title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 53/2559 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 44)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 53/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 44) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 11/2557 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 ค่าธรรมเนียมคําขอที่ยื่นเพื่อขอรับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนําการลงทุน หรือนักวางแผนการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอ (1) คําขอความเห็นชอบ คําขอละ 2,000 บาท เว้นแต่ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบ (ก) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 49/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (ข) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์หรือผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุนที่ได้ยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยผู้ยื่นเคยยื่นคําขอความเห็นชอบตาม (ก) แต่ไม่ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (ค) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์หรือผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุนที่ได้ยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยผู้ยื่นเคยยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งใช้คุณสมบัติการเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนําการลงทุน ด้านหลักทรัพย์หรือด้านตลาดทุน แล้วแต่กรณี และการมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (2) คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ คําขอละ 1,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
800
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 28/2560 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 45)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 45) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 40/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนเมื่อยื่นคําขอ (1) 50,000 บาท สําหรับคําขอดังต่อไปนี้ (ก) คําขอความเห็นชอบเป็นครั้งแรก โดยไม่เคยมีการยื่นคําขอต่อสํานักงานมาก่อน (ข) คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ โดยในระหว่างอายุการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด สํานักงานไม่เคยออกคําสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือการมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ค) คําขอความเห็นชอบอื่นใดที่ไม่ใช่คําขอซึ่งต้องชําระค่าธรรมเนียมตาม (2) (2) 250,000 บาท สําหรับคําขอดังต่อไปนี้ (ก) คําขอความเห็นชอบครั้งใหม่ที่ยื่นภายหลังสํานักงานปฏิเสธคําขอความเห็นชอบครั้งล่าสุด (ข) คําขอความเห็นชอบที่ยื่นภายหลังการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด ซึ่งสํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือมีการปฏิบัติตามบทลงโทษที่เสนอโดยบุคคลนั้นเอง (Enforceable Undertaking) (ค) คําขอความเห็นชอบที่ยื่นภายหลังการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด ซึ่งสํานักงานให้ความเห็นชอบไว้น้อยกว่าห้าปี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
801
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 42/2560 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 46)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 42/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 46) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 46/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) กรณีเสนอขายหุ้น ให้เป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทต่างประเทศที่มีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย (ข) การเสนอขายหุ้นนอกจากที่กําหนดใน (ก) ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราดังนี้ 1. แบบที่ยื่นต่อสํานักงานก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย 2. แบบที่ยื่นต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.07 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย 3. แบบที่ยื่นต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.06 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย 4. แบบที่ยื่นต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.05 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย (ค) การคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขายตาม (ก) และ (ข) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 2. ในกรณีที่มีการเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ก่อนที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นที่ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับ ให้นํามูลค่าหุ้น ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ดังกล่าวรวมเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียมด้วย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 29/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชําระค่าธรรมเนียมตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงาน ในอัตราดังนี้ (ก) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (ค) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท ในกรณีที่งบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงานระบุเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และแหล่งอ้างอิงของอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวด้วย (2) ให้บริษัทต่างประเทศที่มิได้มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต่อสํานักงานเนื่องจากการเสนอขายหุ้นชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 50,000 บาท (3) ในกรณีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราดังนี้ (ก) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท (ข) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 50,000 บาท (4) ในกรณีบริษัทอื่นนอกจาก (1) (2) และ (3) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ในข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 28) ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้อัตราค่าธรรมเนียมเป็นดังนี้ (ก) คําขอที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 100,000 บาท (ข) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 150,000 บาท (ค) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 คําขอละ 200,000 บาท (ง) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป คําขอละ 300,000 บาท” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 28) ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) คําขอความเห็นชอบเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ คําขอละ 100,000 บาท” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6/1) ในข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 28) ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 “(6/1) คําขอความเห็นชอบเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้อัตราค่าธรรมเนียมเป็นดังนี้ (ก) คําขอที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 100,000 บาท (ข) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 150,000 บาท (ค) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 คําขอละ 200,000 บาท (ง) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป คําขอละ 300,000 บาท” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความข้อ 24 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 38/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 38) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 24 คําขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) คําขอที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 250,000 บาท (ข) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 300,000 บาท (ค) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 คําขอละ 400,000 บาท (ง) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป คําขอละ 500,000 บาท (2) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน คนละ 10,000 บาท การชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีเป็นคําขอตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนในจํานวน 50,000 บาท และชําระส่วนที่เหลือในวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) กรณีคําขอตามวรรคหนึ่ง (1) (ข) (ค) และ (ง) ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนในจํานวนร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมคําขอที่ต้องชําระตามวรรคหนึ่ง และให้ชําระส่วนที่เหลือภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (3) กรณีคําขอตามวรรคหนึ่ง (2) ให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 25/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 30/2555 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 32) ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25/2 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ให้เป็นดังนี้ (1) คําขอที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 250,000 บาท (2) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 300,000 บาท (3) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 คําขอละ 400,000 บาท (4) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป คําขอละ 500,000 บาท การชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) กรณีคําขอตามวรรคหนึ่ง (1) ให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน (2) กรณีคําขอตามวรรคหนึ่ง (2) (3) และ (4) ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนในจํานวนร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมคําขอที่ต้องชําระตามวรรคหนึ่งและ ให้ชําระส่วนที่เหลือภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน” ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
802
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 46/2560 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 47)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 46/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 47) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2/1) ของข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 16/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 28) ลงวันที่1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2/1) “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (9) ในข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 2/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 25) ลงวันที่13 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(9) คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ไม่ว่าในช่วงเวลาก่อนหรือหลังการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากับผลคูณของจํานวนเงิน 5,000 บาท กับจํานวนรายการที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยการพิจารณารายการที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) กองทุนรวมที่ยื่นคําขอจัดตั้งผ่านระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในระบบดังกล่าว (ข) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ค) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานหรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย แล้วแต่กรณี” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 42/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 46) ลงวันที่11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 “การเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งในกรณีของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (3) และ (5) (ค) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย โดยให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (2) ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (7) (ค) มิให้นํามาใช้บังคับกับการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยในช่วงระยะเวลาก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
803
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สม. 6/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 48)
-ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 6/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 48) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 8/5 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศสําหรับการยื่นแบบ 69 – CIS full ให้คิดในอัตราครั้งละ 100,000 บาท” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
804
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สม. 28/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 49)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 49) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 43/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) เป็นบริษัทที่ออกตราสารหนี้ในลักษณะโครงการที่ได้ยื่นปรับปรุงข้อมูลบริษัทด้วยแบบ 69-SUPPLEMENT เฉพาะกรณีการยื่นแบบดังกล่าว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 43/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 “(5/1) เป็นบริษัทที่ออกตราสารหนี้ระยะสั้นในลักษณะโครงการตามข้อ 6/1(1) (ข) เฉพาะกรณีการยื่นแบบ 69-Pricing ในระหว่างโครงการเพื่อเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นที่ชําระค่าธรรมเนียมโครงการไว้แล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 6/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 43/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6/1 ค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะตามข้อ 6/2 (1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) การเสนอขายในลักษณะรายครั้ง 1. กรณีเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 20,000 บาท 2. กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 30,000 บาท 3. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีเร่งด่วน (fast track) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.005 ของมูลค่าของตราสารที่จะเสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 30,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 100,000 บาท 4. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของตราสารที่จะเสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 200,000 บาท (ข) การเสนอขายในลักษณะโครงการ 1. กรณีเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรา 100,000 บาทต่อโครงการ 2. กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรา 150,000 บาทต่อโครงการ 3. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีเร่งด่วน (fast track) ให้คิดในอัตรา 200,000 บาทต่อโครงการ 4. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตรา 400,000 บาทต่อโครงการ (2) กรณีเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตร ในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1) ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (ข) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป 1. กรณีเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีเร่งด่วน (fast track) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 500,000 บาท 2. กรณีเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 1,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตรที่เสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาเสนอขายเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 6/2 ค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และหุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายในลักษณะรายครั้ง (ก) กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (ข) กรณีเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งมีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตรารุ่นละ 10,000 บาท (ค) กรณีเสนอขายหุ้นกู้นอกจากกรณีตาม (ข) ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 30,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 500,000 บาท (2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งออกโดยสถาบันการเงินในลักษณะโครงการได้ยื่นแบบ 69-DEBT-SP-1 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายซึ่งระบุในแบบดังกล่าว โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 30,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 500,000 บาท (3) การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งมีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันในลักษณะโครงการนอกจากกรณีตาม (2) (ก) กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตราปีละ 50,000 บาท (ข) กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตราปีละ 100,000 บาท สําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่ได้กระทําภายในหนึ่งปีปฏิทินที่ได้มีการชําระค่าธรรมเนียมเป็นรายปีดังกล่าว โดยไม่จํากัดจํานวนรุ่นของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่เสนอขาย แต่สูงสุดโครงการละไม่เกิน 200,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาเสนอขายเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 48/2549 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 การคํานวณค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 6 ข้อ 6/1 และข้อ 6/2 สําหรับกรณีที่มีการกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ กําหนดเป็นช่วงราคา หรือราคาเสนอขายจะไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยใช้ราคาสูงสุดที่จะเสนอขาย (2) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์กําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงกับข้อมูลในอนาคต ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายจากสูตรดังกล่าวโดยใช้ข้อมูลในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (3) ในกรณีที่ราคาเสนอขายกําหนดเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราซื้อตั๋วเงิน) สําหรับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดังกล่าว ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 38/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 38) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 ข้อ 6/1 และข้อ 6/2 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน (ก) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันตามข้อ 6/1(1) (ก) 1. และ 2. ข้อ 6/1(1) (ข) ข้อ 6/2(1) (ข) และข้อ 6/2(3) (ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามข้อ 6/1(2) (ก) และข้อ 6/2(1) (ก)๗ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4) (ก) 1. ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 20,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน และให้ชําระค่าธรรมเนียมในส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับข้อมูลครบถ้วน (ข) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4) (ก) 2. หรือข้อ 6(4) (ข) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) หรือ (2) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมดังนี้ (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 หรือ 50,000 บาท แล้วแต่กรณี ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์สําหรับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งมีหลายรุ่น ให้การชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําคิดรวมทุกรุ่นจํานวน 30,000 หรือ 50,000 บาท แล้วแต่กรณี (ข) ถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี (4) ในกรณีที่มีการเสนอขายตราสารหนี้หลายรุ่นในช่วงเวลาเดียวกัน ให้คิดค่าธรรมเนียมตามแต่ละรุ่นแยกกัน ไม่ว่าจะมีการจํากัดจํานวนเสนอขายสูงสุดของทุกรุ่นรวมกันไว้ก็ตาม ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออีก” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 42/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 46) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชําระค่าธรรมเนียมตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงาน ในอัตราดังนี้ (ก) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (ค) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท ในกรณีที่งบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงานระบุเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และแหล่งอ้างอิงของอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวด้วย (2) ให้บริษัทต่างประเทศที่มิได้มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต่อสํานักงานเนื่องจากการเสนอขายหุ้นชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 50,000 บาท (3) ในกรณีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราดังนี้ (ก) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท (ข) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 50,000 บาท (4) ในกรณีบริษัทอื่นนอกจาก (1) (2) และ (3) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท ในรอบปีปฏิทินก่อนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง บริษัทตามวรรคหนึ่ง (1) บริษัทใดไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดหรือถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน เนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนด ให้บริษัทดังกล่าวได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในปีปัจจุบันในอัตราร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ” ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ----------------------------------------------------------------------- ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
805
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 41/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 50)
- ร่าง - ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 41 /2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 50) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 45) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ให้เป็นไปตาม อัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนเมื่อยื่นคําขอ 1. 50,000 บาท สําหรับคําขอดังต่อไปนี้ (ก) คําขอความเห็นชอบเป็นครั้งแรก โดยไม่เคยมีการยื่นคําขอต่อสํานักงานมาก่อน (ข) คําขอความเห็นชอบอื่นใดที่ไม่ใช่คําขอซึ่งต้องชําระค่าธรรมเนียมตาม (2) (2) 250,000 บาท สําหรับคําขอดังต่อไปนี้ (ก) คําขอความเห็นชอบครั้งใหม่ที่ยื่นภายหลังสํานักงานปฏิเสธคําขอความเห็นชอบครั้งล่าสุด (ข) คําขอความเห็นชอบที่ยื่นภายหลังการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด ซึ่งสํานักงานพบข้อบกพร่องของผู้สอบบัญชีและได้ออกคําสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือได้เห็นชอบกับการปฏิบัติตามบทลงโทษที่เสนอโดยบุคคลนั้นเอง (enforceable undertaking) หรือได้เปิดเผยข้อมูลการดําเนินการของสํานักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี (ค) คําขอความเห็นชอบที่ยื่นภายหลังการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด ซึ่งสํานักงานให้ความเห็นชอบไว้น้อยกว่าห้าปี” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
806
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 59/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 51)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 59/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 51) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 49) ลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) เป็นบริษัทที่ออกตราสารหนี้หรือศุกูกในลักษณะโครงการที่ได้ยื่นปรับปรุงข้อมูลบริษัทด้วยแบบ 69-SUPPLEMENT แบบ 69-SUPPLEMENT-FD หรือแบบ 69-SUPPLEMENT-SUKUK เฉพาะกรณีการยื่นแบบดังกล่าว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (5/1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 49) ลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5/1) เป็นบริษัทที่ออกตราสารหนี้ระยะสั้นในลักษณะโครงการตามข้อ 6/1(1) (ข) หรือศุกูกระยะสั้นในลักษณะโครงการตามข้อ 8/1(1) (ข) เฉพาะกรณีการยื่นแบบ 69-PRICING แบบ 69- PRICING -FD หรือแบบ 69- PRICING -SUKUK ที่ได้ยื่นในระหว่างโครงการเพื่อเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นหรือศุกูกระยะสั้นที่ได้ชําระค่าธรรมเนียมโครงการแล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 8/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 7/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 26) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8/1 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทศุกูก ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีเป็นการเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) การเสนอขายในลักษณะรายครั้ง 1. กรณีเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 20,000 บาท 2. กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 30,000 บาท 3. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของศุกูกที่จะเสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 200,000 บาท (ข) การเสนอขายในลักษณะโครงการ 1. กรณีเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรา 100,000 บาทต่อโครงการ 2. กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรา 150,000 บาทต่อโครงการ 3. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตรา 400,000 บาทต่อโครงการ (2) ในกรณีเป็นการเสนอขายศุกูกในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้คิดตามอัตราดังนี้ (ก) กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (ข) กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของศุกูกที่เสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 1,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของศุกูกที่เสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาเสนอขายเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ------------------------------------------------------------------------ ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
807
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 62/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 52)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 62/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 52) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 53/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 44) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 ค่าธรรมเนียมคําขอที่ยื่นเพื่อขอรับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนําการลงทุน หรือนักวางแผนการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอ (1) คําขอความเห็นชอบ คําขอละ 2,000 บาท เว้นแต่ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบ (ก) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 49/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (ข) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์หรือผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุนที่ได้ยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยผู้ยื่นเคยยื่นคําขอความเห็นชอบตาม (ก) แต่ไม่ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (ค) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์หรือผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุนที่ได้ยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยผู้ยื่นเคยยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งใช้คุณสมบัติการเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนําการลงทุน ด้านหลักทรัพย์หรือด้านตลาดทุน แล้วแต่กรณี และการมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (ง) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนอาเซียนหรือนักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน (2) คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ คําขอละ 1,000 บาท เว้นแต่เป็นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนอาเซียนหรือนักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
808
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สม. 1/2562 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 53)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 1/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 53) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดง รายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 6/2552 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้ชําระตามที่กําหนดในข้อ 8” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียม การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 49) ลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4) (ก) 1. ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมดังนี้ โดยให้ชําระภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของเดือน ที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม 1. หรือ 2. แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน 1. ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 20,000 บาท กรณีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก 2. ให้ชําระค่าธรรมเนียมในส่วนที่เหลือ กรณีสํานักงานได้รับแบบแสดง รายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ครบถ้วน (ข) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4) (ก) 2. และการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วนตามข้อ 6(4) (ข) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของเดือน ที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับ สําหรับประชาชน (ค) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สิน เป็นประกันเต็มจํานวนตามข้อ 6(4) (ข) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
809
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สม. 28/2562 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 54)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 54) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 6/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 49) ลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งออกโดยสถาบันการเงินในลักษณะโครงการที่ได้ยื่นแบบ 69-DEBT-SP-1 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายซึ่งระบุในแบบดังกล่าวโดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท แต่สูงสุดโครงการละไม่เกิน 500,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
810
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สม. 32/2562 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 55)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 32/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 55) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 25/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 11/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 36) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25/3 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง คําขอละ 250,000 บาท โดยให้ชําระในวันที่ยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 50,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวน 200,000 บาท ภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ----------------------------------------------------------------------- ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
811
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 5/2563 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 58)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 5/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 58) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/2) ของข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 46/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 47) ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 “(2/2) “กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมเพื่อการออม ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 67/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 57) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) การจดทะเบียนกองทุนรวม (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ข) จํานวนเงินทุนโครงการในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอื่นใดนอกจาก (ก) กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามวรรคหนึ่ง (ก) หรือ (ข) ไม่รวมถึงกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 67/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 57) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) คําขอแก้ไขรายการทางทะเบียนเพื่อเพิ่มจํานวนเงินทุน (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค)ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) หรือ (ข) ให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนคูณกับจํานวนหน่วยลงทุนที่สามารถเสนอขายเพิ่มเติมได้ โดยให้คํานวณแต่ละคําขอจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนโครงการที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นกองทุนรวมไม่ได้ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (ข) ส่วนต่างระหว่างจํานวนเงินทุนโครงการและจํานวนเงินทุนจดทะเบียน ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดหรือเปลี่ยนจากกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวเป็นกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง (ค) ให้ใช้ราคาที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมคูณกับจํานวนหน่วยลงทุนที่สามารถเสนอขายเพิ่มเติมได้ โดยให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามวรรคหนึ่ง (ก) หรือ (ข) ไม่รวมถึงกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
812
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 8/2563 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 59)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 8/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 59) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 1/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 53) ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ให้เป็นดังนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้ชําระตามที่กําหนดในข้อ 8 (2) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามอัตราที่กําหนดในข้อ 9 ให้ชําระภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปีตลอดระยะเวลาที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าว โดยให้เริ่มชําระในปีถัดจากปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 49) ลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้บริษัทตามวรรคหนึ่ง (1) ที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ ในรอบปีปฏิทินก่อนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในปีปัจจุบันในอัตราร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ 1. ไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดหรือถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน เนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนด 2. ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
813
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 12/2563 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 60)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 24/1/2563 CSDS เลขที่ 70/2562 ครั้งที่ 4 ผ่านทาง CSDS . ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 12/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 60) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ (9) ในข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 46/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 47) ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(9) คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ไม่ว่าในช่วงเวลาก่อนหรือหลังการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากับผลคูณของจํานวนเงิน 5,000 บาท กับจํานวนรายการที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยการพิจารณารายการที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ เว้นแต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 50 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอดังกล่าว (ก) กองทุนรวมที่ยื่นคําขอจัดตั้งผ่านระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในระบบดังกล่าว (ข) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในประกาศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ค) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย แล้วแต่กรณี” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
814
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 43/2563 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 61)
- ร่าง - ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 43/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 61) *\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_* อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 59/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 51) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) เป็นบริษัทที่ออกตราสารหนี้หรือศุกูกในลักษณะโครงการที่ได้ยื่นปรับปรุงข้อมูลบริษัท ด้วยแบบ 69-PO-MTN (ส่วนที่ 3 : แบบ 69-PO-SUPPLEMENT) แบบ 69-II&HNW-MTN (ส่วนที่ 3 : แบบ 69-II&HNW-SUPPLEMENT) แบบ 69-FD-MTN (69-FD-SUPPLEMENT) หรือแบบ 69-SUPPLEMENT-SUKUK เฉพาะกรณีการยื่นแบบดังกล่าว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการ ข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 43/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) เป็นบริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เฉพาะกรณีการยื่นแบบ 69-SP (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-SP-2) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (5/1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 59/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 51) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5/1) เป็นบริษัทที่ออกตราสารหนี้ระยะสั้นในลักษณะโครงการตามข้อ 6/1(1) (ข) หรือศุกูกระยะสั้นในลักษณะโครงการตามข้อ 8/1(1) (ข) เฉพาะกรณีการยื่นแบบ 69-PO-MTN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-PO-PRICING) แบบ 69-II&HNW-MTN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-II&HNW-PRICING) แบบ 69-FD-MTN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-FD-PRICING) หรือแบบ 69- PRICING -SUKUK ที่ได้ยื่นในระหว่างโครงการเพื่อเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นหรือศุกูกระยะสั้นที่ได้ชําระค่าธรรมเนียมโครงการแล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 6/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียม การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 54) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งออกโดยสถาบันการเงินในลักษณะโครงการที่ได้ยื่นแบบ 69-SP (ส่วนที่ 1 : แบบ 69-SP-1) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่จะ เสนอขายซึ่งระบุในแบบดังกล่าว โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท แต่สูงสุดโครงการละ ไม่เกิน 500,000 บาท” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
815
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 34/2564 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 62)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 34/2564 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 62) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 29/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8/4 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) การยื่นแบบ 69-DR ให้คิดในอัตราครั้งละ 15,000 บาท (2) การยื่นแบบ 69-DR reissue ให้คิดในอัตราครั้งละ 10,000 บาท เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง “ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ให้หมายความถึง ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
816
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 42/2564 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 63)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 42/2564 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 63) *\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_* อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 28/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 49) ลงวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชําระค่าธรรมเนียมตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงาน ในอัตราดังนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทอยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินประจํารอบปีบัญชีต่อสํานักงาน ให้ชําระตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินที่ยื่นต่อสํานักงานล่าสุดก่อนหรือ ณ วันที่ 31 มีนาคมของปีที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม (ก) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (ค) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท ในกรณีที่งบการเงินตามวรรคหนึ่งระบุเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานดังกล่าว แล้วแต่กรณี และระบุแหล่งอ้างอิงของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
817
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 59/2564 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 64)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 59/2564 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 64) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 8/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 29/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 “ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง สําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
818
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 71/2564 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 65)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 71/2564 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 65) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (2/1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 43/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และ การยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 61) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 “(2/1) เป็นบริษัทที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1)” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
819
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 28/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ(ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 33/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 48/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 8/2542 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 5/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 9/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 24/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 38/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2543 (9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 42/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543 (10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 45/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2543 (11) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 52/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2543 (12) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 58/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (13) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 61/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (14) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 68/2543 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (15) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 15/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2544 (16) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 30/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 (17) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 44/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (18) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 50/2544 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 19) ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (19) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 4/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 (20) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 13/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 21) ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 (21) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 48/2545 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2545 (22) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 56/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 23) ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (23) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 2/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2547 (24) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สบ. 26/2547 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ข้อ 318 ยกเลิก หมวด 1 การออกหลักทรัพย์และการเสนอขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 441 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามประกาศนี้ เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5 (2) เป็นบริษัทที่ออกหุ้นเพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่มีอายุไม่เกินสองเดือนนับแต่วันที่ออกซึ่งระบุไว้ในใบสําคัญแสดงสิทธินั้น และได้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (2/1)64 เป็นบริษัทที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (3) เป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดีตามส่วนที่ 2 ของหมวด 2 ของภาค 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (4)65 เป็นบริษัทที่ออกตราสารหนี้หรือศุกูกในลักษณะโครงการที่ได้ยื่นปรับปรุงข้อมูลบริษัท ด้วยแบบ 69-PO-MTN (ส่วนที่ 3 : แบบ 69-PO-SUPPLEMENT) แบบ 69-PP-MTN (ส่วนที่ 3 : แบบ 69-PP-SUPPLEMENT) แบบ 69-FD-MTN (ส่วนที่ 3 : 69-FD-SUPPLEMENT) แบบ 69-PO-MTN-SUKUK(ส่วนที่ 3 : แบบ 69-PO-SUPPLEMENT-SUKUK) หรือ แบบ 69-PP-MTN-SUKUK (ส่วนที่ 3 : แบบ 69-PP-SUPPLEMENT-SUKUK) เฉพาะกรณีการยื่นแบบดังกล่าว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (5)65 เป็นบริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเฉพาะกรณีการยื่นแบบ 69-SN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-SN-2) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) แต่ไม่รวมถึง กรณีที่บริษัทยื่นแบบเพื่อขอเพิ่มวงเงินการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ให้ชําระค่าธรรมเนียม ตามข้อ 6/2(2) วรรคสอง (5/1)65 เป็นบริษัทที่ออกตราสารหนี้ระยะสั้นในลักษณะโครงการตามข้อ 6/1(1) (ข)หรือศุกูกระยะสั้นในลักษณะโครงการตามข้อ 8/1(1) (ข) เฉพาะกรณีการยื่นแบบ 69-PO-MTN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-PO-PRICING) แบบ 69-PP-MTN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-PP-PRICING) แบบ 69-FD-MTN (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-FD-PRICING) แบบ 69-PO-MTN-SUKUK (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-PO-PRICING-SUKUK) หรือแบบ 69-PP-MTN-SUKUK (ส่วนที่ 2 : แบบ 69-PP-PRICING-SUKUK) ที่ได้ยื่นในระหว่างโครงการเพื่อเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นหรือศุกูกระยะสั้นที่ได้ชําระค่าธรรมเนียมโครงการแล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(1) (6) เป็นบริษัทที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5(2) (7) เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ที่เสนอขายหน่วยทรัสต์ในการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 8/2 วรรคหนึ่ง (1) ในส่วนที่เป็น การเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพ ทั้งนี้ เฉพาะแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นอย่างช้าภายในวันทําการสุดท้ายของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ข้อ 558 การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ให้เป็นดังนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้ชําระตามที่กําหนดในข้อ 8 (2) ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีตามอัตราที่กําหนดในข้อ 9ให้ชําระภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปีตลอดระยะเวลาที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวโดยให้เริ่มชําระในปีถัดจากปีที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ ข้อ 618 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภท หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิประเภทต่าง ๆ และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ให้คิดในอัตราดังนี้ (1)45 กรณีเสนอขายหุ้น ให้เป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทต่างประเทศที่มีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย (ข) การเสนอขายหุ้นนอกจากที่กําหนดใน (ก) ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราดังนี้ 1. แบบที่ยื่นต่อสํานักงานก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย 2. แบบที่ยื่นต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.07 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย 3. แบบที่ยื่นต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.06 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย 4. แบบที่ยื่นต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.05 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย (ค) การคํานวณมูลค่าของหุ้นที่เสนอขายตาม (ก) และ (ข) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. ใช้ราคาเสนอขายหุ้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม 2. ในกรณีที่มีการเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ก่อนที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นที่ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับ ให้นํามูลค่าหุ้น ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (Cornerstone investor) ดังกล่าวรวมเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียมด้วย (2) กรณีเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ก) หากใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุไม่เกินหนึ่งปี ให้คิดในอัตรา ร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของ หุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย (ข) หากใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นมีอายุมากกว่าหนึ่งปี ให้คิดในอัตรา ร้อยละ 0.03 ของมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของ หุ้นทั้งหมดที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ในการคํานวณมูลค่าของใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ ราคาเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เสนอขาย ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (3) กรณีเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้โดยเจ้าของ ใบแสดงสิทธิดังกล่าว ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.08 ของมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ทั้งหมดที่เสนอขายรวมกับมูลค่าของหุ้นทั้งหมดที่รองรับใบแสดงสิทธิดังกล่าว ในการคํานวณมูลค่าของใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่เสนอขายให้ใช้ราคาเสนอขายใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม และในการคํานวณมูลค่าของหุ้นที่รองรับใบแสดงสิทธินั้น ให้ใช้ราคาที่จะซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิดังกล่าวเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม (4)32 กรณีการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้คิดค่าธรรมเนียมสําหรับ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในอัตราดังนี้ (ก) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นประกันให้คิดในอัตราดังนี้ 1. ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบ 69-DW-full ให้คิดในอัตรา 20,000 บาทบวกด้วยอัตรา 10,000 บาทคูณจํานวนรุ่นที่ออกภายใต้แบบดังกล่าว 2. ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบ 69-DW-short ให้คิดในอัตรา 10,000 บาทคูณจํานวนรุ่นที่ออกภายใต้แบบดังกล่าว (ข) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์แบบมีทรัพย์สินเป็นประกัน เต็มจํานวนหรือมีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วน ให้คิดในอัตราครั้งละ 50,000 บาท (5) กรณีเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ให้คิดในอัตราร้อยละ0.02 ของมูลค่าของหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เสนอซื้อ แต่ต้องไม่ต่ํากว่า 100,000 บาท มูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ ให้หมายถึงผลคูณของจํานวนดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ (ข) ราคาปิดเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของหลักทรัพย์ ที่เสนอซื้อในช่วงห้าวันทําการก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ในกรณีหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อไม่มีราคาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาดังกล่าว ให้ใช้ ราคายุติธรรมที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (6) กรณีเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้ใช้อัตราและวิธีการคํานวณเดียวกับที่กําหนดไว้สําหรับหลักทรัพย์อ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงดังกล่าว ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 30,000 บาทให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 30,000 บาท เว้นแต่มีการกําหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ําไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว ข้อ 6/165 ค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตร ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีลักษณะตามข้อ 6/2 (1) กรณีการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวัน ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) การเสนอขายในลักษณะรายครั้ง 1. กรณีเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 20,000 บาท 2. กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือเสนอขาย ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบัน แล้วแต่กรณี ให้คิดในอัตรารุ่นละ 30,000 บาท 3. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีเร่งด่วน (fast track) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.005 ของมูลค่าของตราสารที่จะเสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 30,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 100,000 บาท 4. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของตราสารที่จะเสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 200,000 บาท (ข) การเสนอขายในลักษณะโครงการ 1. กรณีเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรา 100,000 บาทต่อโครงการ 2. กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือเสนอขาย ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบัน แล้วแต่กรณี ให้คิดในอัตรา 150,000 บาท ต่อโครงการ 3. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีเร่งด่วน (fast track) ให้คิดในอัตรา 200,000 บาทต่อโครงการ 4. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตรา 400,000 บาทต่อโครงการ (2) กรณีเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตร ในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1)ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทรวมกัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (ข) หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป 1. กรณีเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีเร่งด่วน (fast track)ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 500,000 บาท 2. กรณีเข้าข่ายการพิจารณาคําขออนุญาตกรณีทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่เสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 1,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือพันธบัตรที่เสนอขายตามวรรคหนึ่งให้ใช้ราคาเสนอขายเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ข้อ 6/265 ค่าธรรมเนียมในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทประกันภัย และหุ้นกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายในลักษณะรายครั้ง (ก) กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทรวมกัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (ข) กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาททั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 500,000 บาท (2) การเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งออกโดยสถาบันการเงินในลักษณะโครงการที่ได้ยื่นแบบ 69-SN (ส่วนที่ 1 : แบบ 69-SN-1) ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของหุ้นกู้ที่จะเสนอขายซึ่งระบุในแบบดังกล่าว โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียม ขั้นสูงสุดในแต่ละโครงการไม่เกิน 500,000 บาท กรณีสถาบันการเงินตาม (2) วรรคหนึ่ง ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบในครั้งก่อนน้อยกว่า 500,000 บาท หากสถาบันการเงินดังกล่าวยื่นแบบเพื่อขอเพิ่มวงเงินการเสนอขายหุ้นกู้ ที่มีอนุพันธ์แฝงภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่ของโครงการเดิม ค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระเพิ่มเติมตามอัตราที่กําหนดใน (2) วรรคหนึ่ง เมื่อรวมกับค่าธรรมเนียมที่ได้ชําระไว้แล้วสําหรับโครงการเดิมนั้นให้คิดไม่เกิน 500,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหุ้นกู้ที่เสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาเสนอขายเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ข้อ 748 การคํานวณค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามข้อ 6 ข้อ 6/1 และข้อ 6/2 สําหรับกรณีที่มีการกําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ กําหนดเป็นช่วงราคา หรือราคาเสนอขายจะไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยใช้ราคาสูงสุดที่จะเสนอขาย (2) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหลักทรัพย์กําหนดเป็นสูตรซึ่งอ้างอิงกับข้อมูลในอนาคตให้คํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายจากสูตรดังกล่าวโดยใช้ข้อมูลในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (3) ในกรณีที่ราคาเสนอขายกําหนดเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้คํานวณมูลค่า ของหลักทรัพย์ที่เสนอขายเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (อัตราซื้อตั๋วเงิน) สําหรับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดังกล่าว ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศในวันก่อนวันที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมครบถ้วนของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น ข้อ 848 การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 ข้อ 6/1 และข้อ 6/2 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน (ก)65 กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น ตั๋วเงินระยะสั้น หรือพันธบัตรที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันตามข้อ 6/1(1) (ก) 1. และ 2. และข้อ 6/1(1) (ข) (ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้หรือพันธบัตรตามข้อ 6/1(2) (ก) และข้อ 6/2(1) (ก) (2)52 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4) (ก) 1. ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมดังนี้ โดยให้ชําระภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของเดือน ที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม 1. หรือ 2. แล้วแต่กรณีพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน 1. ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 20,000 บาท กรณีการยื่นแบบแสดง รายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก 2. ให้ชําระค่าธรรมเนียมในส่วนที่เหลือ กรณีสํานักงานได้รับแบบแสดง รายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ครบถ้วน (ข) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามข้อ 6(4) (ก) 2. และการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สินเป็นประกันบางส่วนตามข้อ 6(4) (ข) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของเดือน ที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับ สําหรับประชาชน (ค) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่มีทรัพย์สิน เป็นประกันเต็มจํานวนตามข้อ 6(4) (ข) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมทั้งจํานวนในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) หรือ (2)ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมดังนี้ (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 หรือ 50,000 บาท แล้วแต่กรณี ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชนทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์สําหรับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งมีหลายรุ่น ให้การชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําคิดรวมทุกรุ่นจํานวน 30,000 หรือ 50,000 บาท แล้วแต่กรณี (ข) ถ้ายังมีส่วนที่เหลือต้องชําระอีก ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหลักทรัพย์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้แล้วแต่กรณี (4) ในกรณีที่มีการเสนอขายตราสารหนี้หลายรุ่นในช่วงเวลาเดียวกัน ให้คิดค่าธรรมเนียมตามแต่ละรุ่นแยกกัน ไม่ว่าจะมีการจํากัดจํานวนเสนอขายสูงสุดของทุกรุ่นรวมกันไว้ก็ตาม ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออีก ข้อ 8/165 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีเป็นการเสนอขายศุกูกระยะสั้นที่มีกําหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกินสองร้อยเจ็ดสิบวันให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) การเสนอขายในลักษณะรายครั้ง 1. กรณีเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 20,000 บาท 2. กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือเสนอขาย ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบัน แล้วแต่กรณี ให้คิดในอัตรารุ่นละ 30,000 บาท 3. