title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 5/2562 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 5/2562 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์คราวด์ฟันดิง” “หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง” และ “ระบบคราวด์ฟันดิง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง คําว่า “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้บริหาร” และ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับการเสนอขายหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๔ การเสนอขายหลักทรัพย์คราวด์ฟันดิงที่ออกใหม่โดยบริษัทผ่านผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายหลักทรัพย์คราวด์ฟันดิงต่อผู้ลงทุนที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ (ข) นิติบุคคลร่วมลงทุนหรือกิจการเงินร่วมลงทุนตามประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน (ค) ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง (2) การเสนอขายหลักทรัพย์คราวด์ฟันดิงต่อผู้ลงทุนรายบุคคลที่มิใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งมีมูลค่าการเสนอขายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) มูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์คราวด์ฟันดิงทุกหลักทรัพย์ของแต่ละบริษัทต่อผู้ลงทุนประเภทนี้แต่ละรายไม่เกิน 1 แสนบาท (ข) มูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์คราวด์ฟันดิงทุกหลักทรัพย์ของแต่ละบริษัทต่อผู้ลงทุนประเภทนี้ทั้งหมดรวมกันไม่เกิน 20 ล้านบาทในรอบระยะเวลา 12 เดือนนับแต่มีการเสนอขายหลักทรัพย์คราวด์ฟันดิงเป็นครั้งแรก และไม่เกิน 40 ล้านบาทนับแต่วันที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์คราวด์ฟันดิงผ่านผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงครั้งแรก การคํานวณมูลค่าการเสนอขายตามวรรคหนึ่ง (2) ให้ถือเอาราคาเสนอขายหลักทรัพย์คราวด์ฟันดิงนั้นเป็นเกณฑ์ โดยมิให้นับรวมมูลค่าหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงที่มีการชําระหนี้ตามหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงนั้นไปแล้ว ข้อ ๕ ให้การเสนอขายหลักทรัพย์ในทอดต่อ ๆ ไปจากการเสนอขายตามข้อ 4 ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน หากการเสนอขายในทอดต่อ ๆ ไปดังกล่าวเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามข้อ 4(1) หรือ (2) โดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการคํานวณมูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์ที่เข้าลักษณะอนุโลมตามข้อ 4(2) ให้ถือปฏิบัติว่าในกรณีที่มีผู้ถือหลักทรัพย์หลายรายร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันซึ่งออกโดยบริษัทเดียวกัน หรือเสนอขายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ให้นับรวมการเสนอขายของผู้ถือหลักทรัพย์ทุกราย เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์โดยผู้ถือหลักทรัพย์เพียงหนึ่งราย ทั้งนี้ การร่วมกันเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้รวมถึงพฤติการณ์ที่มีลักษณะครบถ้วน ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายเสนอขายหลักทรัพย์ในราคาและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน (2) ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน (ข) ผู้ถือหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย หรือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว (ค) เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละรายในที่สุดไปสู่บุคคลเดียวกัน ข้อ ๖ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 5 ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหลักทรัพย์ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป (2) ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้ถือหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ข้อ ๗ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศนี้ รายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามแนวทาง และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันปิดการเสนอขายโดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่เสนอขาย ครั้งที่เสนอขาย (2) ประเภท ลักษณะ และชื่อเฉพาะของหลักทรัพย์ (3) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหลักทรัพย์ที่ขายได้ทั้งหมด (4) ราคาของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (5) ชื่อ สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ และเว็บไซต์ของผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ทําการเสนอขาย (6) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อหลักทรัพย์ และจํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้ซื้อแต่ละรายได้รับ (7) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รายงานผลการขาย ข้อ ๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2558 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 ให้การอ้างอิงประกาศดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,000
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 7/2562 เรื่อง การกำหนดการให้บริการของบริษัทนายหน้าที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 7/2562 เรื่อง การกําหนดการให้บริการของบริษัทนายหน้าที่ไม่ถือเป็น การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ให้การให้บริการของบริษัทนายหน้าในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลและการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (1) การส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยใช้โปรแกรมการคัดเลือกและส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่สามารถถูกแทรกแซงขั้นตอนการส่งคําสั่งได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามกลยุทธ์การลงทุนที่ลูกค้าเลือกจากการนําเสนอของบริษัทนายหน้า (program trading) (2) การวิเคราะห์และแนะนําการลงทุนเพื่อกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนสําหรับลูกค้า ซึ่งแสดงถึงผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละประเภทและสัดส่วนการลงทุน โดยมีการส่งคําสั่งซื้อขายตามแผน จัดสรรการลงทุนดังกล่าว (portfolio advisory with execution) รวมทั้งมีการติดตามและปรับปรุงการลงทุน (monitoring & rebalancing) ให้สอดคล้องกับแผนจัดสรรการลงทุนของลูกค้า ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,001
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กลธ. 9/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 9/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และข้อ 6(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 18/2561 เรื่อง การกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอาจตั้งหรือยอมให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นเป็นหรือทําหน้าที่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ หากปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีระบบในการป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือกับลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ไม่เป็นการตั้งกรรมการหรือผู้บริหารไขว้กันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรู้หรือควรรู้ว่ามีการฝ่าฝืนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรายงานข้อเท็จจริงพร้อมแนวทางการแก้ไขการฝ่าฝืนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว และต้องแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดหากไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการให้กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพ้นจากตําแหน่งดังกล่าวโดยไม่ชักช้า ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,002
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 9/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 9/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และข้อ 6(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 18/2561 เรื่อง การกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอาจตั้งหรือยอมให้กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นเป็นหรือทําหน้าที่กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ หากปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีระบบในการป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือกับลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ไม่เป็นการตั้งกรรมการหรือผู้บริหารไขว้กันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทดังนี้ (ก) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (ข) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรู้หรือควรรู้ว่ามีการฝ่าฝืนตามที่กําหนดไว้ในข้อ 1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลรายงานข้อเท็จจริงพร้อมแนวทางการแก้ไขการฝ่าฝืนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว และต้องแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดหากไม่สามารถแก้ไขได้ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการให้กรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพ้นจากตําแหน่งดังกล่าวโดยไม่ชักช้า ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,003
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 21/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 21/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2 ) ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และข้อ 6(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 18/2561 เรื่อง การกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กลธ. 9/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(2) ไม่เป็นการตั้งกรรมการหรือผู้บริหารไขว้กันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทดังนี้ (ก) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนชีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล กับผู้ประกรบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (ข) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,004
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 4/2556 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4 /2556 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 11(1) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 6/2551 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 7/2551 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ให้ทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) ห้าร้อยล้านบาท สําหรับ (ก) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ก (ข) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (2) หนึ่งร้อยล้านบาท สําหรับ (ก) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ข (ข) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ค (ค) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง เว้นแต่เป็นกรณีตาม (3) (ง) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ (จ) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉ) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (ช) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ซ) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฌ) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นใด ที่มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง 2. มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ เพื่อการลงทุนของบริษัทนั้นเอง 3. มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ (3) สิบล้านบาท สําหรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง ที่ประกอบธุรกิจเพียงการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น และไม่มีการประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (2) (ฌ) 1. 2. หรือ 3. (4) หนึ่งล้านบาท สําหรับใบอนุญาตดังต่อไปนี้ ที่ไม่มีการประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (2) (ฌ) 1. 2. หรือ 3. (ก) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ข) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,005
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 11/2560 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2560 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 11(1) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2556 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๒ ให้ทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) 500 ล้านบาท สําหรับ (ก) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ก (ข) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (2) 100 ล้านบาท สําหรับ (ก) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ข (ข) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ค (ค) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง (ง) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ (จ) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉ) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (ช) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (ซ) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ฌ) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นใด ที่มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง 2. มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ เพื่อการลงทุนของบริษัทนั้นเอง 3. มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ (3) 10 ล้านบาท สําหรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง ที่ประกอบธุรกิจเฉพาะการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น และไม่มีการประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (2) (ฌ) 1. 2. หรือ 3. (4) 1 ล้านบาท สําหรับใบอนุญาตดังต่อไปนี้ ที่ไม่มีการประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (2) (ฌ) 1. 2. หรือ 3. (ก) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (ข) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน (ค) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ที่ประกอบธุรกิจเฉพาะการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น โดยผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและได้แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท 1. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง 2. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,006
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 25/2560 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 25/2560 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 11(1) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2560 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ ๓ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) 100 ล้านบาท สําหรับ (ก) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์ (ข) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ค) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นใด ที่มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง 2. มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ เพื่อการลงทุนของบริษัทนั้นเอง 3. มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ (2) 25 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และไม่มีการประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1) (ค) 1. 2. หรือ 3. (3) 10 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ที่ให้บริการเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และไม่มีการประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1) (ค) 1. 2. หรือ 3. (4) 1 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1) (2) หรือ (3) ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,007
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 11/2562 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2562 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต และผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 ประกอบกับข้อ 11(1) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 25/2560 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ ๓ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) 100 ล้านบาท สําหรับ การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ (2) 25 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (3) 25 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ที่ให้บริการแก่ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน (4) 10 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ที่ให้บริการเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบัน (5) 1 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,008
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2562 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจำกัด (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2562 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจํากัด (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 10(1) มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกโทเคนดิจิทัล” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ออกโทเคนดิจิทัลในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ความสัมพันธ์ด้านธุรกิจและการลงทุน เช่น ลูกค้า ผู้ให้บริการหรือผู้จําหน่ายสินค้า บุคคลที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เป็นต้น (2) ความสัมพันธ์ด้านการบริหารและการจัดการ เช่น กรรมการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา และพนักงานของผู้ออกโทเคนดิจิทัล และผู้ก่อตั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับโทเคนดิจิทัลที่เสนอขายในครั้งนั้น ๆ เป็นต้น (3) ความสัมพันธ์ในด้านการเป็นเครือญาติของผู้ก่อตั้งโครงการตาม (2) และพนักงาน “บริษัทใหญ่” หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในผู้ออกโทเคนดิจิทัลเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกโทเคนดิจิทัลนั้น “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ ต่อบุคคลในวงจํากัดหรือการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ได้ออกไว้แล้วและมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอขายต่อบุคคลในวงจํากัด หมวด 1 การเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจํากัด หมายถึง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายต่อบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ (2) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกิน 50 รายภายในรอบระยะเวลา 12 เดือน โดยผู้ลงทุนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกโทเคนดิจิทัล (3) การเสนอขายที่มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ล้านบาทภายในรอบระยะเวลา 12 เดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าการเสนอขายดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายโทเคนดิจิทัลนั้นเป็นเกณฑ์ ข้อ ๕ การพิจารณาลักษณะการเสนอขายโทเคนดิจิทัลในวงจํากัดตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 4(2) หากผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีการออกโทเคนดิจิทัลให้บุคคลใด ๆ ด้วยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากการเสนอขาย ให้นับบุคคลดังกล่าวรวมในจํานวนผู้ลงทุนด้วย (2) การนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 4(2) หรือการคํานวณมูลค่ารวมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลตามข้อ 4(3) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายและแจกต่อผู้ลงทุนตามข้อ 4(1) ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน หมวด 2 การอนุญาตและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ ให้บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจํากัดได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. และให้ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนด้วย ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 6 ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) เสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยผู้ให้บริการดังกล่าวต้องไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ได้รับอนุญาตในลักษณะที่อาจทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ (2) ส่งมอบโทเคนดิจิทัลที่เสนอขายทั้งหมดให้แก่ผู้ซื้อในวงจํากัดพร้อมกับผู้ซื้อในรอบที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป หรือส่งมอบโทเคนดิจิทัลโดยจัดให้มีกลไกที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ซื้อในวงจํากัดจะไม่สามารถโอนโทเคนดิจิทัลไปยังบุคคลอื่นก่อนการส่งมอบในรอบที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป เว้นแต่เป็นการโอนที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) การโอนโทเคนดิจิทัลที่ได้รับจากการเสนอขายตามข้อ 4(1) หรือข้อ 4(2) ให้แก่บุคคลที่มีลักษณะเดียวกับบุคคลตามข้อ 4(1) หรือข้อ 4(2) แล้วแต่กรณี (ข) การโอนโทเคนดิจิทัลที่ได้รับมาจากการเสนอขายตามข้อ 4(3) ที่ยังเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4(3) (3) ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่โฆษณาการเสนอขายโทเคนดิจิทัลเป็นการทั่วไป และในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะแจกจ่ายข้อมูลเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายข้อมูลให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือจํานวนตามข้อ 4(1) หรือ (2) หรือแจกจ่ายเท่าที่จําเป็นเพื่อให้มูลค่าการเสนอขายเป็นไปตามข้อ 4(3) เท่านั้น (4) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจะรับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นการตอบแทน ให้รับได้เฉพาะ คริปโทเคอร์เรนซีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. และได้มาจากการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ซึ่งไม่อยู่ระหว่างถูกระงับการประกอบธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีเท่านั้น ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดทําและเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ตามแนวทางที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. (1) รายงานผลการขายโทเคนดิจิทัล (2) ข้อมูลการถือโทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุนแต่ละลักษณะตามข้อ 4 หมวด 3 อํานาจของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ที่เป็นเหตุอันควรสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งระงับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดตามข้อ 6 ไว้ก่อน หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ในกรณีดังกล่าวได้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตมีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตได้ (2) ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน (3) การเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่ออกภายใต้พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจผ่อนผันไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลตามข้อ 6 ได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญ และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ได้รับอนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) ผู้ได้รับอนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้จะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวเดียวกันทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจกําหนดตามลักษณะของโทเคนดิจิทัล ผู้ออกโทเคนดิจิทัล ผู้ลงทุน หรือการเสนอขายก็ได้ (2) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ในการดําเนินการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง ให้นําปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ มาประกอบการพิจารณาดําเนินการด้วย (1) การส่งเสริมให้ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีความรับผิดชอบต่อผู้ลงทุน (2) ความได้สัดส่วนระหว่างภาระของผู้อยู่ใต้บังคับแห่งประกาศนี้ กับประโยชน์ที่ผู้ลงทุนโดยรวมจะได้รับ (3) การส่งเสริมให้เกิดทางเลือกในการระดมทุนและการลงทุน (4) การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม (5) การส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมของภาคเอกชน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,009
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 12/2562 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจำกัด
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2562 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 10(1) มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกโทเคนดิจิทัล” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ออกโทเคนดิจิทัลในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ความสัมพันธ์ด้านธุรกิจและการลงทุน เช่น ลูกค้า ผู้ให้บริการหรือผู้จําหน่ายสินค้า บุคคลที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เป็นต้น (2) ความสัมพันธ์ด้านการบริหารและการจัดการ เช่น กรรมการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา และพนักงานของผู้ออกโทเคนดิจิทัล และผู้ก่อตั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับโทเคนดิจิทัลที่เสนอขายในครั้งนั้น ๆ เป็นต้น (3) ความสัมพันธ์ในด้านการเป็นเครือญาติของผู้ก่อตั้งโครงการตาม (2) และพนักงาน “บริษัทใหญ่” หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในผู้ออกโทเคนดิจิทัลเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ออกโทเคนดิจิทัลนั้น “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ ต่อบุคคลในวงจํากัดหรือการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ได้ออกไว้แล้วและมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอขายต่อบุคคลในวงจํากัด หมวด 1 การเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจํากัด หมายถึง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายต่อบุคคลที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ (ข) นิติบุคคลร่วมลงทุนหรือกิจการเงินร่วมลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน (2) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกิน 50 รายภายในรอบระยะเวลา 12 เดือน โดยผู้ลงทุนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกโทเคนดิจิทัล (3) การเสนอขายที่มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ล้านบาทภายในรอบระยะเวลา 12 เดือน ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าการเสนอขายดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายโทเคนดิจิทัลนั้นเป็นเกณฑ์ ข้อ ๕ การพิจารณาลักษณะการเสนอขายโทเคนดิจิทัลในวงจํากัดตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงตามข้อ 4(2) หากผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีการออกโทเคนดิจิทัลให้บุคคลใด ๆ ด้วยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากการเสนอขาย ให้นับบุคคลดังกล่าวรวมในจํานวนผู้ลงทุนด้วย (2) การนับจํานวนผู้ลงทุนตามข้อ 4(2) หรือการคํานวณมูลค่ารวมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลตามข้อ 4(3) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายและแจกต่อผู้ลงทุนตามข้อ 4(1) ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน หมวด 2 การอนุญาตและเงื่อนไขภายหลังการอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ ให้บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจํากัดได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. และให้ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวนด้วย ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 6 ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) เสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยผู้ให้บริการดังกล่าวต้องไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ได้รับอนุญาตในลักษณะที่อาจทําให้ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่ (2) ส่งมอบโทเคนดิจิทัลที่เสนอขายทั้งหมดให้แก่ผู้ซื้อในวงจํากัดพร้อมกับผู้ซื้อในรอบที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป หรือส่งมอบโทเคนดิจิทัลโดยจัดให้มีกลไกที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ซื้อในวงจํากัดจะไม่สามารถโอนโทเคนดิจิทัลไปยังบุคคลอื่นก่อนการส่งมอบในรอบที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป เว้นแต่เป็นการโอนที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) การโอนโทเคนดิจิทัลที่ได้รับจากการเสนอขายตามข้อ 4(1) หรือข้อ 4(2) ให้แก่บุคคลที่มีลักษณะเดียวกับบุคคลตามข้อ 4(1) หรือข้อ 4(2) แล้วแต่กรณี (ข) การโอนโทเคนดิจิทัลที่ได้รับมาจากการเสนอขายตามข้อ 4(3) ที่ยังเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4(3) (3) ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่โฆษณาการเสนอขายโทเคนดิจิทัลเป็นการทั่วไป และในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะแจกจ่ายข้อมูลเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างการเสนอขาย ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจกจ่ายข้อมูลให้เฉพาะบุคคลที่มีลักษณะหรือจํานวนตามข้อ 4(1) หรือ (2) หรือแจกจ่ายเท่าที่จําเป็นเพื่อให้มูลค่าการเสนอขายเป็นไปตามข้อ 4(3) เท่านั้น (4) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตจะรับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นการตอบแทน ให้รับได้เฉพาะ คริปโทเคอร์เรนซีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. และได้มาจากการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ซึ่งไม่อยู่ระหว่างถูกระงับการประกอบธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีเท่านั้น ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดทําและเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ ตามแนวทางที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. (1) รายงานผลการขายโทเคนดิจิทัล (2) ข้อมูลการถือโทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุนแต่ละลักษณะตามข้อ 4 หมวด 3 อํานาจของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ที่เป็นเหตุอันควรสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งระงับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดตามข้อ 6 ไว้ก่อน หรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ในกรณีดังกล่าวได้ (1) ผู้ได้รับอนุญาตมีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ หรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตได้ (2) ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน (3) การเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่ออกภายใต้พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจผ่อนผันไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลตามข้อ 6 ได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญ และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ได้รับอนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) ผู้ได้รับอนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้มีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้จะสามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ในแนวเดียวกันทั้งนี้ การกําหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจกําหนดตามลักษณะของโทเคนดิจิทัล ผู้ออกโทเคนดิจิทัล ผู้ลงทุน หรือการเสนอขายก็ได้ (2) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ในการดําเนินการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามวรรคหนึ่ง ให้นําปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ มาประกอบการพิจารณาดําเนินการด้วย (1) การส่งเสริมให้ผู้ออกโทเคนดิจิทัลมีความรับผิดชอบต่อผู้ลงทุน (2) ความได้สัดส่วนระหว่างภาระของผู้อยู่ใต้บังคับแห่งประกาศนี้ กับประโยชน์ที่ผู้ลงทุนโดยรวมจะได้รับ (3) การส่งเสริมให้เกิดทางเลือกในการระดมทุนและการลงทุน (4) การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม (5) การส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมของภาคเอกชน ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,010
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 13/2565 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจำกัด (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่กจ. 13/2565 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจํากัด (ฉบับที่ 2 ) ------------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) มาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2562 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อบุคคลในวงจํากัด ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) การเสนอขายต่อบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,011
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้ง กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เพื่อให้การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความโปร่งใสและสะท้อนการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุน (stakeholders) รวมทั้งเพื่อให้บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมและรักษาความมั่นคง ความเป็นธรรมในระบบการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้มีความเรียบร้อย และสามารถตรวจสอบได้ โดยมุ่งที่จะคุ้มครองผู้ลงทุนและคํานึงถึงประโยชน์ของตลาดทุนในภาพรวม (public independent director) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 159/1 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ ๒ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๓ ในการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดให้นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามประเภทหรือลักษณะที่กําหนดในหมวด 1 เป็นผู้มีสิทธิเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําหน้าที่กลั่นกรองรายชื่อบุคคลที่เข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในหมวด 2 ในกรณีที่เห็นสมควร (3) พิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จําเป็นต่อ การดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กําหนดในหมวด 3 (4) แจ้งรายชื่อกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งและเปิดเผยต่อสาธารณะ หมวด ๑ การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือก เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุนในประเภทหรือลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นผู้ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถพิจารณากําหนดให้มีสิทธิเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. (1) นิติบุคคลที่มีบทบาทเสมือนตัวแทนของภาคผู้ลงทุนหรือผู้ระดมทุน (2) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (3) นิติบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานให้เป็นองค์กรกํากับดูแลตนเอง นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลงานที่เป็นการส่งเสริมและพัฒนา ที่เป็นประโยชน์ต่อตลาดทุนอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ประจักษ์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือเป็นนิติบุคคลที่มีบทบาทเสมือนตัวแทนของภาคผู้ลงทุนที่ดําเนินการแทนหรือเพื่อประโยชน์ของสมาชิกจํานวนมาก ข้อ ๕ เมื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กําหนดนิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีสิทธิเสนอชื่อตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4 แล้ว ให้สํานักงานแจ้งให้นิติบุคคลและคณะบุคคลดังกล่าวเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะมีการแต่งตั้งในแต่ละครั้ง และเสนอชื่อภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด หมวด ๒ หมวด 2 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําหน้าที่พิจารณา กลั่นกรองรายชื่อบุคคลที่เข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก็ได้ ข้อ ๗ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองรายชื่อที่ได้รับตามข้อ 5 โดยพิจารณาจากบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 เว้นแต่กรณีที่บุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160(4) และได้ดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 7/1 แล้ว (2) มีองค์ความรู้หรือประสบการณ์ตามข้อ 8/1 ให้คณะอนุกรรมการเสนอชื่อบุคคลที่มีความเหมาะสมตามวรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ พร้อมระบุเหตุผลประกอบการเสนอชื่อ (1) เสนอรายชื่อเท่ากับ 2 เท่าของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะแต่งตั้ง (2) เสนอรายชื่อน้อยกว่า 2 เท่าของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะแต่งตั้ง เฉพาะกรณีที่รายชื่อที่ได้รับจากผู้มีสิทธิเสนอชื่อตามข้อ 5 มีจํานวนน้อยกว่า 2 เท่าของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะแต่งตั้ง ข้อ 7/1[1](#_ftn1) ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อตามข้อ 5 มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 160(4) บุคคลนั้นต้องจัดให้มีคํารับรองว่ายินยอมลาออกจากตําแหน่งที่เป็นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวโดยให้มีผลก่อนวันที่เข้าดํารงตําแหน่งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๓ การคัดเลือกกรรมการตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ บุคคลที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 เว้นแต่กรณีที่บุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160(4) และได้ดําเนินการตามข้อ 7/1 แล้ว ข้อ 8/1[1](#_ftn1) เพื่อให้องค์คณะของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วยบุคคลที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย ในการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะต้องคํานึงถึงบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีประสบการณ์การเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2) มีความรู้หรือประสบการณ์ที่จําเป็นต่อการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านดังนี้ (ก) กลยุทธ์ทางธุรกิจหรือทางการตลาด (ข) การบริหารความเสี่ยง (ค) ดิจิทัล (ง) กฎหมายธุรกิจ การเงิน ตลาดทุน หรือกฎ กติกาสากล ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน (จ) การแข่งขันระหว่างประเทศ (ฉ) บัญชี ในการพิจารณาความรู้หรือประสบการณ์ตามวรรคหนึ่ง (2) คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะให้น้ําหนักเพิ่มขึ้นกับบุคคลที่มีความรู้หรือประสบการณ์ดังกล่าวในกิจการตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจการเงิน ในการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดความรู้หรือประสบการณ์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านตามวรรคหนึ่ง (2) ก็ได้ โดยคํานึงถึงบทบาท หน้าที่ หรือภารกิจตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย รวมถึงความจําเป็นเชิงกลยุทธ์และพันธกิจของตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๘ บุคคลที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 เว้นแต่กรณีที่บุคคลดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160(4) และได้ดําเนินการตามข้อ 7/1 แล้ว ข้อ 8/1[1](#_ftn1) เพื่อให้องค์คณะของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วยบุคคลที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย ในการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะต้องคํานึงถึงบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีประสบการณ์การเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2) มีความรู้หรือประสบการณ์ที่จําเป็นต่อการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านดังนี้ (ก) กลยุทธ์ทางธุรกิจหรือทางการตลาด (ข) การบริหารความเสี่ยง (ค) ดิจิทัล (ง) กฎหมายธุรกิจ การเงิน ตลาดทุน หรือกฎ กติกาสากล ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน (จ) การแข่งขันระหว่างประเทศ (ฉ) บัญชี ในการพิจารณาความรู้หรือประสบการณ์ตามวรรคหนึ่ง (2) คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะให้น้ําหนักเพิ่มขึ้นกับบุคคลที่มีความรู้หรือประสบการณ์ดังกล่าวในกิจการตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจการเงิน ในการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดความรู้หรือประสบการณ์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านตามวรรคหนึ่ง (2) ก็ได้ โดยคํานึงถึงบทบาท หน้าที่ หรือภารกิจตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย รวมถึงความจําเป็นเชิงกลยุทธ์และพันธกิจของตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๙ ในการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะใช้วิธีการคัดเลือกโดยการออกเสียงลงคะแนน โดยกรรมการ ก.ล.ต. แต่ละท่านจะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้ไม่เกินจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับการแต่งตั้ง และใช้วิธีการลงคะแนนเป็นการลับ ทั้งนี้ บุคคลที่จะได้รับการคัดเลือกต้องเป็นบุคคลที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มาประชุม ข้อ ๑๐ ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์เป็นบุคคลตามข้อ 7/1 และบุคคลดังกล่าวมิได้ลาออกจากตําแหน่งที่ทําให้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160(4) ตามที่ได้แจ้งไว้ในคํารับรองของตน ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ในครั้งนั้น โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์จากบุคคลอื่นที่อยู่ในรายชื่อตามที่คณะอนุกรรมการเสนอตามข้อ 7 แทน หากไม่มีบุคคลอื่นเหลืออยู่ในรายชื่อตามที่คณะอนุกรรมการเสนอตามข้อ 7 หรือ ไม่มีบุคคลใดได้รับการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะดําเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ใหม่สําหรับตําแหน่งที่ยังว่างอยู่ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,012
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้ง กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เพื่อให้การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความโปร่งใสและสะท้อนการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุน (stakeholders) รวมทั้งเพื่อให้บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมและรักษาความมั่นคง ความเป็นธรรมในระบบการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้มีความเรียบร้อย และสามารถตรวจสอบได้ โดยมุ่งที่จะคุ้มครองผู้ลงทุนและคํานึงถึงประโยชน์ของตลาดทุนในภาพรวม (public independent director) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 159/1 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๓ ในการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดให้นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามประเภทหรือลักษณะที่กําหนดในหมวด 1 เป็นผู้มีสิทธิเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (2) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําหน้าที่กลั่นกรองรายชื่อบุคคลที่เข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามที่กําหนดในหมวด 2 ในกรณีที่เห็นสมควร (3) พิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จําเป็นต่อการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์เพื่อเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในหมวด 3 (4) แจ้งรายชื่อกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งและเปิดเผยต่อสาธารณะ หมวด ๑ การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือก เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตลาดทุนในประเภทหรือลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นผู้ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. สามารถพิจารณากําหนดให้มีสิทธิเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. (1) นิติบุคคลที่มีบทบาทเสมือนตัวแทนของภาคผู้ลงทุนหรือผู้ระดมทุน (2) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (3) นิติบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงานให้เป็นองค์กรกํากับดูแลตนเอง นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลงานที่เป็นการส่งเสริมและพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อตลาดทุนอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ประจักษ์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือเป็นนิติบุคคลที่มีบทบาทเสมือนตัวแทนของภาคผู้ลงทุนที่ดําเนินการแทนหรือเพื่อประโยชน์ของสมาชิกจํานวนมาก ข้อ ๕ เมื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กําหนดนิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีสิทธิเสนอชื่อตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4 แล้ว ให้สํานักงานแจ้งให้นิติบุคคลและคณะบุคคลดังกล่าวเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะมีการแต่งตั้งในแต่ละครั้ง และเสนอชื่อภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด หมวด ๒ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําหน้าที่พิจารณากลั่นกรองรายชื่อบุคคลที่เข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ก็ได้ ข้อ ๗ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองรายชื่อที่ได้รับตามข้อ 5 โดยพิจารณาจากบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตลอดจนมีความรู้หรือประสบการณ์ตามข้อ 8 และเสนอชื่อบุคคลที่มีความเหมาะสมต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ พร้อมระบุเหตุผลประกอบการเสนอชื่อ (1) เสนอรายชื่อเท่ากับสองเท่าของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะแต่งตั้ง (2) เสนอรายชื่อน้อยกว่าสองเท่าของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะแต่งตั้ง เฉพาะกรณีที่รายชื่อที่ได้รับจากผู้มีสิทธิเสนอชื่อตามข้อ 5 มีจํานวนน้อยกว่าสองเท่าของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะแต่งตั้ง หมวด ๓ การคัดเลือกกรรมการตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ บุคคลที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้ว เพื่อให้องค์คณะของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วยบุคคลที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะคํานึงถึงบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีประสบการณ์การเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2) มีความรู้หรือประสบการณ์ที่จําเป็นต่อการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านดังนี้ (ก) กลยุทธ์ทางธุรกิจหรือทางการตลาด (ข) การบริหารความเสี่ยง (ค) ดิจิทัล (ง) กฎหมายธุรกิจ การเงิน ตลาดทุน หรือกฎ กติกาสากล ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน (จ) การแข่งขันระหว่างประเทศ (ฉ) บัญชี ในการพิจารณาความรู้หรือประสบการณ์ตาม (2) คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะให้น้ําหนักเพิ่มขึ้นกับบุคคลที่มีความรู้หรือประสบการณ์ดังกล่าวในกิจการตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจการเงิน ในการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดความรู้หรือประสบการณ์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านตาม (2) ก็ได้ โดยคํานึงถึงบทบาท หน้าที่ หรือภารกิจตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย รวมถึงความจําเป็นเชิงกลยุทธ์และพันธกิจของตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๙ ในการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะใช้วิธีการคัดเลือกโดยการออกเสียงลงคะแนน โดยกรรมการ ก.ล.ต. แต่ละท่านจะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้ไม่เกินจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับการแต่งตั้ง และใช้วิธีการลงคะแนนเป็นการลับ ทั้งนี้ บุคคลที่จะได้รับการคัดเลือกต้องเป็นบุคคลที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มาประชุม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,013
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 24/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 24/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้ง กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 159/1 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองรายชื่อที่ได้รับตามข้อ 5 โดยพิจารณาจากบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 เว้นแต่กรณีที่บุคคลดังกล่าว มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160(4) และได้ดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 7/1 แล้ว (2) มีองค์ความรู้หรือประสบการณ์ตามข้อ 8/1 ให้คณะอนุกรรมการเสนอชื่อบุคคลที่มีความเหมาะสมตามวรรคหนึ่ง ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ พร้อมระบุเหตุผลประกอบการเสนอชื่อ (1) เสนอรายชื่อเท่ากับ 2 เท่าของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะแต่งตั้ง (2) เสนอรายชื่อน้อยกว่า 2 เท่าของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะแต่งตั้ง เฉพาะกรณีที่รายชื่อที่ได้รับจากผู้มีสิทธิเสนอชื่อตามข้อ 5 มีจํานวนน้อยกว่า 2 เท่าของจํานวนกรรมการตลาดหลักทรัพย์ที่จะแต่งตั้ง” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 ในหมวด 2 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 “ข้อ 7/1 ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อตามข้อ 5 มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 160(4) บุคคลนั้นต้องจัดให้มีคํารับรองว่ายินยอมลาออกจากตําแหน่งที่เป็นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวโดยให้มีผลก่อนวันที่เข้าดํารงตําแหน่งกรรมการตลาดหลักทรัพย์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 บุคคลที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 เว้นแต่กรณีที่บุคคลดังกล่าว มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160(4) และได้ดําเนินการตามข้อ 7/1 แล้ว” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 “ข้อ 8/1 เพื่อให้องค์คณะของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วยบุคคล ที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย ในการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะต้องคํานึงถึงบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) มีประสบการณ์การเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2) มีความรู้หรือประสบการณ์ที่จําเป็นต่อการดําเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านดังนี้ (ก) กลยุทธ์ทางธุรกิจหรือทางการตลาด (ข) การบริหารความเสี่ยง (ค) ดิจิทัล (ง) กฎหมายธุรกิจ การเงิน ตลาดทุน หรือกฎ กติกาสากล ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน (จ) การแข่งขันระหว่างประเทศ (ฉ) บัญชี ในการพิจารณาความรู้หรือประสบการณ์ตามวรรคหนึ่ง (2) คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะให้น้ําหนักเพิ่มขึ้นกับบุคคลที่มีความรู้หรือประสบการณ์ดังกล่าวในกิจการตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจการเงิน ในการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละครั้ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจกําหนดความรู้หรือประสบการณ์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านตามวรรคหนึ่ง (2) ก็ได้ โดยคํานึงถึงบทบาท หน้าที่ หรือภารกิจตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย รวมถึงความจําเป็นเชิงกลยุทธ์และพันธกิจของตลาดหลักทรัพย์” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 “ข้อ 10 ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์เป็นบุคคลตามข้อ 7/1 และบุคคลดังกล่าวมิได้ลาออกจากตําแหน่งที่ทําให้มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 160(4) ตามที่ได้แจ้งไว้ในคํารับรองของตน ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ในครั้งนั้น โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์จากบุคคลอื่นที่อยู่ในรายชื่อตามที่คณะอนุกรรมการเสนอตามข้อ 7 แทน หากไม่มีบุคคลอื่นเหลืออยู่ในรายชื่อตามที่คณะอนุกรรมการเสนอตามข้อ 7 หรือ ไม่มีบุคคลใดได้รับการคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะดําเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ใหม่สําหรับตําแหน่งที่ยังว่างอยู่” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,014
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 17/2562 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 17/2562 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการ การสั่งการ การลงโทษ และข้อมูลอื่นใดที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เช่น ประกาศ หนังสือเวียน แนวนโยบายในการกํากับดูแล ผลการกํากับดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อมูลสถิติ บทศึกษา บทวิจัย เรื่องร้องเรียน ขั้นตอน การดําเนินการหรือการสั่งการที่มีลักษณะคุ้มครองผู้ลงทุน เป็นต้น เมื่อเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ข้อ ๒ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. จัดให้มีข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อบุคคลทั่วไปสามารถตรวจดูได้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุนของสํานักงาน ก.ล.ต. (1) สรุปการตรวจสอบการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลตามแผนตรวจสอบปกติ (2) การสั่งการให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ให้บริการระบบเสนอขาย โทเคนดิจิทัลกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ เว้นแต่การสั่งการที่มิได้มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญ ต่อผู้ลงทุนทั่วไป (3) การลงโทษผู้กระทําผิด ไม่ว่าจะเป็นโทษทางปกครอง โทษทางอาญา หรือมาตรการลงโทษทางแพ่ง (4) การกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือการยื่นเรื่องต่อพนักงานอัยการเพื่อให้ดําเนินคดีทางอาญาหรือเพื่อดําเนินการตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง กรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. มีความจําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลใดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผู้ลงทุนหรือประชาชนในวงกว้าง สํานักงาน ก.ล.ต. อาจพิจารณาเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมได้ โดยจะต้องคํานึงถึงผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งต้องระมัดระวังมิให้กระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลเกินความจําเป็น ข้อ ๓ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า ข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 2 เรื่องใดหากจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางอื่นเพิ่มเติม เช่น การออกแถลงข่าว การออกจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ถึงบุคคลซึ่งบอกรับเป็นสมาชิกของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือการนําเสนอในเอกสารอื่นเพิ่มเติมด้วย เป็นต้น จะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือบทบัญญัติหรือข้อกําหนดแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือจะเป็นกลไกในการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายหรือการป้องปรามการกระทําผิดได้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องนั้นผ่านช่องทางอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๔ ในการเปิดเผยข้อมูล ให้สํานักงาน ก.ล.ต. จัดให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลนั้นอย่างเพียงพอที่จะทําให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่เป็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายตามที่กําหนดในข้อ 2 วรรคหนึ่ง ข้อมูลที่เปิดเผยควรมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อบุคคลที่อยู่ภายใต้มาตรการบังคับใช้กฎหมาย (2) ข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้มีการบังคับใช้กฎหมาย (3) บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (4) ลักษณะการบังคับใช้กฎหมาย ข้อ ๕ เมื่อข้อมูลเรื่องใดที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุนของสํานักงาน ก.ล.ต. มีความคืบหน้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และสํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าดังกล่าวสอดคล้องกับเจตนารมณ์ เพื่อการพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยข้อมูลความคืบหน้านั้น โดยปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดในประกาศนี้โดยอนุโลม ข้อ ๖ ในการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุนของสํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะมีเหตุผลหรือความจําเป็นในการกําหนดเป็นประการอื่น ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลอื่นนอกจาก (2) ให้คงข้อมูลไว้เป็นระยะเวลา 10 ปีปฏิทินนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว (2) ข้อมูลการกล่าวโทษ (ก) เรื่องที่การดําเนินการถึงที่สุดภายในระยะเวลา 10 ปีนับแต่การกล่าวโทษให้คงข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นระยะเวลา 10 ปีปฏิทินนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเป็นครั้งแรก หรือคงข้อมูลดังกล่าวต่อไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลสถานะของคดีที่ถึงที่สุด แล้วแต่ระยะเวลาใดนานกว่า (ข) เรื่องที่การดําเนินการถึงที่สุดหลังระยะเวลา 10 ปีนับแต่การกล่าวโทษให้คงข้อมูลดังกล่าวไว้จนกว่าจะพ้น 6 เดือนนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลสถานะของคดีที่ถึงที่สุดนั้น (ค) เรื่องที่ผลของคดีถึงที่สุดและเป็นคุณแก่ผู้ถูกกล่าวโทษ หากผู้ถูกกล่าวโทษมีคําขอให้นําข้อมูลการกล่าวโทษออกก่อนพ้นระยะเวลาตาม (ก) หรือ (ข) ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการให้เป็นไปตามคําขอของบุคคลนั้นโดยไม่ชักช้า ข้อ ๗ ข้อมูลที่ได้เปิดเผยบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุนของสํานักงาน ก.ล.ต. จนครบระยะเวลาที่กําหนดตามประกาศนี้แล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. อาจจัดเก็บไว้เป็นข้อมูลประวัติศาสตร์เพื่อให้ประชาชนขอตรวจดูเป็นรายกรณีก็ได้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,015
