะอ่านหนังสือนอกก็ได้ โดยรัฐธรรมนูญจะมีเรื่องที่น่าสนใจในการออกข้อสอบ คือ การควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ คดีพิเศษในรัฐธรรมนูญ คดีที่มีข้อกล่าวอ้างว่ากฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ คดีเกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขาดความขัดแย้งกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ คดีเลือกตั้ง คดีเกี่ยวกับการใช้เอกสิทธิ์ คดีเกี่ยวกับความคุ้มกัน และให้หาอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดี อ.ม. ใหม่ๆ ด้วย ข้อ 10 กฎหมายปกครอง ให้อ่านคำบรรยายเนติและเข้าเรียนภาคค่ำ โดยการเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ อะไรคือสัญญาทางปกครอง อะไรคือคำสั่งทางปกครอง เพราะข้อสอบชอบถามว่ากรณีดังกล่าวไปฟ้องที่ศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง และอีกเรื่องคืออำนาจพิจารณาพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายปกครอง(วิธีปฏิบัติราชการ-จัดตั้งและพิจารณาคดีของศาลปกครอง),กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับการปกครอง(ความผิดต่อเจ้าพนักงาน-ตำแหน่งราชการ),ข่าวสารทั่วไป สถิติต่างๆ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48456
Legal
บุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ สามารถทำสัญญาซื้อขายที่ดินได้หรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 30 บัญญัติว่า "การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึงได้รู้อยู่แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต" สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันบุคคลกระทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับซึ่งสิทธิ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149) จากหลักกฎหมายข้างต้น บุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถ ทำสัญญาซื้อขายที่ดินได้ โดยเด็ดขาด ไม่ว่า คู่กรณีจะรู้อยู่แล้วหรือไม่ก็ตามว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต เหตุผลหลักคือ บุคคลวิกลจริตย่อมไม่มีเจตนารมณ์ที่จะแสดงเจตนาอันสมบูรณ์ในการทำนิติกรรม อย่างไรก็ดี สัญญาซื้อขายที่ดินที่บุคคลวิกลจริตทำนั้น ไม่ใช่โมฆะ แต่เป็น โมฆียะ หมายความว่า สัญญาจะ ไม่ ผูกพันบุคคลวิกลจริต แต่ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง สามารถ บังคับให้บุคคลวิกลจริตชดใช้ค่าเสียหายได้ ตัวอย่าง นาย ก. เป็นบุคคลวิกลจริต นาย ก. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับ นาง ข. นาง ข. รู้ว่า นาย ก. เป็นบุคคลวิกลจริต สัญญาซื้อขายที่ดินนี้ ไม่ ผูกพัน นาย ก. แต่ นาง ข. สามารถ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก นาย ก. ได้ สรุป: บุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถ ทำสัญญาซื้อขายที่ดินได้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่บุคคลวิกลจริตทำนั้น ไม่ใช่โมฆะ แต่เป็น โมฆียะ
กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,กฎหมายซื้อขาย
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48466
Legal
จำเลยในคดีอาญาฐานออกเช็คไม่มีเงินฝากตามจำนวนที่ระบุไว้ มีสิทธิอ้างว่าการแก้ไขวันที่ในเช็คเป็นการแก้ไขเอกสารสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 837 วรรคสอง เพื่อเป็นเหตุให้พ้นจากความรับผิดหรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: 1. การแก้ไขวันที่ในเช็คเป็นการแก้ไขข้อความสำคัญ -เช็คเป็นเอกสารสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983 ประกอบมาตรา 1004 วันที่สั่งจ่ายเป็นข้อความสำคัญในเช็ค การแก้ไขวันที่ในเช็คจึงเป็นการแก้ไขข้อความสำคัญในเอกสารสำคัญ 2. การแก้ไขเอกสารสำคัญต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ -ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 837 วรรคสอง บัญญัติว่า การแก้ไขข้อความในเอกสารสำคัญ จะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้แก้ไข - การแก้ไขวันที่ในเช็คโดยไม่ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ จึงไม่เป็นการแก้ไขที่ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยไม่มีสิทธิอ้างว่าการแก้ไขวันที่ในเช็คเป็นการแก้ไขเอกสารสำคัญเพื่อเป็นเหตุให้พ้นจากความรับผิด จำเลยไม่มีสิทธิอ้างว่าการแก้ไขวันที่ในเช็คเป็นการแก้ไขเอกสารสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 837 วรรคสอง เพื่อเป็นเหตุให้พ้นจากความรับผิด เนื่องจากการแก้ไขวันที่ในเช็คเป็นการแก้ไขข้อความสำคัญในเอกสารสำคัญ และไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ จึงไม่เป็นการแก้ไขที่ถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบกับการแก้ไขวันที่ในเช็คไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของเช็ค เพียงแต่เปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายเท่านั้น ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจโต้แย้งได้ว่าการแก้ไขวันที่ในเช็คเป็นการแก้ไขเอกสารสำคัญตามมาตรา 837 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิด จำเลยยังมีความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงินฝากตามจำนวนที่ระบุไว้ - การแก้ไขวันที่ในเช็คไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงินฝากตามจำนวนที่ระบุไว้ จำเลยยังคงมีความผิดฐานนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 สรุป จำเลยไม่มีสิทธิอ้างว่าการแก้ไขวันที่ในเช็คเป็นการแก้ไขเอกสารสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 837 วรรคสอง เพื่อเป็นเหตุให้พ้นจากความรับผิด จำเลยยังมีความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงินฝากตามจำนวนที่ระบุไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายตั๋วเงิน-เช็ค,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48472
Legal
จากคำพิพากษาฎีกาที่ 5573/2554 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3, 5, 7 และ 9 อย่างไร
null