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าของศุกูกที่จะเสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 200,000 บาท (ข) การเสนอขายในลักษณะโครงการ 1. กรณีเสนอขายเฉพาะต่อผู้ลงทุนสถาบัน ให้คิดในอัตรา 100,000 บาท ต่อโครงการ 2. กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือเสนอขาย ต่อผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบัน แล้วแต่กรณี ให้คิดในอัตรา 150,000 บาท ต่อโครงการ 3. กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตรา 400,000 บาทต่อโครงการ (2) ในกรณีเป็นการเสนอขายศุกูกในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (1) ให้คิดตามอัตราดังนี้ (ก) กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทรวมกัน ให้คิดในอัตรารุ่นละ 50,000 บาท (ข) กรณีเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.02 ของมูลค่าของศุกูกที่เสนอขายในแต่ละรุ่น โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําของแต่ละรุ่นในอัตรา 50,000 บาท ทั้งนี้ ให้คิดค่าธรรมเนียมขั้นสูงสุดในแต่ละรุ่นไม่เกิน 1,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของศุกูกที่เสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาเสนอขายเป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ให้นําความในข้อ 7 และข้อ 8(1) มาใช้บังคับกับการคํานวณและชําระค่าธรรมเนียม การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก โดยอนุโลม ข้อ 8/236 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ดังต่อไปนี้ ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.01 ของมูลค่าหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่เสนอขาย (1) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ในการคํานวณมูลค่าของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นฐานในการคิดค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการกําหนดราคาเสนอขายในลักษณะดังต่อไปนี้ การคิดค่าธรรมเนียมให้เป็นดังนี้ (1) ในกรณีที่ราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์กําหนดเป็นช่วงราคา ให้คํานวณมูลค่าของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายโดยใช้ราคาสูงสุดที่จะเสนอขาย (2) ในกรณีกองทรัสต์ที่มีการแบ่งหน่วยทรัสต์ออกเป็นหลายชนิด และกําหนดราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดไม่เท่ากัน ให้คํานวณมูลค่าของหน่วยทรัสต์ที่เสนอขายแต่ละชนิดแยกกันโดยใช้ราคาของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดที่จะเสนอขายคูณด้วยจํานวนหน่วยทรัสต์ทั้งหมดที่จะเสนอขายของหน่วยทรัสต์ชนิดนั้น ทั้งนี้ หากมีการกําหนดราคาเสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นช่วงราคา การคํานวณมูลค่าเสนอขายหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ให้ใช้ราคาสูงสุดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดที่จะเสนอขาย 63ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง สําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ข้อ 8/336 การชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 8/2 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1)37 ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ํา 30,000 บาท ในวันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ถูกต้องครบถ้วนครั้งแรกตามคู่มือสําหรับประชาชน (2) ถ้ายังมีส่วนที่เหลือให้ชําระอีก ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลือในวันที่สํานักงานได้รับรายละเอียดของข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยทรัสต์ การจองการจัดจําหน่าย การจัดสรร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายได้ลงลายมือชื่อไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออก และเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์พร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่และสํานักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ หรือมีการขอถอนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์จะมีผลใช้บังคับ ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เหลืออีก ข้อ 8/461 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้คิดในอัตราดังนี้ (1) การยื่นแบบ 69-DR ให้คิดในอัตราครั้งละ 15,000 บาท (2) การยื่นแบบ 69-DR reissue ให้คิดในอัตราครั้งละ 10,000 บาท เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง “ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ”ให้หมายความถึง ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ข้อ 8/547 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศสําหรับการยื่นแบบ 69 – CIS full ให้คิดในอัตราครั้งละ 100,000 บาท ข้อ 948 ค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้คิดในอัตราดังต่อไปนี้ (1)62 ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชําระค่าธรรมเนียมตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดที่ยื่นต่อสํานักงาน ในอัตราดังนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทอยู่ระหว่างค้างการนําส่งงบการเงินประจํารอบปีบัญชีต่อสํานักงาน ให้ชําระตามส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินที่ยื่นต่อสํานักงานล่าสุดก่อนหรือ ณ วันที่31 มีนาคมของปีที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม (ก) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ถึง 500 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (ค) บริษัทที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (หรือเทียบเท่า) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 300,000 บาท ในกรณีที่งบการเงินตามวรรคหนึ่งระบุเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้ระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานดังกล่าว แล้วแต่กรณี และระบุแหล่งอ้างอิงของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นด้วย (2) ให้บริษัทต่างประเทศที่มิได้มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีต่อสํานักงานเนื่องจากการเสนอขายหุ้นชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 50,000 บาท (3) ในกรณีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราดังนี้ (ก) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท (ข) แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561เป็นต้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 50,000 บาท (4) ในกรณีบริษัทอื่นนอกจาก (1) (2) และ (3) ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท 58ให้บริษัทตามวรรคหนึ่ง (1) ที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ ในรอบปีปฏิทินก่อนการชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ได้รับลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่ต้องชําระในปีปัจจุบันในอัตราร้อยละ 20 ของค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่ต้องชําระ (1) ไม่เคยถูกดําเนินการเปรียบเทียบความผิดหรือถูกกล่าวโทษโดยสํานักงานเนื่องจากไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินหรือรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามที่กฎหมายกําหนด (2) ได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หมวด 2 การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 1013 ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมเมื่อมีการยื่นคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต่อสํานักงาน เว้นแต่เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ค่าธรรมเนียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ให้คิดตามมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อตามอัตราดังนี้ (1) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าไม่ถึง 10 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (2) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 100 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 100,000 บาท (3) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 500,000 บาท (4) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 1,000,000 บาท (5) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 5,000 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 1,500,000 บาท (6) หลักทรัพย์ที่เสนอซื้อมีมูลค่าตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้ชําระค่าธรรมเนียม 2,000,000 บาท ในการคํานวณมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ ให้ใช้ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์คูณด้วยจํานวนหลักทรัพย์สูงสุดที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อแก้ไขราคาเสนอซื้อหรือจํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อจนเป็นผลให้ค่าธรรมเนียมที่ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องชําระมีอัตราที่สูงขึ้นจากอัตราเดิมที่ได้ชําระไว้ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เพิ่มในวันที่สํานักงานได้รับแบบแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ข้อ 1113 ค่าธรรมเนียมคําขอผ่อนผันที่ยื่นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (whitewash) (ก) กรณีหลักทรัพย์ที่ขอผ่อนผันมีมูลค่าน้อยกว่า 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 75,000 บาท (ข) กรณีหลักทรัพย์ที่ขอผ่อนผันมีมูลค่าตั้งแต่ 500 ล้านบาท ให้ชําระค่าธรรมเนียม 150,000 บาท (2) คําขอผ่อนผันที่อยู่ในอํานาจพิจารณาของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (ก) กรณีขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือราคาเสนอซื้อ ให้ชําระค่าธรรมเนียม 200,000 บาท (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (3) คําขอผ่อนผันที่อยู่ในอํานาจพิจารณาของสํานักงาน (ก) กรณีขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้ชําระค่าธรรมเนียม 50,000 บาท (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียม 20,000 บาท หมวด 3 ธุรกิจหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 12 ค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตจัดตั้งสํานักงานผู้แทนของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งจัดตั้งและประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ ให้คิดในอัตรา 25,000 บาทต่อหนึ่งสํานักงานผู้แทน ข้อ 1351 ค่าธรรมเนียมคําขอที่ยื่นเพื่อขอรับความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนผู้แนะนําการลงทุน หรือนักวางแผนการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอ (1) คําขอความเห็นชอบ คําขอละ 2,000 บาท เว้นแต่ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบ (ก) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 49/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 5)ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (ข) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์หรือผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุนที่ได้ยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยผู้ยื่นเคยยื่นคําขอความเห็นชอบตาม (ก) แต่ไม่ผ่านการทดสอบตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (ค) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนด้านหลักทรัพย์หรือผู้แนะนําการลงทุนด้านตลาดทุนที่ได้ยื่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยผู้ยื่นเคยยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้วางแผนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งใช้คุณสมบัติการเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนหรือผู้แนะนําการลงทุน ด้านหลักทรัพย์หรือด้านตลาดทุน แล้วแต่กรณี และการมีประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรการวางแผนการลงทุน (Certified Financial Planner: CFP) module 1 และ module 2 ภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (ง) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนอาเซียนหรือนักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน (2) คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ คําขอละ 1,000 บาท เว้นแต่เป็นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุนอาเซียนหรือนักวิเคราะห์การลงทุนอาเซียน ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ข้อ 142 ยกเลิก ข้อ 152 ยกเลิก ข้อ 162 ยกเลิก ข้อ 16/12 ยกเลิก หมวด 4 การจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 1721 ในหมวดนี้ (1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมปิดและกองทุนรวมเปิด (2) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (2/1)46 “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2/2)66 “กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการออม หรือกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน (3) “เงินทุนจดทะเบียน” หมายความว่า เงินทุนที่บริษัทจัดการได้รับจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนและนํามาจดทะเบียนไว้กับสํานักงาน (4)27 “เงินทุนโครงการ” หมายความว่า เงินทุนโครงการที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอจดทะเบียนไว้กับสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียน กองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน (5) “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ 1821 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ ของธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบปกติ คําขอละ 100,000 บาท (2)(( คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเร่งด่วน ให้อัตราค่าธรรมเนียมเป็นดังนี้ (ก) คําขอละ 25,000 บาท สําหรับคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีลักษณะ เป็นกองทุน buy & hold และไม่มีข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนระหว่างอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวมหรืออายุของกองทุนรวมได้ (ข) คําขอละ 50,000 บาท สําหรับคําขอจัดตั้งกองทุนรวมอื่นนอกจาก (2) (ก) (ค) ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมตาม (2) (ก) หรือ (ข) ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขอ เพื่อทดแทนคําขอเดิมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบเร่งด่วนไว้แล้ว และยังมิได้เสนอขาย หน่วยลงทุนภายใต้กองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ เฉพาะเพื่อให้รายละเอียดของเอกสารประกอบคําขอเป็นไปตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน ประกาศกําหนด ภายหลังจากการได้รับอนุมัติเดิม (3)45 คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้อัตราค่าธรรมเนียมเป็นดังนี้ (ก) คําขอที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 100,000 บาท (ข) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2561 คําขอละ 150,000 บาท (ค) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2562 คําขอละ 200,000 บาท (ง) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป คําขอละ 300,000 บาท (4) คําขอแปรสภาพโครงการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ให้เป็นกองทุนรวม คําขอละ 1,000 บาท (5)57 การจดทะเบียนกองทุนรวม (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค) ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนของกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนจดทะเบียนในกรณีที่เป็นกองทุนรวมซึ่งระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ข) จํานวนเงินทุนโครงการในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอื่นใดนอกจาก (ก) 66กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามวรรคหนึ่ง (ก)หรือ (ข) ไม่รวมถึงกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (ก) กองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (ข) กองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนพ.ศ. 2566 (6)45 คําขอความเห็นชอบเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ คําขอละ 100,000 บาท (6/1)45 คําขอความเห็นชอบเพื่อเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้อัตราค่าธรรมเนียมเป็นดังนี้ (ก) คําขอที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 100,000 บาท (ข) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2561 คําขอละ 150,000 บาท (ค) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมพ.ศ. 2562 คําขอละ 200,000 บาท (ง) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป คําขอละ 300,000 บาท (7)57 คําขอแก้ไขรายการทางทะเบียนเพื่อเพิ่มจํานวนเงินทุน (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุไม่เกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค)ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 1,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 75,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มีอายุเกินหนึ่งปี และมิใช่กองทุนรวมตาม (ค)ทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 2,000 บาท โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 150,000 บาท เว้นแต่กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ไม่กําหนดจํานวนขั้นต่ํา (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานทุกจํานวนเงิน 100 ล้านบาท หรือเศษของ 100 ล้านบาท ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตรา 10,000 บาท การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) หรือ (ข) ให้ใช้ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนคูณกับจํานวนหน่วยลงทุนที่สามารถเสนอขายเพิ่มเติมได้ โดยให้คํานวณแต่ละคําขอจากจํานวนเงินทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนเงินทุนโครงการที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่เป็นกองทุนรวมไม่ได้ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมว่าจะเสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (ข) ส่วนต่างระหว่างจํานวนเงินทุนโครงการและจํานวนเงินทุนจดทะเบียนในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนจากกองทุนรวมปิดเป็นกองทุนรวมเปิดหรือเปลี่ยนจากกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวเป็นกองทุนรวมเปิดที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ การคํานวณเงินทุนตามวรรคหนึ่ง (ค) ให้ใช้ราคาที่เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมคูณกับจํานวนหน่วยลงทุนที่สามารถเสนอขายเพิ่มเติมได้ โดยให้คํานวณจากจํานวนเงินทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น 66กองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามวรรคหนึ่ง (ก) หรือ (ข) ไม่รวมถึงกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (ก) กองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาวของผู้ลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (ข) กองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนตามกรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (8) คําขอรับใบแทนหลักฐานการรับจดทะเบียนหรือหลักฐานการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ฉบับละ 500 บาท (9)59 คําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ไม่ว่าในช่วงเวลาก่อนหรือหลังการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากับผลคูณของจํานวนเงิน5,000 บาท กับจํานวนรายการที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยการพิจารณารายการที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ เว้นแต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 50 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอดังกล่าว (ก) กองทุนรวมที่ยื่นคําขอจัดตั้งผ่านระบบพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในระบบดังกล่าว (ข) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ค) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้พิจารณาตามรายการที่ปรากฏในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย แล้วแต่กรณี การขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง หากเรื่องที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นผลให้ต้องแก้ไขเพิ่มเติมหลายรายการ เช่น การเปลี่ยนชื่อกองทุนรวม หรือการเปลี่ยนชื่อบริษัทจัดการ เป็นต้น ให้คิดค่าธรรมเนียมเสมือนเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงรายการเดียว 55การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งไม่ใช้กับคําขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคําขอจัดตั้งกองทุนรวมของสํานักงาน (10) คําขอผ่อนผันมิให้การอนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมสิ้นสุดลงตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 22/2552 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเป็นการทั่วไปไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ประกาศกําหนด คําขอละ 100,000 บาท (11) คําขอตรวจเอกสารของแต่ละกองทุนรวม คําขอละ 50 บาท 46การเก็บค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งในกรณีของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (3) และ (5) (ค) มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย โดยให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (2) ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง (7) (ค) มิให้นํามาใช้บังคับกับการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยในช่วงระยะเวลาก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก หมวด 5 สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 19 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหรือการยื่นคําขอเกี่ยวกับสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (1) การจดทะเบียนแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับสมาคม ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ครั้งละ 500 บาท (2) การจดทะเบียนตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคม ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ คนละ 500 บาท (3) คําขอรับใบแทนใบอนุญาตสมาคมที่เกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจหลักทรัพย์ ฉบับละ 200 บาท (4) คําขอให้ออกหนังสือรับรองรายการจดทะเบียน ของสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ฉบับละ 200 บาท (5) คําขอตรวจเอกสารของแต่ละสมาคมที่เกี่ยวเนื่อง กับธุรกิจหลักทรัพย์ คําขอละ 50 บาท หมวด 6 อื่น ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 2014 คําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล คําขอละ 70,000 บาท ข้อ 21 คําขอความเห็นชอบเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะการให้คําแนะนํา แก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน คําขอละ 500,000 บาท การชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ยื่นคําขอชําระในวันที่ยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 50,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ 22 คําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทจัดอันดับกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจการจัดอันดับกองทุนรวม คําขอละ 10,000 บาท เว้นแต่ผู้ยื่นคําขอเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ข้อ 2330 คําขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลัก ให้เป็นดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนภายในวันที่ยื่นคําขอ (1) คําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนคําขอละ 50,000 บาท (2) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินหลัก คนละ 10,000 บาท ข้อ 2445 คําขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) คําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ให้คิดในอัตราดังนี้ (ก) คําขอที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 250,000 บาท (ข) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 300,000 บาท (ค) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 คําขอละ 400,000 บาท (ง) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป คําขอละ 500,000 บาท (2) คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน คนละ 10,000 บาท การชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) ในกรณีเป็นคําขอตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนในจํานวน 50,000 บาท และชําระส่วนที่เหลือในวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) กรณีคําขอตามวรรคหนึ่ง (1) (ข) (ค) และ (ง) ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนในจํานวนร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมคําขอที่ต้องชําระตามวรรคหนึ่ง และให้ชําระส่วนที่เหลือภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (3) กรณีคําขอตามวรรคหนึ่ง (2) ให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 24/136 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีต่างประเทศให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนเมื่อยื่นคําขอ (1) กรณีผู้ยื่นคําขอเป็นผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้คําขอละ 50,000 บาท (ก) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ภายใต้หน่วยงานกํากับดูแลที่มีมาตรฐานในการกํากับดูแลผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดย International Forum of Independent Audit Regulators (IFIAR) หรือ European Commission (EC) (ข) ผู้สอบบัญชีต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานอิสระที่ทําหน้าที่กํากับดูแลผู้สอบบัญชีในประเทศที่ได้รับผลการประเมินมาตรฐานการกํากับดูแล Financial Sector Assessment Program (FSAP) ในหัวข้อเกี่ยวกับผู้สอบบัญชี (auditor) ในระดับไม่ต่ํากว่า broadly implemented (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) คําขอละ 200,000 บาท ข้อ 2549 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ให้เป็นไปตาม อัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนเมื่อยื่นคําขอ (1) 50,000 บาท สําหรับคําขอดังต่อไปนี้ (ก) คําขอความเห็นชอบเป็นครั้งแรก โดยไม่เคยมีการยื่นคําขอต่อสํานักงานมาก่อน (ข) คําขอความเห็นชอบอื่นใดที่ไม่ใช่คําขอซึ่งต้องชําระค่าธรรมเนียมตาม (2) (2) 250,000 บาท สําหรับคําขอดังต่อไปนี้ (ก) คําขอความเห็นชอบครั้งใหม่ที่ยื่นภายหลังสํานักงานปฏิเสธคําขอ ความเห็นชอบครั้งล่าสุด (ข) คําขอความเห็นชอบที่ยื่นภายหลังการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด ซึ่งสํานักงานพบข้อบกพร่องของผู้สอบบัญชีและได้ออกคําสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือได้เห็นชอบกับการปฏิบัติตามบทลงโทษที่เสนอโดยบุคคลนั้นเอง (enforceable undertaking) หรือได้เปิดเผยข้อมูลการดําเนินการของสํานักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของบุคคลดังกล่าว แล้วแต่กรณี (ค) คําขอความเห็นชอบที่ยื่นภายหลังการให้ความเห็นชอบครั้งล่าสุด ซึ่งสํานักงานให้ความเห็นชอบไว้น้อยกว่าห้าปี ข้อ 25/133 ค่าธรรมเนียมคําขอที่ยื่นเพื่อขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทุนหรือผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ โดยให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอ (1) คําขอความเห็นชอบ คําขอละ 15,000 บาท (2) คําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ คําขอละ 10,000 บาท ข้อ 25/245 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ให้เป็นดังนี้ (1) คําขอที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 คําขอละ 250,000 บาท (2) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561คําขอละ 300,000 บาท (3) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562คําขอละ 400,000 บาท (4) คําขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป คําขอละ 500,000 บาท การชําระค่าธรรมเนียมคําขอตามวรรคหนึ่ง ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) กรณีคําขอตามวรรคหนึ่ง (1) ให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน (2) กรณีคําขอตามวรรคหนึ่ง (2) (3) และ (4) ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนในจํานวนร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมคําขอที่ต้องชําระตามวรรคหนึ่งและ ให้ชําระส่วนที่เหลือภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ 25/354 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง คําขอละ 250,000 บาท โดยให้ชําระในวันที่ยื่นคําขอเป็นจํานวนเงิน 50,000 บาท และให้ชําระส่วนที่เหลือเป็นจํานวน 200,000 บาท ภายในวันที่ได้รับความเห็นชอบ ข้อ 26 คําขอคัดสําเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสาร พร้อมทั้งคํารับรอง หน้าละ 50 บาท ข้อ 26/126 คําขอคัดข้อมูลโดยบันทึกลงในแผ่นซีดี แผ่นละ 50 บาท ข้อ 26/233 ค่าธรรมเนียมคําขอหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเพื่อปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน คําขอละ 200 บาท โดยให้ชําระทั้งจํานวนในวันที่ยื่นคําขอ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 27 ให้การลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 45/2545 เรื่อง การลดอัตราค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ลงวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2545 มีผลใช้บังคับต่อไปโดยในกรณีที่ประกาศดังกล่าวอ้างอิงค่าธรรมเนียมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. 10/2541 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2541 ให้ถือว่าเป็นการอ้างอิงค่าธรรมเนียมประเภทเดียวกันที่กําหนดตามประกาศนี้ โดยอนุโลม ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
820
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. ๓๑/๒๕๖๖ เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคำขอต่าง ๆ (ฉบับที่ ๖๘)
- ร่าง - ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่าย กม. ๒ แล้ว เมื่อวันที่ ๓๐/๑๑/๒๕๖๖ (ครั้งที่ ๔) LAW&REG เลขที่ LAW-๒๕๖๖-๐๐๒๕ ที่ สม. ๓๑/๒๕๖๖ เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ ๖๘) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๙ (๓) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของวรรคหนึ่งในข้อ ๑๘ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. ๒๘/๒๕๔๗ เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สบ. ๒/๒๕๕๔ เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ (ฉบับที่ ๒๕) ลงวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) คําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมแบบเร่งด่วน ให้อัตราค่าธรรมเนียมเป็นดังนี้ (ก) คําขอละ ๒๕,๐๐๐ บาท สําหรับคําขอจัดตั้งกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีลักษณะ เป็นกองทุน buy & hold และไม่มีข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมสามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนระหว่างอายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวมหรืออายุของกองทุนรวมได้ (ข) คําขอละ ๕๐,๐๐๐ บาท สําหรับคําขอจัดตั้งกองทุนรวมอื่นนอกจาก (๒) (ก) (ค) ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมตาม (๒) (ก) หรือ (ข) ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขอ เพื่อทดแทนคําขอเดิมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมแบบเร่งด่วนไว้แล้ว และยังมิได้เสนอขาย หน่วยลงทุนภายใต้กองทุนรวมนั้น ทั้งนี้ เฉพาะเพื่อให้รายละเอียดของเอกสารประกอบคําขอเป็นไปตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน ประกาศกําหนด ภายหลังจากการได้รับอนุมัติเดิม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
821
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 18/2539 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2539 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน --------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้และในแบบร่างหนังสือชี้ชวนท้ายประกาศนี้ “หลักทรัพย์ หมายความว่า พันธบัตร หุ้น หุ้นกู้ หรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น และ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ “หุ้นกู้หมุนเวียนระยะสั้น” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีกําหนดเวลาชําระคืนไม่เกิน สองร้อยเจ็ดสิบวัน ซึ่งบริษัทได้ขอและได้รับอนุญาตให้ออก และเสนอขายได้หลายครั้งภายใน วงเงินและระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า การใช้สิทธิแปลงสภาพ ตามหุ้นกู้แปลงสภาพ การใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือการใช้สิทธิ ที่จะซื้อหุ้นกู้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ แล้วแต่กรณี “ผู้เสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัท หรือเจ้าของหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ “บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้หมายความรวมถึง ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด ด้วย “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความ รวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทใหญ่ และบริษัทย่อย “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (1) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้น ที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (1) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิ ออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (3) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (2) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มี สิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (4) บริษัทที่ถือหุ้นโดยทางตรงและทางอ้อมในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์รวมกัน เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นตามที่ สํานักงานกําหนด การถือหุ้นของบริษัทตาม (1)(2)(3) และ/หรือ (4) ให้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดย ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย “บริษัทย่อย” หมายความว่า (1) บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้น ที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่บริษัทตาม (1) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิ ออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (3) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการถือหุ้นของบริษัทตาม (2) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้นโดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบ ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (4) บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และบริษัทตาม (1)(2) และ/หรือ (3) ถือหุ้น รวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น การถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทตาม (1)(2)(3) และ/หรือ (4) ให้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย “บริษัทร่วม” หมายความว่า บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยถือ หุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละยี่สิบแต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ บริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น ทั้งนี้ การถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยให้นับรวมถึงหุ้น ที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย “บุคคลที่มีผลประโยชน์ร่วม” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ที่มีธุรกรรมระหว่าง กันหรือมีธุรกิจที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันกันหรือมีความเกี่ยวข้องอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์กับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยอย่างมีนัยสําคัญ (1) นิติบุคคลใด ๆ ที่ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัท ที่ออกหลักทรัพย์ถือหุ้นหรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อย่างมีนัยสําคัญ (2) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (3) กรรมการที่มีอํานาจลงนามผูกพันของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (4) ผู้มีอํานาจควบคุม (5) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียน ตามกฎหมายกับบุคคลตาม (2) (3) หรือ (4) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิทอื่น “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวด้วย “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์รวมกันเกิน ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ การถือหุ้นดังกล่าว ให้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มี อิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายการจัดการ หรือการดําเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่า อิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใด ก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ (1) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้า ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท (2) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของ บริษัทนั้นได้ (3) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการจัดการหรือ การดําเนินงานของบริษัทให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบายหรือการดําเนินงาน ของบริษัท (4) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในบริษัทหรือมีความรับผิดชอบใน การดําเนินงานของบริษัทเยี่ยงกรรมการผู้จัดการ พนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป รวมทั้งบุคคล ที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของบริษัทนั้น “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนตามมาตรา 258(1) ถึง (7) โดยอนุโลม “การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่อย่างต่อเนื่องแบบเป็นโครงการ” หมายความว่า (1) การเสนอขายหุ้นกู้ไม่มีประกันที่ออกใหม่ซึ่งไม่ใช่หุ้นกู้แปลงสภาพ ที่ได้รับ อนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต โดยหุ้นกู้ที่เสนอ ขายในแต่ละครั้งมีลักษณะและเงื่อนไขที่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ระบุไว้ในหุ้นกู้ และวันครบกําหนดไถ่ถอนหุ้นกู้แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง วัน เดือน ปีที่ออกหุ้นกู้ และระยะเวลาการชําระคืนหุ้นกู้ หรือ (2) การเสนอขายหุ้นกู้ไม่มีประกันที่ออกใหม่หรือพันธบัตรที่ออกใหม่หลายครั้ง โดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ หุ้นกู้หรือ พันธบัตรดังกล่าวที่เสนอขายในแต่ละครั้งมีลักษณะและเงื่อนไขที่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ระบุไว้ในหุ้นกู้หรือพันธบัตร และวันครบ กําหนดไถ่ถอนหุ้นกู้หรือพันธบัตร แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงวัน เดือน ปีที่ออกหุ้นกู้หรือพันธบัตร และ ระยะเวลาการชําระคืนหุ้นกู้หรือพันธบัตร “งบการเงินรวม” หมายความว่า งบการเงินรวมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และ บริษัทย่อย “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามแบบ ที่กําหนดในข้อ 3 จํานวนสามชุด โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็น ผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว ข้อ ๓ ให้ใช้แบบของร่างหนังสือชี้ชวนดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทจํากัด บริษัทมหาชน จํากัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจซึ่งมิใช่ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ให้ใช้แบบ 72-1 ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ในกรณี ที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด ให้ใช้แบบ 72-1 โดยอนุโลม (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะ จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ ให้ใช้แบบ 69-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม ข้อ ๔ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์พร้อมที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อเพื่อรับรอง ความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลไว้ในร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนาม ผูกพันนิติบุคคลดังกล่าวทุกคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราสําคัญของนิติบุคคลนั้นด้วย เว้นแต่ (1) ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรทําให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลบางราย ไม่สามารถลงลายมือชื่อขณะยื่นร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานได้ เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อทันทีเพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูล และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (2) ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นแสดงให้สํานักงานเห็นได้ว่า ผู้มีอํานาจ ลงนามผูกพันนิติบุคคลดังกล่าวรายใดอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเอง ได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่จําต้องให้ผู้มีอํานาจ ลงนามผูกพันนิติบุคคลรายดังกล่าวลงลายมือชื่อในร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ ๕ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์ ให้ผู้มีอํานาจ ลงนามผูกพันบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบและวิธีการ ที่กําหนดไว้ในแบบของร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 3 ข้อ ๖ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนพร้อมกับ ใบจองซื้ออย่างเพียงพอ ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักงานได้รับร่างหนังสือชี้ชวนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ มีผลใช้บังคับ ให้ร่างหนังสือชี้ชวนนั้นยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่สํานักงานได้รับร่างหนังสือชี้ชวนนั้น ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
822
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 29/2541 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 2)
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 29/2541 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ============================== (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” และ “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 18/2539 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” และคําว่า “หุ้นกู้หมุนเวียนระยะสั้น” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2539 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 “ “ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” หมายความว่า ตราสารที่บริษัทมหาชนจํากัดออกให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นนั้นหรือบุคคลอื่นที่รับโอนตราสารดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทมหาชนจํากัดนั้น โดยสิทธิดังกล่าวเป็นสัดส่วนกับจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นแต่ละคนมีอยู่” - 2 - ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “บริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้น” ระหว่างบทนิยามคําว่า “บริษัทที่ออกหลักทรัพย์” และคําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2539 เรื่องแบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 “ “บริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้น” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนซึ่งได้รับแจ้งเหตุแห่งการเพิกถอนหุ้นสามัญจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและอยู่ระหว่างการดําเนินการเพื่อแก้ไขเหตุดังกล่าว และให้หมายความรวมถึงบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนซึ่งอยู่ระหว่างการดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย หรือซึ่งอยู่ระหว่างการถูกสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเนื่องจากสาเหตุที่มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2539 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้ใช้แบบของร่างหนังสือชี้ชวนดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นและ/หรือหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้และ/หรือหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิดังกล่าว ที่ออกโดยบริษัทมหาชนจํากัดซึ่งมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและมิได้เป็นบริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้น ให้ใช้แบบ 69-3 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรองความถูกต้องของข้อมูล ให้ใช้ตามแบบ 72-1 แห่งประกาศนี้ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ให้ใช้แบบ 69-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรองความถูกต้องของข้อมูล ให้ใช้ตามแบบ 72-1 แห่งประกาศนี้ (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นใดที่ไม่เข้ากรณีตาม (1)และ (2) ให้ใช้แบบ 72-1 ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด ให้ใช้แบบ 72-1 โดยอนุโลม” - 3 - ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ---------------------------------------------------
823
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 3/2542 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 3/2542 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 3) -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า "บริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้น" ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2539 เรื่องแบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 29/2541 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "บริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้น" หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนซึ่งได้รับแจ้งเหตุแห่งการเพิกถอนหุ้นสามัญจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและอยู่ระหว่างการดําเนินการเพื่อแก้ไขเหตุดังกล่าว และให้หมายความรวมถึงบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนซึ่งอยู่ระหว่างการดําเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหรือซึ่งอยู่ระหว่างการถูกสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียน เนื่องจากสาเหตุที่มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง" ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2539 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 29/2541 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 3 ให้ใช้แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ดังนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น และ/หรือหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และ/หรือ หุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับใบแสดงสิทธิดังกล่าว ที่ออกโดยบริษัทซึ่งมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและมิได้เป็นบริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้น ให้ใช้แบบ 69-3 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์โดยอนุโลม เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรองความถูกต้องของข้อมูล ให้ใช้ตามแบบ 72-1 ท้ายประกาศนี้ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งไม่เป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ให้ใช้แบบ 69-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์โดยอนุโลม เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรองความถูกต้องของข้อมูลให้ใช้ตามแบบ 72-1 ท้ายประกาศนี้ และให้มีข้อความแสดงว่านิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์นั้นจะดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (ก) จัดส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยมีข้อมูลตามที่กําหนดในแบบ 69-2 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์เฉพาะในส่วนที่ 3 รัฐวิสาหกิจที่ออกหลักทรัพย์ และมีการรับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวตามแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ทั้งนี้ การจัดทําข้อมูลดังกล่าวไม่รวมถึงรายการตามแบบ 69-2 ดังต่อไปนี้ 1. วัตถุประสงค์ในการนําเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ไปใช้ 2. รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนใหม่ขนาดใหญ่และนอกขอบเขตธุรกิจเดิม 3. ประมาณการงบการเงิน รวมทั้งคําอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการเกี่ยวกับการจัดทําประมาณการงบการเงิน 4. งบการเงินแนบท้ายแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ข) ปิดประกาศงบการเงินที่นิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดส่งต่อหน่วยงานที่กํากับดูแลนิติบุคคลนั้นไว้ที่สํานักงานใหญ่ และสาขา (ถ้ามี) ภายในระยะเวลาที่กฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นกําหนด หรือในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมิได้กําหนดระยะเวลาไว้ให้ใช้ระยะเวลาตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4(1) และ (2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์โดยอนุโลม (ค) ดําเนินการตาม (ก) และ (ข) จนกว่าจะเกิดกรณีดังต่อไปนี้ 1. นิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งทําให้นิติบุคคลนั้นต้องเปิดเผยข้อมูลตามข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี 2. นิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์ได้ชําระหนี้ตามหลักทรัพย์จนครบถ้วนแล้วเว้นแต่กรณีที่เป็นหลักทรัพย์แปลงสภาพ 3. เมื่อครบอายุหลักทรัพย์แปลงสภาพและปรากฏว่าไม่มีผู้ใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ 4. นิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์นั้นเลิกกิจการ 5. นิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์มีจํานวนผู้ถือหลักทรัพย์ทุกประเภทรวมกันน้อยกว่าหนึ่งร้อยราย (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นใดที่ไม่เข้ากรณีตาม (1) หรือ (2) ให้ใช้แบบ 72-1 ท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด ให้ใช้แบบ 72-1 โดยอนุโลม" ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2542 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
824
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2539 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 29/2541 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 3/2542 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ข้อ ๓ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยื่นต่อสํานักงานให้อนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ยื่นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในแต่ละประเภทหลักทรัพย์ โดยให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้หน้าแรก “บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในเวลาทําการของสํานักงาน หรือทาง http://www.sec.or.th” ในกรณีใดที่ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล กําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูล ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนด้วย ข้อ 3/110 ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 3 ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สิทธิผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้เลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการก็ได้ แต่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในลักษณะเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดแนวทางในการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานอย่างช้าภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนเริ่มมีผลใช้บังคับ ข้อ ๔ ยกเลิก ข้อ ๕ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์และที่ปรึกษาทางการเงิน (ถ้ามี) ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ ยกเลิก ข้อ ๗ ยกเลิก ข้อ ๘ ในกรณีที่สํานักงานได้รับร่างหนังสือชี้ชวนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ร่างหนังสือชี้ชวนนั้นยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่สํานักงานได้รับร่างหนังสือชี้ชวนนั้น ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
825
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2539 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 29/2541 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 3/2542 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2542 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ และในแบบของร่างหนังสือชี้ชวนท้ายประกาศนี้ (1) คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “ใบสําคัญแสดงสิทธิ”“หุ้นกู้ระยะสั้น” “หุ้นกู้หมุนเวียนระยะสั้น” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “บริษัท” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้บริหาร” “คณะกรรมการตรวจสอบ” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” และ “งบการเงินรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามแบบที่กําหนดดังต่อไปนี้ จํานวนสามชุด (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นใดนอกจากกรณีตาม (2) ให้ใช้แบบ 69-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับงบการเงินแนบท้ายแบบ 69-1 ให้แนบงบการเงินอย่างน้อยปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นร่างหนังสือชี้ชวน โดยเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ให้ใช้แบบ 69-dw ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับงบการเงินแนบท้ายแบบ 69-dw ให้แนบงบการเงินอย่างน้อยปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนโดยเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ต่อจากหัวข้อ “คําเตือน” “บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นไว้ต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ในวันและเวลาทําการของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทํา เว้นแต่กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าว นอกจากการยื่นร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน ข้อ ๔ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ และนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ร่างหนังสือชี้ชวนต้องมีข้อความแสดงว่านิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์นั้น จะดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (1) จัดส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี ให้ผู้ถือหลักทรัพย์ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยมีข้อมูลตามแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) ปิดประกาศงบการเงินที่นิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดส่งต่อหน่วยงานที่กํากับดูแลนิติบุคคลนั้น ไว้ที่สํานักงานใหญ่และสาขา (ถ้ามี) ภายในระยะเวลาที่กฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นกําหนด หรือในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมิได้กําหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติ ให้ใช้ระยะเวลาการจัดส่งงบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม (3) ดําเนินการตาม (1) และ (2) จนกว่าจะมีกรณีการสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์โดยอนุโลม ข้อ ๕ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์พร้อมที่ปรึกษาทางการเงินลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลไว้ในร่างหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลดังกล่าวทุกคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตราสําคัญของนิติบุคคลนั้นด้วย เว้นแต่ (1) ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรทําให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลบางรายไม่สามารถลงลายมือชื่อขณะยื่นร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานได้ เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไปผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้บุคคลนั้นลงลายมือชื่อทันทีเพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (2) ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นแสดงต่อสํานักงานได้ว่า ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลดังกล่าวรายใดอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นไม่จําเป็นต้องให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคลรายดังกล่าวลงลายมือชื่อในร่างหนังสือชี้ชวน ข้อ ๖ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยเจ้าของหลักทรัพย์ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนด้วย ข้อ ๗ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนพร้อมกับใบจองซื้ออย่างเพียงพอ ข้อ ๘ ในกรณีที่สํานักงานได้รับร่างหนังสือชี้ชวนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ร่างหนังสือชี้ชวนนั้นยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่สํานักงานได้รับร่างหนังสือชี้ชวนนั้น ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
826
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 46/2544 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 46 /2544 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในประกาศนี้ และในแบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่กําหนดโดยประกาศนี้ (1) คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้บริหาร” “คณะ กรรมการตรวจสอบ” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจ ควบคุม” “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” และ “งบการเงินรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (3) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 3 แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยื่นต่อสํานักงานให้อนุโลมตามแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์เดียวกันที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานตามนัยแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับงบการเงินท้ายแบบ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แนบงบการเงินประจํางวดการบัญชีอย่างน้อยปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นร่างหนังสือชี้ชวน โดยเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ต่อจากหัวข้อ “คําเตือน” “บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นไว้ต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ในวันและเวลาทําการของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง ให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทํา เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์โดยที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (2) การเสนอขายหุ้นกู้ซึ่งมิใช่หุ้นกู้แปลงสภาพ ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน นอกจากการยื่นร่างหนังสือชี้ชวนในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ทั้งนี้ ร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
827
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 17/2547 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 17/2547 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคมพ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 46/2544 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม”“ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” และ “งบการเงินรวม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 46/2544 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ต่อจากหัวข้อ “คําเตือน”“บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารนิเทศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ชั้น 15 อาคารดีทแฮล์ม ทาวเวอร์ส บี เลขที่ 93/1 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในทุกวันทําการของสํานักงาน ระหว่างเวลา 9.00 น.-12.00 น. และ 13.00 น.-16.00 น. หรือทาง http://www.sec.or.th” ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง ให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทํา เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกและเสนอขายโดยบุคคลซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ 2. การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ เว้นแต่เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพ 3. การเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนสถาบัน และมีการจดข้อจํากัดการโอนหุ้นกู้ดังกล่าวให้อยู่ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน 4. การเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทที่มีหน้าที่ตามมาตรา 56 หรือมาตรา 199 ประกอบมาตรา 56 และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิเพื่อซื้อหุ้นรองรับใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวไม่จําเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้น 1. กําหนดวันใช้สิทธิครั้งแรกจะเกิดขึ้นหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าว และ 2. ไม่มีการเรียกชําระราคาใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นจากผู้ถือหุ้น (5) การเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้น หรือตั๋วเงินระยะสั้น” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 “ข้อ 3/1 ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 3 ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) เพื่อให้สิทธิผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้เลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการก็ได้ แต่แผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) ดังกล่าว ต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ ทั้งนี้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) ต่อสํานักงานอย่างช้าภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนเริ่มมีผลใช้บังคับ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
828
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 15/2549 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 15/2549 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งมีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 17/2547 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยื่นต่อสํานักงานให้อนุโลมตามแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์เดียวกันที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานตามนัยแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่กําหนดแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งใช้บังคับกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับงบการเงินท้ายแบบ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แนบงบการเงินประจํางวดการบัญชีอย่างน้อยปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นร่างหนังสือชี้ชวน โดยเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ในหน้าแรก “บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารนิเทศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ชั้น 15 อาคารดีทแฮล์ม ทาวเวอร์ส บี เลขที่ 93/1 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในทุกวันทําการของสํานักงาน ระหว่างเวลา 9.00 น.-12.00 น. และ 13.00 น.-16.00 น. หรือทาง ในกรณีใดที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูล ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้ที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวเป็นผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนด้วย” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 “ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อผูกพันที่กําหนดและได้รับอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
829
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 8/2552 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 5 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 8/2552 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 17/2547 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในประกาศนี้ และในแบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่กําหนดโดยประกาศนี้ (1) “ตราสารหนี้” หมายความว่า พันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน (2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารหนี้ คําว่า “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “การใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่”“บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” “งบการเงินรวม” และ “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (3) ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ คําว่า “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทร่วม” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” “บุคคลภายในของบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิง” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” “งบการเงินรวม” และ “แบบแสดงรายการข้อมูล” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 15/2549 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยื่นต่อสํานักงานให้อนุโลมตามแบบแสดงรายการข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับงบการเงินท้ายแบบ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แนบงบการเงินประจํางวดการบัญชีอย่างน้อยปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นร่างหนังสือชี้ชวน และงบการเงินรายไตรมาสล่าสุด โดยเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ในหน้าแรก “บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารนิเทศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ชั้น 15 อาคารจีพีเอฟ วิทยุ เลขที่ 93/1 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในทุกวันทําการของสํานักงาน ระหว่างเวลา 9.00 น.-12.00 น. และ 13.00 น.-16.00 น. หรือทาง ในกรณีใดที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ กําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูล ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้ที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวเป็นผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนด้วย ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ครั้งต่อ ๆ ไปในลักษณะเป็นโครงการโดยใช้แบบ 69-Base เป็นฐานสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ครั้งต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นร่างหนังสือชี้ชวนต่อ สํานักงานตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 15/2549 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะ จัดตั้งขึ้น และนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ร่างหนังสือชี้ชวนต้องมีข้อความแสดงว่านิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์นั้น จะดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (1) จัดส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีให้ผู้ถือหลักทรัพย์ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี โดยมีข้อมูลตามแบบ 56-1 ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) ปิดประกาศงบการเงินที่นิติบุคคลที่ออกหลักทรัพย์ต้องจัดส่งต่อหน่วยงาน ที่กํากับดูแลนิติบุคคลนั้น ไว้ที่สํานักงานใหญ่และสาขา (ถ้ามี) ภายในระยะเวลาที่กฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นกําหนด หรือในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมิได้กําหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติ ให้ใช้ระยะเวลาการจัดส่งงบการเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม (3) ดําเนินการตาม (1) และ (2) จนกว่าจะมีกรณีการสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ โดยอนุโลม ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อผูกพันที่กําหนดและได้รับอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดให้แนบงบการเงินรายไตรมาสล่าสุดมาพร้อมกับการยื่นร่างหนังสือชี้ชวน และให้การยื่นร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ครั้งต่อ ๆ ไปในลักษณะเป็นโครงการ สามารถยื่นตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงานได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
830
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 25/2553 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 25/2553 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 6) ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 8/2552 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 2 ในประกาศนี้ "ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล" หมายความว่า (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ข้อ 3 แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยื่นต่อสํานักงานให้เป็นดังนี้ (1) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (2) ให้แบบของร่างหนังสือชี้ชวนอนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ยื่นตามประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในแต่ละประเภทหลักทรัพย์ เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับงบการเงินท้ายแบบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แนบงบการเงินประจํางวดการบัญชีอย่างน้อยปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นร่างหนังสือชี้ชวน และงบการเงินรายไตรมาสล่าสุด โดยเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน (2) การเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะเป็นโครงการโดยใช้แบบ 69-Base หรือแบบ 69-FD เป็นฐานสําหรับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ครั้งต่อ ๆ ไปในการเสนอขายตราสารหนี้ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ในหน้าแรก "บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ชั้น 15 อาคารตีพีเอฟ วิทยุเลขที่ 93/1 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในเวลาทําการของสํานักงานหรือทาง http://www. .sec.or.th" ในกรณีใดที่ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล กําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องขัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูล ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนด้วย" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
831
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 51/2553 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 7 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์เละตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 51/2553 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 7 ) -------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายสํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของบทนิยามคําว่า "ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล" ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 “(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย" ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 5 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์และที่ปรึกษาทางการเงิน (ถ้ามี) ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลไว้ในร่างหนังสือขชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล แล้วแต่กรณี" ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ข้อ 4 ร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าวให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์แต่ละประเภท ให้ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อโดยชอบแล้ว ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
832