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 16/2564 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2)
-ร่าง- ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 16/2564 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 17/2562 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ในการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุนของสํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะมีเหตุผลหรือความจําเป็นในการกําหนดเป็นประการอื่น ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6/1 ข้อ 6/2 และข้อ 6/3 เพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลตามประกาศนี้ การเปิดเผยข้อมูลในวันใด ๆ ในปีปฏิทินหนึ่ง ให้ถือว่าวันสิ้นปีของปีปฏิทินนั้นเป็นระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 ข้อ 6/2 และข้อ 6/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 17/2562 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562 “ข้อ 6/1 การเปิดเผยข้อมูลอื่นนอกจากข้อมูลตามข้อ 6/2 และข้อ 6/3 ให้คงข้อมูลไว้เป็นระยะเวลา 10 ปีปฏิทินนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ข้อ 6/2 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการทางอาญาหรือการดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง ให้เปิดเผยข้อมูลตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเป็นครั้งแรก (1) 2 ปีปฏิทิน ในกรณีความผิดที่มีอายุความตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี (2) 10 ปีปฏิทิน ในกรณีความผิดที่มีอายุความมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ในกรณีที่มีการกล่าวโทษหรือกรณีที่ผู้ถูกดําเนินการไม่ยินยอมที่จะปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง ให้เปิดเผยข้อมูลไว้ตลอดระยะเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด และให้เปิดเผยข้อมูลต่อไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการทางอาญาตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเปิดเผยข้อมูลภายในวันถัดจากวันที่มีคําสั่งเปรียบเทียบหรือวันที่กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน แล้วแต่กรณี การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่งตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเปิดเผยข้อมูลภายในวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งให้ผู้ถูกดําเนินการทราบ ในกรณีที่ผลของคดีถึงที่สุดและเป็นคุณแก่ผู้ถูกดําเนินการ หากบุคคลดังกล่าวมีคําขอให้นําข้อมูลที่เปิดเผยออกก่อนพ้นระยะเวลาตามข้อนี้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการให้เป็นไปตามคําขอของบุคคลนั้นโดยไม่ชักช้า ข้อ 6/3 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงโทษทางปกครอง ให้เปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีเป็นโทษที่ไม่มีระยะเวลาลงโทษหรือมีระยะเวลาลงโทษไม่เกิน 2 ปีปฏิทิน ให้เปิดเผยข้อมูลเป็นระยะเวลา 2 ปีปฏิทินนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเป็นครั้งแรก (2) ในกรณีเป็นโทษที่มีระยะเวลาลงโทษเกิน 2 ปีปฏิทิน ให้เปิดเผยข้อมูลจนถึงสิ้นปีปฏิทินที่ครบระยะเวลาลงโทษ ในกรณีที่มีการโต้แย้งคําสั่งลงโทษหรือมีการฟ้องคดีปกครอง ให้เปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง เว้นแต่ ณ วันที่ผลการพิจารณาข้อโต้แย้งหรือผลคดีถึงที่สุด ระยะเวลาเปิดเผยตามวรรคหนึ่งเหลือน้อยกว่า 6 เดือน ให้เปิดเผยข้อมูลต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ผลการพิจารณาข้อโต้แย้งหรือผลคดีถึงที่สุด การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงโทษทางปกครองตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเปิดเผยข้อมูลภายในวันถัดจากวันที่คําสั่งลงโทษมีผล ในกรณีที่ผลการพิจารณาข้อโต้แย้งหรือผลคดีถึงที่สุดและเป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษหากผู้ถูกลงโทษมีคําขอให้นําข้อมูลที่เปิดเผยออกก่อนพ้นระยะเวลาตามวรรคสอง ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการให้เป็นไปตามคําขอของบุคคลนั้นโดยไม่ชักช้า” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ([นาย](http://www.sec.or.th/TH/AboutUs/Pages/link-OrganizationOfTheSEC/SEC_achaporn.aspx)พิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,016
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 17/2562 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 17/2562 เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลตามพระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการ การสั่งการ การลงโทษ และข้อมูลอื่นใดที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เช่น ประกาศ หนังสือเวียน แนวนโยบายในการกํากับดูแล ผลการกํากับดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อมูลสถิติ บทศึกษา บทวิจัย เรื่องร้องเรียน ขั้นตอน การดําเนินการหรือการสั่งการที่มีลักษณะคุ้มครองผู้ลงทุน เป็นต้น เมื่อเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ข้อ ๒ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. จัดให้มีข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อบุคคลทั่วไปสามารถตรวจดูได้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุนของสํานักงาน ก.ล.ต. (1) สรุปการตรวจสอบการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลตามแผนตรวจสอบปกติ (2) การสั่งการให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ให้บริการระบบเสนอขาย โทเคนดิจิทัลกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ เว้นแต่การสั่งการที่มิได้มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญ ต่อผู้ลงทุนทั่วไป (3) การลงโทษผู้กระทําผิด ไม่ว่าจะเป็นโทษทางปกครอง โทษทางอาญา หรือมาตรการลงโทษทางแพ่ง (4) การกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือการยื่นเรื่องต่อพนักงานอัยการเพื่อให้ดําเนินคดีทางอาญาหรือเพื่อดําเนินการตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง กรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. มีความจําเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลใดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผู้ลงทุนหรือประชาชนในวงกว้าง สํานักงาน ก.ล.ต. อาจพิจารณาเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมได้ โดยจะต้องคํานึงถึงผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งต้องระมัดระวังมิให้กระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลเกินความจําเป็น ข้อ ๓ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า ข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 2 เรื่องใด หากจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางอื่นเพิ่มเติม เช่น การออกแถลงข่าว การออกจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ถึงบุคคลซึ่งบอกรับเป็นสมาชิกของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือการนําเสนอในเอกสารอื่นเพิ่มเติมด้วย เป็นต้น จะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือบทบัญญัติหรือข้อกําหนดแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือจะเป็นกลไก ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายหรือการป้องปรามการกระทําผิดได้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องนั้นผ่านช่องทางอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๔ ในการเปิดเผยข้อมูล ให้สํานักงาน ก.ล.ต. จัดให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลนั้นอย่างเพียงพอที่จะทําให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่เป็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายตามที่กําหนดในข้อ 2 วรรคหนึ่ง ข้อมูลที่เปิดเผยควรมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อบุคคลที่อยู่ภายใต้มาตรการบังคับใช้กฎหมาย (2) ข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้มีการบังคับใช้กฎหมาย (3) บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (4) ลักษณะการบังคับใช้กฎหมาย ข้อ ๕ เมื่อข้อมูลเรื่องใดที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุนของสํานักงาน ก.ล.ต. มีความคืบหน้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และสํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าดังกล่าวสอดคล้องกับเจตนารมณ์ เพื่อการพิทักษ์ประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เปิดเผยข้อมูลความคืบหน้านั้น โดยปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดในประกาศนี้โดยอนุโลม ข้อ ๖ ในการเปิดเผยข้อมูลบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุนของสํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะมีเหตุผลหรือความจําเป็นในการกําหนดเป็นประการอื่น ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 6/1 ข้อ 6/2 และข้อ 6/3 เพื่อประโยชน์ในการเปิดเผยข้อมูลตามประกาศนี้ การเปิดเผยข้อมูลในวันใด ๆ ในปีปฏิทินหนึ่ง ให้ถือว่าวันสิ้นปีของปีปฏิทินนั้นเป็นระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ข้อ ๖/๑ การเปิดเผยข้อมูลอื่นนอกจากข้อมูลตามข้อ 6/2 และข้อ 6/3 ให้คงข้อมูลไว้เป็นระยะเวลา 10 ปีปฏิทินนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ข้อ ๖/๒ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการทางอาญาหรือการดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่ง ให้เปิดเผยข้อมูลตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเป็นครั้งแรก (1) 2 ปีปฏิทิน ในกรณีความผิดที่มีอายุความตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี (2) 10 ปีปฏิทิน ในกรณีความผิดที่มีอายุความมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ในกรณีที่มีการกล่าวโทษหรือกรณีที่ผู้ถูกดําเนินการไม่ยินยอมที่จะปฏิบัติตามมาตรการ ลงโทษทางแพ่ง ให้เปิดเผยข้อมูลไว้ตลอดระยะเวลาที่คดียังไม่ถึงที่สุด และให้เปิดเผยข้อมูลต่อไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่าระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการทางอาญาตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเปิดเผยข้อมูลภายในวันถัดจากวันที่มีคําสั่งเปรียบเทียบหรือวันที่กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน แล้วแต่กรณี การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินมาตรการลงโทษทางแพ่งตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเปิดเผยข้อมูลภายในวันที่สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งให้ผู้ถูกดําเนินการทราบ ในกรณีที่ผลของคดีถึงที่สุดและเป็นคุณแก่ผู้ถูกดําเนินการ หากบุคคลดังกล่าวมีคําขอให้นําข้อมูลที่เปิดเผยออกก่อนพ้นระยะเวลาตามข้อนี้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการให้เป็นไปตามคําขอของบุคคลนั้นโดยไม่ชักช้า ข้อ ๖/๓ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงโทษทางปกครอง ให้เปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีเป็นโทษที่ไม่มีระยะเวลาลงโทษหรือมีระยะเวลาลงโทษไม่เกิน 2 ปีปฏิทิน ให้เปิดเผยข้อมูลเป็นระยะเวลา 2 ปีปฏิทินนับแต่วันที่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเป็นครั้งแรก (2) ในกรณีเป็นโทษที่มีระยะเวลาลงโทษเกิน 2 ปีปฏิทิน ให้เปิดเผยข้อมูลจนถึงสิ้นปีปฏิทินที่ครบระยะเวลาลงโทษ ในกรณีที่มีการโต้แย้งคําสั่งลงโทษหรือมีการฟ้องคดีปกครอง ให้เปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง เว้นแต่ ณ วันที่ผลการพิจารณาข้อโต้แย้งหรือผลคดีถึงที่สุด ระยะเวลาเปิดเผยตามวรรคหนึ่งเหลือน้อยกว่า 6 เดือน ให้เปิดเผยข้อมูลต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ผลการพิจารณาข้อโต้แย้งหรือผลคดีถึงที่สุด การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการลงโทษทางปกครองตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเปิดเผยข้อมูลภายในวันถัดจากวันที่คําสั่งลงโทษมีผล ในกรณีที่ผลการพิจารณาข้อโต้แย้งหรือผลคดีถึงที่สุดและเป็นคุณแก่ผู้ถูกลงโทษ หากผู้ถูกลงโทษมีคําขอให้นําข้อมูลที่เปิดเผยออกก่อนพ้นระยะเวลาตามวรรคสอง ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ดําเนินการให้เป็นไปตามคําขอของบุคคลนั้นโดยไม่ชักช้า ข้อ ๗ ข้อมูลที่ได้เปิดเผยบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุนของสํานักงาน ก.ล.ต. จนครบระยะเวลาที่กําหนดตามประกาศนี้แล้ว สํานักงาน ก.ล.ต. อาจจัดเก็บไว้เป็นข้อมูลประวัติศาสตร์เพื่อให้ประชาชนขอตรวจดูเป็นรายกรณีก็ได้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,017
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 5/2556 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 5/2556 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 12/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนรวม ให้คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการเฉลี่ยในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือนมาถัวเฉลี่ย ในอัตราดังนี้ ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0050 ส่วนที่เกินกว่า 50,000 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0040 ส่วนที่เกินกว่า 100,000 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 200,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0025 ส่วนที่เกินกว่า 200,000 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 300,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0010 ส่วนที่เกินกว่า 300,000 ล้านบาท อัตราร้อยละ 0.0005 (2) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนรวม ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนเอง (3) ค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหักด้วยค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ผู้ได้รับใบอนุญาตได้จ่ายให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นที่เป็นตัวแทนขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือยอมให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวหักไว้ได้” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 “ข้อ 12/1 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 หรือข้อ 12 มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามประเภทที่ได้รับใบอนุญาตในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับการลดอัตราที่ใช้ในการคํานวณค่าธรรมเนียมสําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เฉพาะส่วนที่เป็นหน่วยลงทุนตามข้อ 7(3) ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10(3) หรือข้อ 12 แล้วแต่กรณี ลงเหลือ อัตราร้อยละ 0.1 โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้รวมกับค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่มิใช่หน่วยลงทุน ตามประเภทกิจการที่ได้รับใบอนุญาต (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตั้งแต่สิบบริษัทขึ้นไป และ (2) มีประเภทกองทุนรวมที่ให้บริการตาม (1) ตั้งแต่สามประเภทขึ้นไป” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 “ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง (3) มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับการลดอัตราค่าธรรมเนียมลง โดยให้ชําระค่าธรรมเนียมคงที่ ปีละ 50,000 บาท (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตั้งแต่สิบบริษัทขึ้นไป และ (2) มีประเภทกองทุนรวมที่ให้บริการตาม (1) ตั้งแต่สามประเภทขึ้นไป” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 “ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง (3) มีการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับการลดอัตราค่าธรรมเนียมลงโดยให้ชําระค่าธรรมเนียมคงที่ ปีละ 50,000 บาท (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมตั้งแต่สิบบริษัทขึ้นไป และ (2) มีประเภทกองทุนรวมที่ให้บริการตาม (1) ตั้งแต่สามประเภทขึ้นไป” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (นายชัยเกษม นิติสิริ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,018
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 12/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 5/2556 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 12/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 5/2556 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 12/2554 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 5/2556 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานตามประเภทกิจการที่ได้รับใบอนุญาตตามอัตราค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจหรืออัตราค่าธรรมเนียมคงที่ตามที่กําหนดในประกาศนี้ และหากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการหลายประเภทกิจการให้ชําระค่าธรรมเนียมของทุกประเภทกิจการรวมกัน ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมเฉพาะใบอนุญาตที่เริ่มประกอบกิจการแล้ว ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทดังต่อไปนี้ชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจ โดยจํานวนที่ชําระต้องไม่ต่ํากว่าค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่กําหนดในข้อ 6 (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (4) การจัดการกองทุนรวม (5) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทดังต่อไปนี้ชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจ โดยจํานวนที่ชําระต้องไม่ต่ํากว่าค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่กําหนดในข้อ 6 (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (4) การจัดการกองทุนรวม (5) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เอง หักด้วยรายการดังนี้ (ก) มูลค่าการซื้อขายที่เกิดจากรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ (ข) มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (2) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทํารายการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เอง หักด้วยมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ (3) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่รวมถึงหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนและตราสารแห่งหนี้ นอกตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการค้าหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตรา ร้อยละ 1 โดยคํานวณจากกําไรสุทธิ (net capital gain) ที่เกิดจากการค้าหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งหนี้ ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุน ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกองทุนรวม ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนรวม ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ซึ่งคํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย (2) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนรวม ให้ชําระในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมการเป็นนายทะเบียนกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนเอง (3) ค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้ชําระในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเรียกเก็บจากการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนหักด้วยรายการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จ่ายให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นที่เป็นตัวแทน (ข) ค่าธรรมเนียมการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ยอมให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นที่เป็นตัวแทนหักไว้ ข้อ ๑๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ซึ่งคํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย (2) ค่าธรรมเนียมการทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมการทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายใต้การจัดการของตนเอง ข้อ ๑๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ประเภทหน่วยลงทุนชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าขายหน่วยลงทุน ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย เฉพาะจัดตั้งขึ้น และขอจํากัดขอบเขตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของตนไว้เฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับยกเว้นหลักเกณฑ์ค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 6 สําหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าว และค่าธรรมเนียมตามข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 แต่ต้องชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้แทน (1) การค้าหลักทรัพย์ที่จํากัดขอบเขตเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ให้ชําระค่าธรรมเนียมคงที่ปีละ 1,000,000 บาท (2) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่จํากัดขอบเขตเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้ชําระค่าธรรมเนียมคงที่ปีละ 1,000,000 บาท ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทดังต่อไปนี้ ชําระอัตราค่าธรรมเนียมคงที่ตามที่กําหนดดังนี้ (1) การค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ปีละ 1,000,000 บาท (2) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ปีละ 1,000,000 บาท (3) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ปีละ 500,000 บาท (4) การเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท (5) การจัดการเงินร่วมลงทุน ปีละ 50,000 บาท (6) การให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท (7) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ปีละ 25,000 บาท ในกรณีที่ระยะเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทิน สําหรับปีแรกที่เริ่มประกอบกิจการเหลือน้อยกว่า 6 เดือน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมเพียงร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๑๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจต่อสํานักงาน โดยให้แบ่งชําระเป็น 2 งวดดังนี้ (1) งวดแรก ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 6 ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้นเว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการ (2) งวดที่สอง ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินกว่าค่าธรรมเนียมตาม (1) ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่ยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคงที่ต่อสํานักงานเป็นรายปีตามปีปฏิทินภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ ในการยื่นชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 15 และข้อ 16 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๑๘ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปีที่สํานักงานไม่สามารถนําค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ชําระไว้มาหักทอนด้วยค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการในอัตราปีละ 5,000,000 บาทหรือตามจํานวนเงินค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า ข้อ ๑๙ บรรดาค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 หากยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระให้เสร็จสิ้นตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามประกาศดังกล่าวจนกว่าจะชําระแล้วเสร็จ ข้อ ๒๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,019
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 13/2560 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 13/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 “ความในวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ที่ได้แจ้งความประสงค์และปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภทตามข้อ 5 วรรคหนึ่งตลอดปีปฏิทิน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามวรรคหนึ่งโดยไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจอีก” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนรวม ให้ชําระตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ซึ่งคํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย (ข) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกองทุนรวมจัดการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมโดยนําเงินไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ซึ่งคํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งหมดภายใต้การบริหารจัดการ หักด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่เกิดจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ทั้งนี้ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิดังกล่าว ให้คํานวณ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนแบบถัวเฉลี่ย” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 “(8) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ ปีละ 25,000 บาท หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตได้แจ้งความประสงค์และปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม.10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคงที่ต่อสํานักงานเป็นรายปีตามปีปฏิทินภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการ หรือในกรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 19/1 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อดังกล่าวแทน” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม.10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 17 ในการยื่นชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 19/1 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 “ข้อ 19/1 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 5(1) (2) หรือ (3) ได้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําต่อสํานักงานแล้ว และต่อมาได้แจ้งความประสงค์และปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวคํานวณและชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่ได้แจ้งความประสงค์และปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว ให้คํานวณค่าธรรมเนียมในอัตราคงที่ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 14(8) (2) ให้นําผลรวมของค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตาม (1) และค่าธรรมเนียมตามปริมาณธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง (ถ้ามี) มาหักออกจากค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่ได้ชําระต่อสํานักงานไว้แล้ว และชําระเพิ่มเติมหรือขอรับค่าธรรมเนียมคืน ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป” ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,020
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 19/2560 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 19/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ยกเว้นใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560.เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,021
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 30/2560 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 30/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 5 ต้องชําระ มีอัตราขั้นต่ําปีละ 25,000 บาท และสูงสุดไม่เกินปีละ 10,000,000 บาท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 13/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19/1 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ที่ได้แจ้งความประสงค์และปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท คํานวณและชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณและชําระค่าธรรมเนียมสําหรับรอบปี พ.ศ. 2560 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวนําผลรวมของค่าธรรมเนียมตาม (ก) และ (ข) มาหักออกจากค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่ได้ชําระต่อสํานักงานไว้ก่อนแล้ว และชําระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหรือขอรับคืนค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 (ก) ค่าธรรมเนียมคงที่ตามอัตราที่กําหนดในข้อ 14 วรรคหนึ่ง (8) (ข) ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจนอกเหนือจากช่วงระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท (2) การคํานวณและชําระค่าธรรมเนียมสําหรับรอบปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวนําค่าธรรมเนียมคงที่ตามอัตราที่กําหนดไว้ใน (1) (ก) หรือค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน (1) (ข) แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า มาหักออกจากค่าธรรมเนียมที่ได้ชําระต่อสํานักงานไว้ก่อนแล้ว และชําระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 19/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 13/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19/1 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ที่ได้แจ้งความประสงค์และปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท คํานวณและชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณและชําระค่าธรรมเนียมสําหรับรอบปี พ.ศ. 2560 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวนําผลรวมของค่าธรรมเนียมตาม (ก) และ (ข) มาหักออกจากค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่ได้ชําระต่อสํานักงานไว้ก่อนแล้ว และชําระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหรือขอรับคืนค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 (ก) ค่าธรรมเนียมคงที่ตามอัตราที่กําหนดในข้อ 14 วรรคหนึ่ง (8) (ข) ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจนอกเหนือจากช่วงระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท (2) การคํานวณและชําระค่าธรรมเนียมสําหรับรอบปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวนําค่าธรรมเนียมคงที่ตามอัตราที่กําหนดไว้ใน (1) (ก) หรือค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน (1) (ข) แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า มาหักออกจากค่าธรรมเนียมที่ได้ชําระต่อสํานักงานไว้ก่อนแล้ว และชําระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,022
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 14/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 14/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “หน่วยลงทุน” ท้ายบทนิยามคําว่า “รายได้” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ““หน่วยลงทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (1) หน่วยลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) ตราสารหรือหลักฐานซึ่งแสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะเจ้าของหรือผู้รับประโยชน์ตามโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่ว่าโครงการจัดการลงทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 ในการประกอบกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ สําหรับหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าขายหน่วยลงทุนทุกประเภทที่จําหน่าย ซึ่งรวมถึงมูลค่าขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ (Unit Linked) และมูลค่าสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนปลายทาง (switching in) แต่ไม่รวมถึงการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไปยังกองทุนรวมตลาดเงินตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เอง หักด้วยรายการดังนี้ (ก) มูลค่าการซื้อขายที่เกิดจากรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ที่มิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ (ข) มูลค่าการซื้อขายตราสารแห่งหนี้ (2) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ ที่มิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทํารายการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เองหักด้วยมูลค่าการซื้อขายตราสารแห่งหนี้ (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ไม่ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เอง หักด้วยรายการดังนี้ (ก) มูลค่าการซื้อขายที่เกิดจากรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ประกอบกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นสมาชิกของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศดังกล่าว (ข) มูลค่าการซื้อขายตราสารแห่งหนี้ (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่มิได้เป็นสมาชิกของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ทํารายการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ประกอบกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ไม่ว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เอง หักด้วยมูลค่าการซื้อขาย ตราสารแห่งหนี้ (5) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์และศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงหน่วยลงทุนและตราสารแห่งหนี้” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 12 ในการประกอบกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ สําหรับหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ให้ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าขาย หน่วยลงทุนทุกประเภทที่จําหน่าย ซึ่งรวมถึงมูลค่าขายหน่วยลงทุนควบคู่กรมธรรม์ (Unit Linked) และมูลค่าสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนปลายทาง (switching in) แต่ไม่รวมถึงการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไปยังกองทุนรวมตลาดเงินตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,023
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 13/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 19/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 30/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 14/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 11/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังนี้ (ก) กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ข) การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ผู้ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน “ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “หน่วยลงทุน” หมายความว่า (1) หน่วยลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) ตราสารหรือหลักฐานซึ่งแสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะเจ้าของหรือผู้รับประโยชน์ตามโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่ว่าโครงการจัดการลงทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานตามประเภทกิจการที่ได้รับใบอนุญาต โดยให้ชําระตามอัตราค่าธรรมเนียมคงที่หรือตามอัตราค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจ แล้วแต่กรณี ตามที่กําหนดในประกาศนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมเฉพาะใบอนุญาตที่เริ่มประกอบกิจการแล้วโดยหากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการหลายประเภทกิจการ ให้ชําระค่าธรรมเนียมของทุกประเภทกิจการรวมกัน ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทดังต่อไปนี้ ชําระอัตราค่าธรรมเนียมคงที่ (1) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ปีละ 500,000 บาท (2) การเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท (3) การจัดการเงินร่วมลงทุน ปีละ 50,000 บาท (4) การให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท (5) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ปีละ 25,000 บาท ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบกิจการไม่เต็มปีปฏิทิน ให้ชําระค่าธรรมเนียมคงที่ตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทดังต่อไปนี้ ชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจ ตามอัตราที่กําหนดไว้สําหรับแต่ละประเภทกิจการ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (4) การจัดการกองทุนรวม (5) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (6) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๖ ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตรายใดรายหนึ่งต้องชําระตามประกาศนี้ เมื่อนับรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่าปีละ 25,000 บาท และไม่สูงกว่าปีละ 10 ล้านบาท เว้นแต่กรณี ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 5(6) ให้ชําระค่าธรรมเนียมการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างหากโดยต้องไม่ต่ํากว่าปีละ 25,000 บาท และไม่สูงกว่าปีละ 1 ล้านบาท ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการระงับการประกอบธุรกิจทุกประเภทตลอดปีปฏิทิน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระเฉพาะค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง เว้นแต่กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้ชําระค่าธรรมเนียมปีละ 50,000 บาท ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยให้คํานวณตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้คํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยหักด้วยมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มาจากผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ที่มิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (sub-broker) แล้วแต่กรณี (ข) กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตมิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้คํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้ทํารายการผ่านผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ แล้วแต่กรณี (2) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมทั้งการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของลูกค้าและเพื่อบัญชีของผู้ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ สําหรับหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการขายหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึงการขายหน่วยลงทุนจากการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไปยังกองทุนรวมตลาดเงินตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง แต่งตั้งผู้ได้รับใบอนุญาตรายอื่นเป็นตัวแทนในการซื้อขายหน่วยลงทุน ให้คํานวณมูลค่าการขายหน่วยลงทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยหักด้วยมูลค่าการขายหน่วยลงทุนของตัวแทน ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการค้าหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการค้าหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (2) ค่าธรรมเนียมการเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้ชําระในอัตราตามมูลค่าการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ดังนี้ (ก) ต่ํากว่า 10,000 ล้านบาท ปีละ 50,000 บาท (ข) ตั้งแต่ 10,000 ล้าน แต่ไม่ถึง 100,000 ล้านบาท ปีละ 200,000 บาท (ค) ตั้งแต่ 100,000 ล้าน แต่ไม่ถึง 1 ล้านล้านบาท ปีละ 2,000,000 บาท (ง) ตั้งแต่ 1 ล้านล้านบาทขึ้นไป ปีละ 3,000,000 บาท ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ข้อ ๑๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนรวม ให้ชําระตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย (ข) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกองทุนรวมจัดการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมโดยนําเงินไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งหมดภายใต้การบริหารจัดการ หักด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่เกิดจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ทั้งนี้ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิดังกล่าว ให้คํานวณ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนแบบถัวเฉลี่ย กรณีที่ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือน ให้ใช้ข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิตามที่มีการประกาศในรอบปีปฏิทินมาถัวเฉลี่ยตามจํานวนครั้งที่มีการประกาศ (2) ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการขายหน่วยลงทุนที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการเอง โดยไม่รวมถึงการขายหน่วยลงทุนจากการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไปยังกองทุนรวมตลาดเงินตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลชําระค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคลในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้าย ของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย กรณีที่ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือน ให้ใช้ข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย ข้อ ๑๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราสัญญาละ 10 สตางค์ โดยคํานวณจากจํานวนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาหุ้นรายตัว (single stock futures) ที่มีราคาไม่เกิน 100 บาท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมในอัตราสัญญาละ 1 สตางค์ ทั้งนี้ การคํานวณค่าธรรมเนียมจากจํานวนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งนั้น ไม่รวมถึงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่ยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้เลิกประกอบกิจการ หรือวันที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน รายงานการชําระค่าธรรมเนียมและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่ง ต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามของผู้ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๑๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปีที่สํานักงานไม่สามารถนําค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ชําระไว้มาหักทอนด้วยค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการในอัตราปีละ 5,000,000 บาทหรือตามจํานวนเงินค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า ข้อ ๑๗ ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 11/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 หากยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระให้เสร็จสิ้นตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามประกาศดังกล่าวจนกว่าจะชําระแล้วเสร็จ ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,024
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 25/2563 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 25/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตรายใดรายหนึ่งต้องชําระตามประกาศนี้ เมื่อนับรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่าปีละ 50,000 บาท และไม่สูงกว่าปีละ 10 ล้านบาท เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนเพียงประเภทเดียว ให้ชําระค่าธรรมเนียมปีละ 25,000 บาท (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 5(6) ให้ชําระค่าธรรมเนียมการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างหากโดยต้องไม่ต่ํากว่าปีละ 50,000 บาท และไม่สูงกว่าปีละ 1 ล้านบาท” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 “ข้อ 6/1 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการระงับการประกอบธุรกิจทุกประเภทตลอดปีปฏิทิน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระเฉพาะค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามที่กําหนดในข้อ 6” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ค่าธรรมเนียมการเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้ชําระในอัตราตามมูลค่าการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ดังนี้ (ก) ต่ํากว่า 30,000 ล้านบาท ปีละ 50,000 บาท (ข) ตั้งแต่ 30,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 100,000 ล้านบาท ปีละ 200,000 บาท (ค) ตั้งแต่ 100,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 200,000 ล้านบาท ปีละ 500,000 บาท (ง) ตั้งแต่ 200,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 300,000 ล้านบาท ปีละ 1,000,000 บาท (จ) ตั้งแต่ 300,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1 ล้านล้านบาท ปีละ 2,000,000 บาท (ฉ) ตั้งแต่ 1 ล้านล้านบาทขึ้นไป ปีละ 3,000,000 บาท” ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 6 และข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้สําหรับรอบปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ข้อ ๕ ให้ผู้ค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 9(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ สําหรับรอบปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,025
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 35/2565 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 35/2565 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3 ) -------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบกิจการไม่เต็มปีปฏิทินในปีที่เริ่มประกอบกิจการให้ชําระค่าธรรมเนียมคงที่ตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate)" ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 25/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 6/ 1 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตที่แจ้งหยุดประกอบกิจการโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี สําหรับประเภทกิจการที่แจ้งหยุดไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นปีปฏิทินและไม่มีการประกอบกิจการนั้นตลอดปีปฏิทินที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมทั้งนี้ เมื่อนับรวมค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องชําระในปีปฏิทินนั้น ต้องไม่ต่ํากว่าค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามที่กําหนดในข้อ 6 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตแจ้งหยุดการประกอบกิจการทุกประเภทโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นปีปฏิทินที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมและไม่มีการประกอบกิจการนั้นตลอดปีปฏิทินดังกล่าวหรือถูกระงับการประกอบกิจการทุกประเภทตลอดปีปฏิทิน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระเฉพาะค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามที่กําหนดในข้อ 6" ข้อ 3 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตที่แจ้งหยุดการประกอบกิจการโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องก่อนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี สําหรับรอบปี พ.ศ. 2565 หากไม่มีการประกอบกิจการประเภทนั้นตลอดปี พ.ศ. 2565 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตที่แจ้งหยุดการประกอบกิจการโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องก่อนวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 แล้วแต่กรณี สําหรับรอบปี พ.ศ. 2566 หากไม่มีการประกอบกิจการประเภทนั้นตั้งแต่ได้เริ่มหยุดประกอบกิจการดังกล่าวไปจนสิ้นสุดปี พ.ศ. 2566 ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เมื่อนับรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่าค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามที่กําหนดในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,026
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2562 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 13/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 19/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 30/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 14/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 11/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังนี้ (ก) กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (ข) การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ผู้ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน “ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “หน่วยลงทุน” หมายความว่า (1) หน่วยลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) ตราสารหรือหลักฐานซึ่งแสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะเจ้าของหรือผู้รับประโยชน์ตามโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่ว่าโครงการจัดการลงทุนดังกล่าวจะจัดตั้งในรูปบริษัท ทรัสต์ หรือรูปอื่นใด ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานตามประเภทกิจการที่ได้รับใบอนุญาต โดยให้ชําระตามอัตราค่าธรรมเนียมคงที่หรือตามอัตราค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจ แล้วแต่กรณี ตามที่กําหนดในประกาศนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมเฉพาะใบอนุญาตที่เริ่มประกอบกิจการแล้วโดยหากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการหลายประเภทกิจการ ให้ชําระค่าธรรมเนียมของทุกประเภทกิจการรวมกัน ข้อ ๔ ข้อ 4 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทดังต่อไปนี้ ชําระอัตราค่าธรรมเนียมคงที่ (1) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ปีละ 500,000 บาท (2) การเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท (3) การจัดการเงินร่วมลงทุน ปีละ 50,000 บาท (4) การให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ปีละ 50,000 บาท (5) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ปีละ 25,000 บาท ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบกิจการไม่เต็มปีปฏิทินในปีที่เริ่มประกอบกิจการ ให้ชําระค่าธรรมเนียมคงที่ตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทดังต่อไปนี้ ชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจ ตามอัตราที่กําหนดไว้สําหรับแต่ละประเภทกิจการ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (4) การจัดการกองทุนรวม (5) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (6) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๖ ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตรายใดรายหนึ่งต้องชําระตามประกาศนี้ เมื่อนับรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่าปีละ 50,000 บาท และไม่สูงกว่าปีละ 10 ล้านบาท เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนเพียงประเภทเดียว ให้ชําระค่าธรรมเนียมปีละ 25,000 บาท (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 5(6) ให้ชําระค่าธรรมเนียมการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างหากโดยต้องไม่ต่ํากว่าปีละ 50,000 บาท และไม่สูงกว่าปีละ 1 ล้านบาท ข้อ ๖/๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตที่แจ้งหยุดประกอบกิจการโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 4 หรือข้อ 5 แล้วแต่กรณี สําหรับประเภทกิจการที่แจ้งหยุดไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นปีปฏิทินและไม่มีการประกอบกิจการนั้นตลอดปีปฏิทินที่ต้องชําระค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ เมื่อนับรวมค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องชําระในปีปฏิทินนั้น ต้องไม่ต่ํากว่าค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามที่กําหนดในข้อ 6 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตแจ้งหยุดการประกอบกิจการทุกประเภทโดยชอบตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นปีปฏิทินที่ต้องชําระค่าธรรมเนียมและไม่มีการประกอบกิจการนั้นตลอดปีปฏิทินดังกล่าวหรือถูกระงับการประกอบกิจการทุกประเภทตลอดปีปฏิทิน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระเฉพาะค่าธรรมเนียมขั้นตํ่าตามที่กําหนดในข้อ 6 ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยให้คํานวณตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้คํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยหักด้วยมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มาจากผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ที่มิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (sub-broker) แล้วแต่กรณี (ข) กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตมิได้เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้คํานวณจากมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้ทํารายการผ่านผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ แล้วแต่กรณี (2) ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมทั้งการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของลูกค้าและเพื่อบัญชีของผู้ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ สําหรับหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการขายหน่วยลงทุน แต่ไม่รวมถึงการขายหน่วยลงทุนจากการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไปยังกองทุนรวมตลาดเงินตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง แต่งตั้งผู้ได้รับใบอนุญาตรายอื่นเป็นตัวแทนในการซื้อขายหน่วยลงทุน ให้คํานวณมูลค่าการขายหน่วยลงทุนของผู้ได้รับใบอนุญาตโดยหักด้วยมูลค่าการขายหน่วยลงทุนของตัวแทน ข้อ ๙ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการค้าหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการค้าหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (2) ค่าธรรมเนียมการเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ให้ชําระในอัตราตามมูลค่าการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ดังนี้ (ก) ต่ํากว่า 30,000 ล้านบาท ปีละ 50,000 บาท (ข) ตั้งแต่ 30,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 100,000 ล้านบาท ปีละ 200,000 บาท (ค) ตั้งแต่ 100,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 200,000 ล้านบาท ปีละ 500,000 บาท (ง) ตั้งแต่ 200,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 300,000 ล้านบาท ปีละ 1,000,000 บาท (จ) ตั้งแต่ 300,000 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 1 ล้านล้านบาท ปีละ 2,000,000 บาท (ฉ) ตั้งแต่ 1 ล้านล้านบาทขึ้นไป ปีละ 3,000,000 บาท ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ข้อ ๑๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกองทุนรวมชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนรวม ให้ชําระตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย (ข) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกองทุนรวมจัดการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมโดยนําเงินไปลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งหมดภายใต้การบริหารจัดการ หักด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่เกิดจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ ทั้งนี้ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิดังกล่าว ให้คํานวณ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนแบบถัวเฉลี่ย กรณีที่ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือน ให้ใช้ข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิตามที่มีการประกาศในรอบปีปฏิทินมาถัวเฉลี่ยตามจํานวนครั้งที่มีการประกาศ (2) ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน ให้ชําระในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าการขายหน่วยลงทุนที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการเอง โดยไม่รวมถึงการขายหน่วยลงทุนจากการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไปยังกองทุนรวมตลาดเงินตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลชําระค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคลในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้าย ของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย กรณีที่ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือน ให้ใช้ข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย ข้อ ๑๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าชําระค่าธรรมเนียมในอัตราสัญญาละ 10 สตางค์ โดยคํานวณจากจํานวนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาหุ้นรายตัว (single stock futures) ที่มีราคาไม่เกิน 100 บาท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมในอัตราสัญญาละ 1 สตางค์ ทั้งนี้ การคํานวณค่าธรรมเนียมจากจํานวนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งนั้น ไม่รวมถึงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ข้อ ๑๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไปทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่ยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้เลิกประกอบกิจการ หรือวันที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน รายงานการชําระค่าธรรมเนียมและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่ง ต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนามของผู้ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๑๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/น/ย. 47/2546 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ/ข/ด/น. 16/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปีที่สํานักงานไม่สามารถนําค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ชําระไว้มาหักทอนด้วยค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการในอัตราปีละ 5,000,000 บาทหรือตามจํานวนเงินค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการที่คํานวณได้ตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า ข้อ ๑๗ ค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 10/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 11/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 หากยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระให้เสร็จสิ้นตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามประกาศดังกล่าวจนกว่าจะชําระแล้วเสร็จ ข้อ ๑๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,027