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เฉพาะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง และมาตรา 215 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 83 เรียงกระทงลงโทษจำคุกกระทงละ 4 เดือน รวม 2 กระทง จำคุกคนละ 8 เดือน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกันยุติว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ร่วมอยู่ในกลุ่มชาวบ้านทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่ใช่คนร้ายที่ทำให้สะพานห้วยบ่อหลวงและถนนบริเวณใกล้เคียงได้รับความเสียหาย และไม่ใช่คนร้ายที่วางเพลิงเผาอาคารโรงเรียนบ้านนาทม รวมทั้งจำเลยที่ 7 ไม่ใช่คนร้ายที่ปล้นเอาน้ำมันโซล่าของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทไป จึงมีข้อที่จะต้องพิจารณาแต่เพียงว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ร่วมกับบุคคลอื่นตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 83 มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองหรือไม่ และร่วมกับบุคคลอื่นต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่หรือไม่ เห็นว่า การที่จะถือว่าบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกระทำความผิดด้วยกันตาม ป.อ. มาตรา 83 บุคคลเหล่านั้นจะต้องมีการร่วมกันทั้งการกระทำและมีเจตนาร่วมกันก่อให้เกิดการกระทำความผิดนั้นขึ้น ซึ่งต้องพิจารณาจากพฤติการณ์การกระทำความผิดเป็นกรณีไป เช่นมีเจตนาคบคิดกันตกลงแบ่งหน้าที่กันทำในส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้น หรือมีการติดต่อประสานงานในการกระทำความผิดอย่างใกล้ชิด หรือแม้แต่มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจกัน เป็นต้น ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์เองว่า ชาวบ้านร่วมชุมนุมและเดินขบวนกันเพราะไม่พอใจที่ทางราชการมีมติให้จัดตั้งกิ่งอำเภอนาทมในที่อื่นที่ไม่ใช่ตำบลนาทมโดยมีชาวบ้านร่วมกันถึงกว่า 200 คน ไม่ปรากฏว่ากรณีการร่วมกันวางแผนหรือคบคิดกระทำการในสิ่งที่ผิดกฎหมายไม่มีผู้ใดมีอาวุธ จึงต้องถือว่าเป็นการชุมนุมที่เริ่มต้นด้วยความสงบปราศจากอาวุธ อันเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนโดยชอบที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับให้การรับรองตลอดมา การกระทำความผิดมาเกิดขึ้นในภายหลังซึ่งต้องถือว่าเป็นเจตนาของผู้กระทำความผิดของแต่ละคนแต่ละกลุ่ม จะถือเอาเป็นเจตนาร่วมของผู้เข้าชุมนุมทุกคนไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังยุติแล้วว่าโจทก์ไม่อาจนำสืบให้ปรากฏว่า คนร้ายที่กระทำความผิดในแต่ละข้อหาที่โจทก์ฟ้องเป็นใคร และทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่อาจชี้ได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 มีพฤติการณ์การกระทำและมีเจตนาเช่นไรที่ถือว่าได้ร่วมกับคนร้ายเหล่านั้นกระทำความผิดที่เป็นการใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในการทำลายสะพานห้วยบ่อหลวงหรือถนนบริเวณใกล้เคียงอันเป็นการก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง หรือมีพฤติการณ์อันใดที่แสดงการขัดขวางมิให้นายศักดากับพวกนำรถดับเพลิงเข้าไปในบริเวณที่เกิดเหตุเผาสะพาน ลำพังแต่ที่โจทก์นำสืบได้เพียงว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เป็นผู้ที่ร่วมอยู่ในกลุ่มชาวบ้าน 2 กลุ่ม ที่มีคนร้ายบางคนกระทำความผิดยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับคนร้ายตาม ป.อ. มาตรา 83 ได้ มิเช่นนั้นก็ต้องถือว่าชาวบ้านทุกคนใน 2 กลุ่มเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดทั้งหมด เมื่อโจทก์ไม่อาจนำสืบได้ว่า จำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 มีพฤติการณ์การกระทำและมีเจตนาอย่างไรที่เป็นการร่วมกระทำความผิดกับคนร้าย กรณียังต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 มีเสรีภาพในการชุมนุมตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
ประมวลกฎหมายอาญา,คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48476
Legal
บุคคลที่ซื้อที่ดินต่อจากบุคคลอื่นซึ่งซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 หรือไม่ จงอธิบาย
null
บุคคลที่ซื้อที่ดินต่อจากบุคคลอื่นซึ่งซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 เช่นเดียวกัน เหตุผล มาตรา 1330 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า "บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ย่อมได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ เว้นแต่ตนจะรู้หรือควรจะรู้ว่าทรัพย์สินนั้นได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย" ฎีกาที่ 13846/2553 วินิจฉัยว่า "โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. อีกทอดหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นผู้สืบสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา 1330 เช่นเดียวกัน แม้มิใช่ผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยตรงก็ตาม" วิเคราะห์ จากฎีกาข้างต้น แม้บุคคลจะไม่ได้ซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยตรง แต่หากซื้อต่อจากบุคคลที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาด บุคคลนั้นก็ยังได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 เช่นเดียวกัน เหตุผลที่บุคคลที่ซื้อที่ดินต่อจากบุคคลอื่นซึ่งซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาดได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 มีดังนี้ เพื่อส่งเสริมให้การซื้อขายที่ดินมีเสถียรภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลผู้ครอบครองที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้ประโยชน์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถซื้อที่ดินได้อย่างมั่นใจ อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ซื้อที่ดินต่อจากบุคคลอื่นซึ่งซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาด จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 กรณี รู้หรือควรจะรู้ว่าที่ดินนั้นได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซื้อที่ดินโดยไม่มีการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ สรุป บุคคลที่ซื้อที่ดินต่อจากบุคคลอื่นซึ่งซื้อที่ดินมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 เช่นเดียวกัน เว้นแต่บุคคลนั้นจะรู้หรือควรจะรู้ว่าที่ดินนั้นได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือซื้อที่ดินโดยไม่มีการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ หรือซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48477