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 6/2558 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 8 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 6/2558 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 8 ) ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของบทนิยามคําว่า"ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล" ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 51/2553 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 "(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดหุ้นว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ" ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สง. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 25/2533 เรื่องแบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 3 แบบของร่างหนังถือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยื่นต่อสํานักงานให้อนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ขึ้นตามประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในแต่ละประเภทหลักทรัพย์ เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับงบการเงินท้ายแบบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แนบงบการเงินประจําวดการบัญชีอย่างน้อยปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นร่างหนังสือชี้ชวน และงบการเงินรายไตรมาสล่าสุด โดยเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกับของปีก่อน ร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ในหน้าแรก "บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสํานาแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์การสนเทศตลาดทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในเวลาทําการของสํานักงาน หรือทาง http:/www.sec.or.th" ในกรณีใดที่ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการซื้อมูล กําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูล ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนด้วย" ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสตติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
833
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 3/2559 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 9 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 3/2559 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 6/2558 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ยื่นตามประกาศคณะกรรมกากํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในแต่ละประเภทหลักทรัพย์ โดยให้ระบุข้อความดังต่อไปนี้ไว้หน้าแรก “บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในเวลาทําการของสํานักงาน หรือทาง http://www.sec.or.th” ในกรณีใดที่ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล กําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูล ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จัดให้ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนด้วย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
834
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 20/2559 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์เละตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 20/2559 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 10) ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความ ในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของบทนิยามคําว่า "ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการซื้อมูล" ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 6/2558 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 "(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาลทุนว่าด้วยข้อคําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ต. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
835
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 35/2564 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 11)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2564 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 มาตรา 77 และมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 8/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวนกรณีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ และการเผยแพร่ข้อมูลก่อนแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2543 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 28/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 56/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) และ (8) ของบทนิยามคําว่า “ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 20/2559 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 “(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 17/2547 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3/1 ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 3 ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้สิทธิผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้เลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการก็ได้ แต่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในลักษณะเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดแนวทางในการจัดทําข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นําส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานอย่างช้าภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนเริ่มมีผลใช้บังคับ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 8/2552 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 5 ให้ร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ยื่นต่อสํานักงานไว้แล้วตามประกาศ ที่ถูกยกเลิกโดยข้อ 1 ยังคงอยู่ภายใต้บังคับประกาศดังกล่าวต่อไป เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
836
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 72/2564 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 12)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 72/2564 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของบทนิยามคําว่า “ประกาศเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 54/2543 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2564 เรื่อง แบบของร่างหนังสือชี้ชวน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564 “(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
837
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33 /2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ และในแบบตามประกาศนี้ ในกรณีเป็นการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารหนี้ ให้คําว่า “ใบสําคัญแสดงสิทธิ “การใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ “ผู้ลงทุนสถาบัน” “แบบแสดงรายการข้อมูล “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” มีความหมาย เช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (2) ในกรณีเป็นการรายงานผลการขายตราสารหนี้ ให้คําว่า “ตราสารหนี้” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “แบบแสดงรายการข้อมูล “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” มีความหมาย เช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ ทุกประเภท ข้อ ๒ ให้มีบทนิยามเพิ่มเติมดังนี้ “ผู้เสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัท หรือเจ้าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน “บริษัทที่ออกหลักทรัพย์” ให้หมายความรวมถึงผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดด้วย “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทใหญ่และบริษัทย่อย “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์และให้หมายความรวมถึงผู้สนับสนุน การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ด้วย “ผู้มีอุปการคุณ” หมายความว่า บุคคลที่มีลักษณะของการอุปการคุณที่สร้างประโยชน์ อย่างชัดเจนให้กับบริษัทที่ออกตราสารทุน เช่น ลูกค้า ผู้จําหน่ายวัตถุดิบ เป็นต้น “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ กับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุม (1) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (2) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าว ซึ่งหมายถึง (ก) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว (ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอดๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้น ของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้น ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้น ในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด ที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่ง (2) ให้นับรวมหุ้นของคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย (3) บริษัทที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึง (ก) บริษัทที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียง ของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) ในบริษัท ที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวน สิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่เสนอขาย โดยบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศ ดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหลักทรัพย์ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายตราสารหนี้ (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตรา ต่างประเทศในประเทศไทย (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้น ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิ ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตรา ต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ ๔ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายใน กําหนดเวลาและ โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ (ก) กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้รายงานต่อ สํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย โดยให้รายงานตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ข) กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้รายงานต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้รายงานตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่เป็นการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศตาม ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขาย พันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณี การรายงานผลการขายต่อสํานักงานจะจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ (2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้น (ก) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้รายงานภายใน 30 วันนับแต่วันปิด การเสนอขาย เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 10 โดยให้ยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ ที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าวและให้ระบุรายละเอียดตามแบบ 81-1-IPO ที่แสดงไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น นอกจากรายงานที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เสนอขายหุ้นมีการแบ่งแยก หุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้นเป็นการเฉพาะ ให้ผู้เสนอขายหุ้นจัดทํา และส่งรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นจากส่วนที่ได้แบ่งไว้เพื่อผู้มีอุปการคุณในจํานวนสูงสุด 200 รายแรก โดยให้ยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าวพร้อมแบบ 81-1-IPO และให้ระบุรายละเอียดตามแบบ 81-1-IPO 200 ที่แสดงไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น (ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทจดทะเบียนในกรณีปกติ ตามส่วนที่ 1 ของหมวด 2 ของภาค 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทอ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ให้รายงานภายใน 45 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้ยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ ที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าวและให้ระบุรายละเอียดตามแบบ 81-1 ที่แสดงไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น (ค) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นในลักษณะอื่นนอกจาก (ก) และ (ข) ให้รายงานภายใน 45 วันนับแต่วันปิดการเสนอขายและให้ระบุรายละเอียดตามแบบ 81-1 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ของสํานักงาน (3) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้รายงานภายใน 45 วัน นับแต่วันปิดการเสนอขาย และให้ระบุรายละเอียดตามแบบ 81-1 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ของสํานักงาน ข้อ ๕ ให้ผู้เสนอขายหุ้นที่มีหน้าที่ต้องรายงานตามข้อ 4(2) (ก) วรรคสอง จัดเก็บเอกสาร หลักฐานหรือข้อมูลสนับสนุนเหตุผลการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรทุกรายที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป ไว้ ณ ที่ทําการแห่งใหญ่ของผู้เสนอขายหุ้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปีนับแต่ วันปิดการเสนอขาย ในลักษณะที่พร้อมแสดงต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๖ ให้ผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ ยื่นรายงานผลการไถ่ถอนหรือการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การรายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่มีการส่งมอบหลักทรัพย์ หรือรายงาน ผลการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ยื่นรายงานดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของเดือนที่มีการไถ่ถอน หรือการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง (2) การรายงานผลการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ ให้ยื่นตามแบบ 81-2 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายใน 45 วันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ อาจขอให้ มีการไถ่ถอนหรือใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้ผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ ยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง ต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ ข้อ ๗ ให้ผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย รายงานผลการขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยต่อสํานักงาน โดยให้รายงานตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาเช่นเดียวกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์อ้างอิง โดยอนุโลม พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจาก หลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่เสนอขายนั้นด้วย ข้อ ๘ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่สามารถยื่นแบบรายงาน ตามประกาศนี้ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นอาจขอผ่อนผัน การส่งแบบรายงานผลการขายหลักทรัพย์ดังกล่าวโดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบ ระยะเวลาที่กําหนด พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่ง แบบรายงานนั้น และในกรณีที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุอันจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งแบบรายงานดังกล่าวได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายใดได้ปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ไปแล้ว และยังไม่ได้มีการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับให้ผู้เสนอขาย หลักทรัพย์ดังกล่าวจัดทํารายงานผลการขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ประเภทพันธบัตร หุ้นกู้ ตัวเงิน หุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิ หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้รายงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการแห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่องการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ต่อไป (2) กรณีเป็นการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับ การใช้สิทธิตามหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิ หรือใบแสดงสิทธิใน ผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นจัดทํารายงานผลการขายหุ้น ที่ออกใหม่ดังกล่าวตามข้อ 6 หรือข้อ 7 แห่งประกาศนี้ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ มิให้นําระยะเวลาการรายงานผลการขายตามข้อ 4(2) (ก) มาใช้บังคับกับผู้เสนอ ขายหุ้นที่ได้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นคําขออนุญาตเสนอ ขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ให้ผู้เสนอขายหุ้นกรณีดังกล่าวรานงานผลการขายหุ้นนั้นภายใน 45 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ให้การอ้างอิง ดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
838
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 36/2564 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 36/2564 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 28/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 56/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) และ (8) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 “(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) กรณีการเสนอขายตราสารหนี้ (ก) ภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (ข) ภายใน 15 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ การรายงานผลการขายตราสารหนี้ที่เสนอขายตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยหรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ จะจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ (2) กรณีการเสนอขายหุ้น (ก) ภายใน 30 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรกและมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ หากผู้เสนอขายหุ้นมีการแบ่งแยกหุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการะคุณของบริษัทที่ออกหุ้นเป็นการเฉพาะ ให้จัดทําและส่งรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นจากส่วนที่ได้แบ่งไว้เพื่อผู้มีอุปการะคุณในจํานวนสูงสุด 200 รายแรกต่อสํานักงานมาพร้อมกับรายงาผลการขายด้วย (ข) ภายใน 45 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย ในกรณีอื่นที่มิใช่การเสนอขายตาม (ก) (3) กรณีการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ก) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์รับตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน กรณีที่หลักทรัพย์ดังกล่าวยังมิได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ข) ภายในระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนด กรณีเป็นการเสนอขายตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้ว (4) กรณีการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นนอกจาก (1) (2) และ (3) ภายใน 45 วันนับแต่ วันปิดการเสนอขาย” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ให้ผู้เสนอขายหุ้นตามข้อ 4(2) (ก) ที่มีการแบ่งแยกหุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการะคุณของบริษัทที่ออกหุ้นเป็นการเฉพาะ จัดเก็บเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลสนับสนุนเหตุผลการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรทุกรายที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป ไว้ ณ ที่ทําการแห่งใหญ่ของผู้เสนอขายหุ้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปีนับแต่วันปิดการเสนอขายในลักษณะที่พร้อมแสดงต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อได้รับการร้องขอ” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ให้ผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ ยื่นรายงานผลการไถ่ถอนหรือการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) ภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของเดือนที่มีการไถ่ถอนหรือการใช้สิทธิแต่ละครั้ง กรณีการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่มีการส่งมอบหลักทรัพย์ หรือการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ (2) ภายใน 15 วันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการไถ่ถอนหรือใช้สิทธิ กรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ อาจขอให้มีการไถ่ถอนหรือใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ไถ่ถอนหรือใช้สิทธิ (3) ภายใน 45 วันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง กรณีการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ ความในวรรคหนึ่ง (2) และ (3) ให้ใช้บังคับกับการรายงานการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์อื่นใดที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ ซึ่งเสนอขายตามประกาศในข้อ 3(7) โดยอนุโลม” ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 “ข้อ 7/1 ในกรณีที่บุคคลที่มีหน้าที่รายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ได้รายงานข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รายงานต่อสํานักงานตามประกาศนี้แล้ว” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2558 เรื่อง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ปิดการเสนอขายตราสารดังกล่าวไปแล้วและยังมิได้มีการรายงานผลการขายต่อสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้เสนอขายรายงานผลการขายตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 28/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ เว้นแต่ผู้เสนอขายได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
839
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 73/2564 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 73/2564 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 36/2564 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564 “(9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 33/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 36/2564 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) ภายใน 30 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรกและมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรกตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ หากผู้เสนอขายหุ้นตามวรรคหนึ่งมีการแบ่งแยกหุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการะคุณของบริษัทที่ออกหุ้นเป็นการเฉพาะ ให้จัดทําและส่งรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นจากส่วนที่ได้แบ่งไว้เพื่อผู้มีอุปการะคุณในจํานวนสูงสุด 200 รายแรกต่อสํานักงานมาพร้อมกับรายงานผลการขายด้วย” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
840
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสำหรับธุรกรรมในตลาดทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24 /2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและ ผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน โดยที่ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมในตลาดทุนเป็นข้อมูลสําคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของประชาชน การประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าว จึงจําเป็นต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบเป็นผู้ดําเนินการ ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับธุรกรรมในตลาดทุน จึงมีข้อกําหนดให้การประเมินมูลค่าทรัพย์สินข้างต้นต้องดําเนินการโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ทรัพย์สิน” หมายความว่า ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์ สัญญาเช่า อสังหาริมทรัพย์ระยะยาว สิทธิบัตร หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถประเมินหามูลค่าได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ “บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน” หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และประสงค์จะให้บริการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุน “ผู้ประเมินหลัก” หมายความว่า บุคลากรของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินในรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุน “ธุรกรรมในตลาดทุน” หมายความว่า การดําเนินการใด ๆ ที่ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กําหนดให้มีการจัดทํารายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อประกอบการดําเนินการดังกล่าว และให้หมายความรวมถึงการเปิดเผยข้อมูล การขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือการดําเนินการใด ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับตลาดทุนซึ่งจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อประกอบการดําเนินการดังกล่าวด้วย “กฎหมายเกี่ยวกับตลาดทุน” หมายความว่า พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 “องค์กรวิชาชีพประเมิน” หมายความว่า สมาคมที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกํากับดูแลสมาชิกที่ประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ตลอดจนมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยเฉพาะการประเมินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ ข้อ ๔ ในการขอความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและขอความเห็นชอบบุคลากรเป็นผู้ประเมินหลัก ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานตามหมวด 1 ในกรณีที่มีองค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 แล้ว ให้การขอความเห็นชอบและการต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง เป็นไปตามการรับขึ้นทะเบียนที่องค์กรวิชาชีพประเมินตามหมวด 2 กําหนด การพัก การเพิกถอน และการสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวด 1 หรือหมวด 2 ให้เป็นไปตามที่กําหนดในหมวด 4 ข้อ ๕ ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุน บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และข้อกําหนดเพิ่มเติมในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ และในรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องระบุวัตถุประสงค์ของการประเมินว่าเป็นการประเมินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งต้องมีการลงลายมือชื่อโดยบุคคลดังต่อไปนี้ (1) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน (2) ผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวด 1 หรือหมวด 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน โดยขณะที่ลงนามในรายงานนั้น ผู้ประเมินหลักดังกล่าวต้องไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการให้ความเห็นชอบหรือองค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 สั่งพักการขึ้นทะเบียน หมวด ๑ การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ ส่วน ๑ การยื่นคําขอความเห็นชอบ ข้อ ๖ บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินใดประสงค์จะขอความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือขอความเห็นชอบบุคลากรเป็นผู้ประเมินหลัก ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินนั้นยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานตามที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีเป็นการยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนครั้งแรก ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินยื่นคําขอความเห็นชอบบุคลากรอย่างน้อยสองคนเป็นผู้ประเมินหลักด้วย ข้อ ๗ ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามข้อ 6 ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ พร้อมกับการยื่นคําขอดังกล่าว ข้อ ๘ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจง ดําเนินการ หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๙ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน ส่วน ๒ หลักเกณฑ์และระยะเวลาการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมิน มูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลัก ข้อ ๑๐ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนตามหมวดนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีทุนชําระแล้วไม่น้อยกว่าสองล้านบาท (2) มีหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ชัดเจน รัดกุมและเพียงพอ รวมทั้งมีระบบงานที่ทําให้เชื่อได้ว่าจะสามารถควบคุมให้การปฏิบัติงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นไปตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ (3) มีประสบการณ์ในการให้บริการด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (4) มีผู้จัดการและผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (5) มีจํานวนผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินรวมกันไม่น้อยกว่าห้าคน โดยในจํานวนนี้อย่างน้อยสองคนต้องเป็นผู้ประเมินหลักซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 11 (6) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินมีลักษณะต้องห้ามตามหมวด 3 (7) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากรรมการ ผู้จัดการ และผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารที่รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่ามีลักษณะต้องห้ามตามหมวด 3 (8) ไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการให้ความเห็นชอบ หรืออยู่ระหว่างระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดว่าจะไม่รับพิจารณาคําขอความเห็นชอบ ข้อ ๑๑ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินหลักตามหมวดนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ยื่นคําขอความเห็นชอบซึ่งปฏิบัติงานประจําให้บริษัทเต็มเวลา (2) มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนยื่นคําขอความเห็นชอบ และยังคงปฏิบัติงานดังกล่าวอยู่ในขณะยื่นคําขอนี้ (3) มีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทยอย่างน้อยตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) กรณีสําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี (ข) กรณีสําเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาอื่น ต้องมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี (ค) กรณีสําเร็จการศึกษาต่ํากว่าระดับปริญญาตรีแต่ไม่ต่ํากว่าระดับอนุปริญญาต้องมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี (ง) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเจ็ดปี โดยมีบริษัทหรือหน่วยงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่ให้การรับรอง (4) แสดงได้ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ โดยต้องเคยเป็นผู้ประเมินที่ลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ใช้ความรู้ความสามารถเทียบเท่าการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ และใช้วิธีการประเมินครบทุกวิธีตามที่กําหนดในมาตรฐานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างน้อยหนึ่งงานภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน (5) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีลักษณะต้องห้ามตามหมวด 3 (6) ไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการให้ความเห็นชอบ หรืออยู่ระหว่างระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดว่าจะไม่รับพิจารณาคําขอความเห็นชอบ (7) ผ่านการทดสอบหรืออบรมความรู้ความสามารถตามที่สํานักงานกําหนด (ถ้ามี) ข้อ ๑๒ ในกรณีที่สํานักงานปฏิเสธการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือบุคคลที่ดํารงตําแหน่งตามข้อ 10(7) หรือบุคลากรที่ขอความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินหลักรายใดมีลักษณะต้องห้ามตามหมวด 3 สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือบุคลากรที่ขอความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินหลักรายนั้น แล้วแต่กรณี ในคราวต่อไป โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานปฏิเสธการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๓ การให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักตามหมวดนี้ มีกําหนดระยะเวลาคราวละไม่เกินสองปีตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้รายใด ประสงค์จะต่ออายุการให้ความเห็นชอบเพื่อให้สามารถทําหน้าที่เป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักได้อย่างต่อเนื่อง ให้การต่ออายุการให้ความเห็นชอบดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบบุคลากรเป็นผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี ต่อสํานักงาน (2) ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนได้ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบล่วงหน้าอย่างน้อยหกสิบวันก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ หากสํานักงานไม่แจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักรายนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ จนกว่าสํานักงานจะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา (3) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักจะได้รับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีการต่ออายุของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 10 (ข) ในกรณีการต่ออายุของผู้ประเมินหลัก ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 11(1) (2) (5) (6) และ (7) โดยอนุโลม และบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุนอย่างน้อยหนึ่งงานภายในระยะเวลาสองปีก่อนวันที่ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบต่อสํานักงาน ข้อ ๑๕ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันสุดท้ายของเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง (1) เมื่อบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนมีการเปลี่ยนแปลงผู้ประเมินหลักของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ผู้ประเมินหลักลาออกหรือมีผู้ประเมินหลักรายใหม่ (2) เมื่อบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่หรือหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน ข้อ ๑๖ ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้รายใดไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจํานวนผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่กําหนดในข้อ 10(5) ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนรายนั้นดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะตามที่กําหนด ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงลักษณะนั้นได้ หมวด ๒ กรณีได้รับขึ้นทะเบียนจากองค์กรวิชาชีพประเมิน ข้อ ๑๗ ให้ถือว่าบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับขึ้นทะเบียนจากองค์กรวิชาชีพประเมินให้สามารถประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ เป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน องค์กรวิชาชีพประเมินตามวรรคหนึ่งต้องเป็นองค์กรที่สํานักงานเห็นว่ามีความเหมาะสมในการเป็นองค์กรกํากับดูแลและพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 18 ข้อ ๑๘ องค์กรวิชาชีพประเมินใดมีความประสงค์ที่จะทําหน้าที่กํากับดูแลและพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ ให้แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงาน โดยสํานักงานจะพิจารณาความเหมาะสมในการเป็นองค์กรกํากับดูแลและพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีนโยบายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการกํากับดูแลสมาชิกและพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะให้มีความน่าเชื่อถือและมีมาตรฐานในระดับสากล (2) กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด และบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรวิชาชีพประเมินเป็นผู้มีสัญชาติไทย (3) มีคณะกรรมการควบคุมการปฏิบัติงานเพื่อทําหน้าที่พิจารณาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการกระทําผิดมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพหรือกระบวนการในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน โดยอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดต้องเป็นอิสระจากผู้ประกอบวิชาชีพประเมิน และกรรมการดังกล่าวต้องประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน (ก) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ข) ผู้ใช้รายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ค) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย (ง) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน (4) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังต่อไปนี้ มีลักษณะต้องห้ามตามหมวด 3 (ก) กรรมการและบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานขององค์กรวิชาชีพประเมิน (ข) บุคคลที่ดํารงตําแหน่งในระดับบริหารซึ่งรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการกํากับดูแลสมาชิก หรือการพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (5) ในกรณีที่มีการแต่งตั้งคณะทํางานเพื่อทําหน้าที่เกี่ยวกับการกํากับดูแลสมาชิกหรือการพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน องค์กรวิชาชีพประเมินต้องมีกลไกในการตรวจสอบบุคคลที่เป็นองค์คณะในคณะทํางานดังกล่าวให้มีคุณสมบัติเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้การดําเนินงานขององค์กรวิชาชีพประเมินมีความน่าเชื่อถือ (6) มีบุคลากรที่เป็นอิสระจากผู้ประกอบวิชาชีพประเมิน ซึ่งสามารถปฏิบัติงานประจําให้องค์กรวิชาชีพประเมินได้เต็มเวลา ในจํานวนที่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (7) มีระบบงานที่ชัดเจน รัดกุม และเพียงพอที่ทําให้เชื่อได้ว่าจะสามารถควบคุมดูแลให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพประเมิน ปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การรับสมาชิกและการดํารงสถานะการเป็นสมาชิก ตลอดจนการรับขึ้นทะเบียนบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะที่ชัดเจนและเป็นธรรม โดยอย่างน้อยต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการรับขึ้นทะเบียนและลักษณะต้องห้ามของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินในทํานองเดียวกัน หรือเทียบเคียงได้กับหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบตามหมวด 1 และลักษณะต้องห้ามตามหมวด 3 (ข) การกําหนดหรือการรับมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ที่น่าเชื่อถือ และมีกลไกในการพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณดังกล่าวให้เทียบเคียงกับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง (ค) การกํากับดูแลและติดตามให้สมาชิกและผู้ปฏิบัติงานให้กับสมาชิกปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ง) การรับข้อร้องเรียนและการจัดการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม (จ) การดําเนินการกับสมาชิกที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ฉ) การจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง (8) มีระบบการเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานตาม (7) รวมทั้งดูแลให้มีการเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานดังกล่าว ให้ถูกต้องครบถ้วนและสามารถตรวจสอบได้ (9) มีข้อบังคับหรือมาตรการอื่นที่รองรับให้องค์กรวิชาชีพประเมินสามารถดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) แจ้งคําสั่งและส่งเอกสารหลักฐานการลงโทษทางวินัยแก่สมาชิกให้สํานักงานทราบโดยไม่ชักช้า (ข) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือการกระทําผิดที่เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน หรือการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินของสมาชิก และการลงโทษสมาชิก รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่ได้รับเนื่องจากการเป็นองค์กรวิชาชีพประเมิน (ค) แลกเปลี่ยนข้อมูลกับสํานักงานเกี่ยวกับสมาชิกและการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของสมาชิก การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินของสมาชิกและการลงโทษสมาชิก ได้โดยชอบ (10) มีกลไกและมาตรการในการลงโทษสมาชิกอย่างเป็นธรรม โดยมีขั้นตอนและกระบวนการดําเนินการที่ชัดเจน เปิดโอกาสให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง และการลงโทษกระทําอย่างเหมาะสม ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของพฤติกรรมของผู้ถูกพิจารณา และดําเนินการภายในระยะเวลาอันสมควร (11) จัดให้มีเว็บไซต์ขององค์กรวิชาชีพประเมินเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันโดยอย่างน้อยต้องเปิดเผยข้อมูลในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) รายชื่อสมาชิกที่เป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าว ตลอดจนระยะเวลาการรับขึ้นทะเบียนบุคคลเหล่านั้น (ข) มาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ค) การดําเนินการกับสมาชิกที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (ง) ช่องทางในการรับข้อร้องเรียน ข้อ ๑๙ ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้องค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 แจ้งต่อสํานักงาน ภายในระยะเวลาที่กําหนด (1) เมื่อองค์กรวิชาชีพประเมินมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบงานหรือข้อบังคับตามข้อ 18 ให้แจ้งต่อสํานักงานอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันที่ระบบงานหรือข้อบังคับดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ (2) เมื่อองค์กรวิชาชีพประเมินไม่สามารถดํารงลักษณะตามข้อ 18 ให้แจ้งต่อสํานักงานภายในระยะเวลาอันสมควร (3) เมื่อองค์กรวิชาชีพประเมินมีคําสั่งดังต่อไปนี้ ให้แจ้งคําสั่งและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า (ก) สั่งลงโทษทางวินัยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะซึ่งเป็นสมาชิกของตน เนื่องจากสมาชิกดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ (ข) สั่งพักหรือเพิกถอนการขึ้นทะเบียน หรือสั่งให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินพ้นจากการเป็นสมาชิกสําหรับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลัก สํานักงานอาจแจ้งให้องค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าองค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 รายใด ไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18 สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาให้องค์กรวิชาชีพประเมินรายนั้นดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดได้ และในระหว่างดําเนินการแก้ไขดังกล่าว สํานักงานอาจกําหนดให้องค์กรวิชาชีพประเมินรายนั้นแก้ไขการกระทํา หรือให้กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการได้ตามที่เห็นสมควร และอาจกําหนดระยะเวลาให้องค์กรวิชาชีพประเมินดังกล่าวต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ในกรณีที่องค์กรวิชาชีพประเมินไม่สามารถแก้ไขให้มีลักษณะถูกต้อง หรือไม่กระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมตามข้อ 20 ให้ถือว่าองค์กรวิชาชีพประเมินนั้นไม่ประสงค์ที่จะทําหน้าที่กํากับดูแลและพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะต่อไป และสํานักงานจะยกเลิกการพิจารณาการเป็นองค์กรกํากับดูแลและพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามข้อ 17 วรรคสอง ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักที่ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเนื่องจากได้รับขึ้นทะเบียนจากองค์กรวิชาชีพประเมินที่สํานักงานยกเลิกการพิจารณาตามวรรคสอง ยังคงสามารถปฏิบัติงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุนต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับขึ้นทะเบียนจากองค์กรวิชาชีพประเมินนั้น เว้นแต่เข้ากรณีที่ทําให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามที่กําหนดในข้อ 30 หรือสํานักงานสั่งพักการให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ในกรณีที่องค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 วรรคสองรายใด ไม่ประสงค์จะทําหน้าที่กํากับดูแลและพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะอีกต่อไป ให้องค์กรวิชาชีพประเมินดังกล่าวแจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักที่ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเนื่องจากได้รับขึ้นทะเบียนจากองค์กรวิชาชีพประเมินดังกล่าว ยังคงสามารถปฏิบัติงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุนต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับขึ้นทะเบียนจากองค์กรวิชาชีพประเมินนั้น เว้นแต่เข้ากรณีที่ทําให้การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลงตามที่กําหนดในข้อ 30 หรือสํานักงาน สั่งพักการให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ หรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี หมวด ๓ ลักษณะต้องห้าม ข้อ ๒๓ ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามประกาศนี้ ได้แก่กรณีดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีที่มีความบกพร่องในด้านความสามารถ ตามกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลตลาดทุน หรือมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามที่กําหนดไว้ในข้อ 24 (2) ลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่มีประวัติการถูกดําเนินการหรือ ถูกลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 25 (3) ลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นกรณีที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ลงทุน หรือตลาดทุนโดยรวม ในเรื่องที่มีนัยสําคัญซึ่งอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 26 ข้อ ๒๔ ให้กรณีดังต่อไปนี้ เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือ (2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงานหรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากถูกสํานักงานกล่าวโทษในความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับตลาดทุนดังต่อไปนี้ (ก) ความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ข) ความผิดเกี่ยวกับการกระทําโดยทุจริตหรือการทําให้เสียหายต่อทรัพย์สิน ต่อเจ้าหนี้ หรือต่อประชาชน (ค) ความผิดเกี่ยวกับการจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงที่เป็นสาระสําคัญอันควรแจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือยื่นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน (4) เคยต้องคําพิพากษาในลักษณะดังต่อไปนี้ เนื่องจากการกล่าวโทษของสํานักงาน เว้นแต่จะพ้นการลงโทษหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน (ก) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตาม (3) ในกรณีเป็นนิติบุคคล (ข) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากการกระทําความผิดตาม (3) ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ ในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา ข้อ ๒๕ ให้กรณีดังต่อไปนี้ เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 (1) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษ ทั้งนี้ เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน และทําให้เกิดความเสียหายไม่ว่าจะต่อสถาบันการเงินที่ตนสังกัดหรือต่อลูกค้า (2) เคยต้องคําพิพากษาในลักษณะดังต่อไปนี้ เนื่องจากการกล่าวโทษของหน่วยงาน กํากับดูแลสถาบันการเงินตาม (1) เว้นแต่จะพ้นการลงโทษหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน (ก) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน และทําให้เกิดความเสียหายไม่ว่าจะต่อสถาบันการเงินหรือต่อลูกค้า ในกรณีเป็นนิติบุคคล (ข) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากการกระทําความผิดในมูลเหตุตาม (ก) และทําให้เกิดความเสียหายไม่ว่าจะต่อสถาบันการเงินที่ตนสังกัดหรือต่อลูกค้า ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ ในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา (3) เคยต้องคําพิพากษาในลักษณะดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพ้นการลงโทษหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน (ก) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดอาญาแผ่นดินเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน ในกรณีเป็นนิติบุคคล (ข) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากการกระทําความผิดตาม (ก) ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ ในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา (4) เป็นผู้ที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกันและยังไม่พ้นสามปีนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน (5) เป็นผู้ที่หน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ พิจารณาว่ามีลักษณะต้องห้ามในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน ข้อ ๒๖ ให้กรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอต่อสํานักงานที่ทําให้พิจารณาได้ว่ามีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ เป็นลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 (1) มีหรือเคยมีพฤติกรรมประพฤติผิดต่อหน้าที่หรือการให้บริการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขาดความรับผิดชอบหรือความรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (2) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (3) มีหรือเคยมีพฤติกรรมในการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารอันเป็นเท็จที่อาจทําให้สําคัญผิด หรือโดยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นหรือจัดส่งต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน สํานักงาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (4) มีหรือเคยมีพฤติกรรมในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในด้านอื่น ๆ ซึ่งหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายพิจารณาว่าการประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในด้านนั้น และพฤติกรรมดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุนอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลใดมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 มาแล้วเกินกว่าสิบปี หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมดังกล่าวมิได้มีลักษณะร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรได้รับความไว้วางใจหรือความน่าเชื่อถือให้เป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือปฏิบัติงานเป็นผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี สํานักงานอาจไม่ยกข้อเท็จจริงในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลัก ข้อ ๒๘ ในการพิจารณาความร้ายแรงตามข้อ 27 สํานักงานจะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรือการกระทําของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน หรือผู้ประเมินหลัก เป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงานนํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึง (1) บทบาทความเกี่ยวข้องและนัยสําคัญของพฤติกรรม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรม เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ระดับความจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (2) การลงโทษอื่นที่บุคคลนั้นได้รับไปแล้ว (3) ความรุนแรงของผลกระทบหรือความเสียหายต่อธุรกรรมในตลาดทุน หรือต่อประชาชนโดยรวม (4) การแก้ไขหรือดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมทํานองเดียวกันซ้ําอีก (5) พฤติกรรมของบุคคลดังกล่าวที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวาง การปฏิบัติงานของสํานักงาน เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือการดําเนินการ การปิดบังอําพรางหรือทําลายหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น (6) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (7) ประวัติพฤติกรรมในช่วงสิบปีก่อนที่สํานักงานจะพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามในแต่ละกรณี เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น ข้อ ๒๙ เพื่อให้การใช้ดุลยพินิจสั่งการของสํานักงานมีความชัดเจนและผ่านกระบวนการทบทวนตามสมควร ในการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักเนื่องจากการมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง (2) ในกรณีเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ สํานักงานอาจเสนอข้อเท็จจริง ข้อกล่าวหา และข้อโต้แย้ง รวมทั้งคําชี้แจงของผู้ถูกพิจารณา (ถ้ามี) ให้คณะที่ปรึกษาเพื่อให้ความเห็นหรือข้อแนะนําสําหรับใช้ประกอบการพิจารณาของสํานักงาน หมวด ๔ การสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบและบทบังคับอื่น ข้อ ๓๐ การให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักจะสิ้นสุดลงเมื่อ (1) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักได้แจ้งต่อสํานักงานหรือองค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 เป็นหนังสือถึงความประสงค์ที่จะยุติการปฏิบัติงานเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี (2) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวด 1 หรือหมวด 2 มีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 หรือมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ในข้อ 25(2) (3) (4) หรือ (5) หรือได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากสํานักงานว่ามีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ในข้อ 25(1) (3) องค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 สั่งเพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือสั่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกสําหรับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ แล้วแต่กรณี (4) สิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๓๑ สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลัก ตามสมควรแก่กรณี เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ (1) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 10(1) (2) (4) หรือ (7) หรือไม่สามารถแก้ไขให้ตนเองดํารงลักษณะตามข้อ 10(5) ได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 16 (2) ผู้ประเมินหลักไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11(7) (3) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 3 ในกรณีที่เกิดเหตุตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบก็ได้ ข้อ ๓๒ ในกรณีที่สํานักงานกําหนดระยะเวลาการสั่งพักการให้ความเห็นชอบอันเป็นผลให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อีกตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ หรือในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๓๓ ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลัก ซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 รายใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ และองค์กรวิชาชีพประเมินนั้นได้ดําเนินการลงโทษทางวินัยสมาชิกที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือจรรยาบรรณดังกล่าวแล้ว สํานักงานจะไม่ดําเนินการกับสมาชิกขององค์กรวิชาชีพประเมินนั้นอีกก็ได้ หากเห็นว่าสมาชิกดังกล่าวได้รับโทษอย่างเหมาะสมแล้ว ข้อ ๓๔ การสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลัก ไม่มีผลกระทบต่อรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนได้จัดทําหรือผู้ประเมินหลักได้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าวแล้ว และเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ต้องยื่นรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินต่อสํานักงานเพื่อประกอบการทําธุรกรรมในตลาดทุน รายงานการประเมินนั้นได้ยื่นต่อสํานักงานก่อนวันที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เว้นแต่ (ก) มีเหตุอันควรสงสัยว่ารายงานดังกล่าวไม่เป็นไปตามมาตรฐานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน หรือรายงานดังกล่าวเป็นเหตุหรือเป็นส่วนหนึ่งที่ทําให้สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอน การให้ความเห็นชอบ และ (ข) สํานักงานยังไม่มีการออกคําสั่งให้ทําธุรกรรมในตลาดทุนที่ใช้รายงานการประเมินนั้นได้ 2) ในกรณีอื่นนอกจาก (1) รายงานการประเมินนั้นได้ถูกนําไปใช้ในธุรกรรมในตลาดทุนก่อนวันที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๕ ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 อยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ตามระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่หรือจนถึงวันที่31 มีนาคม พ.ศ. 2556 แล้วแต่วันใดจะถึงภายหลัง ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักที่เคยถูกสมาคมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 พิจารณาว่ามีพฤติกรรมประพฤติผิดต่อหน้าที่ หรือมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ในช่วงระยะเวลาสามปีก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือผู้ประเมินหลักตามวรรคสองยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือความเห็นชอบเป็นผู้ประเมินหลักต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 1 การยื่นคําขอความเห็นชอบ ของหมวด 1 การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือผู้ประเมินหลักดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าสํานักงานจะมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา ทั้งนี้ ให้นําหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบตามข้อ 10 และข้อ 11 และการกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบตามข้อ 12 มาใช้บังคับกับการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลดังกล่าวด้วย ให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามหมวด 3 รวมทั้งเหตุในการพัก เพิกถอน หรือสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบ ตลอดจนอํานาจสั่งการของสํานักงานตามหมวด 4 มาใช้บังคับกับบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๓๖ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก เพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
841
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 45/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสำหรับธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 45/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและ ผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมในตลาดทุนเป็นข้อมูลสําคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของประชาชน การประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวจึงจําเป็นต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบเป็นผู้ดําเนินการ ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับธุรกรรมในตลาดทุน จึงมีข้อกําหนดให้การประเมินมูลค่าทรัพย์สินข้างต้นต้องดําเนินการโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นคําขอความเห็นชอบและระยะเวลาการพิจารณาคําขอความเห็นชอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามข้อ 6ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบ เมื่อคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
842
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 40/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสำหรับธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 40/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและ ผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมในตลาดทุน เป็นข้อมูลสําคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของประชาชน การประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวจึงจําเป็นต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบเป็นผู้ดําเนินการ ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับธุรกรรมในตลาดทุน จึงมีข้อกําหนดให้การประเมินมูลค่าทรัพย์สินข้างต้นต้องดําเนินการโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอความเห็นชอบ ระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ และการยื่นหรือรายงานต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 ก่อนหมวด 1 การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 5/1 การแจ้ง การยื่น หรือการส่งข้อมูลหรือเอกสารตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและ ผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 45/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน (1) เก้าสิบวัน ในกรณีทั่วไป (2) เจ็ดวัน ในกรณีที่เป็นการขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) ผ่านการทดสอบหรืออบรมความรู้ความสามารถตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 การให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักตามหมวดนี้ มีกําหนดคราวละห้าปีปฏิทิน โดยการให้ความเห็นชอบในครั้งแรกให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ แต่ให้การนับระยะเวลาห้าปีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีถัดไป” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนได้ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบล่วงหน้าอย่างน้อยหกสิบวันก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ หากสํานักงาน ไม่แจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักรายนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ จนกว่าสํานักงาน จะแจ้งผลการพิจารณา ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักจะได้รับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 14/1 (ก) ในกรณีการต่ออายุของบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 10 (ข) ในกรณีการต่ออายุของผู้ประเมินหลัก ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 11(1) (2) (5) (6) และ (7) โดยอนุโลม และบุคคลดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อในรายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุนอย่างน้อยสองงานภายในรอบระยะเวลาห้าปีก่อนวันที่ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบต่อสํานักงาน” ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 14/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 14/1 ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักที่ขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ไม่เป็นไปตามข้อ 14(3) ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้พิจารณาคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบได้ (1) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนไม่เป็นไปตามข้อ 10(5) เนื่องจากผู้ประเมินหลักไม่เป็นไปตามข้อ 11(7) (2) ผู้ประเมินหลักไม่เป็นไปตามข้อ 11(7) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักที่ได้รับการผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ต้องดําเนินการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามข้อ 10(5) หรือข้อ 11(7) แล้วแต่กรณี ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (1) หนึ่งปี ในกรณีบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน (2) หกเดือน ในกรณีผู้ประเมินหลัก โดยระหว่างที่ยังไม่อาจแก้ไขได้ ให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อธุรกรรมในตลาดทุนได้เฉพาะงานที่ได้รับไว้ก่อนแล้วเท่านั้น ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน หรือผู้ประเมินหลักไม่สามารถดําเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคสอง ให้การให้ความเห็นชอบเป็นอันสิ้นสุดลง” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวดนี้รายใดไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับจํานวนผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่กําหนดในข้อ 10(5) ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนรายนั้นดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะตามที่กําหนด ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งปีนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงลักษณะนั้นได้ ในกรณีทั่วไป (2) หกเดือนนับแต่วันที่การให้ความเห็นชอบผู้ประเมินหลักสิ้นสุดลงตามข้อ 14/1 วรรคสาม ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนไม่สามารถดํารงลักษณะได้เนื่องจากผู้ประเมินหลักไม่สามารถแก้ไขลักษณะภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่กําหนดตามข้อ 14/1” ข้อ ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 ในส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์และระยะเวลาการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลัก ของหมวด 1 การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 16/1 ในกรณีที่บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนรายใดมีผู้ประเมินหลัก ที่ไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11(7) ให้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ในตลาดทุนดังกล่าวแจ้งการไม่สามารถดํารงลักษณะของผู้ประเมินหลักต่อสํานักงาน ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันทําการสุดท้ายของปีนั้น ๆ” ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความใน (1) และ (2) ของข้อ 30 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักได้แจ้งต่อสํานักงานหรือองค์กรวิชาชีพประเมินตามข้อ 17 ถึงความประสงค์ที่จะยุติการปฏิบัติงานเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลัก แล้วแต่กรณี (2) บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนหรือผู้ประเมินหลักที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวด 1 หรือหมวด 2 มีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 1 หรือมีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ในข้อ 25(2) (3) (4) หรือ (5) หรือได้รับแจ้งจากสํานักงานว่ามีลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่ 2 ในข้อ 25(1)” ข้อ ๑๑ คําขอความเห็นชอบ และคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุน หรือผู้ประเมินหลักที่ได้ยื่นต่อสํานักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และผู้ยื่นคําขอมิได้แจ้งต่อสํานักงานว่าประสงค์จะขอความเห็นชอบภายใต้ข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้การพิจารณาให้ความเห็นชอบอยู่ภายใต้ข้อกําหนดแห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2555 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสําหรับธุรกรรมในตลาดทุน ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ทั้งนี้ ให้การให้ความเห็นชอบดังกล่าวมีระยะเวลาห้าปีปฏิทิน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ แต่ให้การนับระยะเวลาห้าปีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีถัดไป ข้อ ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาการให้ความเห็นชอบตามข้อ 4 แห่งประกาศนี้ การให้ความเห็นชอบต่ออายุสําหรับคําขอที่ยื่นมาเป็นครั้งแรกภายหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้เริ่มนับระยะเวลาห้าปีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป ข้อ ๑๓ บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินในตลาดทุนและผู้ประเมินหลักที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงานอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามระยะเวลา การให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 6 และข้อ 7 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
843