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 25/2562 เรื่อง การยกเว้นหน้าที่การจัดทำทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ ของผู้จัดการกองทรัสต์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2562 เรื่อง การยกเว้นหน้าที่การจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ ของผู้จัดการกองทรัสต์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 33/1 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เพื่อให้ทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สามารถจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้รับยกเว้นหน้าที่การจัดให้มีทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ ตามมาตรา 55/1 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,028
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 28/2562 เรื่อง การกำหนดลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ชื่อบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 28/2562 เรื่อง การกําหนดลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นการปฏิบัติเกี่ยวกับ การใช้ชื่อบริษัทหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 91/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการเฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อนซึ่งมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ชื่อบริษัทหลักทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 94 (1) มีการแสดงให้ปรากฏเป็นการทั่วไปว่าเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามที่ได้รับใบอนุญาต และแสดงได้ว่าการได้รับยกเว้นจะไม่ทําให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิดระหว่างการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์กับการประกอบธุรกิจอื่นนอกเหนือจากการให้บริการเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน รวมถึงสามารถจัดให้มีมาตรการ รูปแบบ หรือวิธีการอื่นใดที่สามารถป้องกันปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม (2) มีการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ (banking agent) ที่สามารถให้บริการรับฝากเงินภายใต้การกํากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือมีการประกอบธุรกิจภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (3) การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์มีลักษณะเป็นการส่งเสริมการประกอบธุรกิจอื่นตาม (1) ที่มีช่องทางการเข้าถึงผู้ลงทุนในวงกว้างอย่างทั่วถึง ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,029
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบ หลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ตามวิธีการและระยะเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) หากผู้ซื้อแสดงเจตนาให้ผู้ขายส่งมอบหลักทรัพย์ดังกล่าวโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ซึ่งประกอบกิจการโดยชอบภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อ ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อตามวิธีการที่กําหนดในคําสั่งดังกล่าวภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (2) หากผู้ซื้อแสดงเจตนาจะขอรับใบหลักทรัพย์ ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ปิดการเสนอขาย” ให้หมายความรวมถึง (1) วันสุดท้ายของการใช้สิทธิของผู้ถือหลักทรัพย์หนึ่งในการซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหลักทรัพย์อื่น หรือ (2) วันที่ครบกําหนดชําระหนี้ตามหลักทรัพย์หนึ่งซึ่งมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบหลักทรัพย์อื่น โดยข้อผูกพันให้ชําระหนี้ด้วยการส่งมอบหลักทรัพย์อื่นได้กําหนดไว้เป็นการล่วงหน้าในหลักทรัพย์ที่เป็นมูลแห่งหนี้นั้น หรือข้อผูกพันให้ชําระหนี้ด้วยการส่งมอบหลักทรัพย์อื่นเกิดจากการใช้สิทธิของผู้ออกหลักทรัพย์ภายใต้ข้อตกลงที่ระบุไว้ในหลักทรัพย์ที่เป็นมูลแห่งหนี้นั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒ ในกรณีที่การส่งมอบหลักทรัพย์ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนไม่เป็นผลโดยมิได้เกิดขึ้นจากความผิดหรือความบกพร่องของบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ หากวิธีการส่งมอบนั้นยังมิใช่การส่งมอบหลักทรัพย์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาตามข้อ 1 ข้อ ๓ ในกรณีที่การส่งมอบหลักทรัพย์ไม่สามารถดําเนินการให้เป็นผลโดยใช้วิธีการตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์เก็บรักษาหลักทรัพย์ดังกล่าว และแจ้งให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์หรือผู้แทนมารับหลักทรัพย์ได้ที่บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์อย่างน้อยสามฉบับเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ทั้งนี้ ภายในสิบสี่วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ประสบเหตุการณ์ใด ๆ อันเป็นเหตุให้ไม่อาจส่งมอบหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อประชาชนให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ได้ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ดังกล่าวอาจทําหนังสือขอผ่อนผันระยะเวลาการส่งมอบหลักทรัพย์ยื่นต่อสํานักงานก่อนจะครบกําหนดระยะเวลาส่งมอบหลักทรัพย์ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนได้ และให้สํานักงานผ่อนผันระยะเวลาการส่งมอบหลักทรัพย์ได้ เมื่อปรากฏว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีลักษณะที่ทําให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์โดยปกติทั่วไปไม่สามารถส่งมอบหลักทรัพย์ได้ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน และบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ดังกล่าวต้องพิสูจน์ได้ว่าเหตุการณ์นั้นมิได้เกิดขึ้นจากความผิดหรือความบกพร่องของตน ในกรณีที่การขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่งเป็นการขอผ่อนผันสําหรับการส่งมอบใบหุ้น สํานักงานจะผ่อนผันระยะเวลาการส่งมอบใบหุ้นเกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดไว้ในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 ไม่ได้ ข้อ ๕ บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ที่ได้รับผ่อนผันระยะเวลาการส่งมอบหลักทรัพย์ตามข้อ 4 ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับวันส่งมอบใบหลักทรัพย์ที่ได้รับผ่อนผันในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่สํานักงานให้เป็นปัจจุบัน (2) มีหนังสือแจ้งให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นทราบภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับการผ่อนผัน ข้อ ๖ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,030
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 65/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 65/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบ หลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ตามวิธีการและระยะเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) การส่งมอบหลักทรัพย์ในกรณีดังนี้ ให้ดําเนินการภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (ก) กรณีที่บริษัทส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อโดยการฝากหลักทรัพย์ไว้กับตลาดหลักทรัพย์ หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ซึ่งประกอบกิจการโดยชอบภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ข) กรณีที่เจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อโดยวิธีการโอนหลักทรัพย์ผ่านบัญชีผู้ฝากหลักทรัพย์ (2) ในกรณีที่การส่งมอบหลักทรัพย์กระทําโดยวิธีอื่นนอกจาก (1) ให้บริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การผ่อนผันของสํานักงานตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดตามมาตรา 225/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 แล้วแต่กรณี” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,031
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 71/2564 เรื่อง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อการเป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และ การเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 71/2564 เรื่อง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 35 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทมหาชนจํากัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดให้มีการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ “พนักงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่บริษัท เนื่องจากการจ้างแรงงาน โดยได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือสิ่งของอื่นใดเป็นการตอบแทนการทํางาน “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสูงสุดของแต่ละสายงานนับต่อจากผู้จัดการลงมา คําว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ภาค ๑ บททั่วไป หมวด ๑ ขอบเขตการใช้บังคับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหุ้นเพื่อการจดทะเบียนหุ้นของบริษัทมหาชนจํากัดเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (2) การเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ข้อ ๔ บริษัทมหาชนจํากัดจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศนี้ต่อเมื่อบริษัทมหาชนจํากัดนั้นไม่มีหุ้นที่ได้ซื้อคืนมาและยังจําหน่ายไม่หมด เว้นแต่จะเป็นการนําหุ้นที่ได้ซื้อคืนมาเสนอขายพร้อมกับหุ้นที่ออกใหม่ โดยจัดสรรการขายหุ้นที่ซื้อคืนในลําดับก่อนการขายหุ้นที่ออกใหม่ หมวด ๒ การจัดทํา ยื่น ส่ง หรือเปิดเผยข้อมูล และเอกสารตามประกาศ ข้อ ๕ ภาษาที่ใช้ในการจัดทํา ยื่น ส่ง หรือเปิดเผยข้อมูลหรือเอกสารตามประกาศนี้ ให้ใช้ภาษาไทย ผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้อาจจัดทํา ยื่น ส่ง หรือเปิดเผยข้อมูลหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษด้วยก็ได้ โดยมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างจากข้อมูลหรือเอกสารฉบับภาษาไทย ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการยื่นหรือส่งต่อสํานักงาน ต้องยื่นหรือส่งคํารับรองความถูกต้องของข้อมูลมาพร้อมกันด้วย ข้อ ๖ การยื่นหรือส่งข้อมูลหรือเอกสารตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หมวด ๓ อํานาจของสํานักงาน ข้อ ๗ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ ไม่มีนัยสําคัญ และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว (2) บริษัทมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน (3) บริษัทมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๘ การเสนอขายหลักทรัพย์ไม่ว่ากรณีใดภายใต้ประกาศนี้ หากมีเหตุอันควรสงสัยในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหรือสั่งยกเลิกการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วได้ (1) บริษัทหรือการเสนอขายหลักทรัพย์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่ความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือต่อตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวม หรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน (5) ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจออกเสียงในวาระที่บริษัทจดทะเบียนขอมติออกหุ้นใหม่ที่อยู่ภายใต้บังคับประกาศนี้ (6) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่มีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (7) เหตุเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนซึ่งอนุมัติให้ออกหลักทรัพย์เสนอขายตามประกาศนี้ ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น หรือเป็นการจํากัดสิทธิในการเข้าประชุมหรือใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสําคัญ (8) บริษัทมีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือจะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขตามประกาศนี้ได้ ข้อ ๙ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลตามที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนประกาศกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 69(11) ได้ หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์นั้นแสดงได้ว่ามีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อมูลนั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ ๑๐ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (1) ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม (2) จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นอิสระจัดทําความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน หากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ประสงค์จะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานอีกต่อไป ในการกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์เปิดเผยการสั่งการ การดําเนินการ ข้อสังเกตของสํานักงาน หรือคําชี้แจงของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ผ่านทางเว็บไซต์ของสํานักงานตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วยก็ได้ ภาค ๒ การอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป หมวด ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต ข้อ ๑๑ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อการจดทะเบียนหุ้นของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ให้ถือว่าได้รับอนุญาตจากสํานักงานต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่เสนอขายต้องเข้าลักษณะตามส่วนที่ 1 (2) เป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนที่เข้าลักษณะตามส่วนที่ 2 (3) มูลค่าการเสนอขายทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท ข้อ ๑๒ บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์หากประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้ถือว่าการเสนอขายดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงาน เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 11 และหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (1) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยรายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (2) บริษัทไม่อยู่ระหว่างการดําเนินการดังนี้ (ก) ค้างการนําส่งงบการเงินหรือรายงานที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งต่อสํานักงานหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ข) ถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขึ้นเครื่องหมายดังนี้ กับหุ้นของบริษัท 1. NP (Notice Pending) ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเปิดเผยฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน สารสนเทศ และการปฏิบัติการใด ๆ ของบริษัทจดทะเบียนที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ 2. NC (Non-compliance) ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเพิกถอนหุ้นสามัญจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ส่วน ๑ ลักษณะของบริษัท ข้อ ๑๓ บริษัทที่เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อการจดทะเบียนหุ้นของบริษัทดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ต้องมีลักษณะที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) กรรมการและผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (3) งบการเงินประจํางวดปีบัญชีล่าสุดและงบการเงินประจํางวด 6 เดือนแรกของปีบัญชี ก่อนการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต้องถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) จัดทําขึ้นตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน (ข) ผ่านการตรวจสอบ หรือสอบทาน (กรณีงบการเงินประจํางวด 6 เดือนแรกของปีบัญชี) จากผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ (ค) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีตาม (ข) ต้องไม่มีความหมายในลักษณะดังนี้ 1. การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ต้องใช้ในการจัดทํางบการเงินนั้น 2. ผู้สอบบัญชีถูกจํากัดขอบเขตการตรวจสอบหรือสอบทาน แล้วแต่กรณี โดยการกระทําหรือไม่กระทําของบริษัท หรือของกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท (4) บริษัทไม่มีประวัติหรือลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 14 (5) การประกอบธุรกิจของบริษัทมีลักษณะดังนี้ (ก) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรง เช่น การค้ามนุษย์ การผลิตหรือจําหน่ายยาเสพติด หรือการฟอกเงิน เป็นต้น (ข) ไม่มีการดําเนินงานในลักษณะที่เป็นการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันอาจเป็นเหตุให้ธุรกิจของบริษัทได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงและมีนัยสําคัญ (ค) ไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (investment company) และไม่มีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าการดําเนินงานของบริษัท การบริหารงานของกรรมการและผู้บริหาร ตลอดจนการเปิดเผยนโยบายการดําเนินงานของบริษัทต่อสาธารณชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในลักษณะเช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเกี่ยวกับการพิจารณากรณีที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรงตามวรรคหนึ่ง (ก) และผลกระทบอย่างร้ายแรงและมีนัยสําคัญตามวรรคหนึ่ง (ข) ได้ ข้อ ๑๔ บริษัทที่เสนอขายหุ้นต้องไม่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 15 (1) ภายในระยะเวลา 5 ปีก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ก) เคยมีประวัติฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ (ข) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ เนื่องจากมีเหตุที่มีนัยสําคัญอันควรสงสัยเกี่ยวกับกลไกการบริหารจัดการในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. อาจไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรมโดยอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งจะทําให้ได้เปรียบผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือได้ประโยชน์มากกว่าผู้ถือหุ้นรายอื่นโดยไม่สมควร 2. อาจไม่สามารถรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้โดยทําให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับประโยชน์ทางการเงินนอกเหนือจากที่พึงได้ตามปกติ หรือโดยทําให้บริษัทเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ (ค) เคยถูกสํานักงานปฏิเสธคําขออนุญาตหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ เนื่องจากมีเหตุที่ทําให้สงสัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนหรือต่อสํานักงานที่ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามความเป็นจริง ไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน หรือทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการปกปิดหรืออําพราง หรือสร้างข้อมูลที่อาจไม่มีอยู่จริงในรายการหรือการดําเนินการที่มีนัยสําคัญ (ง) เคยถอนคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่มีการชี้แจงเหตุสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) ต่อสํานักงาน หรือโดยมีการชี้แจงแต่ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลที่จะหักล้างข้อสงสัยตาม (ข) หรือ (ค) นั้น (2) ภายในระยะเวลา 10 ปีก่อนวันยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริต อันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดําเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการดําเนินการที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตอันเป็นเหตุที่ทําให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (4) เป็นบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นการจัดรูปแบบเพื่อให้บุคคลที่มีลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) หลีกเลี่ยงมิให้สํานักงานใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาตาม (1) (2) หรือ (3) กับบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวนั้น ข้อ ๑๕ มิให้นําความในข้อ 14(1) และ (2) แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับกับบริษัทซึ่งได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงานที่ทําให้บริษัทมีลักษณะตามข้อ 14(1) หรือ (2) แล้ว เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง บริษัทอาจยื่นข้อมูลหรือเอกสารหลักฐาน เพื่อให้สํานักงานพิจารณาเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเหตุ ระบบงาน ระบบการบริหารจัดการ และการควบคุมการดําเนินงาน โดยสํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานดังกล่าวที่ครบถ้วน ส่วน ๒ ลักษณะของผู้ลงทุน ข้อ ๑๖ การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามหมวดนี้ ต้องเป็นการเสนอขายต่อผู้ลงทุนตามที่กําหนดในภาคผนวกท้ายประกาศนี้ หรือผู้ลงทุนอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงทุนตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่กําหนดในประกาศนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ลงทุนได้ หมวด ๒ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือเสนอขายหุ้นดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ในการนี้ ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อตกลงเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับการจําหน่ายหุ้นในลักษณะที่ทําให้ผู้ได้รับอนุญาตยังคงปฏิบัติเป็นไปตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดําเนินการขายหุ้นและจดทะเบียนเพิ่มทุนชําระแล้วของบริษัทให้แล้วเสร็จ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หากไม่สามารถดําเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๑๙ ให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุนมาใช้บังคับกับผู้ได้รับอนุญาต โดยอนุโลม เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรตราสารทุนและการจัดทําและการแจกจ่ายหรือจัดส่งทําข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary ข้อ ๒๐ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหุ้นตามที่กําหนดในแบบแสดงรายการข้อมูลแล้ว และปรากฏว่ามูลค่าการจองซื้อหุ้นรวมกันไม่ถึงร้อยละ 80 ของมูลค่าที่เสนอขายทั้งหมด ให้การอนุญาตเป็นอันสิ้นสุดลง ทั้งนี้ มูลค่าการจองซื้อหุ้นดังกล่าวให้นับรวมมูลค่าการจองซื้อหุ้นของผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) ด้วย ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับอนุญาตยกเลิกการเสนอขายหุ้นทั้งหมด และดําเนินการให้บริษัทหลักทรัพย์คืนเงินค่าจองซื้อภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ภาค ๓ การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล ข้อ ๒๑ ให้การเสนอขายหุ้นในกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ อยู่ภายใต้บังคับของภาคนี้ (1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทจดทะเบียน (3) การเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ข้อ ๒๒ ก่อนการเสนอขายหุ้นในแต่ละครั้ง ให้ผู้เสนอขายหุ้นยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบ 69-SME-PO ท้ายประกาศนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน การยื่นข้อมูลและการลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๒๓ งบการเงินและงบการเงินรวมของบริษัทที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13(3) โดยอนุโลม ข้อ ๒๔ ก่อนปิดการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาต หากผู้เสนอขายหุ้นได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะรายเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการลงทุนในหุ้นที่เสนอขาย หรือการตัดสินใจลงทุนในหุ้นที่เสนอขาย ผู้เสนอขายหุ้นต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนโดยพลัน ทั้งนี้ ต้องไม่ช้ากว่าวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่แบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้วต้องไม่ช้ากว่าวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น ข้อ ๒๕ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อ (2) การเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้น ให้ผู้ถือหุ้นลงลายมือชื่อ และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในการนี้ ผู้ถือหุ้นต้องจัดให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อด้วย ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรทําให้บุคคลที่ต้องลงนามเพื่อนิติบุคคลที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ไม่สามารถลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในขณะที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสํานักงานได้ ให้นิติบุคคลดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากการที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในภาวะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เนื่องจากเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทางจิต ผู้เสนอขายไม่จําต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (2) หากเหตุที่ทําให้บุคคลดังกล่าวคนใดไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เกิดจากกรณีอื่นนอกจากที่ระบุใน (1) เมื่อเหตุดังกล่าวหมดสิ้นไป ให้ผู้เสนอขายจัดให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อทันที เพื่อให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับได้ตามข้อ 26 (3) ตามที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ในกรณีอื่นใดที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ข้อ ๒๖ ภายใต้บังคับมาตรา 75 ให้แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 32 หรือมาตรา 33 ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่นั้นแล้ว (2) เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาดังนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ เมื่อพ้น 14 วันนับแต่วันที่มีการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังนี้ครบถ้วนแล้ว 1. ผู้เสนอขายหุ้นได้รับฟังและตอบข้อซักถามของนักลงทุนผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วเป็นระยะเวลา 30 วัน 2. ผู้เสนอขายหุ้นได้แก้ไขเพิ่มเติมแบบแสดงรายการข้อมูลให้แสดงงบการเงินฉบับล่าสุดของบริษัท (ถ้ามี) และได้รับฟังและตอบข้อซักถามของนักลงทุนเพิ่มเติมผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วเป็นระยะเวลา 7 วัน 3. ผู้เสนอขายหุ้นได้ปรับปรุงข้อมูลการรับฟังและตอบข้อซักถามตาม 1. และ 2. ลงในแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุดแล้ว (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) (ข) ในกรณีอื่นนอกจาก (ก) เมื่อพ้น 14 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุด (ไม่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลอื่นที่มิใช่ข้อมูลสําคัญซึ่งสํานักงานผ่อนผันให้แก้ไขเพิ่มเติมได้) (3) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ระบุข้อมูลตามรายการครบถ้วนแล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,032
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 5/2565 เรื่อง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 5/2565 เรื่อง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และ การเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (ฉบับที่ 2 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 25 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 71/2564 เรื่อง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 25 ให้บุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ให้กรรมการทุกคนของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อ (2) การเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้น ให้ผู้ถือหุ้นลงลายมือชื่อ และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเป็นนิติบุคคล ให้ผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี) ในการนี้ ผู้ถือหุ้นต้องจัดให้กรรมการทุกคนของผู้ออกหลักทรัพย์ลงลายมือชื่อด้วย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกแบบ 69-SME-PO ท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 71/2564 เรื่อง การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้แบบ 69-SME-PO ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,033
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 3/2565 เรื่องเงื่อนไขการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบเข้ากัน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2565 เรื่อง เงื่อนไขการยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทอื่นสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจาก การควบเข้ากัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สําหรับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบเข้ากัน พ.ศ. 2565 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สําหรับบริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบเข้ากัน หากบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งประสงค์จะควบเข้ากันบริษัทใดมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นยื่นคําขอรับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นที่ครอบคลุมประเภทธุรกิจตามใบอนุญาตเดิมของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งจะควบเข้ากันมากที่สุด ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,034
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ นป. 2/2565 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน
ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 2/2565 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลของ กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (“ประกาศที่ ทน. 11/2564”) กําหนดหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม โดยบริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเปิดเผยข้อมูลที่มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่มีลักษณะที่ทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของบริษัทจัดการกองทุนรวมสํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 32 วรรคสอง ประกอบกับข้อ 9 แห่งประกาศที่ ทน. 11/2564 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติสําหรับบริษัทจัดการกองทุนรวมในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวมไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดในประกาศนี้ ให้ใช้บทนิยามตามภาคผนวกแนบท้ายประกาศนี้ ประกอบการพิจารณาการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวด้วย ข้อ ๒ แนวทางปฏิบัตินี้ให้ใช้สําหรับกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ข้อ ๓ บริษัทจัดการกองทุนรวมควรกําหนดแนวทางปฏิบัติในรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในการจัดการกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน โดยแสดงได้ถึงลักษณะของกองทุนรวมที่สอดคล้องกับการมุ่งความยั่งยืน (sustainability) ตามหลักสากล ทั้งนี้ ตามรายละเอียดแนวทางปฏิบัติในภาคผนวกแนบท้ายประกาศแนวปฏิบัตินี้ ข้อ ๔ แนวทางปฏิบัติตามข้อ 3 มีรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การเปิดเผยข้อมูลในโครงการจัดการกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญและหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม (2) การเปิดเผยข้อมูลในรายงานแสดงข้อมูลกองทุนรวม (3) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและการดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหลักทรัพย์ในนามกองทุนรวม (4) การโฆษณากองทุนรวม ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัตินี้จนครบถ้วน สํานักงานจะพิจารณาว่าบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ปฏิบัติตามประกาศที่ ทน. 11/2564 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในการจัดการกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้ หากบริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการต่างจากแนวทางปฏิบัตินี้ บริษัทจัดการกองทุนรวมมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการดําเนินการนั้นยังคงอยู่ภายใต้หลักการและข้อกําหนดของประกาศที่ ทน. 11/2564 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,035
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 2/2563 เรื่อง การกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 2/2563 เรื่อง การกําหนดระเบียบหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ ที่ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 170 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ระเบียบหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้โดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นการกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (ก) การกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว (ข) การกําหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบหรือข้อบังคับ โดยยังคงสาระสําคัญของระเบียบหรือข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ในลักษณะที่เป็นการจัดหมวดหมู่หรือเนื้อหา หรือแก้ไขความขาดตกบกพร่องของระเบียบหรือข้อบังคับนั้น (2) ให้ตลาดหลักทรัพย์จัดส่งร่างระเบียบหรือข้อบังคับตาม (1) ต่อสํานักงาน พร้อมรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของร่างระเบียบหรือข้อบังคับ (ถ้ามี) เป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วันทําการ ก่อนวันที่ตลาดหลักทรัพย์ประสงค์จะประกาศใช้ระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าว ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,036
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 3/2563 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นบริษัทจำกัด
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2563 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่เป็นบริษัทจํากัด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพ คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ คําว่า “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” “วิสาหกิจขนาดกลาง” “นิติบุคคลร่วมลงทุน” “กิจการเงินร่วมลงทุน” “ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ” “กรรมการ” และ “พนักงาน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจํากัดโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ข้อ ๒ ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานก่อนการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ตามประกาศนี้ ข้อ ๓ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศนี้ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นการทั่วไป (2) การแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับหุ้นกู้แปลงสภาพที่จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้เสนอขายต้องแจกจ่ายให้ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ข้อ ๔ การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน (1) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกใหม่ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน นิติบุคคลร่วมลงทุน กิจการเงินร่วมลงทุน หรือผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ (ข) การเสนอขายต่อกรรมการหรือพนักงาน และให้รวมถึงการเสนอขายต่อบุคคลใด ๆ เพื่อให้กรรมการหรือพนักงานได้รับประโยชน์จากหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้นในที่สุด (ค) การเสนอขายโดยวิสาหกิจขนาดกลางต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งการเสนอขายทุกครั้งรวมกันมีจํานวนผู้ลงทุนไม่เกิน 10 ราย และมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ล้านบาท ทั้งนี้ การคํานวณมูลค่าการเสนอขายดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายหลักทรัพย์นั้นเป็นเกณฑ์ การนับจํานวนผู้ลงทุนและการคํานวณมูลค่ารวมการเสนอขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง (ค) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนตามวรรคหนึ่ง (ก) และ (ข) ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน (2) การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในทอดต่อ ๆ ไป ซึ่งไม่ขัดกับข้อจํากัดการโอนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน ข้อ ๕ ให้ผู้เสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพตามประกาศนี้ รายงานผลการขายหุ้นกู้แปลงสภาพต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,037
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 8/2563 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเสนอขายตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตราสารเพื่อพัฒนาสังคม และตราสารเพื่อความยั่งยืน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 8/2563 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาต เสนอขายตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม และตราสารเพื่อความยั่งยืน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายตราสารดังต่อไปนี้ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (1) ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม (3) ตราสารเพื่อความยั่งยืน ตราสารตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน และศุกูก ที่เสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินในประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ กรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,038
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 13/2563 เรื่อง แนวทางในการพิจารณาลักษณะของการให้คำแนะนำแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนหรือการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2563 เรื่อง แนวทางในการพิจารณาลักษณะของการให้คําแนะนําแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การเป็นที่ปรึกษาการลงทุนหรือการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ปัจจุบันการให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในลักษณะที่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือประสบการณ์ในการลงทุนผ่านเว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการดําเนินการอย่างแพร่หลายในรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทั้งในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนําโดยบุคคลทั่วไปหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน หรือกรณีที่เว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทําการรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูล และนําข้อมูลไปเผยแพร่ กรณีจึงมีปัญหาในการพิจารณาว่า การกระทําใดของบุคคลที่ให้คําแนะนํา หรือเจ้าของเว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนหรือการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(4/1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 9(4) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกแนวทางในการพิจารณาไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การให้คําแนะนําเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใดที่มีลักษณะทํานองเดียวกันที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนหรือการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หากบุคคลที่ให้คําแนะนําและเจ้าของเว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใดมิได้ร่วมกันหรือแบ่งหน้าที่กับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้การกระทําของตนเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว (1) บุคคลที่ให้คําแนะนําที่มีการแสดงความคิดเห็น หรือการแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ในการลงทุนผ่านเว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใด โดยอาจเป็นการวิเคราะห์หลักทรัพย์ในบทความส่วนตัวซึ่งเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้ามาอ่านได้ หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันเกี่ยวกับการลงทุนผ่านเว็บไซต์ในลักษณะของกระดานสนทนา (community webboard) จะไม่เข้าข่ายเป็นการแสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมให้บริการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนหรือที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หากบุคคลที่ให้คําแนะนําไม่ได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมจากการแสดงความคิดเห็นหรือการแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ดังกล่าว เช่น ไม่ได้รับส่วนแบ่งค่าตอบแทนจากค่าสมัครสมาชิกของเว็บไซต์ เป็นต้น (2) เจ้าของเว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นใดที่จัดให้มีช่องทางให้บุคคลทั่วไปแสดงความคิดเห็น หรือแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ในการลงทุน เช่น การจัดให้มีกระดานสนทนา (community webboard) หรือจัดให้มีช่องทางให้นักวิเคราะห์การลงทุนให้คําแนะนํา จะไม่เข้าข่ายเป็นการแสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมให้บริการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนหรือที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หากไม่มีส่วนในการรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลเพื่อเผยแพร่คําแนะนําบนเว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งไม่ได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการให้คําแนะนํา เว้นแต่ค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่นดังกล่าวเป็นการได้รับจากการประกอบกิจการเว็บไซต์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องหรืออ้างอิงกับการเผยแพร่ความคิดเห็นหรือข้อมูลอื่นใดของบุคคลที่ให้คําแนะนํา ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,039
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 14/2563 เรื่อง การกำหนดบทนิยามผู้บริหารเพื่อการปฏิบัติตามหมวด 6 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 14/2563 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้บริหารเพื่อการปฏิบัติตามหมวด 6 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 39 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เว้นแต่จะมีประกาศกําหนดไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น “ผู้บริหาร” ของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลตามหมวด 6 การป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกรายและให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่ง ระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,040
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 15/2563 เรื่อง การกำหนดลักษณะของกิจการในกลุ่ม ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 15/2563 เรื่อง การกําหนดลักษณะของกิจการในกลุ่มของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 244 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการในกลุ่มของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามมาตรา 244 วรรคสอง ของหมวด 8 การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (1) บริษัทใหญ่ ได้แก่ บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (ข) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (ก) (ค) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (ข) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (ข) (2) บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์มีอํานาจควบคุมกิจการ (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) มีอํานาจควบคุมกิจการ (ค) บริษัทที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม (ข) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม (ข) (3) บริษัทร่วม ได้แก่ บริษัทที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยตาม (2) มีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะมีอํานาจควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยตาม (2) หรือกิจการร่วมค้า ในกรณีที่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยตามวรรคหนึ่ง (2) ถือหุ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมรวมกันตั้งแต่ร้อยละ 20 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อยตามวรรคหนึ่ง (2) มีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง (3) เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง ให้คําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า การมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด (3) การมีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,041
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กค. 16/2563 เรื่อง การกำหนดลักษณะของกิจการในกลุ่มของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กค. 16/2563 เรื่อง การกําหนดลักษณะของกิจการในกลุ่มของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 44 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลดังต่อไปนี้ เป็นกิจการในกลุ่มของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลตามมาตรา 44 วรรคสอง ของหมวด 6 การป้องกันการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (1) บริษัทใหญ่ ได้แก่ บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล (ข) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (ก) (ค) บริษัทที่มีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (ข) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการมีอํานาจควบคุมกิจการในบริษัทตาม (ข) (2) บริษัทย่อย ได้แก่ บริษัทที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บริษัทที่ผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลมีอํานาจควบคุมกิจการ (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) มีอํานาจควบคุมกิจการ (ค) บริษัทที่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม (ข) ต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากการอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมกิจการของบริษัทตาม (ข) (3) บริษัทร่วม ได้แก่ บริษัทที่ผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือบริษัทย่อยตาม (2) มีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของบริษัท แต่ไม่ถึงระดับที่จะมีอํานาจควบคุมนโยบายดังกล่าว และไม่ถือเป็นบริษัทย่อยตาม (2) หรือกิจการร่วมค้า ในกรณีที่ผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือบริษัทย่อยตามวรรคหนึ่ง (2) ถือหุ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมรวมกันตั้งแต่ร้อยละ 20 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือบริษัทย่อยตามวรรคหนึ่ง (2) มีอํานาจในการมีส่วนร่วมตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง (3) เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง ให้คําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า การมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด (3) การมีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,042
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 18/2563 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้บริการทางการเงินของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2563 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้บริการทางการเงินของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนา นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2560 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้บริการทางการเงินของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “โครงการทดสอบ” หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox) “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เข้าร่วมโครงการทดสอบ ข้อ ๓ การให้บริการทางการเงินภายใต้โครงการทดสอบของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาตดังต่อไปนี้ ในช่วงระยะเวลาที่ให้บริการภายใต้โครงการทดสอบดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะในหน่วยหรือส่วนงานที่ให้บริการภายใต้โครงการทดสอบ (1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) การค้าหลักทรัพย์ (3) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (4) การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (5) การจัดการกองทุนรวม (6) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (7) การประกอบกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ในกรณีที่บุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการทดสอบให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน (1) มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ (innovative financial services) ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย (2) มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการทดสอบในเรื่องดังนี้ (ก) มีเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร ที่สามารถรองรับการให้บริการตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบอย่างเหมาะสมและเพียงพอ (ข) มีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการ (ค) มีกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า โดยมีรายละเอียดครอบคลุมการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 5 (ง) มีแผนการรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการให้สํานักงานทราบอย่างต่อเนื่อง (จ) มีแผนการรองรับการออกจากโครงการทดสอบ (exit strategy) ที่ชัดเจน เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบหรือต้องออกจากโครงการทดสอบก่อนครบกําหนดระยะเวลา (3) มีการกําหนดขอบเขตการให้บริการในวงจํากัดเพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ในเรื่องดังนี้ (ก) ประเภทของลูกค้าที่ให้บริการ (ข) จํานวนลูกค้าสูงสุดที่ให้บริการ (ค) จํานวนเงินลงทุนสูงสุดของลูกค้าแต่ละรายและจํานวนเงินลงทุนรวมของลูกค้าทั้งหมดที่เกิดจากการให้บริการ (ถ้ามี) (4) มีการกําหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการทดสอบไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (5) มีผลการศึกษาหรือผลการวิจัยที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ (6) ไม่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการทดสอบมาก่อน ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามวรรคหนึ่งภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๕ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ ในระหว่างการให้บริการด้วย (1) รวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าที่ให้บริการ เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ (ก) ทําความรู้จักลูกค้า (ข) จัดประเภทของลูกค้า (ค) ประเมินความเหมาะสมในการให้บริการแก่ลูกค้า (ง) พิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการให้บริการ (2) มีกระบวนการให้บริการแก่ลูกค้าที่คํานึงถึงเรื่องดังนี้ (ก) การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน จําเป็น และเพียงพอ แก่ลูกค้า (ข) การรักษาความลับของลูกค้า (ค) การรับและจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า (ง) การจัดการความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) มีการแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า การให้บริการนี้เป็นการให้บริการตามโครงการทดสอบซึ่งมีข้อจํากัด ความเสี่ยง และเงื่อนไข ที่แตกต่างจากการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาต และต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนให้บริการดังกล่าวด้วย (4) มีข้อตกลงกับลูกค้าเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากการให้บริการ (5) จัดส่งรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการต่อสํานักงานตามแผนการรายงานที่แสดงไว้ในข้อ 4(2) (ง) (6) จัดให้มีระบบการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าที่อยู่ภายใต้การดูแลรักษาหรือจัดการ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการให้บริการซึ่งมีลักษณะเป็นการจัดการเงินลงทุนให้แก่ลูกค้า ให้เก็บทรัพย์สินของลูกค้าไว้กับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (7) จัดให้มีการกํากับดูแลเพื่อให้การให้บริการของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นไปตามประกาศนี้ รวมทั้งดูแลให้การให้บริการเป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๖ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้เมื่อ (1) การให้บริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย ตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 4(1) (2) การให้บริการไม่เป็นไปตามรายละเอียดที่แสดงไว้ในข้อ 4(2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี (3) บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 5 (4) นวัตกรรมที่นํามาใช้ในการให้บริการก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ข้อ ๗ การให้ความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามประกาศนี้ สิ้นสุดลงเมื่อ (1) ครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบตามข้อ 4(4) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ยุติการให้บริการก่อนครบกําหนดระยะเวลาหรือได้รับการผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการให้บริการออกไป โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบได้ยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานก่อนดําเนินการยุติการให้บริการหรือก่อนครบกําหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า30 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน (2) สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 6 ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,043
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 7/2560 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้บริการทางการเงินของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2560 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้บริการทางการเงินของบุคคลที่ได้รับ ความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็น การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “โครงการทดสอบ” หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox) “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เข้าร่วมโครงการทดสอบ ข้อ 2 การให้บริการทางการเงินภายใต้โครงการทดสอบของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศนี้ ให้ได้รับการผ่อนผันไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ ในช่วงระยะเวลาที่ให้บริการภายใต้โครงการทดสอบดังกล่าว (1) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (2) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล (3) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (6) การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 3 ในกรณีที่บุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการทดสอบให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. (1) มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ (innovative financial services) ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย (2) มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการทดสอบในเรื่องดังนี้ (ก) มีเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร ที่สามารถรองรับการให้บริการตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบอย่างเหมาะสมและเพียงพอ (ข) มีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการ (ค) มีกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า โดยมีรายละเอียดครอบคลุมการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 (ง) มีแผนการรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบอย่างต่อเนื่อง (จ) มีแผนการรองรับการออกจากโครงการทดสอบ (exit strategy) ที่ชัดเจน เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบหรือต้องออกจากโครงการทดสอบก่อนครบกําหนดระยะเวลา (3) มีการกําหนดขอบเขตการให้บริการในวงจํากัดเพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ในเรื่องดังนี้ (ก) ประเภทของลูกค้าที่ให้บริการ (ข) จํานวนลูกค้าสูงสุดที่ให้บริการ (ค) จํานวนเงินลงทุนสูงสุดของลูกค้าแต่ละรายและจํานวนเงินลงทุนรวม ของลูกค้าทั้งหมดที่เกิดจากการให้บริการ (ถ้ามี) (4) มีการกําหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการทดสอบไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (5) มีผลการศึกษาหรือผลการวิจัยที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ (6) ไม่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการทดสอบมาก่อน ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามวรรคหนึ่งภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 4 บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้ ในระหว่างการให้บริการด้วย (1) รวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าที่ให้บริการ เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ (ก) ทําความรู้จักลูกค้า (ข) จัดประเภทของลูกค้า (ค) ประเมินความเหมาะสมในการให้บริการแก่ลูกค้า (ง) พิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการให้บริการ (2) มีกระบวนการให้บริการแก่ลูกค้าที่คํานึงถึงเรื่องดังนี้ (ก) การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน จําเป็น และเพียงพอ แก่ลูกค้า (ข) การรักษาความลับของลูกค้า (ค) การรับและจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า (ง) การจัดการความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) มีการแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า การให้บริการนี้เป็นการให้บริการตามโครงการทดสอบซึ่งมีข้อจํากัด ความเสี่ยง และเงื่อนไข ที่แตกต่างจากการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาต และต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนให้บริการดังกล่าวด้วย (4) มีข้อตกลงกับลูกค้าเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากการให้บริการ (5) จัดส่งรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแผนการรายงานที่แสดงไว้ในข้อ 3(2) (ง) (6) จัดให้มีระบบการเก็บทรัพย์สินของลูกค้าโดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่เป็นการให้บริการซึ่งมีลักษณะเป็นการจัดการเงินลงทุนให้แก่ลูกค้า (7) จัดให้มีการกํากับดูแลเพื่อให้การให้บริการของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นไปตามประกาศนี้ รวมทั้งดูแลให้การให้บริการเป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ 5 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้เมื่อ (1) การให้บริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย ตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3(1) (2) การให้บริการไม่เป็นไปตามรายละเอียดที่แสดงไว้ในข้อ 3(2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี (3) บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 (4) นวัตกรรมที่นํามาใช้ในการให้บริการก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ข้อ 6 การให้ความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามประกาศนี้ สิ้นสุดลงเมื่อ (1) ครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบตามข้อ 3(4) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ยุติการให้บริการก่อนครบกําหนดระยะเวลาหรือได้รับการผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการให้บริการออกไป โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบได้ยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนดําเนินการยุติการให้บริการหรือก่อนครบกําหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน (2) สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 5 ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,044
