title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 20/2556 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20 /2556 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 6) ------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในหน้า 49 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2550 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความในหน้า 49 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในหน้า 4 หน้า 24 และหน้า 73 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2552 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความในหน้า 4 หน้า 24 และหน้า 73 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหน้า 13 และหน้า 23 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2553 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความในหน้า 13 และหน้า 23 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในหน้า 17 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2554 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความในหน้า 17 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,100
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 85/2558 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 85/2558 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในหน้า 52 ของคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2554 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความในหน้า 52 ของคําอธิบายที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,101
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 1/2559 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 1/2559 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณ เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 วรรคสาม แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 23/2549เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2550เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2552เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 2/2553เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 30/2554เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (6) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2556เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 (7) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 85/2558 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ “รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบและคําอธิบายประกอบการคํานวณที่กําหนดตามข้อ 3 ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 และคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเป็นรายวันให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดไป โดยรายงานทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม (2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันทําการสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงานภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (3) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีหนี้สินด้อยสิทธิหรือสัญญาเช่าทางการเงินใดที่ไม่ต้องนับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินรวม หรือมีเงินกู้ยืม หุ้นกู้ หรือภาระผูกพันใดที่นับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินพิเศษ ให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งสําเนาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินหรือภาระผูกพันดังกล่าวต่อสํานักงานพร้อมกับแบบรายงานในงวดแรกที่บริษัทหลักทรัพย์นับรายการดังกล่าวรวมไว้ในรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าว (4) เก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของทุกวันพร้อมหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้ หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๕ เมื่อปรากฏว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันหนึ่งวันใดเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.5 เท่าของเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิขั้นต่ําที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องดํารงไว้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์เท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราข้างต้นและของทุกวันถัดไปต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทํารายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามข้อ 4(1) จนกว่าบริษัทหลักทรัพย์จะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้มากกว่าอัตราที่กําหนดข้างต้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 วันทําการติดต่อกัน และบริษัทหลักทรัพย์ได้ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของ 2 วันทําการนั้นต่อสํานักงานแล้ว เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสงค์จะยื่นรายงานการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อสํานักงานในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นรายงานดังกล่าวผ่านระบบรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2557 ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,102
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 50/2560 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2560 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณ เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2560 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 1/2559 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ “รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบและคําอธิบายประกอบการคํานวณที่กําหนดตามข้อ 3 ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 และคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเป็นรายวันให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดไป โดยรายงานทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม (2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันทําการสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงานภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (3) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีหนี้สินด้อยสิทธิหรือสัญญาเช่าทางการเงินใดที่ไม่ต้องนับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินรวม หรือมีเงินกู้ยืม หุ้นกู้ หรือภาระผูกพันใดที่นับรวมไว้ใน การคํานวณหนี้สินพิเศษทุกครั้ง ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเพิ่มเติมและจัดส่งสําเนาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นต่อสํานักงานในวันทําการ ถัดจากวันที่บริษัทหลักทรัพย์มีการคํานวณรายการดังกล่าวเป็นครั้งแรก และในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวในภายหลัง ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุน สภาพคล่องสุทธิอีกครั้งและจัดส่งสําเนาสัญญาที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อสํานักงานในวันทําการ ถัดจากวันที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงด้วย (4) เก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของทุกวันพร้อมหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้ หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๕ เมื่อปรากฏว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้น วันหนึ่งวันใดเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.5 เท่าของเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิขั้นต่ําที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องดํารงไว้ ให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์เท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราข้างต้นและของทุกวันถัดไปต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทํารายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามข้อ 4(1) จนกว่าบริษัทหลักทรัพย์จะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้มากกว่าอัตราที่กําหนดข้างต้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 วันทําการติดต่อกัน และบริษัทหลักทรัพย์ได้ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของ 2 วันทําการนั้นต่อสํานักงานแล้ว เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ยื่นรายงานการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิและจัดส่งสําเนาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินหรือภาระผูกพันตามข้อ 4(3) ต่อสํานักงานในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,103
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 61/2562 เรื่อง การคำนวณและรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 61/2562 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณ เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 1(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 59/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์และกําหนดเวลาในการยื่นรายงานของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 50/2560 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันทําการสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงานภายใน 5 วันทําการแรกของเดือนถัดไป เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,104
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 24/2549 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2549 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 2 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบและคําอธิบายประกอบการคํานวณที่กําหนดตามข้อ 2 “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ “ระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด เพื่อให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้ในการยื่นรายงานเกี่ยวกับตัวแทนซื้อขายสัญญากับสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบและคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบดังกล่าวที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเป็นรายวันให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดไป โดยรายงานทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม (2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันทําการสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป (3) ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีหนี้สินด้อยสิทธิหรือสัญญาเช่าทางการเงินใดที่ไม่ต้องนับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินรวม หรือมีเงินกู้ยืม หุ้นกู้ หรือภาระผูกพันใดที่นับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินพิเศษ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาส่งสําเนาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินหรือภาระผูกพันดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมกับแบบรายงานในงวดแรกที่ตัวแทนซื้อขายสัญญานับรายการดังกล่าวรวมไว้ในรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าว (4) เก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของทุกวันพร้อมหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบได้หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงาน ก.ล.ต. เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๔ เมื่อปรากฏว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาใดมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันหนึ่งวันใดเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.5 เท่าของเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิขั้นต่ําที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดํารงไว้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราข้างต้นและของทุกวันถัดไปต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทํารายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามข้อ 3(1) จนกว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาจะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้มากกว่าอัตราที่กําหนดข้างต้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองวันทําการติดต่อกัน และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของสองวันทําการนั้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๕ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาประสงค์จะยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญายื่นรายงานดังกล่าวผ่านระบบรับส่งการรายงานเกี่ยวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๖ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หากตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมายดังกล่าวและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ปฏิบัติตามประกาศนี้ด้วยแล้ว ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,105
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 51/2560 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 51/2560 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุน สภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทน ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2560 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2549 เรื่อง การคํานวณและรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า รายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบและคําอธิบายประกอบการคํานวณที่กําหนดตามข้อ 3 ข้อ ๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 และคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามแบบ บ.ล. 4/1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๔ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเป็นรายวันให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการถัดไป โดยรายงานทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม (2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันทําการสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (3) ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีหนี้สินด้อยสิทธิหรือสัญญาเช่าทางการเงินใดที่ไม่ต้องนับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินรวม หรือมีเงินกู้ยืม หุ้นกู้ หรือภาระผูกพันใดที่นับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินพิเศษทุกครั้ง ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญายื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเพิ่มเติมและจัดส่งสําเนาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีการคํานวณรายการดังกล่าวเป็นครั้งแรก และในกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าวในภายหลัง ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญายื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิอีกครั้งและจัดส่งสําเนาสัญญาที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในวันทําการถัดจากวันที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงด้วย (4) เก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของทุกวันพร้อมหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบได้หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงาน ก.ล.ต. เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๕ เมื่อปรากฏว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาใดมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันหนึ่งวันใดเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.5 เท่าของเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิขั้นต่ําที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดํารงไว้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทเท่ากับหรือน้อยกว่าอัตราข้างต้นและของทุกวันถัดไปต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการถัดจากวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทํารายงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามข้อ 4(1) จนกว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาจะสามารถดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้มากกว่าอัตราที่กําหนดข้างต้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 วันทําการติดต่อกัน และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของ 2 วันทําการนั้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๖ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญายื่นรายงานการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิและจัดส่งสําเนาสัญญาที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินหรือภาระผูกพันตามข้อ 4(3) ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๗ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องจัดทําและยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หากตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎหมายดังกล่าวและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ปฏิบัติตามประกาศนี้ด้วยแล้ว ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,106
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 62/2562 เรื่อง การคำนวณและการรายงานการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 62/2562 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุน สภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทน ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 51/2560 เรื่อง การคํานวณและการรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ยื่นรายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของวันทําการสุดท้ายของเดือนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายใน 5 วันทําการแรกของเดือนถัดไป เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. เมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,107
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 8/2564 เรื่อง การผ่อนผันการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 8/2564 เรื่อง การผ่อนผันการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ยังไม่คลี่คลายและยังส่งผลกระทบต่อการดําเนินการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 126 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แต่มิให้หมายความรวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พิเศษ” หมายความว่า กองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “สถานการณ์โควิด 19” หมายความว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ประกาศการกู้ยืมเงิน” หมายความว่า (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวม (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๒ การกู้ยืมเงินของกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ให้บริษัทจัดการสามารถกู้ยืมเงินได้เพิ่มเติมจากการกู้ยืมเงินตามที่กําหนดในประกาศการกู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการกู้ยืมเงินระยะสั้นที่มีการทําสัญญากู้ยืมเงินภายในปี พ.ศ. 2564 โดยมีกําหนดเวลาชําระหนี้เงินกู้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทําสัญญากู้ยืมเงิน (2) เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสริมสภาพคล่องของกองทุนรวม และต้องมิใช่เพื่อการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือการลดเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม (3) จํานวนเงินที่กู้ยืมดังกล่าวต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายหรือภาระผูกพันอื่นของกองทุนรวมตามงบการเงินปีล่าสุด หรือภาระผูกพันที่กองทุนรวมต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือตามข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผยแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไว้แล้วก่อนวันทําสัญญากู้ยืมเงิน เช่น ข้อมูลที่เปิดเผยไว้ในหนังสือชี้ชวน หรือแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี เป็นต้น (4) ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ทั้งนี้ ข้อกําหนดอื่นให้เป็นไปตามประกาศการกู้ยืมเงินเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,108
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 9/2564 เรื่อง กำหนดเวลาการหยุดประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตอันเป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอาจถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 9/2564 เรื่อง กําหนดเวลาการหยุดประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาต อันเป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล อาจถูกเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ โดยที่มาตรา 34 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 กําหนดให้ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ประกอบธุรกิจหรือหยุดประกอบธุรกิจเกินกว่าเวลาที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนด ให้รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจของผู้นั้นได้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “หยุดประกอบธุรกิจ” หมายความว่า หยุดประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามที่ได้รับอนุญาตทุกประเภท “ประกาศเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๒ ในกรณีดังต่อไปนี้ รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจเพิกถอนการอนุญาตประกอบธุรกิจได้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจไม่กลับมาประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้หยุดประกอบธุรกิจ ตามประกาศเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (2) ผู้ประกอบธุรกิจหยุดประกอบธุรกิจเกินกว่า 15 วันนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงตามข้อ 3 ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๓ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ถือเป็นเหตุเริ่มต้นนับเวลาการหยุดประกอบธุรกิจตามข้อ 2(2) (1) มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ประกอบธุรกิจต่อไปซึ่งรวมถึงการเป็นบริษัทที่ทิ้งร้างหรือไม่มีสถานประกอบการเหลืออยู่ (2) กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงาน ไม่อยู่ในสถานะที่จะบริหารจัดการกิจการ อันเป็นผลให้ไม่สามารถดําเนินธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตได้ หรือ (3) ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีช่องทางการติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้าหรือผู้ลงทุนในลักษณะที่กระทบต่อการให้บริการอย่างมีนัยสําคัญ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) กับผู้ประกอบธุรกิจรายใดที่อยู่ระหว่างได้รับอนุญาตให้หยุดประกอบธุรกิจ ตามประกาศเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล มิให้ถือเป็นเหตุเริ่มต้นนับเวลาการหยุดประกอบธุรกิจตามข้อ 2(2) หากผู้ประกอบธุรกิจรายนั้นยังคงสามารถเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในระบบที่มั่นคงปลอดภัยและสามารถคืนทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าได้ ทั้งนี้ ตามที่ได้แสดงต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในการยื่นขออนุญาตหยุดประกอบธุรกิจตามประกาศดังกล่าว ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,109
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 12/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้ง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกและลดภาระ ต้นทุน และเวลาให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ในการจัดทํา เปิดเผย และนําส่งข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้สามารถดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 4/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 3 มาตรา 9(1) มาตรา 28 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การขออนุญาตหรือแจ้ง” หมายความว่า การขออนุญาต การขอจดทะเบียน การขอรับความเห็นชอบ การขอผ่อนผัน การส่งรายงานหรือเอกสาร หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันต่อสํานักงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง “กฎหมายที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า กฎหมายดังต่อไปนี้ ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการขออนุญาตหรือแจ้ง (1) กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2) กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) กฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน “วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ช่องทางในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้สําหรับการขออนุญาตหรือแจ้งตามประกาศนี้ ข้อ ๒ การขออนุญาตหรือแจ้งตามกรณีที่กําหนดในภาคผนวกรายการขออนุญาตหรือแจ้งต่อสํานักงานโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ท้ายประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตหรือแจ้งดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งในแต่ละกรณี ให้เริ่มดําเนินการได้ตั้งแต่วันที่สํานักงานกําหนดเป็นต้นไป โดยให้สํานักงานแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงกรณีดังกล่าวเป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงานด้วย เมื่อผู้ขออนุญาตหรือแจ้งได้ดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้ถือว่าสํานักงานได้รับการขออนุญาตหรือแจ้งดังกล่าวตามวันและเวลาที่เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,110
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 13/2564 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเสนอขายตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม ตราสารเพื่อความยั่งยืน และตราสารส่งเสริมความยั่งยืน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 13/2564 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขาย ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อ พัฒนาสังคม ตราสารเพื่อความยั่งยืน และตราสารส่งเสริมความยั่งยืน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายตราสารดังต่อไปนี้ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ในลักษณะรายครั้ง หรือในลักษณะรายโครงการโดยเป็นการเสนอขายเป็นรุ่นแรก ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการขออนุญาตเสนอขายรวมกับตราสารที่มีลักษณะอื่นหรือไม่ ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (1) ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม (3) ตราสารเพื่อความยั่งยืน (4) ตราสารส่งเสริมความยั่งยืน ตราสารตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือศุกูก แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เฉพาะตราสารตาม (1) (2) และ (3) จะต้องเป็นการเสนอขายโดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินในประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,111