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สลธ. 8/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 8/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 104 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศบุคลากร” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๓ การแต่งตั้งบุคคลเพื่อดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นอยู่แล้วก่อนได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หากบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อกําหนดแห่งประกาศบุคลากร ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ตั้งบุคคลดังกล่าวแล้ว ข้อ ๔ การแต่งตั้งบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังต่อไปนี้เป็นผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว หากผู้ประกอบธุรกิจได้ตรวจสอบแล้วว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อกําหนดแห่งประกาศบุคลากร (1) ผู้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุน (2) ผู้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้คุณสมบัติในการเป็นผู้ทดสอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่าตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบในการขอรับความเห็นชอบ ข้อ ๕ การยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๖ สํานักงานจะพิจารณาให้ความเห็นชอบคําขอรับความเห็นชอบที่ยื่นตามข้อ 5 เมื่อบุคลากรดังกล่าวมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งได้ยื่นคําขอภายในระยะเวลาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศบุคลากรแล้ว ข้อ ๗ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบโดยเปิดเผยไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ครบถ้วนแล้ว และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบบุคคลใด ให้สํานักงานแจ้งผู้ขอรับความเห็นชอบเป็นหนังสือโดยระบุถึงเหตุผลไปพร้อมกันด้วย ในกรณีที่สํานักงานมีความจําเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ให้สํานักงานแจ้งให้ผู้ขอรับความเห็นชอบทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง โดยให้ระบุเหตุผลหรือระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาไปพร้อมกันด้วย ในกรณีที่สํานักงานได้แจ้งให้ผู้ขอรับความเห็นชอบปฏิบัติหรือดําเนินการเพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามวรรคสองแล้ว แต่ผู้ขอรับความเห็นชอบมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๘ บุคคลใดประสงค์จะได้รับหลักฐานการได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือ ให้ยื่นคําขอผ่านระบบที่จัดไว้สําหรับการดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
844
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สลธ. 49/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 49/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 104 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 8/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
845
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สลธ. 44/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 44/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 104 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 8/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 การยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนโดยรวมถึงเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารที่แสดงถึงการมีคุณสมบัติหรือการไม่มีลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนแต่ละประเภทตามประกาศบุคลากร (2) เอกสารตรวจสอบประวัติอาชญากรรมสําหรับกรณีที่เป็นการขอรับความเห็นชอบเป็นบุคลากรเพื่อดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการ เว้นแต่บุคลากรดังกล่าวดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจอื่นอยู่แล้ว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
846
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สลธ. 8/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 8/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน(ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 104 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทลธ. 8/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศบุคลากร” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ 3 การแต่งตั้งบุคคลเพื่อดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นอยู่แล้วก่อนได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หากบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อกําหนดแห่งประกาศบุคลากร ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้ตั้งบุคคลดังกล่าวแล้ว ข้อ 4 การแต่งตั้งบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังต่อไปนี้เป็นผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว หากผู้ประกอบธุรกิจได้ตรวจสอบแล้วว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อกําหนดแห่งประกาศบุคลากร (1) ผู้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุน (2) ผู้ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นผู้จัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้คุณสมบัติในการเป็นผู้ทดสอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง หรือหลักสูตรอื่นใดที่เทียบเท่าตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบในการขอรับความเห็นชอบ ข้อ 5( การยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนและการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนโดยรวมถึงเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารที่แสดงถึงการมีคุณสมบัติหรือการไม่มีลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนแต่ละประเภทตามประกาศบุคลากร (2) เอกสารตรวจสอบประวัติอาชญากรรมสําหรับกรณีที่เป็นการขอรับความเห็นชอบเป็นบุคลากรเพื่อดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการ เว้นแต่บุคลากรดังกล่าวดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้จัดการของผู้ประกอบธุรกิจอื่นอยู่แล้ว ข้อ 6 สํานักงานจะพิจารณาให้ความเห็นชอบคําขอรับความเห็นชอบที่ยื่นตามข้อ 5เมื่อบุคลากรดังกล่าวมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งได้ยื่นคําขอภายในระยะเวลาตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศบุคลากรแล้ว ข้อ 7( สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 8 บุคคลใดประสงค์จะได้รับหลักฐานการได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือให้ยื่นคําขอผ่านระบบที่จัดไว้สําหรับการดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
847
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สลธ. 35/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 35/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กลธ. 18/2561 เรื่อง การกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๒ สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบคําขอรับความเห็นชอบที่ยื่นตามข้อ 1 เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๓ สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๔ บุคคลใดประสงค์จะได้รับหลักฐานการได้รับความเห็นชอบหนังสือให้ยื่นคําขอผ่านระบบที่จัดไว้สําหรับการดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
848
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สลธ. 50/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 50/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 18/2561 เรื่อง การกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 35/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 การยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนโดยรวมถึงเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารที่แสดงถึงการไม่มีลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้บริหารของ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) เอกสารตรวจสอบประวัติอาชญากรรม เว้นแต่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้บริหารของบุคคลดังนี้อยู่แล้ว (ก) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งอื่น (ข) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ค) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
849
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สลธ. 35/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สลธ. 35/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กลธ. 18/2561 เรื่อง การกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1( การยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนโดยรวมถึงเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) เอกสารที่แสดงถึงการไม่มีลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้บริหารของ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) เอกสารตรวจสอบประวัติอาชญากรรม เว้นแต่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้บริหารของบุคคลดังนี้อยู่แล้ว (ก) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งอื่น (ข) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ค) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 2 สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบคําขอรับความเห็นชอบที่ยื่นตามข้อ 1 เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่มีลักษณะต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ 3 สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 4 บุคคลใดประสงค์จะได้รับหลักฐานการได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือให้ยื่นคําขอผ่านระบบที่จัดไว้สําหรับการดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------SEC Classification : ใช้ภายใน (Internal) SEC Classification : ใช้ภายใน (Internal)
850
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ. 2552
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และ (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ (1) “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินตามข้อ 4 (2) “ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน” หมายความว่า ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายหรือจะได้รับมอบหมายให้ลงลายมือชื่อร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงินในหนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศนี้ (3) “ระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน” หมายความว่า ระบบข้อมูลที่จัดขึ้นโดยสํานักงานภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ เพื่อแสดงรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (4) “ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (5) “ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่กิจการแต่งตั้งขึ้นเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดทําความเห็นต่อผู้ถือหุ้นของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยแบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ หรือตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (6) “ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (7) “ผู้ขอผ่อนผัน” หมายความว่า ผู้ขอผ่อนผันให้ได้หุ้นมาโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อ หลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (8) “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัด (9) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนรวม (ค) สถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (10) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า (11) “บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ (12) “บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (13) “ชมรม” หมายความว่า ชมรมวาณิชธนกิจภายใต้การจัดการของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (14) “บริษัทในกลุ่ม” หมายความว่า (ก) บริษัทที่ถือหุ้นในที่ปรึกษาทางการเงินตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของที่ปรึกษาทางการเงินนั้น (ข) บริษัทที่ที่ปรึกษาทางการเงินถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในนิติบุคคลดังกล่าว และในที่ปรึกษาทางการเงินตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทและที่ปรึกษาทางการเงินนั้น (15) “ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดหาหุ้นส่วนที่เกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่ายเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหรือส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืมตามข้อผูกพันในการจัดสรรหุ้นส่วนเกินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้สิทธิผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซื้อหุ้นภายหลังการจัดจําหน่ายหุ้นที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (16) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น โดยการถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (17) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลใดในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว (ข) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (ค) ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) เป็นหุ้นส่วน (ง) ห้างหุ้นส่วนสามัญจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกัน เกินกว่าร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (จ) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม(ก) หรือ (ข) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ค) หรือ (ง) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น หรือ (ฉ) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ค) หรือ (ง) หรือบริษัทตาม (จ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (ช) นิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล (18) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๑ การขอความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ การขอความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงาน ตามแบบคําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน แบบ FA-1 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอดังกล่าวและตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมชําระค่าธรรมเนียมการขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดกค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่างๆ ข้อ ๕ ขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ยื่นขอความเห็นชอบตามข้อ 4 จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงิน ที่ปรึกษาทางด้านการบัญชี หรือที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย (2) มีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ชัดเจน (3) มีหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ชัดเจน รัดกุมและเพียงพอ ทําให้เชื่อถือได้ว่าสามารถควบคุมให้การปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเป็นไปตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพและไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หรือในการเป็นที่ปรึกษาในลักษณะอื่นใดที่ต้องใช้ความรู้และความรับผิดชอบในทํานองเดียวกับการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (ข) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความ อันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือต่อองค์กรที่มีอํานาจกํากับดูแลสถาบันการเงิน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (ค) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดดังกล่าว (ง) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายในความผิดตาม (ค) (5) กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) มีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน (ข) ลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่หนึ่ง 1. เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 2. เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์ห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน 3. อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต 4. อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้เป็นหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน 5. อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงานให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใดในการเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 6. อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงานให้ถอนรายชื่อจากระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือปฏิเสธการแสดงรายชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม 7. อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งขององค์กรที่มีอํานาจตามกฎหมายต่างประเทศให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใด ซึ่งเทียบได้กับการเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 8. เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน โดยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้น หรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน (ค) ลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่สอง 1. เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตาม (ข) 3. หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดตาม (ข) 3. 2. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานหรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ต่อผู้ใช้บริการธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจบริการทางการเงินอื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 3. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งกําหนดโดยชมรม หรือธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งกําหนดโดยหน่วยงานหรือสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือ มีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 4. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉลต่อผู้อื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 5. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 6. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือต่อองค์กรที่มีอํานาจกํากับดูแลสถาบันการเงิน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 7. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควร เพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแล กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินหรือธุรกิจหลักทรัพย์โดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ การดําเนินธุรกิจ หรือลูกค้าของธุรกิจนั้น 8. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าขาดความรับผิดชอบหรือความระมัดระวังหรือความซื่อสัตย์สุจริตในเรื่องเกี่ยวกับการจัดเตรียม การจัดการ หรือการเปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยรวมของบริษัทที่ตนเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือในการเป็นที่ปรึกษาให้กับบุคคลอื่นอันทําให้บุคคลนั้นมีพฤติกรรมข้างต้น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามตาม (5) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (6) มีผู้ควบคุมการปฏิบัติงานอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งปฏิบัติงานเต็มเวลา โดยต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ (7) เป็นผู้มีรายชื่อจดทะเบียนกับชมรมในการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงิน กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน มีลักษณะไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (3) (4) (ก) (ข) หรือ (ค) หรือวรรคหนึ่ง (5) (ก) หรือ (ค) และข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวรับฟังได้ว่า พฤติกรรมอันเป็นการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้นมิใช่กรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปีนับถึงวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานก็ได้ ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่ใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้ ข้อ ๖ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจแจ้งเป็นหนังสือให้ที่ปรึกษาทางการเงินมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่ สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินไม่มาชี้แจง ไม่ส่งเอกสารหลักฐาน หรือจัดส่งเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่าที่ปรึกษาทางการเงินนั้นยกเลิกคําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ข้อ ๗ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งการ ได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามที่สํานักงานกําหนด และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วยทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินรายใด สํานักงานจะแสดงชื่อที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นไว้ในลักษณะที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบเนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5(3) (4) (ก) (ข) หรือ (ค) หรือ (5) (ก) หรือ (ค) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อที่ปรึกษาทางการเงินได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคสองแล้ว หากที่ปรึกษาทางการเงินนั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ สํานักงานจะไม่นําเหตุที่ทําให้สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ข้อ ๘ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 7 สํานักงานจะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักยณะต้องห้ามของบุคคลเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงานนํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึง (1) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรม เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุนกระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น (2) นัยสําคัญของพฤติกรรม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (3) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรม (4) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น (5) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (6) ประวัติพฤติกรรมในอดีต เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น (7) ความตระหนักของผู้กระทําในเรื่องดังกล่าว เช่น จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (8) ข้อเท็จจริงอื่น เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือดําเนินการ การปิดบังอําพรางหรือทําลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น ข้อ ๙ การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินมีกําหนดระยะเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานกําหนดไว้ในหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ได้ยื่นคําขอความเห็นชอบ เพื่อให้สามารถทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้อย่างต่อเนื่องต่อสํานักงานล่วงหน้ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ หากสํานักงานไม่แจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าสํานักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา ส่วน ๒ การขอความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบ ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงานตามแบบคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน แบบ FA-2 พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอดังกล่าวและตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมชําระค่าธรรมเนียมการขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ ๑๑ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ยื่นขอความเห็นชอบตามข้อ 10 จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5(5) โดยอนุโลม (2) ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่ชมรมกําหนดโดยความเห็นชอบของสํานักงาน ในกรณีที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมีลักษณะไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (1) ประกอบข้อ 5(5) (ก) หรือ (ค) และข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวรับฟังได้ว่า พฤติกรรมอันเป็นการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้นมิใช่กรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปีนับถึงวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานก็ได้ ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่ใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้ การที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายใดพ้นจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของที่ปรึกษา ทางการเงิน ไม่เป็นเหตุให้สํานักงานปฏิเสธการแสดงชื่อหรือถอนชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายนั้น ออกจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน เว้นแต่การพ้นจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างดังกล่าวจะมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ทําให้สํานักงานพิจารณาได้ว่า ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศนี้ ข้อ ๑๒ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเดิมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานไม่มาชี้แจง ไม่ส่งเอกสารหลักฐาน หรือจัดส่งเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานนั้นยกเลิกคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานการปฏิบัติงานนั้นยกเลิกคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๓ สํานักงานจะดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้กับรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานภาขในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องกรบถ้วน (1 ) แสดงรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน (2) มีหนังสือแจ้งผลการปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน (3) มีหนังสือแจ้งให้รอผลการพิจารณาของสํานักงานในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบเนื่องจากผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 (1) ประกอบข้อ 5 (5) (ก) หรือ (ค) สํานักงานอาจกําหนคระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลราขนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนในวรรคสองแล้ว หากผู้ควบคุมการปฏิบัติงานนั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ สํานักงานจะไม่นําเหตุที่ทําให้สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ข้อ ๑๔ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 13 สํานักงานจะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงานนํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึงปัจจัยตามข้อ 8 ด้วย โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ การให้ความเห็นชอบผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมีกําหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่แสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ในกรณีที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง ประสงค์จะทําหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ให้ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ สํานักงานจะดําเนินการตามข้อ 13 ต่อไป ข้อ ๑๖ ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ต้องเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมตามหลักสูตรและระยะเวลาที่ชมรมกําหนดโดยความเห็นชอบของสํานักงาน (refresher course) หมวด ๒ หน้าที่และขอบเขตการดําเนินงานของที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๗ ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องถือปฏิบัติดังนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และความระมัดระวังในการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพเช่นนั้นจะพึงกระทํา และรักษาจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (2) จัดทํากระดาษทําการ (working paper) เพื่อบันทึกและใช้เป็นหลักฐานในการ ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และต้องเก็บรักษากระดาษทําการดังกล่าวไว้อย่างน้อยสามปี เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบและอ้างอิงได้ (3) ในกรณีที่ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์หรือการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของที่ปรึกษาทางการเงินไว้เช่นใด ที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่ประกาศดังกล่าวกําหนดด้วย (4) ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือกิจการที่ถูกทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือเห็นว่าข้อมูลที่แสดงในเอกสารต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นต้องแจ้งรายละเอียดของการไม่ได้รับความร่วมมือดังกล่าว เป็นหนังสือไปยังสํานักงาน ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินมิได้แจ้งรายละเอียดดังกล่าว และหากข้อมูลที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ หรือการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน สํานักงานจะถือว่าที่ปรึกษาทางการเงินนั้นปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน เพราะที่ปรึกษาทางการเงินได้รับรองและร่วมรับผิดชอบกับข้อมูลดังกล่าวแล้ว (5) ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดไม่มีความเชี่ยวชาญในข้อมูลที่ต้องจัดเตรียมหรือร่วมจัดทําหรือให้ความเห็นในฐานะเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นอาจนําข้อมูลจากบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นมาอ้างอิงได้ ทั้งนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินต้องตรวจสอบจนเชื่อได้ว่าผู้เชี่ยวชาญรายนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี (6) ดําเนินการให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ร่วมลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการตรวจสอบหรือสอบทาน (การทํา due diligence) ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ รายงานและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ยื่นต่อสํานักงาน โดยมีการปฏิบัติตามแนวทางหรือมาตรฐานที่สํานักงานยอมรับหรือกําหนด ส่วน ๑ ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๙ ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ร่วมกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์จัดเตรียมและยื่นแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ต่อสํานักงาน (2) ศึกษาข้อมูลของผู้ออกหลักทรัพย์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่เข้าใจและดําเนินการจนเชื่อมั่นว่า ข้อมูลในแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่มีข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการพิจารณาของสํานักงานและต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนที่ยังมิได้เปิดเผย และไม่มีลักษณะที่อาจทําให้ผู้ใช้ข้อมูลสําคัญผิด ทั้งนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (3) ให้ความเห็นต่อสํานักงานว่าผู้ออกหลักทรัพย์มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน และรับรองต่อสํานักงานถึงการที่ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (4) ให้ความรู้ คําแนะนํา หรือกระทําการใด ๆ เพื่อให้ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ได้ทราบถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อให้ ผู้ออกหลักทรัพย์มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี (good corporate governance) มีการจัดการและการดําเนินการที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ถือหุ้นเป็นสําคัญ (5) สอบถามถึงสมมติฐานและเหตุผลประกอบสมมติฐานในการจัดทําประมาณการ งบการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ และให้ความเห็นเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้ของประมาณการงบการเงินดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์มีการจัดทําประมาณการงบการเงิน (6) ติดต่อประสานงานกับสํานักงาน และรับรองเป็นหนังสือถึงการปฏิบัติหน้าที่ตาม (2) (3) (4) และ (5) (7) ดําเนินการตามสมควรเพื่อมิให้ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ รวมทั้งกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานหรือผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงินของที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์นั้น เผยแพร่หรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือผู้ออกหลักทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏ ข้อมูลดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวน และข้อมูลนั้นอาจมีผลต่อการตัดสินใจจองซื้อหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนหรือต่อการคาดการณ์เกี่ยวกับราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่เสนอขายและหากการเผยแพร่ข้อมูลกระทําโดยการแจกจ่ายเอกสารหรือจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ที่ปรึกษาทางการเงินต้องดูแลให้เอกสารหรือการชี้แจงข้อมูลดังกล่าวมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวนและต้องแจกจ่ายพร้อมกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ (ในกรณีทั่วไป) (ข) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงวันที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินสามารถจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบตามจํานวนที่มีหน้าที่ส่งมอบหรือส่งคืน (ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ข้อ ๒๐ ภายในช่วงระยะเวลาที่กําหนดในวรรคสอง ในกรณีที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์หรือบริษัทในกลุ่ม ประสงค์จะเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยที่ได้จัดทําขึ้นโดยหรือในนามของตนเองหรือของบริษัทในกลุ่ม อันเป็นบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ตนรับเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาทางการเงินและบริษัทในกลุ่ม ต้องถือปฏิบัติภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บทความหรืองานวิจัยดังกล่าวต้องจัดทําโดยสายงานการทําวิจัยที่จัดทําเป็นปกติอยู่แล้ว และเป็นสายงานอิสระที่แยกต่างหากจากสายงานที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อย่างชัดเจน (2) จัดทําบทความหรืองานวิจัยบนพื้นฐานข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน เว้นแต่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ (3) จัดทําบทความหรืองานวิจัยด้วยความระมัดระวัง และรักษาความเป็นกลางในการให้ความเห็นเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงกระทํา (4) เปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในฐานะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือส่วนได้เสียในลักษณะอื่นในหลักทรัพย์นั้นให้ชัดเจนในบทความหรืองานวิจัยดังกล่าว และในกรณีที่เป็นการเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยก่อนวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ ต้องมีคําเตือนให้ผู้ลงทุนอ่านรายละเอียดในหนังสือชี้ชวนก่อนตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ โดยตัวอักษรของข้อความต้องมีความคมชัดอ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการจัดทําบทความหรืองานวิจัยนั้น (5) จัดส่งสําเนาบทความหรืองานวิจัยดังกล่าวต่อสํานักงาน จํานวนหนึ่งชุดภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้เผยแพร่บทความหรืองานวิจัยต่อสาธารณชน การเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยที่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ได้แก่การเผยแพร่ในระหว่างช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือ ชี้ชวนจนถึงสามสิบวันหลังจากวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ (ในกรณีที่หลักทรัพย์นี้มิใช่หลักทรัพย์ตามวรรคสอง (2) หรือ (3)) (2) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงสามสิบวันหลังจากวันแรกที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์ที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นขอจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือเป็นหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก) (3) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงสามสิบวันหลังจากวันที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินสามารถจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบตามจํานวนที่มีหน้าที่ส่งมอบหรือส่งคืน (ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลาของที่ปรึกษาทางการเงิน มีการจัดทําบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งโดยมิได้เผยแพร่ในนามของที่ปรึกษาทางการเงิน บุคคลดังกล่าวต้องมิใช่บุคคลในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน โดยที่ปรึกษาทางการเงินต้องดูแลให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามความในข้อนี้ด้วย โดยอนุโลม ความในข้อนี้มิได้มีผลเป็นการยกเว้นหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินในการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งใช้บังคับเมื่อที่ปรึกษาทางการเงินได้รับเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วย ข้อ ๒๑ เพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน ให้ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ร่วมกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ชี้แจงเป็นหนังสือต่อสํานักงานและต่อประชาชนโดยไม่ชักช้า เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) ผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง แตกต่างจากประมาณการงบการเงินอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะความแตกต่างที่เกินร้อยละยี่สิบห้าของตัวเลขตามประมาณการในเรื่องรายได้ หรือกําไรสุทธิที่เกิดจากการดําเนินงานตามปกติ (2) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ออกหลักทรัพย์ได้กระทําการที่เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงธุรกิจหลักของผู้ออกหลักทรัพย์ เป็นต้น (3) มีการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น มีการยกเลิก เลื่อนกําหนดเวลา หรือเปลี่ยนแปลงโครงการลงทุนในอนาคต เป็นต้น (4) ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ หรือกรรมการหรือผู้บริหารของบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามความในมาตรา 81 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดในการอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และหนังสือชี้ชวน ที่ปรึกษาทางการเงิน ในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง (2) (3)หรือ (4) เฉพาะในกรณีที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายในหนึ่งปีนับจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๒ เว้นแต่กรณีเป็นหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ใบแสดงสิทธิในผลประโซชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงที่ผู้ออกหลักทรัพย์อ้างอิงไม่มีส่วนร่วมในการเสนอขายใบแสดงสิทธิดังกล่าว (Unsponsored Depositary Receipt) หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ซึ่งให้สิทธิชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทนเป็นหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่หลักทรัพย์ที่ออกโดขผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์นั้น ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ที่ปรึกษาทางการเงินถือหุ้นในผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือซื้อขายในศูนย์ซื้อ อขายหลักทรัพย์ โดยจํานวนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดเกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (2) ที่ปรึกษาทางการเงินถือหุ้นในผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการถือหุ้นทั้งหมดมาเกินกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือแบบแสดงราชการข้อมูลการเสนอขาหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน หรือเป็นการถือหุ้นทั้งหมดมาไม่เกินกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือแบบแสดงราชการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน โดยจํานวนหุ้นส่วนที่ทําให้ถือมาไม่เกินกว่าสองปีดังกล่าวเป็นการ ได้มาเพิ่มเนื่องจากผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์เพิ่มทุนและให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นที่จะซื้อหุ้นตามส่วนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถืออยู่ (tight issue) แต่ทั้งนี้การถือหุ้นที่ได้รับยกเว้นทั้งสองกรณีดังกล่าวต้องไม่เกินร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ ผู้ออกมหรือเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (3) ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกรรมการของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์แต่ละราย ถือหุ้นในที่ปรึกยาทางการเงินเกินร้อยละห้ําของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของที่ปรึกษาทางการเงิน หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวต่างถือหุ้นในที่ปรึกยาทางการเงินการถือหุ้นของบุคคลเหล่านั้นในที่ปรึกยาทางการเงินรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของที่ปรึกษาทางการเงิน (4) ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์มีกรรมการเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้น ไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงินผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของที่ปรึกยาทางการเงิน หรือพนักงานที่ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกยาทางการเงินของที่ปรึกษาทางการเงินเว้นแต่กรณีเป็นกรรมการอิสระหรือกรรมการตรวจสอบของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์และของที่ปรึกษาทางการเงิน (5) ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะที่อาจทําให้ที่ปรึกษาทางการเงินขาดความเป็นอิสระในการทําหน้ที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษาทางการเงินตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (5) ให้หมายความรวมถึง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของที่ปรึกยาทางการเงิน หรือกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้จัดการหรือผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงินผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของที่ปรึกยาทางการเงิน หรือพนักงานที่ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกยาทางการเงินของที่ปรึกษาทางการเงิน ทั้งนี้ ในการคํานวณจํานวนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) ให้นับรวมจํานวนหุ้นของที่ปรึกยาทางการเงินและของบุคคลตามวรรคนี้เข้าด้วยกันด้วย ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (5) ให้หมายความรวมถึงผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือกรรมการของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ในการพิจารณาการถือหุ้นตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ให้นับรวมถึงการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่กล่าวไว้ในวรรกหนึ่ง (1) ถึง (3) ดังกล่าวและวรรคสองด้วย และให้นับรวมถึงหุ้นที่จะเกิดจากการใช้สิทธิของหุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ โอนสิทธิได้ หุ้นที่เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับส่งมอบในการชําระหนี้ ตามหุ้นกู้อนุพันธ์และหุ้นอ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประ โยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยด้วย ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) มิให้นําการถือหุ้น การส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้ส่วนเสีข ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่มิใช่บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ หรือบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน มาพิจารณารวมในกรณีดังกล่าว ส่วน ๒ ที่ปรึกษาทางการเงินในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๓ ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) จัดทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์และเอกสารอื่นตามที่สํานักงานกําหนดร่วมกับผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ (2) ศึกษาข้อมูลของผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่เข้าใจ และดําเนินการจนเชื่อมั่นว่า ข้อมูลในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่มีข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อที่ยังมิได้เปิดเผย และถ้อยคําที่ใช้มีความกระชับรัดกุมและไม่มีลักษณะที่อาจทําให้ผู้ใช้ข้อมูลสําคัญผิด (3) ประเมินมูลค่าสิ่งตอบแทนที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์จ่ายไปเพื่อการได้หลักทรัพย์มาในระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่สํานักงานรับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ในกรณีที่สิ่งตอบแทนนั้นมิใช่ตัวเงิน (4) ประเมินมูลค่าสิ่งตอบแทนอื่นที่มิใช่ตัวเงินในกรณีที่ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์มีสิ่งตอบแทนอื่นที่มิใช่ตัวเงิน (5) ให้ความเห็นต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อว่าผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์จะสามารถทําตามข้อเสนอและนโยบายและแผนงานในอนาคตที่ระบุไว้ในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้หรือไม่ และนโยบายและแผนงานดังกล่าวได้จัดทําขึ้นอย่างสมเหตุสมผลแล้วหรือไม่ อย่างไร โดยการให้ความเห็นดังกล่าวผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องใช้ข้อมูลของผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์อย่างน้อยดังต่อไปนี้มาประกอบการพิจารณา (ก) รายได้ ฐานะการเงิน และวัตถุประสงค์ของการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (ข) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์ ประวัติการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงําที่ผ่านมา และประวัติการดําเนินกิจการภายหลังจากที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้เข้าครอบงําแล้ว (ค) ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ถึงสมมติฐานและเหตุผลประกอบสมมติฐานในการจัดทํานโยบายและแผนงานในอนาคตของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ (6) ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องไม่ร่วมกับผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ในการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นตัวแทนของบุคคลอื่นในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ (7) กระทําการใด ๆ เพื่อให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทราบถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๔ ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ในการให้ความเห็นต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อเกี่ยวกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ในกรณีทั่วไป (ก) จัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์และเอกสารอื่นตามที่สํานักงานกําหนด (ข) วิเคราะห์และประเมินฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกิจการเพื่อนําไปใช้ประกอบการให้ความเห็นต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อว่าสมควรตอบรับหรือปฏิเสธคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลกระทบที่จะมีต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบด้วย ทั้งนี้ ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นต้องทําการวิเคราะห์และการประเมินดังกล่าวอย่างเพียงพอ ไม่ทําให้ผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อสําคัญผิด และจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อดังกล่าวเป็นสําคัญ (2) ในการให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นของกิจการ เมื่อมีการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ก) จัดทําความเห็นต่อผู้ถือหุ้นเพื่อประกอบการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อสํานักงาน (ข) สอบถามผู้ขอผ่อนผันถึงสมมติฐานและเหตุผลประกอบสมมติฐานในการจัดทํานโยบายและแผนงานในอนาคตของผู้ขอผ่อนผันจนเข้าใจ และให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นว่า นโยบายและแผนงานดังกล่าวได้จัดทําขึ้นอย่างสมเหตุสมผลและมีความเป็นไปได้เพียงใด (ค) วิเคราะห์และประเมินผลกระทบของการผ่อนผันดังกล่าวต่อสิทธิและประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ตลอดจนดําเนินการจนเชื่อมั่นได้ว่า ไม่มีข้อมูลสําคัญอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนที่ยังไม่ได้เปิดเผยไว้ในแบบหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้ความเห็นชอบให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ใหม่โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ข้อ ๒๕ ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตามข้อ 24 หรือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของผู้ขอผ่อนผัน ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการ ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือผู้ขอผ่อนผัน ในลักษณะเดียวกับข้อ 22 โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ใช้คําว่า “กิจการ” “ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” หรือ “ผู้ขอผ่อนผัน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์”หรือ และคําว่า "วันที่กิจการแต่งตั้งให้ เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้น" หรือ "วันที่ผู้ขอผ่อนผันแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน" แทนคําว่า "วันที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน" หมวด ๓ การดํารงลักษณะของที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน และมาตรการบังคับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ปรากฎข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบตามหมวด 1 รายใด ไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็น ไปตามหลักเกณฑ์หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 หรือข้อ 11 แล้วแต่กรณี หรือปฏิบัติหน้ที่บกพร่องไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน ตามหมวด 2 หรือฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บุคคลคังกล่าวมาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง สั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือบันทึกคะแนนความผิดโดยอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วยก็ได้ (1) สั่งภาคทัณฑ์ (2) สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลาหรือตามเงื่อนไขที่กําหนด ซึ่งในกรณีเป็นการสั่งพักการให้ความเห็นชอบผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน สํานักงานจะถอนรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานออกจากระบบข้อมูลราชชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาที่สั่งพักการให้ความเห็นชอบนั้นด้วย (3) สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ซึ่งในกรณีเป็นการเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน สํานักงานจะถอนราชชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานออกจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานด้วย ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) สํานักงานจะพิจารณาตามปัจจัยที่กําหนดไว้ในข้อ 8 หรือข้อ 14 โดขอนุโลม และจะนําประวัติการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน ตามหมวด 2 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อนหลังในช่วงสามปีมาประกอบการพิจารณาด้วย แต่ในกรณีที่สํานักงานจะนําประวัติการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วนที่เคขผ่านการพิจารณาหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของสํานักงานก่อนวันที่ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็น ชอบที่ปรึกษาทางการเงินและ ขอบเขตการดําเนินงานพ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 255. มีผลใช้บังคับ มาประกอบการสั่งการ สํานักงานจะพิจารณาข้อนหลังไม่เกินสองปีสํานักงานอาจเปิดเผยการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ต่อชมรมหรือต่อสาธารณชนก็ได้ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่สํานักงานกําหนดระยะเวลาการสั่งพักการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26วรรคหนึ่ง (2) อันเป็นผลให้ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานนั้นไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้อีกตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่ขังเหลืออยู่ หรือในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26 วรรคหนึ่ง (3) เนื่องจากที่ปรึกยาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 (3)(4) (ก) (ข) หรือ (ค) (5) (ก) หรือ (ค) หรือข้อ 11 (1) ประกอบข้อ 5 (5) (ก) หรือ (ค)แล้วแต่กรณี หรือปฏิบัติหน้ําที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน ตามหมวด 2 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งแล้ว หากที่ปรึกยาทางการเงินหรือตู้ควบคุมการปฏิบัติงานนั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ สํานักงานจะไม่นําเหตุที่ทําให้สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ได้มีการยื่นและสํานักงานได้รับแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน หรือแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือได้มีการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีข้างต้น ก่อนวันที่ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําแบบดังกล่าวหรือที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินนั้น หรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบงานในกรณีดังกล่าว ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26 หรือก่อนวันสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบตามกําหนดระยะเวลาในข้อ 9 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 15 ของที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายนั้น แล้วแต่กรณี หรือก่อนการแจ้งผลการพิจารณาตามข้อ 9 วรรถสอง ในลักษณะที่ไม่ให้ความเห็นชอบหรือก่อนแจ้งปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานหรือแจ้งให้รอผลการพิจารณาตามข้อ 13 (2) หรือ (3) หากที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานดังกล่าวประสงค์ที่จะปฏิบัติ หน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือรับผิดชอบงานในกรณีดังกล่าวต่อไปจนเสร็จสิ้น ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคมการปฏิบัติงานนั้นจะต้องยื่นคําขออนุญาตเพื่อขอปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยสํานักงานจะอนุญาตก็ต่อเมื่อการถูกสั่งพักหรือเพิกถอนดังกล่าวมิได้เกิดจาก (1) ความผิดที่เกิดจากความไม่ซื่อสัตย์ การ ไม่มีจริยธรรม การไม่มีความรับผิดชอบต่อสาธารณชน หรือขาดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ (2) ในกรณีของที่ปรึกษาทางการเงิน การมีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ไม่ชัดเจน ที่สํานักงานเห็นว่ามีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินต่อไป ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหมวด 2 ต่อไปด้วย หากมิได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหมวด 2 สํานักงานจะสั่งยกเลิกการอนุญาตเมื่อใดก็ได้ และอาจแก้ไขเพิ่มเติมการกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขการสั่งพักหรือสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26 หรือข้อ 27 หรือการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลราขนั้นในคราวต่อไปตามข้อ 9 วรรดสอง หรือข้อ 13 วรรคสอง ด้วยก็ได้ ข้อ ๒๙ เมื่อที่ปรึกษาทางการเงินมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบุคคลที่ดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ให้ที่ปรึกษาทางการเงินแจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมนั้น โดยใช้แบบ FA-3 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบดังกล่าวและตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๓๐ หากที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานรายใดไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 หรือมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่เป็นไปตามข้อ 5(3) (4) (5) หรือ (6) หรือข้อ 11 หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานได้ตามความในหมวด 2 ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายนั้นต้องแจ้งให้สํานักงานทราบ พร้อมแสดงเหตุที่ทําให้ไม่สามารถดํารงลักษณะหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวรวมทั้งมาตรการแก้ไขภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงลักษณะหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่นั้นได้ ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดประสงค์จะระงับการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศนี้ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นแจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงาน ล่วงหน้าหรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ระงับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงรายการของงานที่ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ (ถ้ามี) และการดําเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีต่อลูกค้าดังกล่าว เมื่อที่ปรึกษาทางการเงินตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับมาปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินต่อไปตามระยะเวลาการได้รับความเห็นชอบที่เหลืออยู่ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงาน โดยแสดงรายละเอียดการแก้ไขเหตุแห่งการระงับการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของที่ปรึกษาทางการเงินเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญจากข้อมูลที่เคยยื่นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ หากสํานักงานไม่แจ้งทักท้วงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งการได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้ตั้งแต่วันที่พ้นระยะเวลาทักท้วงดังกล่าวเป็นต้นไป หมวด ๔ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ที่ อจ. 4/2543 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศนี้ต่อไป ตามระยะเวลาการให้ความเห็นชอบซึ่งกําหนดไว้ในประกาศดังกล่าว ข้อ ๓๓ ให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่อยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่อยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามประกาศนี้ต่อไป ตามระยะเวลาการให้ความเห็นชอบซึ่งกําหนดไว้ในประกาศดังกล่าว ข้อ ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ให้ข้อมูลดังต่อไปนี้ที่สํานักงานพิจารณาดําเนินการภายใต้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ที่ อจ. 4/2543 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงมีผลอยู่ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามประกาศฉบับดังกล่าว (1) ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพัก สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือกําหนดระยะเวลาที่จะไม่รับพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน (2) บุคคลที่อยู่ระหว่างระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดว่า ที่ปรึกษาทางการเงินรายใหม่ที่ประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน หรือที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ไม่อาจแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทางการเงินได้ ข้อ ๓๕ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓๖ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
851
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 41/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (19) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “(19) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 25/1 ในกรณีเป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นที่เป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินที่ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นอาจเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรึกษาทางการเงินในการจัดทําแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้น หรือที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ได้ โดยไม่เป็นการต้องห้ามตามข้อ 25 ประกอบกับข้อ 22(5) (1) ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ บริษัทลงทุนดังกล่าวต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ไม่มีการประกอบธุรกิจหลักของตนเอง แต่มีวัตถุประสงค์หรือสินทรัพย์หลักเป็นการถือหุ้นในบริษัทอื่น (2) เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเพิกถอนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ (3) มีการกําหนดเงื่อนไขให้ต้องยกเลิกคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หากจํานวนหุ้นที่มีผู้แสดงเจตนาขายมีจํานวนน้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน โดยได้มีการระบุเงื่อนไขดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง “การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้น” หมายความว่า การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนโดยการชําระค่าซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดด้วยหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนไปพร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้น” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อผ่อนคลายข้อห้ามการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินสําหรับการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในบางกรณี จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
852
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 42/2554 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน (ฉบับที่ 3)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย เมื่อวันที่ .......................................... ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42 /2554 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 3 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการดําเนินการกับที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ไม่มีคุณสมบัติหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขต การดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงิน กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน มีลักษณะไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (3) (4) (ก) (ข) หรือ (ค) หรือวรรคหนึ่ง (5) (ก) หรือ (ค) และข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวรับฟังได้ว่า พฤติกรรมอันเป็นการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้นมิใช่กรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปีนับถึงวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุ ของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานก็ได้ ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่ใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าว เป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขต การดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบเนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินมีลักษณะ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5(3) (4) (ก) (ข) หรือ (ค) หรือ (5) (ก) หรือ (ค) สํานักงานอาจกําหนด ระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้น ในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้ง การไม่ให้ความเห็นชอบ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 11 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขต การดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมีลักษณะไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (1) ประกอบ ข้อ 5(5) (ก) หรือ (ค) และข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวรับฟังได้ว่า พฤติกรรมอันเป็นการขาดคุณสมบัติ หรือการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้นมิใช่กรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปีนับถึงวันที่ยื่น คําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานก็ได้ ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่ใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขต การดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบเนื่องจากผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมีลักษณะ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11(1) ประกอบข้อ 5(5) (ก) หรือ (ค) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลา หรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบ” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 26 สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามสมควรแก่กรณี เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ (1) ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 (2) ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 (3) ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดใน หมวด 2 อย่างไม่เหมาะสม ด้วยความบกพร่อง หรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในประกาศนี้ ในกรณีที่เกิดเหตุตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) สํานักงานอาจสั่งให้ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง สั่งให้ดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก่อนการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบด้วยก็ได้ ในกรณีที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน สํานักงานจะถอนรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานออกจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานด้วย ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการสั่งพักการให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะถอนรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่สั่งพักการให้ความเห็นชอบนั้น เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน สํานักงานอาจเปิดเผย การดําเนินการตามวรรคหนึ่งต่อบุคคลใด ๆ ตามอํานาจที่กําหนดในมาตรา 24/1” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 26/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 26/1 ในกรณีที่ข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุในการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26 วรรคหนึ่ง มีลักษณะไม่ร้ายแรง สํานักงานอาจไม่ยกกรณีดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุในการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการของสํานักงานตามข้อ 26 สํานักงานจะพิจารณาตามปัจจัยที่กําหนดไว้ในข้อ 8 หรือข้อ 14 โดยอนุโลม และจะนําประวัติการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดในหมวด 2 อย่างไม่เหมาะสม ด้วยความบกพร่อง หรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ย้อนหลังในช่วงสิบปีมาประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 27 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 27 ในกรณีที่สํานักงานกําหนดระยะเวลาการสั่งพักการให้ความเห็นชอบอันเป็นผลให้ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อีกตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่ยังเหลืออยู่ หรือในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5(3) (4) (ก) (ข) หรือ (ค) (5) (ก) หรือ (ค) หรือข้อ 11(1) ประกอบข้อ 5(5) (ก) หรือ (ค) แล้วแต่กรณี หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดในหมวด 2 อย่างไม่เหมาะสม ด้วยความบกพร่อง หรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดในหมวด 2 ต่อไปด้วย หากมิได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่กําหนด ในหมวด 2 สํานักงานจะสั่งยกเลิกการอนุญาตเมื่อใดก็ได้ และอาจขยายระยะเวลาหรือแก้ไขเงื่อนไข การสั่งพักการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26 หรือการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลรายนั้นในคราวต่อไปตามข้อ 7 วรรคสอง ข้อ 13 วรรคสอง หรือข้อ 27 วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ด้วยก็ได้” ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
853
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 24/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (20) และ (21) ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2553 เรื่อง การให้ ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553 “(20) “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (21) “ผู้จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่าหรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคหกของข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามข้อนี้ ให้ใช้คําว่า “ผู้จําหน่ายอสังหาริมทรัพย์” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์”” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