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 19/2563 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้บริการทางการเงินของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2563 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้บริการทางการเงินของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “โครงการทดสอบ” หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox) “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เข้าร่วมโครงการทดสอบ ข้อ ๒ การให้บริการทางการเงินภายใต้โครงการทดสอบของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาตดังต่อไปนี้ ในช่วงระยะเวลาที่ให้บริการภายใต้โครงการทดสอบดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะในหน่วยหรือส่วนงานที่ให้บริการภายใต้โครงการทดสอบ (1) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ ในกรณีที่บุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการทดสอบให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน (1) มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ (innovative financial services) ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย (2) มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการทดสอบในเรื่องดังนี้ (ก) มีเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร ที่สามารถรองรับการให้บริการตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบอย่างเหมาะสมและเพียงพอ (ข) มีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการ (ค) มีกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า โดยมีรายละเอียดครอบคลุมการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 (ง) มีแผนการรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบอย่างต่อเนื่อง (จ) มีแผนการรองรับการออกจากโครงการทดสอบ (exit strategy) ที่ชัดเจน เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบหรือต้องออกจากโครงการทดสอบก่อนครบกําหนดระยะเวลา (3) มีการกําหนดขอบเขตการให้บริการในวงจํากัดเพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ในเรื่องดังนี้ (ก) ประเภทของลูกค้าที่ให้บริการ (ข) จํานวนลูกค้าสูงสุดที่ให้บริการ (ค) จํานวนเงินลงทุนสูงสุดของลูกค้าแต่ละรายและจํานวนเงินลงทุนรวมของลูกค้าทั้งหมดที่เกิดจากการให้บริการ (ถ้ามี) (4) มีการกําหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการทดสอบไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (5) มีผลการศึกษาหรือผลการวิจัยที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ (6) ไม่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการทดสอบมาก่อน ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามวรรคหนึ่งภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๔ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ ในระหว่างการให้บริการด้วย (1) รวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าที่ให้บริการ เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ (ก) ทําความรู้จักลูกค้า (ข) จัดประเภทของลูกค้า (ค) ประเมินความเหมาะสมในการให้บริการแก่ลูกค้า (ง) พิจารณาความสามารถของลูกค้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการให้บริการ (2) มีกระบวนการให้บริการแก่ลูกค้าที่คํานึงถึงเรื่องดังนี้ (ก) การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน จําเป็น และเพียงพอ แก่ลูกค้า (ข) การรักษาความลับของลูกค้า (ค) การรับและจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า (ง) การจัดการความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) มีการแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า การให้บริการนี้เป็นการให้บริการตามโครงการทดสอบซึ่งมีข้อจํากัด ความเสี่ยง และเงื่อนไข ที่แตกต่างจากการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาต และต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนให้บริการดังกล่าวด้วย (4) มีข้อตกลงกับลูกค้าเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากการให้บริการ (5) จัดส่งรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแผนการรายงานที่แสดงไว้ในข้อ 3(2) (ง) (6) จัดให้มีระบบการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าที่อยู่ภายใต้การดูแลรักษาหรือจัดการ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการให้บริการซึ่งมีลักษณะเป็นการจัดการเงินลงทุนให้แก่ลูกค้า ให้เก็บทรัพย์สินของลูกค้าไว้กับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. (7) จัดให้มีการกํากับดูแลเพื่อให้การให้บริการของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบเป็นไปตามประกาศนี้ รวมทั้งดูแลให้การให้บริการเป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๕ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้เมื่อ (1) การให้บริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย ตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3(1) (2) การให้บริการไม่เป็นไปตามรายละเอียดที่แสดงไว้ในข้อ 3(2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี (3) บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 (4) นวัตกรรมที่นํามาใช้ในการให้บริการก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ข้อ ๖ การให้ความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามประกาศนี้ สิ้นสุดลงเมื่อ (1) ครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบตามข้อ 3(4) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ยุติการให้บริการก่อนครบกําหนดระยะเวลาหรือได้รับการผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการให้บริการออกไป โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบได้ยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนดําเนินการยุติการให้บริการหรือก่อนครบกําหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน (2) สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 5 ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,045
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 20/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 20/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอรับใบอนุญาตและการออก ใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามโครงการทดสอบและ พัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 205 และมาตรา 206 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “โครงการทดสอบ” หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox) “ใบอนุญาตตามโครงการทดสอบ” หมายความว่า ใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามโครงการทดสอบ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย “ผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน กิจการเงินร่วมลงทุน นิติบุคคลร่วมลงทุน และผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ “กิจการเงินร่วมลงทุน” (private equity) หมายความว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ และมีลักษณะที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนร่วมกันของผู้ลงทุนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยจํากัดลักษณะของผู้ลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (2) มีการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดการเงินทุนและทรัพย์สินที่เกิดจากเงินทุน (3) มีนโยบายการลงทุนในกิจการอื่นผ่านการเข้าทําสัญญาการลงทุนในหุ้นหรือการสนับสนุนทางการเงินที่ก่อให้เกิดสิทธิในการได้มาซึ่งหุ้นของกิจการนั้นในภายหลัง โดยมีส่วนในการกํากับดูแลแผนธุรกิจ การดําเนินงานหรือการปรับปรุงการดําเนินงาน หรือการดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่สะท้อนถึงการมีบทบาทต่อการดําเนินธุรกิจของกิจการดังกล่าว “นิติบุคคลร่วมลงทุน” (venture capital) หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการร่วมลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (startup) และจํากัดลักษณะของผู้ลงทุนไว้เฉพาะผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย “ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ คําว่า “ระบบคราวด์ฟันดิง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง ข้อ ๒ ในการเข้าร่วมโครงการทดสอบ ให้กลุ่มบุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตตามโครงการทดสอบ ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามโครงการทดสอบตามแบบคําขอรับใบอนุญาตตามโครงการทดสอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับใบอนุญาตตามโครงการทดสอบ ตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน (1) เป็นบริษัทหลักทรัพย์รวมกันไม่น้อยกว่า 15 ราย (2) กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ตาม (1) จัดทําข้อตกลงจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 3 (3) มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ (innovative financial services)ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย (4) มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการทดสอบในเรื่องดังนี้ (ก) มีเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร ที่สามารถรองรับการให้บริการตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ (ข) มีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการ (ค) มีกระบวนการดําเนินงานและระบบควบคุมภายใน ซึ่งมีรายละเอียดครอบคลุมการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 ทั้งนี้ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามโครงการทดสอบต้องแสดงได้ว่าสามารถดําเนินการตามกระบวนการและระบบดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่ให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (ง) มีแผนการรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการให้สํานักงานทราบอย่างต่อเนื่อง (จ) มีแผนการรองรับการออกจากโครงการทดสอบ (exit strategy) ที่ชัดเจนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบหรือต้องออกจากโครงการทดสอบก่อนครบกําหนดระยะเวลา (5) มีการกําหนดขอบเขตการให้บริการในวงจํากัดเพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง เช่น จํากัดประเภทหรือจํานวนของผู้ใช้บริการ เป็นต้น (6) มีการกําหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการทดสอบไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตตามโครงการทดสอบ (7) มีผลการศึกษาหรือผลการวิจัยที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ รวมถึงผลการศึกษาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทดสอบ (8) ไม่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการทดสอบมาก่อน ข้อ ๓ ข้อตกลงในการจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อ 2(2) ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) วัตถุประสงค์ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างสมาชิกผู้ก่อตั้ง (2) เหตุที่จะเลิกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ โดยอย่างน้อยต้องกําหนดให้กรณีดังนี้ เป็นเหตุที่จะเลิกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (ก) ครบกําหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตตามโครงการทดสอบ ตามข้อ 5 วรรคสอง หรือตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาออกไปตามข้อ 5 วรรคสี่ แล้วแต่กรณี เว้นแต่กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 2(1) ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นที่มิใช่ใบอนุญาตตามโครงการทดสอบและสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นนั้นได้อย่างต่อเนื่องทันทีเมื่อครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว (ข) ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ยุติการให้บริการก่อนครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบ โดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามข้อ 6 เว้นแต่กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 2(1) ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะอื่นที่มิใช่ใบอนุญาตตามโครงการทดสอบและสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามใบอนุญาตจัดตั้งศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ในลักษณะอื่นนั้นได้อย่างต่อเนื่องทันทีเมื่อยุติการให้บริการตามโครงการทดสอบแล้ว (ค) คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาแล้วมีความเห็นดังนี้ 1. มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการให้บริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทยหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย ตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 2(3) 2. ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติที่แสดงไว้ในข้อ 2(3) ถึง (8) 3. ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 4. การให้บริการภายใต้โครงการทดสอบบกพร่องและไม่สามารถปรับปรุงได้ 5. มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านวัตกรรมที่นํามาใช้ในการให้บริการอาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ข้อ ๔ กระบวนการดําเนินงานและระบบควบคุมภายในของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อ 2(4) (ค) ต้องเป็นไปตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (1) มีกระบวนการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่คํานึงถึงเรื่องดังนี้ (ก) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการที่ถูกต้อง ครบถ้วน จําเป็น และเพียงพอแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการหรือตัดสินใจลงทุนอย่างถูกต้อง (ข) การรักษาความลับของผู้ใช้บริการ (ค) การรับและจัดการข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการ (ง) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT risk) และความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber risk) ที่เพียงพอ โดยต้องให้ความสําคัญในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (integrity) และความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability) (จ) การป้องกันศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ จากการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (2) มีการแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่า การให้บริการนี้เป็นการให้บริการตามโครงการทดสอบซึ่งมีข้อจํากัด ความเสี่ยง และเงื่อนไข ที่แตกต่างจากการให้บริการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่มิได้เข้าร่วมโครงการทดสอบ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการก่อนให้บริการดังกล่าวด้วย (3) มีข้อตกลงกับผู้ใช้บริการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการ (4) จัดส่งรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการต่อสํานักงานตามแผนการรายงานที่แสดงไว้ในข้อ 2(4) (ง) (5) ตรวจสอบดูแลให้การให้บริการเป็นไปตามที่กําหนดในประกาศนี้ รวมทั้งกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย (6) มีระบบการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังนี้ (ก) มีระบบที่สามารถรองรับปริมาณการซื้อขายได้อย่างเพียงพอ และสามารถตรวจสอบความสามารถในการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของผู้ใช้บริการได้ ก่อนมีการส่งคําสั่งซื้อขาย (ข) มีระบบชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์โดยสํานักหักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือผู้ที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้สามารถประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีได้โดยมิต้องได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ ไม่ว่าจะดําเนินการโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ในกรณีที่ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์จัดให้มีระบบชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์โดยสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ที่ประกอบการภายใต้โครงการทดสอบ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการแจ้งข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการและต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการ โดยให้นําความใน (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม (ค) มีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการทํารายการซื้อขาย ซึ่งรวมถึงข้อมูลก่อนทํารายการซื้อขาย (ถ้ามี) (pre-trade information) และข้อมูลภายหลังทํารายการซื้อขาย (post-trade information) อย่างเพียงพอ รวดเร็ว และเหมาะสม (transparency) (ง) มีระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขาย โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับการทํารายการซื้อขาย ทั้งนี้ เพื่อติดตามและตรวจสอบการซื้อขายในภายหลัง (audit trail) (จ) มีระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทํางานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (ฉ) มีกลไกควบคุมให้ผู้ใช้บริการที่เสนอซื้อหรือซื้อหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ และการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นการทั่วไปหรือต่อบุคคลในวงกว้าง แล้วแต่กรณี ในกรณีที่เป็นการให้บริการเป็นตลาดรองสําหรับการซื้อขายหุ้นหรือหุ้นกู้ของบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่ได้เสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต้องกําหนดขอบเขตประเภทผู้ใช้บริการ โดยผู้ลงทุนทั่วไปไม่สามารถเสนอซื้อหรือซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ (7) จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการซื้อขาย ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังนี้ (ก) ขั้นตอนและวิธีการซื้อขายของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ โดยจะต้องเปิดเผยการจัดลําดับและการจับคู่คําสั่งซื้อขายด้วย (ข) ประเภทหลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้บนศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ รวมถึงข้อจํากัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของหลักทรัพย์ในแต่ละประเภท (ค) ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นหุ้นของบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ไม่ได้เสนอขายผ่านผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทดังกล่าวอย่างต่อเนื่องบนระบบของศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นการทั่วไปหรือต่อบุคคลในวงกว้าง (ง) ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ข้อ ๕ ให้สํานักงานดําเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตตามโครงการทดสอบและเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุญาต โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ใบอนุญาตตามโครงการทดสอบตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ใบอนุญาตตามโครงการทดสอบให้มีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตตามโครงการทดสอบ ในกรณีที่ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ประสงค์จะขอขยายระยะเวลาการให้บริการออกไป ให้ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงานก่อนใบอนุญาตตามโครงการทดสอบสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า 90 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอขยายระยะเวลาตามวรรคสามให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๖ ในกรณีที่ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ประสงค์จะขอยุติการให้บริการก่อนครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขออนุญาตยุติการให้บริการ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงานก่อนยุติการให้บริการไม่น้อยกว่า 60 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,046
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 21/2563 เรื่อง การกำหนดลักษณะการประกอบการของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสำนักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2563 เรื่อง การกําหนดลักษณะการประกอบการของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “โครงการทดสอบ” หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox) “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เข้าร่วมโครงการทดสอบตามประกาศนี้ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย ข้อ ๒ การประกอบการภายใต้โครงการทดสอบของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต ในช่วงระยะเวลาที่ประกอบการภายใต้โครงการทดสอบดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะในหน่วยหรือส่วนงานที่ประกอบการภายใต้โครงการทดสอบ ข้อ ๓ ในกรณีที่บุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการทดสอบให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน (1) มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในการประกอบการ (innovative financial services) ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย (2) มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการทดสอบในเรื่องดังนี้ (ก) มีเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร ที่สามารถรองรับการประกอบการตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ (ข) มีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบการ (ค) มีกระบวนการดําเนินงานและระบบควบคุมภายใน โดยมีรายละเอียดครอบคลุมการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 รวมทั้งข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณี (ง) มีแผนการรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการประกอบการให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบอย่างต่อเนื่อง (จ) มีแผนการรองรับการออกจากโครงการทดสอบ (exit strategy) ที่ชัดเจนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบหรือต้องออกจากโครงการทดสอบก่อนครบกําหนดระยะเวลา (3) มีการกําหนดขอบเขตการประกอบการในวงจํากัดเพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง เช่น จํากัดประเภทหรือจํานวนของผู้ใช้บริการ เป็นต้น (4) มีการกําหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการทดสอบไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (5) มีผลการศึกษาหรือผลการวิจัยที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในการนํานวัตกรรมมาใช้ในการประกอบการ รวมถึงผลการศึกษาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทดสอบ (6) ไม่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการทดสอบมาก่อน ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามวรรคหนึ่งภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๔ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้ ในระหว่างการประกอบการด้วย (1) รวบรวมและประเมินข้อมูลของผู้ใช้บริการ เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ (ก) ทําความรู้จักผู้ใช้บริการ (ข) จัดประเภทของผู้ใช้บริการ (ค) ประเมินความเหมาะสมในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ (ง) พิจารณาความสามารถของผู้ใช้บริการในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการให้บริการ การดําเนินการตาม (1) วรรคหนึ่ง อาจดําเนินการผ่านผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือจดทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. หรือผ่านบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะการให้บริการทางการเงินของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต (2) มีกระบวนการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่คํานึงถึงเรื่องดังนี้ (ก) การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน จําเป็น และเพียงพอแก่ผู้ใช้บริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการหรือตัดสินใจลงทุนอย่างถูกต้อง (ข) การรักษาความลับของผู้ใช้บริการ (ค) การรับและจัดการข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการ (ง) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT risk) และความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber risk) ที่เพียงพอ โดยต้องให้ความสําคัญในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (integrity) และความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability) (จ) การป้องกันผู้ประกอบการ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ของผู้ประกอบการ จากการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (3) มีการแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่า การประกอบการนี้เป็นการประกอบการตามโครงการทดสอบซึ่งมีข้อจํากัด ความเสี่ยง และเงื่อนไข ที่แตกต่างจากการประกอบการของผู้ประกอบการในลักษณะเดียวกันที่มิได้เข้าร่วมโครงการทดสอบ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการก่อนให้บริการแก่ผู้ลงทุนดังกล่าวด้วย (4) มีข้อตกลงกับผู้ใช้บริการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการ (5) จัดส่งรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการประกอบการต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแผนการรายงานที่แสดงไว้ในข้อ 3 วรรคหนึ่ง (2) (ง) (6) ตรวจสอบดูแลให้การประกอบการเป็นไปตามที่กําหนดในประกาศนี้ รวมทั้งกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๕ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้ประกอบการภายใต้โครงการทดสอบ ในลักษณะทํานองเดียวกับศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องจัดให้มีระบบการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) มีระบบที่สามารถรองรับปริมาณการซื้อขายได้อย่างเพียงพอ และสามารถตรวจสอบความสามารถในการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและส่งมอบสินค้าอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ถ้ามี) ของผู้ใช้บริการได้ก่อนมีการส่งคําสั่งซื้อขาย (2) มีระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและส่งมอบสินค้าอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ถ้ามี) โดยสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือจดทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. หรือโดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้ประกอบการภายใต้โครงการทดสอบในลักษณะทํานองเดียวกับสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่ว่าจะดําเนินการโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้ประกอบการภายใต้โครงการทดสอบ ในลักษณะทํานองเดียวกับศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จัดให้มีระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและส่งมอบสินค้าอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ถ้ามี) โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้ประกอบการภายใต้โครงการทดสอบในลักษณะทํานองเดียวกับสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้ประกอบการภายใต้โครงการทดสอบในลักษณะทํานองเดียวกับศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องจัดให้มีการแจ้งข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการและต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการ โดยให้นําความในข้อ 4(3) มาใช้บังคับโดยอนุโลม (3) มีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการทํารายการซื้อขาย ซึ่งรวมถึงข้อมูลก่อนทํารายการซื้อขาย (ถ้ามี) (pre-trade information) และข้อมูลภายหลังทํารายการซื้อขาย (post-trade information) อย่างเพียงพอ รวดเร็ว และเหมาะสม (transparency) (4) มีระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขาย โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับการทํารายการซื้อขาย ทั้งนี้ เพื่อติดตามและตรวจสอบการซื้อขายในภายหลัง (audit trail) (5) มีระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทํางานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (6) จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการซื้อขาย ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังนี้ (ก) ขั้นตอนและวิธีการในการเปิดรับผู้ใช้บริการที่ชัดเจนและเป็นธรรม (fair access) ทั้งนี้ การดําเนินการตามข้างต้น อาจดําเนินการผ่านผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือจดทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. หรือผ่านบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนด ลักษณะการให้บริการทางการเงินของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้องได้รับใบอนุญาต (ข) ขั้นตอนและวิธีการซื้อขายของระบบที่ให้บริการ และในกรณีที่เป็นการให้บริการระบบจับคู่คําเสนอซื้อเสนอขายจะต้องเปิดเผยการจัดลําดับและการจับคู่คําสั่งซื้อขายด้วย (ค) ประเภทสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถซื้อขายได้บนระบบที่ให้บริการ รวมถึงข้อจํากัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในแต่ละประเภท (ง) ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการแก่ผู้ใช้บริการ ข้อ ๖ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้ประกอบการภายใต้โครงการทดสอบในลักษณะทํานองเดียวกับสํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องจัดให้มีระบบงานและดําเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) ระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องกําหนดจุดเวลาเพื่อการชําระหนี้และการส่งมอบสินค้าอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ถ้ามี) ที่ให้ถือว่าเป็นที่สุด (finality of settlement) นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการส่งมอบสินค้าอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องมีระบบการส่งมอบสินค้าอ้างอิงดังกล่าวแบบ delivery versus payment (DVP) ด้วย (2) ระบบการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สามารถให้ความมั่นใจว่าจะมีการปฏิบัติการชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบต้องเข้าผูกพันหรือแทนที่เป็นคู่สัญญากับผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งต้องมีกระบวนการจัดการที่ชัดเจนสําหรับกรณีที่มีการผิดนัดชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ระบบการจัดการ รวบรวม ประมวลผล เก็บรักษา และเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับการชําระหนี้และส่งมอบสินค้าอ้างอิง (ถ้ามี) ที่มีความรัดกุม (4) ระบบการจัดเก็บทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ โดยให้นําความในมาตรา 82 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้เมื่อ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการประกอบการไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย ตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3 วรรคหนึ่ง (1) (2) บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามที่แสดงไว้ในข้อ 3 วรรคหนึ่ง (3) บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 รวมทั้งข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณี (4) การประกอบการภายใต้โครงการทดสอบบกพร่องและไม่สามารถปรับปรุงได้ (5) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านวัตกรรมที่นํามาใช้ในการประกอบการก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ข้อ ๘ การให้ความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามประกาศนี้ สิ้นสุดลงเมื่อ (1) ครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง (4) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ยุติการประกอบการก่อนครบกําหนดระยะเวลาหรือได้รับการผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการประกอบการออกไป โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบได้ยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนดําเนินการยุติการประกอบการหรือก่อนครบกําหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน (2) สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 7 ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,047
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 23/2563 เรื่อง การผ่อนผันการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 23/2563 เรื่อง การผ่อนผันการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19(Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 126 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่มิให้หมายความรวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “สถานการณ์โควิด 19” หมายความว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศการกู้ยืมเงิน” หมายความว่า (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวม (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๒ การกู้ยืมเงินของกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ให้บริษัทจัดการสามารถกู้ยืมเงินได้เพิ่มเติมจากการกู้ยืมเงินตามที่กําหนดในประกาศการกู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการกู้ยืมเงินระยะสั้นที่มีการทําสัญญากู้ยืมเงินและเบิกเงินกู้ครั้งแรกภายในปี พ.ศ. 2563 โดยมีกําหนดเวลาชําระหนี้เงินกู้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทําสัญญากู้ยืมเงิน (2) เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสริมสภาพคล่องของกองทุนรวม และต้องมิใช่เพื่อการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม (3) จํานวนเงินที่กู้ยืมดังกล่าวต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายหรือภาระผูกพันอื่นของกองทุนรวมตามงบการเงินปีล่าสุด หรือภาระผูกพันที่กองทุนรวมต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือตามข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผยแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไว้แล้วก่อนวันทําสัญญากู้ยืมเงิน เช่น ข้อมูลที่เปิดเผยไว้ในหนังสือชี้ชวน หรือแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี เป็นต้น (4) ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ทั้งนี้ ข้อกําหนดอื่นให้เป็นไปตามประกาศการกู้ยืมเงินเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,048
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2563 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(1) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 10(1) และมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2560 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2560 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศและตารางท้ายประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ (1) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (2) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ดังนี้ (ก) ตราสารแห่งหนี้และศุกูก (ข) หน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้และศุกูก (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน ซึ่งมีลักษณะดังนี้ (ก) มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนของบริษัท (ข) มีการซื้อขายหน่วยลงทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อลูกค้าผ่านสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย (1) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (2) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (3) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (4) ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล “เงินกองทุน” หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิหรือส่วนของผู้ถือหุ้น “เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่อง หักด้วย ค่าความเสี่ยง “เงินกองทุนสภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์สภาพคล่อง หักด้วย หนี้สินรวม “สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์รายการดังต่อไปนี้ (1) เงินสดและเงินฝากธนาคาร (2) หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน รวมดอกเบี้ยค้างรับ (3) ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารทางการเงินอื่น (5) ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคําสั่ง (6) ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์ (7) ลูกหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (8) สินทรัพย์ดิจิทัล (9) รายการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “หนี้สินทั่วไป” หมายความว่า หนี้สินรวม หักด้วย หนี้สินพิเศษ “หนี้สินรวม” หมายความว่า (1) รายการหนี้สินทุกรายการที่ปรากฏในงบการเงิน แต่ไม่รวมถึงหนี้สินรายการดังนี้ (ก) หนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกันและไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) สัญญาเช่าทางการเงินที่ให้สิทธิผู้เช่าในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า (financing lease) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้เช่าสามารถบอกเลิกการเช่าก่อนกําหนดได้โดยไม่ต้องซื้อทรัพย์สินนั้นไป ยกเว้นส่วนที่เป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญาก่อนกําหนด (ค) รายการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) รายการภาระผูกพันอื่นที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่ผู้ประกอบธุรกิจได้ในภายหลัง ดังนี้ (ก) ภาระจากการค้ําประกัน รับรอง หรืออาวัลตั๋วเงิน (ข) ภาระผูกพันอื่นที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ (ค) ภาระผูกพันอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “หนี้สินพิเศษ” หมายความว่า (1) หนี้สินที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการวางทรัพย์สินไว้เป็นประกันกับเจ้าหนี้โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ผู้ประกอบธุรกิจได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (2) ภาระผูกพันที่มีการวางทรัพย์สินไว้เป็นประกันกับเจ้าหนี้ โดยภาระผูกพันดังกล่าวต้องมีสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่าเจ้าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นไม่มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (3) ผลรวมของหนี้สินรายการดังนี้ (ก) เจ้าหนี้หลักทรัพย์ยืมเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (ข) เจ้าหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (ค) บัญชีลูกค้า (ง) หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (4) หนี้สินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “ค่าความเสี่ยง” หมายความว่า ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการดําเนินการอื่นใดของผู้ประกอบธุรกิจ “ทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน” หมายความว่า ผลรวมของจํานวนทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องนํามาวางเป็นประกันสําหรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ตามอัตราหรือมูลค่าที่สํานักงานประกาศกําหนด “ส่วนของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ผลรวมของรายการดังต่อไปนี้ (1) รายการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏในรายงานฐานะทางการเงิน (แบบ บ.ล. 2) ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน้าที่จัดทําและยื่นรายงานฐานะทางการเงินตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ข) ส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุด ซึ่งมีวิธีการคํานวณตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นนอกเหนือจาก (ก) (2) ทุนที่ออกและชําระแล้ว ซึ่งรวมส่วนเกินมูลค่าหุ้นและหักส่วนลดมูลค่าหุ้นแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอันเนื่องมาจากการเพิ่มทุนหรือลดทุนที่ยังไม่ถูกนับรวมเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในแบบรายงานฐานะทางการเงินตาม (1) (ก) หรืองบการเงินล่าสุดตาม (1) (ข) ข้อ ๓ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (3) สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดํารงเงินกองทุนทุกสิ้นวันทําการ ตามที่กําหนดในตารางการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ในกรณีที่มีรายการธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น จนเป็นผลให้เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่ํากว่าร้อยละ 7 ของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน (ถ้ามี) เป็นการชั่วคราว โดยผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมีวงเงินกู้ด้อยสิทธิทดแทนที่มีมูลค่ามากกว่าส่วนที่ต่ํากว่าเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ต้องดํารง ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นสามารถดํารงเงินกองทุนได้ วงเงินกู้ด้อยสิทธิทดแทนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นวงเงินกู้ด้อยสิทธิที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นวงเงินกู้ด้อยสิทธิที่ผู้ให้กู้เป็นธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ หรือนิติบุคคลที่เป็นกลุ่มนิติบุคคลเดียวกันกับผู้ประกอบธุรกิจแต่ไม่รวมถึงบริษัทย่อยของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีที่การให้กู้ยืมเงินของบริษัทหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็น การประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต การให้กู้ยืมดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนด้วย (2) เป็นวงเงินกู้ด้อยสิทธิที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันที่จะนํามาเป็นวงเงินกู้ด้อยสิทธิทดแทน พร้อมเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ระยะเวลาการให้ความเห็นชอบของสํานักงานในแต่ละครั้งไม่เกิน 2 ปี ในกรณีที่สํานักงานพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ให้วงเงินกู้ด้อยสิทธิมีหรือคาดว่าจะมีปัญหาฐานะทางการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีการใช้วงเงินกู้ด้อยสิทธิที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจรายใด ให้สํานักงานมีอํานาจลดสัดส่วนการใช้วงเงินกู้ด้อยสิทธิหรือยกเลิกการให้ความเห็นชอบวงเงินกู้ด้อยสิทธิดังกล่าว เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ “วงเงินกู้ด้อยสิทธิทดแทน” หมายความว่า วงเงินกู้ด้อยสิทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าคงเหลือของส่วนของผู้ถือหุ้นที่หักด้วยหนี้สินด้อยสิทธิแล้ว “วงเงินกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า วงเงินกู้ที่กําหนดสิทธิของผู้ให้กู้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยวงเงินกู้ดังกล่าวต้องไม่มีประกันและไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด “หนี้สินด้อยสิทธิ” หมายความว่า หนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกันและไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด คําว่า “กลุ่มนิติบุคคลเดียวกัน” และคําว่า “บริษัทย่อย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ข้อ ๖ ในการดําเนินการดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด (1) การคํานวณเงินกองทุนตามข้อ 4 และข้อ 5 (2) การรายงานเกี่ยวกับการคํานวณเงินกองทุนสําหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๗ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจ หรืออยู่ระหว่างการหยุดประกอบธุรกิจตามที่ได้รับใบอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วนที่ได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์นั้นต่อสํานักงานแล้ว ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 4 และข้อ 6 ในส่วนที่ยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจหรือหยุดประกอบธุรกิจนั้น ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วจนทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินลดลง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ข้อ ๙ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ระงับการดําเนินธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามที่กําหนดในข้อ 4 และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจได้ตามปกติ (2) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการระงับการดําเนินธุรกิจตาม (1) โดยไม่ชักช้า (3) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ข้อ ๑๐ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,049
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2563 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9(1) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา 10(1) และมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2560 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2560 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศและตารางท้ายประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ (1) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (2) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ดังนี้ (ก) ตราสารแห่งหนี้และศุกูก (ข) หน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้และศุกูก (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน ซึ่งมีลักษณะดังนี้ (ก) มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนของบริษัท (ข) มีการซื้อขายหน่วยลงทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อลูกค้าผ่านสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย (1) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (2) นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (3) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล “เงินกองทุน” หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิหรือส่วนของผู้ถือหุ้น “เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่อง หักด้วย ค่าความเสี่ยง “เงินกองทุนสภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์สภาพคล่อง หักด้วย หนี้สินรวม “สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์รายการดังต่อไปนี้ (1) เงินสดและเงินฝากธนาคาร (2) หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน รวมดอกเบี้ยค้างรับ (3) ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารทางการเงินอื่น (5) ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคําสั่ง (6) ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์ (7) ลูกหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (8) สินทรัพย์ดิจิทัล (9) รายการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “หนี้สินทั่วไป” หมายความว่า หนี้สินรวม หักด้วย หนี้สินพิเศษ “หนี้สินรวม” หมายความว่า (1) รายการหนี้สินทุกรายการที่ปรากฏในงบการเงิน แต่ไม่รวมถึงหนี้สินรายการดังนี้ (ก) หนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกันและไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) สัญญาเช่าทางการเงินที่ให้สิทธิผู้เช่าในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า (financing lease) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้เช่าสามารถบอกเลิกการเช่าก่อนกําหนดได้โดยไม่ต้องซื้อทรัพย์สินนั้นไป ยกเว้นส่วนที่เป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญาก่อนกําหนด (ค) รายการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) รายการภาระผูกพันอื่นที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่ผู้ประกอบธุรกิจได้ในภายหลัง ดังนี้ (ก) ภาระจากการค้ําประกัน รับรอง หรืออาวัลตั๋วเงิน (ข) ภาระผูกพันอื่นที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ (ค) ภาระผูกพันอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “หนี้สินพิเศษ” หมายความว่า (1) หนี้สินที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการวางทรัพย์สินไว้เป็นประกันกับเจ้าหนี้โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ผู้ประกอบธุรกิจได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (2) ภาระผูกพันที่มีการวางทรัพย์สินไว้เป็นประกันกับเจ้าหนี้ โดยภาระผูกพันดังกล่าวต้องมีสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่าเจ้าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นไม่มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (3) ผลรวมของหนี้สินรายการดังนี้ (ก) เจ้าหนี้หลักทรัพย์ยืมเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (ข) เจ้าหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (ค) บัญชีลูกค้า (ง) หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (4) หนี้สินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “ค่าความเสี่ยง” หมายความว่า ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการดําเนินการอื่นใดของผู้ประกอบธุรกิจ “ทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน” หมายความว่า ผลรวมของจํานวนทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องนํามาวางเป็นประกันสําหรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ตามอัตราหรือมูลค่าที่สํานักงานประกาศกําหนด “ส่วนของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ผลรวมของรายการดังต่อไปนี้ (1) รายการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏในรายงานฐานะทางการเงิน (แบบ บ.ล. 2) ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีหน้าที่จัดทําและยื่นรายงานฐานะทางการเงินตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแบบรายงานของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ข) ส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุด ซึ่งมีวิธีการคํานวณตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นนอกเหนือจาก (ก) (2) ทุนที่ออกและชําระแล้ว ซึ่งรวมส่วนเกินมูลค่าหุ้นและหักส่วนลดมูลค่าหุ้นแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอันเนื่องมาจากการเพิ่มทุนหรือลดทุนที่ยังไม่ถูกนับรวมเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในแบบรายงานฐานะทางการเงินตาม (1) (ก) หรืองบการเงินล่าสุดตาม (1) (ข) ข้อ ๓ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (3) สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดํารงเงินกองทุนทุกสิ้นวันทําการ ตามที่กําหนดในตารางการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ในกรณีที่มีรายการธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น จนเป็นผลให้เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่ํากว่าร้อยละ 7 ของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน (ถ้ามี) เป็นการชั่วคราว โดยผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวมีวงเงินกู้ด้อยสิทธิทดแทนที่มีมูลค่ามากกว่าส่วนที่ต่ํากว่าเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ต้องดํารง ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นสามารถดํารงเงินกองทุนได้ วงเงินกู้ด้อยสิทธิทดแทนตามวรรคหนึ่งต้องเป็นวงเงินกู้ด้อยสิทธิที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นวงเงินกู้ด้อยสิทธิที่ผู้ให้กู้เป็นธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ หรือนิติบุคคลที่เป็นกลุ่มนิติบุคคลเดียวกันกับผู้ประกอบธุรกิจแต่ไม่รวมถึงบริษัทย่อยของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีที่การให้กู้ยืมเงินของบริษัทหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นการประกอบกิจการอื่นใดที่มิใช่ธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่ได้รับอนุญาต การให้กู้ยืมดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุนด้วย (2) เป็นวงเงินกู้ด้อยสิทธิที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันที่จะนํามาเป็นวงเงินกู้ด้อยสิทธิทดแทน พร้อมเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ระยะเวลาการให้ความเห็นชอบของสํานักงานในแต่ละครั้งไม่เกิน 2 ปี ในกรณีที่สํานักงานพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ให้วงเงินกู้ด้อยสิทธิมีหรือคาดว่าจะมีปัญหาฐานะทางการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีการใช้วงเงินกู้ด้อยสิทธิที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจรายใด ให้สํานักงานมีอํานาจลดสัดส่วนการใช้วงเงินกู้ด้อยสิทธิหรือยกเลิกการให้ความเห็นชอบวงเงินกู้ด้อยสิทธิดังกล่าว เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้ “วงเงินกู้ด้อยสิทธิทดแทน” หมายความว่า วงเงินกู้ด้อยสิทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าคงเหลือของส่วนของผู้ถือหุ้นที่หักด้วยหนี้สินด้อยสิทธิแล้ว “วงเงินกู้ด้อยสิทธิ” หมายความว่า วงเงินกู้ที่กําหนดสิทธิของผู้ให้กู้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยวงเงินกู้ดังกล่าวต้องไม่มีประกันและไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด “หนี้สินด้อยสิทธิ” หมายความว่า หนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกันและไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด คําว่า “กลุ่มนิติบุคคลเดียวกัน” และคําว่า “บริษัทย่อย” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ข้อ ๖ ในการดําเนินการดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด (1) การคํานวณเงินกองทุนตามข้อ 4 และข้อ 5 (2) การรายงานเกี่ยวกับการคํานวณเงินกองทุนสําหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๗ ให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจ หรืออยู่ระหว่างการหยุดประกอบธุรกิจตามที่ได้รับใบอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วนที่ได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์นั้นต่อสํานักงานแล้ว ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 4 และข้อ 6 ในส่วนที่ยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจหรือหยุดประกอบธุรกิจนั้น ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วจนทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินลดลง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ข้อ ๙ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ระงับการดําเนินธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามที่กําหนดในข้อ 4 และได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจได้ตามปกติ (2) แจ้งให้ลูกค้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการระงับการดําเนินธุรกิจตาม (1) โดยไม่ชักช้า (3) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ข้อ ๑๐ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,050
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 28/2565 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 28/2565 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 2) --------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ .ศ. 2535. และมาตรา 9 (1) และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และมาตรา10 (1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ในบทนิยามคําว่า "ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล"ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 "(4) ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล" ข้อ 2 ให้ยกเลิกตารางการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศคณะกรรมการคํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ตารางการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจท้ายประกาศนี้เป็นตารางแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 26/2563 เรื่อง การดํารงเงินของกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563 แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พิชิต อัคราทิตย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,051
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 30/2563 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้คำแนะนำแก่ประชาชนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 30/2563 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําแก่ประชาชน ที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทการเป็นที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กําหนดกิจการอื่นที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มเติม พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การให้คําแนะนํา” หมายความว่า การให้คําแนะนําแก่ประชาชนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลนั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลใด ๆ ข้อ ๒ การให้คําแนะนําของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จํากัดเฉพาะคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลที่ออกและดําเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๓ การให้คําแนะนําเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล (1) การให้คําแนะนําเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลซึ่งมีลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) โทเคนดิจิทัลที่มีการกําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง หรือที่มีการกําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสิทธิดังกล่าว (ข) สินค้าหรือบริการตาม (ก) พร้อมที่จะให้ผู้ถือใช้ประโยชน์ได้ทันทีตั้งแต่มีการให้คําแนะนํา (2) การให้คําแนะนําเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลที่ผู้ออกกําหนดมูลค่าไว้กับสกุลเงินบาทในอัตราคงที่และผู้ออกมีกลไกที่ชัดเจนในการคงมูลค่าที่กําหนดไว้ดังกล่าว ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,052