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 20/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ออกโทเคนดิจิทัล และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 20/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขออนุญาตหรือแจ้ง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับผู้ออกโทเคนดิจิทัล และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกและลดภาระ ต้นทุน และเวลาให้แก่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลและผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลในการจัดทํา เปิดเผย และนําส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและการดําเนินงานของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อสํานักงาน ก.ล.ต. คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้เหมาะสมมากขึ้น ตลอดจนสามารถดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) มาตรา 17 มาตรา 19 วรรคสาม และมาตรา 25 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การขออนุญาตหรือแจ้ง” หมายความว่า การขออนุญาต การขอจดทะเบียน การขอรับความเห็นชอบ การขอผ่อนผัน การส่งรายงานหรือเอกสาร หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง “กฎหมายที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการขออนุญาตหรือแจ้ง “วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ช่องทางในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้สําหรับการขออนุญาตหรือแจ้งตามประกาศนี้ ข้อ ๒ การขออนุญาตหรือแจ้งตามกรณีที่กําหนดในภาคผนวกรายการขออนุญาตหรือแจ้งต่อสํานักงาน ก.ล.ต. โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับผู้ออกโทเคนดิจิทัลและผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ท้ายประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตหรือแจ้งดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การขออนุญาตหรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งในแต่ละกรณี ให้เริ่มดําเนินการได้ตั้งแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดเป็นต้นไป โดยให้สํานักงาน ก.ล.ต. แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงกรณีดังกล่าวเป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ด้วย เมื่อผู้ขออนุญาตหรือแจ้งได้ดําเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ให้ถือว่าสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับการขออนุญาตหรือแจ้งดังกล่าวตามวันและเวลาที่เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,112
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 29/2564 เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2564 เรื่อง แบบคําขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 3 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 และข้อ 4 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กย. 34/2545 เรื่อง แบบคําขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัท แบบคําขอรับใบอนุญาต และแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ข้อ ๒ ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อสํานักงาน พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๓ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,113
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 30/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรวงเงินการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 30/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรวงเงินการทําธุรกรรม เงินตราต่างประเทศสําหรับผู้ประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล “ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ในการให้บริการลูกค้าอันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล “วงเงินจัดสรร” หมายความว่า วงเงินการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมายให้สํานักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้จัดสรรวงเงิน ข้อ ๒ ในกรณีประสงค์จะทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ขอรับวงเงินจัดสรรตามประเภทธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ การขอรับการจัดสรรวงเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามรูปแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต (2) ดําเนินการตรวจสอบวงเงินก่อนทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรตาม (1) ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,114
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 1/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรวงเงินการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรวงเงินการทําธุรกรรม เงินตราต่างประเทศสําหรับผู้ประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 30/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการจัดสรรวงเงินการทําธุรกรรมเงินตราต่างประเทศสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,115
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กร. 35/2564 เรื่อง การกำหนดนิติบุคคลที่จะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์เพิ่มเติม และหลักเกณฑ์การยื่นหนังสือแสดงเจตนาก่อตั้งทรัสต์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กร. 35/2564 เรื่อง การกําหนดนิติบุคคลที่จะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์เพิ่มเติม และหลักเกณฑ์การยื่นหนังสือแสดงเจตนาก่อตั้งทรัสต์ ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 8(1) มาตรา 11 วรรคสอง และมาตรา 12(3) แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ นอกจากผู้ที่จะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ได้ตามมาตรา 12 นิติบุคคลที่จะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (2) เป็นผู้ได้รับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์หรือเป็นผู้อยู่ระหว่างยื่นคําขอรับความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และบุคคลดังกล่าวจะได้รับมอบหมายให้มีอํานาจหน้าที่ในการบริหารจัดการกองทรัสต์เมื่อได้ก่อตั้งกองทรัสต์ขึ้นแล้ว (3) เป็นผู้ออกโทเคนดิจิทัล ในกรณีการก่อตั้งทรัสต์สําหรับธุรกรรมการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีที่มีประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กําหนดคุณสมบัติของนิติบุคคลที่จะเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ข้อ ๒ ในกรณีผู้ก่อตั้งทรัสต์เป็นบุคคลเดียวกันกับทรัสตี ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคู่ฉบับของหนังสือแสดงเจตนาก่อตั้งทรัสต์ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ก่อนการเสนอขายใบทรัสต์หรือก่อนสิทธิของผู้รับประโยชน์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์จะมีผลบังคับ ทั้งนี้ ตามรูปแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,116
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 38/2564 เรื่อง การกำหนดการจัดการกองทรัสต์ที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 38/2564 เรื่อง การกําหนดการจัดการกองทรัสต์ที่ไม่ถือเป็น การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการ กองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1)แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2557 เรื่อง การกําหนดการจัดการเงินทุนของกิจการเงินร่วมลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ให้การรับมอบหมายในการจัดการเงินทุนของกองทรัสต์ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ไม่ถือเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,117
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 3/2565 เรื่อง การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับบริษัทซึ่งเกิดจากการควบเข้ากัน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 3/2565 เรื่อง การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ บริษัทซึ่งเกิดจากการควบเข้ากัน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า บริษัทซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ได้รับการจดทะเบียน” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตหรือเป็นผู้ได้รับการจดทะเบียนด้วย “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตหรือเป็นผู้ได้รับการจดทะเบียนด้วย “บริษัทประกันชีวิต” หมายความว่า บริษัทซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตหรือเป็นผู้ได้รับการจดทะเบียนด้วย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต หรือการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียน เป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งเกิดจากการควบเข้ากันของบริษัทดังต่อไปนี้เป็นบริษัทใหม่ (1) การควบเข้ากันของผู้ได้รับใบอนุญาต (2) การควบเข้ากันของผู้ได้รับใบอนุญาตและผู้ได้รับการจดทะเบียน (3) การควบเข้ากันของผู้ได้รับการจดทะเบียน ข้อ ๓ ให้บริษัทซึ่งประสงค์จะควบเข้ากันและประสงค์ให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบเข้ากันเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ร่วมกันยื่นคําขอรับใบอนุญาตได้เฉพาะการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่เกินกว่าประเภทธุรกิจที่บริษัทซึ่งควบเข้ากันนั้นได้รับใบอนุญาตไว้ ในกรณีที่ใบอนุญาตของบริษัทซึ่งจะควบเข้ากันเป็นประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ การยื่นคําขอให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น ข้อ ๔ ให้บริษัทซึ่งประสงค์จะควบเข้ากันและประสงค์ให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบเข้ากันเป็นผู้ได้รับการจดทะเบียน ร่วมกันยื่นคําขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับบริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบเข้ากันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น ทั้งนี้ ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนได้เฉพาะการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่เกินกว่าประเภทธุรกิจที่บริษัทซึ่งควบเข้ากันนั้นได้รับการจดทะเบียนไว้ ข้อ ๕ การยื่นคําขอรับใบอนุญาตและคําขอจดทะเบียนตามข้อ 3 และข้อ 4 ให้ยื่นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานที่กําหนดไว้ในแบบคําขอ โดยผู้ยื่นคําขอต้องชําระค่าธรรมเนียมจํานวน 30,000 บาท ข้อ ๖ บริษัทซึ่งยื่นคําขอต้องแสดงเอกสารหรือหลักฐานดังต่อไปนี้ ประกอบการยื่นคําขอ (1) มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทแต่ละแห่งที่ให้ควบบริษัทเข้ากัน (2) บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันมีคุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละประเภท (3) ในการควบบริษัทเข้ากันดังนี้ บริษัทซึ่งจะควบเข้ากันต้องแสดงได้ว่ามีการดําเนินการคืนทรัพย์สินให้แก่ลูกค้า หรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าไปยังผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายอื่นที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ หรือดําเนินการอื่นใดเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้าหรือเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าเป็นสําคัญ (ก) กรณีบริษัทซึ่งควบเข้ากันตามข้อ 2(1) หรือ 2(3) ประสงค์จะให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบเข้ากันประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่มิได้ครอบคลุมทุกประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต หรือได้รับการจดทะเบียนแต่เดิม (ข) กรณีบริษัทซึ่งควบเข้ากันตามข้อ 2(2) ประสงค์จะให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบเข้ากันเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต หรือผู้ได้รับการจดทะเบียน แล้วแต่กรณี อันเป็นผลให้บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบเข้ากันไม่อาจประกอบธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งหรือไม่อาจให้บริการแก่ลูกค้าในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ตามใบอนุญาตหรือการจดทะเบียนที่มีอยู่ก่อนการควบเข้าด้วยกันนั้น (4) บริษัทซึ่งจะเกิดจากการควบเข้ากันมีโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ (ก) มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (ข) มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประเภทที่ขอประกอบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (ค) มีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประเภทที่ขอประกอบธุรกิจ (ง) มีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประเภทที่ขอประกอบธุรกิจ ข้อ ๗ การออกใบอนุญาต หรือการรับจดทะเบียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในประกาศที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) เงื่อนไขตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละประเภท (2) บริษัทต้องดําเนินการควบเข้ากันและจดทะเบียนบริษัทใหม่ภายในระยะเวลาที่กําหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัด แล้วแต่กรณี (3) กรณีที่บริษัทซึ่งจะควบเข้ากันเป็นบริษัทหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน หรือบริษัทประกันชีวิต การควบเข้ากันต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต แล้วแต่กรณี (4) ใบอนุญาตที่ออกหรือการรับจดทะเบียนให้แก่บริษัทซึ่งเกิดจากการควบเข้ากันให้มีผลตั้งแต่วันที่การจดทะเบียนเป็นบริษัทใหม่มีผลสมบูรณ์ (5) เมื่อบริษัทซึ่งเกิดจากการควบเข้ากันได้รับใบอนุญาต บริษัทดังกล่าวจะเริ่มประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน ตลอดจนบุคลากรของบริษัทนั้น และเห็นว่าบริษัทดังกล่าวสามารถแสดงได้ว่ามีลักษณะเป็นไปตามข้อ 6(4) รวมทั้งได้ส่งคืนใบอนุญาตของบริษัทเดิมให้แก่สํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทซึ่งเกิดจากการควบเข้ากันจะประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเภทที่บริษัทซึ่งควบเข้ากันประกอบธุรกิจอยู่ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบความพร้อมในการประกอบธุรกิจในประเภทที่ได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาต ในขณะที่มีการยื่นคําขอตามข้อ 3 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ในกรณีที่บริษัทซึ่งจะควบเข้ากันไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดตามข้อ 7(2) หรือ (3) ให้ใบอนุญาตหรือการจดทะเบียนเป็นอันสิ้นสุดลง แล้วแต่กรณี และบริษัทดังกล่าวต้องส่งใบอนุญาตคืนสํานักงาน ก.ล.ต. ในระหว่างการพิจารณาคําขอและยังไม่ได้ออกใบอนุญาต หรือยังไม่ได้รับจดทะเบียน หากบริษัทซึ่งยื่นคําขอตามข้อ 3 หรือข้อ 4 ได้ขอยกเลิกคําขอ หรือความปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าบริษัทดังกล่าวมิได้มีการควบเข้ากันหรือมิได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ภายในระยะเวลาตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจํากัดกําหนด หรือไม่ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต แล้วแต่กรณี ให้สํานักงาน ก.ล.ต. จําหน่ายคําขอของบริษัทนั้นออกจากสารบบ ทั้งนี้ หากคําขออยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้รายงานให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบด้วย ข้อ ๙ เมื่อใบอนุญาตที่ออกหรือการรับจดทะเบียนให้แก่บริษัทซึ่งเกิดจากการควบเข้ากันมีผลใช้บังคับแล้ว ให้มีผลดังนี้ (1) เป็นการยกเลิกใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ควบเข้ากัน (2) เป็นการยกเลิกการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ผู้ได้รับการจดทะเบียนที่ควบเข้ากัน ให้สํานักงาน ก.ล.ต. รายงานให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทราบถึงการมีผลใช้บังคับของใบอนุญาตหรือการรับจดทะเบียนของบริษัทซึ่งเกิดจากการควบเข้ากันด้วย ข้อ ๑๐ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศนี้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หรือค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียน ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,118
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 5/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องไม่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องไม่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นสื่อกลางในการชําระค่าสินค้าหรือบริการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 30 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (2) การเป็นศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล (5) การเป็นผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี (6) การเป็นผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (7) การเป็นผู้จัดการเงินทุนคริปโทเคอร์เรนซี (8) การเป็นผู้จัดการเงินทุนโทเคนดิจิทัล (9) การเป็นที่ปรึกษาคริปโทเคอร์เรนซี (10) การเป็นที่ปรึกษาโทเคนดิจิทัล “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๒ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องไม่ให้บริการหรือกระทําการอันมีลักษณะที่เป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมการชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การโฆษณา ชักชวน หรือแสดงตนแก่บุคคลใด ๆ ว่าพร้อมให้บริการชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล (2) การจัดทําระบบหรือเครื่องมือที่อํานวยความสะดวกแก่บุคคลใด ๆ ในการชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล (3) การให้บริการเปิดกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัล (wallet) แก่บุคคลใด ๆ เพื่อการชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล (4) การให้บริการโอนเงินบาทจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีของบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นบัญชีที่ได้จากการขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือบัญชีเงินบาทที่ลูกค้าฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (5) การให้บริการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีอื่นที่ไม่ใช่บัญชีของลูกค้า เพื่อการชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล (6) การให้บริการอื่นใดในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีที่จะต้องมีการวินิจฉัยการให้บริการอื่นใดในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง (6) ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาโดยเร็ว ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพบว่าลูกค้ามีการใช้บัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เปิดไว้เพื่อการลงทุนในการชําระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งเตือนลูกค้าเกี่ยวกับการใช้งานบัญชีผิดวัตถุประสงค์และไม่ตรงกับเงื่อนไขการให้บริการ หากลูกค้ายังคงดําเนินการอยู่ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดําเนินการแก่ลูกค้าที่ปฏิบัติไม่เป็นตามเงื่อนไขการให้บริการ ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวรวมถึงระงับการให้บริการเป็นการชั่วคราว ยกเลิกการให้บริการ หรือดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกัน ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีการให้บริการตามข้อ 2 และข้อ 3 อยู่แล้วก่อนหรือในวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,119
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 7/2565 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเสนอขายตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม ตราสารเพื่อความยั่งยืน และตราสารส่งเสริมความยั่งยืน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 7/2565 เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายตราสาร เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม ตราสาร เพื่อความยั่งยืน และตราสารส่งเสริมความยั่งยืน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายตราสารดังต่อไปนี้ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ในลักษณะรายครั้ง หรือในลักษณะรายโครงการโดยเป็นการเสนอขายเป็นรุ่นแรก ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการขออนุญาตเสนอขายรวมกับตราสารที่มีลักษณะอื่นหรือไม่ ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 21/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และการขออนุมัติโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (1) ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) ตราสารเพื่อพัฒนาสังคม (3) ตราสารเพื่อความยั่งยืน (4) ตราสารส่งเสริมความยั่งยืน ตราสารตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือศุกูก แล้วแต่กรณี ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,120
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 11/2562 เรื่อง การกำหนดวันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 11/2562 เรื่อง การกําหนดวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติให้วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพสกนิกรในทุกภาคส่วนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และร่วมถวายพระพรชัยมงคลในช่วงเวลาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้อย่างสมพระเกียรติ นั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานออกประกาศกําหนดให้วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,121
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2546 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2546 ###### เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ###### และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ###### ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 “(1/1) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุลให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย) (ข) เลขประจําตัวประชาชน (ค) การดํารงตําแหน่งเป็นผู้บริหารในบริษัทอื่น” ###### ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (12) และ (13) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(12) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันจากคณะกรรมการตรวจสอบหรือผู้สอบบัญชี (13) หนังสือรับรองจากคณะกรรมการตรวจสอบว่า มีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการตรวจสอบของบริษัท และสามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาต” 2 ###### ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (15) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(15) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอ เหมาะสมของระบบควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยจากคณะกรรมการตรวจสอบ (ถ้ามี)” ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 35-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้แบบ 35-1 ที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 5 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป #### ประกาศ ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,122
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 1/2551 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 1/2551 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) -------------------------- อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2943 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 122943 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเดิม โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2546 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(4) สําเนาข้อบังคับบริษัทและบริษัทย่อยทุกบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (12) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2546 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธี การยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(12) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันจากคณะกรรมการตรวจสอบ" ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (16) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2546 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(16) สําเนาข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับความบกพร่องของระบบควบคุมภายในทางบัญชีที่สําคัญฉบับล่าสุด" ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2546 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 "นอกจากเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตแจ้งให้ผู้สอบบัญชีจัดเตรียมกระดาษทําการของผู้สอบบัญชีไว้เพื่อการตรวจสอบของสํานักงาน เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง (9) (10) และ (13) ให้ยื่นเฉพาะกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก" ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 "(1/ 1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตรายใดขอผ่อนผัน ไม่จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานบางรายการ สํานักงานอาจผ่อนผันให้ผู้ขออนุญาตรายนั้นไม่ต้องจัดส่งข้อมูล หรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ให้สํานักงานคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันประกอบด้วย" ข้อ 6 ให้ยกเลิกแบบการตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาตลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 และให้ใช้แบบการตรวจสอบความครบถ้วนเบื้องต้นของข้อมูลและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 7 คําขออนุญาตที่ ได้ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะ กรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้อยู่ภายใต้ประกาศดังกล่าวต่อไป เว้นแต่บริษัทที่ยื่นคําขออนุญาตจะ ได้แจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงานถึงความประสงค์ที่จะ อยู่ภายใต้บังคับของประกาศสํานักงานคณะ กรรมกรกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และ วิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเดิม โดยประกาศนี้ ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551 ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,123