Legal
โจทก์ในคดีนี้มีสิทธิฟ้องร้องเพื่อบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับจำเลยหรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: โจทก์ได้ทราบถึงข้อเท็จจริงเรื่องเนื้อที่ที่แท้จริงของอาคารชุดมาตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2543: -โจทก์ได้ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 -โจทก์ได้เข้าอยู่อาศัยในห้องชุดตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 -โจทก์ได้จดหมายจากเทศบาลตำบล ส. แจ้งให้ทราบถึงจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงของอาคารชุด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2543 -โจทก์ได้เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงเรื่องเนื้อที่ที่แท้จริงของอาคารชุดเป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปี: -โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 -โจทก์ได้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2546 การเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นการยอมรับสภาพของห้องชุด: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 157 บัญญัติว่า "บุคคลใดสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จะบอกล้างนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่จะได้ยอมรับสภาพแห่งนิติกรรมนั้น" โจทก์ได้ทราบข้อเท็จจริงเรื่องเนื้อที่ที่แท้จริงของอาคารชุดมาเป็นเวลานานกว่า 1 ปี โดยไม่ได้ดำเนินการใดๆ แสดงว่าโจทก์ได้ยอมรับสภาพของห้องชุด โจทก์ขาดอายุความในการบอกเลิกสัญญา: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 บัญญัติว่า "บุคคลใดจะบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น จะต้องทำภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ เว้นแต่กฎหมายมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น" -โจทก์ได้ทราบข้อเท็จจริงเรื่องเนื้อที่ที่แท้จริงของอาคารชุดมาตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2543 แต่โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งเกินกว่า 1 ปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ -โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้องเพื่อบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับจำเลย: -โจทก์ได้เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงเรื่องเนื้อที่ที่แท้จริงของอาคารชุดเป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปี แสดงว่าโจทก์ได้ยอมรับสภาพของห้องชุด -โจทก์ขาดอายุความในการบอกเลิกสัญญา สรุป: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้องเพื่อบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับจำเลย
กฎหมายนิติกรรม-สัญญา-ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม,ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,กฎหมายซื้อขาย
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48491
Legal
จำเลยมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่ให้การในชั้นสอบสวนคดีอาญาหรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/4 ระบุไว้ชัดเจนว่า "จำเลยมีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ในชั้นสอบสวน" หมายความว่า จำเลยมีสิทธิ์ที่จะเลือกไม่พูดอะไรเลย หรือพูดเพียงบางประเด็น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกบังคับให้พูดหรือถูกตีความการปฏิเสธให้การในทางลบ หลักฐานสนับสนุน: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดถูกจับหรือถูกควบคุมตัว ไม่ว่ากรณีใด ๆ ย่อมมีสิทธิได้รับการบอกกล่าวโดยเร็วที่สุดถึงเหตุแห่งการจับหรือการควบคุมตัว และมีสิทธิที่จะติดต่อทนายความหรือบุคคลอื่นเพื่อหาความช่วยเหลือ" ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/1 บัญญัติว่า "พนักงานสอบสวนมีหน้าที่สอบสวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน..." ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/2 บัญญัติว่า "พนักงานสอบสวนมีหน้าที่แจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหา..." ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/3 บัญญัติว่า "พนักงานสอบสวนมีหน้าที่บันทึกคำให้การของผู้ต้องหา..." การตีความกฎหมาย: กฎหมายอาญาไทยให้ความสำคัญกับหลัก " nemo tenetur seipsum accusare " ซึ่งแปลว่า "ไม่มีใครถูกบังคับให้กล่าวหาตนเอง" หลักนี้หมายถึง บุคคลใดก็ตามมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลใดๆ ที่อาจเป็นการกล่าวหาตนเองในคดีอาญา การปฏิเสธให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนจึงไม่ใช่การยอมรับผิด และไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการตัดสินคดีได้ ข้อควรระวัง: การปฏิเสธให้การในชั้นสอบสวน อาจทำให้การสืบสวนหาข้อเท็จจริงของพนักงานสอบสวนมีความยุ่งยากขึ้น การปฏิเสธให้การในชั้นสอบสวน อาจทำให้ศาลมีมุมมองต่อจำเลยในทางลบ จำเลยควรปรึกษาทนายความก่อนตัดสินใจปฏิเสธให้การในชั้นสอบสวน ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา: คำพิพากษาฎีกาที่ 12675/2558 "การปฏิเสธไม่ให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนนั้น ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/4 ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ พนักงานสอบสวนจะนำมาฟังเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษแก่จำเลยไม่ได้" สรุป: จำเลยมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธไม่ให้การในชั้นสอบสวนคดีอาญา โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกบังคับให้พูดหรือถูกตีความการปฏิเสธให้การในทางลบ อย่างไรก็ตาม จำเลยควรปรึกษาทนายความก่อนตัดสินใจปฏิเสธให้การ เพื่อพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของการกระทำดังกล่าว
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายลักษณะพยาน (ทั้งวิแพ่งและวิอาญา)
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48497