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 17/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 10(2) แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท ดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล “ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ทั้งนี้ หากผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจหลายประเภทให้ชําระค่าธรรมเนียมตามรายประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต โดยให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมเฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตให้เริ่มประกอบธุรกิจแล้ว ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี หรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.002 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายดังกล่าวแต่สูงสุดไม่เกินปีละ 20,000,000 บาท ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 500,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 500,000 บาท ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี หรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีตนเอง แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 10,000,000 บาท ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 250,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 250,000 บาท ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากกําไร (capital gain) ที่เกิดจากการค้าสินทรัพย์ดิจิทัล แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 5,000,000 บาท ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 100,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 100,000 บาท ข้อ ๖ ในกรณีที่มีการระงับการประกอบธุรกิจทุกประเภทตลอดปีปฏิทิน ให้ชําระค่าธรรมเนียมร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่กําหนดไว้ในแต่ละประเภทธุรกิจ ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต.โดยให้แบ่งชําระเป็น 2 งวด ดังต่อไปนี้ (1) งวดแรก ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามประเภทธุรกิจภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการ (2) งวดที่สอง ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินกว่าค่าธรรมเนียมตาม (1) ภายในวันที่31 มกราคมของปีถัดไป ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่ยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ในการยื่นชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการคํานวณค่าธรรมเนียมรายปี ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตคํานวณมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินบาททุกรายการ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,053
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 24/2561 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(2) แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในประกาศนี้ โดยให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมเฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตให้เริ่มประกอบธุรกิจแล้ว” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต.โดยให้แบ่งชําระเป็น 2 งวด ดังต่อไปนี้ (1) งวดแรก ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามประเภทธุรกิจภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจไม่เต็มปีปฏิทิน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่กลับมาเริ่มประกอบกิจการ (แล้วแต่กรณี) โดยชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามวรรคหนึ่งตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบ ธุรกิจ (monthly pro-rate) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่ถูกสํานักงาน ก.ล.ต. เพิกถอนใบอนุญาต หรือสั่งระงับการดําเนินกิจการ (2) งวดที่สอง ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินกว่าค่าธรรมเนียมตาม (1) ภายในวันที่31 มกราคมของปีถัดไป ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่ยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ประกอบธุรกิจไม่เต็มปีปฏิทินมีการชําระค่าธรรมเนียมเกินกว่าอัตราที่กําหนดไว้ในวรรคแรก ให้ขอรับคืนค่าธรรมเนียมที่ชําระไว้เกินนั้นภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจหลายประเภท ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้ชําระค่าธรรมเนียมงวดแรกในอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ําสําหรับการประกอบธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งที่มีอัตราสูงที่สุด ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเริ่มประกอบธุรกิจแต่ละประเภทไม่พร้อมกัน ให้ชําระค่าธรรมเนียมงวดแรกดังกล่าวในอัตราสูงที่สุดตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) (2) ให้ชําระค่าธรรมเนียมงวดที่สองตามรายประเภทธุรกิจรวมกัน และนํามาหักออกจากค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่ได้ชําระต่อสํานักงาน ก.ล.ต.ไว้ก่อนแล้ว” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2561 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ในการยื่นชําระค่าธรรมเนียมหรือขอรับคืนค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,054
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 31/2563 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 10(2) แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2561เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2561เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท ดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล (9) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซี (10) การเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล “ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้และมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมเฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตให้เริ่มประกอบธุรกิจแล้ว หมวด ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี หรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.002 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายดังกล่าวแต่สูงสุดไม่เกินปีละ 20 ล้านบาท ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 500,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 500,000 บาท ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี หรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีตนเอง แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 10 ล้านบาท ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 250,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 250,000 บาท ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากกําไร (capital gain) ที่เกิดจากการค้าสินทรัพย์ดิจิทัล แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 5,000,000 บาท ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 100,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 100,000 บาท ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 10 ล้านบาท โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย กรณีที่ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือน ให้ใช้ข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 250,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 250,000 บาท ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล ชําระอัตราค่าธรรมเนียมคงที่สําหรับการประกอบธุรกิจดังกล่าว ปีละ 25,000 บาท ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจไม่เต็มปีปฏิทิน ให้การคํานวณอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 หรืออัตราค่าธรรมเนียมคงที่ตามข้อ 8 เป็นไปตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่ถูกสํานักงาน ก.ล.ต. เพิกถอนใบอนุญาต หรือสั่งระงับการดําเนินกิจการ ข้อ ๑๐ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัลไม่ว่าจะประกอบธุรกิจอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม ชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 8 หรือข้อ 9 ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในกรณีการเริ่มประกอบกิจการหรือการกลับมาเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคงที่ในวันที่เริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่กลับมาเริ่มประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี (2) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้แบ่งชําระเป็น 2 งวด ดังนี้ (ก) งวดแรก ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 หรือข้อ 9 ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในกรณีการเริ่มประกอบกิจการหรือการกลับมาเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่กลับมาเริ่มประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี (ข) งวดที่สอง ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินกว่าค่าธรรมเนียมตาม (ก) ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจหลายประเภท ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีของค่าธรรมเนียมตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 หรือ ข้อ 7 (1) ให้ชําระค่าธรรมเนียมงวดแรกในอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ําสําหรับการประกอบธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งที่มีอัตราสูงที่สุด ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเริ่มประกอบธุรกิจแต่ละประเภทไม่พร้อมกัน ให้ชําระค่าธรรมเนียมงวดแรกในอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่สูงที่สุดซึ่งคํานวณตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) (2) ให้ชําระค่าธรรมเนียมงวดที่สองตามรายประเภทธุรกิจรวมกัน และนํามาหักออกจากค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่ได้ชําระต่อสํานักงาน ก.ล.ต.ไว้ก่อนแล้ว ข้อ ๑๒ ในการคํานวณอัตราค่าธรรมเนียมที่เป็นไปตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) หากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจไม่เต็มเดือน ให้คํานวณอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวเต็มเดือน ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ประกอบธุรกิจไม่เต็มปีปฏิทิน มีการชําระค่าธรรมเนียมเกินกว่าอัตราที่กําหนดไว้ตามข้อ 9 ให้ขอรับคืนค่าธรรมเนียมที่ชําระไว้เกินนั้นภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่ยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ในการยื่นชําระค่าธรรมเนียมหรือขอรับคืนค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๑๖ เพื่อประโยชน์ในการคํานวณค่าธรรมเนียมรายปี ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตคํานวณมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินบาททุกรายการ ข้อ ๑๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,055
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2565 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2565 เรื่อง ภารกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2 ) ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 10(2) แห่งพระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1 1) ในบทนิยามคําว่า "ผู้ได้รับใบอนุญาต" ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2563 เรื่อง การกําหนด ค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 "(11) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล" ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า "การให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล" ต่อจากบทนิยามคําว่า "ค่าธรรมเนียม" ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2563 เรื่อง การกําหนดคําธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 "การให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล " หมายความว่า การให้บริการลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) การรับฝากหรือเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ (2) การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส (cryptographic key หรือสิ่งอื่นใดที่ต้องเก็บรักษาเป็นความลับ เพื่อใช้อนุมัติการโอนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีอํานาจ เบ็ดเสร็จหรือบางส่วน" ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ถม. 31/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 "ข้อ 8/ 1 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลสุทธิของลูกค้าภายใต้การให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลในรอบปีปฏิทิน แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 10 ล้านบาท โดยนํามูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลสุทธิของลูกค้าภายใต้การให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 250,000 บาทให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 250,000 บาท" ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 9 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจไม่เต็มปีปฏิทิน ให้การคํานวณอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8/1 หรืออัตราค่าธรรมเนียมคงที่ตามข้อ 8เป็นไปตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่ถูกสํานักงาน ก.ล.ต. เพิกถอนใบอนุญาต หรือสั่งระงับการดําเนินกิจการ" ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(2) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8/1 ชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้แบ่งชําระเป็น 2 งวด ดังนี้ (ก) งวดแรก ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8/1หรือข้อ ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในกรณีการเริ่มประกอบกิจการหรือการกลับมาเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่กลับมาเริ่มประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 8/ 1 เริ่มประกอบกิจการหรือกลับมาเริ่มประกอบกิจการอยู่ก่อนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวชําระคําธรรมเนียมขั้นต่ําตามวรรคหนึ่ง ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567 (ข) งวดที่สอง ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินกว่าค่าธรรมเนียมตาม (ก)ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป" ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 และข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 15 ในการยื่นชําระค่าธรรมเนียมหรือขอรับคืนค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 16 เพื่อประโยชน์ในการคํานวณค่าธรรมเนียมรายปี ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตคํานวณมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล รวมทั้งมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้การให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินบาททุกรายการ" ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ. ศ. 2567 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,056
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 31/2563 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 10(2) แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 17/2561เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต ลงวันที่3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 24/2561เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับใบอนุญาต (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท ดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล (9) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซี (10) การเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล “ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ 3 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในประกาศนี้และมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมเฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตให้เริ่มประกอบธุรกิจแล้ว ข้อ 4 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.002 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายดังกล่าวแต่สูงสุดไม่เกินปีละ 20 ล้านบาท ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 500,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 500,000 บาท ข้อ 5 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 โดยคํานวณจากมูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเพื่อบัญชีลูกค้าหรือเพื่อบัญชีตนเอง แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 10 ล้านบาท ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 250,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 250,000 บาท ข้อ 6 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 โดยคํานวณจากกําไร (capital gain) ที่เกิดจากการค้าสินทรัพย์ดิจิทัล แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 5,000,000 บาท ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 100,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 100,000 บาท ข้อ 7 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือ การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.001 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการในรอบปีปฏิทิน แต่สูงสุดไม่เกินปีละ 10 ล้านบาท โดยนํามูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย กรณีที่ไม่สามารถคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นวันทําการสุดท้ายของเดือน ให้ใช้ข้อมูลมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสุดท้ายของแต่ละเดือนมาถัวเฉลี่ย ในกรณีที่อัตราค่าธรรมเนียมที่คํานวณได้ตามวรรคหนึ่งมีจํานวนน้อยกว่า 250,000 บาท ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําปีละ 250,000 บาท ข้อ 8 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล ชําระอัตราค่าธรรมเนียมคงที่สําหรับการประกอบธุรกิจดังกล่าว ปีละ 25,000 บาท ข้อ 9 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจไม่เต็มปีปฏิทิน ให้การคํานวณอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 หรืออัตราค่าธรรมเนียมคงที่ตามข้อ 8 เป็นไปตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่ถูกสํานักงาน ก.ล.ต. เพิกถอนใบอนุญาต หรือสั่งระงับการดําเนินกิจการ ข้อ 10 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทการเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัลไม่ว่าจะประกอบธุรกิจอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม ชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 8 หรือข้อ 9 ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในกรณีการเริ่มประกอบกิจการหรือการกลับมาเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมคงที่ในวันที่เริ่มประกอบกิจการ หรือวันที่กลับมาเริ่มประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี (2) ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยให้แบ่งชําระเป็น 2 งวด ดังนี้ (ก) งวดแรก ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 หรือข้อ 9ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในกรณีการเริ่มประกอบกิจการหรือการกลับมาเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการหรือวันที่กลับมาเริ่มประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี (ข) งวดที่สอง ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินกว่าค่าธรรมเนียมตาม (ก)ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ข้อ 11 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจหลายประเภท ให้ชําระค่าธรรมเนียมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีของค่าธรรมเนียมตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 หรือ ข้อ 7 (1) ให้ชําระค่าธรรมเนียมงวดแรกในอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ําสําหรับการประกอบธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งที่มีอัตราสูงที่สุด ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเริ่มประกอบธุรกิจแต่ละประเภทไม่พร้อมกัน ให้ชําระค่าธรรมเนียมงวดแรกในอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่สูงที่สุดซึ่งคํานวณตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) (2) ให้ชําระค่าธรรมเนียมงวดที่สองตามรายประเภทธุรกิจรวมกัน และนํามาหักออกจากค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่ได้ชําระต่อสํานักงาน ก.ล.ต.ไว้ก่อนแล้ว ข้อ 12 ในการคํานวณอัตราค่าธรรมเนียมที่เป็นไปตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบธุรกิจ (monthly pro-rate) หากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจไม่เต็มเดือน ให้คํานวณอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวเต็มเดือน ข้อ 13 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ประกอบธุรกิจไม่เต็มปีปฏิทิน มีการชําระค่าธรรมเนียมเกินกว่าอัตราที่กําหนดไว้ตามข้อ 9 ให้ขอรับคืนค่าธรรมเนียมที่ชําระไว้เกินนั้นภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ข้อ 14 ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ผู้ได้รับ ใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่ยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีอนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ 15 ในการยื่นชําระค่าธรรมเนียมหรือขอรับคืนค่าธรรมเนียมตามประกาศนี้ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 16 เพื่อประโยชน์ในการคํานวณค่าธรรมเนียมรายปี ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตคํานวณ มูลค่าการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินบาททุกรายการ ข้อ 17 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,057
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 20/2565 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 20/2565 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2 ) ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(2) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1 1) ในบทนิยามคําว่า "ผู้ขอรับใบอนุญาต" ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2563 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 "(11) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล" ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2563 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(1) 50 ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนชีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (ข) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล" ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัตราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,058
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 20/2561 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 20/2561 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(2) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ขอรับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท ดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล ข้อ ๒ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) 50 ล้านบาท สําหรับการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (2) 25 ล้านบาท สําหรับการเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) 10 ล้านบาท สําหรับการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล กรณีที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองหรือหากมีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้ง (4) 5 ล้านบาท สําหรับ (ก) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (ข) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล กรณีที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้ง (5) 1 ล้านบาท สําหรับการเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัลกรณีที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,059
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2563 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2563 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(2) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 20/2561 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ขอรับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล (9) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซี (10) การเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล (11)1 การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ ๓ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1)1 50 ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (ข) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (2) 25 ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (ข) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัลที่ให้บริการผู้ลงทุนประเภทอื่นนอกจากผู้ลงทุนสถาบัน หรือมีการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้าไว้ในความครอบครอง (3) 10 ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล กรณีที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองหรือหากมีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้ง (ข) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัลที่ให้บริการเฉพาะกับผู้ลงทุนสถาบันและไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้าไว้ในความครอบครอง (4) 5 ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (ข) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัลกรณีที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้ง (5) ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัลกรณีที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (ข) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหลายประเภท ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนที่กําหนดไว้สําหรับประเภทที่กําหนดสูงสุด ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,060
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 32/2563 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2563 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(2) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 20/2561 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ขอรับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล (9) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซี (10) การเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ ข้อ ๓ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) 50 ล้านบาท สําหรับการเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (2) 25 ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (ข) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัลที่ให้บริการผู้ลงทุนประเภทอื่นนอกจากผู้ลงทุนสถาบัน หรือมีการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้าไว้ในความครอบครอง (3) 10 ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล กรณีที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองหรือหากมีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้ง (ข) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัลที่ให้บริการเฉพาะกับผู้ลงทุนสถาบันและไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้าไว้ในความครอบครอง (4) 5 ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (ข) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัลกรณีที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้ง (5) 1 ล้านบาท สําหรับกรณีดังนี้ (ก) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัลกรณีที่ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครัว (ข) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซีหรือการเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหลายประเภท ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนที่กําหนดไว้สําหรับประเภทที่กําหนดสูงสุด ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,061
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมาย ให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “งานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า งานที่เป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรืองานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล (9) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซี (10) การเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล “คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งดังกล่าวที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ทําหน้าที่รับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุมและกํากับดูแลนโยบายของผู้ประกอบธุรกิจ งานที่เกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้า งานที่เกี่ยวกับการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งานที่เกี่ยวกับการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนํามาให้บริการ และงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์ในสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อลูกค้า ทั้งนี้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ “งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์” (central utility function) หมายความว่า งานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งหากผู้ให้บริการหยุดให้บริการ ไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรวม เนื่องจากมีผู้ให้บริการจํานวนน้อยรายหรืออาจไม่สามารถหาผู้ให้บริการรายอื่นมาให้บริการแทนได้ในทันที “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยมีโครงสร้างการถือหุ้นระหว่างกันไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจด้วยการมีอํานาจควบคุมระหว่างกัน (3) บริษัทที่มีผู้มีอํานาจควบคุมกิจการเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีอํานาจควบคุมกิจการของผู้ประกอบธุรกิจ “อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า อํานาจควบคุมกิจการตามบทนิยามคําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” ที่กําหนดในมาตรา 89/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ (2) ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ หรือผู้รับดําเนินการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้รับดําเนินการ ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจรายนั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้หรือข้อกําหนดที่สํานักงาน ก.ล.ต. ออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ หรือสั่งระงับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ข้อ ๔ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในเรื่องที่มีข้อกําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามประกาศอื่นอยู่แล้ว ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจจะมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการได้ต่อเมื่อผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๖ ในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีนโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ตามที่กําหนดในหมวด 1 (2) มีการมอบหมายงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 2 (3) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในหมวด 3 นโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการมอบหมาย ให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติและดูแลให้บุคลากรของตนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย (1) กําหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ โดยนโยบายดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 8 พร้อมทั้งต้องมีการพิจารณาทบทวนความมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือในทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ (2) กําหนดมาตรการรองรับที่ทําให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการไม่สามารถดําเนินงานต่อไปได้ (3) กําหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (4) กําหนดมาตรการตรวจสอบดูแลให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องสามารถควบคุมให้ผู้รับดําเนินการไม่มีลักษณะที่จะทําให้มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (5) จัดให้มีทรัพยากรที่จําเป็นและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในจํานวนที่เพียงพอเพื่อให้สามารถควบคุมดูแลการดําเนินงานของผู้รับดําเนินการและบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (6) พิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ข้อ ๘ นโยบายในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามข้อ 7(1) ต้องระบุรายละเอียดและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ขอบเขตและลักษณะงานที่จะให้ดําเนินการ (2) หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับดําเนินการซึ่งมีรายละเอียดของแนวทางการพิจารณาในเรื่องดังนี้ (ก) ฐานะทางการเงิน ซึ่งต้องกําหนดในลักษณะที่จะทําให้สามารถกลั่นกรองหรือคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นได้ว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน (ข) ความสามารถและความพร้อมในการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องกําหนดในลักษณะที่จะทําให้สามารถกลั่นกรองหรือคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่มีระบบงานในการดําเนินการที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ (ค) ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และชื่อเสียงในทางธุรกิจ (ง) ความพร้อมของผู้รับดําเนินการในกรณีที่รับดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจหลายราย (จ) ประวัติการถูกร้องเรียนหรือถูกฟ้องร้องดําเนินคดีในเรื่องที่เกี่ยวกับงานที่จะให้ดําเนินการ (ฉ) ความเกี่ยวข้องกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจ (ช) ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการอยู่ในต่างประเทศ ต้องพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และกฎหมายของประเทศของผู้รับดําเนินการ ตลอดจนความซับซ้อนในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่อยู่ในต่างประเทศของผู้รับดําเนินการด้วย (3) หลักเกณฑ์การทบทวนและการเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการ (4) แนวทางการพิจารณาในกรณีที่ผู้รับดําเนินการจะให้บุคคลอื่นรับดําเนินการช่วง ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรืองานบริหารความเสี่ยงในการลงทุนดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์หรือไม่และไม่ว่าในทอดใด ต้องมีขั้นตอนการขออนุมัติจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจเป็นรายกรณีทุกครั้งก่อนดําเนินการดังกล่าว และต้องดําเนินการให้บุคคลอื่นที่รับดําเนินการช่วงเป็นบุคคลตามข้อ 11 ข้อ 15 หรือข้อ 16 แล้วแต่กรณี (ข) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานที่มิใช่งานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรืองานบริหารความเสี่ยงในการลงทุนดังกล่าว ต้องดําเนินการดังนี้ 1. หากเป็นงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ต้องกําหนดให้บุคคลที่รับดําเนินการช่วงไม่ว่าในทอดใด เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามข้อ 11 2. หากเป็นงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ต้องมีขั้นตอนการขออนุมัติจากผู้ประกอบธุรกิจเป็นรายกรณีทุกครั้งก่อนดําเนินการดังกล่าว (5) แนวทางการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมตามระดับความสําคัญของงานที่ให้ดําเนินการ (6) ระบบรักษาความปลอดภัยของผู้รับดําเนินการในการดูแลรักษาข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจและลูกค้า ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล และงานบริหารความเสี่ยงในการลงทุนดังกล่าวให้บุคคลเดียวกันเป็นผู้รับดําเนินการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 7(3) ที่ครอบคลุมถึงการแยกส่วนการปฏิบัติงานและโครงสร้างการบริหารจัดการ รวมทั้งระบบงานและมาตรการอื่นใดเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น หลักเกณฑ์การมอบหมายงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ในการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การมอบหมายงานในหมวดนี้ ทั้งนี้ ต้องดําเนินการด้วยความสมเหตุสมผลและไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ รวมทั้งต้องเป็นไปตามหลักการในการมอบหมายงานดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะมีการมอบหมายกี่ทอดก็ตาม (1) มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อลูกค้าและดําเนินการเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) ดําเนินการโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของทางการหรือทําให้ประสิทธิภาพในการกํากับดูแลของผู้ประกอบธุรกิจและสํานักงาน ก.ล.ต. ลดลง การมอบหมายงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑ ในการมอบหมายงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมอบหมายให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้รับดําเนินการเท่านั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในกรณีที่การมอบหมายงานตามวรรคหนึ่งเป็นงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวต้องเป็นบุคคลตามข้อ 15 หรือข้อ 16 แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ มิให้นําความในข้อ 7(2) และ (4) ข้อ 8(2) ข้อ 18(1) (ข) และข้อ 20(1) มาใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่มีการมอบหมายงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ให้กับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. การมอบหมายงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ ในการมอบหมายงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) มีความพร้อมในด้านบุคลากรและระบบงานในการดําเนินงานอย่างเพียงพอที่จะทําให้งานของผู้ประกอบธุรกิจเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยต้องมีระบบที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง (ข) ระบบการควบคุมภายใน (ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง ล่วงรู้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมทั้งเพื่อป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร (ง) ระบบการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน (2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน (3) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ ข้อ ๑๔ ในการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ประกอบธุรกิจต้องรายงานการควบคุมดูแลผู้รับดําเนินการที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อ ๑๕ ในการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้รับดําเนินการต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล แล้วแต่กรณี และต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าที่มอบหมายให้จัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลก่อน หมวด ๑๖ ในการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ให้แก่ผู้รับดําเนินการต่างประเทศ ผู้รับดําเนินการดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วน (1) สามารถประกอบธุรกิจจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่บุคคลดังกล่าวประกอบธุรกิจอยู่ (2) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีมาตรการกํากับดูแลการจัดการลงทุนที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการต่างประเทศอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลตามวรรคหนึ่ง (2) แต่หน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมิได้ตั้งอยู่ในประเทศที่มีมาตรการกํากับดูแลการจัดการลงทุนที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ผู้ประกอบธุรกิจต้องได้รับอนุญาตในการมอบหมายงานให้แก่ผู้รับดําเนินการดังกล่าวจากสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนการมอบหมายงาน โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๑๗ ในการมอบหมายงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกํากับดูแลการมอบหมายงานอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการติดตามและทบทวนความเหมาะสมของการดําเนินการของผู้รับดําเนินการเป็นประจํา โดยอย่างน้อยต้องทบทวนทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ หรือคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้รับดําเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับดําเนินการขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้รับดําเนินการอีกต่อไป ต้องเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการ หรือดําเนินการอื่นใดตามความเหมาะสมโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญเพื่อให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้หรือข้อกําหนดที่สํานักงาน ก.ล.ต. ออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ (2) จัดทําสรุปการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน เสนอต่อผู้บริหารที่รับผิดชอบสูงสุดในการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ (3) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า (4) จัดให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการได้ เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ร้องขอ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติในการมอบหมายงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทําสัญญามอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการ โดยต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังนี้ (ก) ความรับผิดต่อผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับดําเนินการ (ข) มาตรการที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องของผู้รับดําเนินการ ซึ่งต้องครอบคลุมถึงงานที่รับดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจ (ค) การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความลับ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจ และข้อมูลของลูกค้า (ง) การกําหนดให้ผู้รับดําเนินการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเกี่ยวกับงานที่ได้รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว (2) ให้ผู้รับดําเนินการยินยอมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการ เรียกดู หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้ (3) เหตุ เงื่อนไข และวิธีการ ในการเลิกสัญญาหรือระงับการดําเนินการ (4) ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่มีการเรียกเก็บ ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วง ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้ผู้รับดําเนินการจัดให้มีข้อสัญญาซึ่งมีรายละเอียดตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการมอบหมายงานกันกี่ทอดก็ตาม ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล สัญญาตามข้อ 18 ต้องมีสาระสําคัญในเรื่องดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถสั่งการและกําหนดแนวทางการดําเนินการแก่ผู้รับดําเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่มอบหมาย (2) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเข้าตรวจสอบการดําเนินงานที่มอบหมายของผู้รับดําเนินการ เรียกดูหรือเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่มอบหมาย (3) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้รับดําเนินการที่อาจทําให้การมอบหมายงานไม่เป็นไปตามนโยบายการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามข้อ 7(1) และข้อ 8 หรืออาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อความสามารถหรือความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ผู้รับดําเนินการรายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อผู้ประกอบธุรกิจโดยไม่ชักช้า (4) ในกรณีที่การมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว เป็นงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลหรืองานบริหารความเสี่ยงในการลงทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการดังนี้ (ก) การกําหนดมาตรการที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องตามข้อ 18(1) (ข) ให้ครอบคลุมถึงการจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติงานสํารอง (alternate site) และจัดให้มีการทดสอบความพร้อมของศูนย์ปฏิบัติงานสํารองดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ (ข) ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการประสงค์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วงไม่ว่าในทอดใด ผู้รับดําเนินการต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนดําเนินการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่บริษัทในเครือของผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ทําสัญญามอบหมายงานกับผู้รับดําเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมั่นใจได้ว่าสัญญาดังกล่าวจะรองรับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ผู้รับดําเนินการมีต่อผู้ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ทําสัญญาด้วยตนเอง และผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการให้บริษัทในเครือมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายซึ่งผู้ประกอบธุรกิจกําหนดไว้ตามข้อ 8(2) (2) ดําเนินการให้บริษัทในเครือกําหนดสาระสําคัญในสัญญาให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 18 รวมถึงข้อ 19 แล้วแต่กรณี และเพิ่มเติมข้อสัญญาที่มีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ไว้ในสัญญาด้วย (ก) ให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับประโยชน์ในงานที่บุคคลอื่นจะดําเนินการให้ (ข) ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจากผู้รับดําเนินการได้ (3) ตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาให้เป็นไปตาม (2) และจัดเก็บสําเนาสัญญาดังกล่าวให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า ข้อ ๒๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการมอบหมายงานดังกล่าว และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วงไม่ว่าจะมีการมอบหมายงานกันกี่ทอดก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเริ่มการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบธุรกิจต้องรายงานสรุปการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,062
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมาย ให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมาย ให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “งานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า งานที่เป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรืองานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล (9) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซี (10) การเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล (11) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล “คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตําแหน่งดังกล่าวที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ทําหน้าที่รับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุมและกํากับดูแลนโยบายของผู้ประกอบธุรกิจ งานที่เกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้า งานที่เกี่ยวกับการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งานที่เกี่ยวกับการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนํามาให้บริการ และงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์ในสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อลูกค้า ทั้งนี้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “งานรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล”1 หมายความว่า การให้บริการลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) การรับฝากหรือเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ (2) การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส (cryptographic key) หรือสิ่งอื่นใดที่ต้องเก็บรักษาเป็นความลับ เพื่อใช้อนุมัติการโอนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีอํานาจเบ็ดเสร็จหรือบางส่วน “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ “งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์” (central utility function) หมายความว่า งานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งหากผู้ให้บริการหยุดให้บริการ ไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยรวม เนื่องจากมีผู้ให้บริการจํานวนน้อยรายหรืออาจไม่สามารถหาผู้ให้บริการรายอื่นมาให้บริการแทนได้ในทันที “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยมีโครงสร้างการถือหุ้นระหว่างกันไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจด้วยการมีอํานาจควบคุมระหว่างกัน (3) บริษัทที่มีผู้มีอํานาจควบคุมกิจการเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีอํานาจควบคุมกิจการของผู้ประกอบธุรกิจ “อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า อํานาจควบคุมกิจการตามบทนิยามคําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” ที่กําหนดในมาตรา 89/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ (2) ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ หรือผู้รับดําเนินการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้รับดําเนินการ ตามข้อกําหนดในประกาศนี้ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจรายนั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้หรือข้อกําหนดที่สํานักงาน ก.ล.ต. ออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ หรือสั่งระงับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ข้อ ๔ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในเรื่องที่มีข้อกําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามประกาศอื่นอยู่แล้ว ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจจะมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการได้ต่อเมื่อผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๖ ในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีนโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ตามที่กําหนดในหมวด 1 (2) มีการมอบหมายงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 2 (3) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในหมวด 3 หมวด 1 นโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการมอบหมาย ให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติและดูแลให้บุคลากรของตนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย (1) กําหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ โดยนโยบายดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 8 พร้อมทั้งต้องมีการพิจารณาทบทวนความมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือในทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ (2) กําหนดมาตรการรองรับที่ทําให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการไม่สามารถดําเนินงานต่อไปได้ (3) กําหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (4) กําหนดมาตรการตรวจสอบดูแลให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องสามารถควบคุมให้ผู้รับดําเนินการไม่มีลักษณะที่จะทําให้มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (5) จัดให้มีทรัพยากรที่จําเป็นและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในจํานวนที่เพียงพอ เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลการดําเนินงานของผู้รับดําเนินการและบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (6) พิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ข้อ ๘ นโยบายในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามข้อ 7(1) ต้องระบุรายละเอียดและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ขอบเขตและลักษณะงานที่จะให้ดําเนินการ (2) หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับดําเนินการซึ่งมีรายละเอียดของแนวทางการพิจารณาในเรื่องดังนี้ (ก) ฐานะทางการเงิน ซึ่งต้องกําหนดในลักษณะที่จะทําให้สามารถกลั่นกรองหรือคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นได้ว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน (ข) ความสามารถและความพร้อมในการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องกําหนดในลักษณะที่จะทําให้สามารถกลั่นกรองหรือคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่มีระบบงานในการดําเนินการที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ (ค) ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และชื่อเสียงในทางธุรกิจ (ง) ความพร้อมของผู้รับดําเนินการในกรณีที่รับดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจหลายราย (จ) ประวัติการถูกร้องเรียนหรือถูกฟ้องร้องดําเนินคดีในเรื่องที่เกี่ยวกับงานที่จะให้ดําเนินการ (ฉ) ความเกี่ยวข้องกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจ (ช) ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการอยู่ในต่างประเทศ ต้องพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และกฎหมายของประเทศของผู้รับดําเนินการ ตลอดจนความซับซ้อนในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่อยู่ในต่างประเทศของผู้รับดําเนินการด้วย (3) หลักเกณฑ์การทบทวนและการเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการ (4) แนวทางการพิจารณาในกรณีที่ผู้รับดําเนินการจะให้บุคคลอื่นรับดําเนินการช่วง ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรืองานบริหารความเสี่ยงในการลงทุนดังกล่าว หรืองานรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์หรือไม่และไม่ว่าในทอดใด ต้องมีขั้นตอนการขออนุมัติจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจเป็นรายกรณีทุกครั้งก่อนดําเนินการดังกล่าว และต้องดําเนินการให้บุคคลอื่นที่รับดําเนินการช่วงเป็นบุคคลตามข้อ 11 ข้อ 15 ข้อ 16 หรือข้อ 16/1 แล้วแต่กรณี (ข) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานที่มิใช่งานตาม (ก) และเป็นงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ต้องกําหนดให้บุคคลที่รับดําเนินการช่วงไม่ว่าในทอดใด เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามข้อ 11 (ค) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานที่มิใช่งานตาม (ก) และมิใช่งานที่มี ผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ต้องมีขั้นตอนการขออนุมัติจากผู้ประกอบธุรกิจเป็นรายกรณีทุกครั้งก่อนดําเนินการดังกล่าว (5) แนวทางการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมตามระดับความสําคัญของงานที่ให้ดําเนินการ (6) ระบบรักษาความปลอดภัยของผู้รับดําเนินการในการดูแลรักษาข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจและลูกค้า ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล และงานบริหารความเสี่ยงในการลงทุนดังกล่าวให้บุคคลเดียวกันเป็นผู้รับดําเนินการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 7(3) ที่ครอบคลุมถึงการแยกส่วนการปฏิบัติงานและโครงสร้างการบริหารจัดการ รวมทั้งระบบงานและมาตรการอื่นใดเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น หมวด 2 หลักเกณฑ์การมอบหมายงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ในการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การมอบหมายงานในหมวดนี้ ทั้งนี้ ต้องดําเนินการด้วยความสมเหตุสมผลและไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ รวมทั้งต้องเป็นไปตามหลักการในการมอบหมายงานดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะมีการมอบหมายกี่ทอดก็ตาม (1) มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อลูกค้าและดําเนินการเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) ดําเนินการโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของทางการหรือทําให้ประสิทธิภาพในการกํากับดูแลของผู้ประกอบธุรกิจและสํานักงาน ก.ล.