854
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 5/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 5/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (19/1) และ (19/2) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2557 เรื่อง การให้ ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 “(19/1) “บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (19/2) “บริษัทที่ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในกิจการต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) โดยบริษัทอื่นนั้นจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 เพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน ให้ที่ปรึกษาทางการเงิน ในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ร่วมกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ชี้แจงเป็นหนังสือ ต่อสํานักงานและต่อประชาชนโดยไม่ชักช้า เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) ผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง แตกต่างจากประมาณการงบการเงินอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะความแตกต่างที่เกินร้อยละยี่สิบห้าของตัวเลขตามประมาณการในเรื่องรายได้ หรือกําไรสุทธิ ที่เกิดจากการดําเนินงานตามปกติ (2) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ออกหลักทรัพย์ได้กระทําการที่เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงธุรกิจหลักของผู้ออกหลักทรัพย์ เป็นต้น (3) มีการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น มีการยกเลิก เลื่อนกําหนดเวลา หรือเปลี่ยนแปลงโครงการลงทุน ในอนาคต เป็นต้น (4) ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ หรือกรรมการหรือผู้บริหารของบุคคลดังกล่าว ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามความในมาตรา 81 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดใน การอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และหนังสือชี้ชวน ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง (2) (3) หรือ (4) เฉพาะในกรณีที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งปีนับจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (2) สามปีนับจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวมีสัญญาผูกพันอยู่กับ บริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในกิจการต่างประเทศ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามระยะเวลาดังกล่าว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ปรึกษาทางการเงินในระหว่างระยะเวลาตามวรรคสอง ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับที่ปรึกษาทางการเงินรายใหม่ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทน ที่ปรึกษาทางการเงินรายเดิมตลอดระยะเวลาที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนด้วย” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 21/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 21/1 นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 19 ข้อ 20 และข้อ 21 ให้ที่ปรึกษาทางการเงิน ในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในกิจการต่างประเทศ ซึ่งมีสัญญาผูกพันอยู่กับบริษัทดังกล่าวในการปฏิบัติหน้าที่ ตามข้อ 21 วรรคสอง (2) และวรรคสาม ติดตามดูแลและให้คําแนะนําผู้ออกหลักทรัพย์ในการปฏิบัติหน้าที่ภายหลังการออกและเสนอขายหลักทรัพย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในเรื่องดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่ผูกพันนั้นด้วย (1) การจัดทําและส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี และสารสนเทศอื่นที่สําคัญของบริษัทต่างประเทศ (2) การปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือรายการสําคัญอื่นใดของบริษัท (3) การรายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามมาตรา 57 หรือเมื่อสํานักงานมีคําสั่งตามมาตรา 58 ความในวรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับที่ปรึกษาทางการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งอยู่ระหว่างได้รับการผ่อนผันไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือรายการสําคัญอื่นใดของบริษัท” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
855
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 40/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 40/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและ จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงกระบวนการและระยะเวลาในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบให้มีความชัดเจนและเหมาะสมขึ้น ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงานตามแบบคําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน แบบ FA-1 พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอดังกล่าวและตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ผู้ขอความเห็นชอบชําระค่าธรรมเนียมการขอความเห็นชอบต่อสํานักงานเมื่อแบบคําขอความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินรายใด สํานักงานจะแสดงชื่อที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นไว้ในลักษณะที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งประสงค์จะทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ โดยสํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงานตามแบบคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน แบบ FA-2 พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอดังกล่าวและตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ผู้ขอความเห็นชอบชําระค่าธรรมเนียมการขอความเห็นชอบต่อสํานักงานเมื่อแบบคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ” ข้อ 6 ให้ยกเลิกข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 13 สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบผู้ควบคุมการปฏิบัติงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายใด สํานักงานจะแสดงชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายนั้นไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งประสงค์จะทําหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ โดยสํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 31 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เมื่อที่ปรึกษาทางการเงินตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับมาปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินต่อไปตามระยะเวลาการได้รับความเห็นชอบที่เหลืออยู่ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงาน โดยแสดงรายละเอียดการแก้ไขเหตุแห่งการระงับการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของที่ปรึกษาทางการเงินเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญจากข้อมูลที่เคยยื่นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ หากสํานักงานไม่แจ้งทักท้วงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งการได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้ตั้งแต่วันที่พ้นระยะเวลาทักท้วงดังกล่าวเป็นต้นไป” ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
856
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 3/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 3/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปิดเผยผลการดําเนินการของสํานักงานต่อที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ไม่มีคุณสมบัติหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของข้อ 26 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42/2554 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน สํานักงานอาจเปิดเผยการดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต่อบุคคลใด ๆ ตามอํานาจที่กําหนดไว้ในมาตรา 24/1” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
857
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 17/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 17/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินสําหรับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของ (2) ในข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ในกรณีที่เป็นการออกและการเสนอขายตราสารหนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินต้องวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ออกตราสารหนี้อย่างน้อยในเรื่องดังนี้ เพื่อประกอบการให้คําแนะนําในการกําหนดลักษณะ ข้อตกลง เงื่อนไข และอายุที่เหมาะสมในการออกและเสนอขายตราสารหนี้ (ก) ลักษณะการประกอบธุรกิจ และแผนธุรกิจในอนาคต (ข) ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หรือข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ค) วัตถุประสงค์การใช้เงิน (ง) แหล่งเงินทุนสํารองในการชําระหนี้ (จ) ทรัพย์สินที่อาจใช้เป็นหลักประกันในการชําระหนี้” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
858
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 35/2562 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 35/2562 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม รวมทั้งการขออนุมัติเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (20) และ (21) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(20) “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี (21) “ผู้จําหน่ายทรัพย์สิน” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) กรณีทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ข) กรณีทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 22 เพื่อให้มั่นใจได้ว่าที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่มีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว รับหรือทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งให้สิทธิชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทนเป็นหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่หลักทรัพย์ที่ออกโดยผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนั้น ในกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งมีรายละเอียดตามภาคผนวกท้ายประกาศ ให้ถือว่าที่ปรึกษาทางการเงินมีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (1) ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (2) ที่ปรึกษาทางการเงินมีผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์เป็นผู้ถือหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (3) ที่ปรึกษาทางการเงินมีกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน หรือพนักงาน ซึ่งรับผิดชอบ ดูแล หรือปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ (4) ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียอื่นใดกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะที่อาจทําให้ที่ปรึกษาทางการเงินขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ การพิจารณากรณีตามวรรคสอง ให้พิจารณารวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ตามรายละเอียดในภาคผนวกท้ายประกาศ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ ให้ใช้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สิน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์” ตามวรรคสองและวรรคสาม” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/1 ในส่วนที่ 1 ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ของหมวด 2 หน้าที่และขอบเขตการดําเนินงานของที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 22/1 การพิจารณากรณีตามข้อ 22 วรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มิให้นําการถือหุ้น การส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้เสีย ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (ไม่รวมบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ หรือบุคคลอื่นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน มาพิจารณา (2) การคํานวณอัตราการถือหุ้นให้เป็นไปตามวิธีการตามภาคผนวกท้ายประกาศ โดยให้นับรวมจํานวนหุ้นที่จะเกิดจากการใช้สิทธิของหุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ รวมทั้งหุ้นที่เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับส่งมอบในการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และหุ้นอ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงด้วย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีตามข้อ 22 วรรคสอง (1) และ (2)” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 1/1 ที่ปรึกษาทางการเงินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 22/2 ในหมวด 2 หน้าที่และขอบเขตการดําเนินงานของที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ส่วนที่ 1/1 ที่ปรึกษาทางการเงินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22/2 ให้นําความในข้อ 22 และข้อ 22/1 มาใช้บังคับกับที่ปรึกษาทางการเงินในการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือการขออนุมัติเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการอนุโลมใช้หลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สิน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์”” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25 ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตามข้อ 24 หรือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของผู้ขอผ่อนผัน ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการ ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือผู้ขอผ่อนผัน ในลักษณะเดียวกับข้อ 22 และข้อ 22/1 โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ใช้คําว่า “กิจการ” “ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” หรือ “ผู้ขอผ่อนผัน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์”” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 25/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25/1 ในกรณีเป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นที่เป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินที่ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นอาจเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรึกษาทางการเงินในการจัดทําแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้น หรือที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ได้ โดยไม่เป็นการต้องห้ามตามข้อ 25 ประกอบกับข้อ 22 วรรคสอง (4) (1) ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ บริษัทลงทุนดังกล่าวต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ไม่มีการประกอบธุรกิจหลักของตนเอง แต่มีวัตถุประสงค์หรือสินทรัพย์หลักเป็นการถือหุ้นในบริษัทอื่น (2) เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเพิกถอนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ (3) มีการกําหนดเงื่อนไขให้ต้องยกเลิกคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หากจํานวนหุ้นที่มีผู้แสดงเจตนาขายมีจํานวนน้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน โดยได้มีการระบุเงื่อนไขดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” ข้อ 7 ให้เพิ่มภาคผนวกท้ายประกาศนี้ เป็นภาคผนวกท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
859
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 51/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 51/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 5/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง (2) (3) หรือ (4) เฉพาะในกรณีที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 21/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 5/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21/1 นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 19 ข้อ 20 และข้อ 21 ให้ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจ การถือหุ้นในกิจการต่างประเทศ ซึ่งมีสัญญาผูกพันอยู่กับบริษัทดังกล่าวในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 21 ติดตามดูแลและให้คําแนะนําผู้ออกหลักทรัพย์ในการปฏิบัติหน้าที่ภายหลังการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่ผูกพันนั้นด้วย (1) การจัดทําและส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี และสารสนเทศอื่นที่สําคัญของบริษัทต่างประเทศ (2) การปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือรายการสําคัญอื่นใดของบริษัท (3) การรายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามมาตรา 57 หรือ เมื่อสํานักงานมีคําสั่งตามมาตรา 58 ความในวรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับที่ปรึกษาทางการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งอยู่ระหว่างได้รับการผ่อนผันไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือรายการสําคัญอื่นใดของบริษัท” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
860
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 53/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 11)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 53/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม รวมทั้งการขออนุมัติเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกภาคผนวกท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 59/2562 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ภาคผนวกท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
861
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 60/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 12)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 60/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการส่งข้อมูลต่อสํานักงานหรือการดําเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกันสามารถทําได้ด้วยวิธีการอื่นนอกจากการส่งเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) “ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน” หมายความว่า ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในสายงาน ที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายหรือจะได้รับมอบหมายให้ลงลายมือชื่อร่วมกับ ที่ปรึกษาทางการเงินในการรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศนี้” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 ก่อนหมวด 1 การขอความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 3/1 การยื่น การส่ง การแจ้ง การชี้แจง หรือการรับรองข้อมูลหรือเอกสาร หรือการดําเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกันต่อสํานักงาน และการลงลายมือชื่อตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินมีกําหนดระยะเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานกําหนดไว้ในการให้ความเห็นชอบ” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือกิจการที่ถูกทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือเห็นว่าข้อมูลที่แสดงในเอกสารต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นต้องแจ้งรายละเอียดของการไม่ได้รับความร่วมมือดังกล่าวต่อสํานักงาน ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินมิได้แจ้งรายละเอียดดังกล่าว และหากข้อมูลที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ หรือการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน สํานักงานจะถือว่าที่ปรึกษาทางการเงินนั้นปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน เพราะที่ปรึกษาทางการเงินได้รับรองและร่วมรับผิดชอบกับข้อมูลดังกล่าวแล้ว” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) ดําเนินการให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ร่วมลงลายมือชื่อรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการตรวจสอบหรือสอบทาน (การทํา due diligence) ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ รายงานและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ยื่นต่อสํานักงาน โดยมีการปฏิบัติตามแนวทางหรือมาตรฐานที่สํานักงานยอมรับหรือกําหนด” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) ติดต่อประสานงานกับสํานักงาน และรับรองการปฏิบัติหน้าที่ตาม (2) (3) (4) และ (5)” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 5/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 5) ลงวันวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 เพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน ให้ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ร่วมกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ชี้แจงต่อสํานักงานและต่อประชาชนโดยไม่ชักช้า เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) ผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง แตกต่างจากประมาณการงบการเงินอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะความแตกต่างที่เกินร้อยละยี่สิบห้าของตัวเลขตามประมาณการในเรื่องรายได้ หรือกําไรสุทธิที่เกิดจากการดําเนินงานตามปกติ (2) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ออกหลักทรัพย์ได้กระทําการที่เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงธุรกิจหลักของผู้ออกหลักทรัพย์ เป็นต้น (3) มีการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น มีการยกเลิก เลื่อนกําหนดเวลา หรือเปลี่ยนแปลงโครงการลงทุนในอนาคต เป็นต้น (4) ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ หรือกรรมการหรือผู้บริหารของบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามความในมาตรา 81 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดในการอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และหนังสือชี้ชวน” ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 28 ในกรณีที่ได้มีการยื่นและสํานักงานได้รับแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน หรือแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือได้มีการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีข้างต้น ก่อนวันที่ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําแบบดังกล่าว หรือที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินนั้น หรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบงานในกรณีดังกล่าว ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26 หรือก่อนวันสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบตามกําหนดระยะเวลาในข้อ 9 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 15 วรรคหนึ่งของที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายนั้น แล้วแต่กรณี หรือก่อนการแจ้งผลการพิจารณาตามข้อ 9 วรรคสอง หรือข้อ 15 วรรคสองในลักษณะที่ไม่ให้ความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี หากที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานดังกล่าวประสงค์ที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือรับผิดชอบงานในกรณีดังกล่าวต่อไปจนเสร็จสิ้น ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานนั้นจะต้องยื่นคําขออนุญาตเพื่อขอปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยสํานักงานจะอนุญาตก็ต่อเมื่อการถูกสั่งพักหรือเพิกถอนดังกล่าวมิได้เกิดจาก (1) ความผิดที่เกิดจากความไม่ซื่อสัตย์ การไม่มีจริยธรรม การไม่มีความรับผิดชอบต่อสาธารณชน หรือขาดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ (2) ในกรณีของที่ปรึกษาทางการเงิน การมีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินไม่ชัดเจน ที่สํานักงานเห็นว่ามีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินต่อไป” ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 31 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 40/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 31 ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดประสงค์จะระงับการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศนี้ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นแจ้งต่อสํานักงานล่วงหน้าหรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ระงับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงรายการของงานที่ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ (ถ้ามี) และการดําเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีต่อลูกค้าดังกล่าว เมื่อที่ปรึกษาทางการเงินตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับมาปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินต่อไปตามระยะเวลาการได้รับความเห็นชอบที่เหลืออยู่ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงาน โดยแสดงรายละเอียดการแก้ไขเหตุแห่งการระงับการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของที่ปรึกษาทางการเงินเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญจากข้อมูลที่เคยยื่นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ หากสํานักงานไม่แจ้งทักท้วง ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้ตั้งแต่วันที่พ้นระยะเวลาทักท้วงดังกล่าวเป็นต้นไป” ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
862
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 59/2562 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 59/2562 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม รวมทั้งการขออนุมัติเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สช. 35/2562 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (20) และ (21) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(20) “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี (21) “ผู้จําหน่ายทรัพย์สิน” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) กรณีทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ข) กรณีทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 24/2557 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 22 เพื่อให้มั่นใจได้ว่าที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่มีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว รับหรือทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งให้สิทธิชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทนเป็นหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่หลักทรัพย์ที่ออกโดยผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนั้น ในกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งมีรายละเอียดตามภาคผนวกท้ายประกาศ ให้ถือว่าที่ปรึกษาทางการเงินมีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (1) ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (2) ที่ปรึกษาทางการเงินมีผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์เป็นผู้ถือหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (3) ที่ปรึกษาทางการเงินมีกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน หรือพนักงาน ซึ่งรับผิดชอบ ดูแล หรือปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ (4) ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียอื่นใดกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะที่อาจทําให้ที่ปรึกษาทางการเงินขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ การพิจารณากรณีตามวรรคสอง ให้พิจารณารวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ตามรายละเอียดในภาคผนวกท้ายประกาศ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ ให้ใช้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สิน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์” ตามวรรคสองและวรรคสาม” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/1 ในส่วนที่ 1 ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ของหมวด 2 หน้าที่และขอบเขตการดําเนินงานของที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 22/1 การพิจารณากรณีตามข้อ 22 วรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มิให้นํากรณีดังต่อไปนี้มาพิจารณา (ก) การถือหุ้น การส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้เสียที่เป็นการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ หรือของส่วนราชการ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ข) การถือหุ้น การส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้เสียของรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่มิใช่บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (2) การคํานวณอัตราการถือหุ้นให้เป็นไปตามวิธีการตามภาคผนวกท้ายประกาศ โดยให้นับรวมจํานวนหุ้นที่จะเกิดจากการใช้สิทธิของหุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ รวมทั้งหุ้นที่เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับส่งมอบในการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และหุ้นอ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงด้วย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีตามข้อ 22 วรรคสอง (1) และ (2)” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 1/1 ที่ปรึกษาทางการเงินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 22/2 ในหมวด 2 หน้าที่และขอบเขตการดําเนินงานของที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ส่วนที่ 1/1 ที่ปรึกษาทางการเงินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22/2 ให้นําความในข้อ 22 และข้อ 22/1 มาใช้บังคับกับที่ปรึกษาทางการเงินในการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือการขออนุมัติเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการอนุโลมใช้หลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สิน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์”” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25 ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตามข้อ 24 หรือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของผู้ขอผ่อนผัน ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการ ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือผู้ขอผ่อนผัน ในลักษณะเดียวกับข้อ 22 และข้อ 22/1 โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ใช้คําว่า “กิจการ” “ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” หรือ “ผู้ขอผ่อนผัน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์”” ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 25/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25/1 ในกรณีเป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นที่เป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินที่ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นอาจเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรึกษาทางการเงินในการจัดทําแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้น หรือที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ได้ โดยไม่เป็นการต้องห้ามตามข้อ 25 ประกอบกับข้อ 22 วรรคสอง (4) (1) ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ บริษัทลงทุนดังกล่าวต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ไม่มีการประกอบธุรกิจหลักของตนเอง แต่มีวัตถุประสงค์หรือสินทรัพย์หลักเป็นการถือหุ้นในบริษัทอื่น (2) เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเพิกถอนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ (3) มีการกําหนดเงื่อนไขให้ต้องยกเลิกคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หากจํานวนหุ้นที่มีผู้แสดงเจตนาขายมีจํานวนน้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน โดยได้มีการระบุเงื่อนไขดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” ข้อ 8 มิให้นําการถือหุ้น การส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้เสียกับผู้ออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่เป็นการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มาพิจารณากรณีตามข้อ 22 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) และ (5) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ ข้อ 9 ให้เพิ่มภาคผนวกท้ายประกาศนี้ เป็นภาคผนวกท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 8 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
863
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน และขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2552 (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดให้การให้คําปรึกษา ให้ความเห็นและจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ และที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําหรือให้ความเห็น ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และ (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ (1) “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินตามข้อ 4 (2) “ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน” หมายความว่า ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายหรือจะได้รับมอบหมายให้ลงลายมือชื่อร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงินในหนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศนี้ (3) “ระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน” หมายความว่า ระบบข้อมูลที่จัดขึ้นโดยสํานักงานภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ เพื่อแสดงรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (4) “ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (5) “ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่กิจการแต่งตั้งขึ้นเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดทําความเห็นต่อผู้ถือหุ้นของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยแบบรายการและระยะเวลาจัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อ หรือตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (6) “ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (7) “ผู้ขอผ่อนผัน” หมายความว่า ผู้ขอผ่อนผันให้ได้หุ้นมาโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (8) “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชนจํากัด (9) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนรวม (ค) สถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (10) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า (11) “บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ (12) “บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า บุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (13) “ชมรม” หมายความว่า ชมรมวาณิชธนกิจภายใต้การจัดการของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (14) “บริษัทในกลุ่ม” หมายความว่า (ก) บริษัทที่ถือหุ้นในที่ปรึกษาทางการเงินตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของที่ปรึกษาทางการเงินนั้น (ข) บริษัทที่ที่ปรึกษาทางการเงินถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในนิติบุคคลดังกล่าว และในที่ปรึกษาทางการเงินตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทและที่ปรึกษาทางการเงินนั้น (15) “ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดหาหุ้นส่วนที่เกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่ายเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับการจัดสรรหรือส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืมตามข้อผูกพันในการจัดสรรหุ้นส่วนเกินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้สิทธิผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซื้อหุ้นภายหลังการจัดจําหน่ายหุ้นที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (16) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทรวมกันเกินร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น โดยการถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมถึงหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย (17) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลหรือห้างหุ้นส่วนที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลใดในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) คู่สมรสของบุคคลดังกล่าว (ข) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (ค) ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) เป็นหุ้นส่วน (ง) ห้างหุ้นส่วนสามัญจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) เป็นหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัดความรับผิด หรือเป็นหุ้นส่วนจําพวกจํากัดความรับผิดที่มีหุ้นรวมกัน เกินกว่าร้อยละสามสิบของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจํากัด (จ) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ค) หรือ (ง) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น หรือ (ฉ) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) หรือ (ข) หรือห้างหุ้นส่วนตาม (ค) หรือ (ง) หรือบริษัทตาม (จ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละสามสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (ช) นิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวสามารถมีอํานาจในการจัดการในฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล (18) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (19) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนใน (19/1) “บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาต ให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับ การเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (19/2) “บริษัทที่ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในกิจการต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) โดยบริษัทอื่นนั้นจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (20) “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี (21) “ผู้จําหน่ายทรัพย์สิน” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) กรณีทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ข) กรณีทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่ทรัสต์ เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี หมวด ๑ การขอความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ การขอความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงิน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงาน ตามแบบคําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน แบบ FA-1 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอดังกล่าวและตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมชําระค่าธรรมเนียมการขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดกค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่างๆ ข้อ ๕ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ยื่นขอความเห็นชอบตามข้อ 4 จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงิน ที่ปรึกษาทางด้านการบัญชี หรือที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย (2) มีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ชัดเจน (3) มีหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ชัดเจน รัดกุมและเพียงพอ ทําให้เชื่อถือได้ว่าสามารถควบคุมให้การปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเป็นไปตามมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพและไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หรือในการเป็นที่ปรึกษาในลักษณะอื่นใดที่ต้องใช้ความรู้และความรับผิดชอบในทํานองเดียวกับการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (ข) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความ อันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือต่อองค์กรที่มีอํานาจกํากับดูแลสถาบันการเงิน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (ค) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดดังกล่าว (ง) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมายในความผิดตาม (ค) (5) กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) มีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความตั้งใจที่จะดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน (ข) ลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่หนึ่ง 1. เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 2. เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์ห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน 3. อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต 4. อยู่ระหว่างต้องห้ามมิให้เป็นหรือปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน 5. อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงานให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใดในการเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 6. อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งของสํานักงานให้ถอนรายชื่อจากระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือปฏิเสธการแสดงรายชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เนื่องจากมีลักษณะต้องห้าม 7. อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดตามคําสั่งขององค์กรที่มีอํานาจตามกฎหมายต่างประเทศให้พัก เพิกถอน หรือห้ามการปฏิบัติงานในตําแหน่งหนึ่งตําแหน่งใดหรือลักษณะงานหนึ่งลักษณะงานใด ซึ่งเทียบได้กับการเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน บุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ หรือบุคลากรในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 8. เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน โดยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการเนื่องจากแผนแก้ไขฟื้นฟูฐานะหรือการดําเนินงานไม่ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้น หรือของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือถูกสั่งการให้แก้ไขฐานะทางการเงินที่เสียหายด้วยการลดทุนและมีการเพิ่มทุนในภายหลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือสถาบันการเงินของรัฐ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน (ค) ลักษณะต้องห้ามกลุ่มที่สอง 1. เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตาม (ข) 3. หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดตาม (ข) 3. 2. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานหรือให้บริการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ต่อผู้ใช้บริการธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจบริการทางการเงินอื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 3. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการขาดจรรยาบรรณหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งกําหนดโดยชมรม หรือธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งกําหนดโดยหน่วยงานหรือสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือ มีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 4. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉลต่อผู้อื่น หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 5. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 6. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสํานักงาน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือต่อองค์กรที่มีอํานาจกํากับดูแลสถาบันการเงิน หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น 7. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควร เพื่อป้องกันมิให้นิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอํานาจในการจัดการ หรือผู้ปฏิบัติงานซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบดูแล กระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดอันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินหรือธุรกิจหลักทรัพย์โดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ การดําเนินธุรกิจ หรือลูกค้าของธุรกิจนั้น 8. มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าขาดความรับผิดชอบหรือความระมัดระวังหรือความซื่อสัตย์สุจริตในเรื่องเกี่ยวกับการจัดเตรียม การจัดการ หรือการเปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยรวมของบริษัทที่ตนเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือในการเป็นที่ปรึกษาให้กับบุคคลอื่นอันทําให้บุคคลนั้นมีพฤติกรรมข้างต้น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามตาม (5) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (6) มีผู้ควบคุมการปฏิบัติงานอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งปฏิบัติงานเต็มเวลา โดยต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ (7) เป็นผู้มีรายชื่อจดทะเบียนกับชมรมในการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงิน กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน มีลักษณะไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (3) (4) (ก) (ข) หรือ (ค) หรือวรรคหนึ่ง (5) (ก) หรือ (ค) และข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวรับฟังได้ว่า พฤติกรรมอันเป็นการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้นมิใช่กรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปีนับถึงวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานก็ได้ ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่ใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้ ข้อ ๖ ยกเลิก ข้อ ๗ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งการ ได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามที่สํานักงานกําหนด และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วยทั้งนี้ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินรายใด สํานักงานจะแสดงชื่อที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นไว้ในลักษณะที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบเนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินมีลักษณะ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5(3) (4) (ก) (ข) หรือ (ค) หรือ (5) (ก) หรือ (ค) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อที่ปรึกษาทางการเงินได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคสองแล้ว หากที่ปรึกษาทางการเงินนั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ สํานักงานจะไม่นําเหตุที่ทําให้สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ข้อ ๘ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 7 สํานักงานจะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักยณะต้องห้ามของบุคคลเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงานนํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึง (1) ขอบเขตของผลกระทบจากพฤติกรรม เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุนกระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น (2) นัยสําคัญของพฤติกรรม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น (3) ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรม (4) ความเกี่ยวข้องของบุคคลต่อพฤติกรรม เช่น เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เป็นต้น (5) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (6) ประวัติพฤติกรรมในอดีต เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น (7) ความตระหนักของผู้กระทําในเรื่องดังกล่าว เช่น จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (8) ข้อเท็จจริงอื่น เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือดําเนินการ การปิดบังอําพรางหรือทําลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น ข้อ ๙ การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินมีกําหนดระยะเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานกําหนดไว้ในหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งประสงค์จะทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันก่อน วันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ โดยสํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ส่วน ๒ การขอความเห็นชอบ และการให้ความเห็นชอบ ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานยื่นขอความเห็นชอบจากสํานักงานตามแบบคําขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน แบบ FA-2 พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอดังกล่าวและตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมชําระค่าธรรมเนียมการขอความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ ๑๑ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ยื่นขอความเห็นชอบตามข้อ 10 จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5(5) โดยอนุโลม (2) ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่ชมรมกําหนดโดยความเห็นชอบของสํานักงาน ในกรณีที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมีลักษณะไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่ง (1) ประกอบ ข้อ 5(5) (ก) หรือ (ค) และข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวรับฟังได้ว่า พฤติกรรมอันเป็นการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้นมิใช่กรณีร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปีนับถึงวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจใช้ดุลพินิจไม่ยกเหตุของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานก็ได้ ในการนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่ใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราวด้วยก็ได้ การที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายใดพ้นจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของที่ปรึกษาทางการเงิน ไม่เป็นเหตุให้สํานักงานปฏิเสธการแสดงชื่อหรือถอนชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายนั้นออกจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน เว้นแต่การพ้นจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างดังกล่าวจะมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ทําให้สํานักงานพิจารณาได้ว่า ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศนี้ ข้อ ๑๒ ยกเลิก ข้อ ๑๓ สํานักงานจะดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้กับรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานภาขในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องกรบถ้วน (1 ) แสดงรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน (2) มีหนังสือแจ้งผลการปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน (3) มีหนังสือแจ้งให้รอผลการพิจารณาของสํานักงานในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบเนื่องจากผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 (1) ประกอบข้อ 5 (5) (ก) หรือ (ค) สํานักงานอาจกําหนคระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลราขนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นการกําหนดระยะเวลา ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบห้าปีนับแต่วันที่สํานักงานแจ้งการไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนในวรรคสองแล้ว หากผู้ควบคุมการปฏิบัติงานนั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ สํานักงานจะไม่นําเหตุที่ทําให้สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ข้อ ๑๔ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 13 สํานักงานจะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้ามของบุคคลเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงานนํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึงปัจจัยตามข้อ 8 ด้วย โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ การให้ความเห็นชอบผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมีกําหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่แสดงไว้ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ในกรณีที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งประสงค์จะทําหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงารายดังกล่าวยื่นคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ โดยสํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๑๖ ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ต้องเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมตามหลักสูตรและระยะเวลาที่ชมรมกําหนดโดยความเห็นชอบของสํานักงาน (refresher course) หมวด ๒ หน้าที่และขอบเขตการดําเนินงานของที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๗ ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องถือปฏิบัติดังนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และความระมัดระวังในการปฏิบัติงานเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพเช่นนั้นจะพึงกระทํา และรักษาจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (2) จัดทํากระดาษทําการ (working paper) เพื่อบันทึกและใช้เป็นหลักฐานในการ ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และต้องเก็บรักษากระดาษทําการดังกล่าวไว้อย่างน้อยสามปี เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบและอ้างอิงได้ (3) ในกรณีที่ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์หรือการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ กําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของที่ปรึกษาทางการเงินไว้เช่นใด ที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่ประกาศดังกล่าวกําหนดด้วย (4) ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือกิจการที่ถูกทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือเห็นว่าข้อมูลที่แสดงในเอกสารต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่กําหนดในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นต้องแจ้งรายละเอียดของการไม่ได้รับความร่วมมือดังกล่าว เป็นหนังสือไปยังสํานักงาน ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินมิได้แจ้งรายละเอียดดังกล่าว และหากข้อมูลที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ หรือการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน สํานักงานจะถือว่าที่ปรึกษาทางการเงินนั้นปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน เพราะที่ปรึกษาทางการเงินได้รับรองและร่วมรับผิดชอบกับข้อมูลดังกล่าวแล้ว (5) ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดไม่มีความเชี่ยวชาญในข้อมูลที่ต้องจัดเตรียมหรือร่วมจัดทําหรือให้ความเห็นในฐานะเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นอาจนําข้อมูลจากบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นมาอ้างอิงได้ ทั้งนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินต้องตรวจสอบจนเชื่อได้ว่าผู้เชี่ยวชาญรายนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี (6) ดําเนินการให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ร่วมลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการตรวจสอบหรือสอบทาน (การทํา due diligence) ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ รายงานและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ยื่นต่อสํานักงาน โดยมีการปฏิบัติตามแนวทางหรือมาตรฐานที่สํานักงานยอมรับหรือกําหนด ข้อ ๑๘ ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน และรักษาจรรยาบรรณ เพื่อให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ตนสังกัดปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ ส่วน ๑ ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๙ ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ร่วมกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์จัดเตรียมและยื่นแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ต่อสํานักงาน (2) ศึกษาข้อมูลของผู้ออกหลักทรัพย์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่เข้าใจและดําเนินการจนเชื่อมั่นว่า ข้อมูลในแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่มีข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการพิจารณาของสํานักงานและต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนที่ยังมิได้เปิดเผย และไม่มีลักษณะที่อาจทําให้ผู้ใช้ข้อมูลสําคัญผิด ทั้งนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ในกรณีที่เป็นการออกและการเสนอขายตราสารหนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินต้องวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ออกตราสารหนี้อย่างน้อยในเรื่องดังนี้ เพื่อประกอบการให้คําแนะนําในการกําหนดลักษณะ ข้อตกลง เงื่อนไข และอายุที่เหมาะสมในการออกและเสนอขายตราสารหนี้ (ก) ลักษณะการประกอบธุรกิจ และแผนธุรกิจในอนาคต (ข) ข้อมูลทางการเงินที่สําคัญตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หรือข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ค) วัตถุประสงค์การใช้เงิน (ง) แหล่งเงินทุนสํารองในการชําระหนี้ (จ) ทรัพย์สินที่อาจใช้เป็นหลักประกันในการชําระหนี้ (3) ให้ความเห็นต่อสํานักงานว่าผู้ออกหลักทรัพย์มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน และรับรองต่อสํานักงานถึงการที่ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (4) ให้ความรู้ คําแนะนํา หรือกระทําการใด ๆ เพื่อให้ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ได้ทราบถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อให้ผู้ออกหลักทรัพย์มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี (good corporate governance) มีการจัดการและการดําเนินการ ที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ถือหุ้นเป็นสําคัญ (5) สอบถามถึงสมมติฐานและเหตุผลประกอบสมมติฐานในการจัดทําประมาณกางบการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ และให้ความเห็นเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้ของประมาณการงบการเงินดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ออกหลักทรัพย์มีการจัดทําประมาณการงบการเงิน (6) ติดต่อประสานงานกับสํานักงาน และรับรองเป็นหนังสือถึงการปฏิบัติหน้าที่ตาม (2) (3) (4) และ (5) (7) ดําเนินการตามสมควรเพื่อมิให้ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ รวมทั้งกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานหรือผู้ปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงินของที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์นั้น เผยแพร่หรือเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือผู้ออกหลักทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏข้อมูลดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวน และข้อมูลนั้นอาจมีผลต่อการตัดสินใจจองซื้อหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนหรือต่อการคาดการณ์เกี่ยวกับราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย และหากการเผยแพร่ข้อมูลกระทําโดยการแจกจ่ายเอกสารหรือจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ที่ปรึกษาทางการเงินต้องดูแลให้เอกสารหรือการชี้แจงข้อมูลดังกล่าวมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวน และต้องแจกจ่ายพร้อมกับแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ (ในกรณีทั่วไป) (ข) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงวันที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินสามารถจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบตามจํานวนที่มีหน้าที่ส่งมอบหรือส่งคืน (ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ข้อ ๒๐ ภายในช่วงระยะเวลาที่กําหนดในวรรคสอง ในกรณีที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์หรือบริษัทในกลุ่ม ประสงค์จะเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยที่ได้จัดทําขึ้นโดยหรือในนามของตนเองหรือของบริษัทในกลุ่ม อันเป็นบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ตนรับเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาทางการเงินและบริษัทในกลุ่ม ต้องถือปฏิบัติภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บทความหรืองานวิจัยดังกล่าวต้องจัดทําโดยสายงานการทําวิจัยที่จัดทําเป็นปกติอยู่แล้ว และเป็นสายงานอิสระที่แยกต่างหากจากสายงานที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อย่างชัดเจน (2) จัดทําบทความหรืองานวิจัยบนพื้นฐานข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน เว้นแต่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ (3) จัดทําบทความหรืองานวิจัยด้วยความระมัดระวัง และรักษาความเป็นกลางในการให้ความเห็นเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงกระทํา (4) เปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในฐานะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือส่วนได้เสียในลักษณะอื่นในหลักทรัพย์นั้นให้ชัดเจนในบทความหรืองานวิจัยดังกล่าว และในกรณีที่เป็นการเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยก่อนวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ ต้องมีคําเตือนให้ผู้ลงทุนอ่านรายละเอียดในหนังสือชี้ชวนก่อนตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ โดยตัวอักษรของข้อความต้องมีความคมชัดอ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการจัดทําบทความหรืองานวิจัยนั้น (5) จัดส่งสําเนาบทความหรืองานวิจัยดังกล่าวต่อสํานักงาน จํานวนหนึ่งชุดภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้เผยแพร่บทความหรืองานวิจัยต่อสาธารณชน การเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยที่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ได้แก่การเผยแพร่ในระหว่างช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือ ชี้ชวนจนถึงสามสิบวันหลังจากวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ (ในกรณีที่หลักทรัพย์นี้มิใช่หลักทรัพย์ตามวรรคสอง (2) หรือ (3)) (2) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงสามสิบวันหลังจากวันแรกที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์ที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ได้ยื่นขอจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือเป็นหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรก) (3) ตั้งแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนจนถึงสามสิบวันหลังจากวันที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินสามารถจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบตามจํานวนที่มีหน้าที่ส่งมอบหรือส่งคืน (ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน) ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลาของที่ปรึกษาทางการเงิน มีการจัดทําบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งโดยมิได้เผยแพร่ในนามของที่ปรึกษาทางการเงิน บุคคลดังกล่าวต้องมิใช่บุคคลในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน โดยที่ปรึกษาทางการเงินต้องดูแลให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติตามความในข้อนี้ด้วย โดยอนุโลม ความในข้อนี้มิได้มีผลเป็นการยกเว้นหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงินในการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งใช้บังคับเมื่อที่ปรึกษาทางการเงินได้รับเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วย ข้อ ๒๑ เพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน ให้ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ร่วมกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ชี้แจงเป็นหนังสือต่อสํานักงานและต่อประชาชนโดยไม่ชักช้า เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (1) ผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจริง แตกต่างจากประมาณการงบการเงินอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะความแตกต่างที่เกินร้อยละยี่สิบห้าของตัวเลขตามประมาณการในเรื่องรายได้ หรือกําไรสุทธิที่เกิดจากการดําเนินงานตามปกติ (2) กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ออกหลักทรัพย์ได้กระทําการที่เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงการดําเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงธุรกิจหลักของผู้ออกหลักทรัพย์ เป็นต้น (3) มีการใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น มีการยกเลิก เลื่อนกําหนดเวลา หรือเปลี่ยนแปลงโครงการลงทุนในอนาคต เป็นต้น (4) ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ หรือกรรมการหรือผู้บริหารของบุคคลดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามความในมาตรา 81 หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สํานักงานกําหนดในการอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และหนังสือชี้ชวน ที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง (2) (3) หรือ (4) เฉพาะในกรณีที่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งปีนับจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (2) สามปีนับจากวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวมีสัญญาผูกพันอยู่กับบริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในกิจการต่างประเทศ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามระยะเวลาดังกล่าว ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ปรึกษาทางการเงินในระหว่างระยะเวลาตามวรรคสอง ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับที่ปรึกษาทางการเงินรายใหม่ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนที่ปรึกษาทางการเงินรายเดิมตลอดระยะเวลาที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนด้วย ข้อ 21/1[4](#_ftn1) นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 19 ข้อ 20 และข้อ 21 ให้ที่ปรึกษาทางการเงิน ในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในกิจการต่างประเทศ ซึ่งมีสัญญาผูกพันอยู่กับบริษัทดังกล่าวในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 21 วรรคสอง (2) และวรรคสาม ติดตามดูแลและให้คําแนะนําผู้ออกหลักทรัพย์ในการปฏิบัติหน้าที่ภายหลังการออกและเสนอขายหลักทรัพย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในเรื่องดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่ผูกพัน นั้นด้วย (1) การจัดทําและส่งแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี และสารสนเทศอื่นที่สําคัญของบริษัทต่างประเทศ (2) การปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือรายการสําคัญอื่นใดของบริษัท (3) การรายงานต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามมาตรา 57 หรือเมื่อสํานักงานมีคําสั่งตามมาตรา 58 ความในวรรคหนึ่ง (2) มิให้นํามาใช้บังคับกับที่ปรึกษาทางการเงินของผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งอยู่ระหว่างได้รับการผ่อนผันไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน หรือรายการสําคัญอื่นใดของบริษัท [4](#_ftnref1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 5/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขต การดําเนินงาน (ฉบับที่ 5) ลงวันวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) ข้อ ๒๒ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระ ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่มีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว รับหรือทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงซึ่งให้สิทธิชําระคืนต้นเงินหรือผลตอบแทนเป็นหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่หลักทรัพย์ที่ออกโดยผู้ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนั้น ในกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งมีรายละเอียดตามภาคผนวกท้ายประกาศ ให้ถือว่าที่ปรึกษาทางการเงินมีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (1) ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ถือหุ้นในผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (2) ที่ปรึกษาทางการเงินมีผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์เป็นผู้ถือหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม (3) ที่ปรึกษาทางการเงินมีกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน หรือพนักงาน ซึ่งรับผิดชอบ ดูแล หรือปฏิบัติงานในสายงานที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกับกรรมการของผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ (4) ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียอื่นใดกับผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะที่อาจทําให้ที่ปรึกษาทางการเงินขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ การพิจารณากรณีตามวรรคสอง ให้พิจารณารวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ตามรายละเอียดในภาคผนวกท้ายประกาศ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหรือเสนอขาย หลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ ให้ใช้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สิน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์” ตามวรรคสองและวรรคสาม ข้อ 22/1 การพิจารณากรณีตามข้อ 22 วรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มิให้นํากรณีดังต่อไปนี้มาพิจารณา (ก) การถือหุ้น การส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้เสียที่เป็นการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ หรือของส่วนราชการ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ข) การถือหุ้น การส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้เสียของรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่มิใช่บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (2) การคํานวณอัตราการถือหุ้นให้เป็นไปตามวิธีการตามภาคผนวกท้ายประกาศ โดยให้นับรวมจํานวนหุ้นที่จะเกิดจากการใช้สิทธิของหุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ รวมทั้งหุ้นที่เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับส่งมอบในการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และหุ้นอ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงด้วย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีตามข้อ 22 วรรคสอง (1) และ (2) ส่วนที่ 1/1 ที่ปรึกษาทางการเงินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22/2 ให้นําความในข้อ 22 และข้อ 22/1 มาใช้บังคับกับที่ปรึกษาทางการเงินในการขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือการขออนุมัติเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการอนุโลมใช้หลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สิน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์” ส่วน ๒ ที่ปรึกษาทางการเงินในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๓ ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) จัดทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์และเอกสารอื่นตามที่สํานักงานกําหนดร่วมกับผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ (2) ศึกษาข้อมูลของผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่เข้าใจ และดําเนินการจนเชื่อมั่นว่า ข้อมูลในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่มีข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อที่ยังมิได้เปิดเผย และถ้อยคําที่ใช้มีความกระชับรัดกุมและไม่มีลักษณะที่อาจทําให้ผู้ใช้ข้อมูลสําคัญผิด (3) ประเมินมูลค่าสิ่งตอบแทนที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์จ่ายไปเพื่อการได้หลักทรัพย์มาในระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่สํานักงานรับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ในกรณีที่สิ่งตอบแทนนั้นมิใช่ตัวเงิน (4) ประเมินมูลค่าสิ่งตอบแทนอื่นที่มิใช่ตัวเงินในกรณีที่ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์มีสิ่งตอบแทนอื่นที่มิใช่ตัวเงิน (5) ให้ความเห็นต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อว่าผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์จะสามารถทําตามข้อเสนอและนโยบายและแผนงานในอนาคตที่ระบุไว้ในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้หรือไม่ และนโยบายและแผนงานดังกล่าวได้จัดทําขึ้นอย่างสมเหตุสมผลแล้วหรือไม่ อย่างไร โดยการให้ความเห็นดังกล่าวผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องใช้ข้อมูลของผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์อย่างน้อยดังต่อไปนี้มาประกอบการพิจารณา (ก) รายได้ ฐานะการเงิน และวัตถุประสงค์ของการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (ข) ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์ ประวัติการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงําที่ผ่านมา และประวัติการดําเนินกิจการภายหลังจากที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้เข้าครอบงําแล้ว (ค) ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ถึงสมมติฐานและเหตุผลประกอบสมมติฐานในการจัดทํานโยบายและแผนงานในอนาคตของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ (6) ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องไม่ร่วมกับผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ในการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นตัวแทนของบุคคลอื่นในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ (7) กระทําการใด ๆ เพื่อให้ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทราบถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๔ ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ในการให้ความเห็นต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อเกี่ยวกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ในกรณีทั่วไป (ก) จัดทําความเห็นเกี่ยวกับคําเสนอซื้อหลักทรัพย์และเอกสารอื่นตามที่สํานักงานกําหนด (ข) วิเคราะห์และประเมินฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกิจการเพื่อนําไปใช้ประกอบการให้ความเห็นต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อว่าสมควรตอบรับหรือปฏิเสธคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลกระทบที่จะมีต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบด้วย ทั้งนี้ ที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นต้องทําการวิเคราะห์และการประเมินดังกล่าวอย่างเพียงพอ ไม่ทําให้ผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อสําคัญผิด และจะต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อดังกล่าวเป็นสําคัญ (2) ในการให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นของกิจการ เมื่อมีการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ก) จัดทําความเห็นต่อผู้ถือหุ้นเพื่อประกอบการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อสํานักงาน (ข) สอบถามผู้ขอผ่อนผันถึงสมมติฐานและเหตุผลประกอบสมมติฐาน ในการจัดทํานโยบายและแผนงานในอนาคตของผู้ขอผ่อนผันจนเข้าใจ และให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นว่า นโยบายและแผนงานดังกล่าวได้จัดทําขึ้นอย่างสมเหตุสมผลและมีความเป็นไปได้เพียงใด (ค) วิเคราะห์และประเมินผลกระทบของการผ่อนผันดังกล่าวต่อสิทธิและประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ตลอดจนดําเนินการจนเชื่อมั่นได้ว่า ไม่มีข้อมูลสําคัญอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนที่ยังไม่ได้เปิดเผยไว้ในแบบหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้ความเห็นชอบให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ใหม่โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ข้อ ๒๕ ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานทําหน้าที่ เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตามข้อ 24 หรือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของผู้ขอผ่อนผัน ในกรณีที่ที่ปรึกษา ทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการ ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือผู้ขอผ่อนผัน ในลักษณะเดียวกับข้อ 22 และข้อ 22/1 โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ใช้คําว่า “กิจการ” “ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” หรือ “ผู้ขอผ่อนผัน” แทนคําว่า “ผู้ออกหรือเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ 25/1 ในกรณีเป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นที่เป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินที่ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นอาจเป็นบุคคลเดียวกับที่ปรึกษาทางการเงินในการจัดทําแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้น หรือที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ได้ โดยไม่เป็นการต้องห้ามตามข้อ 25 ประกอบกับ ข้อ 22 วรรคสอง (4) (1) ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยบริษัทจดทะเบียน ทั้งนี้ บริษัทลงทุนดังกล่าวต้องเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ไม่มีการประกอบธุรกิจหลักของตนเอง แต่มีวัตถุประสงค์หรือสินทรัพย์หลักเป็นการถือหุ้นในบริษัทอื่น (2) เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเพิกถอนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ (3) มีการกําหนดเงื่อนไขให้ต้องยกเลิกคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หากจํานวนหุ้นที่มีผู้แสดงเจตนาขายมีจํานวนน้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน โดยได้มีการระบุเงื่อนไขดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง “การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้น” หมายความว่า การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนโดยการชําระค่าซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดด้วยหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนไปพร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้น [8](#_ftnref1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 59/2562 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขต การดําเนินงาน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) [1](#_ftnref2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 41/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขต การดําเนินงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553) หมวด ๓ การดํารงลักษณะของที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน และมาตรการบังคับ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๖ สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามสมควรแก่กรณี เมื่อมีเหตุดังต่อไปนี้ (1) ที่ปรึกษาทางการเงินไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 (2) ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 (3) ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดใน หมวด 2 อย่างไม่เหมาะสม ด้วยความบกพร่อง หรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในประกาศนี้ ในกรณีที่เกิดเหตุตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) สํานักงานอาจสั่งให้ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานมาชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง สั่งให้ดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายในระยะเวลาที่กําหนด และสั่งให้กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยก่อนการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบด้วยก็ได้ ในกรณีที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน สํานักงานจะถอนรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานออกจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานด้วย ทั้งนี้ ในกรณีเป็นการสั่งพักการให้ความเห็นชอบ สํานักงานจะถอนรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่สั่งพักการให้ความเห็นชอบนั้น เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน สํานักงานอาจเปิดเผย การดําเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต่อบุคคลใด ๆ ตามอํานาจที่กําหนดไว้ในมาตรา 24/1 ข้อ 26/1 ในกรณีที่ข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุในการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26 วรรคหนึ่ง มีลักษณะไม่ร้ายแรง สํานักงานอาจไม่ยกกรณีดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุในการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการของสํานักงานตามข้อ 26 สํานักงานจะพิจารณาตามปัจจัยที่กําหนดไว้ในข้อ 8 หรือข้อ 14 โดยอนุโลม และจะนําประวัติการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดในหมวด 2 อย่างไม่เหมาะสม ด้วยความบกพร่อง หรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ย้อนหลังในช่วงสิบปีมาประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่สํานักงานกําหนดระยะเวลาการสั่งพักการให้ความเห็นชอบอันเป็นผลให้ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อีกตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่ยังเหลืออยู่ หรือในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เนื่องจากที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5(3) (4) (ก) (ข) หรือ (ค) (5) (ก) หรือ (ค) หรือข้อ 11(1) ประกอบข้อ 5(5) (ก) หรือ (ค) แล้วแต่กรณี หรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดในหมวด 2 อย่างไม่เหมาะสม ด้วยความบกพร่อง หรือไม่ครบถ้วน หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลรายนั้นในครั้งต่อไปไว้ด้วยก็ได้ โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่งแล้ว หากที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานนั้นประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบใหม่ สํานักงานจะไม่นําเหตุที่ทําให้สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบอีก ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ได้มีการยื่นและสํานักงานได้รับแบบคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน หรือแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ หรือได้มีการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในกรณีอื่นใดนอกจากกรณีข้างต้น ก่อนวันที่ที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมจัดทําแบบดังกล่าวหรือที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินนั้น หรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบงานในกรณีดังกล่าว ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26 หรือก่อนวันสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบตามกําหนดระยะเวลา ในข้อ 9 วรรคหนึ่ง หรือข้อ 15 ของที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายนั้น แล้วแต่กรณี หรือก่อนการแจ้งผลการพิจารณาตามข้อ 9 วรรคสอง ในลักษณะที่ไม่ให้ความเห็นชอบ หรือก่อนแจ้งปฏิเสธการแสดงรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานหรือแจ้งให้รอผลการพิจารณาตามข้อ 13(2) หรือ (3) หากที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานดังกล่าวประสงค์ที่จะปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือรับผิดชอบงานในกรณีดังกล่าวต่อไปจนเสร็จสิ้น ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานนั้นจะต้องยื่นคําขออนุญาตเพื่อขอปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยสํานักงานจะอนุญาตก็ต่อเมื่อการถูกสั่งพักหรือเพิกถอนดังกล่าวมิได้เกิดจาก (1) ความผิดที่เกิดจากความไม่ซื่อสัตย์ การไม่มีจริยธรรม การไม่มีความรับผิดชอบต่อสาธารณชน หรือขาดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ (2) ในกรณีของที่ปรึกษาทางการเงิน การมีสายงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินไม่ชัดเจน ที่สํานักงานเห็นว่ามีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินต่อไป ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กําหนดในหมวด 2 ต่อไปด้วย หากมิได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่กําหนดในหมวด 2 สํานักงานจะสั่งยกเลิกการอนุญาตเมื่อใดก็ได้ และอาจขยายระยะเวลาหรือแก้ไขเงื่อนไข การสั่งพักการให้ความเห็นชอบตามข้อ 26 หรือการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลรายนั้นในคราวต่อไปตามข้อ 7 วรรคสอง ข้อ 13 วรรคสอง หรือข้อ 27 วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี ด้วยก็ได้ ข้อ ๒๙ เมื่อที่ปรึกษาทางการเงินมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบุคคลที่ดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ให้ที่ปรึกษาทางการเงินแจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมนั้น โดยใช้แบบ FA-3 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบดังกล่าวและตามแนวทางที่สํานักงานจัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๓๐ หากที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานรายใดไม่สามารถดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 หรือมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่เป็นไปตามข้อ 5(3) (4) (5) หรือ (6) หรือข้อ 11 หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานได้ตามความในหมวด 2 ที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานรายนั้นต้องแจ้งให้สํานักงานทราบ พร้อมแสดงเหตุที่ทําให้ไม่สามารถดํารงลักษณะหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวรวมทั้งมาตรการแก้ไขภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงลักษณะหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่นั้นได้ ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินรายใดประสงค์จะระงับการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินตามประกาศนี้ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นแจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานล่วงหน้าหรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ระงับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงรายการของงานที่ยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ (ถ้ามี) และการดําเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจมีต่อลูกค้าดังกล่าว เมื่อที่ปรึกษาทางการเงินตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับมาปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ทางการเงินต่อไปตามระยะเวลาการได้รับความเห็นชอบที่เหลืออยู่ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงาน โดยแสดงรายละเอียดการแก้ไขเหตุแห่งการระงับการปฏิบัติหน้าที่เป็น ที่ปรึกษาทางการเงิน และข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของที่ปรึกษาทางการเงินเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญจากข้อมูลที่เคยยื่นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ หากสํานักงานไม่แจ้งทักท้วงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งการได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ให้ที่ปรึกษาทางการเงินรายนั้นปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินได้ตั้งแต่วันที่พ้นระยะเวลาทักท้วงดังกล่าวเป็นต้นไป หมวด ๔ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ที่ อจ. 4/2543 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศนี้ต่อไป ตามระยะเวลาการให้ความเห็นชอบซึ่งกําหนดไว้ในประกาศดังกล่าว ข้อ ๓๓ ให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่อยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่อยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อผู้ควบคุมการปฏิบัติงานตามประกาศนี้ต่อไป ตามระยะเวลาการให้ความเห็นชอบซึ่งกําหนดไว้ในประกาศดังกล่าว ข้อ ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ให้ข้อมูลดังต่อไปนี้ที่สํานักงานพิจารณาดําเนินการภายใต้ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน ที่ อจ. 4/2543 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงมีผลอยู่ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามประกาศฉบับดังกล่าว (1) ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงานที่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพัก สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ หรือกําหนดระยะเวลาที่จะไม่รับพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน (2) บุคคลที่อยู่ระหว่างระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดว่า ที่ปรึกษาทางการเงินรายใหม่ที่ประสงค์จะยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน หรือที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ไม่อาจแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทางการเงินได้ ข้อ ๓๕ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตาม ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดําเนินงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
864
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2564 เรื่อง พฤติการณ์อันควรสงสัยซึ่งผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ต้องแจ้งตามมาตรา 89/25 และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าว
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 48/2564 เรื่อง พฤติการณ์อันควรสงสัยซึ่งผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ต้องแจ้ง ตามมาตรา 89/25 และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง เกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าว \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 89/25 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ พฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทได้กระทําความผิดตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 89/25 ซึ่งผู้สอบบัญชีต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทนั้น รวมทั้งวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าว ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
865
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 57/2564 เรื่อง การลดทุนของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 57/2564 เรื่อง การลดทุนของบริษัทหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 98(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ลดทุนโดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน นั้น คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศ เรื่อง การลดทุนของบริษัทหลักทรัพย์ ที่ อธ. 6/2541 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (2) ประกาศ เรื่อง การลดทุนของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ที่ อธ. 12/2541 ลงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ อธ. 27/2544 เรื่อง การลดทุนของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะลดทุนจดทะเบียน หากการลดทุนจดทะเบียนมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ และบริษัทหลักทรัพย์ได้จัดส่งสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้ลดทุต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนให้ลดทุนแล้ว (1) ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของผู้ถือหุ้น (2) ไม่ทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินเปลี่ยนแปลงไป (3) ไม่ขัดต่อบทบัญญัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่ง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
866
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2561 เรื่อง การจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทำแผน และผู้บริหารแผน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2561 เรื่อง การจัดทํารายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทําแผน และผู้บริหารแผน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 49/2560 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศนี้และในแบบที่กําหนดตามประกาศนี้ “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่มีข้อกําหนดและเงื่อนไขในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ให้แปลงสภาพการชําระหนี้เป็นการส่งมอบหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนได้ (2) ให้สิทธิผู้ถือหลักทรัพย์ที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน (3) ให้สิทธิที่จะได้รับผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาหรือผลตอบแทนของหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีข้อกําหนดให้คู่สัญญาได้รับผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาหรือผลตอบแทนของหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน (2) เป็นสัญญาที่จัดให้มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ และบุคคลต่อไปนี้ (1) กรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดให้มีการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสูงสุดของแต่ละสายงานนับต่อจากผู้จัดการลงมาของบริษัท (2) กรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทอื่นนอกจากบริษัทตาม (1) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นที่ได้รับการจดทะเบียนให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ว่าเป็นบริษัทไทยหรือบริษัทต่างประเทศ แต่ไม่รวมถึงบริษัทต่างประเทศที่เข้าลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศเป็นตลาดหลักทรัพย์หลักหรือเป็นหน่วยงานกํากับดูแลหลัก (home regulator) (2) ตลาดหลักทรัพย์หลักหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลักของประเทศนั้นมีหลักเกณฑ์ในทํานองเดียวกันกับหลักเกณฑ์ของไทยที่กําหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัท ตลอดจนผู้ทําแผน ผู้บริหารแผน หรือผู้มีลักษณะในทํานองเดียวกัน ในกรณีบริษัทอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ “บริษัทไทย” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย “บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ หมวด ๑ บุคคลที่มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือ หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามหมวด 2 (1) หุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชี (2) หลักทรัพย์แปลงสภาพที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชี (3) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชี ข้อ ๔ นอกจากการมีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วนของตนเองแล้ว ให้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในลักษณะเดียวกับที่กําหนดในข้อ 3 ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับตนเองดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามหมวด 2 (1) คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา (2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (3) นิติบุคคลซึ่งตนเอง บุคคลตาม (1) และบุคคลตาม (2) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 30 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลดังกล่าว และการถือหุ้นรวมกันดังกล่าวเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในนิติบุคคลนั้น ข้อ ๕ ให้นําความในข้อ 3 และข้อ 4 มาใช้บังคับกับผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทําแผน ผู้บริหารแผน และผู้บริหารแผนชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย โดยอนุโลม และในกรณีที่ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทําแผน ผู้บริหารแผน และผู้บริหารแผนชั่วคราว เป็นนิติบุคคล ให้นําความในข้อดังกล่าวมาใช้บังคับกับกรรมการและผู้บริหารของนิติบุคคลนั้น โดยอนุโลม ด้วยเช่นกัน หมวด ๒ กรณียกเว้นที่ไม่ต้องรายงาน ข้อ ๖ การเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเนื่องจากกรณีดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (1) การได้หลักทรัพย์ตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถืออยู่ (2) การได้หลักทรัพย์จากการจ่ายหุ้นปันผลของบริษัทจดทะเบียน (3) การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ (4) การได้หลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามาโดยทางมรดก (5) การได้หลักทรัพย์จากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากการเป็นกรรมการหรือพนักงานของบริษัท (Employee Stock Option Plan) โดยการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวกระทําได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศไทย หรือตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างประเทศที่ใช้บังคับกับบริษัทจดทะเบียน (6) การได้หุ้นจากการเข้าร่วมโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) ที่ได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนมีหนังสือรับรองต่อสํานักงานว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และ (ข) บริษัทจดทะเบียนได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (7) การเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์อันเนื่องมาจากธุรกรรมการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ที่กระทํากับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่บุคคลตามข้อ 3 ข้อ 4(1) (2) หรือ (3) หรือข้อ 5 เป็นผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ ต้องมีข้อกําหนดในสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิในการเรียกคืนหลักทรัพย์ที่ให้ยืมได้ตลอดอายุของสัญญา (ข) กรณีที่บุคคลตามข้อ 3 ข้อ 4(1) (2) หรือ (3) หรือข้อ 5 เป็นผู้ยืมหลักทรัพย์ ต้องส่งมอบหลักทรัพย์ที่ได้จากการยืมภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ยืมหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบเพื่อการขายชอร์ตหรือการให้ยืมต่อในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ค) กรณีที่บุคคลตามข้อ 3 ข้อ 4(1) (2) หรือ (3) หรือข้อ 5 เป็นผู้ยืมหลักทรัพย์ ต้องส่งมอบหลักทรัพย์คืนภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการส่งคืน (8) การวางหลักประกันหรือรับหลักประกันโดยการโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้รับหลักประกัน ทั้งนี้ เฉพาะสําหรับธุรกรรมการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (7) ในกรณีที่มีการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (7) หรือ (8) ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในข้อ 12 ข้อ ๗ โครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) ตามข้อ 6(6) ต้องไม่มีลักษณะที่เอื้อให้กรรมการหรือผู้บริหารสามารถแทรกแซงการตัดสินใจในการลงทุนได้ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียน และในกรณีที่มีการให้สิทธิแก่ผู้เข้าร่วมโครงการในฐานะกรรมการของบริษัท โครงการดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับค่าตอบแทนกรรมการ ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด (2) มีข้อกําหนดให้กรรมการหรือผู้บริหารต้องนําส่งเงินสะสมเข้าโครงการเป็นงวดคงที่สม่ําเสมอตามจํานวนหรือสัดส่วนที่กําหนดในโครงการ เพื่อลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ตนเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร (3) มีข้อกําหนดให้ผู้ดําเนินการตามโครงการต้องซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเป็นรายงวด และในวันที่กําหนดแน่นอนซึ่งระบุไว้ในโครงการ โดยการซื้อหุ้นดังกล่าวต้องกระทําในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ แล้วแต่กรณี (4) มีการแยกบัญชีหลักทรัพย์ที่ได้มาตามโครงการดังกล่าวออกจากบัญชีหลักทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุนส่วนตัวของกรรมการหรือผู้บริหาร หมวด ๓ วิธีและระยะเวลาในการรายงาน ข้อ ๘ ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เมื่อมีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นการโอนหรือรับโอนซึ่งกระทํากับผู้รับฝากหลักทรัพย์ (custodian) ที่ถือครองหลักทรัพย์แทนบุคคลดังกล่าว ข้อ ๙ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 8 จัดทํารายงานตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ และส่งต่อสํานักงานภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีผู้มีหน้าที่รายงานเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) บริษัทจดทะเบียนแจ้งรายชื่อกรรมการและผู้บริหารเพื่อนําเข้าสู่ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามวิธีการที่สํานักงานกําหนดในประกาศสํานักงานว่าด้วยแบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ข) ผู้มีหน้าที่รายงานซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก่อนวันที่มีชื่อแสดงในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตาม (ก) (2) ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ข้อ ๑๐ ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 ส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ส่งผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๑๑ นอกจากการรายงานเมื่อมีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 8 แล้ว ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 ส่งรายงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 9 และข้อ 10 ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ให้สิทธิที่จะได้รับชําระเงินที่คํานวณได้จากราคาของหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนจนครบอายุของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้น ข้อ ๑๒ การรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ในกรณีที่มีการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามหมวดนี้ โดยให้ถือว่าวันที่มีการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ เป็นวันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน แล้วแต่กรณี หมวด ๔ การสิ้นสุดหน้าที่การรายงาน ข้อ ๑๓ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 ย่อมสิ้นสุดหน้าที่การจัดทําและส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสํานักงาน เมื่อหลักทรัพย์ทุกประเภทของบริษัทที่บุคคลดังกล่าวดํารงตําแหน่ง มีการเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๔ ในกรณีสํานักงานได้รับคําขอความเห็นชอบโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) ไว้แล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้กรรมการหรือผู้บริหาร ที่ได้หุ้นจากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๕ ให้กรรมการหรือผู้บริหารที่ได้หุ้นจากการเข้าร่วมโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศดังต่อไปนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 14/2540 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
867
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 38/2561 เรื่อง การจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทำแผน และผู้บริหารแผน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2561 เรื่อง การจัดทํารายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทําแผน และผู้บริหารแผน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 49/2560เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศนี้และในแบบที่กําหนดตามประกาศนี้ “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่มีข้อกําหนดและเงื่อนไขในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ให้แปลงสภาพการชําระหนี้เป็นการส่งมอบหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนได้ (2) ให้สิทธิผู้ถือหลักทรัพย์ที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน (3) ให้สิทธิที่จะได้รับผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาหรือผลตอบแทนของหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีข้อกําหนดให้คู่สัญญาได้รับผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาหรือผลตอบแทนของหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน (2) เป็นสัญญาที่จัดให้มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นที่ได้รับการจดทะเบียนให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ว่าเป็นบริษัทไทยหรือบริษัทต่างประเทศ แต่ไม่รวมถึงบริษัทต่างประเทศที่เข้าลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานทางการในต่างประเทศเป็นตลาดหลักทรัพย์หลัก หรือเป็นหน่วยงานกํากับดูแลหลัก (home regulator) (2) ตลาดหลักทรัพย์หลักหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลักของประเทศนั้นมีหลักเกณฑ์ในทํานองเดียวกันกับหลักเกณฑ์ของไทยที่กําหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัท ตลอดจนผู้ทําแผน ผู้บริหารแผน หรือผู้มีลักษณะในทํานองเดียวกัน ในกรณีบริษัทอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ “บริษัทไทย” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย “บริษัทต่างประเทศ” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “การขายชอร์ต” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ หมวด ๑ บุคคลที่มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือ หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ มีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์แลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามหมวด 2 (1) หุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชี (2) หลักทรัพย์แปลงสภาพที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชี (3) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีปัจจัยอ้างอิงเป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชี ข้อ ๔ นอกจากการมีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วนของตนเองแล้ว ให้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในลักษณะเดียวกับที่กําหนดในข้อ 3 ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับตนเองดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามหมวด 2 (1) คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา (2) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (3) นิติบุคคลซึ่งตนเอง บุคคลตาม (1) และบุคคลตาม (2) ถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละ 30 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลดังกล่าว และการถือหุ้นรวมกันดังกล่าวเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในนิติบุคคลนั้น ข้อ ๕ ให้นําความในข้อ 3 และข้อ 4 มาใช้บังคับกับผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทําแผน ผู้บริหารแผน และผู้บริหารแผนชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย โดยอนุโลม และในกรณีที่ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทําแผน ผู้บริหารแผน และผู้บริหารแผนชั่วคราว เป็นนิติบุคคล ให้นําความในข้อดังกล่าวมาใช้บังคับกับกรรมการและผู้บริหารของนิติบุคคลนั้น โดยอนุโลม ด้วยเช่นกัน หมวด ๒ กรณียกเว้นที่ไม่ต้องรายงาน ข้อ ๖ การเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเนื่องจากกรณีดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (1) การได้หลักทรัพย์ตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถืออยู่ (2) การได้หลักทรัพย์จากการจ่ายหุ้นปันผลของบริษัทจดทะเบียน (3) การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ (4) การได้หลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามาโดยทางมรดก (5) การได้หลักทรัพย์จากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เนื่องจากการเป็นกรรมการหรือพนักงานของบริษัท (Employee Stock Option Plan) โดยการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวกระทําได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศไทย หรือตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างประเทศที่ใช้บังคับกับบริษัทจดทะเบียน (6) การได้หุ้นจากการเข้าร่วมโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) โดยคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียน มีหนังสือรับรองต่อสํานักงานว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 และบริษัทจดทะเบียน ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (7) การเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์อันเนื่องมาจากธุรกรรมการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ที่กระทํากับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และเข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่บุคคลตามข้อ 3 ข้อ 4(1) (2) หรือ (3) หรือข้อ 5 เป็นผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ ต้องมีข้อกําหนดในสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิในการเรียกคืนหลักทรัพย์ที่ให้ยืมได้ตลอดอายุของสัญญา (ข) กรณีที่บุคคลตามข้อ 3 ข้อ 4(1) (2) หรือ (3) หรือข้อ 5 เป็นผู้ยืมหลักทรัพย์ ต้องส่งมอบหลักทรัพย์ที่ได้จากการยืมภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ยืมหลักทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบเพื่อการขายชอร์ตหรือการให้ยืมต่อในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ค) กรณีที่บุคคลตามข้อ 3 ข้อ 4(1) (2) หรือ (3) หรือข้อ 5 เป็นผู้ยืมหลักทรัพย์ ต้องส่งมอบหลักทรัพย์คืนภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการส่งคืน (8) การวางหลักประกันหรือรับหลักประกันโดยการโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกันให้แก่ผู้รับหลักประกัน ทั้งนี้ เฉพาะสําหรับธุรกรรมการยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน (7) ในกรณีที่มีการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (7) หรือ (8) ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในข้อ 12 ข้อ ๗ โครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) ตามข้อ 6(6) ต้องไม่มีลักษณะที่เอื้อให้กรรมการหรือผู้บริหารสามารถแทรกแซงการตัดสินใจในการลงทุนได้ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียน และในกรณีที่มีการให้สิทธิแก่ผู้เข้าร่วมโครงการในฐานะกรรมการของบริษัท โครงการดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับค่าตอบแทนกรรมการทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด (2) มีข้อกําหนดให้กรรมการหรือผู้บริหารต้องนําส่งเงินสะสมเข้าโครงการเป็นงวดคงที่สม่ําเสมอตามจํานวนหรือสัดส่วนที่กําหนดในโครงการ เพื่อลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ตนเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร (3) มีข้อกําหนดให้ผู้ดําเนินการตามโครงการต้องซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเป็นรายงวด และในวันที่กําหนดแน่นอนซึ่งระบุไว้ในโครงการ โดยการซื้อหุ้นดังกล่าวต้องกระทําในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ แล้วแต่กรณี (4) มีการแยกบัญชีหลักทรัพย์ที่ได้มาตามโครงการดังกล่าวออกจากบัญชีหลักทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุนส่วนตัวของกรรมการหรือผู้บริหาร หมวด ๓ วิธีและระยะเวลาในการรายงาน ข้อ ๘ ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เมื่อมีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นการโอนหรือรับโอนซึ่งกระทํากับผู้รับฝากหลักทรัพย์ (custodian) ที่ถือครองหลักทรัพย์แทนบุคคลดังกล่าว ข้อ ๙ ให้ผู้มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 8 จัดทํารายงานตามแบบที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ และส่งต่อสํานักงานภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีผู้มีหน้าที่รายงานเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) บริษัทจดทะเบียนแจ้งรายชื่อกรรมการและผู้บริหารเพื่อนําเข้าสู่ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามวิธีการที่สํานักงานกําหนดในประกาศสํานักงานว่าด้วยแบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ข) ผู้มีหน้าที่รายงานซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ก่อนวันที่มีชื่อแสดงในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตาม (ก) (2) ภายใน 3 วันทําการนับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีอื่นนอกจาก (1) ข้อ ๑๐ ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 ส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยให้ส่งผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด เว้นแต่ เป็นการส่งรายงานต่อสํานักงานภายในระยะเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 อาจจัดทําและส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดได้ ข้อ ๑๑ นอกจากการรายงานเมื่อมีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 8 แล้ว ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 ส่งรายงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 9 และข้อ 10 ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวถือใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ให้สิทธิที่จะได้รับชําระเงินที่คํานวณได้จากราคาของหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนจนครบอายุของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์นั้น ข้อ ๑๒ การรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ในกรณีที่มีการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามหมวดนี้ โดยให้ถือว่าวันที่มีการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบหลักทรัพย์ เป็นวันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ที่ให้ยืมหรือหลักทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน แล้วแต่กรณี หมวด ๔ การสิ้นสุดหน้าที่การรายงาน ข้อ ๑๓ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 ย่อมสิ้นสุดหน้าที่การจัดทําและส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสํานักงาน เมื่อหลักทรัพย์ทุกประเภทของบริษัทที่บุคคลดังกล่าวดํารงตําแหน่ง มีการเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๔ ในกรณีสํานักงานได้รับคําขอความเห็นชอบโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) ไว้แล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้การขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และให้กรรมการหรือผู้บริหาร ที่ได้หุ้นจากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๕ ให้กรรมการหรือผู้บริหารที่ได้หุ้นจากการเข้าร่วมโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศดังต่อไปนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 14/2540 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดทําและเปิดเผยรายงาน การถือหลักทรัพย์ (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
868
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 61/2564 เรื่อง การจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทำแผน และผู้บริหารแผน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2564 เรื่อง การจัดทํารายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทําแผน และผู้บริหารแผน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2561 เรื่อง การจัดทํารายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทําแผน และผู้บริหารแผน ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) การได้หุ้นจากการเข้าร่วมโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) ที่ได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนมีหนังสือรับรองต่อสํานักงานว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และ (ข) บริษัทจดทะเบียนได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2561 เรื่อง การจัดทํารายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทําแผน และผู้บริหารแผน ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และบุคคลตามข้อ 5 ส่งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ส่งผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
869
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 74/2564 เรื่อง การจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทำแผน และผู้บริหารแผน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 74/2564 เรื่อง การจัดทํารายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทําแผน และผู้บริหารแผน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้บริหาร” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2561 เรื่อง การจัดทํารายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ผู้ทําแผน และผู้บริหารแผน ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้บทนิยามดังต่อไปนี้แทน ““ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ และบุคคลต่อไปนี้ (1) กรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดให้มีการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสูงสุดของแต่ละสายงานนับต่อจากผู้จัดการลงมาของบริษัท (2) กรณีบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทอื่นนอกจากบริษัทตาม (1) ได้แก่ ผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
870
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 36/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 36/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ หลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัย มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 13 วรรคสอง (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 สํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2538 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 41/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 32/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ข้อ ๒ ในประกาศนี้และในแบบท้ายประกาศนี้ (1) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ ที่กิจการเป็นผู้ออก เพื่อให้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง (2) “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (3) “ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (4) “บุคคลที่เกี่ยวโยง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้บริหารของกิจการ (ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของกิจการ (ค) ผู้มีอํานาจควบคุมของกิจการ (ง) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร พี่ น้องลุง ป้า น้า อา รวมทั้งคู่สมรสและบุตรของบุคคลดังกล่าว (จ) นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้น หรือมีอํานาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสําคัญ (5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย (6) “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นในกิจการเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ทั้งนี้ การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยบุคคลตามมาตรา 258 ด้วย (7) “ผู้มีอํานาจควบคุม” หมายความว่า ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลอื่นซึ่งโดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบาย การจัดการ หรือการดําเนินงานของกิจการอย่างมีนัยสําคัญ ไม่ว่าอิทธิพลดังกล่าวจะสืบเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือได้รับมอบอํานาจตามสัญญา หรือการอื่นใดก็ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบุคคลที่เข้าลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ (ก) บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ (ข) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของกิจการนั้นได้ (ค) บุคคลที่ตามพฤติการณ์สามารถควบคุมผู้ซึ่งรับผิดชอบในการกําหนดนโยบายการจัดการหรือการดําเนินงานของกิจการให้ปฏิบัติตามคําสั่งของตนในการกําหนดนโยบาย การจัดการหรือการดําเนินงานของกิจการ (ง) บุคคลที่ตามพฤติการณ์มีการดําเนินงานในกิจการหรือมีความรับผิดชอบในการดําเนินงานของกิจการเยี่ยงผู้บริหาร รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าวของกิจการนั้น (8) “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (9) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ บุคคลใดประสงค์จะได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นหรือหลักทรัพย์แปลงสภาพของกิจการใด อันจะเป็นผลให้เมื่อมีการได้มาซึ่งหุ้นนั้นแล้วหรือเมื่อมีการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้นแล้ว จะทําให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545 บุคคลนั้นอาจยื่นคําขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการก็ได้ คําขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อสํานักงานก่อนการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ดังกล่าว พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด และจะได้รับการผ่อนผันภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติให้ออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน และยินยอมให้ผู้ขอผ่อนผันไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการภายหลังการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าว โดย (ก) ในกรณีที่จํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้ขอผ่อนผันประสงค์จะได้มา จะไม่เป็นผลให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงจนถึงหรือข้ามร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ข) ในกรณีที่จํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้ขอผ่อนผันประสงค์จะได้มา จะเป็นผลให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงจนถึงหรือข้ามร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และไม่มีผู้ถือหุ้นซึ่งมีสิทธิออกเสียงรวมกันตั้งแต่ร้อยละห้าของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมคัดค้านการขอผ่อนผัน และ 1. หลักทรัพย์ที่ผู้ขอผ่อนผันประสงค์จะได้มาต้องเป็นหลักทรัพย์ซึ่งเหลือจากการเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามส่วนจํานวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ก่อนแล้ว และเสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน โดยมีราคาเสนอขาย รวมทั้งข้อกําหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ที่ไม่ดีไปกว่าที่กิจการเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม 2. มติดังกล่าวต้องได้รับจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมครั้งเดียวกันกับที่ได้มีมติให้ออกหลักทรัพย์ใหม่ดังกล่าวเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามส่วนจํานวนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ก่อน และ 3. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งดังกล่าวได้กําหนดจํานวนสิทธิออกเสียงสูงสุดที่ยินยอมให้ผู้ขอผ่อนผันได้มาโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (2) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีรายละเอียดเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 5และการประชุมผู้ถือหุ้นได้จัดให้มีขึ้นภายในระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการของกิจการมีมติให้ออกหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน (3) ผู้ขอผ่อนผันและบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผันต้องไม่มีการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ของกิจการนั้นในระหว่างระยะเวลาตั้งแต่วันที่คณะกรรมการของกิจการมีมติให้ออกหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน จนถึงวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติให้ออกหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน เว้นแต่เป็นการได้มาโดยทางมรดก หรือเป็นการได้มาตามส่วนเนื่องจากการเป็นผู้ถือหุ้น (4) ในกรณีที่ราคาหุ้นหรือราคาใช้สิทธิแปลงสภาพของหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ผู้ขอผ่อนผันจะได้มา เข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ การนัดประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ซึ่งเกี่ยวกับวาระดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศฉบับดังกล่าวด้วย ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้ขอผ่อนผันตามข้อ 3 เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับกิจการ นอกจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 แล้ว การผ่อนผันจะอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ผู้ขอผ่อนผันได้มีการเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดเจนในหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ตามแบบ 247-7 ท้ายประกาศนี้ (ก) ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขอผ่อนผันกับกิจการในฐานะบุคคลที่เกี่ยวโยงกับกิจการ เช่น เป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของกิจการ (ข) ระบุจํานวนหุ้นของกิจการที่ถืออยู่แล้วโดยผู้ขอผ่อนผัน และบุคคลตามมาตรา 258 แต่ละรายของผู้ขอผ่อนผัน (ถ้ามี) (2) มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 3 วรรคสอง (1) ได้มาโดยมิได้นับรวมการออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผัน และเพื่อประโยชน์ในการนี้ มิให้นับสิทธิออกเสียงลงคะแนนของบุคคลดังกล่าวรวมอยู่ในจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนสําหรับวาระนั้น ข้อ ๕ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอผ่อนผันสามารถได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดเจน (1) ชื่อผู้ขอผ่อนผันซึ่งประสงค์จะขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (2) จํานวนคะแนนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในวาระนั้น เช่น ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ขอผ่อนผัน และจํานวนคะแนนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่การออกเสียงลงคะแนนไม่สามารถนับรวมในวาระดังกล่าวได้ภายใต้บังคับของประกาศนี้ เช่น บุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผัน ในกรณีที่ผู้ขอผ่อนผันเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับกิจการ (3) วิธีการกําหนดราคาหลักทรัพย์ที่จะเสนอขาย และเหตุผลในการกําหนดราคาดังกล่าวว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทหรือไม่อย่างไร (4) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ถ้าเป็นกรณีตามข้อ 3 วรรคสอง (1) (ข) (5) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) เหตุผลและความจําเป็นในการเพิ่มทุนของบริษัท (ข) เหตุผลในการออกหลักทรัพย์เสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน ในกรณีดังต่อไปนี้ ความเห็นต่อนโยบายและแผนการบริหารกิจการที่เสนอโดยผู้ขอผ่อนผัน 1. ราคาหุ้นหรือราคาใช้สิทธิแปลงสภาพของหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ผู้ขอผ่อนผันจะได้มา เข้าข่ายเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ําตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือ 2. ผู้ขอผ่อนผันเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับกิจการ (ค) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขอผ่อนผันกับกิจการ ผู้บริหาร ผู้มีอํานาจควบคุม หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของกิจการ และข้อตกลงที่มีนัยสําคัญระหว่างกัน (ง) ประโยชน์หรือผลกระทบจากนโยบายหรือแผนการบริหารกิจการของผู้ขอผ่อนผัน รวมทั้งความเป็นไปได้ของนโยบายหรือแผนการบริหารกิจการดังกล่าว (จ) ความเห็นที่เสนอต่อผู้ถือหุ้นว่าควรหรือไม่ควรอนุมัติให้ผู้ขอผ่อนผันได้หลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ พร้อมทั้งเหตุผลในการให้ความเห็นดังกล่าว (6) ความเห็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นที่กิจการแต่งตั้งจากบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาทางการเงินที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ความเห็นต่อนโยบายและแผนการบริหารกิจการที่เสนอโดยผู้ขอผ่อนผัน (ข) สิทธิออกเสียงทั้งหมดที่ผู้ขอผ่อนผันจะมีภายหลังการได้มาซึ่งหลักทรัพย์และที่จะสามารถได้มาเพิ่มเติมในอนาคตโดยไม่เกิดหน้าที่ในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (ค) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ อย่างน้อยในเรื่องสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและกําไรต่อหุ้น (ง) ความเหมาะสมของราคาหลักทรัพย์ออกใหม่ที่กิจการจะเสนอขายให้แก่ผู้ขอผ่อนผัน (จ) ความครบถ้วนถูกต้องของรายชื่อและจํานวนหุ้นที่ถือโดยบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผัน ผู้ขอผ่อนผันต้องดําเนินการให้กิจการแนบหนังสือมอบฉันทะและรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการอิสระของกิจการอย่างน้อยหนึ่งรายที่ผู้ถือหุ้นซึ่งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมและใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้เป็นผู้ใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นได้ ไปพร้อมกับการส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ข้อ ๖ ในการขอผ่อนผัน ผู้ขอผ่อนผันต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ส่งหนังสือขอผ่อนผันพร้อมกับแนบสําเนาหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (แบบ 247-7) และสําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นให้แก่สํานักงาน และ (2) จัดให้มีการส่งหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (แบบ 247-7)ไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ เมื่อพ้นเจ็ดวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารตาม (1) เว้นแต่สํานักงานจะแจ้งเป็นอย่างอื่น (ก) ผู้ถือหุ้น โดยต้องส่งให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าอย่างน้อยสิบสี่วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น (ข) ตลาดหลักทรัพย์ เมื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (2) แล้ว ให้ผู้ขอผ่อนผันส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดโดยทันที ทั้งนี้ ข้อมูลที่ผู้ขอผ่อนผันยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง ข้อ ๗ เมื่อกรณีครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 และที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติอนุมัติตามคําขอของผู้ขอผ่อนผันแล้ว ให้ถือว่าผู้ขอผ่อนผันได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ของกิจการในสัดส่วนที่ไม่เกินกว่าที่ได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ การผ่อนผันของสํานักงานตามวรรคหนึ่งให้มีผลในวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัตินั้น ในการนี้ ให้ผู้ขอผ่อนผันแจ้งมติดังกล่าวพร้อมกับแนบสําเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับการมีมติอนุมัตินั้น ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติ ทั้งนี้ หนังสือแจ้งมติดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงในวาระดังกล่าว (2) จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในวาระดังกล่าว และผู้ถือหุ้นที่การออกเสียงลงคะแนนไม่สามารถนับรวมในวาระดังกล่าวได้ภายใต้บังคับของประกาศนี้ (3) คํารับรองของผู้ขอผ่อนผันว่ามติอนุมัติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๘ ในระหว่างระยะเวลาตั้งแต่วันที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 7 จนถึงวันที่ผู้ได้รับการผ่อนผันชําระราคาหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่กิจการ หากผู้ได้รับการผ่อนผันหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลดังกล่าว ได้มาซึ่งหุ้นของกิจการโดยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้รับการผ่อนผัน ให้การผ่อนผันของสํานักงานมีผลเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ถ้าจํานวนที่ได้มาโดยวิธีการอื่นนั้นไม่เป็นผลให้ผู้ได้รับการผ่อนผันมีการถือหุ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กจ. 53/2545 ให้ลดสัดส่วนหุ้นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานลงเหลือเพียงสัดส่วนที่เมื่อรวมกับหุ้นที่ได้มานอกเหนือจากที่ได้รับการผ่อนผันแล้วจะไม่เกินสัดส่วนที่ได้รับการผ่อนผัน หรือ (2) ถ้าจํานวนที่ได้มาโดยวิธีการอื่นนั้นเป็นผลให้ผู้ได้รับการผ่อนผันมีการถือหุ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545 ให้การผ่อนผันที่ได้รับจากสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่เวลานั้น และในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้ได้รับการผ่อนผันปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545 ต่อไป ข้อ ๙ ในระหว่างระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติตามข้อ 3 หากผู้ได้รับการผ่อนผันหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลดังกล่าว เปลี่ยนแปลงนโยบายหรือแผนการบริหารกิจการอย่างมีนัยสําคัญจากที่ได้เสนอไว้ในหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ให้การผ่อนผันที่ได้รับจากสํานักงานเป็นอันสิ้นสุดลง และให้ผู้ได้รับการผ่อนผันตามประกาศนี้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 53/2545 ต่อไป ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
871
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สก. 6/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 6/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อ หลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัย มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 วรรคสอง (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 29/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในประกาศนี้และในแบบที่กําหนดตามประกาศนี้ “จุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์” หมายความว่า การถือหุ้นในจํานวนที่กําหนดให้ผู้ถือหุ้นมีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ “บุคคลที่กระทําการร่วมกัน” (concert party) หมายความว่า บุคคลที่กระทําการ โดยมีเจตนาร่วมกันในการใช้สิทธิออกเสียงของตนและบุคคลอื่นไปในทางเดียวกัน หรือให้บุคคลอื่นใช้สิทธิออกเสียงของตนเพื่อควบคุมสิทธิออกเสียงหรือควบคุมกิจการร่วมกัน และบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์หรือมีพฤติกรรมร่วมกับบุคคลอื่น ในลักษณะตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยกําหนดลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทําร่วมกับบุคคลอื่น และการปฏิบัติการตามมาตรา 246 และมาตรา 247 ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ก่อนหมวด 1 หลักเกณฑ์การผ่อนผัน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 29/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 4/1 การยื่นหรือส่งคําขอหรือข้อมูลตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการดําเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) กรณีเป็นคําขอหรือข้อมูลที่ยื่นหรือส่งต่อสํานักงาน ให้เริ่มดําเนินการได้ตั้งแต่วันที่สํานักงานกําหนดเป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้สํานักงานแจ้งให้ทราบถึงกรณีดังกล่าวเป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงาน เมื่อผู้มีหน้าที่ยื่นหรือส่งคําขอหรือข้อมูลได้ดําเนินการยื่นหรือส่งคําขอหรือข้อมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้ถือว่าสํานักงานได้รับคําขอหรือข้อมูลดังกล่าว ตามวันและเวลาที่เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ดําเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ หากผู้รับข้อมูลได้แจ้งความประสงค์หรือยินยอมให้ส่งรายงานหรือข้อมูลดังกล่าวด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 29/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ผู้ที่ประสงค์จะขอผ่อนผันต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ ก่อนที่กิจการจะส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายให้แก่บุคคลดังกล่าว และยินยอมให้บุคคลนั้นไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการภายหลังการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (1) ยื่นคําขอสอบทานข้อมูลในร่างหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและร่างหนังสือขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการต่อสํานักงาน ตามแบบ 247-7 ที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) ดําเนินการให้กิจการจัดส่งข้อมูลดังนี้ ซึ่งมีการรับรองความถูกต้องโดยผู้มีอํานาจลงนามผูกพันกิจการ พร้อมกับการยื่นคําขอสอบทานข้อมูลตาม (1) ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ การรับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ก) ร่างหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และหลักฐานที่แสดงว่าร่างหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นมีรายการตามที่กําหนดในข้อ 5(3) (ข) สําเนารายงานการประชุมคณะกรรมการและข้อมูลประกอบการประชุมคณะกรรมการในวาระที่เกี่ยวกับการเสนอให้ออกหลักทรัพย์ใหม่เสนอขายให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะขอผ่อนผันโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (3) จัดส่งข้อมูลอื่นตามที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชนต่อสํานักงาน ในกรณีที่สํานักงานมีข้อสังเกตจากการสอบทานข้อมูลตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะแจ้งข้อสังเกตดังกล่าวภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคําขอสอบทานข้อมูลพร้อมทั้งข้อมูลและหลักฐานตามที่กําหนดถูกต้องครบถ้วน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 29/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “นอกจากการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้แก่ผู้ถือหุ้นแล้ว ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอผ่อนผันดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1) ส่งข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานไม่ช้ากว่าวันที่ส่งให้ผู้ถือหุ้น (2) ดําเนินการให้กิจการแจ้งการเผยแพร่ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติดังกล่าว ข้อมูลที่ส่งและเปิดเผยตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 29/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ภายหลังจากที่ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามข้อ 5(2) หรือข้อ 6(1) แล้วแต่กรณี ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการยื่นคําขอผ่อนผันพร้อมทั้งข้อมูลดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นที่มาของการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ในครั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อนการเสนอขาย ให้ยื่นคําขอผ่อนผันพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าว (ถ้ามี) (1) หนังสือแจ้งมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่เห็นชอบให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของกิจการให้แก่ผู้ขอผ่อนผันโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ทั้งนี้ หนังสือแจ้งมติดังกล่าวต้องมีรายละเอียดตามที่กําหนดในข้อ 11 (2) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และข้อมูลที่แสดงว่าหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวมีรายการตามที่กําหนดในข้อ 5(3) (3) สําเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับการมีมติตาม (1) (4) ข้อมูลอื่นตามที่กําหนดเพิ่มเติมในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) ต้องลงนามรับรองความถูกต้องโดยผู้มีอํานาจลงนามผูกพันกิจการ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 29/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 ให้ผู้ยื่นคําขอผ่อนผันตามข้อ 10 ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานเมื่อคําขอผ่อนผันและหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ” ข้อ ๗ ให้ผู้ขอผ่อนผันหรือผู้ที่ประสงค์จะขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการที่ได้ยื่นเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลต่อสํานักงานไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงอยู่ภายใต้บังคับของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 29/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ รวมทั้งแนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวต่อไป ข้อ ๘ ให้ยกเลิกแบบ 247-7 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สก. 29/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