Legal
กรณีจำเลยลักเอาทรัพย์สินที่ถูกโจรกรรมมาอีกทีหนึ่ง จำเลยจะต้องรับผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ จงอธิบาย
null
จำเลยจะต้องรับผิดฐานลักทรัพย์ เหตุผล ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า "ผู้ใดเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยทุจริต มีเจตนาเอาไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม ผู้นั้นย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์" การเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยทุจริต มีเจตนาเอาไปเป็นของตน เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานลักทรัพย์ ในกรณีนี้ จำเลยเอาทรัพย์สินของ ส. ไปโดยทุจริต มีเจตนาเอาไปเป็นของตน แม้ว่าทรัพย์สินนั้น ส. จะลักมาจากผู้เสียหายอีกทีหนึ่งก็ตาม ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดฐานลักทรัพย์ ฎีกาที่ 4394/2527 วินิจฉัยว่า "การที่จำเลยเอาของโจรมาโดยทุจริต ย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แม้จะเข้าใจว่าของนั้นเป็นของโจรก็ตาม เพราะว่าโจรก็มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นเหนือบุคคลภายนอก" อย่างไรก็ตาม ศาลจะพิจารณาเจตนาของจำเลยประกอบด้วย หากจำเลยมีเจตนาดี เช่น เอาทรัพย์สินไปเพื่อเก็บรักษาไว้ให้ผู้เสียหาย ศาลอาจลงโทษจำเลยสถานเบาหรือไม่ลงโทษ แต่หากจำเลยมีเจตนาไม่ดี เช่น เอาทรัพย์สินไปเพื่อเอาเป็นของตน ศาลจะลงโทษจำเลยตามกฎหมาย สรุป จำเลยที่เอาทรัพย์สินที่ถูกโจรกรรมมาอีกทีหนึ่ง จะต้องรับผิดฐานลักทรัพย์ ศาลจะพิจารณาเจตนาของจำเลยประกอบด้วย หมายเหตุ ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ควรปรึกษาทนายความเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48499
Legal
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอะไร
null
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน พ.ร.บ. เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 151 ประกอบด้วย มาตรา 151 (1) ผู้ใดโดยทุจริต รู้ว่าบุคคลใดไม่มีสิทธิเลือกตั้ง กระทำการใด ๆ อันเป็นการจดทะเบียนชื่อบุคคลนั้นในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 151 (2) ผู้ใดโดยทุจริต แจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความอันเป็นความจริง เกี่ยวกับคุณสมบัติของตนหรือผู้อื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิด เหตุผล: - จำเลยมีเจตนาโดยทุจริต เพิ่มเติมผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งเข้าไปในบัญชีมากถึง 160 คน - การกระทำของจำเลยส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม อาจทำให้คนที่ทุจริตได้รับเลือกตั้งเข้ามา ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล - การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยเจตนาเดียวต่อเนื่องกัน ตั้งแต่เริ่มทำบัญชีแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงพิมพ์บัญชีเลือกตั้งเสร็จสิ้น ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐาน พ.ร.บ. เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 151 (1) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
กฎหมายปกครอง(วิธีปฏิบัติราชการ-จัดตั้งและพิจารณาคดีของศาลปกครอง),ประมวลกฎหมายอาญา,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายเลือกตั้ง
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48509
Legal
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะนั้น ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายใดบ้าง และส่งผลอย่างไรต่อคดี?
null
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะนั้น ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายดังต่อไปนี้: 1. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 มาตรา 26 บัญญัติว่า "ในศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง" 2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 มาตรา 246 บัญญัติว่า "ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง" 3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 มาตรา 247 บัญญัติว่า "ศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวง พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งโดยองค์คณะ เว้นแต่คดีที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจ" ผลของการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะ: คำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ไม่มีผล เพราะศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งดังกล่าว คู่ความสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์เพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์ เพิกถอน คำสั่งของศาลชั้นต้น คดีจะต้องถูกส่งกลับไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้ดำเนินการใหม่ โดยมีผู้พิพากษาครบองค์คณะ เหตุผลที่กฎหมายกำหนดให้ศาลชั้นต้นมีผู้พิพากษาครบองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดี: เพื่อ คุ้มครองสิทธิของคู่ความ ให้ได้รับการพิจารณาคดีอย่างรอบคอบ ยุติธรรม และโปร่งใส เพื่อ ป้องกันความผิดพลาด ในการตัดสินคดี เพื่อ รักษาความน่าเชื่อถือ ของระบบตุลาการ ประเด็นสำคัญ: ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งโดยองค์คณะ เว้นแต่คดีที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะนั้น ไม่มีผล และคู่ความสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่ง กฎหมายกำหนดให้ศาลชั้นต้นมีผู้พิพากษาครบองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดี เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความ ป้องกันความผิดพลาด และรักษาความน่าเชื่อถือของระบบตุลาการ
กฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48515
Legal
ศาลล้มละลายกลางชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่รับคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพียงเพราะผู้ทำแผนยื่นคำแถลงว่าได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ที่คัดค้านแผนเดิมแล้ว โดยที่ไม่ได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามกฎหมาย?