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 35/2552 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2552 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บริษัทมหาชนจํากัดที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-1 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้ จํานวนห้าชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันยื่นคําขออนุญาต (1) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้น โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามแบบ 69-1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ยกเว้นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมาพร้อมกับการยื่นคําขออนุญาต ให้ถือว่าแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ยื่นมานั้น เป็นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตที่บริษัทยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว (2) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอํานาจควบคุมในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุล ให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย) (ข) เลขประจําตัวประชาชน (ค) การดํารงตําแหน่งเป็นผู้บริหารในบริษัทอื่น (3) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (4) สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ (5) สําเนาข้อบังคับบริษัทและบริษัทย่อยทุกบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (6) สําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกหุ้น (7) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี) (8) รายงานการตรวจสอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับล่าสุด (กรณีสถาบันการเงิน) (9) หนังสืออนุญาตให้เพิ่มทุนจากกระทรวงการคลัง (กรณีบริษัทเงินทุน) (10) หนังสือรับรองจากบริษัทเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (11) หนังสือรับรองจากผู้บริหารเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 (12) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (13) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันจากคณะกรรมการตรวจสอบ (14) หนังสือรับรองจากคณะกรรมการตรวจสอบว่า มีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการตรวจสอบของบริษัท และสามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาต (15) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่คณะกรรมการบริษัทมีการมอบอํานาจให้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลอื่นทําหน้าที่แทน (ถ้ามี) (16) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอ เหมาะสมของระบบควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยจากคณะกรรมการตรวจสอบ (ถ้ามี) (17) สําเนาข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับความบกพร่องของระบบควบคุมภายในทางบัญชีที่สําคัญฉบับล่าสุด นอกจากเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตแจ้งให้ผู้สอบบัญชีจัดเตรียมกระดาษทําการของผู้สอบบัญชีไว้เพื่อการตรวจสอบของสํานักงาน เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง (10) (11) และ (14) ให้ยื่นเฉพาะกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ข้อ ๒ เมื่อผู้ขออนุญาตได้ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานพร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตตามข้อ 1 แล้ว สํานักงานจะดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ตรวจพิจารณาความครบถ้วนของข้อมูลและเอกสารหลักฐานโดยละเอียด ทั้งนี้ ในกรณีที่คําขออนุญาตที่ยื่นยังมีรายละเอียดไม่ครบถ้วน ให้ผู้ยื่นขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลตามที่สํานักงานแจ้งให้ทราบให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากผู้ขออนุญาตรายใดไม่จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่สํานักงานแจ้งให้ทราบภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานจะถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะยื่นคําขออนุญาตอีกต่อไป (2) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตรายใดขอผ่อนผันไม่จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานบางรายการ สํานักงานอาจผ่อนผันให้ผู้ขออนุญาตรายนั้นไม่ต้องจัดส่งข้อมูล หรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ ให้สํานักงานคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันประกอบด้วย (3) เมื่อสํานักงานได้รับข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนหรือที่ได้แก้ไขจนถูกต้องครบถ้วนแล้ว สํานักงานจะมีหนังสือแจ้งตอบรับแบบคําขออนุญาต ในกรณีจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจเดินทางไปเยี่ยมชมกิจการของผู้ขออนุญาต และให้บริษัทจัดทําสรุปข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเพิ่มเติมภายหลังการเยี่ยมชมกิจการส่งให้สํานักงานก่อนที่สํานักงานมีหนังสือแจ้งตอบรับแบบคําขออนุญาต (4) มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับจากวันที่สํานักงานตอบรับแบบคําขออนุญาต ข้อ ๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ โดยได้จัดทําหลักเกณฑ์ดังกล่าวในรูปของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ดังนั้น เพื่อให้ประกาศสํานักงานอ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและสอดคล้องต่อการแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,124
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 25/2554 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 25 /2554 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 1 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2552 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุม ในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุล ให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย) (ข) เลขประจําตัวประชาชน (ค) การดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทอื่น” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (11) ของข้อ 1 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2552 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(11) หนังสือรับรองจากกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,125
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สํานักงาน ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2552 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-1 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังต่อไปนี้ จํานวน 3 ชุด (1) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้น โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ยกเว้นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุล ให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย) (ข) เลขประจําตัวประชาชน (ค) การดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทอื่น (3) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยของผู้ขออนุญาต (4) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต รวมทั้งสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกหุ้น (5) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี) (6) สําเนารายงานการตรวจสอบจากหน่วยงานกํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฉบับล่าสุด ซึ่งรวมถึงรายงานเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน (ถ้ามี) (7) สําเนาหนังสืออนุญาตให้เพิ่มทุนจากหน่วยงานกํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย (กรณีกฎหมายกําหนดให้ต้องขออนุญาต) (8) หนังสือรับรองจากบริษัทเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (9) หนังสือรับรองจากกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 (10) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (11) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันจากคณะกรรมการตรวจสอบ (12) หนังสือรับรองจากคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการอิสระว่า มีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระของบริษัท และสามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาต (13) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่คณะกรรมการบริษัทมีการมอบอํานาจให้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลอื่นทําหน้าที่แทน (ถ้ามี) (14) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอ เหมาะสมของระบบควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยจากคณะกรรมการตรวจสอบ (15) สําเนาข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับความบกพร่องของระบบควบคุมภายในทางบัญชีที่สําคัญฉบับล่าสุด (ถ้ามี) (16) รายงานหรือสําเนารายงานผลการตรวจสอบระบบควบคุมภายในของระบบงานสําคัญล่าสุดและรายงานการติดตามผลการตรวจสอบระบบควบคุมภายในพร้อมตารางอํานาจอนุมัติ (ถ้ามี) (17) สําเนารายงานหรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (ถ้ามี) (18) ใบรายการหรือสําเนาใบรายการการตรวจสอบกิจการของที่ปรึกษาทางการเงิน (19) ใบรายการที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (20) เอกสารหรือกระดาษทําการประกอบการทํางบเสมือนกรณีที่งบการเงินของผู้ขออนุญาตไม่สะท้อนผลประกอบการที่แท้จริงของกิจการ (21) แผนฟื้นฟูกิจการ (ถ้ามี) (22) เอกสารที่แสดงว่ากรรมการและผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของผู้ขออนุญาต (23) งบการเงินปีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสล่าสุดของผู้ขออนุญาต โดยในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) งบการเงินดังกล่าวให้หมายความรวมถึงงบการเงินของบริษัทย่อยของผู้ขออนุญาตด้วย นอกจากเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตแจ้งให้ผู้สอบบัญชีจัดเตรียมกระดาษทําการของผู้สอบบัญชีไว้เพื่อการตรวจสอบของสํานักงาน เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง (8) (9) และ (12) ให้ยื่นเฉพาะกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตรายใดขอผ่อนผันไม่จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานบางรายการ สํานักงานอาจผ่อนผันให้ผู้ขออนุญาตรายนั้นไม่ต้องจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น ทั้งนี้ ให้สํานักงานคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันประกอบด้วย ข้อ ๔ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติหรือที่ใช้บังคับอยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2552 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2552 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,126
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ 94/2558 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 94/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (24) และ (25) ในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาต เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 “(24) สําเนาหนังสือของผู้ขออนุญาตที่ให้ความยินยอมแก่ผู้สอบบัญชีในการแจ้ง ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ขออนุญาตซึ่งผู้สอบบัญชีได้จากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ที่ปรึกษาทางการเงิน (25) รายงานสรุปข้อมูลและประเด็นซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินได้รับจากผู้สอบบัญชี และการดําเนินการของที่ปรึกษาทางการเงินในประเด็นดังกล่าว” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง (8) (9) (12) (24) และ (25) ให้ยื่นเฉพาะกรณีเป็น การขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,127
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 2/2559 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 3)
-ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 2/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 94/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดในข้อ 2/1 ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรกเพื่อการจดทะเบียนหุ้นที่เสนอขายนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียน ให้ยื่นคําขออนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว โดยต้องเป็นไปตามแบบ 35-1 ที่แสดงไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น (2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่กรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1) ให้ยื่น คําขออนุญาตตามแบบ 35-1 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงาน จํานวน 1 ชุด” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 2/1 เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ได้แก่เอกสารดังต่อไปนี้ (1) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้น โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ยกเว้นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุล ให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย) (ข) เลขประจําตัวประชาชน (ค) การดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทอื่น (3) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยของผู้ขออนุญาต (4) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต รวมทั้งสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกหุ้น (5) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี) (6) สําเนารายงานการตรวจสอบจากหน่วยงานกํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฉบับล่าสุด ซึ่งรวมถึงรายงานเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน (ถ้ามี) (7) สําเนาหนังสืออนุญาตให้เพิ่มทุนจากหน่วยงานกํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย (กรณีกฎหมายกําหนดให้ต้องขออนุญาต) (8) หนังสือรับรองจากบริษัทเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (9) หนังสือรับรองจากกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 (10) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (11) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันจากคณะกรรมการตรวจสอบ (12) หนังสือรับรองจากคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการอิสระว่า มีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระของบริษัท และสามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาต (13) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่คณะกรรมการบริษัทมีการมอบอํานาจให้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลอื่นทําหน้าที่แทน (ถ้ามี) (14) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอ เหมาะสมของระบบควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยจากคณะกรรมการตรวจสอบ (15) สําเนาข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับความบกพร่องของระบบควบคุมภายในทางบัญชีที่สําคัญฉบับล่าสุด (ถ้ามี) (16) รายงานหรือสําเนารายงานผลการตรวจสอบระบบควบคุมภายในของระบบงานสําคัญล่าสุดและรายงานการติดตามผลการตรวจสอบระบบควบคุมภายในพร้อมตารางอํานาจอนุมัติ (ถ้ามี) (17) สําเนารายงานหรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (ถ้ามี) (18) ใบรายการหรือสําเนาใบรายการการตรวจสอบกิจการของที่ปรึกษาทางการเงิน (19) ใบรายการที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาต และการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (20) เอกสารหรือกระดาษทําการประกอบการทํางบเสมือนกรณีที่งบการเงินของผู้ขออนุญาตไม่สะท้อนผลประกอบการที่แท้จริงของกิจการ (21) แผนฟื้นฟูกิจการ (ถ้ามี) (22) เอกสารที่แสดงว่ากรรมการและผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของผู้ขออนุญาต (23) งบการเงินปีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสล่าสุดของผู้ขออนุญาต โดยในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) งบการเงินดังกล่าวให้หมายความรวมถึงงบการเงินของบริษัทย่อยของผู้ขออนุญาตด้วย (24) สําเนาหนังสือของผู้ขออนุญาตที่ให้ความยินยอมแก่ผู้สอบบัญชีในการแจ้ง ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ขออนุญาตซึ่งผู้สอบบัญชีได้จากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ที่ปรึกษาทางการเงิน (25) รายงานสรุปข้อมูลและประเด็นซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินได้รับจากผู้สอบบัญชี และการดําเนินการของที่ปรึกษาทางการเงินในประเด็นดังกล่าว นอกจากเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตแจ้งให้ผู้สอบบัญชีจัดเตรียมกระดาษทําการของผู้สอบบัญชีไว้เพื่อการตรวจสอบของสํานักงาน เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง (8) (9) (12) (24) และ (25) ให้ยื่นเฉพาะกรณีเป็น การขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,128
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 10/2559 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 4)
-ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 10/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 24/2558 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (23) ของข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 2/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(23) งบการเงินและงบการเงินรวมประจํารอบปีบัญชีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสล่าสุดของผู้ขออนุญาต” ข้อ ๒ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (23/1) ในข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 2/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 “(23/1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ให้ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังนี้ด้วย (ก) งบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก และงบการเงินหรือรายงานทางการเงินอื่นใดของบริษัทดังกล่าวที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อการขอจดทะเบียนหุ้นที่ออกใหม่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ข) ในกรณีที่บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักเป็นบริษัทต่างประเทศ ให้ยื่นงบการเงินไตรมาสล่าสุดที่ลงลายมือชื่อโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทดังกล่าว เว้นแต่บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักไม่ได้จัดให้มีงบการเงินในลักษณะดังกล่าว ให้ยื่นหนังสือชี้แจงจากผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาตที่แสดงว่างบการเงินไตรมาสล่าสุดที่ใช้ภายในกิจการ (internal financial statement) ของบริษัทดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาโดยผู้สอบบัญชีที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. ผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาตดังกล่าวนั้นเองซึ่งสามารถทําการสอบบัญชีได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่บริษัทดังกล่าวจัดตั้งขึ้น 2. ผู้สอบบัญชีท้องถิ่นซึ่งสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่เป็นเครือข่ายเดียวกับสํานักงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาต โดยสํานักงานสอบบัญชีทั้งสองแห่งนั้น เป็นสมาชิกประเภทเต็มรูปแบบ (full member) ของเครือข่ายดังกล่าว บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บริษัทย่อยตามข้อ 18/1(1) หรือบริษัทตามข้อ 18/1(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งมีสัดส่วนที่มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับขนาดของผู้ขออนุญาต” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (26) ในข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 2/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 “(26) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,129
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 41/2559 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 94/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 2/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 10/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรกเพื่อการจดทะเบียนหุ้นที่เสนอขายนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนในกรณีปกติตามส่วนที่ 1 ของหมวด 2 ของภาค 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ให้ยื่นคําขออนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอ อนุญาตตามที่กําหนดในข้อ 3 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว โดยคําขออนุญาตต้องเป็นไปตามแบบ 35-1 ที่แสดงไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น (2) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทจดทะเบียนที่ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการที่ดีตามส่วนที่ 2 ของหมวด 2 ของภาค 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2559 ให้ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-2 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดในข้อ 4 ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงาน จํานวน 1 ชุด (3) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่กรณีอื่นใดนอกจากกรณีตาม (1) และ (2) ให้ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-1 ที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดในข้อ 3 ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงาน จํานวน 1 ชุด ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบ 35-1 ได้แก่เอกสารดังต่อไปนี้ (1) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้น โดยเอกสารดังกล่าวต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นในลักษณะเดียวกับแบบและรายการที่กําหนดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ยกเว้นข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) เอกสารซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอํานาจควบคุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ชื่อและสกุล (หากมีการเปลี่ยนชื่อหรือสกุล ให้ระบุชื่อหรือสกุลเดิมด้วย) (ข) เลขประจําตัวประชาชน (ค) การดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทอื่น (3) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง สําเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง ของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยของผู้ขออนุญาต (4) สําเนาหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ขออนุญาต รวมทั้งสําเนามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ออกหุ้น (5) สําเนาสัญญาให้บุคคลอื่นมีอํานาจเด็ดขาดในการบริหารงาน (ถ้ามี) (6) สําเนารายงานการตรวจสอบจากหน่วยงานกํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายฉบับล่าสุด ซึ่งรวมถึงรายงานเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน (ถ้ามี) (7) สําเนาหนังสืออนุญาตให้เพิ่มทุนจากหน่วยงานกํากับดูแลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย (กรณีกฎหมายกําหนดให้ต้องขออนุญาต) (8) หนังสือรับรองจากบริษัทเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ (9) หนังสือรับรองจากกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับการรับทราบภาระหน้าที่ความรับผิดชอบการรายงานการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 (10) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาทางการเงิน (11) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันจากคณะกรรมการตรวจสอบ (12) หนังสือรับรองจากคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการอิสระว่า มีความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระของบริษัท และสามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดําเนินงานของผู้ขออนุญาต (13) สําเนามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่คณะกรรมการบริษัทมีการมอบอํานาจให้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลอื่นทําหน้าที่แทน (ถ้ามี) (14) หนังสือให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอ เหมาะสมของระบบควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยจากคณะกรรมการตรวจสอบ (15) สําเนาข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับความบกพร่องของระบบควบคุมภายในทางบัญชีที่สําคัญฉบับล่าสุด (ถ้ามี) (16) รายงานหรือสําเนารายงานผลการตรวจสอบระบบควบคุมภายในของระบบงานสําคัญล่าสุดและรายงานการติดตามผลการตรวจสอบระบบควบคุมภายในพร้อมตารางอํานาจอนุมัติ (ถ้ามี) (17) สําเนารายงานหรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (ถ้ามี) (18) ใบรายการหรือสําเนาใบรายการการตรวจสอบกิจการของที่ปรึกษาทางการเงิน (19) ใบรายการที่แสดงว่าผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเป็นบริษัทลงทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (20) เอกสารหรือกระดาษทําการประกอบการทํางบเสมือนกรณีที่งบการเงินของผู้ขออนุญาตไม่สะท้อนผลประกอบการที่แท้จริงของกิจการ (21) แผนฟื้นฟูกิจการ (ถ้ามี) (22) เอกสารที่แสดงว่ากรรมการและผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของผู้ขออนุญาต (23) งบการเงินและงบการเงินรวมประจํารอบปีบัญชีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสล่าสุดของผู้ขออนุญาต (24) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ให้ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังนี้ด้วย (ก) งบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักและงบการเงินหรือรายงานทางการเงินอื่นใดของบริษัทดังกล่าวที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อการขอจดทะเบียนหุ้นที่ออกใหม่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ข) ในกรณีที่บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักเป็นบริษัทต่างประเทศ ให้ยื่นงบการเงินไตรมาสล่าสุดที่ลงลายมือชื่อโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทดังกล่าว เว้นแต่บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักไม่ได้จัดให้มีงบการเงินในลักษณะดังกล่าว ให้ยื่นหนังสือชี้แจงจากผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาตที่แสดงว่างบการเงินไตรมาสล่าสุดที่ใช้ภายในกิจการ (internal financial statement) ของบริษัทดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาโดยผู้สอบบัญชีที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. ผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาตดังกล่าวนั้นเองซึ่งสามารถทําการสอบบัญชีได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่บริษัทดังกล่าวจัดตั้งขึ้น 2. ผู้สอบบัญชีท้องถิ่นซึ่งสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่เป็นเครือข่ายเดียวกับสํานักงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาต โดยสํานักงานสอบบัญชีทั้งสองแห่งนั้นเป็นสมาชิกประเภทเต็มรูปแบบ (full member) ของเครือข่ายดังกล่าว บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บริษัทย่อยตามข้อ 24(1) หรือบริษัทตามข้อ 24(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 มีสัดส่วนที่มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับขนาดของผู้ขออนุญาต (25) สําเนาหนังสือของผู้ขออนุญาตที่ให้ความยินยอมแก่ผู้สอบบัญชีในการแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ขออนุญาตซึ่งผู้สอบบัญชีได้จากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ที่ปรึกษาทางการเงิน (26) รายงานสรุปข้อมูลและประเด็นซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินได้รับจากผู้สอบบัญชีและการดําเนินการของที่ปรึกษาทางการเงินในประเด็นดังกล่าว (27) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน นอกจากเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ยื่นคําขออนุญาตแจ้งให้ผู้สอบบัญชีจัดเตรียมกระดาษทําการของผู้สอบบัญชีไว้เพื่อการตรวจสอบของสํานักงาน เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง (8) (9) (12) (25) และ (26) ให้ยื่นเฉพาะกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ข้อ ๔ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบ 35-2 ได้แก่ เอกสารตามที่กําหนดในข้อ 3(2) (3) (4) (5) (7) และ (13) ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตรายใดมีเหตุจําเป็นและสมควร หรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น ที่ทําให้ไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานตามข้อ 3 หรือข้อ 4 ได้ ผู้ขออนุญาตอาจขอผ่อนผันการไม่ส่งข้อมูลหรือเอกสารนั้นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันนั้น ข้อ ๖ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติหรือที่ใช้บังคับอยู่ตามบทเฉพาะกาลของประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๗ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2552 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,130
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 30/2560 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 30/2560 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (12/1) และ (12/2) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 “(12/1) หนังสือรับรองจากผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงิน และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการทําบัญชีว่า มีคุณสมบัติเป็นไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (12/2) สําเนารายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบในการประชุมครั้งที่คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้ (ถ้ามี) (ก) ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงินมีประสบการณ์ในการทํางานที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการดําเนินกิจการของผู้ขออนุญาต และระยะเวลาการทํางานดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่มีประสบการณ์ในการทํางาน ด้านบัญชีหรือการเงินตามที่กําหนดในประกาศนั้น (ข) หลักสูตรอบรมผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชี และการเงิน และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการทําบัญชี ซึ่งผู้ขออนุญาต จัดขึ้นเองมีเนื้อหาและจํานวนชั่วโมงเป็นไปตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง (8) (9) (12) (12/1) (12/2) (25) และ (26) ให้ยื่นเฉพาะกรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง (12/1) และ (12/2) ให้ยื่นพร้อมกับคําขออนุญาตที่ยื่นต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,131