872
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 66/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้แก่ลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 66/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้ แก่ลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) และ (8) มาตรา 114 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตราสารหนี้” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หรือหุ้นกู้ ที่ออกในประเทศไทย ไม่ว่าเป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินตราต่างประเทศ และมีศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เป็นผู้ให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์ดังกล่าว รวมทั้งบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการหักบัญชี “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง” (ultimate beneficial owner) หมายความว่า (1) ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือรับผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการถือครองหรือลงทุนในตราสารหนี้ (2) ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศที่มีอํานาจในทางตรงหรือทางอ้อมในการตัดสินใจทําธุรกรรมเพื่อถือครองหรือลงทุนในตราสารหนี้ และให้หมายความรวมถึงกองทรัพย์สินที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทรัสต์ หรือกองทุนอื่น ๆ ซึ่งมีสิทธิในการถือครองหรือลงทุนในตราสารหนี้ด้วย “ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ” หมายความว่า (1) บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลําเนาในประเทศอื่นนอกประเทศไทยเฉพาะที่มีการถือครองหรือลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทรัพย์สินที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนส่วนบุคคล (2) นิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่นนอกประเทศไทย และให้หมายรวมถึงสาขาหรือสํานักงานตัวแทนที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยด้วย (3) บุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เช่น สโมสรที่จัดตั้งในต่างประเทศที่ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่จัดตั้งขึ้น เป็นต้น “ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลําเนาในประเทศไทยและนิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย “นิติบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย” หมายความว่า (1) นิติบุคคลที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และให้หมายรวมถึงสาขาหรือสํานักงานตัวแทน ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยของนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศด้วย (2) ห้างหุ้นส่วน หรือกิจการร่วมค้า ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย “ผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ” (global custodian) หมายความว่า สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งในต่างประเทศ ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินทั่วไป รวมถึงการรับมอบหรือส่งมอบหลักทรัพย์ การรับหรือการจ่ายเงินค่าหลักทรัพย์ การรับเงินปันผล หรือการรับหรือส่งมอบผลประโยชน์อันเกิดจากหลักทรัพย์นั้น ๆ “ตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง” (international broker) หมายความว่า สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งทําหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ และมีการฝากหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้กับบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ “วันทําการ” หมายความว่า วันทําการของสํานักงาน “วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ช่องทางในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้สําหรับการแจ้งหรือขอผ่อนผันตามประกาศนี้ ข้อ ๒ ในการให้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้เพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศอื่นด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการรับดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์(custodian service) และการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ค้าหลักทรัพย์ หรือผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (1) ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (2) ผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ (3) ตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (4) บุคคลซึ่งมาใช้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้เพื่อบุคคลตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ในการให้บริการดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ ข้อ ๓ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากบริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะสามารถระบุตัวตนของลูกค้าและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ก่อนเริ่มให้บริการเกี่ยวกับการรับดูแลและเก็บรักษาตราสารหนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เปิดบัญชีการให้บริการสําหรับลูกค้าแต่ละราย (segregated account) ที่มาใช้บริการ เพื่อให้สามารถระบุตัวตนของลูกค้าและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงได้ ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังนี้ (ก) เปิดตามรายผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (ข) เปิดตามรายผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศ หรือตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เพื่อผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (ค) เปิดบัญชีย่อย (sub account) ตามรายผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงภายใต้บัญชีของผู้รับฝากทรัพย์สินในต่างประเทศหรือตัวแทนการฝากทรัพย์สินของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (2) เปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์เพื่อการฝากตราสารหนี้ของลูกค้าไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ในลักษณะเดียวกับการเปิดบัญชีตาม (1) เพื่อให้สามารถระบุตัวตนของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงได้ (3) จัดให้ลูกค้าแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง และนําข้อมูลดังกล่าวไปลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปิดบัญชีตาม (1) และ (2) ให้กับลูกค้ารายเดิมโดยมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงเพิ่มเติม ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งข้อมูลเพื่อลงทะเบียนแสดงตัวตนของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงดังกล่าวกับธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย (4) แจ้งผลการลงทะเบียนตาม (3) ให้ลูกค้าทราบ ในกรณีที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กําหนดวิธีการอื่นใดที่สามารถระบุตัวตนของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงได้แทนวิธีการเปิดบัญชีตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) และบริษัทหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าว ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ได้มีการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) แล้ว ข้อ ๕ ในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือจัดจําหน่าย ตราสารหนี้แก่ลูกค้า ให้บริษัทหลักทรัพย์ตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าก่อนทําธุรกรรมเพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการดําเนินการตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (3) เรียบร้อยแล้ว ข้อ ๖ ในการรับมอบหรือส่งมอบตราสารหนี้แก่ลูกค้า ให้บริษัทหลักทรัพย์ตรวจสอบบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่ใช้ในการรับมอบหรือส่งมอบตราสารหนี้สําหรับลูกค้าก่อนดําเนินการ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่ได้ดําเนินการตามข้อ 4 เรียบร้อยแล้ว ข้อ ๗ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์รับมอบหรือส่งมอบตราสารหนี้แก่ลูกค้าผ่านบัญชีฝากหลักทรัพย์ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4 เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 8 ข้อ ๘ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้บริษัทหลักทรัพย์รับมอบหรือส่งมอบตราสารหนี้แก่ลูกค้าผ่านบัญชีฝากหลักทรัพย์ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4 ได้ เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ครบถ้วนแล้ว (1) แจ้งเหตุผลและความจําเป็นที่ไม่สามารถดําเนินการได้ต่อสํานักงานในโอกาสแรกภายในวันที่พบเหตุ ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (2) รับมอบหรือส่งมอบตราสารหนี้แก่ลูกค้าผ่านบัญชีฝากหลักทรัพย์อื่นซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ได้เปิดไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์อยู่ก่อนแล้ว จนกว่าจะดําเนินการตาม (3) แล้วเสร็จ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินกว่า 10 วันทําการนับแต่วันที่พบเหตุในครั้งแรก (3) ดําเนินการให้เป็นไปตามข้อ 4 รวมทั้งโอนตราสารหนี้ซึ่งรับมอบหรือส่งมอบตาม (2) ไปยังบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่พบเหตุในครั้งแรก และแจ้งผลการดําเนินการต่อสํานักงานภายในวันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (1) และ (3) ไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยตามแบบและวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนด เพื่อทราบพร้อมกันด้วย ข้อ ๙ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร อันเป็นเหตุให้บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้สําหรับการให้บริการตราสารหนี้ในบางลักษณะได้ให้สํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุนมีอํานาจผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ให้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ยื่นคําขอผ่อนผันตามความจําเป็นและเหมาะสมในแต่ละกรณี โดยอาจกําหนดเงื่อนไขในการผ่อนผันให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ สํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่งภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอผ่อนผันพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๑๐ ในการแจ้งหรือขอผ่อนผันกับสํานักงานตามประกาศนี้ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การแจ้งหรือขอผ่อนผันโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งในแต่ละกรณี ให้เริ่มดําเนินการได้ตั้งแต่วันที่สํานักงานกําหนดเป็นต้นไป โดยให้สํานักงานแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงกรณีดังกล่าวเป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงานด้วย เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้ถือว่าสํานักงานได้รับการแจ้งหรือขอผ่อนผันดังกล่าวตามวันและเวลาที่เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ข้อ ๑๑ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการตามข้อ 4 แก่ลูกค้าซึ่งใช้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ พร้อมทั้งโอนย้ายตราสารหนี้ของลูกค้าดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ในบัญชีตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565 ข้อ ๑๒ ให้บริษัทหลักทรัพย์เริ่มดําเนินการตามข้อ 4 แก่ลูกค้ารายใหม่ที่มาใช้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด โดยต้องดําเนินการให้ครบถ้วนก่อนวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565 ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
873
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 15/2552 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2552 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไข ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหา นระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 23/2541 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 21/2542 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (2) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) “กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (4) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (5) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (6) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม (7) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (8) “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี แล้วแต่กรณี (9) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ข้อ ๓ ให้บริษัทจัดการแสดงรายละเอียดของโครงการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการ (2) ชื่อ ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของโครงการ (3) จํานวนเงินทุนของโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ จํานวน ประเภทและราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขาย รวมทั้งจํานวนเงินจองซื้อขั้นต่ํา (4) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (5) ข้อจํากัดการลงทุนของกองทุนรวม (6) ทรัพย์สินที่กองทุนรวมจะลงทุน (7) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (8) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน (9) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ รวมทั้งเงื่อนไขการเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ (10) ชื่อผู้สอบบัญชี และนายทะเบียนหน่วยลงทุน (11) อัตราและวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดที่จะเรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม (12) วิธีการจําหน่ายหน่วยลงทุน การรับชําระเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน วิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน (13) วิธีการเพิ่มเงินทุนและลดเงินทุนของกองทุนรวม (14) การออกและการส่งมอบใบหน่วยลงทุนหรือหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการออกให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เงื่อนไขและวิธีการโอนหน่วยลงทุน รวมทั้งข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน (15) วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม (16) การจัดทํารายงานของกองทุนรวม (17) วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (18) การเลิกโครงการ (19) วิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมเมื่อเลิกโครงการ และวิธีการเฉลี่ยคืนเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (20) รายละเอียดอื่นที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๔ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ให้บริษัทจัดการแสดงรายละเอียดของโครงการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) หน่วยลงทุนแต่ละชนิด และสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ถ้ามี) (2) หลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนรวม (3) การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) (4) การแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุนของกองทุนรวม (ถ้ามี) (5) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (6) การคํานวณและกําหนดเวลาในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (7) การเรียกชําระเงินทุนเพิ่ม ข้อ ๕ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2541 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2541 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ: เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ดังนั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2541 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
874
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 26/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 26/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไข ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (17/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2552 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 “(17/1) การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดให้บริษัทจัดการอื่นเข้าจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงเงินกองทุน” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2552 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 “ข้อ 4/1 บริษัทจัดการอาจแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ โดยให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
875
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 9/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 9/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไข ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (19/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2552 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 “(19/1) ภูมิลําเนาในประเทศไทยเพื่อการวางทรัพย์ สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ถ้ามี)” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
876
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 15/2552 รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2552 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไข ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหา ในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิเรียกร้อง (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัด สิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัย อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2541 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหา ในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 21/2542 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหา ในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2542 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 ข้อ 2 ในประกาศนี้ (1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหา ในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (2) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินตามประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (3) “กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (4) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (5) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (6) “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวม (7) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (8) “ผู้สอบบัญชี” หมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี แล้วแต่กรณี (9) “นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ข้อ 3 ให้บริษัทจัดการแสดงรายละเอียดของโครงการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการ (2) ชื่อ ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของโครงการ (3) จํานวนเงินทุนของโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ จํานวน ประเภทและราคาของ หน่วยลงทุนที่เสนอขาย รวมทั้งจํานวนเงินจองซื้อขั้นต่ํา (4) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (5) ข้อจํากัดการลงทุนของกองทุนรวม (6) ทรัพย์สินที่กองทุนรวมจะลงทุน (7) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (8) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุน (9) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ รวมทั้งเงื่อนไขการเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ (10) ชื่อผู้สอบบัญชี และนายทะเบียนหน่วยลงทุน (11) อัตราและวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดที่จะเรียกเก็บจาก ผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม (12) วิธีการจําหน่ายหน่วยลงทุน การรับชําระเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน วิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน (13) วิธีการเพิ่มเงินทุนและลดเงินทุนของกองทุนรวม (14) การออกและการส่งมอบใบหน่วยลงทุนหรือหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการออกให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เงื่อนไขและวิธีการโอนหน่วยลงทุน รวมทั้งข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน (15) วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม (16) การจัดทํารายงานของกองทุนรวม (17) วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (17/1)( การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดให้บริษัทจัดการอื่นเข้าจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงเงินกองทุน (18) การเลิกโครงการ (19) วิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมเมื่อเลิกโครงการ และวิธีการเฉลี่ยคืนเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (19/1)( ภูมิลําเนาในประเทศไทยเพื่อการวางทรัพย์ สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ถ้ามี) (20) รายละเอียดอื่นที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ 4 ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ให้บริษัทจัดการแสดงรายละเอียดของโครงการดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) หน่วยลงทุนแต่ละชนิด และสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในหน่วยลงทุน แต่ละชนิด (ถ้ามี) (2) หลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนรวม (3) การจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) (4) การแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุนของกองทุนรวม (ถ้ามี) (5) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ และผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (6) การคํานวณและกําหนดเวลาในการคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (7) การเรียกชําระเงินทุนเพิ่ม ข้อ 4/1( บริษัทจัดการอาจแก้ไขเพิ่มเติมโครงการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ โดยให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว ข้อ 5 ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2541 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 6 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 23/2541 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบ สถาบันการเงิน ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 1/2544 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------SEC Classification : ใช้ภายใน (Internal) SEC Classification : ใช้ภายใน (Internal)
877
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 46/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 3 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 46/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 3 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจาก ทรัสตีให้ทําหน้าที่ดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่น คําขอความเห็นชอบและระยะเวลาการพิจารณาคําขอความเห็นชอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นสํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้ผู้ยื่นคําขอความเห็นชอบชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบหรือคําขอเพื่อต่ออายุการให้ความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี เมื่อคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในหนึ่งร้อยวัน นับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
878
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีให้ทําหน้าที่ดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานจึงออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นของนิติบุคคลใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา และผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการกองทรัสต์ (2) กรรมการ ผู้บริหาร บุคคลที่มีอํานาจในการจัดการ หรือบุคลากรของผู้จัดการกองทรัสต์ (3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้จัดการกองทรัสต์ (4) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นบุคคลเดียวกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้จัดการกองทรัสต์ “บุคคลที่มีอํานาจในการจัดการ” หมายความว่า รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย ผู้จัดการสาขา และให้หมายความถึงผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการดูแลจัดการกองทรัสต์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 1 (2) หน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ภายหลังได้รับความเห็นชอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 (3) การสิ้นสุดของการให้ความเห็นชอบรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และบทบังคับอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 3 (4) ปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาสั่งการของสํานักงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 4 หมวด ๑ การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ การยื่นคําขอความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม และเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวแล้ว หรือ (2) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มิใช่บุคคลตาม (1) ข้อ ๕ ให้บุคคลตามข้อ 4 ที่ประสงค์จะเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบท้ายประกาศนี้ และเอกสารหรือหลักฐานแสดงว่าผู้ขอความเห็นชอบมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ โดยในกรณีที่เป็นบุคคลตามข้อ 4(2) ให้ยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ด้วย (1) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (2) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทที่ออกโดยกระทรวงพาณิชย์ (3) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (4) งบการเงินประจํางวดปีบัญชีล่าสุดก่อนยื่นคําขอ (ถ้ามี) ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว หรืองบการเงินของปีที่ยื่นคําขอจนถึงไตรมาสล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๖ ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขอเพื่อต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้บุคคลที่ประสงค์จะต่ออายุดังกล่าวยื่นคําขอตามแบบท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอต่ออายุมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ โดยให้ยื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง ข้อ ๗ ให้ผู้ยื่นคําขอความเห็นชอบชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบ หรือคําขอเพื่อต่ออายุการให้ความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ พร้อมกับการยื่นคําขอดังกล่าว ข้อ ๘ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจง ดําเนินการ หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะยื่นขอความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๙ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เป็นการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ หากสํานักงานไม่แจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์รายนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าสํานักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา ส่วน ๒ ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์และระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ต้องแสดงได้ว่าจะสามารถรับมอบหมายจากทรัสตีให้ดูแลจัดการกองทรัสต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ขออนุญาตมีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ประสบปัญหาทางการเงิน มีข้อบกพร่องหรือความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (2) มีโครงสร้างการถือหุ้นที่สามารถสะท้อนอํานาจในการควบคุมและส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นได้อย่างชัดเจน (3) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ โดยอย่างน้อยต้องมีระบบงานตามรายการที่กําหนดในข้อ 21 (4) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการดูแลจัดการทรัพย์สินของกองทรัสต์และมีบุคลากรอีกไม่น้อยกว่าสองราย ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านบริหารจัดการลงทุนหรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์รวมกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีภายในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอ (5) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการกองทรัสต์ภายหลังได้รับความเห็นชอบที่กําหนดตามหมวด 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ ข้อ ๑๒ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ที่มิใช่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 4(1) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท (2) มีวัตถุประสงค์ที่จะประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เป็นธุรกิจหลักทั้งนี้ ในกรณีที่มีการประกอบธุรกิจอื่น ต้องแสดงได้ว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ตลอดจนไม่มีความเสี่ยงต่อฐานะของบริษัท เว้นแต่สามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และระบบในการควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ (3) มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดของผู้ขอความเห็นชอบ โดยกรรมการอิสระดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม (4) กรรมการ ผู้จัดการ และบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน โดยอนุโลม (5) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ การให้ความเห็นชอบผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทรัสต์มีกําหนดระยะเวลาคราวละห้าปี หมวด ๒ หน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ภายหลังได้รับความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความในหมวดนี้ “อสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ได้มาหรือจะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๑๕ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ ข้อ ๑๖ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อสํานักงานร้องขอ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการหรือไม่ดําเนินการใด ๆ ตามที่ร้องขอนั้น ข้อ ๑๗ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 1 ตลอดระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบ ข้อ ๑๘ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจหรือการปฏิบัติงานของตนในฐานะเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ตลอดจนการปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของตน ตลอดระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ข้อ ๑๙ ผู้จัดการกองทรัสต์จะถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ตนเป็นผู้บริหารจัดการได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และ (2) ร้อยละห้าสิบของหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ในกรณีที่กองทรัสต์มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ การคํานวณจํานวนหลักทรัพย์ของผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมหน่วยทรัสต์ที่ถือโดยกลุ่มบุคคลเดียวกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย ข้อ ๒๐ เมื่อมีการขอมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ถือหน่วยทรัสต์ต้องใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในลักษณะที่เชื่อว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม ข้อ ๒๑ เพื่อให้การดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีระบบงานที่มีคุณภาพและสามารถรองรับงานในความรับผิดชอบได้อย่างครบถ้วน โดยอย่างน้อยต้องมีระบบงานดังต่อไปนี้ (1) ระบบการกํากับดูแล บริหาร และจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของกองทรัสต์ เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองทรัสต์และผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม (2) ระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างกองทรัสต์ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ซึ่งรวมถึงการจัดโครงสร้างองค์กร และแนวทางดําเนินการเพื่อรักษาประโยชน์ที่ดีที่สุดของกองทรัสต์หรือผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม เมื่อเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ขึ้น (3) ระบบในการติดตามดูแลให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทรัสต์ เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ และปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทรัสต์ (4) ระบบรองรับการเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ให้เป็นไปตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (5) ระบบปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน (back office) (6) ระบบการควบคุมภายใน และการดําเนินงานเกี่ยวกับข้อร้องเรียนและข้อพิพาท การจัดให้มีระบบงานตามวรรคหนึ่ง ผู้ขอความเห็นชอบต้องจัดให้มีด้วยตนเอง เว้นแต่ระบบงานตาม (5) อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นดําเนินการแทนได้ ข้อ ๒๒ ในการดําเนินธุรกิจเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการดําเนินธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต โดยต้องปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย สัญญาก่อตั้งทรัสต์ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทรัสต์ และมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ (2) มีเงินทุนที่เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจและความรับผิดชอบอันอาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ได้อย่างต่อเนื่อง (3) เปิดเผย ให้ความเห็น หรือให้ข้อมูลที่มีความสําคัญและเกี่ยวข้องอย่างเพียงพอในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจน ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด (4) ไม่นําข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการกองทรัสต์ไปใช้ประโยชน์อย่างไม่เหมาะสมเพื่อตนเอง หรือทําให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบต่อผลประโยชน์โดยรวมของกองทรัสต์ (5) ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และในกรณีที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเหมาะสม (6) ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทรัสต์ ตลอดจนจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ โดยอนุโลม และไม่สนับสนุน สั่งการ หรือให้ความร่วมมือแก่บุคคลใดในการปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อกําหนดดังกล่าว (7) ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของทรัสตี หรือสํานักงาน ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการกองทรัสต์อย่างมีนัยสําคัญ หรือข้อมูลอื่นที่ควรแจ้งให้ทราบ ข้อ ๒๓ ในการทําธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจําหน่าย จ่าย โอนอสังหาริมทรัพย์ หรือการเข้าทําสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกองทรัสต์เป็นไปอย่างถูกต้องและมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (2) ดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยอย่างน้อยต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) การประเมินความพร้อมของตนเองในการบริหารการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ก่อนรับเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ หรือก่อนลงทุนเพิ่มเติมในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเพื่อกองทรัสต์ แล้วแต่กรณี (ข) การวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ และการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจาก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้วย ทั้งนี้ ความเสี่ยงดังกล่าว ให้หมายความรวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหรือก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) เช่น ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการก่อสร้างล่าช้า และการไม่สามารถจัดหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ได้ เป็นต้น ข้อ ๒๔ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อ ๒๕ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์รายเดิมต้องดําเนินการและให้ความร่วมมือตามที่จําเป็น เพื่อให้การส่งมอบงานแก่บุคคลที่จะเข้ามาปฏิบัติแทนตนเองสําเร็จลุล่วงไป ข้อ ๒๖ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการให้ที่ปรึกษาแจ้งการมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา (2) มิให้ที่ปรึกษาผู้ที่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น ข้อ ๒๗ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดทํางบการเงินของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และส่งงบการเงินดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี งบการเงินที่จัดทําตามวรรคหนึ่งต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หมวด ๓ การสิ้นสุดของการให้ความเห็นชอบรายชื่อผู้มีคุณสมบัติ เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และบทบังคับอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๘ การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์จะสิ้นสุดลงเมื่อ (1) ผู้จัดการกองทรัสต์ได้แจ้งต่อสํานักงานเป็นหนังสือถึงความประสงค์ที่จะยุติการปฏิบัติงานเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และสํานักงานอนุญาตแล้ว (2) สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือสั่งพักการให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ (3) กรณีการให้ความเห็นชอบสิ้นอายุ และบุคคลดังกล่าวไม่ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์แจ้งต่อสํานักงานเป็นหนังสือ พร้อมแสดงเหตุผลและแนวทางการแก้ไขภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่นั้น ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้จัดการกองทรัสต์มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 สํานักงานอาจสั่งให้ผู้จัดการกองทรัสต์ดังกล่าวแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรืออาจดําเนินการตามข้อ 31 ก็ได้ ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้จัดการกองทรัสต์มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 30 หรือปฏิบัติตามคําสั่งแต่ไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามข้อ 30 สํานักงานอาจดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) สั่งจํากัดการประกอบธุรกิจ (2) สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลาหรือตามเงื่อนไขที่กําหนด (3) สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ (4) กําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลนั้นในคราวต่อไป โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินสิบปี สําหรับเหตุในแต่ละกรณี ทั้งนี้ สํานักงานอาจแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดไปแล้วนั้นได้ หากปรากฏภายหลังว่ามีกรณีที่บุคคลดังกล่าวเข้าเหตุที่กําหนดเพิ่มเติม หมวด ๔ ปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาสั่งการของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 31 สํานักงานจะนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา (1) พฤติกรรมของผู้จัดการกองทรัสต์ในการบริหารจัดการกองทรัสต์ (2) ผลกระทบหรือความเสียหายจากการกระทําของผู้จัดการกองทรัสต์ที่มีต่อผู้ลงทุน (3) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดพฤติกรรมเดียวกันนั้นซ้ําอีก (4) พฤติกรรมอื่นของผู้จัดการกองทรัสต์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน (5) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดของผู้จัดการกองทรัสต์ที่ไม่เหมาะสม ในการพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะพิจารณาโดยคํานึงถึงพฤติกรรมหรือผลกระทบที่เกิดจากบุคลากรของผู้จัดการกองทรัสต์ รวมทั้งความตระหนักของผู้กระทําในเรื่องดังกล่าว เช่น จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น ด้วย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
879
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 20/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 20/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 5) โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจาก ทรัสตีให้ทําหน้าที่ดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้บริหาร” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ ๒ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” ระหว่างคําว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และคําว่า “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ ให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 23/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ““ประกาศการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัด จําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามประกาศการดํารงเงินกองทุน โดยอนุโลม ทั้งนี้ การปฏิบัติดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในกรณีของผู้จัดการกองทรัสต์ที่เป็นบุคคลตามข้อ 4(2) การดํารงเงินกองทุน ขั้นต้นตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ให้ดํารงเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท (2) ให้จัดส่งรายงานการดํารงเงินกองทุนตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน (ไม่รวมเอกสารแนบ) ให้แก่ทรัสตีภายในกําหนดเวลาเดียวกับที่ต้องจัดส่งให้สํานักงาน ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารง เงินกองทุนได้และอํานาจสํานักงานตามประกาศการดํารงเงินกองทุนมาใช้บังคับกับผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 25/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 25/1 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์เนื่องจากผู้จัดการกองทรัสต์ รายเดิมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 18 ผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่อาจมีการจัดการกองทรัสต์อื่น ที่มีทรัพย์สินหลักเป็นประเภทเดียวกันได้ต่อเมื่อได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน” ข้อ ๕ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ซึ่งเป็นบุคคลตามข้อ 4(2) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่ยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภายในสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องดําเนินการให้มีการดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18 ดังกล่าว (2) ในระหว่างการดําเนินการตาม (1) ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ในข้อ 18 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๖ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนขั้นต้นได้ภายในกําหนดเวลาตามข้อ 5 ผู้จัดการกองทรัสต์อาจขอผ่อนผันการดํารงเงินกองทุนขั้นต้นต่อสํานักงาน โดยยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแนวทาง การดําเนินการเพื่อให้สามารถดํารงเงินกองทุนขั้นต้นได้ ล่วงหน้าอย่างน้อยเก้าสิบวันก่อนครบกําหนด เวลาในข้อ 5 ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน สํานักงานจะพิจารณาคําขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ในการผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์กระทําการหรือไม่กระทําการใดด้วยก็ได้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
880
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 10/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 10/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีให้ทําหน้าที่ดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้จัดการกองทรัสต์สําหรับผู้จัดการกองทรัสต์ที่ยังไม่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีให้ดูแลจัดการกองทรัสต์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” ต่อจากบทนิยามคําว่า “ทรัพย์สินอื่น” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 20/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 ““แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 23/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) บุคคลดังต่อไปนี้ ของผู้ขอความเห็นชอบต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยอนุโลม (ก) กรรมการ (ข) ผู้จัดการ (ค) รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการดูแลจัดการกองทรัสต์” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 20/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีให้ดูแลจัดการกองทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการกองทรัสต์ที่เป็นบุคคลตามข้อ 4(1) ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามประกาศการดํารงเงินกองทุน โดยอนุโลม (2) ผู้จัดการกองทรัสต์ที่เป็นบุคคลตามข้อ 4(2) ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามประกาศการดํารงเงินกองทุน โดยอนุโลม และให้ดํารงเงินกองทุนขั้นต้นเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท (3) จัดส่งรายงานการดํารงเงินกองทุนตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน (ไม่รวมเอกสารแนบ) ให้แก่ทรัสตีภายในกําหนดเวลาเดียวกับที่ต้องจัดส่งให้สํานักงาน ผู้จัดการกองทรัสต์ที่จะเข้ารับมอบหมายให้ดูแลจัดการกองทรัสต์ต้องดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามวรรคหนึ่งภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลของกองทรัสต์ที่จะรับมอบหมายให้ดูแลจัดการมีผลใช้บังคับ และหากผู้จัดการกองทรัสต์เป็นบุคคลตามข้อ 4(2) ให้นําส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าสามารถดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับด้วย ทั้งนี้ ให้จัดส่งในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารเงินกองทุนได้และอํานาจสํานักงานตามประกาศการดํารงเงินกองทุนมาใช้บังคับกับผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยอนุโลม” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
881
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจาก ทรัสตีให้ทําหน้าที่ดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานจึงออกข้อกําหนดเกี่ยวกับ การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า บุคคลที่ถือหุ้นของนิติบุคคลใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น “ประกาศการดํารงเงินกองทุน”( หมายความว่า ประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัด จําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ยกเลิก( “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใด ลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือ เป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) แต่ทั้งนี้ มิให้รวมถึงกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ ยกเลิก( ยกเลิก( “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน”( หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน “ทรัพย์สินอื่น”( หมายความว่า ทรัพย์สินที่กองทรัสต์สามารถลงทุนได้ ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินหลัก ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “แบบแสดงรายการข้อมูล”( หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหน่วยทรัสต์ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 1 (2) หน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ภายหลังได้รับความเห็นชอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 2 (3) การสิ้นสุดของการให้ความเห็นชอบรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และบทบังคับอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวด 3 (4) ปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาสั่งการของสํานักงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ในหมวด 4 หมวด 1การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1การยื่นคําขอความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 ผู้ขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม และเริ่มประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าวแล้ว หรือ (2) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มิใช่บุคคลตาม (1) ข้อ 5 ให้บุคคลตามข้อ 4 ที่ประสงค์จะเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบท้ายประกาศนี้ และเอกสารหรือหลักฐานแสดงว่าผู้ขอความเห็นชอบมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ โดยในกรณีที่เป็นบุคคลตามข้อ 4(2) ให้ยื่นเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ด้วย (1) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (2) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทที่ออกโดยกระทรวงพาณิชย์ (3) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (4) งบการเงินประจํางวดปีบัญชีล่าสุดก่อนยื่นคําขอ (ถ้ามี) ที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว หรืองบการเงินของปีที่ยื่นคําขอจนถึงไตรมาสล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ 6 ในกรณีที่เป็นการยื่นคําขอเพื่อต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ให้บุคคลที่ประสงค์ จะต่ออายุดังกล่าวยื่นคําขอตามแบบท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอต่ออายุ มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ โดยให้ยื่นล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่การให้ความเห็นชอบสิ้นสุดลง ข้อ 7( ให้ผู้ยื่นคําขอความเห็นชอบชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบ หรือคําขอเพื่อต่ออายุการให้ความเห็นชอบ แล้วแต่กรณี เมื่อคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความเห็นชอบถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ 8( ยกเลิก ข้อ 9( สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในหนึ่งร้อยวัน นับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 10 ในกรณีที่เป็นการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ หากสํานักงานไม่แจ้ง ผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในวันสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์รายนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าสํานักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา ส่วนที่ 2หลักเกณฑ์และระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ต้องแสดงได้ว่าจะสามารถรับมอบหมายจากทรัสตีให้ดูแลจัดการกองทรัสต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ขออนุญาตมีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ประสบปัญหาทางการเงิน มีข้อบกพร่องหรือความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (2) มีโครงสร้างการถือหุ้นที่สามารถสะท้อนอํานาจในการควบคุมและส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นได้อย่างชัดเจน (3) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ โดยอย่างน้อยต้องมีระบบงานตามรายการที่กําหนดในข้อ 21 (4) แสดงได้ว่ามีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการดูแลจัดการทรัพย์สิน ของกองทรัสต์และมีบุคลากรอีกไม่น้อยกว่าสองราย ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านบริหารจัดการลงทุนหรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์รวมกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีภายในช่วงระยะเวลาห้าปีก่อนวันยื่นคําขอ (5) ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่าจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการกองทรัสต์ภายหลังได้รับความเห็นชอบที่กําหนดตามหมวด 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ ข้อ 12 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ที่มิใช่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 4(1) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท (2) มีวัตถุประสงค์ที่จะประกอบธุรกิจการเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เป็นธุรกิจหลัก ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการประกอบธุรกิจอื่น ต้องแสดงได้ว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและไม่มีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์กับการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ตลอดจนไม่มีความเสี่ยงต่อฐานะ ของบริษัท เว้นแต่สามารถจัดให้มีระบบในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และระบบ ในการควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ (3) มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมดของผู้ขอความเห็นชอบ โดยกรรมการอิสระดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยอนุโลม (4)( บุคคลดังต่อไปนี้ ของผู้ขอความเห็นชอบต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยอนุโลม (ก) กรรมการ (ข) ผู้จัดการ (ค) รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการดูแลจัดการกองทรัสต์ (5) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว โดยอนุโลม ข้อ 13 การให้ความเห็นชอบผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทรัสต์มีกําหนดระยะเวลาคราวละห้าปี หมวด 2 หน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ภายหลังได้รับความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 14 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความในหมวดนี้ “อสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ได้มาหรือจะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 15 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ ข้อ 16 เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อสํานักงานร้องขอ ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการหรือไม่ดําเนินการใด ๆ ตามที่ร้องขอนั้น ข้อ 17 ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องดํารงลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 1 ตลอดระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบ ข้อ 18( ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีให้ดูแลจัดการกองทรัสต์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการกองทรัสต์ที่เป็นบุคคลตามข้อ 4(1) ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามประกาศการดํารงเงินกองทุน โดยอนุโลม (2) ผู้จัดการกองทรัสต์ที่เป็นบุคคลตามข้อ 4(2) ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวมตามประกาศการดํารงเงินกองทุน โดยอนุโลมและให้ดํารงเงินกองทุนขั้นต้นเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท (3) จัดส่งรายงานการดํารงเงินกองทุนตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนตามประกาศการดํารงเงินกองทุน (ไม่รวมเอกสารแนบ) ให้แก่ทรัสตีภายในกําหนดเวลาเดียวกับที่ต้องจัดส่งให้สํานักงาน ผู้จัดการกองทรัสต์ที่จะเข้ารับมอบหมายให้ดูแลจัดการกองทรัสต์ต้องดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามวรรคหนึ่งภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลของกองทรัสต์ที่จะรับมอบหมายให้ดูแลจัดการมีผลใช้บังคับ และหากผู้จัดการกองทรัสต์เป็นบุคคลตามข้อ 4(2) ให้นําส่งเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าสามารถดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับด้วย ทั้งนี้ ให้จัดส่งในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งข้อมูลตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้และอํานาจสํานักงานตามประกาศการดํารงเงินกองทุนมาใช้บังคับกับผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยอนุโลม ข้อ 19 ผู้จัดการกองทรัสต์จะถือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์ที่ตนเป็นผู้บริหารจัดการได้ไม่เกินอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และ (2) ร้อยละห้าสิบของหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์ แต่ละชนิด ในกรณีที่กองทรัสต์มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ การคํานวณจํานวนหลักทรัพย์ของผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมหน่วยทรัสต์ที่ถือโดยกลุ่มบุคคลเดียวกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย ข้อ 20 เมื่อมีการขอมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ถือหน่วยทรัสต์ต้องใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในลักษณะที่เชื่อว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม ข้อ 21( เพื่อให้การดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีเป็นไป อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และสัญญาก่อตั้งทรัสต์ รวมทั้งเป็นการรักษาผลประโยชน์ของกองทรัสต์และผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีระบบงานที่มีคุณภาพ มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และสามารถรองรับงานในความรับผิดชอบได้อย่างครบถ้วน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดนโยบายในการจัดการกองทรัสต์ การจัดโครงสร้างเงินทุนของ กองทรัสต์ การตัดสินใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และการกําหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการจัดหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้การจัดการลงทุนตามที่ได้รับมอบหมายเป็นไปด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และเป็นไปตามที่กฎหมายและกฎเกณฑ์กําหนด ตลอดจนเพื่อรักษาประโยชน์ของกองทรัสต์และผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม (2) การบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดูแลจัดการกองทรัสต์ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้สามารถป้องกันและจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างกองทรัสต์กับผู้จัดการกองทรัสต์และบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งรวมถึงมาตรการหรือแนวทางดําเนินการเพื่อรักษาประโยชน์ที่ดีที่สุดของกองทรัสต์หรือผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวมเมื่อเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ขึ้น (4) การคัดเลือกบุคลากรของผู้จัดการกองทรัสต์และผู้รับมอบหมายในงานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทรัสต์ (ถ้ามี) เพื่อให้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานที่จะปฏิบัติ (5) การกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้จัดการและบุคลากรของผู้จัดการกองทรัสต์ รวมทั้งการตรวจสอบดูแลผู้รับมอบหมายในงานที่เกี่ยวกับการจัดการกองทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมาย กฎเกณฑ์ และสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนด (6) การเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องและเพียงพอเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (7) การปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน (back office) (8) การตรวจสอบและควบคุมภายใน (9) การติดต่อสื่อสารกับผู้ลงทุนและการจัดการกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุน (10) การจัดการกับข้อพิพาททางกฎหมาย ผู้จัดการกองทรัสต์อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 24/1 ข้อ 22 ในการดําเนินธุรกิจเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการดําเนินธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต โดยต้องปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายสัญญาก่อตั้งทรัสต์ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทรัสต์ และมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ (2) มีเงินทุนที่เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจและความรับผิดชอบอันอาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ได้อย่างต่อเนื่อง (3) เปิดเผย ให้ความเห็น หรือให้ข้อมูลที่มีความสําคัญและเกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ ในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน โดยข้อมูลดังกล่าวต้องสื่อสารได้อย่างชัดเจน ไม่บิดเบือน และไม่ทําให้สําคัญผิด (4) ไม่นําข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการกองทรัสต์ไปใช้ประโยชน์อย่างไม่เหมาะสมเพื่อตนเอง หรือทําให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบต่อผลประโยชน์โดยรวมของกองทรัสต์ (5) ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และในกรณีที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกิดขึ้น ต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเหมาะสม (6) ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทรัสต์ ตลอดจนจรรยาบรรณและมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพที่กําหนดโดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่สํานักงานยอมรับ โดยอนุโลม และไม่สนับสนุนสั่งการ หรือให้ความร่วมมือแก่บุคคลใดในการปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อกําหนดดังกล่าว (7) ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของทรัสตี หรือสํานักงาน ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการกองทรัสต์อย่างมีนัยสําคัญ หรือข้อมูลอื่นที่ควรแจ้งให้ทราบ ข้อ 23 ในการทําธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจําหน่าย จ่าย โอนอสังหาริมทรัพย์ หรือการเข้าทําสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกองทรัสต์เป็นไปอย่างถูกต้องและมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย (2) ดําเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยอย่างน้อยต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) การประเมินความพร้อมของตนเองในการบริหารการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ก่อนรับเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ หรือก่อนลงทุนเพิ่มเติมในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเพื่อกองทรัสต์ แล้วแต่กรณี (ข) การวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ และการตรวจสอบและสอบทาน (การทํา due diligence) อสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนการประเมินความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดจาก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้วย ทั้งนี้ ความเสี่ยงดังกล่าว ให้หมายความรวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหรือก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) เช่น ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการก่อสร้างล่าช้า และการไม่สามารถจัดหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ได้ เป็นต้น ข้อ 24 ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อ 24/1( ผู้จัดการกองทรัสต์อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ได้เท่าที่จําเป็นเพื่อส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การมอบหมายต้องไม่มีลักษณะที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ (2) มีมาตรการรองรับให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในกรณีที่ ผู้รับดําเนินการไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ (3) ในกรณีที่มีการมอบหมายงานเกี่ยวกับการลงทุนในทรัพย์สินอื่นของกองทรัสต์ ต้องมอบหมายให้กับผู้ที่สามารถดําเนินการได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่การมอบหมายระบบและงานตามข้อ 21(1) (2) (3) (4) และ (9) ข้อ 25 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์รายเดิมต้องดําเนินการและให้ความร่วมมือตามที่จําเป็น เพื่อให้การส่งมอบงานแก่บุคคลที่จะเข้ามาปฏิบัติแทนตนเองสําเร็จลุล่วงไป ข้อ 25/1( ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์เนื่องจากผู้จัดการกองทรัสต์ รายเดิมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 18 ผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่อาจมีการจัดการกองทรัสต์อื่น ที่มีทรัพย์สินหลักเป็นประเภทเดียวกันได้ต่อเมื่อได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ 26 ในกรณีที่มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําเกี่ยวกับ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการให้ที่ปรึกษาแจ้งการมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา (2) มิให้ที่ปรึกษาผู้ที่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น ข้อ 27 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดทํางบการเงินของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และส่งงบการเงินดังกล่าวต่อสํานักงานภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีงบการเงินที่จัดทําตามวรรคหนึ่งต้องมีการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หมวด 3 การสิ้นสุดของการให้ความเห็นชอบรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ และบทบังคับอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 28 การให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์จะสิ้นสุดลงเมื่อ (1) ผู้จัดการกองทรัสต์ได้แจ้งต่อสํานักงานเป็นหนังสือถึงความประสงค์ที่จะยุติการปฏิบัติงานเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และสํานักงานอนุญาตแล้ว (2) สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือสั่งพักการให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ (3) กรณีการให้ความเห็นชอบสิ้นอายุ และบุคคลดังกล่าวไม่ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบ ข้อ 29 ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 ให้ผู้จัดการกองทรัสต์แจ้งต่อสํานักงานเป็นหนังสือ พร้อมแสดงเหตุผลและแนวทางการแก้ไขภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่นั้น ข้อ 30 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้จัดการกองทรัสต์มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 สํานักงานอาจสั่งให้ ผู้จัดการกองทรัสต์ดังกล่าวแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หรืออาจดําเนินการตามข้อ 31 ก็ได้ ข้อ 31 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้จัดการกองทรัสต์มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 หรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ของสํานักงานตามข้อ 30 หรือปฏิบัติตามคําสั่งแต่ไม่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามข้อ 30 สํานักงานอาจดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) สั่งจํากัดการประกอบธุรกิจ (2) สั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นระยะเวลาหรือตามเงื่อนไขที่กําหนด (3) สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ (4) กําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลนั้นในคราวต่อไป โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินสิบปี สําหรับเหตุในแต่ละกรณี ทั้งนี้ สํานักงานอาจแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดไปแล้วนั้นได้ หากปรากฏภายหลังว่ามีกรณีที่บุคคลดังกล่าวเข้าเหตุที่กําหนดเพิ่มเติม หมวด 4 ปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาสั่งการของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 32 ในการใช้ดุลพินิจสั่งการตามข้อ 31 สํานักงานจะนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา (1) พฤติกรรมของผู้จัดการกองทรัสต์ในการบริหารจัดการกองทรัสต์ (2) ผลกระทบหรือความเสียหายจากการกระทําของผู้จัดการกองทรัสต์ที่มีต่อผู้ลงทุน (3) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดพฤติกรรมเดียวกันนั้นซ้ําอีก (4) พฤติกรรมอื่นของผู้จัดการกองทรัสต์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน (5) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดของผู้จัดการกองทรัสต์ที่ไม่เหมาะสม ในการพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้จัดการกองทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะพิจารณาโดยคํานึงถึงพฤติกรรมหรือผลกระทบที่เกิดจากบุคลากรของผู้จัดการกองทรัสต์ รวมทั้งความตระหนักของผู้กระทําในเรื่องดังกล่าว เช่น จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น ด้วย ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