null
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุผล: ขั้นตอนการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ: ก่อนประชุมเจ้าหนี้: มาตรา 90/44 และ 90/45 ของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 กำหนดให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขแผนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ล่วงหน้าก่อนวันประชุมเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 3 วัน และที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าจะยอมรับการแก้ไขหรือไม่ หลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบแผน: มาตรา 90/63 กำหนดให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขแผนต่อศาลล้มละลายกลาง ศาลจะนัดพิจารณาและมีคำสั่งว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ โดยแผนที่แก้ไขจะต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณายอมรับแผนโดยมติที่ประชุมเจ้าหนี้เสียก่อน กรณีนี้ผู้ทำแผนแก้ไขแผนโดยไม่ได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้ ศาลล้มละลายกลางรับคำร้องและเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไข โดยไม่ได้พิจารณาว่าผ่านขั้นตอนตามกฎหมายหรือไม่ ผล: - การแก้ไขแผนไม่ชอบด้วยกฎหมาย - คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่เห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไข ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย หลักฐานสนับสนุน: - มาตรา 90/44, 90/45, 90/46 และ 90/63 ของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 - คำพิพากษาฎีกาที่ 5818/2546 สรุป: การแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการต้องผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย ศาลล้มละลายกลางไม่มีอำนาจรับคำร้องขอแก้ไขแผนและเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไข โดยที่ไม่ได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้ เพิ่มเติม: - การแก้ไขแผนโดยไม่ได้ผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย อาจส่งผลเสียต่อเจ้าหนี้บางรายที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม - เจ้าหนี้สามารถคัดค้านคำสั่งของศาลล้มละลายกลางต่อศาลฎีกาได้
กฎหมายล้มละลาย-ฟื้นฟูกิจการ
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48522
Legal
ในกรณีที่จำเลยในคดีแพ่งได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลาย ศาลชั้นต้นจะพิจารณาคดีต่อไปได้หรือไม่ จงอธิบาย
null
โดยทั่วไป ศาลชั้นต้นจะต้องงดการพิจารณาคดีแพ่งไว้ชั่วคราว เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลาย เหตุผล มาตรา 90/12(4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ การฟ้องร้องคดีแพ่งต่อจำเลยที่เป็นลูกหนี้ล้มละลาย เป็นการฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลาย อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อยกเว้นบางประการที่ศาลชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีต่อไปได้ กรณีโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลาย กรณีเป็นการฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนตัวของบุคคล ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ กรณีเป็นการฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไม่ตกเป็นของกองทรัพย์สิน กรณีเป็นการฟ้องร้องเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ตัวอย่าง โจทก์ฟ้องร้องจำเลยเพื่อขอให้หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ โจทก์ฟ้องร้องจำเลยเพื่อขอให้หย่าร้าง โจทก์ฟ้องร้องจำเลยเพื่อขอให้แบ่งแยกทรัพย์สินก่อนสมรส ในกรณี ของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2549 ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า หนี้คดีนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 แผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้ สรุป ศาลชั้นต้นจะต้องงดการพิจารณาคดีแพ่งไว้ชั่วคราว เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลาย ยังมีข้อยกเว้นบางประการที่ศาลชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีต่อไปได้ โจทก์ควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาทนายความก่อนตัดสินใจฟ้องร้องคดีแพ่งต่อจำเลยที่เป็นลูกหนี้ล้มละลาย ประเด็นสำคัญเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีฐานะเป็นลูกหนี้ล้มละลายจริงหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า กรณีพิพาทเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายล้มละลายหรือไม่ คำสั่งของศาลล้มละลายมีผลผูกพันศาลชั้นต้น คำแนะนำ โจทก์ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายก่อนตัดสินใจฟ้องร้องคดีแพ่ง โจทก์ควรปรึกษาทนายความเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการ โจทก์ควรเตรียมหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า กรณีพิพาทเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายล้มละลาย
กฎหมายล้มละลาย-ฟื้นฟูกิจการ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48543
Legal
ในคดีแพ่ง กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะพิจารณาคดีต่อไปอย่างไร
null
โดยทั่วไป เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว เหตุผล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 บัญญัติว่า "เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลา ศาลมีอำนาจพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียว" การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลย เป็นการละเลยต่อสิทธิของตนเอง โจทก์มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อยกเว้นบางประการที่ศาลอาจไม่พิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว กรณีศาลเห็นว่า จำเลยมีเหตุผลอันสมควรในการขาดนัด กรณีจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รู้ กรณีโจทก์ไม่นำสืบพยาน ในกรณี ของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2504 ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า การปิดหมายเรียกและหมายนัดให้จำเลยที่ 1 ทราบที่บ้านเรือนจำเลยที่ 2 เป็นการมิชอบ จะฟังว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การยังไม่ได้ คดีนี้จำเลยที่ 1-2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี การที่จำเลยที่ 1 ขอให้พิจารณาใหม่ ย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาคดีใหม่ โดยให้โอกาสเฉพาะจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดี ส่วนคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ให้ดำเนินการพิจารณาไปโดยถือว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ สรุป ศาลจะพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เว้นแต่มีข้อยกเว้น การปิดหมายให้จำเลยทราบที่บ้านบุคคลอื่นมิชอบ จะฟังว่าจำเลยไม่ได้ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รู้ ศาลมีหน้าที่พิจารณาคดีให้เป็นธรรมแก่ทั้งโจทก์และจำเลย ประเด็นสำคัญเพิ่มเติม ศาลมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจหรือไม่ ศาลมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คือ อุทธรณ์ฎีกาได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง)
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48551
Legal
จำเลยที่ 1 ในคำพิพากษาฎีกาที่ 5321/2552 มีสิทธิคัดค้านราคาขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทหรือไม่?