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 47/2561 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47/2561 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (23) และ (24) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(23) งบการเงินของผู้ขออนุญาตดังนี้ (ก) กรณีมีงบการเงินหรืองบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เป็นงบการเงินหรืองบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีล่าสุดก่อนยื่นคําขออนุญาต ได้แก่ งบการเงินและงบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชี 3 ปีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ได้แก่ งบการเงินและงบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต (24) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ให้ยื่นงบการเงินประจํางวดปีบัญชีของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก และงบการเงินหรือรายงานทางการเงินอื่นใดของบริษัทดังกล่าวที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อขอจดทะเบียนหุ้นที่ออกใหม่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ทั้งนี้ การยื่นงบการเงินประจํางวดปีบัญชีของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน (23) โดยอนุโลม บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บริษัทย่อยตามข้อ 24(1) หรือบริษัทตามข้อ 24(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ซึ่งมีสัดส่วนที่มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับขนาดของผู้ขออนุญาต” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,132
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 2/2562 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 2/2562 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 30/2560 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47/2561 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 ข้อ ๒ ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่รายใดมีเหตุจําเป็นแลสมควร หรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น ที่ทําให้ไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งได้ ผู้ขออนุญาตอาจขอผ่อนผันการไม่ส่งข้อมูลหรือเอกสารนั้นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันนั้น ข้อ ๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หรือที่ยังมีผลใช้บังคับเนื่องจากบทเฉพาะกาลของประกาศดังกล่าวยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 61/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 35/2552 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2543 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,133
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 5/2559 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 63/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ให้บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว โดยต้องเป็นไปตามแบบ 35-1-F ที่แสดงไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามข้อ 3” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,134
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 11/2559 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 11/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ 1 ให้ยกเลิกความใน (24) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 63/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(24) งบการเงินและงบการเงินรวมประจํารอบปีบัญชีล่าสุด และงบการเงินไตรมาสล่าสุดของผู้ขออนุญาต” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (24/1) ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 63/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 “(24/1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประกอบธุรกิจการถือหุ้นบริษัทอื่น (holding company) ให้ยื่นเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตดังนี้ด้วย (ก) งบการเงินประจํารอบปีบัญชีล่าสุดของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก และงบการเงินหรือรายงานทางการเงินอื่นใดของบริษัทดังกล่าวที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อการขอจดทะเบียนหุ้นที่ออกใหม่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ข) งบการเงินไตรมาสล่าสุดที่ลงลายมือชื่อโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทดังกล่าว เว้นแต่บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักไม่ได้จัดให้มีงบการเงินในลักษณะดังกล่าว ให้ยื่นหนังสือชี้แจงจากผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาตที่แสดงว่างบการเงินไตรมาสล่าสุดที่ใช้ภายในกิจการ (internal financial statement) ของบริษัทดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาโดยผู้สอบบัญชีที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. ผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาตดังกล่าวนั้นเองซึ่งสามารถทําการสอบบัญชีได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศที่บริษัทดังกล่าวจัดตั้งขึ้น 2. ผู้สอบบัญชีท้องถิ่นซึ่งสังกัดสํานักงานสอบบัญชีที่เป็นเครือข่ายเดียวกับสํานักงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีของผู้ขออนุญาต โดยสํานักงานสอบบัญชีทั้งสองแห่งนั้น เป็นสมาชิกประเภทเต็มรูปแบบ (full member) ของเครือข่ายดังกล่าว บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บริษัทย่อยตามข้อ 40(1) หรือบริษัทตามข้อ 40(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งมีสัดส่วนที่มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับขนาดของผู้ขออนุญาต” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,135
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 31/2560 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคำขออนุญาต(ฉบับที่ 4)
- ร่าง - ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2560 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.3/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14/1) และ (14/2) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 63/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 11/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559 “(14/1) หนังสือรับรองจากผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงิน และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการทําบัญชีว่า มีคุณสมบัติเป็นไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (14/2) สําเนารายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบในการประชุมครั้งที่คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้ (ถ้ามี) (ก) ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงินมีประสบการณ์ในการทํางานที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการดําเนินกิจการของผู้ขออนุญาต และระยะเวลาการทํางานดังกล่าวเป็นไปตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่มีประสบการณ์ในการทํางานด้านบัญชีหรือการเงินตามที่กําหนดในประกาศนั้น (ข) หลักสูตรอบรมผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงิน และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการทําบัญชี ซึ่งผู้ขออนุญาต จัดขึ้นเองมีเนื้อหาและจํานวนชั่วโมงเป็นไปตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 63/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่ง (9) (10) (13) (14) (14/1) และ (14/2) ให้ยื่นเฉพาะ กรณีเป็นการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ เอกสารหลักฐาน ตามวรรคหนึ่ง (14/1) และ (14/2) ให้ยื่นพร้อมกับคําขออนุญาตที่ยื่นต่อสํานักงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,136
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 48 /2561 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคำขออนุญาต (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 48/2561 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (24) และ (24/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 63/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 11/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(24) งบการเงินของผู้ขออนุญาตดังนี้ (ก) กรณีมีงบการเงินหรืองบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เป็นงบการเงินหรืองบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีล่าสุดก่อนยื่นคําขออนุญาต ได้แก่ งบการเงินและงบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีสามปีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต (ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ได้แก่ งบการเงินและงบการเงินรวมประจํางวดปีบัญชีล่าสุดและงบการเงินไตรมาสสุดท้ายก่อนยื่นคําขออนุญาต (24/1) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจํากัดที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ให้ยื่นงบการเงินประจํางวดปีบัญชีของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลัก และงบการเงินหรือรายงานทางการเงินอื่นใดของบริษัทดังกล่าวที่ผู้ขออนุญาตได้ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อขอจดทะเบียนหุ้นที่ออกใหม่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ทั้งนี้ การยื่นงบการเงินประจํางวดปีบัญชีของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน (24) โดยอนุโลม บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บริษัทย่อยตามข้อ 40(1)หรือบริษัทตามข้อ 40(2) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งมีสัดส่วนที่มีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับขนาดของผู้ขออนุญาต” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,137
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 3/2562 เรื่อง แบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคำขออนุญาต
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 3/2562 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ และวิธีการยื่นคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 12 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 63/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 11/2559 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2560 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (5) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 48/2561 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 ข้อ ๒ ให้บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาต และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร หรือมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่น ที่ทําให้บริษัทต่างประเทศไม่สามารถจัดส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งได้ บริษัทต่างประเทศอาจขอผ่อนผันการไม่ส่งข้อมูลหรือเอกสารนั้นต่อสํานักงาน ทั้งนี้ สํานักงานจะพิจารณาผ่อนผันโดยคํานึงถึงความจําเป็นในการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานในกรณีดังกล่าว หรือมาตรการอื่นที่เพียงพอและทดแทนการส่งข้อมูลหรือเอกสารหลักฐานที่ขอผ่อนผันนั้น ข้อ ๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 63/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 63/2558 เรื่อง แบบคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและวิธีการยื่นคําขออนุญาต ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ - ประกาศ ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,138
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 7/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานและการจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานและการจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12 วรรคหนึ่ง (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 5 วรรคสาม ประกอบกับข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 6/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง และจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2560 เรื่อง ระบบงานและการรายงานเกี่ยวกับการทําธุรกรรมของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศการจัดตั้งและจัดการกองทุน UI “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกันรวมถึงตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง” หมายความว่า ตราสารทางการเงินหรือสัญญาซึ่งมีข้อตกลงและเงื่อนไขที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วย โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ทําให้การชําระหนี้ที่กําหนดไว้ตามตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยอ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาหลักทรัพย์ หรือดัชนีราคาทรัพย์สิน เป็นต้น (2) มีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจและความเสี่ยงที่ไม่สัมพันธ์กับตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญ (3) เป็นผลให้สถานะความเสี่ยงโดยรวมและราคาของตราสารทางการเงินหรือสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ “การลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีกลยุทธ์แบบซับซ้อน (complex strategic investment) หรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความซับซ้อน (exotic derivatives) “มูลค่าหน่วยลงทุน” หมายความว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหารด้วยจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเมื่อสิ้นวันทําการที่คํานวณนั้น “วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน” หมายความว่า วันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการกําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม “วันทําการ” หมายความว่า วันเปิดทําการตามปกติของบริษัทจัดการ “ประกาศการจัดตั้งและจัดการกองทุน UI” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “ประกาศการจัดการกองทุนทั่วไป” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 87/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๓ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและประกาศการจัดตั้งและการจัดการกองทุน UI ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) การคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 1 (2) การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การจัดส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหมวด 4 (5) ระบบงานและการรายงานการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ ให้เป็นไปตามหมวด 5 (6) ระบบงานสําหรับการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหมวด 6 หมวด ๑ การคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การกําหนดความถี่ในการดําเนินการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมและคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ (1) คํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างน้อยในวันดังนี้ (ก) คํานวณทุกสิ้นวันทําการก่อนวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และประกาศภายในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน (ข) คํานวณทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และประกาศภายในวันทําการถัดไป (ค) คํานวณทุกสิ้นวันที่เกิดเหตุการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่าจะมีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือมูลค่าหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (2) คํานวณและประกาศราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนอย่างน้อยในวันดังนี้ (ก) คํานวณทุกสิ้นวันทําการก่อนวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน และประกาศภายในวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุน (ข) คํานวณทุกสิ้นวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนโดยใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของวันดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการคํานวณราคา และประกาศภายในวันทําการถัดไป หมวด ๒ การชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุน ข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ขายคืนหน่วยลงทุนภายใน 5 วันทําการ เว้นแต่จะมีการกําหนดไว้เป็นอย่างอื่นในโครงการจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดต้องสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุน และคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ หมวด ๓ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ ข้อ ๖ บริษัทจัดการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการได้ต่อเมื่อมีการกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) การเรียกเก็บเป็นจํานวนคงที่ หรือเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม หรือเป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยลงทุน (2) การเรียกเก็บโดยอิงกับผลการดําเนินงาน (performance based management fee) โดยบริษัทจัดการต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการและตัวอย่างการคํานวณค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ การเรียกเก็บดังกล่าวต้องคํานึงถึงความสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนด้วย ค่าธรรมเนียมซึ่งเรียกเก็บจากกองทุนรวม เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าอัตราขั้นสูงของค่าธรรมเนียมรวม ที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน เสนอขายหน่วยลงทุน หมวด ๔ การจัดส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวม ข้อ ๗ ในการจัดส่งรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมทุกรอบระยะเวลาบัญชี และทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทินตามข้อ 3 แห่งประกาศการจัดตั้งและจัดการกองทุน UI ประกอบกับข้อ 35 ข้อ 36 และข้อ 37 แห่งประกาศการจัดการกองทุนทั่วไป ให้บริษัทจัดการดําเนินการจัดส่งแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีหรือรอบระยะเวลา 6 เดือน แล้วแต่กรณี หมวด ๕ ระบบงานและการรายงานการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ ๘ ความในหมวดนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมที่มีการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญในธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (3) การขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้โดยมีสัญญาซื้อคืนเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนของกองทุนรวม (4) การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “การทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ” หมายความว่า การทําธุรกรรมของกองทุนรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การทําธุรกรรมที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมีมูลค่าความเสียหายสูงสุด (value-at-risk : VaR) ที่เกิดจากการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) รวมกันดังนี้ (ก) เกินกว่า 2 เท่าของตัวชี้วัดของกองทุนรวม (benchmark) สําหรับกรณีที่เป็นการคํานวณโดยใช้วิธี relative VaR approach (ข) เกินกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม สําหรับกรณีที่เป็นการคํานวณโดยใช้วิธี absolute VaR approach (2) การทําธุรกรรมโดยมีมูลค่าการทําธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง (1) (2) (3) หรือ (4) รวมกันแล้วเกินกว่าร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ โดยกองทุนรวมต้องไม่มีการลงทุนแบบซับซ้อนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๙ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานในการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญ โดยระบบงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องการติดตามและประเมินผลขาดทุน รวมถึงการจํากัดผลขาดทุนด้วย ข้อ ๑๐ ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญดังต่อไปนี้ ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนและสํานักงานทุกรอบระยะเวลาบัญชี (1) ข้อมูลฐานะการลงทุนที่เกิดขึ้นจริง (2) บทวิเคราะห์และคําอธิบายเกี่ยวกับผลตอบแทนและความเสี่ยง (3) รายงานมูลค่าความเสียหายสูงสุด (VaR) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งรายงานข้อมูลตามวรรคหนึ่งทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทินด้วย ข้อ ๑๑ ในการจัดส่งรายงานตามข้อ 10 ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการจัดส่งไปพร้อมกับรายงานเพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมซึ่งบริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องจัดส่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ทุกรอบระยะเวลาบัญชีหรือทุกรอบระยะเวลา 6 เดือน ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 12 แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมอย่างมีนัยสําคัญดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานเป็นรายเดือนภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป (1) รายงานมูลค่าความเสียหายสูงสุด (VaR) ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการเปิดเผยรายงานดังกล่าวเป็นรายเดือนบนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการด้วย (2) รายงานผลการทดสอบผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนรวมมีการลงทุนหากเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญ (stress test) ข้อ ๑๓ ในการจัดส่งรายงานตามข้อ 10 และข้อ 12 ต่อสํานักงาน ให้บริษัทจัดการจัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานจัดไว้ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมวด ๖ ระบบงานสําหรับการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีระบบงานเพิ่มเติมในการตรวจสอบและสอบทาน (due diligence process) เกี่ยวกับกองทุนต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากองทุนต่างประเทศนั้นมีมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ลงทุนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,139
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 43/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานและการจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานและการจัดการ ของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5 วรรคสาม ประกอบกับข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ประกาศการจัดการกองทุนทั่วไป” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานและการจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานและการจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ข้อ ๓ ให้ยกเลิกหมวด 1 การคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานและการจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบงานและการจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ในการจัดทํา จัดส่ง และเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาคผนวกการจัดทําและจัดส่งรายงานของกองทุนรวม โดยอนุโลม เว้นแต่เป็นกรณีรายงานดังต่อไปนี้ ให้ดําเนินการภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทิน หรือวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี (1) รายงานที่ต้องจัดทํา จัดส่ง และเปิดเผยทุกรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชีหรือของปีปฏิทินตามข้อ 4.3 ในส่วนที่ 1 ของภาคผนวกการจัดทําและจัดส่งรายงานของกองทุนรวม (2) รายงานที่ต้องจัดทํา จัดส่ง และเปิดเผยทุกรอบระยะเวลาบัญชีตามข้อ 5.1 ในส่วนที่ 1 ของภาคผนวกการจัดทําและจัดส่งรายงานของกองทุนรวม คําว่า “ภาคผนวกการจัดทําและจัดส่งรายงานของกองทุนรวม” ตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึง ภาคผนวก 3 การจัดทําและจัดส่งรายงานของกองทุนรวม แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 9/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564” ข้อ ๕ ในกรณีที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนยังไม่ได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลาในการคํานวณและประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขาย และราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวของสํานักงานซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ จนกว่าจะได้มีหลักเกณฑ์ตามที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,140
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 41/2556 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ --------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัด สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50 /2556 เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ 272555 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ ๒ ประกาศนี้ (1) เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ก่อนและภายหลังการเสนอขาย หน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ ข้อ ๓ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน (3) การรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อประชาชน ข้อ ๔ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและเอกสาร หลักฐานดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาจํานวนสองชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอนั้น (1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ที่มิใช่กรณีตาม (2) ให้ผู้ขออนุญาต ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ให้เป็นกองทรัสต์ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดไว้ในประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๔ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและเอกสาร หลักฐานดังต่อไปนี้ ต่อสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาจํานวนสองชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันที่ยื่นคําขอนั้น (1) ในกรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ที่มิใช่กรณีตาม (2) ให้ผู้ขออนุญาต ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) ในกรณีเป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ให้เป็นกองทรัสต์ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดไว้ในประกาศ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๕ แบนของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และให้มีข้อมูลเพิ่มเติมตามรายการดังต่อไปนี้ด้วย โดยข้อมูลเพิ่มเติม ดังกล่าวให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (1) ปัจจัยความเสี่ยงและแนวทางบริหารความเสี่ยง (2) คําเตือนเกี่ยวกับกองทรัสต์ ข้อมูลเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่งมิให้นํามาใช้บังคับกับร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับ การเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นกองทรัสต์ ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 5 ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล เพื่อให้ผู้จองซื้อมีสิทธิเลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการ แผ่นบันทึกข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับ ร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 5 ข้อ ๗ ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์รายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงาน ภายในสิบห้าวันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายตามแบบ 81-REIT ท้ายประกาศนี้ เว้นแต่ ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็น กองทรัสต์ให้ใช้แบบ 81-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๘ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ไม่สามารถยื่นรายงาน ผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นอาจขอ ผ่อนผันการยื่นรายงานดังกล่าว โดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนด พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่งรายงานนั้น และในกรณี ที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนด ระยะเวลาการส่งรายงานดังกล่าวได้ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,141