ต. ลดลง ส่วนที่ 1 การมอบหมายงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๑ ในการมอบหมายงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมอบหมายให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้รับดําเนินการเท่านั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในกรณีที่การมอบหมายงานตามวรรคหนึ่งเป็นงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลหรืองานรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวต้องเป็นบุคคลตามข้อ 15 ข้อ 16 หรือข้อ 16/1 แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ มิให้นําความในข้อ 7(2) และ (4) ข้อ 8(2) ข้อ 18(1) (ข) และข้อ 20(1) มาใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่มีการมอบหมายงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ให้กับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ส่วนที่ 2 การมอบหมายงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ ในการมอบหมายงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) มีความพร้อมในด้านบุคลากรและระบบงานในการดําเนินงานอย่างเพียงพอที่จะทําให้งานของผู้ประกอบธุรกิจเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยต้องมีระบบที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง (ข) ระบบการควบคุมภายใน (ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง ล่วงรู้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมทั้งเพื่อป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร (ง) ระบบการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน (2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน (3) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ ข้อ ๑๔ ในการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ประกอบธุรกิจต้องรายงานการควบคุมดูแลผู้รับดําเนินการที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อ ๑๕ ในการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้รับดําเนินการต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซีหรือผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล แล้วแต่กรณี และต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าที่มอบหมายให้จัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลก่อน ข้อ ๑๖ ในการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ให้แก่ผู้รับดําเนินการต่างประเทศ ผู้รับดําเนินการดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วน (1) สามารถประกอบธุรกิจจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่บุคคลดังกล่าวประกอบธุรกิจอยู่ (2) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีมาตรการกํากับดูแลการจัดการลงทุนที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการต่างประเทศอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลตามวรรคหนึ่ง (2) แต่หน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมิได้ตั้งอยู่ในประเทศที่มีมาตรการกํากับดูแลการจัดการลงทุนที่สํานักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ ผู้ประกอบธุรกิจต้องได้รับอนุญาตในการมอบหมายงานให้แก่ผู้รับดําเนินการดังกล่าวจากสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนการมอบหมายงาน โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 16/11 ในการมอบหมายงานรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่ผู้รับดําเนินการ ผู้รับดําเนินการดังกล่าวต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ประกอบธุรกิจประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ไม่มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจที่มอบหมาย (2) เป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๑๗ ในการมอบหมายงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกํากับดูแลการมอบหมายงานอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการติดตามและทบทวนความเหมาะสมของการดําเนินการของผู้รับดําเนินการเป็นประจํา โดยอย่างน้อยต้องทบทวนทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ หรือคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้รับดําเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับดําเนินการขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้รับดําเนินการอีกต่อไป ต้องเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการ หรือดําเนินการอื่นใดตามความเหมาะสมโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญเพื่อให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้หรือข้อกําหนดที่สํานักงาน ก.ล.ต. ออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ (2) จัดทําสรุปการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน เสนอต่อผู้บริหารที่รับผิดชอบสูงสุดในการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ (3) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า (4) จัดให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการได้ เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ร้องขอ หมวด 3 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติในการมอบหมายงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทําสัญญามอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการ โดยต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังนี้ (ก) ความรับผิดต่อผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับดําเนินการ (ข) มาตรการที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องของผู้รับดําเนินการ ซึ่งต้องครอบคลุมถึงงานที่รับดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจ (ค) การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความลับ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจ และข้อมูลของลูกค้า (ง) การกําหนดให้ผู้รับดําเนินการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเกี่ยวกับงานที่ได้รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว (2) ให้ผู้รับดําเนินการยินยอมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการ เรียกดู หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้ (3) เหตุ เงื่อนไข และวิธีการ ในการเลิกสัญญาหรือระงับการดําเนินการ (4) ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่มีการเรียกเก็บ ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วง ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้ผู้รับดําเนินการจัดให้มีข้อสัญญาซึ่งมีรายละเอียดตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการมอบหมายงานกันกี่ทอดก็ตาม ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล สัญญาตามข้อ 18 ต้องมีสาระสําคัญในเรื่องดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถสั่งการและกําหนดแนวทางการดําเนินการแก่ผู้รับดําเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่มอบหมาย (2) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเข้าตรวจสอบการดําเนินงานที่มอบหมายของผู้รับดําเนินการ เรียกดูหรือเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่มอบหมาย (3) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้รับดําเนินการที่อาจทําให้การมอบหมายงานไม่เป็นไปตามนโยบายการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามข้อ 7(1) และข้อ 8 หรืออาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อความสามารถหรือความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ผู้รับดําเนินการรายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อผู้ประกอบธุรกิจโดยไม่ชักช้า (4) ในกรณีที่การมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว เป็นงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลหรืองานบริหารความเสี่ยงในการลงทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการดังนี้ (ก) การกําหนดมาตรการที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องตามข้อ 18(1) (ข) ให้ครอบคลุมถึงการจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติงานสํารอง (alternate site) และจัดให้มีการทดสอบความพร้อมของศูนย์ปฏิบัติงานสํารองดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ (ข) ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการประสงค์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วงไม่ว่าในทอดใด ผู้รับดําเนินการต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนดําเนินการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่บริษัทในเครือของผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ทําสัญญามอบหมายงานกับผู้รับดําเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมั่นใจได้ว่าสัญญาดังกล่าวจะรองรับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ผู้รับดําเนินการมีต่อผู้ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ทําสัญญาด้วยตนเอง และผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการให้บริษัทในเครือมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายซึ่งผู้ประกอบธุรกิจกําหนดไว้ตามข้อ 8(2) (2) ดําเนินการให้บริษัทในเครือกําหนดสาระสําคัญในสัญญาให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 18 รวมถึงข้อ 19 แล้วแต่กรณี และเพิ่มเติมข้อสัญญาที่มีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ไว้ในสัญญาด้วย (ก) ให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับประโยชน์ในงานที่บุคคลอื่นจะดําเนินการให้ (ข) ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจากผู้รับดําเนินการได้ (3) ตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาให้เป็นไปตาม (2) และจัดเก็บสําเนาสัญญาดังกล่าวให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า ข้อ ๒๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการมอบหมายงานดังกล่าว และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วงไม่ว่าจะมีการมอบหมายงานกันกี่ทอดก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเริ่มการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบธุรกิจต้องรายงานสรุปการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,063
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 25/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมาย ให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล(ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 25/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมาย ให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) มาตรา 30 และมาตรา 31 วรรคหนึ่งแห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1 1) ในบทนิยามคําว่า "ผู้ประกอบธุรกิจ" ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 "(11) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล" ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า "งานรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล" ระหว่างบทนิยามคําว่า"ผู้บริหาร" และ"ลูกค้า" ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 " “งานรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล " หมายความว่า การให้บริการลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (1) การรับฝากหรือเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ (2) การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส (cryptographic key) หรือสิ่งอื่นใดที่ต้องเก็บรักษาเป็นความลับ เพื่อใช้อนุมัติการโอนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีอํานาจเบ็ดเสร็จหรือบางส่วน" ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(4) แนวทางการพิจารณาในกรณีที่ผู้รับดําเนินการจะให้บุคคลอื่นรับดําเนินการช่วงซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรืองานบริหารความเสี่ยงในการลงทุนดังกล่าว หรืองานรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์หรือไม่และไม่ว่าในทอดใด ต้องมีชั้นตอนการขออนุมัติจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจเป็นรายกรณีทุกครั้งก่อนดําเนินการดังกล่าว และต้องดําเนินการให้บุคคลอื่นที่รับดําเนินการช่วงเป็นบุคคลตามข้อ 11 ข้อ 15 ข้อ 16 หรือข้อ 16/1 แล้วแต่กรณี (ข) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานที่มิใช่งานตาม (ก) และเป็นงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ต้องกําหนดให้บุคคลที่รับดําเนินการช่วงไม่ว่าในทอดใด เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามข้อ 11 (ค) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานที่มิใช่งานตาม (ก) และมิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ต้องมีขั้นตอนการขออนุมัติจากผู้ประกอบธุรกิจเป็นรายกรณีทุกครั้งก่อนดําเนินการดังกล่าว" ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในกรณีที่การมอบหมายงานตามวรรคหนึ่งเป็นงานจัดการเงินทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลหรืองานรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวต้องเป็นบุคคลตามข้อ 15 ข้อ 16 หรือข้อ 16/1 แล้วแต่กรณี" ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 35/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 "ข้อ 16/1 ในการมอบหมายงานรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่ผู้รับดําเนินการผู้รับดําเนินการดังกล่าวต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ประกอบธุรกิจประเภทการเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ไม่มีกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจที่มอบหมาย (2) เป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล" ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,064
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 36/2563 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 36/2563 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กฎเกณฑ์” หมายความว่า กฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐาน จรรยาบรรณ และแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติงาน (compliance manual) ที่บังคับใช้กับธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย” หมายความว่า คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีความเป็นอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “ผู้บริหารระดับสูง” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดมอบหมายด้วย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล ข้อ ๓ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งเพื่อป้องกันการกระทําใด ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่อาจเป็นการช่วยเหลือหรือสนับสนุนการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และต้องสนับสนุนให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อย ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ทําให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถทําหน้าที่ได้โดยอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) มีโครงสร้างการดําเนินงานที่ทําให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถรายงานการปฏิบัติงานโดยตรงต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (3) มีการกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้ว ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นไปตามข้อ 6 (4) จัดให้บุคลากรในหน่วยงานดังกล่าวมีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในจํานวนที่เพียงพอกับลักษณะของธุรกิจ (business model) และขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และไม่เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ข) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานต้องเป็นบุคคล ที่สามารถทํางานในประเทศไทยได้เต็มเวลา รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 (ค) ดําเนินการให้บุคลากรในหน่วยงานดังกล่าวได้รับการอบรมเกี่ยวกับการกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างสม่ําเสมอ (ง) มีการมอบหมายอํานาจหน้าที่ให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานดังกล่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลและบุคลากรที่จําเป็นเพื่อการปฏิบัติงานได้ ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลซึ่งมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์กับการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 2 ปี เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. (2) เป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๖ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้และคําแนะนําแก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งต้องจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน (compliance manual) และการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวให้แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย (2) ติดตามกฎเกณฑ์ที่มีการแก้ไข และรายงานให้คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทราบ (3) ระบุความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการพัฒนาหรือทําธุรกรรมใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (4) ติดตามดูแลให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีการปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ (5) ระบุและประเมินปัจจัยที่อาจมีผลทําให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ได้ ทั้งนี้ ตามความจําเป็นและเหมาะสม พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขด้วย (6) ตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และรายงานผลการตรวจสอบหรือสอบทานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการรายงานผลการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานทั่วไป (day to day operation) อาจรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลก่อนการรายงานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายก็ได้ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายได้กําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงประโยชน์ในการแก้ไขข้อบกพร่องและผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ตลอดจนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (7) จัดทําแผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (compliance plan) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตและระยะเวลาการตรวจสอบหรือสอบทานหน่วยงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้ แผนการตรวจสอบหรือสอบทานดังกล่าวต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (8) จัดทํารายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี (annual compliance report) เสนอต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และจัดส่งรายงานดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน โดยรายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี ต้องมีรายการอย่างน้อยดังนี้ (ก) แผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (ข) ผลการปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (ค) การกระทําความผิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไข (ง) การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่น (จ) การทบทวนนโยบายด้านกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (9) เป็นผู้ประสานงานและรายงานให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่พบการปฏิบัติที่เข้าข่ายหรืออาจเข้าข่ายฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น ข้อ ๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานมีลักษณะไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 4(4) (ข) หรือได้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แต่งตั้งบุคลากรรายใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวหรือวันที่พ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. (2) แต่งตั้งบุคลากรซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่สามารถทํางานในประเทศไทยได้เต็มเวลา รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5(2) เพื่อให้รับผิดชอบแทนชั่วคราวในระหว่างที่ยังดําเนินการตาม (1) ไม่แล้วเสร็จ โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่ได้ปฏิบัติงานในตําแหน่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (3) รายงานการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,065
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 36/2563 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 36/2563 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กฎเกณฑ์” หมายความว่า กฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ มาตรฐาน จรรยาบรรณ และแนวปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติงาน (compliance manual) ที่บังคับใช้กับธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย” หมายความว่า คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีความเป็นอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “ผู้บริหารระดับสูง” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดก็ตาม และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดมอบหมายด้วย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล (9) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๓ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งเพื่อป้องกันการกระทําใด ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่อาจเป็นการช่วยเหลือหรือสนับสนุนการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดให้มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และต้องสนับสนุนให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ทําให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถทําหน้าที่ได้โดยอิสระจากการบริหารจัดการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) มีโครงสร้างการดําเนินงานที่ทําให้หน่วยงานดังกล่าวสามารถรายงานการปฏิบัติงานโดยตรงต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (3) มีการกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายแล้ว ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นไปตามข้อ 6 (4) จัดให้บุคลากรในหน่วยงานดังกล่าวมีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในจํานวนที่เพียงพอกับลักษณะของธุรกิจ (business model) และขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และไม่เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ข) ผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานต้องเป็นบุคคลที่สามารถทํางานในประเทศไทยได้เต็มเวลา รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5 (ค) ดําเนินการให้บุคลากรในหน่วยงานดังกล่าวได้รับการอบรมเกี่ยวกับการกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างสม่ําเสมอ (ง) มีการมอบหมายอํานาจหน้าที่ให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานดังกล่าวสามารถเข้าถึงข้อมูลและบุคลากรที่จําเป็นเพื่อการปฏิบัติงานได้ ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลซึ่งมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์กับการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 2 ปี เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. (2) เป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๖ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้และคําแนะนําแก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งต้องจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน (compliance manual) และการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวให้แก่บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย (2) ติดตามกฎเกณฑ์ที่มีการแก้ไข และรายงานให้คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทราบ (3) ระบุความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการพัฒนาหรือทําธุรกรรมใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (4) ติดตามดูแลให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีการปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ (5) ระบุและประเมินปัจจัยที่อาจมีผลทําให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ได้ ทั้งนี้ ตามความจําเป็นและเหมาะสม พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขด้วย (6) ตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และรายงานผลการตรวจสอบหรือสอบทานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการรายงานผลการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานทั่วไป (day to day operation) อาจรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลก่อนการรายงานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายก็ได้ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายได้กําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงประโยชน์ในการแก้ไขข้อบกพร่องและผลกระทบจากการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ตลอดจนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (7) จัดทําแผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (compliance plan) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตและระยะเวลาการตรวจสอบหรือสอบทานหน่วยงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้ แผนการตรวจสอบหรือสอบทานดังกล่าวต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย (8) จัดทํารายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี (annual compliance report) เสนอต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย และผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และจัดส่งรายงานดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน โดยรายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี ต้องมีรายการอย่างน้อยดังนี้ (ก) แผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (ข) ผลการปฏิบัติตามแผนการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติงานประจําปี (ค) การกระทําความผิด ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติงานตามกฎเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไข (ง) การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสํานักงาน ก.ล.ต. หรือหน่วยงานกํากับดูแลอื่น (จ) การทบทวนนโยบายด้านกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (9) เป็นผู้ประสานงานและรายงานให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่พบการปฏิบัติที่เข้าข่ายหรืออาจเข้าข่ายฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อย่างมีนัยสําคัญ เช่น การกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น ข้อ ๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแล การปฏิบัติงานมีลักษณะไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 4(4) (ข) หรือได้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แต่งตั้งบุคลากรรายใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในประกาศนี้ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวหรือวันที่พ้นจากตําแหน่ง แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. (2) แต่งตั้งบุคลากรซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่สามารถทํางานในประเทศไทยได้เต็มเวลา รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 5(2) เพื่อให้รับผิดชอบแทนชั่วคราวในระหว่างที่ยังดําเนินการตาม (1) ไม่แล้วเสร็จ โดยบุคคลดังกล่าวต้องไม่ได้ปฏิบัติงานในตําแหน่งอื่นที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการทําหน้าที่กํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (3) รายงานการแต่งตั้งและการสิ้นสุดการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,066
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 23/2565 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 23/2565 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงาน ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) --------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 (1) และมาตรา 3 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 36/2563 เรื่อง การจัดให้มีหน่วยงานกํากับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 "(9) การเป็นผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล" ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พิชิต อัคราทิตย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,067
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 15/2553 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 15/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสําหรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการคงที่เป็นรายปีต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในอัตราปีละ 2,000,000 บาท ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการได้รับใบอนุญาต ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ใบอนุญาตมีผลใช้บังคับ ในกรณีที่ระยะเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินสําหรับการประกอบกิจการในปีแรกที่ได้รับใบอนุญาตเหลือน้อยกว่าหกเดือน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการเพียงกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสําหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับภาระต้นทุนในการกํากับดูแลกิจการดังกล่าวของสํานักงาน ก.ล.ต. จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,068
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 37/2563 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 37/2563 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสําหรับ ผู้ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้าพ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กด. 15/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในอัตราสัญญาละ 3.5 สตางค์ โดยคํานวณจากจํานวนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อหรือขายในศูนย์ซื้อขายดังกล่าว เว้นแต่ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมในอัตราสัญญาละ 1 สตางค์ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาหุ้นรายตัว (single stock futures) ที่มีราคาไม่เกิน 100 บาท (2) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าออปชันที่อ้างอิงดัชนีหลักทรัพย์ SET50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET50 index options) ข้อ ๓ การคํานวณค่าธรรมเนียมจากจํานวนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 2 ไม่รวมถึงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเกี่ยวกับสินค้าเกษตร (2) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (Baht/USD futures) (3) สัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกจาก (1) และ (2) ที่เริ่มทําการซื้อขายเป็นครั้งแรกในศูนย์ซื้อขายดังกล่าว โดยไม่นํามารวมคํานวณเป็นเวลา 12 เดือนนับแต่เดือนที่เริ่มทําการซื้อขายเป็นครั้งแรก ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระตามข้อ 2 เมื่อคํานวณรวมกันแล้วต้องไม่ต่ํากว่าปีละ 2 ล้านบาท และไม่สูงกว่าปีละ 15 ล้านบาท ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบกิจการไม่เต็มปีปฏิทิน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามวรรคหนึ่งตามสัดส่วนจํานวนเดือนที่มีการประกอบกิจการ (monthly pro-rate) หรือชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการที่คํานวณได้ตามข้อ 2 แล้วแต่จํานวนใดจะสูงกว่า บทเฉพาะกาล ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าชําระค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ชําระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. อนุญาตให้เลิกประกอบกิจการ หรือวันที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ([นาย](http://www.sec.or.th/TH/AboutUs/Pages/link-OrganizationOfTheSEC/SEC_achaporn.aspx)พิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,069
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ นป. 1/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการทำหน้าที่คัดเลือก วิเคราะห์ข้อมูล และเปิดเผยข้อมูลของผู้ออกตราสารหนี้ (product screening) ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่นายหน้า ค้า หรือจัดจำหน่ายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2)
สํานักคคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 1/2563 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการทําหน้าที่คัดเลือด วิเคราะห์ข้อมูล และเปิดเผยข้อมมูลของผู้ออกตราสารหนี้ (product screening) ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทําหน้านายหน้า ค้า หรือจัดจําหน่ายตราสารหนี้ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประะกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการ ประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2556(“ประกาศ ที่ ทธ. 35/2556”) และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.35/2557 เรื่องหลักเกณฑ์ ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบการธุรกิจกลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 (“ประกาศ ที่ สธ. 35/2557”)กําหนดให้ผู้ประกอบ ธุรกิจต้องจัดให้มีการวิเคราะห์และการแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในตราสารหนี้ให้แก่ลงทุน รวมถึงการจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการดําเนินการดังกล่าว นั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของผู้ประกอบธุรกิจสํานักงาน โดยอาศัยอํานาจตามข้อ 5(3) ประกอบกับข้อ 7 -ข้อ 12(1) (2) (3) (3/1) (4) (7)และ (12) ข้อ18(2) ข้อ 25/1 ข้อ 38(1)ข้อ 41 ข้อ 42 และข้อ 61 แห่งประกาศที่ ทธ. 35/2556 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติ ไว้ตามเอกสารฉบับนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกภาคผนวกที่แนบบท้ายประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 1/2561 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการทําหน้าที่คัดเลือก วิเคราะห์ข้อมูล และเปิกเผยข้อมูลของผู้ออกตราสารหนี้ (product screening) ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่หน้าที่ นายหน้า ค้า หรือจัดจําหน่ายตราสารหนีี้ ลง วันที่ 27 มิถุนา พ.ศ 2561และให้ใช้ภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศแนวปฏิบัตินี้แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม ๑ ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนายม พ.ศ.2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,070
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 55/2562 เรื่อง วันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจำปี พ.ศ. 2563
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2562 เรื่อง วันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2563 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศกําหนดวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2563 ไว้ดังต่อไปนี้ อื่นๆ - 1. วันพุธ 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่ 2. วันจันทร์ 10 กุมภาพันธ์ วันหยุดชดเชยวันมาฆบูชา (วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) 3. วันจันทร์ 6 เมษายน วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ 4. วันจันทร์ 13 เมษายน วันสงกรานต์ 5. วันอังคาร 14 เมษายน วันสงกรานต์ 6. วันพุธ 15 เมษายน วันสงกรานต์ 7. วันศุกร์ 1 พฤษภาคม วันแรงงานแห่งชาติ 8. วันจันทร์ 4 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล 9. วันพุธ 6 พฤษภาคม วันวิสาขบูชา 10. วันพุธ 3 มิถุนายน วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 11. วันจันทร์ 6 กรกฎาคม วันหยุดชดเชยวันอาสาฬหบูชา (วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563) 12. วันอังคาร 28 กรกฎาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 13. วันพุธ 12 สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและวันแม่แห่งชาติ 14. วันอังคาร 13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 15. วันศุกร์ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช 16. วันจันทร์ 7 ธันวาคม วันหยุดชดเชยวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ (วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563) 17. วันพฤหัสบดี 10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ 18. วันพฤหัสบดี 31 ธันวาคม วันสิ้นปี สําหรับบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกแห่งในจังหวัดนราธิวาสจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา ให้หยุดในวันตรุษอีดิ้ลฟิตรี (วันรายอปอซอ) วันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา (วันรายอฮัจยี) ตามประกาศสํานักจุฬาราชมนตรี และวันตรุษจีน เป็นการเพิ่มเติม หากวันตรุษดังกล่าวไม่ตรงกับวันหยุดตามที่กล่าวข้างต้น หรือวันหยุดประจําสัปดาห์ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,071
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 18/2563 เรื่อง วันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจำปี พ.ศ. 2563 (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 18/2563 เรื่อง วันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2563 (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติให้เลื่อนวันหยุดราชการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจําปี พ.ศ. 2563 (วันที่ 13 -15 เมษายน 2563) ออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะคลี่คลาย โดยคณะรัฐมนตรีจะพิจารณากําหนดวันหยุดราชการชดเชยให้ในภายหลังในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป นั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศปรับปรุงวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2563 ที่ได้กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 55/2562 เรื่อง วันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี โดยให้ยกเลิกวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2563 ในวันที่ 13 เมษายน วันที่ 14 เมษายน และวันที่ 15 เมษายน (วันหยุดสงกรานต์) ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,072
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 19/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคลการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนฯ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 19/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของ ผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็น ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนด กรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน และข้อ 7(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ประกอบกับข้อ 5(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (2) ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้หยุดประกอบธุรกิจจากสํานักงานและ อยู่ระหว่างหยุดการประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตนั้น” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ” ระหว่างคําว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” และคําว่า “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถ ดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ““กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติในเรื่องการดํารงเงินกองทุน การรายงานการดํารงเงินกองทุน และการดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกชื่อภาค 1 หลักเกณฑ์สําหรับบริษัทจัดการที่ไม่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐาน และผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ภาค 1 การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ และ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจ ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๖ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจ” ในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 12 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ผู้รับประกันภัยต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ โดยในการพิจารณาเลือกผู้รับประกันภัย ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานึงถึงความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้รับประกันภัยด้วย (ก) ได้รับการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (financial strength rating) ในครั้งล่าสุดในอันดับและจากสถาบันจัดอันดับที่สํานักงานยอมรับ เว้นแต่ในกรณีที่ไม่มีการจัดอันดับ ความแข็งแกร่งทางการเงิน ผู้รับประกันภัยดังกล่าวต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร หรือคู่สัญญา (issuer rating) ในอันดับที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (ข) สามารถดํารงอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) ที่กําหนดโดยสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 200 และมีกําไรสุทธิติดต่อกันในรอบ 3 ปีบัญชีล่าสุด โดยให้พิจารณาจากงบการเงินประจํารอบปีบัญชีของผู้รับประกันภัยซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารง เงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ในกรณีที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม ห้ามเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่ยังมิได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากการปฏิบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมดังกล่าวด้วย” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการของตนภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) 30 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่มิใช่กรณีตาม (ข) (ข) 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในการคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญและต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของแต่ละกองทุนรวมด้วย เว้นแต่กองทุนรวมดังกล่าวเป็นกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (ข) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 22/1 ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว” ข้อ ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 “ข้อ 22/1 ในการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษหรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้ถือคะแนนเสียงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง ในกรณีที่เป็นการขอมติโดยการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (2) ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ตอบกลับและมีสิทธิออกเสียง ในกรณีที่เป็นการขอมติโดยการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว” ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกภาค 2 หลักเกณฑ์สําหรับบริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 26 ข้อ 27 ข้อ 28 ข้อ 29 ข้อ 30 และข้อ 31 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนและการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๑๒ ในกรณีที่บริษัทจัดการใดอยู่ระหว่างการดําเนินการตามข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2563 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 ให้บริษัทจัดการดังกล่าวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในภาค 2 หลักเกณฑ์สําหรับบริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐาน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนและการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดกรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ที่ยกเลิกโดยประกาศนี้ และให้สํานักงานมีอํานาจตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในภาค 2 ดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,073
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคลการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและข้อกำหนดกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนของ ผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการ จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็น ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนด กรณีที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (ฉบับประมวล) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 วรรคหนึ่ง และมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2)โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 19 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้าพ.ศ. 2546 ข้อ 7(1) ประกอบกับข้อ 5(2) และ (3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ 2( ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (2) ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้หยุดประกอบธุรกิจจากสํานักงานและ อยู่ระหว่างหยุดการประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตนั้น ข้อ 3 ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจ” “บริษัทจัดการ” “บริษัทจัดการกองทุนรวม” “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” และ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศการดํารงเงินกองทุน “ประกาศการดํารงเงินกองทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม การจัดการกองทุนส่วนบุคคล การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน และการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า บริษัทจัดการที่มีการประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ (1) การจัดการกองทุนรวมดังนี้ (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ข) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ค) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ง) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (จ) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (2) การเป็นทรัสตีหรือผู้จัดการกองทรัสต์ สําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน “บริษัทจัดการที่ไม่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า บริษัทจัดการอื่นที่ไม่ใช่บริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐาน “ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวมหรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนแต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวที่มีลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังนี้ (1) มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (2) มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อลูกค้าผ่านสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว “กรมธรรม์ประกันภัย” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพ (professional indemnity insurance) “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ”( หมายความว่า กองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ข้อ 4( ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติในเรื่องการดํารงเงินกองทุน การรายงานการดํารงเงินกองทุน และการดําเนินการในกรณีที่ ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ภาค 1( การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ และ การดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจ ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ข้อ 5( ยกเลิก ข้อ 6 ในภาคนี้ ยกเลิก( “เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก” หมายความว่า ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) เงินฝาก บัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน หรือตราสารอื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกับเงินฝาก (2) ข้อตกลงที่เป็นไปตามหลักชะรีอะฮ์ (Shariah) และมีลักษณะที่เทียบเคียงได้กับเงินฝาก โดยคู่สัญญาที่เทียบเคียงได้กับผู้ฝากสามารถเรียกคืนเงินต้นจากคู่สัญญาฝ่ายที่เทียบเคียงได้กับผู้รับฝากได้เต็มจํานวน ณ เวลาใด ๆ (3) สลากออมทรัพย์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (4) สลากออมสินพิเศษที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (3) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย “ผู้มีภาระผูกพัน” หมายความว่า ผู้ที่มีภาระผูกพันในการชําระหนี้ตามตราสารทางการเงินในฐานะผู้ออก ผู้สั่งจ่าย ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ําประกัน แล้วแต่กรณี “หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า หน่วยของโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม แต่ไม่รวมถึงโครงการจัดการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนโดยตรงในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) หรือในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวต้องจัดตั้งโดยได้รับอนุญาต จดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันจากหน่วยงานกํากับดูแลหลัก (home regulator) ดังต่อไปนี้ ที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศหรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการตามโครงการดังกล่าว (1) หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศกลุ่มอาเซียนที่ลงนามร่วมกันใน Memorandum of Understanding Concerning Cooperation and Exchange of Information on Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes to Non-retail Investors หรือ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (2) หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศในภูมิภาคเอเชียภายใต้กรอบเอเปค (Asia Pacific Economic Cooperation : APEC) ที่ลงนามร่วมกันใน Memorandum of Cooperation on the Establishmentand Implementation of the Asia Region Funds Passport “การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ” หมายความว่า การจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสํานักงาน ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถในการชําระหนี้ตามตราสารหรือสัญญา ข้อ 7 ในการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การคํานวณและการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ให้เป็นไปตามหมวด 1 ของภาคนี้ (2) การดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ให้เป็นไปตามหมวด 2 ของภาคนี้ หมวด 1การคํานวณและการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุน ข้อ 8 ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่น ส่วนที่ 1สินทรัพย์สภาพคล่องและกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการคํานวณเงินกองทุน ข้อ 9 สินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถใช้ในการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่อง ได้แก่ สินทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพันดังต่อไปนี้ และต้องไม่มีลักษณะเป็นการลงทุนระยะสั้นโดยมีเจตนาเพื่อการขายต่อหรือแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงหรือความแตกต่างของราคา (1) เงินสด (2) เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝากของสถาบันการเงินที่สามารถขอไถ่ถอนได้โดยไม่มีข้อจํากัดเรื่องกําหนดเวลาการไถ่ถอน (3) ลูกหนี้ค่าธรรมเนียมค้างรับที่มีอายุครบกําหนดชําระหนี้คงเหลือไม่เกิน 90 วัน (4) ตราสารหนี้ภาครัฐไทยดังนี้ (ก) ตั๋วเงินคลัง (ข) พันธบัตรรัฐบาล (ค) พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ง) พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือหุ้นกู้ ที่กระทรวงการคลังหรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้มีภาระผูกพัน ในกรณีที่ตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง (4) วรรคหนึ่ง มีอายุคงเหลือเกินกว่า 10 ปีตราสารหนี้ดังกล่าวต้องมีการซื้อขายโดยเฉลี่ยทุก 2 สัปดาห์และมีอัตราการเปลี่ยนมือ (turnover) ย้อนหลัง 3 เดือนล่าสุดโดยเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6.25 ของยอดคงค้าง (5) ตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับตราสารหนี้ภาครัฐไทยตามวรรคหนึ่ง (4) ซึ่งมีรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศเป็นผู้มีภาระผูกพัน (6) ตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตรและหุ้นกู้ แต่ไม่รวมถึงตราสารหนี้ที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ตราสารหนี้ด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ และหุ้นกู้ที่ผู้ถือมีภาระผูกพัน ในกรณีที่ตราสารหนี้ตามวรรคหนึ่ง (6) วรรคหนึ่ง มีอายุคงเหลือเกินกว่า 3 เดือนตราสารหนี้ดังกล่าวต้องมีการซื้อขายโดยเฉลี่ยทุก 2 สัปดาห์และมีอัตราการเปลี่ยนมือย้อนหลัง 3 เดือนล่าสุดโดยเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 6.25 ของยอดคงค้าง (7) หุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรายชื่อในการคํานวณดัชนี SET100 (8) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (9) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนไว้ไม่เกิน 90 วัน และมีนโยบายการลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (ก) มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องตามวรรคหนึ่ง (2) (5) หรือ (6) สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 11 ด้วย (ข) มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (9) (ก) (10) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกับสินทรัพย์ในวรรคหนึ่ง (8) หรือ (9) ในกรณีที่ระยะเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (9) หรือหน่วยตามวรรคหนึ่ง (10) ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนดังกล่าวเกินกว่า 60 วัน ให้นํามูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าวมาคํานวณการดํารงเงินกองทุนได้เพียงร้อยละ 50 ของมูลค่าของทรัพย์สินนั้น ข้อ 10 สินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 9 วรรคหนึ่ง (4) (5) และ (6) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย (1) ต้องเป็นตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (2) ในกรณีที่มีการจ่ายผลตอบแทนจากสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าว ผลตอบแทนนั้นต้องอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (3) ในกรณีเป็นตราสารหนี้ที่มีการรับรอง รับอาวัล สลักหลัง หรือค้ําประกันตราสารต้องเป็นการรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน สลักหลังโอนประเภทมีสิทธิไล่เบี้ยโดยไม่มีข้อกําหนดลบล้างหรือจํากัดความรับผิดของผู้สลักหลัง หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข แล้วแต่กรณี ข้อ 11 สินทรัพย์สภาพคล่องตามข้อ 9 วรรคหนึ่ง (2) (5) และ (6) ต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (investment grade) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร เว้นแต่ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวไม่มีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร ให้พิจารณาเลือกใช้ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้มีภาระผูกพัน ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้มีภาระผูกพันดังกล่าวเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นให้หมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็น การพิจารณาใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการพิจารณาใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยอนุโลม ข้อ 12 การใช้กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อการดํารงเงินกองทุน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์โดยครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งอย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่ครอบคลุมความเสียหายต่อลูกค้าหรือบุคคลภายนอกที่เกิดจากการกระทําของผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริหารหรือบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้กระทําไปในนามของผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องจากสาเหตุดังนี้ (ก) ความบกพร่องของผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจในการกํากับดูแลหรือจัดให้มีระบบงานที่เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทําที่ไม่เหมาะสม (ข) เอกสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกองทุนหรือลูกค้าเสียหาย (ค) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินของลูกค้าที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบริษัทจัดการ (2)( ผู้รับประกันภัยต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ โดยในการพิจารณาเลือก ผู้รับประกันภัย ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานึงถึงความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญาของผู้รับประกันภัยด้วย (ก) ได้รับการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (financial strength rating) ในครั้งล่าสุดในอันดับและจากสถาบันจัดอันดับที่สํานักงานยอมรับ เว้นแต่ในกรณีที่ไม่มีการจัดอันดับ ความแข็งแกร่งทางการเงิน ผู้รับประกันภัยดังกล่าวต้องมีผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร หรือคู่สัญญา (issuer rating) ในอันดับที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ (ข) สามารถดํารงอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) ที่กําหนดโดยสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยไม่ต่ํากว่า ร้อยละ 200 และมีกําไรสุทธิติดต่อกันในรอบ 3 ปีบัญชีล่าสุด โดยให้พิจารณาจากงบการเงินประจํา รอบปีบัญชีของผู้รับประกันภัยซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (3) ในการคํานวณมูลค่าของกรมธรรม์ประกันภัยในการดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ในกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อกําหนดให้ผู้เอาประกันภัยรับผิดต่อความเสียหายส่วนแรก (deductible) มิให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเอามูลค่าความรับผิดต่อความเสียหายดังกล่าวมานับรวมเป็นวงเงินเพื่อการดํารงเงินกองทุน (ข) ในกรณีเป็นการประกันภัยแบบกลุ่มหรือมีผู้รับผลประโยชน์หลายรายให้คํานวณมูลค่าของกรมธรรม์ประกันภัยในการดํารงเงินกองทุนได้เพียงเท่ากับมูลค่าตามสัดส่วนของจํานวนเงินซึ่งผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิจะได้รับ (ค) ในกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยมิได้ครอบคลุมความเสียหายย้อนหลังเป็นระยะเวลา 10 ปีนับถึงวันที่ผู้ประกอบธุรกิจรายงานการดํารงเงินกองทุนต่อสํานักงานหรือนับแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจ ให้คํานวณมูลค่าของกรมธรรม์ประกันภัยในการดํารงเงินกองทุนได้เพียงร้อยละ 50 