null
ใช่ เหตุผล: จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา: แม้จำเลยที่ 1 ไม่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท แต่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไม่มีผู้เสนอราคา: การขายทอดตลาดครั้งที่ 1 และ 2 ไม่มีผู้เสนอราคา ในการขายทอดตลาดครั้งที่ 3 ผู้ซื้อทรัพย์ทั้งสองได้เสนอราคาสูงสุด จำเลยมีสิทธิคัดค้านราคา: กฎหมายให้สิทธิจำเลยในการคัดค้านราคาขายทอดตลาดได้ การคัดค้านราคานี้ เป็นการรักษาผลประโยชน์ของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องเลื่อนการขายทอดตลาด: กฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องเลื่อนการขายทอดตลาด กรณีไม่มีผู้เสนอราคา หรือ ราคาเสนอต่ำเกินสมควร การไม่เลื่อนการขายทอดตลาด เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมาย ตัวแทนจำเลยมีสิทธิคัดค้านราคา: ตัวแทนจำเลยมีสิทธิคัดค้านราคาในนามของจำเลย กรณีนี้ ศ. เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 สรุป: จำเลยที่ 1 ในคำพิพากษาฎีกาที่ 5321/2552 มีสิทธิคัดค้านราคาขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท เหตุผลเพิ่มเติม: กฎหมายให้สิทธิจำเลยในการต่อสู้คดี การคัดค้านราคา เป็นการต่อสู้คดีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย การไม่เลื่อนการขายทอดตลาด เป็นการละเลยต่อหน้าที่ คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง: คำพิพากษาฎีกาที่ 10693/2551 คำพิพากษาฎีกาที่ 5321/2552 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1), 246, 247, 296 วรรคสอง, 309 ทวิ
กฎหมายลักษณะหนี้,คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48552
Legal
คำพิพากษาฎีกาที่ 4659/2552 กล่าวว่าอย่างไร
null
คำพิพากษาฎีกาที่ 4659/2552 จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางภายในกำหนด จึงไม่รับอุทธรณ์จำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้สืบพยานใหม่เท่ากับขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช่แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ให้ยกคำร้อง เท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อไป คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 447,925 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและไม่มาศาลในวันสืบพยานโดยศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 447,925 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 29 ธันวาคม 2549) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ กำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางภายในกำหนด จึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คืนค่าขึ้นศาลจำนวน 200 บาท แก่จำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อีกทั้งไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จึงไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง คืนค่าคำร้อง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้จำเลยทราบ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว กำหนดระยะเวลา 15 วัน จึงยังไม่เริ่มนับ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งและรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไว้พิจารณา อุทธรณ์ของจำเลยขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้สืบพยานใหม่เท่ากับขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจึงชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องให้เป็นพับ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางภายในกำหนด จึงไม่รับอุทธรณ์จำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้สืบพยานใหม่เท่ากับขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช่แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ให้ยกคำร้อง เท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อไป ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฏีกาของจำเลยมาเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกฎีกาจำเลย คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาทั้งหมดแก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากนี้ให้พับ
คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48557
Legal
ศาลสามารถสั่งไม่รับคำฟ้องได้หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง
null
ไม่ เหตุผล: หลักกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นฟ้อง: ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 บัญญัติว่า "โจทก์จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เว้นแต่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น" มาตรา 173 บัญญัติว่า "คำฟ้องจะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของคู่ความหรือทนายความผู้รับมอบอำนาจ" ผลของการไม่ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง: มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ยื่นต่อศาลอ่านไม่ออก อ่านไม่เข้าใจ เขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่างๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระค่าธรรมเนียมไม่ถูกต้อง ศาลจะสั่งคืนคำคู่ความไปทำมาใหม่ แก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดเสียก่อน หากคู่ความไม่ปฏิบัติตาม ศาลจึงจะสั่งไม่รับคำคู่ความได้" การตีความมาตรา 18 วรรคสอง: มาตรา 18 วรรคสอง กำหนดให้ศาลมีคำสั่ง 2 ทางเลือก เมื่อพบว่าคำคู่ความมีข้อบกพร่อง ดังนี้ -ทางเลือกแรก: สั่งให้คู่ความแก้ไขข้อบกพร่อง เช่น การลงลายมือชื่อ -ทางเลือกที่สอง: สั่งไม่รับคำคู่ความ แนวทางปฏิบัติของศาล:ศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ในฎีกาที่ 5630/48 ว่า "เมื่อเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว ศาลชอบที่จะยกฟ้อง จะสั่งไม่รับฟ้องไม่ได้" กรณีโจทก์ไม่ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง: ศาลจะใช้วิธีการตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง ไม่ได้สั่งไม่รับคำฟ้อง สรุป: ศาลไม่สามารถสั่งไม่รับคำฟ้องได้ เพียงเพราะโจทก์ไม่ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง ศาลจะใช้วิธีการตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง หมายเหตุ: -ข้อมูลนี้จัดทำเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น -กรณีมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ควรปรึกษาทนายความ ตัวอย่าง: นาย A ยื่นฟ้องต่อศาล โดยไม่ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง ศาลตรวจคำฟ้องแล้วพบว่า นาย A ไม่ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง ศาลมีคำสั่งให้ นาย A ลงลายมือชื่อในคำฟ้องภายใน 7 วัน นาย A ลงลายมือชื่อในคำฟ้องภายใน 7 วัน ศาลรับฟ้อง ข้อควรระวัง: -โจทก์ควรลงลายมือชื่อในคำฟ้องเพื่อป้องกันปัญหา -โจทก์ควรปรึกษาทนายความเพื่อให้การยื่นฟ้องเป็นไปอย่างถูกต้อง คำแนะนำ: -โจทก์ควรอ่านและทำความเข้าใจประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์ก่อนยื่นฟ้อง -โจทก์ควรปรึกษาทนายความเพื่อให้การยื่นฟ้องเป็นไปอย่างถูกต้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ(วิแพ่ง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48558
Legal
ผู้เยาว์อายุ 15 ปี สามารถถอนคำร้องทุกข์คดีลักทรัพย์ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือไม่?