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 29/2557 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 29/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 6 วรรคหนึ่ง (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้ “(1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ที่มิใช่กรณีตาม (2) ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขออนุญาตและเอกสารดังนี้ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ก) คําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT ท้ายประกาศนี้ (ข) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,142
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 48/2558 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 48/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และข้อ 8 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2556 เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและ เสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 29/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตดังต่อไปนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ 4/1 ต่อสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนา จํานวนสองชุด (1) คําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นกองทรัสต์ (2) คําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่นอกจากกรณีตาม (1)” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและ เสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 4/1 เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามข้อ 4 ให้มีดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี (2) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามข้อ 4(2) (3) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,143
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 27/2555 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัด สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และอาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49 /2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ (1) เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ก่อนและภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ ข้อ 2 ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน (3) การรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อประชาชน ข้อ 3 ให้ผู้ขออนุญาตที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT ท้ายประกาศนี้ และเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์จํานวนหนึ่งชุด รวมทั้งสําเนาจํานวนสองชุด พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมในวันขออนุญาต ข้อ 4 แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และให้มีข้อมูลเพิ่มเติมตามรายการดังต่อไปนี้ด้วย (1) แผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทรัสต์ (risk spectrum) (2) ปัจจัยความเสี่ยงและแนวทางบริหารความเสี่ยง (3) คําเตือนเกี่ยวกับกองทรัสต์ ข้อมูลเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแนวทางที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้ ข้อ 5 ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 4ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล เพื่อให้ผู้จองซื้อมีสิทธิเลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการ แผ่นบันทึกข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 4 ข้อ 6 ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์รายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขายตามแบบ 81-REIT ท้ายประกาศนี้ ข้อ 7 ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ไม่สามารถยื่นรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นอาจขอผ่อนผันการยื่นรายงานดังกล่าว โดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่งรายงานนั้น และในกรณีที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งแบบรายงานดังกล่าวได้ ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,144
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 4/2559 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 4/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และข้อ 8 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 50/2556 เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคมพ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 48/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตผ่าน ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว โดยต้องเป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามข้อ 4/1 (1) คําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ในการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นกองทรัสต์ (2) คําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่นอกจากกรณีตาม (1)” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,145
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 34/2559 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 34/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขาย หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 34/2559 เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 41/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 29/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 48/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 4/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ประกาศนี้ (1) เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ก่อนและภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ ข้อ ๓ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน (3) การรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อประชาชน ข้อ ๔ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตผ่าน ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าว โดยต้องเป็นไปตามแบบดังต่อไปนี้ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามข้อ 5 (1) คําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นกองทรัสต์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่หรือไม่ก็ตาม (2) คําขออนุญาตตามแบบ 35-REIT ท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่นอกจากกรณีตาม (1) ข้อ ๕ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ตามข้อ 4 ให้มีดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่กรณี (2) หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินในการร่วมจัดทําคําขออนุญาต (3) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๖ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 6ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล เพื่อให้ผู้จองซื้อมีสิทธิเลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการ แผ่นบันทึกข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 6 ข้อ ๘ ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์รายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงาน ภายใน 15 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายตามแบบ 81-REIT ท้ายประกาศนี้ เว้นแต่ ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็น กองทรัสต์ (ไม่ว่าจะมีการเสนอขายหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใหม่หรือไม่) ให้ใช้แบบ 81-REIT (Conversion) ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๙ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ไม่สามารถยื่นรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นอาจขอผ่อนผันการยื่นรายงานดังกล่าว โดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่งรายงานนั้น และในกรณีที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งรายงานดังกล่าวได้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,146
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 5/2562 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 5/2562 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขาย หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคหนึ่งแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 3/2562 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 และข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 34/2559 เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 34/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ประกาศนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ที่ออกใหม่ ร่างหนังสือชี้ชวน และการรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อประชาชน ข้อ 4 ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 34/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 34/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์รายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ตามแบบ 81-REIT หรือแบบ 81-REIT (Conversion) แล้วแต่กรณี ต่อสํานักงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าวภายใน 15 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย ทั้งนี้ แบบ 81-REIT หรือแบบ 81-REIT (Conversion) ให้เป็นไปตามที่แสดงไว้บนระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น” ข้อ 4 ให้ยกเลิกแบบ 35-REIT แบบ 35-REIT (Conversion) แบบ 81-REIT และ แบบ 81-REIT (Conversion) ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 34/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,147
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 34/2559 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 34/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขาย หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 6 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 49/2555 เรื่อง การออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 34/2559 เรื่อง การแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 41/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 29/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 48/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 4/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ข้อ 2 ประกาศนี้ 1. เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ให้เป็น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ก่อนและภายหลังการเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ ข้อ 31 ประกาศนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ ที่ออกใหม่ ร่างหนังสือชี้ชวน และการรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อประชาชน ข้อ 41 ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและ เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาตต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ 51 ยกเลิก ข้อ 6 แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ประสงค์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 6ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล เพื่อให้ผู้จองซื้อมีสิทธิเลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการแผ่นบันทึกข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 6 ข้อ 81 ให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์รายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ตามแบบ 81-REIT หรือแบบ 81-REIT (Conversion) แล้วแต่กรณี ต่อสํานักงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยที่จัดไว้เพื่อการดังกล่าวภายใน 15 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย ทั้งนี้ แบบ 81-REIT หรือแบบ 81-REIT (Conversion) ให้เป็นไปตามที่แสดงไว้บนระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อ 9 ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์ไม่สามารถยื่นรายงานผลการขายหน่วยทรัสต์ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายหน่วยทรัสต์นั้นอาจขอผ่อนผันการยื่นรายงานดังกล่าว โดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่งรายงานนั้น และในกรณี ที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งรายงานดังกล่าวได้ ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,148
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 10/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความยินยอมในการฟื้นฟูกิจการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 10/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความยินยอม ในการฟื้นฟูกิจการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 90/4 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 และกฎกระทรวงกําหนดหน่วยงานของรัฐที่มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้ พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 20/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอความยินยอมในการฟื้นฟูกิจการของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ลูกหนี้” หมายความว่า ลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ “เจ้าหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกันของผู้ประกอบธุรกิจ “ผู้บริหารของลูกหนี้” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอํานาจดําเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่มีการยื่นคําขอความยินยอม “คําขอความยินยอม” หมายความว่า คําขอความยินยอมที่ยื่นต่อสํานักงานเพื่อใช้ประกอบการขอให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ทรัพย์สินของลูกค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นของลูกค้าตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในกรณีที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ประสงค์จะยื่นคําร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการและลูกหนี้นั้นเป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินหรือบริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตอยู่แล้ว ก่อนได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือก่อนได้รับใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ดังกล่าวยื่นคําขอความยินยอมต่อสํานักงานโดยแนบสําเนาหนังสือให้ความยินยอมในการฟื้นฟูกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย แล้วแต่กรณี เมื่อสํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าสํานักงานให้ความยินยอมในการฟื้นฟูกิจการของผู้ประกอบธุรกิจตามประกาศนี้แล้ว ข้อ ๔ เว้นแต่กรณีตามข้อ 3 ในกรณีที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ประสงค์จะยื่นคําขอความยินยอม สํานักงานจะให้ความยินยอมตามคําขอความยินยอมเมื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ดังกล่าวสามารถแสดงได้ว่าลูกหนี้มีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) มีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขที่จะร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งรวมถึงการมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถที่จะชําระหนี้ตามกําหนดได้และเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจํานวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกําหนดชําระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม (2) ต้องไม่ถูกศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (3) ต้องไม่ถูกศาลหรือนายทะเบียนมีคําสั่งให้เลิกหรือเพิกถอนทะเบียนนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ หรือมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลนั้น หรือนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ต้องเลิกกันด้วยเหตุอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าการชําระบัญชีของนิติบุคคลดังกล่าวจะเสร็จแล้วหรือไม่ (4) ต้องไม่เคยถูกศาลมีคําสั่งยกคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการตามที่กําหนดในหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2561 ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนยื่นคําขอความยินยอม (5) มีแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ที่มีความชัดเจนอย่างน้อยในเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการฟื้นฟูกิจการ แนวทางในการแก้ไขปัญหาของลูกหนี้และการกลับมาดําเนินธุรกิจในอนาคต รวมถึงความเป็นไปได้ในการชําระหนี้คืนเจ้าหนี้ (6) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 หรือข้อ 9 แล้วแต่กรณี แล้วเสร็จในกรณีที่ลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคําขอความยินยอม ข้อ ๕ ในการยื่นคําขอความยินยอมตามข้อ 4 ให้ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ยื่นคําขอความยินยอมต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1) ข้อความยืนยันว่าลูกหนี้มีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดในข้อ 4(1) (2) (3) และ (4) (2) แผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งแสดงรายละเอียดตามที่กําหนดในข้อ 4(5) และต้องแสดงหลักฐานเพิ่มเติมดังนี้ (ก) ในกรณีที่จะใช้แนวทางการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเจ้าหนี้หรือส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ต้องแสดงหลักฐานว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสําคัญกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างดังกล่าวได้มีการบรรลุข้อตกลงในเบื้องต้นระหว่างกันแล้ว (ข) ในกรณีที่จะใช้แนวทางการหาแหล่งเงินทุนหรือผู้ร่วมทุนใหม่ ต้องแสดงหลักฐานที่มาของแหล่งเงินทุนใหม่ หรือหลักฐานว่าผู้ร่วมลงทุนรายใหม่มีเงินทุนหมุนเวียนของตนเองเพียงพอที่จะใช้เพื่อการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้หรือมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากสถาบันการเงิน (3) ชื่อและคุณสมบัติของผู้ทําแผน (4) ต้องมีเอกสารและหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 4(6) แล้ว ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคําขอความยินยอม ทั้งนี้ ในการยื่นคําขอความยินยอมของผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้ระบุชื่อบริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมนั้น เพื่อให้เข้าจัดการกองทุนรวมแทน รวมทั้งแนบหนังสือแสดงเจตจํานงของบริษัทจัดการกองทุนรวมรายใหม่มาพร้อมคําขอความยินยอมด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เป็นผู้ยื่นคําขอความยินยอม สํานักงานจะให้ความยินยอมตามคําขอความยินยอมต่อเมื่อลูกหนี้ได้ดําเนินการดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วนแล้วก่อนยื่นคําขอความยินยอม (1) ระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ ทั้งนี้ ต้องมีหนังสือแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการระงับการประกอบธุรกิจดังกล่าวด้วย (ก) การป้องกันความเสี่ยงโดยรวมในเงินลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจหรือการดําเนินการตามภาระผูกพันที่ค้างอยู่ (ข) การขายหรือซื้อคืนหลักทรัพย์เพื่อการบังคับชําระหนี้ที่ลูกค้ามีต่อผู้ประกอบธุรกิจตามบัญชีมาร์จิ้นหรือบัญชีเงินสด แล้วแต่กรณี (2) ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีไว้เพื่อตนเอง เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงจากเงินลงทุนหรือภาระผูกพันของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) การมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นไม่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระผูกพันหรือก่อหนี้เพิ่มเติมในภายหลัง (3) รวบรวมทรัพย์สินของลูกค้าคืนให้แก่ลูกค้า หรือโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปยังผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รายอื่นที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้ดําเนินการดังกล่าว ต้องมีการนําทรัพย์สินไปฝากไว้ในบัญชีของผู้ให้บริการรับฝากทรัพย์สินที่เป็นสถาบันการเงินรายอื่น ศูนย์รับฝากทรัพย์สิน หรือสํานักงานวางทรัพย์แทน ในกรณีที่สํานักงานมีคําสั่งเกี่ยวกับการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า เป็นอย่างอื่นเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าเป็นสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจได้ดําเนินการตามที่สํานักงานกําหนดแล้ว (4) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานมีคําสั่งเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าและความมั่นคงของระบบการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจได้มีหนังสือแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการดําเนินการตาม (3) และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตาม (3) ด้วย ข้อ ๗ ในกรณีที่ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้ยื่นคําขอความยินยอม สํานักงานจะให้ความยินยอมตามคําขอความยินยอมต่อเมื่อลูกหนี้ได้ดําเนินการดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วนแล้วก่อนยื่นคําขอความยินยอม (1) ระงับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ ทั้งนี้ ต้องมีหนังสือแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการระงับการประกอบธุรกิจดังกล่าวด้วย (ก) การป้องกันความเสี่ยงโดยรวมในเงินลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจหรือ การดําเนินการตามภาระผูกพันที่ค้างอยู่ (ข) การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าเพื่อล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า (2) ล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีไว้เพื่อตนเอง เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงจากเงินลงทุนหรือภาระผูกพันของผู้ประกอบธุรกิจ (ข) การมีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นไม่ทําให้ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระผูกพันหรือก่อหนี้เพิ่มเติมในภายหลัง (3) โอนฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและทรัพย์สินของลูกค้าไปยังผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายอื่นที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้ดําเนินการดังกล่าว ต้องดําเนินการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า และคืนทรัพย์สินคงเหลือ (ถ้ามี) ให้แก่ลูกค้า ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถคืนทรัพย์สินคงเหลือให้แก่ลูกค้าได้ตาม วรรคหนึ่ง ต้องมีการนําทรัพย์สินดังกล่าวไปฝากไว้ในบัญชีของผู้ให้บริการรับฝากทรัพย์สินที่เป็นสถาบันการเงินรายอื่น ศูนย์รับฝากทรัพย์สิน หรือสํานักงานวางทรัพย์แทน (4) กระทําการหรืองดเว้นการกระทําอื่นใดตามที่สํานักงานมีคําสั่งเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของลูกค้าและความมั่นคงของระบบการชําระราคาและส่งมอบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบธุรกิจได้มีหนังสือแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการดําเนินการตาม (3) และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตาม (3) ด้วย ข้อ ๘ ในกรณีที่ลูกหนี้ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นผู้ยื่นคําขอความยินยอม สํานักงานจะให้ความยินยอมตามคําขอความยินยอมต่อเมื่อลูกหนี้ได้ดําเนินการดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วนแล้วก่อนยื่นคําขอความยินยอม (1) ระงับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) การดําเนินการตามความจําเป็นและสมควรเพื่อป้องกันมิให้มูลค่าทรัพย์สินซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารจัดการได้รับความเสียหาย หรือการใช้สิทธิเพื่อประโยชน์ของกองทุนรวม ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ลงทุน หรือเพื่อเปลี่ยนตราสารที่ครบกําหนดไถ่ถอนกับผู้ออกตราสารดังกล่าว (ข) การบริหารเงินสะสมและเงินสมทบของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่เป็นลูกค้า อยู่แล้วในขณะนั้น หรือการจ่ายเงินให้แก่สมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่สิ้นสมาชิกภาพ (ค) การรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีเป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม (2) แจ้งการยื่นคําขอความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี แล้ว ข้อ ๙ นอกจากการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เพิ่มเติมแล้วก่อนยื่นคําขอความยินยอม (1) ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการกองทุนรวมได้ดําเนินการให้บริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมแทนแล้ว ทั้งนี้ ในการคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุนรวมรายอื่น ได้มีการคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญและได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมแต่ละกองแล้วด้วย กรณีที่กองทุนรวมตามวรรคหนึ่งมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย (2) ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้ลูกค้ามีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยตรงหรือได้ดําเนินการให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายอื่นเข้าจัดการกองทุนส่วนบุคคลแล้ว ทั้งนี้ ตามวิธีการที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อลูกค้าเพื่อสอบถามความประสงค์ตามวรรคหนึ่งได้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ดําเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้ลูกค้ามีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยตรงแล้ว (3) ในกรณีที่เป็นการจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลได้ดําเนินการให้บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรายอื่นเข้าจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแล้ว ทั้งนี้ ตามความประสงค์ของคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (4) ในกรณีที่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจได้ดําเนินการให้ลูกค้าเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง และโอนบัญชีการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าไปยังผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุนรายอื่น หรือบริษัทจัดการกองทุนรวมซึ่งเป็นผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น แล้ว ทั้งนี้ ตามที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ไว้ ผู้ประกอบธุรกิจได้แจ้งการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ลูกค้า หรือคณะกรรมการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี แล้ว ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจรายเดิมต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดําเนินการตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เจ้าหนี้ของลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 หรือข้อ 9 เป็นผู้ยื่นคําขอความยินยอม หากสํานักงานพิจารณาให้ความยินยอมตามคําขอความยินยอม สํานักงานอาจใช้อํานาจสั่งการให้ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ปฏิบัติตามความในข้อกําหนดดังกล่าวโดยอนุโลมภายในระยะเวลาที่สํานักงานเห็นสมควร ข้อ ๑๑ สํานักงานจะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นคําขอความยินยอมทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอความยินยอมและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอความยินยอมที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๑๒ เมื่อลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ที่ยื่นคําขอความยินยอมได้รับความยินยอมจากสํานักงานแล้ว ต้องยื่นคําร้องขอต่อศาลภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่ได้รับความยินยอม เพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หากไม่ยื่นคําร้องขอให้ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ความยินยอมของสํานักงานเป็นอันสิ้นผลไป ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,149