ของจํานวนเงินซึ่งผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิจะได้รับที่หักด้วยความรับผิดต่อค่าเสียหายส่วนแรก (ถ้ามี) แล้ว ส่วนที่ 2 การคํานวณเงินกองทุน ข้อ 13 ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณอัตราหรือมูลค่าของเงินกองทุนที่ต้องดํารงตามประกาศการดํารงเงินกองทุนทุกวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน ข้อ 14 การคํานวณมูลค่าของเงินกองทุนสภาพคล่อง ให้เป็นไปตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนและคําอธิบายประกอบการรายงานที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ 15 ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณมูลค่าของเงินกองทุนสภาพคล่องที่ดํารงได้หรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนในวันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้มูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยที่ใช้ในการดํารงเงินกองทุนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจคํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวใหม่ตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญอันอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัย ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยในวันที่เกิดเหตุการณ์นั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทําการ ให้คํานวณมูลค่าในวันทําการถัดไป (2) เมื่อมีการจําหน่าย จ่าย โอน หรือไถ่ถอนสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยในวันใด ให้คํานวณมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องหรือกรมธรรม์ประกันภัยในวันนั้น (3) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหุ้น ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์ทุกสิ้นวันทําการ (4) ในกรณีที่สินทรัพย์สภาพคล่องเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีการลงทุนในหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อมีการเปิดเผยมูลค่าของหน่วยลงทุนหรือหน่วยดังกล่าวแล้ว ให้คํานวณมูลค่าสินทรัพย์นั้นทุกวันทําการ ส่วนที่ 3การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนและการจัดเก็บข้อมูล ข้อ 16 ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการสําหรับข้อมูลที่เกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานการดํารงเงินกองทุนตามแบบรายงานการดํารงเงินกองทุนและคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานและจัดส่งให้สํานักงานภายใน 5 วันทําการนับแต่วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือน (2) จัดทํารายงานมูลค่าความเสียหายอันเนื่องจากการปฏิบัติงาน (operational risk loss) รายปีปฏิทิน ตามแบบรายงานข้อมูลความเสียหายที่เกิดจาก operational risk และคําอธิบายประกอบการรายงานดังกล่าวที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ข้อ 17 ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้มีเอกสารเกี่ยวกับการดํารงเงินกองทุนย้อนหลังไม่น้อยกว่า 5 ปี ไว้ ณ ที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะที่พร้อมเรียกดูหรือจัดให้สํานักงานตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ หมวด 2การดําเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ข้อ 18 ในหมวดนี้ “เงินกองทุนขั้นต้น” หมายความว่า เงินกองทุนขั้นต้นตามเอกสารการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศการดํารงเงินกองทุน แนบท้ายประกาศการดํารงเงินกองทุน “เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจ” หมายความว่า เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจตามเอกสารการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศการดํารงเงินกองทุน แนบท้ายประกาศการดํารงเงินกองทุน “เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน” หมายความว่า เงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงานตามเอกสารการดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศการดํารงเงินกองทุน แนบท้ายประกาศการดํารงเงินกองทุน ข้อ 19 ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) มีหนังสือแจ้งการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนพร้อมด้วยสาเหตุ โดยยื่นต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (2) จัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสํานักงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่ก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าวสามารถแก้ไขเงินกองทุนให้เป็นไปตามประกาศดํารงเงินกองทุนได้ ให้จัดส่งรายงานการแก้ไขดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่สามารถแก้ไขเงินกองทุนให้เป็นไปตามประกาศการดํารงเงินกองทุนได้แทนการจัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขนั้น ในกรณีมีเหตุจําเป็นและสมควร ผู้ประกอบธุรกิจอาจขอผ่อนผันระยะเวลาในการจัดส่งแผนหรือแนวทางแก้ไขต่อสํานักงานได้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน (3) ดําเนินการตามแผนหรือแนวทางดังกล่าวเพื่อให้สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่ประกาศการดํารงเงินกองทุนกําหนดโดยเร็ว และต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนดในแผนหรือแนวทางนั้นซึ่งต้องไม่เกินกว่า 30 วันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (4) มีหนังสือแจ้งผลการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายในวันทําการถัดจากวันที่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ (5) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ภายในระยะเวลาตาม (3) ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามข้อ 21 โดยอนุโลม ข้อ 20 ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงานหรืออยู่ในระหว่างดําเนินการตามข้อ 19(3) ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ จนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน (1) ห้ามให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ (2) ห้ามลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจเพิ่มเติม เว้นแต่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินดังนี้ (ก) เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก (ข) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินที่ไม่มีการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับต่างประเทศ โดยต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารสภาพคล่องของผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้น (ค) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (3)( ในกรณีที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม ห้ามเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ที่ยังมิได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรก ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมมีการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากการปฏิบัติตาม วรรคหนึ่งแล้ว ห้ามมิให้บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมดังกล่าวด้วย (4) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ห้ามรับจัดการเงินทุนของลูกค้าเพิ่มเติม เว้นแต่เป็นกรณีการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามอัตราที่กําหนดในข้อบังคับของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (5) ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุน ห้ามเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์อื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนเว้นแต่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวที่มีการเสนอขายอยู่แล้วในวันก่อนวันที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงาน ข้อ 21 ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความต่อเนื่องของธุรกิจหรือเงินกองทุนขั้นต้น หรือไม่สามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กําหนดในแผนหรือแนวทาง หรือระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 19(3) หรือไม่สามารถดํารงฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่นที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจนเป็นเหตุให้ต้องระงับการประกอบธุรกิจ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนจนกว่าจะสามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุนหรือดํารงฐานะได้ตามกฎหมายอื่นที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว แล้วแต่กรณีและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ดําเนินธุรกิจต่อไปได้ตามปกติ เว้นแต่เป็นกรณีดังนี้ (ก) การดําเนินการตามความจําเป็นและสมควรเพื่อป้องกันมิให้มูลค่าทรัพย์สินซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารจัดการได้รับความเสียหาย หรือการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวม ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ลงทุน หรือเพื่อเปลี่ยนตราสารที่ครบกําหนดไถ่ถอนกับผู้ออกตราสารดังกล่าว (ข) การบริหารเงินสะสมและเงินสมทบของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่เป็นลูกค้าอยู่แล้วในขณะนั้น หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สิ้นสมาชิกภาพ (2) แจ้งการไม่สามารถดํารงเงินกองทุนหรือฐานะทางการเงิน พร้อมด้วยสาเหตุและการระงับการประกอบธุรกิจตาม (1) เป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่สํานักงานและผู้ถือหน่วยลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี ภายในวันทําการถัดจากวันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ (3) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังนี้ แล้วแต่กรณี (ก) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้ดําเนินการตามข้อ 22 (ข) ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้ดําเนินการตามข้อ 23 (ค) ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ให้ดําเนินการตามข้อ 24 (4) แจ้งการดําเนินการตาม (3) เป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ลูกค้าหรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า (5) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกลับมาดํารงเงินกองทุนได้ตามประกาศการดํารงเงินกองทุน ข้อ 22 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 21ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1)( ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการ ของตนภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) 30 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ในกรณี ที่เป็นกองทุนรวมที่มิใช่กรณีตาม (ข) (ข) 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ ในกรณี ที่เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในการคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญและต้องได้รับความเห็นชอบจาก ผู้ดูแลผลประโยชน์ของแต่ละกองทุนรวมด้วย เว้นแต่กองทุนรวมดังกล่าวเป็นกองทุนรวมตาม วรรคหนึ่ง (ข) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามข้อ 22/1 ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว (2) ในระหว่างดําเนินการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการตาม (1) บริษัทจัดการกองทุนรวมรายเดิมสามารถจัดการกองทุนรวมภายใต้การจัดการได้เพียงเพื่อการดูแลรักษาประโยชน์หรือการใช้สิทธิประโยชน์เพื่อมิให้กองทุนรวมได้รับความเสียหายเท่านั้น (3) ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนในวันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าบริหารจัดการกองทุนรวมและมีความประสงค์จะขายคืนหน่วยลงทุน โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอย่างน้อย 30 วันนับแต่วันที่บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าบริหารจัดการกองทุนรวมเว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่มีกําหนดระยะเวลาการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนเป็นช่วง (interval fund) ซึ่งมิได้มีช่วงเวลารับซื้อคืนหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลา 30 วันดังกล่าว ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นนั้นรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมสําหรับการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในช่วงที่จะมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในครั้งถัดไป ทั้งนี้ เฉพาะการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามคําสั่งของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นครั้งแรกเท่านั้น ข้อ 22/1( ในการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษหรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้ถือคะแนนเสียงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง ในกรณี ที่เป็นการขอมติโดยการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน (2) ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ตอบกลับและมีสิทธิออกเสียง ในกรณี ที่เป็นการขอมติโดยการส่งหนังสือขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดําเนินการตามประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าว ข้อ 23 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 21 ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ด้วย (1) ในกรณีเป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมติดต่อลูกค้าโดยเร็วเพื่อสอบถามความประสงค์ของลูกค้าว่าจะให้จัดการทรัพย์สินของลูกค้าอย่างไร ระหว่างวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเพื่อให้ลูกค้ามีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นโดยตรง (ข) ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมดําเนินการเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายอื่นเข้าจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้ให้ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) วรรคหนึ่ง (ก) ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมดําเนินการจัดการทรัพย์สินของลูกค้าตามวิธีการในวรรคหนึ่ง (1) วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามข้อ 21 (2) ในกรณีเป็นการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมติดต่อคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพโดยเร็ว และดําเนินการเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายอื่นเข้าจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพได้ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ตามข้อ 21 ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว ข้อ 24 ในกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามข้อ 21 ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ว่าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนได้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันระยะเวลาจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร ทั้งนี้ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน (1) ดําเนินการให้ลูกค้าเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ถือหลักทรัพย์โดยตรง (2) โอนบัญชีการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าแต่ละรายไปยังผู้ประกอบธุรกิจประเภทหนึ่งประเภทใดดังนี้เป็นผู้ให้บริการแทน ทั้งนี้ ตามที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ (ก) ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนรายอื่น (ข) บริษัทจัดการกองทุนรวมซึ่งเป็นผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น ๆ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนรายเดิมต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว ข้อ 25 ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอผ่อนผันระยะเวลาในการดําเนินการตามข้อ 19(3)ข้อ 22(1) วรรคหนึ่ง ข้อ 23 วรรคหนึ่ง (1) วรรคสาม หรือวรรคหนึ่ง (2) ได้ตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชนโดยต้องยื่นคําขอต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วันก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงเหตุจําเป็นและสมควร ภาค 2(หลักเกณฑ์สําหรับบริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 26( ยกเลิก ข้อ 27( ยกเลิก ข้อ 28( ยกเลิก ข้อ 29( ยกเลิก ข้อ 30( ยกเลิก ข้อ 31( ยกเลิก ภาค 3บทเฉพาะกาล ข้อ 32 ในกรณีที่บริษัทจัดการที่ไม่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐานหรือผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทําประกันภัยความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพเพื่อการดํารงเงินกองทุนไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทจัดการสามารถใช้วงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเพื่อทดแทนเงินกองทุนสภาพคล่องสําหรับการดํารงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความรับผิดจากการปฏิบัติงานตามประกาศการดํารงเงินกองทุนได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 ทั้งนี้ เมื่อครบระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับแล้ว หากบริษัทจัดการประสงค์จะใช้วงเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเพื่อทดแทนเงินกองทุนสภาพคล่องต่อไป การใช้กรมธรรม์ประกันภัยนั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 12 ด้วย ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,074
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 8/2554 เรื่อง รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ฉบับที่ 2 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 8 /2554 เรื่อง รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 1/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 4/2553 เรื่อง รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 “ข้อ 1/1 ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดให้มีสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกศุกูก” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้สอดคล้องกับการออกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้กําหนดรายการของสัญญาก่อตั้งทรัสต์ เพื่อการออกศุกูกไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,075
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 34/2563 เรื่อง รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 34/2563 เรื่อง รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 4/2553 เรื่อง รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) ลักษณะสําคัญของใบทรัสต์ ซึ่งต้องระบุสิทธิ เงื่อนไข และผลประโยชน์ตอบแทนตามใบทรัสต์ (ถ้ามี)” ตอน ๒ ให้ยกเลิกความใน (11) และ (12) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 4/2553 เรื่อง รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(11) การประชุมผู้ถือใบทรัสต์ (ถ้ามี) (12) การโอนใบทรัสต์ (ถ้ามี)” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,076
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สข. 4/2553 เรื่อง รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 4/2553 เรื่อง รายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ทรัสตีต้องจัดให้มีสัญญาก่อตั้งทรัสต์ซึ่งประกอบด้วยรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) วันที่จัดตั้งกองทรัสต์ (2) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ก่อตั้งทรัสต์และทรัสตี (3) ชื่อหรือคุณสมบัติของผู้รับประโยชน์ หรือลักษณะที่แสดงให้เห็นว่ามีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้รับประโยชน์ (4) ชื่อ อายุ ประเภท และวัตถุประสงค์ของกองทรัสต์ โดยชื่อดังกล่าวต้องแสดงลักษณะของกองทรัสต์ (5)( ลักษณะสําคัญของใบทรัสต์ ซึ่งต้องระบุสิทธิ เงื่อนไข และผลประโยชน์ตอบแทนตามใบทรัสต์ (ถ้ามี) (6) ทรัพย์สินในกองทรัสต์ (7) สิทธิอื่นใดของผู้รับประโยชน์ (8) หน้าที่ของทรัสตี (9) อัตราและวิธีจ่ายค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ (10) การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (11)( การประชุมผู้ถือใบทรัสต์ (ถ้ามี) (12)( การโอนใบทรัสต์ (ถ้ามี) (13) การแต่งตั้ง เปลี่ยนแปลง และถอดถอนทรัสตี (14) การมอบหมายการจัดการกองทรัสต์ (ถ้ามี) (15) การทดรองจ่ายเงินเพื่อกองทรัสต์ของทรัสตี (ถ้ามี) (16) การจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ และผู้สอบบัญชี สําหรับกองทรัสต์ที่ต้องมีการจัดทํางบการเงินตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยระบบงาน การติดต่อผู้ลงทุน และการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปของทรัสตี (17) การเลิกกองทรัสต์ และการชําระสะสางหนี้สิน (18) ตัวอย่างใบทรัสต์แนบท้ายสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ถ้ามี) ข้อ 1/1( ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดให้มีสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกศุกูก ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,077
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สท. 1/2563 เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2)
ประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ สท. 1/2563 เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 23/4 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (2) ในข้อ 3 แห่งประกาศนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ สท. 1/2558 เรื่อง วิธีการและเงื่อนไขในการโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ในกรณีที่การโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพจะมีผลให้การถือหน่วยลงทุนของลูกจ้างเกิน 1 ใน 3 ของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินดังกล่าว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,078
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 -------------------------------------------- โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของกิจการที่กําหนดตามบทบัญญัติหรือข้อกําหนดดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 10(3) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ข้อ ๓ ประกาศนี้ใช้บังคับกับการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของกิจการในตลาดทุน โดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้สามารถสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (2) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงาน (3) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งมีผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (4) บริษัทหลักทรัพย์ (5) กองทุนรวม (6) กองทุนส่วนบุคคลที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (7) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียน (8) บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (9) กองทรัสต์ตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในเรื่องใดเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว มิให้นําประกาศนี้มาใช้บังคับ ข้อ ๕ ให้ถือว่าสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานในการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการตามข้อ 3 โดยไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของประกาศนี้ ข้อ ๖ ในประกาศนี้ (1) “สํานักงานสอบบัญชี” หมายความว่า สํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัดและปฏิบัติงาน (2) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) บริษัทประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยหรือกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต (ค) สถาบันการเงินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) “จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี” หมายความว่า (ก) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี (ข) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดโดย International Federation of Accountants (IFAC) ในกรณีที่สภาวิชาชีพบัญชียังไม่ได้กําหนดหรือปรับปรุงจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีให้สอดคล้อง กับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดโดย International Federation of Accountants (IFAC) (4) “คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชี” หมายความว่า คณะบุคคลที่สํานักงานแต่งตั้งเพื่อให้คําปรึกษาและเสนอแนะเกี่ยวกับการกํากับดูแลผู้สอบบัญชีในตลาดทุน หมวด ๑ การขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ส่วน ๑ การยื่นคําขอความเห็นชอบ ข้อ ๗ ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบ 61-1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) หนังสือรับรองและยินยอมของสํานักงานสอบบัญชีที่บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบสังกัด ซึ่งรับรองและยินยอมในเรื่องดังนี้ ทั้งนี้ ตามแบบ 61-2 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ก) รับรองว่าสํานักงานสอบบัญชีดังกล่าวมีระบบควบคุมคุณภาพงานตามข้อ 11(1) และยินยอมให้ผู้แทนของสํานักงานเข้าตรวจระบบดังกล่าว (ข) รับรองว่าหากผู้สอบบัญชีที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชีนั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว สํานักงานสอบบัญชีจะดูแลและพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดตามข้อ 11(1) และยินยอมให้ผู้แทนของสํานักงานเข้าตรวจระบบดังกล่าวเมื่อได้รับแจ้งจากสํานักงาน (2) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ให้บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ พร้อมกับการยื่นคําขอดังกล่าว ข้อ ๘ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจง ดําเนินการ หรือส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง สํานักงานจะถือว่าบุคคลนั้นไม่ประสงค์จะยื่นขอความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๙ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน ส่วน ๒ หลักเกณฑ์และระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๐ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1.เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งใบอนุญาตยังไม่สิ้นผล (2) เป็นหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีหรือเทียบเท่า หรือเป็นหุ้นส่วนในสํานักงานสอบบัญชีหรือเทียบเท่า (3) สังกัดสํานักงานสอบบัญชีเพียงหนึ่งแห่ง โดยสํานักงานสอบบัญชีที่สังกัดต้องมีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 11 (4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในส่วนที่ 3 ข้อ ๑๑ สํานักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีในตลาดทุนสังกัดอยู่ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีระบบควบคุมคุณภาพงานที่เพียงพอและน่าเชื่อถือว่าจะสามารถดูแลให้ผู้สอบบัญชีในสังกัดปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพบัญชีได้อย่างต่อเนื่อง โดยระบบควบคุมคุณภาพงานดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพงานที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี เว้นแต่มาตรฐานใดที่สภาวิชาชีพบัญชียังไม่ได้กําหนดหรือปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพระหว่างประเทศ ให้ใช้มาตรฐานวิชาชีพระหว่างประเทศที่กําหนดโดย International Federation of Accountants (IFAC) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น (2) มีจํานวนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นผลหรือไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่มีคุณวุฒิด้านบัญชีไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีและเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี รวมกันไม่น้อยกว่าห้าคน ซึ่งต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาให้กับสํานักงานสอบบัญชี ทั้งนี้ ในส่วนของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย (ก) ในกรณีที่สํานักงานสอบบัญชีมีผู้สอบบัญชีที่ได้หรือจะได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนปฏิบัติงานเต็มเวลาให้กับสํานักงานสอบบัญชี สํานักงานสอบบัญชีนั้นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่น้อยกว่าสองคน (ข) ในกรณีที่สํานักงานสอบบัญชีมีผู้สอบบัญชีที่ได้หรือจะได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนมิได้ปฏิบัติงานเต็มเวลาให้กับสํานักงานสอบบัญชี สํานักงานสอบบัญชีนั้นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่น้อยกว่าสี่คน ในการพิจารณาความเพียงพอและความน่าเชื่อถือของระบบควบคุมคุณภาพงานตาม (1) ของวรรคหนึ่ง สํานักงานจะเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นที่ได้จากการตรวจให้คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีพิจารณาให้ความเห็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของสํานักงานด้วย เว้นแต่เป็นกรณีการขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศนี้อยู่แล้ว และไม่มีประเด็นที่สํานักงานเห็นว่าจําเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม ข้อ ๑๒ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนมีกําหนดระยะเวลาคราวละไม่เกินห้าปีตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๓ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อสํานักงานร้องขอ ให้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการ หรือไม่ดําเนินการใด ๆ ตามที่ร้องขอนั้น ข้อ ๑๔ ในระหว่างการยื่นขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ให้ผู้สอบบัญชีที่ได้ดําเนินการต่อไปนี้สามารถลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของ กิจการตามข้อ 3 ต่อไปได้ แต่ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดอายุการให้ความเห็นชอบตามข้อ 12 (1) ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายจากกิจการตามข้อ 3 ก่อนระยะเวลาการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามข้อ 12 จะสิ้นสุดลง และ (2) ได้ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อยสี่เดือนก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ และยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบตามข้อ 9 ส่วน ๓ ลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ข้อ ๑๕ ผู้สอบบัญชีในตลาดทุนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่ง (ก) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี หรือ (ข) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ในช่วงสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน หรือเคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี (3) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกิจการในตลาดทุน หรืออยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดว่าสํานักงานจะไม่รับพิจารณาคําขอ (4) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากการกล่าวโทษของสํานักงาน ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จะได้พ้นโทษหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน ทั้งนี้ เฉพาะความผิดดังต่อไปนี้ (ก) ความผิดเกี่ยวกับการกระทําโดยทุจริต หรือการสนับสนุนการกระทําผิดของบุคคลอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี (ข) ความผิดเกี่ยวกับเอกสารหรือบัญชี เช่น ปลอมเอกสาร ใช้หรืออ้างเอกสารปลอมหรือเท็จ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสาร หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําความผิดเกี่ยวกับบัญชีหรือเอกสารตามมาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 148 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 เป็นต้น (ค) ความผิดเกี่ยวกับการสอบบัญชีซึ่งไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดหรือทํารายงานการสอบบัญชีเท็จ เช่น ความผิดตามมาตรา 287 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นต้น (ง) ความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงิน ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากการกล่าวโทษของหน่วยงานดังกล่าว ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จะได้พ้นโทษหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน ทั้งนี้ เฉพาะความผิดตาม (4) ข้อ ๑๖ ผู้สอบบัญชีในตลาดทุนต้องไม่มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ (1) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี หรือมีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (2) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงที่เป็นสาระสําคัญอันควรแจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือยื่นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน รวมทั้งมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (3) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือหลอกลวงผู้อื่น และมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลใดมีพฤติกรรมตามข้อ 16 มาแล้วเกินกว่าสิบปี หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมดังกล่าวมิได้มีลักษณะร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรได้รับความไว้วางใจหรือความน่าเชื่อถือให้ปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน สํานักงานอาจไม่ยกข้อเท็จจริงในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ข้อ ๑๘ ในการพิจารณาความร้ายแรงตามข้อ 17 สํานักงานจะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรือการกระทําของผู้สอบบัญชีเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงานนํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึง (1) บทบาทความเกี่ยวข้อง และนัยสําคัญของพฤติกรรม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรม เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (2) การลงโทษอื่นที่ผู้สอบบัญชีนั้นได้รับไปแล้ว (3) ผลกระทบหรือความเสียหายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น (4) การแก้ไขหรือดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมทํานองเดียวกันนั้นซ้ําอีก (5) พฤติกรรมของผู้สอบบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือการดําเนินการ การปิดบังอําพรางหรือทําลายหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น (6) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (7) ประวัติพฤติกรรมในช่วงสิบปีก่อนที่สํานักงานจะพิจารณาการมีลักษณะต้องห้าม ในแต่ละกรณี เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น ข้อ ๑๙ ในการพิจารณาพฤติกรรมตามข้อ 16 สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง (2) เสนอข้อเท็จจริง ข้อกล่าวหา และข้อโต้แย้ง รวมทั้งคําชี้แจงของผู้ถูกพิจารณา (ถ้ามี) ให้คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีพิจารณาเพื่อให้ความเห็นหรือข้อแนะนํา และหากคณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีประสงค์จะให้ผู้ถูกพิจารณาชี้แจงเพิ่มเติม สํานักงานจะจัดให้มีการชี้แจงเช่นนั้น ข้อ ๒๐ ในกรณีที่คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่สํานักงานรวบรวมและนําเสนอตามข้อ 19 และมีความเห็นว่าผู้ถูกพิจารณามีพฤติกรรมตามข้อ 16 ด้วยมติไม่ถึงสามในสี่ของจํานวนที่ปรึกษาที่เข้าร่วมประชุม สํานักงานจะไม่นําข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวมาเป็นเหตุในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามข้อ 16 ข้อ ๒๑ ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลใดมีพฤติกรรมตามข้อ 16 สํานักงานอาจดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) ปฏิเสธการให้ความเห็นชอบผู้ถูกพิจารณาที่ยื่นขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (2) สั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในหมวด 3 (3) กําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลนั้นในคราวต่อไป โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินสิบปี สําหรับพฤติกรรมในแต่ละกรณี ทั้งนี้ สํานักงานอาจแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดไปแล้วนั้นได้ หากปรากฏภายหลังว่ามีกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรมตามข้อ 16 เพิ่มเติม หมวด ๒ หน้าที่ภายหลังได้รับความเห็นชอบ ส่วน ๑ หน้าที่ของผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ข้อ ๒๒ ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินด้วยความรับผิดชอบตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) ในการสอบบัญชีของบริษัทตามข้อ 3(2) หรือ (7) ให้ผู้สอบบัญชีจัดทําบทสรุปประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีจากการตรวจสอบหรือการสอบทานงบการเงิน แล้วแต่กรณี ตามแบบ 61-4 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานจํานวนหนึ่งฉบับสําหรับงบการเงินของแต่ละบริษัท และจัดส่งให้แก่บริษัทพร้อมกับรายงานของผู้สอบบัญชี (3) จัดทําคําชี้แจงหรือนําส่งข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสอบบัญชี หรือดําเนินการอื่นใดในการให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ตามที่สํานักงานร้องขอ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรายใดสังกัดสํานักงานสอบบัญชีมากกว่าหนึ่งแห่งโดยไม่เป็นไปตามข้อ 10(3) หรือสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มิได้มีลักษณะตามข้อ 11(2) ให้ผู้สอบบัญชีรายนั้นดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กําหนดภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้ถูกต้องนั้น เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันในเรื่องระยะเวลาจากสํานักงาน ข้อ ๒๔ ให้ผู้สอบบัญชีแจ้งการเปลี่ยนแปลงสํานักงานสอบบัญชีที่สังกัดตามแบบ 61-3ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันสุดท้ายของการปฏิบัติงานในสํานักงานสอบบัญชีเดิม ส่วน ๒ หน้าที่เพิ่มเติมของผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ที่เป็นหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชี ข้อ ๒๕ นอกเหนือจากหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้แล้ว ผู้สอบบัญชีที่เป็นหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) จัดให้มีระบบควบคุมคุณภาพงานที่เป็นไปตามข้อ 11(1) (2) ดูแลให้ผู้สอบบัญชีในสังกัดปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินด้วยความรับผิดชอบตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) ให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่ผู้แทนของสํานักงานที่เข้าตรวจระบบควบคุมคุณภาพงาน (4) จัดทําคําชี้แจงหรือนําส่งข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสอบบัญชี หรือดําเนินการอื่นใดในการให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ตามที่สํานักงานร้องขอ หมวด ๓ การสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบและบทบังคับอื่น ข้อ ๒๖ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนจะสิ้นสุดลงเมื่อ (1) ผู้สอบบัญชีได้แจ้งต่อสํานักงานเป็นหนังสือถึงความประสงค์ที่จะยุติการปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ผู้สอบบัญชีมิได้สอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการตามข้อ 3 ติดต่อกันเกินสองปีใด ๆ (3) ผู้สอบบัญชีมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 10(1) หรือ (2 (4) ผู้สอบบัญชีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 15(1) (2) (4) หรือ (5) (5) สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือสั่งพักการให้ความเห็นชอบ ตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนตามสมควรแก่กรณี (1) ผู้สอบบัญชีไม่ดําเนินการตามข้อ 13 (2) ผู้สอบบัญชีมีพฤติกรรมตามข้อ 16 (3) ผู้สอบบัญชีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 22 หรือข้อ 25 (4) ผู้สอบบัญชีไม่สามารถแก้ไขให้ตนเองดํารงคุณสมบัติตามข้อ 23 ได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในข้อดังกล่าว (5) ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรายใดสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มีระบบควบคุมคุณภาพงานไม่เป็นไปตามข้อ 11(1) หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าระบบควบคุมคุณภาพงานจะบกพร่องและสํานักงานสอบบัญชีไม่ให้ความร่วมมือหรือยินยอมให้ผู้แทนของสํานักงานเข้าตรวจระบบดังกล่าว ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นําข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19(1) และข้อ 21(3) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้สอบบัญชีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 22(1) หรือข้อ 25(1) หรือ (2) ให้นําข้อ 19(2) และข้อ 20 มาใช้บังคับด้วย โดยอนุโลม การสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ไม่มีผลกระทบต่องบการเงินที่มีการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี และงบการเงินนั้นได้ยื่นต่อสํานักงานก่อนวันที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบนั้น หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๘ ให้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศนี้ ตามระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ และให้ผู้สอบบัญชีดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ ข้อ ๒๙ คําขอความเห็นชอบหรือคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกิจการในตลาดทุนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน แต่ยังมิได้มีการแจ้งผลการพิจารณาตามคําขอดังกล่าวก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้การพิจารณาคําขอนั้นอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ด้วย ข้อ ๓๐ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓๑ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี โดยกําหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชีเพิ่มเติมซึ่งรวมถึงการกําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มีระบบควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีตามมาตรฐานที่กําหนดเพื่อเป็นการยกระดับความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินของกิจการในตลาดทุน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดและแนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการอํานวยความสะดวกให้บริษัทไทยสามารถระดมทุนในต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,079
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 9/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 9/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 2) โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของกิจการที่กําหนดตามบทบัญญัติหรือข้อกําหนดดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในตลาดทุน รวมทั้งการดําเนินการกับผู้สอบบัญชีในตลาดทุนที่ไม่มีคุณสมบัติหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ตลอดจนกําหนดคุณสมบัติและองค์ประกอบของคณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีให้มีความชัดเจน สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งใบอนุญาตยังไม่สิ้นผล (2) เป็นหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีหรือเทียบเท่า หรือเป็นหุ้นส่วนในสํานักงานสอบบัญชีหรือเทียบเท่า (3) ปฏิบัติงานสอบบัญชีมาแล้วเป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี ทั้งนี้ การปฏิบัติงานสอบบัญชีครอบคลุมถึงการเป็นผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงาน (Engagement Quality Control Reviewer) และผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี (4) ปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีในช่วงห้าปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน เว้นแต่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) เป็นผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีในช่วงห้าปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน และได้ปฏิบัติงานในฐานะผู้ควบคุมงานสอบบัญชี หรือผู้สอบทานงานขั้นสุดท้ายก่อนที่ผู้สอบบัญชีจะลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี รวมเป็นหกปี (ข) เป็นผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในช่วงห้าปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน และได้ปฏิบัติงานในฐานะผู้ควบคุมงานสอบบัญชี หรือผู้สอบทานงานขั้นสุดท้ายก่อนที่ผู้สอบบัญชีจะลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี รวมเป็นหกปี (5) แสดงได้ว่าได้ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการไม่น้อยกว่าสามกิจการ ในปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน โดยกิจการดังกล่าวต้องไม่มีการประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกันทั้งหมด และมีปริมาณและความซับซ้อนของธุรกรรมในระดับที่เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นถึงความรู้และความสามารถของผู้สอบบัญชี และคุณภาพงานสอบบัญชี (6) สังกัดสํานักงานสอบบัญชีเพียงหนึ่งแห่ง โดยสํานักงานสอบบัญชีที่สังกัดต้องมีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 11 (7) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในส่วนที่ 3” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี (ข) เคยมีประวัติถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตครั้งใหม่มาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปี ก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน (ค) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ในช่วงสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน เว้นแต่เหตุที่ทําให้คณะกรรมการจรรยาบรรณดังกล่าวสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นเหตุเดียวกับที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกิจการในตลาดทุน” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 “คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีตามวรรคหนึ่ง (2) ต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านการสอบบัญชีในช่วงสามปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ปรึกษาดังกล่าว” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 ข้อ 23 และข้อ 24 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 22 ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินด้วยความรับผิดชอบตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) ดําเนินการให้งบการเงินของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและบริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ผ่านการพิจารณาของผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงาน (Engagement Quality Control Reviewer) ก่อนลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินนั้น (3) ในการสอบบัญชีของบริษัทตามข้อ 3(2) หรือ (7) ให้ผู้สอบบัญชีจัดทําบทสรุปประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีจากการตรวจสอบหรือการสอบทานงบการเงิน แล้วแต่กรณี ตามแบบ 61-4 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานจํานวนหนึ่งฉบับสําหรับงบการเงินของแต่ละบริษัท และจัดส่งให้แก่บริษัทพร้อมกับรายงานของผู้สอบบัญชี (4) จัดทําคําชี้แจงหรือนําส่งข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสอบบัญชี หรือดําเนินการอื่นใดในการให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ตามที่สํานักงานร้องขอ ข้อ 23 ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรายใดสังกัดสํานักงานสอบบัญชีมากกว่าหนึ่งแห่งโดยไม่เป็นไปตามข้อ 10(6) หรือสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มิได้มีลักษณะตามข้อ 11(2) ให้ผู้สอบบัญชีรายนั้นดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กําหนดภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้ถูกต้องนั้น เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันในเรื่องระยะเวลาจากสํานักงาน ข้อ 24 ให้ผู้สอบบัญชีแจ้งการเปลี่ยนแปลงสํานักงานสอบบัญชีที่สังกัดตามแบบ 61-3 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของการปฏิบัติงานในสํานักงานสอบบัญชีเดิม” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 26 ให้การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนสิ้นสุดลงเมื่อ (1) ผู้สอบบัญชีได้แจ้งต่อสํานักงานเป็นหนังสือถึงความประสงค์ที่จะยุติการปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2) ผู้สอบบัญชีมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 10(1) หรือ (2) (3) ผู้สอบบัญชีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 15(1) (2)(ก) หรือ (ข) (4) หรือ (5) (4) สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือสั่งพักการให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่” ข้อ 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 “ข้อ 27/1 ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุตามที่กําหนดในข้อ 27 วรรคหนึ่งสํานักงานอาจไม่ยกกรณีดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุในการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้ หากเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้สอบบัญชีปฏิบัติตามบทลงโทษที่เสนอโดยผู้สอบบัญชีนั้นเอง (Enforceable Undertaking) ซึ่งสํานักงานเห็นชอบด้วยตามที่เสนอนั้น (2) ผู้สอบบัญชีกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามที่สํานักงานสั่ง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เหตุดังกล่าวมีลักษณะไม่ร้ายแรง หรือมิได้ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสําคัญ” ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,080
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 44/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 44/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 3) โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของกิจการที่กําหนดตามบทบัญญัติหรือข้อกําหนดดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงกระบวนการและระยะเวลาในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เมื่อคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุนลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว สํานักงานจะดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจงข้อสังเกตนั้น โดยจะดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับ เอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ สํานักงานจะกําหนดระยะเวลาเพื่อให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจงข้อสังเกตไว้ในหนังสือแจ้ง โดยระยะเวลาดังกล่าวจะไม่น้อยกว่าสิบสี่วันแต่ไม่เกินยี่สิบเอ็ดวัน ข้อ 9 สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขอความเห็นชอบ หรือนับแต่วันครบกําหนดระยะเวลาให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจงในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบไม่ชี้แจงภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามข้อ 8” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 ในการยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน สํานักงานจะดําเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กําหนดไว้ในข้อ 8 และข้อ 9 ในระหว่างการยื่นขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้สอบบัญชีที่ได้ดําเนินการดังต่อไปนี้สามารถลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการตามข้อ 3 ต่อไปได้ แต่ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดอายุการให้ความเห็นชอบตามข้อ 12 (1) ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายจากกิจการตามข้อ 3 ก่อนระยะเวลาการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามข้อ 12 จะสิ้นสุดลง (2) ได้ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อยสองเดือนก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ และยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบจากสํานักงาน” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,081
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 23/2559 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 23/2559 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 4) โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัตตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของกิจการที่กําหนดตามบทบัญญัติหรือข้อกําหนดดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในการออกข้อกําหนดเพื่อการดังกล่าวสํานักงานได้กําหนดให้มีคณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีเพื่อให้ความเห็นต่อสํานักงานในการพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และโดยที่สํานักงานได้มีการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีชุดใหม่เพื่อให้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังคงปฏิบัติงานด้านการสอบบัญชีในปัจจุบันเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ข้อกําหนดเกี่ยวกับอัตราส่วนของมติของคณะที่ปรึกษาดังกล่าวมีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสัดส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละคราว โดยยังคงเป็นไปตามหลักการมติเสียงข้างมาก และหลักการที่ผู้กํากับดูแลผู้สอบบัญชีในตลาดทุนจะต้องดําเนินงานด้วยความเป็นอิสระจากผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว จึงควรยกเลิกข้อกําหนดเกี่ยวกับอัตราส่วนมติของคณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีที่กําหนดไว้ในประกาศ โดยจะนําข้อกําหนดที่เป็นไปตามหลักการข้างต้นไประบุไว้ในคําสั่งแต่งตั้งคณะที่ปรึกษานั้นแทน สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 20 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 27 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นําข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19(1) และข้อ 21(3) มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้สอบบัญชีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 22(1) หรือข้อ 25(1) หรือ (2) ให้นําข้อ 19(2) มาใช้บังคับด้วย โดยอนุโลม” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,082
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 27/2560 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 27/2560 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของกิจการที่กําหนดตามบทบัญญัติหรือข้อกําหนดดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการดําเนินการกับผู้สอบบัญชีในตลาดทุนที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชี ซึ่งมีระบบควบคุมคุณภาพงานไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 27/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 9/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 “(3) สํานักงานสอบบัญชีสามารถแก้ไขระบบควบคุมคุณภาพงานให้เป็นไปตามข้อ 11(1) ได้ ภายในระยะเวลาที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,083
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 40/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 6)
-ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 40 /2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 6 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของกิจการที่กําหนดตามบทบัญญัติหรือข้อกําหนดดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีมาตรการการเปิดเผยการดําเนินงานของสํานักงานในกรณีที่ผู้สอบบัญชีในตลาดทุนฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 27/2 ในหมวด 3 การสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบและบทบังคับอื่น แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 “ข้อ 27/2 เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุตามข้อ 27 วรรคหนึ่ง สํานักงานอาจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการของสํานักงานต่อบุคคลใด ๆ ตามอํานาจที่กําหนดในมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,084
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 60/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 60/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ข้อ 11(6) (ข) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2557 กําหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งตามกฎหมายไทยและประกอบธุรกิจอื่นอยู่แล้วก่อนวันที่ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง และการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ต้องมีงบการเงินประจําปีงวดการบัญชีปีล่าสุดที่ผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ดังนั้น เพื่อให้หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีมีความชัดเจนยิ่งขึ้น สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 “(4/1) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามข้อ 11(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,085
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 68/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 68/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 8) โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของกิจการที่กําหนดตามบทบัญญัติหรือข้อกําหนดดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้สอบบัญชีในตลาดทุนให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 9/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,086
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 19/2564 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สช. 19/2564เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน(ฉบับที่ 9) โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดการกองทุนรวม กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบ งบการเงินของกิจการที่กําหนดตามบทบัญญัติหรือข้อกําหนดดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน และโดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีในตลาดทุนและการดํารงคุณสมบัติ ให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสภาพของการสอบบัญชีในปัจจุบัน รวมทั้งเพิ่มความชัดเจน ในส่วนของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับคณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชี สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุนลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 9/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งใบอนุญาตยังไม่สิ้นผล (2) เป็นหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีหรือเทียบเท่า หรือเป็นหุ้นส่วนในสํานักงานสอบบัญชีหรือเทียบเท่า (3) มีประสบการณ์การปฏิบัติงานสอบบัญชีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการไม่น้อยกว่าสองกิจการ ซึ่งมีปริมาณและความซับซ้อนของธุรกรรมในระดับที่เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นถึงความรู้และความสามารถของผู้สอบบัญชีและคุณภาพงานสอบบัญชี เป็นเวลาไม่น้อยกว่า หนึ่งปีในช่วงห้าปีก่อนวันยื่นคําขอรับความเห็นชอบ และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ 1. ปฏิบัติงานสอบบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดปีไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ ทั้งนี้ การปฏิบัติงานสอบบัญชีดังกล่าวครอบคลุมถึงการเป็นผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงาน และผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี 2. ในช่วงระยะเวลาตาม 1. ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี หรือผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงาน หรือผู้ควบคุมงานสอบบัญชี หรือผู้สอบทานงานขั้นสุดท้ายก่อนที่ผู้สอบบัญชีจะลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี ไม่น้อยกว่าสี่ปี (ข) เป็นผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานในการสอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในช่วงห้าปีก่อนวันยื่นคําขอรับความเห็นชอบ และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ 1. ปฏิบัติงานสอบบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดปีไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ ทั้งนี้ การปฏิบัติงานสอบบัญชีดังกล่าวครอบคลุมถึงการเป็นผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงาน ผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงาน และผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี 2. ในช่วงระยะเวลาตาม 1. ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงาน หรือผู้ควบคุมงานสอบบัญชี หรือผู้สอบทานงานขั้นสุดท้ายก่อนที่ผู้สอบบัญชีจะลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ไม่น้อยกว่าสี่ปี (4) สังกัดสํานักงานสอบบัญชีเพียงหนึ่งแห่ง โดยสํานักงานสอบบัญชีที่สังกัดต้องมีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 11 (5) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในส่วนที่ 3” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 19 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) เสนอข้อเท็จจริง ข้อกล่าวหา และข้อโต้แย้ง รวมทั้งคําชี้แจงของผู้ถูกพิจารณา (ถ้ามี) ให้คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีพิจารณาให้ความเห็นหรือข้อแนะนํา เพื่อประกอบการพิจารณาของสํานักงาน และหากคณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีประสงค์จะให้ผู้ถูกพิจารณาชี้แจงเพิ่มเติม สํานักงานจะจัดให้มีการชี้แจงเช่นนั้น” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 9/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 23 ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรายใดไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ให้ผู้สอบบัญชีรายดังกล่าวดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กําหนดภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้ถูกต้องนั้น เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันในเรื่องระยะเวลาจากสํานักงาน 1. การดํารงตําแหน่งในสํานักงานสอบบัญชีตามข้อ 10(2) 2. สังกัดสํานักงานสอบบัญชีมากกว่าหนึ่งแห่งโดยไม่เป็นไปตามข้อ 10(4) 3. สังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มิได้มีลักษณะตามข้อ 11(2)” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 26 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ลงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 9/2558 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ผู้สอบบัญชีมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 10(1)” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,087
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สช. 39/2553 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (ฉบับประมวล)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 61 มาตรา 89 มาตรา 106 มาตรา 199 และมาตรา 217 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการออกและการเสนอขายหลักทรัพย์ ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุน และมาตรา 59แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของกิจการที่กําหนดตามบทบัญญัติหรือข้อกําหนดดังกล่าวต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงานออกข้อกําหนดเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไปเว้นแต่ข้อ 10(3) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ข้อ 3 ประกาศนี้ใช้บังคับกับการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของกิจการในตลาดทุนโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้สามารถสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (2) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่อสํานักงาน (3) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งมีผู้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (4) บริษัทหลักทรัพย์ (4/1)( บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามข้อ 11(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 (5) กองทุนรวม (6) กองทุนส่วนบุคคลที่สํานักงานประกาศกําหนดตามมาตรา 140 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (7) บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จดทะเบียน (8) บริษัทที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (9) กองทรัสต์ตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ข้อ 4 ในกรณีที่มีประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในเรื่องใดเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว มิให้นําประกาศนี้มาใช้บังคับ ข้อ 5 ให้ถือว่าสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบ จากสํานักงานในการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการตามข้อ 3 โดยไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของประกาศนี้ ข้อ 6 ในประกาศนี้ (1) “สํานักงานสอบบัญชี” หมายความว่า สํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด และปฏิบัติงาน (2) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (ก) ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) บริษัทประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยหรือกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต (ค) สถาบันการเงินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (3) “จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี” หมายความว่า (ก) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี (ข) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดโดย International Federation of Accountants (IFAC) ในกรณีที่สภาวิชาชีพบัญชียังไม่ได้กําหนดหรือปรับปรุงจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดโดย International Federation of Accountants (IFAC) (4) “คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชี” หมายความว่า คณะบุคคลที่สํานักงานแต่งตั้งเพื่อให้คําปรึกษาและเสนอแนะเกี่ยวกับการกํากับดูแลผู้สอบบัญชีในตลาดทุน หมวด 1การขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1การยื่นคําขอความเห็นชอบ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7 ให้บุคคลที่ประสงค์จะเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงานตามแบบ 61-1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) หนังสือรับรองและยินยอมของสํานักงานสอบบัญชีที่บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบสังกัด ซึ่งรับรองและยินยอมในเรื่องดังนี้ ทั้งนี้ ตามแบบ 61-2 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ก) รับรองว่าสํานักงานสอบบัญชีดังกล่าวมีระบบควบคุมคุณภาพงานตามข้อ 11(1) และยินยอมให้ผู้แทนของสํานักงานเข้าตรวจระบบดังกล่าว (ข) รับรองว่าหากผู้สอบบัญชีที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชีนั้นได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว สํานักงานสอบบัญชีจะดูแลและพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดตามข้อ 11(1) และยินยอมให้ผู้แทนของสํานักงานเข้าตรวจระบบดังกล่าวเมื่อได้รับแจ้งจากสํานักงาน (2) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ให้บุคคลที่ยื่นคําขอความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอความเห็นชอบตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียนและการยื่นคําขอต่าง ๆ เมื่อคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ข้อ 8( เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว สํานักงานจะดําเนินการสอบทานข้อเท็จจริงตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนและแจ้งประเด็นข้อสังเกตที่ได้จากการสอบทานข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจงข้อสังเกตนั้น โดยจะดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ สํานักงานจะกําหนดระยะเวลาเพื่อให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจงข้อสังเกตไว้ในหนังสือแจ้ง โดยระยะเวลาดังกล่าวจะไม่น้อยกว่าสิบสี่วันแต่ไม่เกินยี่สิบเอ็ดวัน ข้อ 9( สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําชี้แจงต่อข้อสังเกตจากการสอบทานข้อเท็จจริงจากผู้ขอความเห็นชอบหรือนับแต่วันครบกําหนดระยะเวลาให้ผู้ขอความเห็นชอบชี้แจงในกรณีที่ผู้ขอความเห็นชอบไม่ชี้แจงภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดตามข้อ 8 ส่วนที่ 2หลักเกณฑ์และระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 10( ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งใบอนุญาตยังไม่สิ้นผล (2) เป็นหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีหรือเทียบเท่า หรือเป็นหุ้นส่วนในสํานักงานสอบบัญชีหรือเทียบเท่า (3) มีประสบการณ์การปฏิบัติงานสอบบัญชีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เป็นผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการไม่น้อยกว่าสองกิจการ ซึ่งมีปริมาณและความซับซ้อนของธุรกรรมในระดับที่เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นถึงความรู้และความสามารถของผู้สอบบัญชีและคุณภาพงานสอบบัญชี เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในช่วงห้าปีก่อนวันยื่นคําขอรับความเห็นชอบ และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ 1. ปฏิบัติงานสอบบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดปีไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ทั้งนี้ การปฏิบัติงานสอบบัญชีดังกล่าวครอบคลุมถึงการเป็นผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงาน และผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี 2. ในช่วงระยะเวลาตาม 1. ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี หรือผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงาน หรือผู้ควบคุมงานสอบบัญชี หรือผู้สอบทานงานขั้นสุดท้ายก่อนที่ผู้สอบบัญชีจะลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี ไม่น้อยกว่าสี่ปี (ข) เป็นผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานในการสอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในช่วงห้าปีก่อนวันยื่นคําขอรับความเห็นชอบ และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ 1. ปฏิบัติงานสอบบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดปีไม่ว่าจะติดต่อกันหรือไม่ทั้งนี้ การปฏิบัติงานสอบบัญชีดังกล่าวครอบคลุมถึงการเป็นผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงาน และผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี 2. ในช่วงระยะเวลาตาม 1. ต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงาน หรือผู้ควบคุมงานสอบบัญชี หรือผู้สอบทานงานขั้นสุดท้ายก่อนที่ผู้สอบบัญชีจะลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ไม่น้อยกว่าสี่ปี (4) สังกัดสํานักงานสอบบัญชีเพียงหนึ่งแห่ง โดยสํานักงานสอบบัญชีที่สังกัดต้องมีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในข้อ 11 (5) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในส่วนที่ 3 ข้อ 11 สํานักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีในตลาดทุนสังกัดอยู่ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีระบบควบคุมคุณภาพงานที่เพียงพอและน่าเชื่อถือว่าจะสามารถดูแลให้ผู้สอบบัญชีในสังกัดปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพบัญชีได้อย่างต่อเนื่อง โดยระบบควบคุมคุณภาพงานดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพงานที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี เว้นแต่มาตรฐานใดที่สภาวิชาชีพบัญชียังไม่ได้กําหนดหรือปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพระหว่างประเทศ ให้ใช้มาตรฐานวิชาชีพระหว่างประเทศที่กําหนดโดย International Federation of Accountants (IFAC) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น (2) มีจํานวนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นผลหรือไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และผู้ช่วยผู้สอบบัญชีที่มีคุณวุฒิด้านบัญชีไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีและเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี รวมกันไม่น้อยกว่าห้าคน ซึ่งต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาให้กับสํานักงานสอบบัญชีทั้งนี้ ในส่วนของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วย (ก) ในกรณีที่สํานักงานสอบบัญชีมีผู้สอบบัญชีที่ได้หรือจะได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนปฏิบัติงานเต็มเวลาให้กับสํานักงานสอบบัญชี สํานักงานสอบบัญชีนั้นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่น้อยกว่าสองคน (ข) ในกรณีที่สํานักงานสอบบัญชีมีผู้สอบบัญชีที่ได้หรือจะได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนมิได้ปฏิบัติงานเต็มเวลาให้กับสํานักงานสอบบัญชี สํานักงานสอบบัญชีนั้นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่น้อยกว่าสี่คน ในการพิจารณาความเพียงพอและความน่าเชื่อถือของระบบควบคุมคุณภาพงานตาม (1)ของวรรคหนึ่ง สํานักงานจะเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นที่ได้จากการตรวจให้คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีพิจารณาให้ความเห็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของสํานักงานด้วย เว้นแต่เป็นกรณีการขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศนี้อยู่แล้ว และไม่มีประเด็นที่สํานักงานเห็นว่าจําเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม ข้อ 12 การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนมีกําหนดระยะเวลาคราวละไม่เกินห้าปีตามที่สํานักงานกําหนดไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบ ข้อ 13 เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามประกาศนี้ เมื่อสํานักงานร้องขอ ให้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานชี้แจง ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการ หรือไม่ดําเนินการใด ๆ ตามที่ร้องขอนั้น ข้อ 14( ในการยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน สํานักงานจะดําเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กําหนดไว้ในข้อ 8 และข้อ 9 ในระหว่างการยื่นขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้สอบบัญชีที่ได้ดําเนินการต่อไปนี้สามารถลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของกิจการตามข้อ 3 ต่อไปได้ แต่ไม่เกินสามเดือนนับแต่วันสิ้นสุดอายุการให้ความเห็นชอบตามข้อ 12 (1) ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายจากกิจการตามข้อ 3 ก่อนระยะเวลาการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีตามข้อ 12 จะสิ้นสุดลง (2) ได้ยื่นคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อยสองเดือนก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบ และยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบจากสํานักงาน ส่วนที่ 3ลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชีในตลาดทุน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 15 ผู้สอบบัญชีในตลาดทุนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2)( เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี (ข) เคยมีประวัติถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตครั้งใหม่มาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปี ก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน (ค) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ในช่วงสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน เว้นแต่เหตุที่ทําให้คณะกรรมการจรรยาบรรณดังกล่าวสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นเหตุเดียวกับที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกิจการในตลาดทุน (3) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกิจการในตลาดทุน หรืออยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดว่าสํานักงานจะไม่รับพิจารณาคําขอ (4) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากการกล่าวโทษของสํานักงาน ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จะได้พ้นโทษหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน ทั้งนี้เฉพาะความผิดดังต่อไปนี้ (ก) ความผิดเกี่ยวกับการกระทําโดยทุจริต หรือการสนับสนุนการกระทําผิดของบุคคลอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี (ข) ความผิดเกี่ยวกับเอกสารหรือบัญชี เช่น ปลอมเอกสาร ใช้หรืออ้างเอกสารปลอมหรือเท็จ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสาร หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําความผิดเกี่ยวกับบัญชีหรือเอกสารตามมาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือมาตรา 148 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 เป็นต้น (ค) ความผิดเกี่ยวกับการสอบบัญชีซึ่งไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดหรือทํารายงานการสอบบัญชีเท็จ เช่น ความผิดตามมาตรา 287 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นต้น (ง) ความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากการกล่าวโทษของหน่วยงานดังกล่าวไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จะได้พ้นโทษหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันที่ยื่นคําขอความเห็นชอบต่อสํานักงาน ทั้งนี้ เฉพาะความผิดตาม (4) ข้อ 16 ผู้สอบบัญชีในตลาดทุนต้องไม่มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ (1) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี หรือมีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (2) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงที่เป็นสาระสําคัญอันควรแจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือยื่นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน รวมทั้งมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (3) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือหลอกลวงผู้อื่น และมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น ข้อ 17 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลใดมีพฤติกรรมตามข้อ 16 มาแล้วเกินกว่าสิบปี หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมดังกล่าวมิได้มีลักษณะร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรได้รับความไว้วางใจหรือความน่าเชื่อถือให้ปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน สํานักงานอาจไม่ยกข้อเท็จจริงในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ข้อ 18 ในการพิจารณาความร้ายแรงตามข้อ 17 สํานักงานจะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรือการกระทําของผู้สอบบัญชีเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงานนํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึง (1) บทบาทความเกี่ยวข้อง และนัยสําคัญของพฤติกรรม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรม เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (2) การลงโทษอื่นที่ผู้สอบบัญชีนั้นได้รับไปแล้ว (3) ผลกระทบหรือความเสียหายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น (4) การแก้ไขหรือดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมทํานองเดียวกันนั้นซ้ําอีก (5) พฤติกรรมของผู้สอบบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือการดําเนินการการปิดบังอําพรางหรือทําลายหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น (6) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (7) ประวัติพฤติกรรมในช่วงสิบปีก่อนที่สํานักงานจะพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามในแต่ละกรณี เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น ข้อ 19 ในการพิจารณาพฤติกรรมตามข้อ 16 สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง (2)( เสนอข้อเท็จจริง ข้อกล่าวหา และข้อโต้แย้ง รวมทั้งคําชี้แจงของผู้ถูกพิจารณา(ถ้ามี) ให้คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีพิจารณาให้ความเห็นหรือข้อแนะนํา เพื่อประกอบการพิจารณาของสํานักงาน และหากคณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีประสงค์จะให้ผู้ถูกพิจารณาชี้แจงเพิ่มเติม สํานักงานจะจัดให้มีการชี้แจงเช่นนั้น (คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีตามวรรคหนึ่ง (2) ต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านการสอบบัญชีในช่วงสามปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ปรึกษาดังกล่าว ข้อ 20( ยกเลิก ข้อ 21 ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลใดมีพฤติกรรมตามข้อ 16 สํานักงานอาจดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) ปฏิเสธการให้ความเห็นชอบผู้ถูกพิจารณาที่ยื่นขอความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (2) สั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในหมวด 3 (3) กําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลนั้นในคราวต่อไป โดยกําหนดระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เกินสิบปี สําหรับพฤติกรรมในแต่ละกรณี ทั้งนี้ สํานักงานอาจแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนดไปแล้วนั้นได้ หากปรากฏภายหลังว่ามีกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรมตามข้อ 16 เพิ่มเติม หมวด 2หน้าที่ภายหลังได้รับความเห็นชอบ\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1หน้าที่ของผู้สอบบัญชีในตลาดทุน\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22( ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินด้วยความรับผิดชอบตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) ดําเนินการให้งบการเงินของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและบริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ผ่านการพิจารณาของผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงาน (Engagement Quality Control Reviewer) ก่อนลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินนั้น (3)( ยกเลิก (4) จัดทําคําชี้แจงหรือนําส่งข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสอบบัญชี หรือดําเนินการอื่นใดในการให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ตามที่สํานักงานร้องขอ ข้อ 23( ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรายใดไม่สามารถดํารงคุณสมบัติดังต่อไปนี้ให้ผู้สอบบัญชีรายดังกล่าวดําเนินการแก้ไขเพื่อให้มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กําหนดภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติให้ถูกต้องนั้น เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันในเรื่องระยะเวลาจากสํานักงาน (1) การดํารงตําแหน่งในสํานักงานสอบบัญชีตามข้อ 10(2) (2) สังกัดสํานักงานสอบบัญชีมากกว่าหนึ่งแห่งโดยไม่เป็นไปตามข้อ 10(4) (3) สังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มิได้มีลักษณะตามข้อ 11(2) ข้อ 24( ให้ผู้สอบบัญชีแจ้งการเปลี่ยนแปลงสํานักงานสอบบัญชีที่สังกัดตามแบบ 61-3ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของการปฏิบัติงานในสํานักงานสอบบัญชีเดิม ส่วนที่ 2หน้าที่เพิ่มเติมของผู้สอบบัญชีในตลาดทุนที่เป็นหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชี\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 25 นอกเหนือจากหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้แล้ว ผู้สอบบัญชีที่เป็นหัวหน้าสํานักงานสอบบัญชีต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย (1) จัดให้มีระบบควบคุมคุณภาพงานที่เป็นไปตามข้อ 11(1) (2) ดูแลให้ผู้สอบบัญชีในสังกัดปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินด้วยความรับผิดชอบตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) ให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่ผู้แทนของสํานักงานที่เข้าตรวจระบบควบคุมคุณภาพงาน (4) จัดทําคําชี้แจงหรือนําส่งข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสอบบัญชี หรือดําเนินการอื่นใดในการให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ตามที่สํานักงานร้องขอ หมวด 3การสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบและบทบังคับอื่น\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 26( ให้การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนสิ้นสุดลงเมื่อ (1) ผู้สอบบัญชีได้แจ้งต่อสํานักงานเป็นหนังสือถึงความประสงค์ที่จะยุติการปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (2)( ผู้สอบบัญชีมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 10(1) (3) ผู้สอบบัญชีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 15(1) (2)(ก) หรือ (ข) (4) หรือ (5) (4) สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบหรือสั่งพักการให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ ข้อ 27 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุนตามสมควรแก่กรณี (1) ผู้สอบบัญชีไม่ดําเนินการตามข้อ 13 (2) ผู้สอบบัญชีมีพฤติกรรมตามข้อ 16 (3) ผู้สอบบัญชีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 22 หรือข้อ 25 (4) ผู้สอบบัญชีไม่สามารถแก้ไขให้ตนเองดํารงคุณสมบัติตามข้อ 23 ได้ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในข้อดังกล่าว (5) ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีรายใดสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มีระบบควบคุมคุณภาพงานไม่เป็นไปตามข้อ 11(1) หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าระบบควบคุมคุณภาพงานจะบกพร่องและสํานักงานสอบบัญชีไม่ให้ความร่วมมือหรือยินยอมให้ผู้แทนของสํานักงานเข้าตรวจระบบดังกล่าว (ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้นําข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19(1) และข้อ 21(3) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้สอบบัญชีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 22(1) หรือข้อ 25(1) หรือ (2) ให้นําข้อ 19(2) มาใช้บังคับด้วย โดยอนุโลม การสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ไม่มีผลกระทบต่องบการเงินที่มีการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี และงบการเงินนั้นได้ยื่นต่อสํานักงานก่อนวันที่สํานักงานสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบนั้น ข้อ 27/1( ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุตามที่กําหนดในข้อ 27 วรรคหนึ่งสํานักงานอาจไม่ยกกรณีดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุในการสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้หากเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้สอบบัญชีปฏิบัติตามบทลงโทษที่เสนอโดยผู้สอบบัญชีนั้นเอง (Enforceable Undertaking) ซึ่งสํานักงานเห็นชอบด้วยตามที่เสนอนั้น (2) ผู้สอบบัญชีกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามที่สํานักงานสั่ง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เหตุดังกล่าวมีลักษณะไม่ร้ายแรง หรือมิได้ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสําคัญ (3)( สํานักงานสอบบัญชีสามารถแก้ไขระบบควบคุมคุณภาพงานให้เป็นไปตามข้อ 11(1) ได้ภายในระยะเวลาที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน ข้อ 27/2( เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุตามข้อ 27 วรรคหนึ่ง สํานักงานอาจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินการของสํานักงานต่อบุคคลใด ๆ ตามอํานาจที่กําหนดในมาตรา 24/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หมวด 4บทเฉพาะกาล\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 28 ให้ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตามประกาศนี้ ตามระยะเวลาการให้ความเห็นชอบที่เหลืออยู่ และ ให้ผู้สอบบัญชีดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ ข้อ 29 คําขอความเห็นชอบหรือคําขอต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชี ของกิจการในตลาดทุนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน แต่ยังมิได้มีการแจ้งผลการพิจารณาตามคําขอดังกล่าว ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้การพิจารณาคําขอนั้นอยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ด้วย ข้อ 30 ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบ ผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและ หนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 31 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 21/2546 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2546 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชี ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,088
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สช. 32/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 32/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ข้อ 18(3) (ข) และข้อ 47 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2561 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศเกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “สํานักงานสอบบัญชี” หมายความว่า สํานักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัดและปฏิบัติงาน “จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี” หมายความว่า (1) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี (2) จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดโดย International Federation of Accountants (IFAC) ในกรณีที่สภาวิชาชีพบัญชียังไม่ได้กําหนดหรือปรับปรุงจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่กําหนดโดย International Federation of Accountants (IFAC) “คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชี” หมายความว่า คณะบุคคลที่สํานักงานแต่งตั้งเพื่อให้คําปรึกษาและเสนอแนะเกี่ยวกับการกํากับดูแลผู้สอบบัญชีในตลาดทุน หมวด ๑ การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ให้ถือว่าบุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ในการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล (1) ผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน (2) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่สังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่มีผู้สอบบัญชีตาม (1) สังกัดอยู่ ซึ่งสํานักงานสอบบัญชีดังกล่าวมีลักษณะตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีในตลาดทุน และการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตดังกล่าวอยู่ภายใต้ระบบการควบคุมคุณภาพ ของสํานักงานสอบบัญชีนั้น ข้อ ๔ ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 3 ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามหมวด 2 และดํารงตนมิให้มีลักษณะต้องห้ามหรือพฤติกรรมตามหมวด 3 หมวด ๒ หน้าที่ของผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล ภายหลังได้รับความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ผู้สอบบัญชีต้องปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินด้วยความรับผิดชอบตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๖ ให้ผู้สอบบัญชีจัดทําบทสรุปประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีจากการตรวจสอบหรือการสอบทานงบการเงิน แล้วแต่กรณี ตามแบบ 61-4 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. จํานวน 1 ฉบับ สําหรับงบการเงินของแต่ละผู้ออกโทเคนดิจิทัล และจัดส่งให้แก่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลพร้อมกับรายงานของผู้สอบบัญชี ข้อ ๗ ให้ผู้สอบบัญชีจัดทําคําชี้แจงหรือนําส่งข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสอบบัญชี หรือดําเนินการอื่นใดในการให้ความร่วมมือกับสํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ร้องขอ หมวด ๓ ลักษณะต้องห้ามของผู้สอบบัญชี ที่ได้รับความเห็นชอบ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ ผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี (ข) เคยมีประวัติถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตครั้งใหม่มาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนวันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล (ค) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตโดยคณะกรรมการจรรยาบรรณตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีในช่วง 3 ปีก่อนวันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล เว้นแต่เหตุที่ทําให้คณะกรรมการจรรยาบรรณดังกล่าวสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นเหตุเดียวกับที่สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกิจการในตลาดทุน หรือสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล (3) อยู่ระหว่างการดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) ถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกิจการในตลาดทุน หรืออยู่ระหว่างระยะเวลาที่กําหนดว่าสํานักงาน ก.ล.ต. จะไม่รับพิจารณาคําขอดังกล่าว (ข) ถูกสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล (4) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน ก.ล.ต. หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากการกล่าวโทษ ของสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จะได้พ้นโทษหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนวันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะความผิดดังต่อไปนี้ (ก) ความผิดเกี่ยวกับการกระทําโดยทุจริต หรือการสนับสนุนการกระทําผิดของบุคคลอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี (ข) ความผิดเกี่ยวกับเอกสารหรือบัญชี เช่น ปลอมเอกสาร ใช้หรืออ้างเอกสารปลอมหรือเท็จ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสาร หรือมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําความผิดเกี่ยวกับบัญชีหรือเอกสารตามมาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 148 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือมาตรา 88 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 เป็นต้น (ค) ความผิดเกี่ยวกับการสอบบัญชีซึ่งไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนดหรือทํารายงานการสอบบัญชีเท็จ เช่น ความผิดตามมาตรา 287 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นต้น (ง) ความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์ดิจิทัล (5) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงิน ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเนื่องจากการกล่าวโทษของหน่วยงานดังกล่าว ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จะได้พ้นโทษหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนวันปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะความผิดตาม (4) ข้อ ๙ ผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องไม่มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ (1) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการขาดจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี หรือมีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีและข้อกําหนดเพิ่มเติมตามประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์รวมทั้งมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (2) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญหรือปกปิดข้อความจริงที่เป็นสาระสําคัญอันควรแจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือยื่นต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน ก.ล.ต. รวมทั้งมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น (3) มีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือหลอกลวงผู้อื่น และมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าวของบุคคลอื่น หมวด ๔ การสิ้นสุดการให้ความเห็นชอบและบทบังคับอื่น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ให้การให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัลสิ้นสุดลงเมื่อผู้สอบบัญชีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีเหตุดังต่อไปนี้ สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งพักการให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล ตามระยะเวลาที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดซึ่งต้องไม่เกินกว่า 10 ปี (1) ผู้สอบบัญชีมีพฤติกรรมตามข้อ 9 (2) ผู้สอบบัญชีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 การสั่งพักการให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีไม่มีผลกระทบต่องบการเงินที่มีการสอบบัญชีและลงลายมือชื่อเพื่อแสดงความเห็นในการสอบบัญชี และงบการเงินนั้นได้ยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนวันที่สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งพักการให้ความเห็นชอบนั้น ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบมีพฤติกรรมตามข้อ 9 มาแล้วเกินกว่า 10 ปี หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมดังกล่าวมิได้มีลักษณะร้ายแรงถึงขนาดที่ไม่สมควรได้รับความไว้วางใจหรือความน่าเชื่อถือให้ปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล สํานักงาน ก.ล.ต. อาจไม่ยกข้อเท็จจริงในกรณีนั้นมาเป็นเหตุในการพิจารณาพฤติกรรมของผู้สอบบัญชีดังกล่าว ข้อ ๑๓ ในการพิจารณาความร้ายแรงตามข้อ 12 สํานักงาน ก.ล.ต. จะคํานึงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรือการกระทําของผู้สอบบัญชีเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ปัจจัยที่สํานักงาน ก.ล.ต. นํามาใช้ประกอบการพิจารณาจะรวมถึง (1) บทบาทความเกี่ยวข้อง และนัยสําคัญของพฤติกรรม เช่น จํานวนเงินที่เกี่ยวข้อง ปริมาณธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้รับประโยชน์จากผลของพฤติกรรม เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน จงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น (2) การลงโทษอื่นที่ผู้สอบบัญชีนั้นได้รับไปแล้ว (3) ผลกระทบหรือความเสียหายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เช่น กระทบต่อตลาดเงินหรือตลาดทุน กระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือกระทบต่อบุคคลเฉพาะราย เป็นต้น (4) การแก้ไขหรือดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมทํานองเดียวกันนั้นซ้ําอีก (5) พฤติกรรมของผู้สอบบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน ก.ล.ต. เช่น การให้ข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาหรือการดําเนินการ การปิดบังอําพรางหรือทําลายหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เป็นต้น (6) ความซับซ้อนของลักษณะการกระทําหรือเครื่องมือที่ใช้ในการกระทํา เช่น การใช้ชื่อบุคคลอื่น หรือการตั้งบริษัทอําพราง เป็นต้น (7) ประวัติพฤติกรรมในช่วง 10 ปีก่อนที่สํานักงาน ก.ล.ต. จะพิจารณาการมีลักษณะต้องห้าม ในแต่ละกรณี เช่น เป็นพฤติกรรมครั้งแรก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดซ้ําหรือต่อเนื่อง เป็นต้น ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 5 สํานักงาน ก.ล.ต. จะเสนอข้อเท็จจริง ข้อกล่าวหา และข้อโต้แย้ง รวมทั้งคําชี้แจงของผู้ถูกพิจารณา (ถ้ามี) ให้คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีพิจารณาเพื่อให้ความเห็นหรือข้อแนะนํา และหากคณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีประสงค์จะให้ผู้ถูกพิจารณาชี้แจงเพิ่มเติม สํานักงาน ก.ล.ต. จะจัดให้มีการชี้แจงเช่นนั้น คณะที่ปรึกษาด้านการสอบบัญชีตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านการสอบบัญชีในช่วง 3 ปีก่อนวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ปรึกษาดังกล่าว ข้อ ๑๕ ในกรณีปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุตามที่กําหนดในข้อ 11 วรรคหนึ่งสํานักงาน ก.ล.ต. อาจไม่ยกกรณีดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุในการสั่งพักการให้ความเห็นชอบ หากเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้สอบบัญชีปฏิบัติตามบทลงโทษที่เสนอโดยผู้สอบบัญชีนั้นเอง (Enforceable Undertaking) ซึ่งสํานักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบด้วยตามที่เสนอนั้น (2) ผู้สอบบัญชีกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามที่ สํานักงาน ก.ล.ต. สั่ง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เหตุดังกล่าวมีลักษณะไม่ร้ายแรง หรือมิได้ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสําคัญ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,089
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สช. 69/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 69/2563 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่ข้อ 47 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 15/2561 เรื่อง การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 กําหนดให้ผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในรายงานการตรวจสอบงบการเงินของผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดังกล่าว สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สช. 32/2561 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีของผู้ออกโทเคนดิจิทัล ลงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,090
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 36/2561 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2561 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(1) ประกอบกับข้อ 9(8) และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยให้จัดเก็บตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ เว้นแต่มีหลักเกณฑ์กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศอื่น (1) หลักฐานประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้า การตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง และผู้มีอํานาจควบคุมของลูกค้า หลักฐานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า วัตถุประสงค์การลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนของลูกค้า รวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือทบทวนข้อมูลดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีการปิดบัญชีหรือเลิกสัญญากับลูกค้า โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที (2) หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนโดยในระยะเวลา 2 ปีแรกต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที (3) รายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่เผยแพร่รายงานหรือบทความการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้าโดยจัดเก็บไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที (4) บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลและการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนํา วันที่ได้รับคําสั่งซื้อ ขายหรือแลกเปลี่ยนหรือวันที่เจรจาตกลง ในกรณีที่การให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับลูกค้าได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บในรูปแบบของเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง เมื่อมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อ ขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับลูกค้า และการดําเนินการกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดเก็บบันทึกเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,091
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 36/2561 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2561 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(1) ประกอบกับข้อ 9(8) และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต.ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยให้จัดเก็บตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ เว้นแต่มีหลักเกณฑ์กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศอื่น (1) หลักฐานประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้า การตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง และผู้มีอํานาจควบคุมของลูกค้า หลักฐานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า วัตถุประสงค์การลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนของลูกค้า รวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือทบทวนข้อมูลดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีการปิดบัญชีหรือเลิกสัญญากับลูกค้า โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที (2)[1](#_ftn1) หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และการทําธุรกรรมใด ๆ ของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ในระยะเวลา 2 ปีแรกต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที (3) รายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่เผยแพร่รายงานหรือบทความการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้าโดยจัดเก็บไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที (4) บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลและการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่ให้คําแนะนํา วันที่ได้รับคําสั่งซื้อ ขายหรือแลกเปลี่ยนหรือวันที่เจรจาตกลง ในกรณีที่การให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับลูกค้าได้กระทําทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องจัดเก็บในรูปแบบของเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง เมื่อมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อ ขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับลูกค้า และการดําเนินการกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดเก็บบันทึกเกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าการดําเนินการกับข้อร้องเรียนจะแล้วเสร็จ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,092
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 74/2563 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 74/2563 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(1) ประกอบกับข้อ 9(8) และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต.ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2561 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และการทําธุรกรรมใด ๆ ของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ในระยะเวลา 2 ปีแรกต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,093
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 25/2565 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 25/2565 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3(1) ประกอบกับข้อ 9(8) และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 สํานักงาน ก.ล.ต.ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2561 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 74/2563 เรื่อง การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการดังนี้ ต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ในระยะเวลา 2 ปีแรกต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที (ก) การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ข) การทําธุรกรรมใด ๆ ของผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (ค) การรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (ค) คําว่า “การรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า การให้บริการลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) การรับฝากหรือเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ (ข) การบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส (cryptographic key) หรือสิ่งอื่นใดที่ต้องเก็บรักษาเป็นความลับ เพื่อใช้อนุมัติการโอนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีอํานาจเบ็ดเสร็จหรือบางส่วน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,094
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และข้อ 3 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2540 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2540 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2541 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2541 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 40/2543 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 7/2544 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2544 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2546 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2546 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (8) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2547 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (9) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 21/2547 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (10) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 36/2548 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบและคําอธิบายประกอบการคํานวณที่กําหนดตามข้อ 3 “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ “ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ในการยื่นรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์กับสํานักงาน ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1และคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่กําหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเป็นรายวันให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดไป โดยรายงานทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม (2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันทําการสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงานภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป (3) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีหนี้สินด้อยสิทธิหรือสัญญาเช่าทางการเงินใดที่ไม่ต้องนับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินรวม หรือมีเงินกู้ยืม หุ้นกู้ หรือภาระผูกพันใดที่นับรวมไว้ ในการคํานวณหนี้สินพิเศษ ให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งสําเนาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินหรือภาระผูกพันดังกล่าวต่อสํานักงานพร้อมกับแบบรายงานในงวดแรกที่บริษัทหลักทรัพย์นับรายการดังกล่าวรวมไว้ในรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าว (4) เก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของทุกวันพร้อมหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๕ เมื่อปรากฏว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันหนึ่งวันใดเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.5 เท่าของเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิขั้นต่ําที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องดํารงไว้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์เท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราข้างต้นและของทุกวันถัดไปต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทํารายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามข้อ 4(1) จนกว่าบริษัทหลักทรัพย์จะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้มากกว่าอัตราที่กําหนดข้างต้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองวันทําการติดต่อกัน และบริษัทหลักทรัพย์ได้ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของสองวันทําการนั้นต่อสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อสํานักงานในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นรายงานดังกล่าว ผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ. ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,095
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 24/2550 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2550 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 หน้า 1 ถึงหน้า 3 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความในส่วนที่ 3 หน้า 1 ถึงหน้า 3 ของแบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในหน้า 3 หน้า 5 หน้า 6 หน้า 17 หน้า 27 หน้า 29 หน้า 30 หน้า 33 หน้า 42 หน้า 45 หน้า 49 และหน้า 53 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความในหน้า 3 หน้า 5 หน้า 6 หน้า 17 หน้า 27 หน้า 29 หน้า 30 หน้า 33 หน้า 42 หน้า 45 หน้า 49 และหน้า 53 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,096
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 2/2552 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2552 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ----------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 1 หน้า 1 และหน้า 2 ส่วนที่ 2 หน้า 1 และส่วนที่ 5ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความในส่วนที่ 1 หน้า 1 และหน้า 2 และส่วนที่ 2 หน้า 1 และส่วนที่ 5 ของแบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 หน้า 2 และหน้า 3 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2550 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความในส่วนที่ 3 หน้า 2 และหน้า 3 ของแบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหน้า 4 หน้า 7 หน้า 10 หน้า 12 ถึงหน้า 15 หน้า 18 หน้า 19 หน้า 21 ถึงหน้า 24 หน้า 26 หน้า 32 หน้า 34 หน้า 36 หน้า 40 หน้า 41 หน้า 52 หน้า 55 หน้า 73 และหน้า 80 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความในหน้า 4 หน้า 7 หน้า 10 หน้า 12 ถึงหน้า 15 หน้า 18 หน้า 19 หน้า 21 ถึงหน้า 24 หน้า 26 หน้า 32 หน้า 34 หน้า 36 หน้า 40 หน้า 41 หน้า 52 หน้า 55 หน้า 73 และหน้า 80 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในหน้า 6 หน้า 17 และหน้า 33 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2550 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความในหน้า 6 หน้า 17 และหน้า 33 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 | | | | --- | --- | | | (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) | | | เลขาธิการ | | | สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ |
1,097
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 2/2553 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2 /2553 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) --------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 5 ของแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2552 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความในส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 5 ของแบบที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในหน้า 5 และหน้า 45 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2550 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความในหน้า 5 และหน้า 45 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหน้า 6 หน้า 7 หน้า 10 หน้า 12 ถึงหน้า 15 หน้า 17 หน้า 23 และหน้า 80 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2552 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความในหน้า 6 หน้า 7 หน้า 10 หน้า 12 ถึงหน้า 15 หน้า 17 หน้า 23 และหน้า 80 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในหน้า 11 และหน้า 16 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความในหน้า 11 และหน้า 16 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับนิยามคําว่า “หนี้สินพิเศษ” ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ จึงเห็นควรปรับปรุงแบบ บ.ล. 4/1 และคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาของประกาศดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,098
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 20/2554 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20 /2554 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5) ---------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในหน้า 1 และหน้า 51 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความในหน้า 1 และหน้า 51ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในหน้า 6 หน้า 17 และหน้า 45 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2553 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความในหน้า 6 หน้า 17 และหน้า 45ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหน้า 6 หน้า 17 และหน้า 45 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2553 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความในหน้า 6 หน้า 17 และหน้า 45 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,099