null
ไม่ เหตุผล: คดีลักทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัว: - ผู้เสียหายสามารถยอมความกับผู้กระทำความผิดได้ - ผู้เสียหายสามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ ผู้เยาว์อายุ 15 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ: - ไม่สามารถกระทำการนิติกรรมได้ - ต้องการความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม การถอนคำร้องทุกข์เป็นการกระทำนิติกรรม: - ผู้เยาว์อายุ 15 ปี ไม่สามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ด้วยตัวเอง - ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม กฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรค 2 บัญญัติไว้ว่า: "ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุเกินสิบห้าปี แต่ไม่เกินสิบแปดปี บริบูรณ์ กระทำการนิติกรรมใด เว้นแต่การร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมทำการแทน" คำพิพากษาฎีกาที่ 731/2543: "ผู้เยาว์อายุ 15 ปี ไม่สามารถถอนคำร้องทุกข์คดีลักทรัพย์ได้ด้วยตัวเอง" สรุป: ผู้เยาว์อายุ 15 ปี ไม่สามารถถอนคำร้องทุกข์คดีลักทรัพย์ได้ด้วยตัวเอง ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เหตุผลเพิ่มเติม: 1. การถอนคำร้องทุกข์มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้เสียหาย 2. ผู้เยาว์อาจยังไม่เข้าใจผลของการถอนคำร้องทุกข์ 3. การให้ผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอม เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เยาว์ถูกเอารัดเอาเปรียบ ข้อควรระวัง: 1. ผู้แทนโดยชอบธรรมควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะยินยอมให้ผู้เยาว์ถอนคำร้องทุกข์ 2. ผู้แทนโดยชอบธรรมควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เยาว์
ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง),คำพิพากษาศาลฎีกา
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48568
Legal
คำพิพากษาฎีกาที่ 3840/2553 กล่าวว่าอย่างไร
null
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า เด็กหญิง ว. ผู้เสียหาย เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2527 ขณะเกิดเหตุมีอายุ 14 ปีเศษ ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายออกจากบ้านที่จังหวัดสระแก้วไปทำงานเป็นพนักงานในร้านอาหาร ส. ที่จังหวัดชุมพร โดยบิดาของผู้เสียหายได้มอบหมายให้ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหาร ส. เป็นผู้ดูแลผู้เสียหาย ต่อมาในวันที่ 5 สิงหาคม 2541 จำเลยได้พาผู้เสียหายไปบ้านของจำเลย และขณะที่ผู้เสียหายอยู่ที่บ้านของจำเลยระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม 2541 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2541 จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย 2 ครั้ง คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง เนื่องจากจำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายยังอายุไม่เกิน 15 ปี หรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยจะสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานหรือแม้กระทั่งถามค้านพยานโจทก์ในศาลชั้นต้นแต่อย่างใด โดยจำเลยเพิ่งจะยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปมีว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม หรือไม่ เห็นว่า การพรากเด็กอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม คือการพรากไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายจะไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา เนื่องจากไปทำงานเป็นพนักงานในร้านอาหาร ส. ที่จังหวัดชุมพรก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่า บิดาของผู้เสียหายได้มอบหมายให้ พ. ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหาร ส. เป็นผู้ดูแลผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านของจำเลยและต่อมาได้กระทำชำเราผู้เสียหายจึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว และแม้คดีนี้ตามคำฟ้องโจทก์จะเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจารก็ตาม ข้อแตกต่างดังกล่าวก็มิใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใด อีกทั้งคดีนี้จำเลยได้โต้เถียงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีแต่เพียงว่า จำเลยไม่ใช่คนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในข้อดังกล่าวด้วย ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกา,ประมวลกฎหมายอาญา,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับเพศ
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48570
Legal
ท้องที่ที่เกิดเหตุเกี่ยวพันกับคดีเช็ค มีอะไรบ้าง
null