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 14 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 57 ข้อ 58 ข้อ 61 และข้อ 62 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 12 และข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 94/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 1/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 1/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๔ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในเรื่องดังต่อไปนี้ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร ให้เป็นไปตามหมวด 1 (2) การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหน่วยลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) การให้บริการค้าตราสารหนี้ ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามหมวด 4 หมวด ๑ ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร ส่วน ๑ โครงสร้างองค์กรและความพร้อมด้านบุคลากร ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบหรือที่มีลักษณะการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ออกจากกันโดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้า ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ตัดสินใจลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (2) แบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ให้บริการด้านหลักทรัพย์ (front office) ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ (back office) และต้องจัดให้มีระบบการสอบยันการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรในหน่วยงานดังกล่าว ส่วน ๒ การบริหารและจัดการความเสี่ยง ข้อ ๖ ในการบริหารและจัดการความเสี่ยง ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบายหรือระเบียบวิธีปฏิบัติในการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับลักษณะและระดับความเสี่ยง ลักษณะการดําเนินธุรกิจ หรือแผนกลยุทธ์ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การประเมินความเสี่ยง ได้แก่ การระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง และการประเมินค่าความสี่ยง (2) การจัดการกับความเสี่ยง (3) การติดตามและทบทวนความเสี่ยง (4) การรายงานผลการบริหารความเสี่ยง โดยต้องรายงานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ ในการกําหนดนโยบายหรือระเบียบวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ และต้องจัดให้มีการให้ความรู้และคําแนะนําแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บุคคลดังกล่าวเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งพิจารณาทบทวนความมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมของนโยบายหรือระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ ส่วน ๓ การจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับ การประกอบธุรกิจ ข้อ ๗ ในการจัดให้มีระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถนําไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ (3) จัดให้มีมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ข้อ ๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดเก็บข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ โดยให้จัดเก็บตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้าการตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง และผู้มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมของลูกค้า หลักฐานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า วัตถุประสงค์การลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนของลูกค้า รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือทบทวนข้อมูลดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีเอกสารหลักฐานดังกล่าวและจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที และต้องเก็บต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปีนับแต่วันที่มีการปิดบัญชีหรือเลิกสัญญากับลูกค้า (2) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ไม่ว่าจะดําเนินการในรูปแบบเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีเอกสารหลักฐานดังกล่าวและเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย โดยในระยะเวลา 2 ปีแรกต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที ในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนํา การรับส่งคําสั่งซื้อขาย หรือการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการลงทุนทางโทรศัพท์ เครื่องบันทึกเสียงหรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใด ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บบันทึกการดําเนินการดังกล่าวด้วยเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกเสียงในรูปแบบอื่น เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนนับแต่วันที่มีการดําเนินการดังกล่าว โดยหากมีข้อร้องเรียนและการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บบันทึกดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าจะดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนแล้วเสร็จ (3) รายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่เผยแพร่รายงานหรือบทความการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้าโดยจัดเก็บไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที ในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนําโดยผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา ทั้งบทวิเคราะห์หรือเอกสารประกอบการให้คําแนะนําอื่นใดไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่มีการให้คําแนะนําดังกล่าวในประเทศไทย หมวด ๒ การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ในตลาดทุนที่เป็นหน่วยลงทุน ส่วน ๑ ข้อกําหนดทั่วไป ข้อ ๙ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานที่ลูกค้าสามารถใช้แสดงสิทธิในความเป็น เจ้าของหน่วยลงทุนและใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้ ในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้รับเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่ออกให้โดยบริษัทจัดการกองทุนรวม และในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นในหลักฐานดังกล่าวด้วย ส่วน ๒ การให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขาย หน่วยลงทุน ข้อ ๑๐ ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนและหนังสือชี้ชวนกําหนดให้ระยะเวลาการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แตกต่างจากระยะเวลาที่กําหนดไว้สําหรับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจนถึงเวลาเปิดและปิดรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนที่แตกต่างจากระยะเวลาที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนและหนังสือชี้ชวน สําหรับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (2) ในกรณีที่ลูกค้ามีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนเกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดไว้สําหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนกับผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการส่งคําสั่งดังกล่าวจะมีผลเป็นการส่งคําสั่งของวันทําการถัดไป ส่วน ๓ การให้บริการค้าหน่วยลงทุน ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการค้าหน่วยลงทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) แจ้งราคาเสนอซื้อขายและกําหนดเวลาที่ราคาเสนอซื้อขายจะสิ้นผลให้ลูกค้าทราบ โดยในกรณีที่การซื้อขายดังกล่าวมีเงื่อนไข ผู้ประกอบธุรกิจต้องชี้แจงเงื่อนไขให้ลูกค้าทราบโดยชัดเจน (2) รับซื้อหรือเสนอขายตามราคาเสนอซื้อขาย โดยผู้ประกอบธุรกิจจะปฏิเสธไม่รับซื้อหรือขายได้เฉพาะกรณีที่กําหนดไว้เป็นเงื่อนไขและเปิดเผยให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธแก่ลูกค้าได้อย่างชัดเจน (3) ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องให้แก่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด หากโครงการจัดการกองทุนรวมนั้นมีการกําหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลสภาพคล่องไว้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าว ส่วน ๔ การให้บริการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เพื่อให้การจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนเป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนตามข้อกําหนดในข้อ 56(1) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนทั้งนี้ ในกรณีที่ในหนังสือชี้ชวนไม่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนไว้ให้ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการจองซื้อ และเงื่อนไขในการจัดสรรหน่วยลงทุนโดยเปิดเผยให้ลูกค้าทราบก่อนการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้นั้นด้วย (2) เพื่อให้การจัดการและจัดเก็บเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 56(4) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนเข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหน่วยลงทุนของผู้เสนอขายหน่วยลงทุน หรือแยกเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนออกจากบัญชีทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บเงินจากลูกค้าที่จองซื้อหน่วยลงทุนได้ โดยต้องไม่นําเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวไปใช้ในกิจการใด ๆ (3) เพื่อให้การคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ลูกค้าเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 56(5) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ลูกค้าที่จองซื้อหน่วยลงทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรรภายใน 14 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหากผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว จะต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรรมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลานั้น ส่วน ๕ การให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แบบไม่เปิดเผยชื่อ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) ตามข้อ 57 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีระบบในการปฏิบัติงานที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะได้รับการปฏิบัติอย่างสุจริตและเป็นธรรมในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดทําบัญชีรายชื่อลูกค้า (2) การแยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (3) การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (4) การจัดทํารายงานให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน (5) การจัดส่งรายงานที่เกี่ยวข้องให้แก่ลูกค้าในระยะเวลาที่เหมาะสม ข้อ ๑๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งการเริ่มให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) ต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าก่อนให้บริการแก่ลูกค้า ข้อ ๑๕ ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) สําหรับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1) ตรวจสอบหรือดําเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีดังกล่าวถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าอัตราที่กําหนด (2) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบโดยพลันเมื่อปรากฏว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในบัญชีนั้นถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าอัตราที่กําหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นให้ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจระบุด้วยว่าเป็นบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามกรณีใด (3) แจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบ เมื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเกินกว่าอัตราที่กําหนด มีการลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนจนเป็นไปตามอัตราที่กําหนดแล้ว (4) ไม่นับคะแนนเสียงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่ต้องห้ามมิให้นับรวมจํานวนเสียงในการขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในบัญชีดังกล่าว (5) ไม่จ่ายเงินปันผลให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นในส่วนที่ต้องห้ามและยกเงินปันผลส่วนดังกล่าวให้เป็นรายได้ของแผ่นดิน สําหรับกรณีการเกินสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลตามที่ระบุไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมการพิจารณาความเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ หมวด ๓ การให้บริการค้าตราสารหนี้ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่เป็นการให้บริการค้าตราสารหนี้ตามข้อ 61 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าราคาที่เสนอซื้อขายหลักทรัพย์เป็นราคาที่แน่นอน (firm quotation) หรือเป็นราคาที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ (indicative quotation) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเสนอราคาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นราคาที่แน่นอน ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) รับซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามราคาเสนอซื้อขายดังกล่าว โดยทําความเข้าใจกับลูกค้าให้ชัดเจนเกี่ยวกับกําหนดเวลาที่ราคาเสนอซื้อขายจะสิ้นผล (2) กรณีที่ราคาเสนอซื้อขายดังกล่าวมีเงื่อนไข ผู้ประกอบธุรกิจต้องชี้แจงเงื่อนไขให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจน โดยผู้ประกอบธุรกิจจะปฏิเสธไม่รับซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามราคาเสนอซื้อขายดังกล่าวได้เฉพาะกรณีที่กําหนดไว้เป็นเงื่อนไขเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธแก่ลูกค้าอย่างชัดเจนด้วย ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อตราสารหนี้จากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เพื่อนําไปจําหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจกหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลอื่นเกี่ยวกับการเสนอขายตราสารหนี้ รวมทั้งส่งเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ให้เป็นไปตามหน้าที่ซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารให้ลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะยืนยันการทําธุรกรรม ข้อ ๑๘ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจอาจไม่เป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามข้อ 62 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจก็ได้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจหยุดประกอบธุรกิจการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหยุดให้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้ (2) ผู้ประกอบธุรกิจได้มีหนังสือแจ้งหยุดตาม (1) ต่อสํานักงานแล้ว (3) ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้คงค้างที่จะต้องรายงานต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ข้อ ๑๙ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย โดยให้เป็นไปตามแบบ วิธีการ และระยะเวลาที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ให้การรายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้รวมถึงการรายงานการทําธุรกรรมเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมด้วย หมวด ๔ การให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่รับรองกับลูกค้าว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะมีกําไรหรือผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอน หรือรับรองว่าจะไม่มีผลขาดทุนในอัตราที่กําหนดแน่นอน เว้นแต่เป็นการให้คํารับรองตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งถึงฐานะดังกล่าวให้ลูกค้าทราบและลูกค้าได้แสดงความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ให้จัดเก็บหลักฐานดังกล่าวตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในข้อ 8 (1) หลักฐานเกี่ยวกับการรับส่งคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า (2) หลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกให้ลูกค้านําทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติม (3) บัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละรายผู้ประกอบธุรกิจต้องส่งหลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง ให้แก่ลูกค้าตามวิธีการที่ได้ตกลงไว้กับลูกค้าภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นหลังเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นให้แก่ลูกค้า ข้อ ๒๒ ในการจัดทําบัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ประเภทของลูกค้า โดยให้ระบุว่าเป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายย่อย และในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อขายเพื่อบุคคลอื่นหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ให้ระบุกรณีดังกล่าวไว้ด้วย (2) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุดที่ลูกค้าอาจมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (3) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ (open interest) (4) จํานวนและประเภทของทรัพย์สินที่ลูกค้านํามาวางเป็นหลักประกัน หรือเพื่อชําระราคาและส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อสัญญาครบกําหนด (5) ผลกําไรขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าและมูลค่าหลักประกันคงเหลือภายหลังจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาด (mark to market) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (6) จํานวนและประเภทของทรัพย์สินที่เกินกว่ามูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ ข้อ ๒๓ ให้บรรดาคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,150
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 53/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 53/2563 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(13) และข้อ 57 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 94/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ไม่นับคะแนนเสียงตามที่ได้มีการกําหนดไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมว่าจะไม่นับคะแนนเสียงในส่วนที่เกินกว่าจํานวนหน่วยลงทุนเพียงใดของกองทุนรวมนั้น (2) ดําเนินการตรวจสอบและแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบ หากมีกรณีที่บุคคลใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าจํานวนดังกล่าว เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อการเปิดเผยตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียงที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการระหว่างประเทศดังนี้ ที่อยู่ในความดูแลของตัวแทนในต่างประเทศ (1) โครงการ Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes to Non-retail Investors (2) โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (3) โครงการ Asia Region Funds Passport” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,151
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 66/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 66/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับ ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12 วรรคหนึ่ง (3) และ (9) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2563 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และข้อ 12 วรรคหนึ่ง (3/1) และข้อ 25/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” ต่อจากบทนิยามคําว่า “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” ในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ““บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 “(5) การให้บริการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามหมวด 5” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 5 การให้บริการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ข้อ 22/1 ข้อ 22/2 ข้อ 22/3 และข้อ 22/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 “หมวด 5 การให้บริการจัดการกองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22/1 ในหมวดนี้ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ข้อ 22/2 บริษัทจัดการกองทุนรวมและบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องกําหนด กระบวนการและกลไกในการตัดสินใจ และจัดการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้า โดยต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการจัดการลงทุนดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดกลยุทธ์และนโยบายการลงทุน (2) การพิจารณาตัดสินใจในการจัดการลงทุน (3) การรับหรือส่งคําสั่งซื้อขายของกองทุน (4) การควบคุมดูแลการจัดการลงทุน (5) การปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุน ข้อ 22/3 ในการพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) คัดเลือกและแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (2) จัดทําข้อตกลงเกี่ยวกับขอบเขตในการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผลประโยชน์ (3) สอบทานการดําเนินงานของผู้ดูแลผลประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อตกลงตาม (2) อย่างสม่ําเสมอ ข้อ 22/4 ในการพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สิน บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีผู้รับฝากทรัพย์สินที่มีคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล (2) จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับขอบเขตในการปฏิบัติงานของผู้รับฝากทรัพย์สิน (3) สอบทานการดําเนินงานของผู้รับฝากทรัพย์สินให้เป็นไปตามข้อตกลงตาม (2) อย่างสม่ําเสมอ” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,152
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 14 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 57 ข้อ 58 ข้อ 61 และข้อ 62 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐาน การประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 12 และข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และ การให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560และข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 94/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5)ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 1/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 1/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล”( หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ 4 ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจ ปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร ให้เป็นไปตามหมวด 1 (2) การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) การให้บริการค้าตราสารหนี้ ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามหมวด 4 (5)( การให้บริการจัดการกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามหมวด 5 หมวด 1 ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1โครงสร้างองค์กรและความพร้อมด้านบุคลากร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบหรือที่มีลักษณะการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ออกจากกันโดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับ การลงทุนในหลักทรัพย์แก่ลูกค้า ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ตัดสินใจลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (2) แบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่ให้บริการด้านหลักทรัพย์ (front office) ออกจากหน่วยงานและบุคลากรที่ปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ (back office) และต้องจัดให้มีระบบ การสอบยันการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรในหน่วยงานดังกล่าว ส่วนที่ 2การบริหารและจัดการความเสี่ยง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 6 ในการบริหารและจัดการความเสี่ยง ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบายหรือระเบียบวิธีปฏิบัติในการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับลักษณะและระดับความเสี่ยง ลักษณะการดําเนินธุรกิจ หรือแผนกลยุทธ์ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การประเมินความเสี่ยง ได้แก่ การระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง และ การประเมินค่าความสี่ยง (2) การจัดการกับความเสี่ยง (3) การติดตามและทบทวนความเสี่ยง (4) การรายงานผลการบริหารความเสี่ยง โดยต้องรายงานต่อคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ ในการกําหนดนโยบายหรือระเบียบวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ และต้องจัดให้มีการให้ความรู้และคําแนะนําแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บุคคลดังกล่าวเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งพิจารณาทบทวนความมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมของนโยบายหรือระเบียบวิธีปฏิบัติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ ส่วนที่ 3 การจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับ การประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7 ในการจัดให้มีระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถนําไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่มี อํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ (3) จัดให้มีมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ข้อ 8 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดเก็บข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ โดยให้จัดเก็บตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคําขอเปิดบัญชีและการทําสัญญากับลูกค้า การตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง และผู้มีอํานาจควบคุมการทําธุรกรรมของลูกค้า หลักฐานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและความสามารถในการชําระหนี้ของลูกค้า วัตถุประสงค์การลงทุน ระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนของลูกค้า รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือทบทวนข้อมูลดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีเอกสารหลักฐานดังกล่าวและจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที และต้องเก็บต่อไปอีกเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปีนับแต่วันที่มีการปิดบัญชีหรือเลิกสัญญากับลูกค้า (2) เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ไม่ว่าจะดําเนินการในรูปแบบเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีเอกสารหลักฐานดังกล่าวและเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ มีการซื้อขาย โดยในระยะเวลา 2 ปีแรกต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที ในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนํา การรับส่งคําสั่งซื้อขาย หรือการเจรจาตกลง เกี่ยวกับการลงทุนทางโทรศัพท์ เครื่องบันทึกเสียงหรือเครื่องมือสื่อสารอื่นใด ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บบันทึกการดําเนินการดังกล่าวด้วยเทปบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกเสียงในรูปแบบอื่น เป็นระยะเวลา อย่างน้อย 3 เดือนนับแต่วันที่มีการดําเนินการดังกล่าว โดยหากมีข้อร้องเรียนและการดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนยังไม่แล้วเสร็จ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บบันทึกดังกล่าวไว้ต่อไปจนกว่าจะดําเนินการเกี่ยวกับ ข้อร้องเรียนแล้วเสร็จ (3) รายงานหรือบทความการวิเคราะห์การลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดเก็บไว้ อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่เผยแพร่รายงานหรือบทความการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้าโดยจัดเก็บไว้ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที ในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนําโดยผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจ จัดเก็บเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการให้คําแนะนํา ทั้งบทวิเคราะห์หรือเอกสารประกอบการให้คําแนะนําอื่นใดไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่มีการให้คําแนะนําดังกล่าวในประเทศไทย หมวด 2การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ในตลาดทุนที่เป็นหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 9 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานที่ลูกค้าสามารถใช้แสดงสิทธิในความเป็น เจ้าของหน่วยลงทุนและใช้อ้างอิงต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมและบุคคลอื่นได้ ในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้รับเอกสารแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่ออกให้โดยบริษัทจัดการกองทุนรวม และในกรณีที่มีข้อจํากัดสิทธิของลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจระบุข้อจํากัดสิทธิเช่นว่านั้นในหลักฐานดังกล่าวด้วย ส่วนที่ 2การให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขาย หน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 10 ในกรณีที่โครงการจัดการกองทุนและหนังสือชี้ชวนกําหนดให้ระยะเวลา การขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แตกต่างจากระยะเวลาที่กําหนดไว้สําหรับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจนถึงเวลาเปิดและปิดรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ที่แตกต่างจากระยะเวลาที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนและหนังสือชี้ชวน สําหรับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (2) ในกรณีที่ลูกค้ามีคําสั่งซื้อหรือขายคืนหน่วยลงทุนเกินกว่าระยะเวลาที่กําหนดไว้ สําหรับการซื้อขายหน่วยลงทุนกับผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการส่งคําสั่งดังกล่าวจะมีผลเป็นการส่งคําสั่งของวันทําการถัดไป ส่วนที่ 3การให้บริการค้าหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการค้าหน่วยลงทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) แจ้งราคาเสนอซื้อขายและกําหนดเวลาที่ราคาเสนอซื้อขายจะสิ้นผลให้ลูกค้าทราบ โดยในกรณีที่การซื้อขายดังกล่าวมีเงื่อนไข ผู้ประกอบธุรกิจต้องชี้แจงเงื่อนไขให้ลูกค้าทราบโดยชัดเจน (2) รับซื้อหรือเสนอขายตามราคาเสนอซื้อขาย โดยผู้ประกอบธุรกิจจะปฏิเสธไม่รับซื้อหรือขายได้เฉพาะกรณีที่กําหนดไว้เป็นเงื่อนไขและเปิดเผยให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเท่านั้นทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธแก่ลูกค้าได้อย่างชัดเจน (3) ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องให้แก่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมใด หากโครงการจัดการกองทุนรวมนั้นมีการกําหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลสภาพคล่องไว้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าว ส่วนที่ 4การให้บริการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 12 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เพื่อให้การจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนเป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนตามข้อกําหนดในข้อ 56(1) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนทั้งนี้ ในกรณีที่ในหนังสือชี้ชวนไม่กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนไว้ให้ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการจองซื้อ และเงื่อนไขในการจัดสรรหน่วยลงทุนโดยเปิดเผยให้ลูกค้าทราบก่อนการจัดจําหน่ายหน่วยลงทุนและต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้นั้นด้วย (2) เพื่อให้การจัดการและจัดเก็บเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 56(4) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจนําเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนเข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหน่วยลงทุนของผู้เสนอขายหน่วยลงทุน หรือแยกเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนออกจากบัญชีทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บเงินจากลูกค้าที่จองซื้อหน่วยลงทุนได้ โดยต้องไม่นําเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวไปใช้ในกิจการใด ๆ (3) เพื่อให้การคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนให้แก่ลูกค้าเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อ 56(5) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน ให้แก่ลูกค้าที่จองซื้อหน่วยลงทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรรภายใน 14 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขาย หากผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว จะต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรรมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลานั้น ส่วนที่ 5การให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) ตามข้อ 57 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีระบบในการปฏิบัติงานที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะได้รับการปฏิบัติอย่างสุจริตและเป็นธรรมในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดทําบัญชีรายชื่อลูกค้า (2) การแยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (3) การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (4) การจัดทํารายงานให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน (5) การจัดส่งรายงานที่เกี่ยวข้องให้แก่ลูกค้าในระยะเวลาที่เหมาะสม ข้อ 14 ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งการเริ่มให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) ต่อสํานักงานเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าก่อนให้บริการแก่ลูกค้า ข้อ 15( ในการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (omnibus account) ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ไม่นับคะแนนเสียงตามที่ได้มีการกําหนดไว้ในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมว่าจะไม่นับคะแนนเสียงในส่วนที่เกินกว่าจํานวนหน่วยลงทุนเพียงใดของกองทุนรวมนั้น (2) ดําเนินการตรวจสอบและแจ้งให้บริษัทจัดการกองทุนรวมทราบ หากมีกรณีที่บุคคลใดถือหน่วยลงทุนเกินกว่าจํานวนดังกล่าว เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนรวมใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อการเปิดเผยตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อจํากัดในการใช้สิทธิออกเสียงที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีที่เป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการระหว่างประเทศดังนี้ ที่อยู่ในความดูแลของตัวแทนในต่างประเทศ (1) โครงการ Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes toNon-retail Investors (2) โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (3) โครงการ Asia Region Funds Passport หมวด 3การให้บริการค้าตราสารหนี้ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 16 ในกรณีที่เป็นการให้บริการค้าตราสารหนี้ตามข้อ 61 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าราคาที่เสนอซื้อขายหลักทรัพย์เป็นราคาที่แน่นอน (firm quotation) หรือเป็นราคาที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ (indicative quotation) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเสนอราคาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นราคาที่แน่นอน ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) รับซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามราคาเสนอซื้อขายดังกล่าว โดยทําความเข้าใจกับลูกค้าให้ชัดเจนเกี่ยวกับกําหนดเวลาที่ราคาเสนอซื้อขายจะสิ้นผล (2) กรณีที่ราคาเสนอซื้อขายดังกล่าวมีเงื่อนไข ผู้ประกอบธุรกิจต้องชี้แจงเงื่อนไขให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจน โดยผู้ประกอบธุรกิจจะปฏิเสธไม่รับซื้อหรือขายหลักทรัพย์ตามราคาเสนอซื้อขายดังกล่าวได้เฉพาะกรณีที่กําหนดไว้เป็นเงื่อนไขเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธแก่ลูกค้าอย่างชัดเจนด้วย ข้อ 17 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อตราสารหนี้จากบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เพื่อนําไปจําหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจกหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลอื่นเกี่ยวกับการเสนอขายตราสารหนี้ รวมทั้งส่งเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ให้เป็นไปตามหน้าที่ซึ่งบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งเอกสารสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารให้ลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะยืนยันการทําธุรกรรม ข้อ 18 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจอาจไม่เป็นสมาชิกของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยตามข้อ 62 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจก็ได้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจหยุดประกอบธุรกิจการค้าหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ หรือหยุดให้บริการเกี่ยวกับตราสารหนี้ (2) ผู้ประกอบธุรกิจได้มีหนังสือแจ้งหยุดตาม (1) ต่อสํานักงานแล้ว (3) ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้คงค้างที่จะต้องรายงานต่อสมาคม ตลาดตราสารหนี้ไทย ข้อ 19 ให้ผู้ประกอบธุรกิจรายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย โดยให้เป็นไปตามแบบ วิธีการ และระยะเวลาที่สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยกําหนด เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ให้การรายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้รวมถึงการรายงานการทําธุรกรรมเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมด้วย หมวด 4 การให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 20 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่รับรองกับลูกค้าว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะ มีกําไรหรือผลตอบแทนในอัตราที่แน่นอน หรือรับรองว่าจะไม่มีผลขาดทุนในอัตราที่กําหนดแน่นอน เว้นแต่เป็นการให้คํารับรองตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งถึงฐานะดังกล่าวให้ลูกค้าทราบและลูกค้าได้แสดงความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ 21 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ให้จัดเก็บหลักฐานดังกล่าวตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในข้อ 8 (1) หลักฐานเกี่ยวกับการรับส่งคําสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า (2) หลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกให้ลูกค้านําทรัพย์สินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติม (3) บัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย ผู้ประกอบธุรกิจต้องส่งหลักฐานยืนยันการเรียกหลักประกันเพิ่มเติมตามวรรคหนึ่ง ให้แก่ลูกค้าตามวิธีการที่ได้ตกลงไว้กับลูกค้าภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นหลังเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นให้แก่ลูกค้า ข้อ 22 ในการจัดทําบัญชีแสดงรายการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า แต่ละราย ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ประเภทของลูกค้า โดยให้ระบุว่าเป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายย่อยและในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อขายเพื่อบุคคลอื่นหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ให้ระบุกรณีดังกล่าวไว้ด้วย (2) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสูงสุดที่ลูกค้าอาจมีได้ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง (3) ฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ (open interest) (4) จํานวนและประเภทของทรัพย์สินที่ลูกค้านํามาวางเป็นหลักประกัน หรือเพื่อชําระราคาและส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเมื่อสัญญาครบกําหนด (5) ผลกําไรขาดทุนจากฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าและมูลค่าหลักประกันคงเหลือภายหลังจากการปรับมูลค่าตามราคาตลาด (mark to market) ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (6) จํานวนและประเภทของทรัพย์สินที่เกินกว่ามูลค่าหลักประกันรักษาสภาพ หมวด 5( การให้บริการจัดการกองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22/1 ในหมวดนี้ “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล ข้อ 22/2 บริษัทจัดการกองทุนรวมและบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องกําหนด กระบวนการและกลไกในการตัดสินใจ และจัดการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้า โดยต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการจัดการลงทุนดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดกลยุทธ์และนโยบายการลงทุน (2) การพิจารณาตัดสินใจในการจัดการลงทุน (3) การรับหรือส่งคําสั่งซื้อขายของกองทุน (4) การควบคุมดูแลการจัดการลงทุน (5) การปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุน ข้อ 22/3 ในการพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทจัดการกองทุนรวมต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) คัดเลือกและแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ที่มีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (2) จัดทําข้อตกลงเกี่ยวกับขอบเขตในการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผลประโยชน์ (3) สอบทานการดําเนินงานของผู้ดูแลผลประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อตกลงตาม (2) อย่างสม่ําเสมอ ข้อ 22/4 ในการพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สิน บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีผู้รับฝากทรัพย์สินที่มีคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล (2) จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับขอบเขตในการปฏิบัติงานของผู้รับฝากทรัพย์สิน (3) สอบทานการดําเนินงานของผู้รับฝากทรัพย์สินให้เป็นไปตามข้อตกลงตาม (2) อย่างสม่ําเสมอ ข้อ 23 ให้บรรดาคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงาน คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งหรือหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 24 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,153
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ นป. 1/2562 เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการกำหนดนโยบาย มาตรการ และระบบงานที่เกี่ยวกับการกระทำที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้าของบริษัทจัดการ และการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ
ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 1/2562 เรื่อง แนวทางปฏิบัติสําหรับการกําหนดนโยบาย มาตรการ และระบบงานที่เกี่ยวกับการกระทําที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์กับลูกค้าของบริษัทจัดการ และ การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (“ประกาศ ที่ ทธ. 35/2556”) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (“ประกาศ ที่ สธ. 14/2558”) และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (“ประกาศ ที่ สธ. 15 /2558”) กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีนโยบาย มาตรการ และระบบงานในการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ โดยต้องดําเนินการควบคุมดูแล ติดตาม และตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และระบบงานดังกล่าว ตลอดจนมีการทบทวนความเหมาะสมของเรื่องดังกล่าวเป็นประจํา นั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของผู้ประกอบธุรกิจ สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 5(3) ประกอบกับข้อ 12(1) และ (8) ข้อ 17 และข้อ 18 แห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๒ แนวทางปฏิบัตินี้เป็นแนวทางเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดให้มีนโยบาย มาตรการ และระบบงานในการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (2) การควบคุมดูแล ติดตาม และตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และระบบงานตาม (1) (3) การทบทวนความเหมาะสมของการดําเนินการตาม (1) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามแนวทางตามวรรคหนึ่งจนครบถ้วน สํานักงานจะพิจารณาว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 ประกาศ ที่ สธ. 14/2558 และประกาศ ที่ สธ. 15/2558 ในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการต่างจากแนวทางปฏิบัตินี้ ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการดําเนินการนั้นยังคงอยู่ภายใต้หลักการและข้อกําหนดของประกาศดังกล่าว ข้อ ๓ แนวทางปฏิบัติตามข้อ 2 มีรายละเอียดตามที่กําหนดในภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ รายละเอียดดังกล่าวได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดนโยบายป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (2) การบริหารจัดการและการจํากัดการใช้ข้อมูลภายใน (3) การกํากับดูแลและตรวจสอบเพื่อป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร (4) การบริหารจัดการการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (5) การบริหารจัดการการกระทําที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับผลประโยชน์ตอบแทนจากการประกอบธุรกิจและการใช้บริการจากบริษัทนายหน้าซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้อง (6) การควบคุมดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน (7) การดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,154
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ นป. 2/2562 เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับการกำหนดนโยบาย มาตรการและระบบงานที่เกี่ยวกับการกระทำที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ และการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 2/2562 เรื่อง แนวทางปฏิบัติสําหรับการกําหนดนโยบาย มาตรการและ ระบบงานที่เกี่ยวกับการกระทําที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์กับลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ และการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของ บริษัทหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตามที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (“ประกาศ ที่ ทธ. 35/2556”) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 14/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (“ประกาศ ที่ สธ. 14/2558”) และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 15/2558 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (“ประกาศ ที่ สธ. 15 /2558”) กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีนโยบาย มาตรการ และระบบงานในการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ โดยต้องดําเนินการควบคุมดูแล ติดตาม และตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการ และระบบงานดังกล่าว ตลอดจนมีการทบทวนความเหมาะสมของเรื่องดังกล่าวเป็นประจํา นั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดข้างต้นของผู้ประกอบธุรกิจ สํานักงานโดยอาศัยอํานาจตามข้อ 5(3) ประกอบกับข้อ 12(1) และ (8) ข้อ 17 และข้อ 18 แห่งประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 จึงกําหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 1/2558 เรื่อง แนวทางปฏิบัติสําหรับการกําหนดนโยบาย มาตรการ และระบบงานที่เกี่ยวกับการกระทําที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้า ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 (2) ประกาศแนวปฏิบัติ ที่ นป. 2/2558 เรื่อง แนวทางปฏิบัติสําหรับการกําหนดนโยบายและระบบงานในการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท แต่ไม่รวมถึงการจัดการกองทุนรวมและการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๓ แนวทางปฏิบัตินี้เป็นแนวทางเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดให้มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้า การควบคุมดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และการทบทวนความเหมาะสมของการดําเนินการตามนโยบาย และมาตรการดังกล่าว (2) การจัดให้มีนโยบายและระบบงานในการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามแนวทางตามวรรคหนึ่งจนครบถ้วน สํานักงานจะพิจารณาว่าผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิบัติตามประกาศ ที่ ทธ. 35/2556 ประกาศ ที่ สธ. 14/2558 และประกาศ ที่ สธ. 15/2558 ในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการต่างจากแนวทางปฏิบัตินี้ ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าการดําเนินการนั้นยังคงอยู่ภายใต้หลักการและข้อกําหนดของประกาศดังกล่าว ข้อ ๔ แนวทางปฏิบัติสําหรับการกําหนดนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวกับการกระทําที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้าตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง (1) มีรายละเอียดตามที่กําหนดในภาคผนวก 1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ รายละเอียดดังกล่าวได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้ (1) การแบ่งแยกหน่วยงานและบุคลากรที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีข้อมูลที่ล่วงรู้มาจากการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นข้อมูลที่มิพึงเปิดเผย (2) มาตรการควบคุมภายในและการกํากับดูแลและตรวจสอบ เพื่อป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร (3) มาตรการป้องกันและจัดการการกระทําที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กรณีการรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการประกอบธุรกิจ (4) การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของพนักงาน ข้อ ๕ แนวทางปฏิบัติสําหรับการกําหนดนโยบายและระบบงานในการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง (2) มีรายละเอียดตามที่กําหนดในภาคผนวก 2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ รายละเอียดดังกล่าวได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดนโยบายและกํากับดูแลการปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูง (2) ระบบงานเพื่อป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผย ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,155
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 19/2562 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 19/2562 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้ ได้แก่ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เพื่ออนาคต ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2561 ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,156
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สท. 20/2562 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 20/2562 เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ 1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท อินโดรามา ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 29/2540 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 2. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท น้ํามันอพอลโล (ไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 19/2538 ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2561 3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย จํากัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 502/2533 ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2561 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,157