882
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 23/2557 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 23/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบ ผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจาก ทรัสตีให้ทําหน้าที่ดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง” และคําว่า“บุคคลที่มีอํานาจในการจัดการ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน”และคําว่า “ทรัพย์สินอื่น” ต่อจากบทนิยามคําว่า “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ““บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน “ทรัพย์สินอื่น” หมายความว่า ทรัพย์สินที่กองทรัสต์สามารถลงทุนได้ ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินหลัก ทั้งนี้ ตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) บุคคลดังต่อไปนี้ ของผู้ขอความเห็นชอบต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยอนุโลม (ก) กรรมการ (ข) ผู้จัดการ (ค) รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย และผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการดูแลจัดการกองทรัสต์” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 เพื่อให้การดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีเป็นไป อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และสัญญาก่อตั้งทรัสต์ รวมทั้งเป็นการรักษาผลประโยชน์ของกองทรัสต์และผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีระบบงานที่มีคุณภาพ มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และสามารถรองรับงานในความรับผิดชอบได้อย่างครบถ้วน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดนโยบายในการจัดการกองทรัสต์ การจัดโครงสร้างเงินทุนของ กองทรัสต์ การตัดสินใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และการกําหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการจัดหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้การจัดการลงทุนตามที่ได้รับมอบหมายเป็นไปด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และเป็นไปตามที่กฎหมายและกฎเกณฑ์กําหนด ตลอดจนเพื่อรักษาประโยชน์ของกองทรัสต์และผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม (2) การบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดูแลจัดการกองทรัสต์ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้สามารถป้องกันและจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างกองทรัสต์กับผู้จัดการกองทรัสต์และบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งรวมถึงมาตรการหรือแนวทางดําเนินการเพื่อรักษาประโยชน์ที่ดีที่สุดของกองทรัสต์หรือผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวมเมื่อเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ขึ้น (4) การคัดเลือกบุคลากรของผู้จัดการกองทรัสต์และผู้รับมอบหมายในงานที่ เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของกองทรัสต์ (ถ้ามี) เพื่อให้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานที่จะปฏิบัติ (5) การกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้จัดการและบุคลากรของผู้จัดการกองทรัสต์ รวมทั้งการตรวจสอบดูแลผู้รับมอบหมายในงานที่เกี่ยวกับการจัดการกองทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมาย กฎเกณฑ์ และสัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนด (6) การเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องและเพียงพอเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนด ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (7) การปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน (back office) (8) การตรวจสอบและควบคุมภายใน (9) การติดต่อสื่อสารกับผู้ลงทุนและการจัดการกับข้อร้องเรียนของผู้ลงทุน (10) การจัดการกับข้อพิพาททางกฎหมาย ผู้จัดการกองทรัสต์อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบธุรกิจเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ได้ โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 24/1” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 24/1 ผู้จัดการกองทรัสต์อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ได้เท่าที่จําเป็นเพื่อส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การมอบหมายต้องไม่มีลักษณะที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ (2) มีมาตรการรองรับให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในกรณีที่ ผู้รับดําเนินการไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ (3) ในกรณีที่มีการมอบหมายงานเกี่ยวกับการลงทุนในทรัพย์สินอื่นของกองทรัสต์ ต้องมอบหมายให้กับผู้ที่สามารถดําเนินการได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่การมอบหมายระบบและงานตามข้อ 21(1) (2) (3) (4) และ (9)” ข้อ 6 ให้ยกเลิกแบบคําขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้แบบคําขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 7 คําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสํานักงาน ให้ถือว่าเป็นคําขอความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศนี้โดยอนุโลม และหากคําขอความเห็นชอบดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคําขอความเห็นชอบ เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความจําเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
883
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 43/2561 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 43/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีให้ทําหน้าที่ดูแลจัดการกองทรัสต์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงแบบคําขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบคําขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สช. 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 23/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้แบบคําขอความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
884
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 7/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามแบบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามแบบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
885
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 37/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามแบบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2563เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามแบบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
886
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 12/2565 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2565 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามแบบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 37/2563 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และให้ใช้หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามแบบท้ายประกาศนี้เป็นหนังสือชี้ชวนตามแบบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
887
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 40(1) และข้อ 131 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 38/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 35/2554 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่6 กันยายน พ.ศ. 2554 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 16/2557 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 32/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 3 หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองเลขาธิการ เลขาธิการ แทน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
888
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 69/2564 เรื่อง ขยายระยะเวลาการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหาร และจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 69/2564 เรื่อง ขยายระยะเวลาการดําเนินการเกี่ยวกับการบริหาร และจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องกําหนดแนวทางการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และดําเนินการให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว รวมถึงจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 แต่โดยที่มีเหตุจําเป็นและสมควรในการขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากในการดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์นั้น เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมกระบวนการและระบบงานภายในของบริษัทจัดการกองทุนรวม รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมที่มีจํานวนมากให้สอดคล้องกับลักษณะของกองทุนรวมแต่ละประเภท อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ประกาศที่ ทน. 11/2564” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุน ที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ข้อ ๒ ให้ขยายระยะเวลาการดําเนินการของบริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดแนวทางการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และการดําเนินการให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวตามข้อ 9/1 แห่งประกาศที่ ทน. 11/2564 ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (2) การจัดให้มีเครื่องมือการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมตามข้อ 25/1 แห่งประกาศที่ ทน. 11/2564 ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
889
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและ การส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) และข้อ 9 วรรคหนึ่ง ประกอบกับข้อ 12(3) ข้อ 46 ข้อ 47 และข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2558 เป็นต้นไป หมวด ๑ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงผลการดําเนินงานในอดีตหรือผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้จัดทําในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถมองเห็นได้และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลดังกล่าวก่อนทําการลงทุนได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ (2) ไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลส่วนอื่นในโฆษณานั้น (3) ได้จัดทําขึ้นตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ได้จัดทําขึ้นเพื่อวัดผลการดําเนินงานของกองทุนดังกล่าว และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (4) ต้องจัดให้มีคําเตือนที่ระบุว่า “ผลการดําเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต” (5) ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน กับการลงทุนโดยวิธีการอื่น การลงทุนที่สามารถนํามาเปรียบเทียบนั้นจะต้องมีความคล้ายคลึงกันโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การลงทุน นโยบายการลงทุน และลักษณะความเสี่ยงในการลงทุน รวมทั้งต้องระบุข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะการลงทุนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ข้อ ๒ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงผลการดําเนินงานในอดีตหรือผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้จัดทําในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถมองเห็นได้และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลดังกล่าวก่อนทําการลงทุนได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ (2) ไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลส่วนอื่นในโฆษณานั้น (3) ได้จัดทําขึ้นตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ได้จัดทําขึ้นเพื่อวัดผลการดําเนินงานของกองทุนดังกล่าว และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (4) ต้องจัดให้มีคําเตือนที่ระบุว่า “ผลการดําเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต” (5) ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน กับการลงทุนโดยวิธีการอื่น การลงทุนที่สามารถนํามาเปรียบเทียบนั้นจะต้องมีความคล้ายคลึงกันโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การลงทุน นโยบายการลงทุน และลักษณะความเสี่ยงในการลงทุน รวมทั้งต้องระบุข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะการลงทุนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ข้อ ๓ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้เป็นไปตามหมวด 2 (2) ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณากองทุน ให้เป็นไปตามหมวด 3 (3) ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ให้เป็นไปตามหมวด 4 (4) การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้เป็นไปตามหมวด 5 ตอน ๔ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามประกาศนี้เป็นการเฉพาะรายหรือเป็นการชั่วคราว โดยในการผ่อนผัน สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ หมวด ๒ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงผลการดําเนินงานในอดีตหรือผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้จัดทําในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถมองเห็นได้และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลดังกล่าวก่อนทําการลงทุนได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ (2) ไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลส่วนอื่นในโฆษณานั้น (3) ได้จัดทําขึ้นตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ได้จัดทําขึ้นเพื่อวัดผลการดําเนินงานของกองทุนดังกล่าว และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (4) ต้องจัดให้มีคําเตือนที่ระบุว่า “ผลการดําเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต” (5) ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน กับการลงทุนโดยวิธีการอื่น การลงทุนที่สามารถนํามาเปรียบเทียบนั้นจะต้องมีความคล้ายคลึงกันโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การลงทุน นโยบายการลงทุน และลักษณะความเสี่ยงในการลงทุน รวมทั้งต้องระบุข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะการลงทุนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ข้อ ๕ เพื่อให้การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นไปตามข้อ 46 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องนําเสนอข้อมูลประกอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ เพื่อประโยชน์ในการกําหนดหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ ให้คําว่า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และให้หมายความรวมถึง กองทุนและโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศด้วย ส่วน ๑ มาตรฐานการโฆษณาที่เหมาะสม ข้อ ๖ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีระบบงานและกระบวนการภายในเพื่อให้มั่นใจว่าการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละครั้งมีความสอดคล้องกับข้อกําหนดเกี่ยวกับการโฆษณาตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ และประกาศฉบับนี้ ตลอดจนแนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว ข้อ ๗ ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเสนอข้อมูลประกอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนไม่ว่าโดยทางข้อความ ภาพ เสียง เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ และไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การโฆษณามีการนําเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างครบถ้วน โดยอย่างน้อยต้องแสดงข้อมูลดังนี้ (ก) มีการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (ข) หากมีการแสดงข้อมูลด้านบวกหรือโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนต้องมีการแสดงข้อมูลด้านลบหรือความเสี่ยงจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนควบคู่กัน (ค) มีการตรวจสอบความถูกต้องของถ้อยคํา เพื่อมิให้มีถ้อยคําที่ไม่ถูกต้องหรือที่มีความหมายคลุมเครือในโฆษณา (2) การนําเสนอข้อมูลประกอบการโฆษณา ต้องไม่มีลักษณะดังนี้ (ก) ทําให้เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมีความเสี่ยงต่ํากว่าความเป็นจริง หรือไม่มีความเสี่ยงจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (ข) แสดงผลตอบแทนจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนสูงเกินจริง (ค) ทําให้สําคัญผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน เช่น ประเภท ผลตอบแทน หรือความเสี่ยง เป็นต้น (ง) ใช้คําศัพท์เทคนิคหรือคําศัพท์เฉพาะ เว้นแต่คําศัพท์ดังกล่าวเป็นคําศัพท์ที่ผู้ลงทุนทั่วไปมีความคุ้นเคยแล้ว (จ) ใช้ภาษาที่ยากต่อการเข้าใจ หรือใช้ประโยคที่ซับซ้อน หรือใช้ข้อความที่ทําให้สามารถแปลความหมายได้หลายทาง (ฉ) ใช้รูปแบบการนําเสนอที่ยากต่อการเข้าใจ หรือทําให้เข้าใจเกินความเป็นจริง (ช) ใช้ภาพ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ประกอบการโฆษณาขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏในโฆษณา (ซ) ใช้ภาพ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ขนาดใหญ่จนลดความสําคัญของข้อความหรือคําเตือนในโฆษณาลง (3) ในกรณีที่การโฆษณามีการนําเสนอข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลพื้นฐานสําหรับใช้ในการตัดสินใจลงทุน ต้องมีคําอธิบายประกอบข้อมูลดังกล่าวอย่างชัดเจน ข้อ ๘ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงผลการดําเนินงานในอดีตหรือผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้จัดทําในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถมองเห็นได้และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลดังกล่าวก่อนทําการลงทุนได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ (2) ไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลส่วนอื่นในโฆษณานั้น (3) ได้จัดทําขึ้นตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี ได้จัดทําขึ้นเพื่อวัดผลการดําเนินงานของกองทุนดังกล่าว และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (4) ต้องจัดให้มีคําเตือนที่ระบุว่า “ผลการดําเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต” (5) ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน กับการลงทุนโดยวิธีการอื่น การลงทุนที่สามารถนํามาเปรียบเทียบนั้นจะต้องมีความคล้ายคลึงกันโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การลงทุน นโยบายการลงทุน และลักษณะความเสี่ยงในการลงทุน รวมทั้งต้องระบุข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่สามารถทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างในลักษณะการลงทุนแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ข้อ ๙ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การโฆษณาอันดับหรือรางวัลที่เกี่ยวกับผลการดําเนินงานของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนในอดีต จะกระทําได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) อันดับหรือรางวัล ต้องเป็นข้อมูลที่มาจากการจัดอันดับหรือผู้ให้รางวัลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้จัดอันดับหรือให้รางวัลโดยใช้วิธีการตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน (ข) มีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ในหน้าเดียวกัน 1. อันดับ ชื่อรางวัล หรือประเภทรางวัลที่ได้รับ 2. เวลาหรือช่วงเวลาที่ได้รับรางวัล 3. ชื่อสถาบันที่เป็นผู้ให้รางวัลหรือเป็นผู้จัดอันดับรางวัล 4. คําเตือนตามข้อ 8(4) (2) การโฆษณาเกี่ยวกับอันดับหรือรางวัลอื่นใดนอกเหนือจาก (1) ให้แสดงข้อมูลเฉพาะตาม (1) (ข) 1. 2. และ 3. ตอน ๑๐ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้จัดทําในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถมองเห็นได้และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลดังกล่าวก่อนทําการลงทุนได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ (2) ตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต ต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น ส่วน ๒ คําเตือนประกอบการโฆษณา ข้อ ๑๑ เพื่อให้การโฆษณามีการนําเสนอคําเตือนประกอบการโฆษณาเป็นไปตามข้อ 47 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การนําเสนอคําเตือนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนนี้ ข้อ ๑๒ ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทุกประเภท ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “ทําความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาที่มีการระบุว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนเมื่อวันที่ มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน และสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว และมิได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น” ในกรณีที่เป็นการโฆษณาที่มีการระบุว่ากองทุนรวมได้รับอนุมัติจากสํานักงานแล้ว ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เมื่อวันที่ มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลในการเสนอขาย และมิได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของกองทุนรวม” ข้อ ๑๔ การสื่อสารคําเตือนประกอบการโฆษณาผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) รูปแบบการนําเสนอคําเตือนต้องมีความคมชัดและสังเกตได้ง่าย โดยให้พิจารณาเลือกใช้โทนสีที่มีความแตกต่างจากสีพื้นโฆษณาหรือใช้ตัวอักษรหนาขึ้น และมีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในโฆษณา (2) การอ่านออกเสียงคําเตือนต้องอยู่ในวิสัยที่ผู้ฟังสามารถจับใจความของถ้อยคําได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องจัดให้มีการอ่านออกเสียงด้วยความเร็วปกติ ข้อ ๑๕ ให้นําความในข้อ 14 มาใช้บังคับกับการนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ปรากฏในการโฆษณาด้วย โดยอนุโลม หมวด ๓ ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณากองทุนรวม มาตรา ๑๖ การโฆษณากองทุนรวม ต้องมีข้อความหรือคําเตือนอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อความที่ระบุช่องทางในการขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน (2) การโฆษณาเกี่ยวกับกองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุน ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรศึกษาคู่มือภาษีของกองทุนรวมดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๗ การโฆษณาการส่งเสริมการขายกองทุนรวม ต้องมีข้อมูลสําคัญของกองทุนรวม อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อกองทุนรวม (2) ประเภทของกองทุนรวม (3) นโยบายการลงทุน (4) ความเสี่ยงที่สําคัญของกองทุนรวม (5) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวม (ถ้ามี) ในกรณีที่การโฆษณาการส่งเสริมการขายกลุ่มกองทุนรวมที่ไม่ใช่เพื่อกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งเป็นการเฉพาะ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถแสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่งของทุกกองทุนรวมได้อย่างครบถ้วน ให้ผู้ประกอบธุรกิจระบุถึงข้อมูลของกองทุนรวมแต่ละกองโดยสังเขป และมีคําเตือนให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดําเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากบุคคลที่ขายหน่วยลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ คําเตือนดังกล่าวต้องชัดเจนและเด่นชัดเพื่อให้ผู้ลงทุนเห็นได้ง่ายด้วย ข้อ ๑๘ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมจะกระทําได้เมื่อเป็นกองทุนรวมประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมมีประกัน (2) กองทุนรวมที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดอายุโครงการจัดการกองทุนรวมหรือตลอดรอบการลงทุนในแต่ละรอบ ที่มีลักษณะดังนี้ (ก) ทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนมีการกําหนดระยะเวลาและอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับไว้อย่างชัดเจน (ข) ในกรณีที่ทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนครบกําหนดระยะเวลาการลงทุนก่อนครบอายุโครงการจัดการกองทุนรวม และบริษัทจัดการจะนําเงินที่ได้รับมานั้นไปลงทุนต่อจนครบอายุโครงการในทรัพย์สินที่ไม่มีความเสี่ยงด้านความผันผวนทางราคา (market risk) และความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) (3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง (4) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๑๙ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมตามข้อ 18(2) (3) หรือ (4) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้จัดทําในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถมองเห็นได้และมีระยะเวลาอย่างเพียงพอในการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลดังกล่าวก่อนทําการลงทุนได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทําผ่านสื่อหรือเครื่องมือใด ๆ (2) ตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต ต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น (3) ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมต้องถูกจัดทําโดยบริษัทจัดการซึ่งรับจัดการกองทุนนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนําข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ต่อ ต้องไม่ทําการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้นเป็นประการอื่นด้วย (4) การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 18(2) มีการแสดงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้ โดยข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลอย่างเดียวกับข้อมูลที่ปรากฏในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน (ก) ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุน (ข) อัตราผลตอบแทนของทรัพย์สินที่จะลงทุนแต่ละชนิด (ค) สัดส่วนการลงทุน (ง) ระยะเวลาการลงทุน (จ) อายุของกองทุนรวม (ฉ) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม (5) ในกรณีที่เป็นการโฆษณากองทุนรวมตามข้อ 18(3) หรือ (4) ต้องมีการแสดงและเปิดเผยข้อมูลดังนี้ไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนแล้ว (ก) ประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมซึ่งมีการระบุข้อมูลในลักษณะดังนี้ 1. มีการระบุสมมติฐานที่สําคัญที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมทั้งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอนาคตและความเสี่ยงที่อาจทําให้ผลตอบแทนหรือผลการดําเนินการของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ และ 2. มีการระบุประมาณการรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ที่ได้รับการรับรองจากผู้ประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งจัดทํารายงานการประเมินค่าทรัพย์สินที่กองทุนใช้อ้างอิงในการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว (ข) ข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง (sensitivity analysis) โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีหรือที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานหรือบุคคลอื่นใดตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ และข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดังกล่าวมีการเปิดเผยสมมติฐานที่ใช้อ้างอิงอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย (6) ในกรณีที่เป็นการนําเสนอตัวเลขประมาณการผลตอบแทนของกองทุนรวมตามข้อ 18(3) หรือ (4) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) แสดงในรูปอัตราเงินปันผล โดยข้อมูลที่ใช้ในการจัดทําอัตราเงินปันผลดังกล่าว ต้องมาจากประมาณการงบการเงินที่ผ่านการพิจารณาจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานว่าสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีที่กองทุนรวมต้องปฏิบัติ (ข) ข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการต้องเป็นข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างรอบปีบัญชีที่มีการโฆษณาประมาณการดังกล่าว โดยอาจใช้ข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งรอบปีบัญชี (ค) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสิทธิการเช่า สิทธิสัมปทาน สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต หรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคตของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือสิทธิอื่นใดในทํานองเดียวกัน ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการไม่รวมส่วนที่เป็นเงินคืนทุน (7) ต้องมีข้อความดังนี้ อธิบายประกอบตัวเลขประมาณการผลตอบแทนในอนาคต (ก) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตามข้อ 18(2) ให้มีข้อความประกอบว่า “หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่โฆษณาไว้” (ข) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตามข้อ 18(3) ให้มีข้อความประกอบว่า “อัตราเงินปันผลดังกล่าวคํานวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่ บาท และจากอัตราการให้เช่าพื้นที่ ที่ % ซึ่งเป็นเพียงการแสดงการประมาณการสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่ และไม่อาจรับรองผลได้” (ค) กรณีที่เป็นกองทุนรวมตามข้อ 18(4) ให้มีข้อความประกอบว่า “อัตราเงินปันผลดังกล่าวคํานวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่ บาท และจากสมมติฐานว่า (ให้ระบุสมมติฐานหลักที่ทําให้เกิดที่มาของรายได้ที่กองทุนรวมจะได้รับ เช่น อัตราการใช้กําลังการผลิต หรือสัดส่วนรายได้ที่กองทุนได้รับ หรืออัตราการให้บริการของกิจการโครงสร้างพื้นฐานนั้น) ซึ่งเป็นเพียงการแสดงประมาณการสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่. และไม่อาจรับรองผลได้” ข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (4) และข้อความตามวรรคหนึ่ง (7) ต้องแสดงอยู่ในหน้าเดียวกันกับข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) และขนาดตัวอักษรของข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (4) และข้อความตามวรรคหนึ่ง (7) ต้องมีความชัดเจนและไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรปกติของข้อมูลส่วนใหญ่ในการโฆษณา ข้อ ๒๐ การโฆษณากองทุนรวมมีประกัน ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการประกันหรือผู้ประกันของกองทุนรวมดังกล่าวด้วย ข้อ ๒๑ การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวม ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการจ่ายเงินปันผลและประวัติการจ่ายเงินปันผลในอดีตที่ผ่านมาย้อนหลังอย่างน้อยห้าปี โดยหากกองทุนรวมมีการจัดตั้งมาแล้วน้อยกว่าห้าปี ให้แสดงข้อมูลดังกล่าวตั้งแต่จัดตั้งกองทุนรวม ข้อ ๒๒ การโฆษณาของกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด (trigger fund) โดยมีการระบุเป้าหมายนั้นไว้อย่างชัดเจนหรือโดยมีการระบุเป้าหมายนั้นไว้ในชื่อของกองทุนรวม ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การกําหนดมูลค่าหน่วยลงทุนที่เป็นเป้าหมายเป็นเพียงเหตุให้มีการเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายนั้น การกําหนดเป้าหมายดังกล่าวไม่ใช่การประมาณการหรือการรับประกันว่าผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนตามมูลค่าที่กําหนดเมื่อเลิกกองทุนหรือเมื่อมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ ทั้งนี้ หากภาวะตลาดหรือภาวการณ์ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปจากการคาดการณ์ กองทุนรวมอาจไม่ดําเนินการเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติก็ได้” (2) ไม่มีข้อความใด ๆ ที่ทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่ามูลค่าหน่วยลงทุนซึ่งกําหนดเป็นเป้าหมายนั้นเป็นอัตราผลตอบแทนภายในระยะเวลาที่กําหนด (3) ไม่ใช้คําว่า “ผลตอบแทน” เพื่อสื่อถึงมูลค่าหน่วยลงทุนซึ่งกําหนดเป็นเป้าหมาย (4) ในกรณีที่มีการกําหนดมูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายเป็นอัตราร้อยละ ตัวเลขที่ใช้เป็นอัตราดังกล่าวต้องสอดคล้องกับระยะเวลาเป้าหมายที่กําหนดด้วย เช่น กําหนดระยะเวลาเป้าหมายภายในหกเดือน ต้องใช้ตัวเลขที่เป็นอัตรา X% สําหรับระยะเวลาหกเดือน เป็นต้น (5) มีข้อความอธิบายเกี่ยวกับการดําเนินการเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กําหนด เช่น การเลิกกองทุนรวมและโอนเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนเข้าบัญชีของผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น (6) การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับความสําเร็จของกองทุนรวมที่สามารถดําเนินการได้ตามเป้าหมายที่กําหนด ต้องให้ข้อมูลจํานวนกองทุนรวมที่กําหนดเป้าหมายภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกันทั้งหมด เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบจํานวนกองทุนรวมที่สามารถดําเนินการได้ตามเป้าหมายและระยะเวลาที่ใช้ในการถึงเป้าหมาย ทั้งนี้ อาจจัดทําข้อมูลกองทุนรวมที่สามารถดําเนินการได้ตามเป้าหมายเป็นอัตราร้อยละของจํานวนกองทุนรวมที่กําหนดเป้าหมายทั้งหมดก็ได้ หมวด ๔ ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ข้อ ๒๓ นอกจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวด 2 และหมวด 3 แล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนเป็นไปตามข้อกําหนดเฉพาะตามที่กําหนดในหมวดนี้ด้วย ข้อ ๒๔ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อความอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ปัญหาสภาพคล่องหรือข้อจํากัดการโอน (ถ้ามี) (2) ความเสี่ยงหรือความซับซ้อนที่สําคัญ ข้อ ๒๕ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง (underlying asset) และกําหนดเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อความอธิบายในเรื่องดังนี้เพิ่มเติมด้วย (1) การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง จึงอาจทําให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ (2) ผู้ลงทุนควรทําความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องก่อนทําการลงทุน ตอน ๒๖ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีคําเตือนแก่ผู้ลงทุนถึงความจําเป็นในการขอคําแนะนําเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทําการลงทุน ข้อ ๒๗ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบหากมีสถานการณ์ในเชิงลบอย่างมากที่สุดเกิดขึ้น (worst case scenario) ด้วย ทั้งนี้ ตามที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนและเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (factsheet) (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามากกว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (2) ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ หมวด ๕ การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ข้อ ๒๘ เพื่อให้การจัดให้มีการส่งเสริมการขายเป็นไปตามข้อ 48 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การส่งเสริมการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ตอน ๒๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเข้าร่วมในการจัดงานมหกรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งแก่ผู้จัดงานทราบถึงขอบเขตการจัดให้มีการส่งเสริมการขายที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถดําเนินการได้ รวมทั้งปฏิเสธไม่เข้าร่วมการส่งเสริมการขายของผู้จัดงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติ ข้อ ๓๐ การจัดให้มีการส่งเสริมการขาย ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จํานวนของสมนาคุณต้องมีอย่างเพียงพอสําหรับผู้ลงทุนที่ใช้บริการหรือลงทุนตามเงื่อนไขที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนด (2) ผู้ลงทุนที่ใช้บริการหรือลงทุนตามเงื่อนไขเดียวกันต้องมีสิทธิได้รับของสมนาคุณเท่าเทียมกัน (3) กําหนดระยะเวลาในการจัดให้มีการส่งเสริมการขายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เว้นแต่เป็นการส่งเสริมการขายสําหรับการเสนอขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นครั้งแรก (IPO) หรือเป็นการส่งเสริมการขายในการจัดงานมหกรรมที่มีผู้ประกอบธุรกิจหลายรายเข้าร่วมและผู้ประกอบธุรกิจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้จัดงาน (4) ของสมนาคุณมีมูลค่าไม่เกินกว่าที่กําหนดตามข้อ 31 ข้อ ๓๑ มูลค่าของสมนาคุณ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนกําหนด (2) มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการส่งเสริมการขายหุ้นหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด (3) มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนตามโครงการที่มีลักษณะเป็นการลงทุนอย่างสม่ําเสมอต่อเนื่องทุกเดือนเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี ต้องไม่เกินร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการลงทุนขั้นต่ําสําหรับผู้ลงทุนแต่ละราย เช่น โครงการสานฝันเริ่มต้นด้วยพันบาท (4) มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการส่งเสริมการขายตราสารหนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ 0.2 ของมูลค่าการลงทุนขั้นต่ําสําหรับผู้ลงทุนแต่ละราย ทั้งนี้ ในกรณีที่ของสมนาคุณเป็นอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนเพิ่มเติมจากอัตราปกติของตราสารหนี้ ให้ถือเอามูลค่าดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเพิ่มเติมที่จะได้รับตลอดอายุของตราสารหนี้นั้นเป็นมูลค่าของสมนาคุณ (5) มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการเปิดบัญชีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีเงื่อนไขให้ผู้ลงทุนต้องทําการซื้อขายหรือลงทุนตามจํานวนขั้นต่ําภายในระยะเวลาที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนด ต้องไม่เกินสองร้อยบาท ข้อ ๓๒ การส่งเสริมการขายที่เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจอาจไม่ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดในข้อ 30 ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่มีเจตนาเลี่ยง การปฏิบัติตามข้อ 30 (1) การจัดกิจกรรมให้ผู้ลงทุนแข่งขันลงทุนโดยมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนแก่ผู้ลงทุนตลอดระยะเวลาที่จัดกิจกรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่เหมาะสม และสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน (2) การให้ของขวัญในโอกาสอันเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป (3) การจัดกิจกรรมสันทนาการหรือให้ความบันเทิงแก่ลูกค้าในโอกาสต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีหรือแสดงความขอบคุณแก่ผู้ลงทุน ข้อ ๓๓ ในการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศของสมาคมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในกรณีที่เป็นหุ้นหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามประกาศสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยว่าด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัทสมาชิก (2) ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุน ให้ปฏิบัติตามประกาศสมาคมบริษัทจัดการลงทุนว่าด้วยแนวปฏิบัติในการจัดรายการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (3) ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ปฏิบัติตามแนวทางของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยในส่วนที่เกี่ยวกับประกาศคณะกรรมการชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าว่าด้วยวงเงินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมวด ๖ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๔ ในกรณีที่การโฆษณาผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งใช้โฆษณาอยู่ในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังไม่มีข้อความที่เป็นคําเตือนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขให้การโฆษณาดังกล่าวมีข้อความที่เป็นคําเตือนตามที่กําหนดภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
890
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 25/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 25/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและ การส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) และข้อ 9 วรรคหนึ่ง ประกอบกับข้อ 46 ข้อ 47 และข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การโฆษณาเกี่ยวกับกองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนที่แสดงว่า ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวด้วย” ข้อ ๒ การโฆษณาของกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด (trigger fund) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีคําเตือนดังนี้ (ก) มูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายไม่ใช่การรับประกันผลตอบแทนจากการลงทุน (ข) ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ให้มีคําเตือนในเรื่องดังกล่าวด้วย (2) ไม่มีข้อความใด ๆ ที่ทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่ามูลค่าหน่วยลงทุนซึ่งกําหนดเป็นเป้าหมายนั้นเป็นอัตราผลตอบแทนภายในระยะเวลาที่กําหนด (3) ไม่ใช้คําว่า “ผลตอบแทน” เพื่อสื่อถึงมูลค่าหน่วยลงทุนซึ่งกําหนดเป็นเป้าหมาย (4) ในกรณีที่มีการกําหนดมูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายเป็นอัตราร้อยละ มูลค่าดังกล่าวต้องสอดคล้องกับระยะเวลาเป้าหมายที่กําหนดด้วย เช่น กําหนดระยะเวลาเป้าหมายภายในหกเดือน ต้องใช้ตัวเลขที่เป็นอัตรา X% สําหรับระยะเวลาหกเดือน เป็นต้น (5) มีข้อความอธิบายเกี่ยวกับการดําเนินการเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กําหนด เช่น การเลิกกองทุนรวมและโอนเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนเข้าบัญชีของผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น (6) การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับความสําเร็จของกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนําเสนอข้อมูลในรูปแบบกองทุนเดียวหรือหลายกองทุน หรือแยกตามประเภทหรือนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม หรือระบุเป็นช่วงระยะเวลา โดยต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนกองทุนรวมทั้งหมดซึ่งอยู่หรือเคยอยู่ภายใต้การจัดการที่สอดคล้องกับข้อมูลที่นําเสนอดังกล่าวและข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ (ก) จํานวนกองทุนรวมที่ถึงเป้าหมายภายในกําหนดเวลาการลงทุน (ข) จํานวนกองทุนรวมที่ถึงเป้าหมายแต่เกินกว่ากําหนดเวลาการลงทุน (ค) จํานวนกองทุนรวมที่ยังไม่ถึงเป้าหมายแต่อยู่ภายในกําหนดเวลาการลงทุน (ง) จํานวนกองทุนรวมที่ยังไม่ถึงเป้าหมายและเกินกว่ากําหนดเวลาการลงทุน ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องมีรูปแบบและขนาดตัวอักษรที่ไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในโฆษณา” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 20/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 20/1 การโฆษณากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ต้องไม่เป็นการนําสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมดังกล่าวมาเป็นปัจจัยหลักในการโฆษณา ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายลักษณะหรือสาระสําคัญของกองทุนรวม รูปแบบและขนาดตัวอักษรที่ใช้ในการอธิบายต้องไม่มีลักษณะที่โดดเด่นเกินกว่าข้อมูลอื่นในการโฆษณานั้น รวมถึงต้องมีการอธิบายเงื่อนไขในการลงทุน และผลกระทบในกรณีที่มีการลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย” ข้อ ๔ การโฆษณาของกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด (trigger fund) ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีคําเตือนดังนี้ (ก) มูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายไม่ใช่การรับประกันผลตอบแทนจากการลงทุน (ข) ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ให้มีคําเตือนในเรื่องดังกล่าวด้วย (2) ไม่มีข้อความใด ๆ ที่ทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจว่ามูลค่าหน่วยลงทุนซึ่งกําหนดเป็นเป้าหมายนั้นเป็นอัตราผลตอบแทนภายในระยะเวลาที่กําหนด (3) ไม่ใช้คําว่า “ผลตอบแทน” เพื่อสื่อถึงมูลค่าหน่วยลงทุนซึ่งกําหนดเป็นเป้าหมาย (4) ในกรณีที่มีการกําหนดมูลค่าหน่วยลงทุนเป้าหมายเป็นอัตราร้อยละ มูลค่าดังกล่าวต้องสอดคล้องกับระยะเวลาเป้าหมายที่กําหนดด้วย เช่น กําหนดระยะเวลาเป้าหมายภายในหกเดือน ต้องใช้ตัวเลขที่เป็นอัตรา X% สําหรับระยะเวลาหกเดือน เป็นต้น (5) มีข้อความอธิบายเกี่ยวกับการดําเนินการเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กําหนด เช่น การเลิกกองทุนรวมและโอนเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนเข้าบัญชีของผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นต้น (6) การโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับความสําเร็จของกองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนําเสนอข้อมูลในรูปแบบกองทุนเดียวหรือหลายกองทุน หรือแยกตามประเภทหรือนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม หรือระบุเป็นช่วงระยะเวลา โดยต้องระบุข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนกองทุนรวมทั้งหมดซึ่งอยู่หรือเคยอยู่ภายใต้การจัดการที่สอดคล้องกับข้อมูลที่นําเสนอดังกล่าวและข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ (ก) จํานวนกองทุนรวมที่ถึงเป้าหมายภายในกําหนดเวลาการลงทุน (ข) จํานวนกองทุนรวมที่ถึงเป้าหมายแต่เกินกว่ากําหนดเวลาการลงทุน (ค) จํานวนกองทุนรวมที่ยังไม่ถึงเป้าหมายแต่อยู่ภายในกําหนดเวลาการลงทุน (ง) จํานวนกองทุนรวมที่ยังไม่ถึงเป้าหมายและเกินกว่ากําหนดเวลาการลงทุน ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องมีรูปแบบและขนาดตัวอักษรที่ไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในโฆษณา” ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 31 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 “(6) มูลค่าของสมนาคุณสําหรับการส่งเสริมการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด” ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาหลักทรัพย์
891
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 38/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 38/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและ การส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(3) ข้อ 46 และข้อ 47 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/1 ในหมวด 3 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณากองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 22/1 การโฆษณาของกองทุนรวมที่ระบุรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจจะจัดให้มีข้อความสงวนสิทธิให้บริษัทจัดการสามารถเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขโดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจเกิดสถานการณ์ที่จะทําให้บริษัทจัดการจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (2) มีการระบุข้อความประกอบการสงวนสิทธิว่า “บริษัทจัดการจะใช้ดุลพินิจในการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนได้ต่อเมื่อเป็นการดําเนินการภายใต้สถานการณ์ที่จําเป็นและสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ โดยไม่ทําให้ความเสี่ยงของทรัพย์สินที่ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ” (3) การแสดงข้อความสงวนสิทธิและข้อความประกอบการสงวนสิทธิต้องอยู่ในหน้าเดียวกันกับการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินที่จะลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุน โดยขนาดตัวอักษรของข้อความดังกล่าวต้องมีความชัดเจนและไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรที่ใช้ในการแสดงข้อมูลรายการทรัพย์สินหรือสัดส่วนการลงทุนนั้น ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับเฉพาะกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย หรือ กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล (2) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
892
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 10/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและ การส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 46 และข้อ 47 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 16/1 การโฆษณากองทุนรวม ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนใต้ชื่อกองทุนรวมในจุดแรกที่สามารถเห็นได้ชัดเจนดังต่อไปนี้ ด้วยตัวอักษรที่มีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรส่วนใหญ่ในโฆษณา เว้นแต่เป็นกรณีการโฆษณาผ่านสื่อที่มีข้อจํากัดด้านพื้นที่โดยผู้ประกอบธุรกิจได้จัดให้มีช่องทางที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงรายละเอียดเกี่ยวกับคําเตือนดังกล่าว (1) กรณีเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรืออายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม หรือกองทุนรวมที่ระบุว่าจะเลิกกองทุนหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเมื่อหน่วยลงทุนมีมูลค่าตามเป้าหมายที่กําหนด โดยมีการกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา (ระบุ x วัน/เดือน/ปี) ได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก” (2) กรณีเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนแบบกระจุกตัว และมิใช่กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มีคําเตือนดังนี้ (ก) คําเตือนเกี่ยวกับการกระจุกตัวอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง แล้วแต่กรณี ดังนี้ 1. กรณีที่มีการลงทุนแบบกระจุกตัวในตราสารของผู้ออกตราสาร คู่สัญญา หรือบุคคลอื่นที่มีภาระผูกพันตามตราสารหรือสัญญานั้น รายใดรายหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออก” คําว่า “ตราสาร” ตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) 1. วรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงตราสารดังนี้ 1.1 ตราสารหนี้ภาครัฐไทย 1.2 ตราสารภาครัฐต่างประเทศที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ 1.3 เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากที่ผู้รับฝากหรือผู้ออกตราสารมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ 2. กรณีที่มีการลงทุนในกิจการที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมหรือของกิจการที่มีลักษณะเทียบเคียงได้กับกิจการที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยเป็นการลงทุนในทรัพย์สินดังนี้ รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม” 2.1 หุ้น 2.2 หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานเฉพาะที่สอดคล้องกับหมวดอุตสาหกรรมดังกล่าว 2.3 หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ โดยให้นับรวมกับทรัพย์สินตาม 2.1 และ 2.2 ที่อยู่ในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพิจารณาหมวดอุตสาหกรรมตามวรรคหนึ่ง (2) วรรคหนึ่ง 2. ให้พิจารณาตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศกําหนด 3. กรณีที่มีการลงทุนแบบกระจุกตัวในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่อง” (ข) คําเตือนเพิ่มเติมต่อจากคําเตือนตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) ว่า “จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก” (3) กรณีเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “กองทุนนี้ไม่ถูกจํากัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น” เพื่อประโยชน์ตามข้อนี้ (1) คําว่า “ตราสารหนี้ภาครัฐไทย” “ตราสารภาครัฐต่างประเทศ” “เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก” และ “ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน (2) “หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ข) กองทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนโครงสร้างพื้นฐานตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) 2. วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด (3) “หน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่าหน่วยของกองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ข) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ค) กองทรัสต์หรือกองอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด” ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
893
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 67/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 67/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและ การส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ข้อ 9 วรรคหนึ่ง ประกอบกับข้อ 46 และข้อ 47 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ได้จัดทําขึ้นตามหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับหรือเป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการโฆษณาข้อมูลผลตอบแทนหรือผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําขึ้นเพื่อวัดผลการดําเนินงานของกองทุนดังกล่าตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
894
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 6/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและ การส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) และข้อ 9 วรรคหนึ่ง ประกอบกับข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (6) ในวรรคหนึ่งของข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) แสดงในรูปอัตราเงินปันผล โดยข้อมูลที่ใช้ในการจัดทําอัตราเงินปันผลดังกล่าว ต้องมาจากประมาณการงบการเงินที่ผ่านการพิจารณาจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานว่าสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีและแนวปฏิบัติทางบัญชีตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
895
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 36/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและ การส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 46 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ระบุเฉพาะเจาะจง”ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (6) ของวรรคหนึ่งในข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียด เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) ในกรณีที่เป็นการนําเสนอตัวเลขประมาณการผลตอบแทนของกองทุนรวมตามข้อ 18(3) หรือ (4) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) แสดงในรูปอัตราเงินปันผล โดยข้อมูลที่ใช้ในการจัดทําอัตราเงินปันผลดังกล่าว ต้องมาจากประมาณการงบการเงินที่ผ่านการพิจารณาจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานว่าสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีและแนวปฏิบัติทางบัญชีตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (ข) ข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการต้องเป็นข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งดังนี้ 1. รอบปีบัญชีที่มีการโฆษณาประมาณการดังกล่าว โดยอาจใช้ข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งรอบปีบัญชี 2. รอบระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันที่คาดว่ากองทุนรวมดังกล่าวจะดําเนินการเสนอขายหน่วยลงทุนแล้วเสร็จ (ค) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในสิทธิการเช่า สิทธิสัมปทาน สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต หรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคตของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือสิทธิอื่นใดในทํานองเดียวกัน ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการไม่รวมส่วนที่เป็นเงินคืนทุน (ง) ในกรณีที่กองทุนรวมได้รับการสนับสนุนรายได้หรือกําไรที่ไม่ได้เกิดจากการจัดหาผลประโยชน์ตามปกติธุรกิจ เช่น การประกันรายได้ เป็นต้น ต้องจําแนกให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยว่าตัวเลขประมาณการผลตอบแทนประกอบด้วยผลตอบแทนจากการดําเนินงานและผลตอบแทนจากการสนับสนุนรายได้หรือกําไรดังกล่าวในอัตราเท่าใด” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 19/1 ในการนําเสนอตัวเลขประมาณการผลตอบแทนตามข้อ 19 วรรคหนึ่ง (6) ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเสนอตัวเลขประมาณการอัตราผลตอบแทนภายใน (internal rate of return) ควบคู่กันไปด้วย” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 4 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
896
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 45/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 9)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย 2 แล้ว เมื่อวันที่...........14/07/63.................................... CSDS เลขที่......68/2563....... ครั้งที่ .......2................ ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 45/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและ การส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 46 และข้อ 47 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ในวรรคหนึ่งของข้อ 16/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 66/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 “(5) กรณีเป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในตราสารที่มีความเสี่ยงสูง จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้” และ “กองทุนรวมนี้มีการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงสูงจากการผิดนัดชําระหนี้หรือการขาดสภาพคล่องของตราสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย”” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
897
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 17/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 17/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและ การส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) และข้อ 9 วรรคหนึ่ง ประกอบกับข้อ 46 ข้อ 47 และข้อ 48 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เพื่อประโยชน์ในการกําหนดหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ ให้คําว่า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และให้หมายความรวมถึงกองทุนด้วย” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) หากมีการแสดงข้อมูลด้านบวกหรือโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนต้องมีการแสดงข้อมูลด้านลบหรือความเสี่ยงจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนควบคู่กัน เว้นแต่เป็นการแสดงข้อมูลดังกล่าวสําหรับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ออกโดยกองทุนรวม” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง ของข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่เป็นการโฆษณาที่มีการระบุว่ากองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมจากสํานักงานแล้ว ต้องจัดให้มีข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม.............................. เมื่อวันที่ ................................ มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูล ในการเสนอขาย และมิได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของกองทุนรวม” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 16 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ข้อความที่ระบุช่องทางในการขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ข้อความดังกล่าวต้องมีลักษณะเด่นชัดเพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบได้โดยง่าย” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกข้อ 16/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 45/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ข้อ ๗ ให้ยกเลิกข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 21/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 21/1 กรณีเป็นกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนเพียงครั้งเดียวโดยถือทรัพย์สินที่ลงทุนไว้ จนครบกําหนดอายุของทรัพย์สิน หรืออายุของรอบการลงทุนของกองทุนรวม หรือครบอายุของกองทุนรวม (buy & hold fund) โดยมีการกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา (ระบุ x วัน/เดือน/ปี) ได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก” ในกรณีที่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่งมีการโฆษณาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขที่แสดงถึงประมาณการผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมตามข้อ 19 ด้วย คําเตือนตามวรรคหนึ่งต้องแสดงอยู่ในหน้าเดียวกันกับการโฆษณาข้อมูลดังกล่าว และขนาดตัวอักษรของคําเตือนต้องมีความชัดเจนและไม่เล็กไปกว่าตัวอักษรปกติของข้อมูลส่วนใหญ่ในการโฆษณา” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 25/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนรวมกําหนดห้ามผู้ถือหน่วยลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาใด ๆ ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา (ระบุ x วัน/เดือน/ปี) ได้ ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก”” ข้อ ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/2 ในหมวด 3 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณากองทุนรวม แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 22/2 มิให้นําความในข้อ 12 ข้อ 16(2) และข้อ 22(1) (ก) และ (5) มาใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีข้อจํากัดด้านเวลาหรือพื้นที่สื่อในการโฆษณา โดยผู้ประกอบธุรกิจได้จัดให้มีคําเตือนว่า “กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทําความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน” ในการโฆษณาดังกล่าว” ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 28 เพื่อให้การจัดให้มีการส่งเสริมการขายเป็นไปตามข้อ 48 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้การส่งเสริมการขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ออกโดยกองทุนรวม ให้เป็นไปตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกเหนือจาก (1) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิก (1) และ (3) ของข้อ 31 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิก (1) และ (3) ของข้อ 31 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 33 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 33 ในการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศของสมาคมที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในกรณีที่เป็นหุ้นหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามประกาศสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยว่าด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัทสมาชิก (2) ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ปฏิบัติตามแนวทางของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยในส่วนที่เกี่ยวกับประกาศคณะกรรมการชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าว่าด้วยวงเงินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องเดียวกันตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีหลักเกณฑ์ที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (1) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการส่งเสริมการขายกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเข้าร่วมในการจัดงานมหกรรม ตามข้อ 29 (2) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับมูลค่าของสมนาคุณสําหรับการส่งเสริมการขายหน่วยลงทุนตามโครงการที่มีลักษณะเป็นการลงทุนอย่างสม่ําเสมอต่อเนื่องทุกเดือนเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี ตามข้อ 31(3) (3) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับมูลค่าของสมนาคุณสําหรับการเปิดบัญชีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีเงื่อนไขให้ผู้ลงทุนต้องทําการซื้อขายหรือลงทุนตามจํานวนขั้นต่ําภายในระยะเวลาที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนด ตามข้อ 31(5) (4) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการส่งเสริมการขายที่เป็นการจัดกิจกรรม ตามข้อ 32 ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายสําหรับกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ หรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ออกโดยกองทุนรวมดังกล่าว อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย หากการดําเนินการดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามหมวด 3 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการโฆษณากองทุนรวม และหมวด 5 การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการนั้นต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
898
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 66/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 6)
-ร่าง- ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 66/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับที่ 6)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 46 และข้อ 47 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ในวรรคหนึ่งของข้อ 16/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “(4) กรณีเป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ต้องจัดให้มีคําเตือนว่า “การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนํามาลดหย่อนภาษีได้”” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 20/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 25/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 20/1 การโฆษณากองทุนรวมที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนและการเสนอขายหน่วยลงทุน ต้องไม่เป็นการนําสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมดังกล่าวมาเป็นปัจจัยหลักในการโฆษณา” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ -----------------------ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่........04/12/62................................CSDS เลขที่..79/2562.. ครั้งที่ ......3..........
899