ในคดีเช็ค ในท้องที่ที่มีการมอบเช็ค ท้องที่ที่นำเช็คไปเรียกเก็บเงิน ท้องที่ที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เหล่านี้ถือว่าเป็นท้องที่ที่เกิดเหตุเกี่ยวพันกันทั้งสิ้นถือว่าเป็นกรณีความผิดที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันหลายท้องที่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) พนักงานสอบสวนในแต่ละท้องที่ต่างมีอำนาจสอบสวนทั้งสิ้น ฉะนั้นในกรณีที่ยังจับกุมตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดเกิดขึ้นก่อน คือ เมื่อผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องในท้องที่ที่ไหน พนักงานสอบสวนในท้องที่นั้นก็เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ต่างกับกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องเอง ท้องที่เกิดเหตุมีเพียงท้องที่เดียวคือ ท้องที่ที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะไม่มีเรื่องการสอบสวนมาเกี่ยวข้อง จึงไม่นำ ป.วิ.อ. มาใช้บังคับ ดังนั้นศาลที่ผู้เสียหายจะยื่นฟ้องได้ก็มีเฉพาะศาลในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องสามารถยื่นฟ้องต่อศาลที่มีการสอบสวนได้ กรณีนี้สามารถนำท้องที่ที่เกิดเหตุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 มาใช้บังคับได้ ความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ สถานที่ตั้งของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นสถานที่ความผิดเกิดขึ้น ไม่ใช่ธนาคารที่นำเช็คไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน
กฎหมายตั๋วเงิน-เช็ค,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),คำพิพากษาศาลฎีกา
Open QA
cc-by-sa-4.0
Legal_48572
Legal
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมแทนหรือไม่
null
ไม่ เหตุผล: การแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมแทน เป็นการแก้ไขมาก ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เพิ่มเติมโทษจำเลย การส่งตัวไปฝึกและอบรม เป็นการเพิ่มโทษจำเลย กฎหมายให้อำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวฯ เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 104 บัญญัติว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ศาลอุทธรณ์ไม่ใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ คำพิพากษาฎีกาที่ 4816/2543 วินิจฉัยว่า การแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรม เป็นการแก้ไขมาก คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 1 ปี และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรม 1 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นไม่สมควรเปลี่ยนโทษจำเลย จึงเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ สรุป: ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมแทน ข้อควรระวัง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด การแก้ไขคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรม เป็นการเพิ่มโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายเยาวชนและครอบครัว
Classification
cc-by-sa-4.0
Legal_48573
Legal
ราษฎรสามารถจับกุมบุคคลอื่นที่กำลังกระทำความผิดซึ่งหน้าได้หรือไม่?
null
ใช่ แต่มีข้อยกเว้น เหตุผล: หลักทั่วไป: ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 บัญญัติไว้ว่า "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่" มาตรา 79 บัญญัติข้อยกเว้นสำหรับราษฎรไว้ว่า "ราษฎรจะจับบุคคลอื่นซึ่งกำลังกระทำความผิดซึ่งหน้าได้" ข้อยกเว้น: ราษฎรสามารถจับบุคคลอื่นที่กำลังกระทำความผิดซึ่งหน้าได้ แต่อาจต้องรับผิดทางกฎหมายหากจับผิดบุคคล หรือจับโดยไม่มีเหตุอันควร ราษฎรมีหน้าที่แจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเร็วที่สุด เหตุผลที่ราษฎรสามารถจับกุมบุคคลอื่นที่กำลังกระทำความผิดซึ่งหน้าได้: เพื่อป้องกันมิให้ความผิดเกิดขึ้นหรือลุกลาม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหาย อย่างไรก็ตาม ราษฎรควรใช้ความระมัดระวังในการจับกุมบุคคลอื่นที่กำลังกระทำความผิดซึ่งหน้า ดังนี้: ควรแน่ใจว่าบุคคลนั้นกำลังกระทำความผิดซึ่งหน้าจริง ควรใช้กำลังเท่าที่จำเป็น ควรแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเร็วที่สุด ควรเก็บหลักฐานไว้ ตัวอย่างกรณีที่ราษฎรสามารถจับกุมบุคคลอื่นที่กำลังกระทำความผิดซึ่งหน้าได้: ราษฎรเห็นบุคคลกำลังลักขโมยทรัพย์สิน ราษฎรเห็นบุคคลกำลังทำร้ายร่างกายผู้อื่น ราษฎรเห็นบุคคลกำลังก่อเหตุเพลิงไหม้ ตัวอย่างกรณีที่ราษฎรไม่ควรจับกุมบุคคลอื่นที่กำลังกระทำความผิดซึ่งหน้า: ราษฎรไม่แน่ใจว่าบุคคลนั้นกำลังกระทำความผิด บุคคลนั้นไม่ได้กระทำความผิด บุคคลนั้นยอมมอบตัว บุคคลนั้นเป็นผู้หญิง เด็ก หรือคนชรา การจับกุมอาจก่อให้เกิดอันตราย สรุป: ราษฎรสามารถจับกุมบุคคลอื่นที่กำลังกระทำความผิดซึ่งหน้าได้ แต่มีข้อยกเว้น ราษฎรควรใช้ความระมัดระวังในการจับกุมบุคคลอื่นที่กำลังกระทำความผิดซึ่งหน้า ราษฎรควรแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเร็วที่สุด คำแนะนำ: ราษฎรควรศึกษาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78-80 ไว้ ราษฎรควรปรึกษาพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก่อนตัดสินใจจับกุมบุคคลอื่น ราษฎรควรเก็บหลักฐานไว้ caso เกิดปัญหา
ประมวลกฎหมายอาญา,ความรู้พื้นฐานกฏหมาย,ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา(วิอาญา),กฎหมายปกครองว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน(วางเพลิง-อุทกภัยและอื่นๆ),กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย,กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง)
Classification
cc-by-sa-4.0