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 24/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบธุรกิจโครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และบุคลากรของบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และบุคลากรของ บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ประกอบกับ หมวด 3 โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 หมวด 4 การป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และหมวด 5 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 18/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการ กํากับ ตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่วนบุคคลที่มิใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” หมายความว่า ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุน “ข้อมูล” หมายความว่า ข้อมูลหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเอกสาร สื่อบันทึกเสียง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบอื่นใด ข้อ ๓ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจในฐานะผู้มีวิชาชีพ โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงานและบุคลากร ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้การจัดโครงสร้างการบริหารจัดการ บุคลากร และระบบงานของบริษัทจัดการเป็นไปตามหมวด 3 โครงสร้างการบริหารจัดการ ระบบงาน และบุคลากร หมวด 4 การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และหมวด 5 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) โครงสร้างการบริหารจัดการ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 1 (2) ระบบงาน โดยมีรายละเอียดตามหมวด 2 (3) บุคลากร โดยมีรายละเอียดตามหมวด 3 หมวด ๑ โครงสร้างการบริหารจัดการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ เพื่อให้การจัดโครงสร้างการบริหารจัดการของบริษัทจัดการเป็นไปอย่างเหมาะสมตามข้อ 11 และข้อ 12 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ ที่ชัดเจนและสอดคล้องต่อหลักความไว้วางใจดังนี้ (ก) แผนกลยุทธ์ นโยบาย เป้าหมาย และแผนการดําเนินงาน รวมทั้งแนวทางการทบทวนในระยะสั้นและระยะยาวในระดับบริษัทและระดับส่วนงานภายในองค์กร (ข) นโยบายการดําเนินการในเรื่องอื่นใดนอกเหนือจาก (1) (ก) ที่มีนัยสําคัญต่อบริษัทจัดการหรือลูกค้า (ค) ระเบียบปฏิบัติเพื่อควบคุมให้การดําเนินการของบริษัทจัดการเป็นไปตามที่กําหนดใน (1) ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. การบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า 2. การบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันความเสียหายจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการประกอบธุรกิจให้อยู่ในระดับที่จะไม่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ 3. การตรวจสอบถ่วงดุลและควบคุมภายใน 4. การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน (compliance) 5. การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการล่วงรู้ข้อมูลภายใน 6. การดําเนินการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 7. การดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า (2) กําหนดโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน โดยอย่างน้อยต้องคํานึงถึงวัตถุประสงค์ในเรื่องดังนี้ (ก) ความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดการตามหลักความน่าไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการใช้บริการของลูกค้า (ข) การป้องกันมิให้บริษัทจัดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจ (ค) การสื่อสารให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความจําเป็นและความสําคัญในการกํากับดูแลและตรวจสอบการประกอบธุรกิจ โดยทําความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว หมวด ๒ ระบบงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ เพื่อให้บริษัทจัดการมีระบบงานที่เหมาะสมและสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 11 ข้อ 12 หมวด 4 การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีระบบงานอย่างน้อยในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) การติดต่อและการให้บริการลูกค้า โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ (2) การจัดการลงทุนและการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 2 ของหมวดนี้ (3) การตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 3 ของหมวดนี้ (4) การตรวจสอบและควบคุมภายใน โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 4 ของหมวดนี้ (5) การบริหารและจัดการความเสี่ยง โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 5 ของหมวดนี้ (6) การจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 6 ของหมวดนี้ (7) ระบบงานอื่นเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดตามส่วนที่ 7 ของหมวดนี้ ข้อ ๖ บริษัทจัดการต้องทบทวนและปรับปรุงระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 11 และข้อ 12 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจและตามที่กําหนดในหมวดนี้ ให้เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับภาวะตลาดและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ส่วน ๑ การติดต่อและการให้บริการลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ เพื่อให้ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าเป็นไปตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง (3/1) และ (13) และหมวด 5 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ระบบงานดังกล่าวครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การติดต่อชักชวน แนะนํา รวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า (2) การทําสัญญารับจัดการกองทุนโดยกําหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการและลูกค้าอย่างชัดเจน (3) การดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า ส่วน ๒ การจัดการลงทุนและการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ เพื่อให้ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการลงทุนของกองทุนเป็นไปด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง โดยเป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้าตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการลงทุน และการดูแลทรัพย์สินของลูกค้าเป็นไปตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง (3) (9) และ (13) (ก) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ระบบงานดังกล่าวครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการจัดการลงทุน โดยมีรายละเอียดตามข้อ 9 (2) การปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุนของกองทุน โดยมีรายละเอียดตามข้อ 10 (3) การแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สิน โดยมีรายละเอียดตามข้อ 11 ข้อ ๙ ขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการจัดการลงทุนต้องครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดกลยุทธ์และนโยบายการลงทุน (2) การพิจารณาตัดสินใจในการจัดการลงทุน (3) การส่งคําสั่งซื้อขายของกองทุน (4) การควบคุมดูแลการจัดการลงทุน (5) การปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุน ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการจัดการลงทุนของกองทุน อย่างน้อยต้องครอบคลุมการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีบุคลากรหรือส่วนงานที่รับผิดชอบงานสนับสนุนการเข้าทําสัญญาและจัดการกองทุนอย่างชัดเจน (2) จัดให้มีการกําหนดขั้นตอนและวิธีการทํางานอย่างชัดเจน เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว รวมถึงข้อตกลงที่ทําไว้กับลูกค้า ข้อ ๑๑ ในการแต่งตั้งผู้รับฝากทรัพย์สินเพื่อดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าอย่างน้อยต้องจัดให้มีการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) คัดเลือกผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินซึ่งมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล (2) จัดทําข้อตกลงเกี่ยวกับขอบเขตในการปฏิบัติงานของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งและมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานดังกล่าวอย่างเหมาะสม (3) ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามข้อตกลงที่ทํากับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง และตรวจสอบการเก็บรักษาทรัพย์สินและการดําเนินงานของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างสม่ําเสมอ (ongoing basis) ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ในข้อตกลงตาม (2) ส่วน ๓ การตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ เพื่อให้ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง (4) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีระบบการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ถูกต้อง และครบถ้วนในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สําคัญ เพื่อลดข้อผิดพลาดและความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจ ส่วน ๔ การตรวจสอบและควบคุมภายใน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ เพื่อให้ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง (5) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ระบบงานดังกล่าวครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การควบคุม กํากับ ตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพแต่ละระดับชั้นของการปฏิบัติงานอย่างครบถ้วน (2) การทบทวนความเหมาะสมของกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุล (3) การประเมินระบบการให้บริการและจัดการลงทุนทั้งหมด เพื่อระบุหรือกําหนดความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นและวางระบบควบคุมเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจมีโอกาสเกิดขึ้น (protect) เพื่อสามารถตรวจจับสิ่งบ่งชี้ความผิดปกติ (detect) ได้อย่างรวดเร็วและแก้ไขหรือหยุดความเสียหายได้ทันที ส่วน ๕ การบริหารและจัดการความเสี่ยง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ เพื่อให้ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของบริษัทจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง (6) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ระบบงานดังกล่าวครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การบริหารและจัดการความเสี่ยงในเรื่องดังนี้ (ก) การระบุความเสี่ยง (risk identification) (ข) การประเมินความเสี่ยง (risk evaluation) ซึ่งต้องครอบคลุมถึงโอกาสหรือความถี่ที่จะเกิดความเสี่ยง รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ค) การกําหนดเครื่องมือและมาตรการในการบริหารและจัดการกับความเสี่ยง เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (ง) การติดตามและประเมินประสิทธิภาพในการบริหารและควบคุมความเสี่ยง (2) การป้องกันและจัดการความเสี่ยงอันเกิดจากการดําเนินการตาม (1) (3) การกําหนดกิจกรรมการควบคุมความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น และวิธีการแก้ไขหรือป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (4) การสํารองข้อมูล (backup) สําหรับระบบงานต่าง ๆ ตามที่กําหนดในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจและในประกาศนี้ (5) การบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Management) ในกรณีที่บริษัทจัดการเป็นสถาบันการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักโดยตรงอยู่แล้วและหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวได้ออกข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงเพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องไว้แล้ว ให้บริษัทจัดการดําเนินการให้เป็นไปตามข้อกําหนดหรือแนวทางปฏิบัติดังกล่าว (6) การบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ ส่วน ๖ การจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๕ เพื่อให้การจัดการและจัดเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ และปลอดภัย ตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง (12) และข้อ 14 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ระบบงานดังกล่าวครอบคลุมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การจัดเก็บข้อมูล ตามระยะเวลาที่กําหนดในข้อ 16 (2) การจัดเก็บข้อมูลภายในที่ล่วงรู้มาจากการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นข้อมูลที่ไม่พึงเปิดเผยไว้ในสถานที่ปลอดภัยที่ได้มีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลอย่างไม่เหมาะสม และสามารถควบคุมมิให้มีการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าว (3) การจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามนโยบายการกํากับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) การจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ ข้อ ๑๖ ให้ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลตามข้อ 15(1) เป็นไปตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) จัดเก็บตลอดระยะเวลาที่ลูกค้าแต่ละรายยังมีสถานะเป็นลูกค้าของบริษัทจัดการ และจัดเก็บต่อไปอีกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่สิ้นสุดการใช้บริการสําหรับข้อมูลดังนี้ (ก) สัญญารับจัดการกองทุน (ข) ข้อมูลที่บริษัทจัดการรวบรวมได้มาจากการดําเนินการตามส่วนที่ 1 การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า ของหมวด 5 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ (2) จัดเก็บเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ทํารายการหรือทําธุรกรรม โดยในช่วงระยะเวลา 2 ปีแรกนับแต่วันที่ทํารายการหรือทําธุรกรรม บริษัทจัดการต้องจัดเก็บข้อมูลดังนี้ ในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้ทันที (ก) การดูแลรักษาทรัพย์สินของกองทุน (ข) การวิเคราะห์หลักทรัพย์สําหรับใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนเพื่อกองทุน รวมทั้งเหตุผลในการลงทุน (ค) การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายของแต่ละกองทุน รวมทั้งการกระทบยอดกับผู้รับฝากทรัพย์สิน (ง) การคํานวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (จ) การขอความเห็นชอบจากลูกค้ากรณีที่เป็นการจัดการที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกองทุน (ฉ) การคํานวณผลการดําเนินงานของกองทุน (ช) การใช้สิทธิออกเสียง (proxy voting) เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า (ซ) สัญญารับจัดการกองทุนระหว่างบริษัทจัดการกับลูกค้า (ฌ) การกํากับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการ ในกรณีที่มีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลตามวรรคหนึ่งก่อนครบระยะเวลาการจัดเก็บ ให้จัดเก็บต่อไปจนกว่าการดําเนินการตามข้อร้องเรียนดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ส่วน ๗ ระบบงานอื่นเพิ่มเติม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๗ เพื่อให้ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการลงทุนเป็นไปตามข้อ 12 วรรคหนึ่ง (3) (7) (8) และ (11) และหมวด 4 การป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้มีระบบงานอื่นเพิ่มเติมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การล่วงรู้ข้อมูลภายใน และการดูแลการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (2) การดําเนินการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) การมอบหมายงาน หมวด ๓ บุคลากร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๘ เพื่อให้การบริหารจัดการบุคลากรของบริษัทจัดการเป็นไปอย่างเหมาะสมและเพียงพอตามข้อ 11 ข้อ 12 วรรคหนึ่ง (2) และข้อ 13 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีบุคลากรที่เพียงพอต่อการรองรับงานทุกลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรอย่างเพียงพอ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,158
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 26/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 26/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการกําหนด ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับ ข้อร้องเรียนของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546และข้อ 5 ประกอบกับข้อ 12(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ข้อร้องเรียน” หมายความว่า ข้อร้องเรียนของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่เกิดจากการกระทําของผู้ประกอบธุรกิจ พนักงาน หรือตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจ “ตัวแทน” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนดังต่อไปนี้ (1) รับข้อร้องเรียนจากลูกค้า ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นข้อร้องเรียนด้วยวาจา ให้ผู้ประกอบธุรกิจบันทึกข้อร้องเรียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและให้ลูกค้าลงนามรับรองความถูกต้องก่อนดําเนินการต่อไป (2) แจ้งระยะเวลาที่จะใช้ในการพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนให้ลูกค้าทราบนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน (3) ดําเนินการพิจารณาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนโดยเร็ว ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งข้อร้องเรียนดังกล่าวให้ตัวแทนเพื่อดําเนินการพิจารณาและแก้ไขปัญหาต่อไป (4) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาตาม (2) ให้แจ้งความคืบหน้าของการดําเนินการให้ลูกค้าทราบก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว และรายงานความคืบหน้าให้ลูกค้าทราบเพิ่มเติมเป็นระยะจนกว่าการดําเนินการจะแล้วเสร็จ (5) เมื่อผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ให้แจ้งผลการพิจารณาหรือการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้ดําเนินการตามข้อร้องเรียนโดยครบถ้วนและลูกค้ามีสิทธิในการเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการหรือกระบวนการระงับข้อพิพาทอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิในการเสนอเรื่องตามข้อร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวด้วย ข้อ ๓ ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งข้อร้องเรียนต่อสํานักงานและสํานักงานได้จัดส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2(2) (3) (4) และ (5) และรายงานผลการดําเนินการให้สํานักงานทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับข้อร้องเรียนจากสํานักงาน ทั้งนี้ หากการดําเนินการพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้รายงานความคืบหน้าเป็นระยะต่อสํานักงานจนกว่าการดําเนินการจะแล้วเสร็จ เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําข้อมูลสรุปจํานวนและรายละเอียดเกี่ยวกับข้อร้องเรียนทุกรายโดยแยกตามหมวดหมู่ และดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) นําเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ (2) จัดส่งข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานเป็นรายไตรมาสภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นสุดของแต่ละไตรมาส ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,159
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 12/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 12/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการกําหนด ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับ ข้อร้องเรียนของลูกค้า (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 26/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งข้อร้องเรียนต่อสํานักงานและสํานักงานได้จัดส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2(2) (3) (4) และ (5)” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 26/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 “ข้อ 4/1 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งข้อมูลตามข้อ 4 ต่อสํานักงาน ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจใช้ในการยื่นรายงานต่อสํานักงาน โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้คําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,160
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 26/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 26/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546และข้อ 5 ประกอบกับข้อ 12(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ข้อร้องเรียน” หมายความว่า ข้อร้องเรียนของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่เกิดจากการกระทําของผู้ประกอบธุรกิจ พนักงาน หรือตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจ “ตัวแทน” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ 2 ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนดังต่อไปนี้ (1) รับข้อร้องเรียนจากลูกค้า ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นข้อร้องเรียนด้วยวาจา ให้ผู้ประกอบธุรกิจบันทึกข้อร้องเรียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและให้ลูกค้าลงนามรับรองความถูกต้องก่อนดําเนินการต่อไป (2) แจ้งระยะเวลาที่จะใช้ในการพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนให้ลูกค้าทราบนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน (3) ดําเนินการพิจารณาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนโดยเร็ว ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับข้อร้องเรียนจากลูกค้าเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งข้อร้องเรียนดังกล่าวให้ตัวแทนเพื่อดําเนินการพิจารณาและแก้ไขปัญหาต่อไป (4) ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในกําหนดระยะเวลาตาม (2) ให้แจ้งความคืบหน้าของการดําเนินการให้ลูกค้าทราบก่อนครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว และรายงานความคืบหน้าให้ลูกค้าทราบเพิ่มเติมเป็นระยะจนกว่าการดําเนินการจะแล้วเสร็จ (5) เมื่อผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ให้แจ้งผลการพิจารณาหรือการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ดําเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้ดําเนินการตามข้อร้องเรียนโดยครบถ้วนและลูกค้ามีสิทธิในการเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการหรือกระบวนการระงับข้อพิพาทอื่น ๆให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงสิทธิในการเสนอเรื่องตามข้อร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการดังกล่าวด้วย ข้อ 3( ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งข้อร้องเรียนต่อสํานักงานและสํานักงานได้จัดส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2(2) (3) (4) และ (5) ข้อ 4 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทําข้อมูลสรุปจํานวนและรายละเอียดเกี่ยวกับข้อร้องเรียนทุกรายโดยแยกตามหมวดหมู่ และดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) นําเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ (2) จัดส่งข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อสํานักงานเป็นรายไตรมาสภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นสุดของแต่ละไตรมาส ข้อ 4/1( ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งข้อมูลตามข้อ 4 ต่อสํานักงาน ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักงานกําหนด เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจใช้ในการยื่นรายงานต่อสํานักงาน โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันเป็นอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้คําว่า “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 5 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,161
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 70/2558 เรื่อง การกำหนดบทนิยามผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 70/2558 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(7) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการระดมทุน” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (crowdfunding portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับ การเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ข) ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ประกอบธุรกิจในการระดมทุนไม่ว่าจะอยู่ใน รูปแบบการรับการบริจาค (donation) การรับการสนับสนุนทางการเงินโดยผู้ประกอบธุรกิจตอบแทนเป็นสิ่งของหรือผลประโยชน์ในลักษณะที่มิใช่ผลประโยชน์ทางการเงิน (reward) หรือตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยจากเงินที่ให้กู้ยืม (lending) ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการดังกล่าวจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ ให้หมายความรวมถึงผู้ให้บริการที่สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจในการระดมทุนโดยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (investment) ด้วย (2) คําว่า “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการระดมทุน” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (crowdfunding portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับ การเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ข) ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ประกอบธุรกิจในการระดมทุนไม่ว่าจะอยู่ใน รูปแบบการรับการบริจาค (donation) การรับการสนับสนุนทางการเงินโดยผู้ประกอบธุรกิจตอบแทนเป็นสิ่งของหรือผลประโยชน์ในลักษณะที่มิใช่ผลประโยชน์ทางการเงิน (reward) หรือตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยจากเงินที่ให้กู้ยืม (lending) ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการดังกล่าวจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ ให้หมายความรวมถึงผู้ให้บริการที่สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจในการระดมทุนโดยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (investment) ด้วย (2) คําว่า “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในประกาศนี้ (1) “ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการระดมทุน” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (crowdfunding portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับ การเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (ข) ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ประกอบธุรกิจในการระดมทุนไม่ว่าจะอยู่ใน รูปแบบการรับการบริจาค (donation) การรับการสนับสนุนทางการเงินโดยผู้ประกอบธุรกิจตอบแทนเป็นสิ่งของหรือผลประโยชน์ในลักษณะที่มิใช่ผลประโยชน์ทางการเงิน (reward) หรือตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยจากเงินที่ให้กู้ยืม (lending) ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการดังกล่าวจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ ให้หมายความรวมถึงผู้ให้บริการที่สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจในการระดมทุนโดยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (investment) ด้วย (2) คําว่า “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ผู้ลงทุนดังต่อไปนี้ (1) ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการระดมทุน (2) บุคคลธรรมดาซึ่งเคยลงทุนโดยตรงในหุ้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี และมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ห้าสิบล้านบาทขึ้นไป โดยสินทรัพย์ดังกล่าวไม่นับรวมมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยประจําของบุคคลนั้น (ข) มีรายได้ต่อปีตั้งแต่สี่ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ การคํานวณสินทรัพย์หรือรายได้ตาม (ก) หรือ (ข) อาจนับรวมกับส่วนของคู่สมรสได้ (3) ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหรือการลงทุน หรือผู้ที่เคยประเมินคุณค่าของผู้ประกอบธุรกิจหรือให้คําปรึกษาเพื่อพัฒนาธุรกิจ มาไม่น้อยกว่าสามปี เช่น ที่ปรึกษาทางการเงิน นักวิเคราะห์ ผู้บ่มเพาะธุรกิจ (incubator) กรรมการหรือผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้บริหารของธุรกิจ เป็นต้น โดยบุคคลดังกล่าวต้องมีเงินลงทุนโดยตรงในหุ้นตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่30 กันยายน พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,162
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 31/2562 เรื่อง การกำหนดบทนิยามผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2562 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11(3) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2562 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 70/2558 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ หลักเกณฑ์ตามประกาศนี้กําหนดขึ้นเพื่อรองรับให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ ผ่านระบบคราวด์ฟันดิงสามารถเสนอขายหลักทรัพย์โดยไม่จํากัดมูลค่าต่อผู้ลงทุนที่มีศักยภาพในการลงทุนและรับความเสี่ยงได้ โดยเป็นผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งประสงค์จะลงทุนโดยแท้จริง และให้การรับรองว่ามีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงทุน รวมทั้งมีฐานะการเงินที่มั่นคง ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการระดมทุน” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) ผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิง (crowdfunding portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง หรือที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (2) ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ประกอบธุรกิจในการระดมทุนไม่ว่าจะอยู่ใน รูปแบบการรับการบริจาค การรับการสนับสนุนทางการเงินโดยผู้ประกอบธุรกิจตอบแทนเป็นสิ่งของหรือผลประโยชน์ในลักษณะที่มิใช่ผลประโยชน์ทางการเงิน หรือตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยจากเงินที่ให้กู้ยืม “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง ได้แก่ผู้ลงทุนดังต่อไปนี้ (1) ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการระดมทุน (2) บุคคลธรรมดาซึ่งเคยลงทุนโดยตรงในหุ้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี และมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) มีสินทรัพย์สุทธิตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป โดยสินทรัพย์ดังกล่าวไม่นับรวมมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยประจําของบุคคลนั้น (ข) มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป ในการคํานวณสินทรัพย์หรือรายได้ตาม (ก) หรือ (ข) อาจนับรวมกับส่วนของคู่สมรสได้ (3) ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหรือการลงทุน หรือผู้ที่เคยประเมินคุณค่าของผู้ประกอบธุรกิจหรือให้คําปรึกษาเพื่อพัฒนาธุรกิจ มาไม่น้อยกว่า 3 ปี เช่น ที่ปรึกษาทางการเงิน นักวิเคราะห์ ผู้บ่มเพาะธุรกิจ (incubator) กรรมการหรือผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน หรือผู้บริหารของธุรกิจ เป็นต้น โดยบุคคลดังกล่าวต้องมีเงินลงทุนโดยตรงในหุ้นตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ข้อ ๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 70/2558 เรื่อง การกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ให้การอ้างอิงประกาศดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,163
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 34/2562 เรื่อง การคำนวณและการจัดทำรายงานการคำนวณเงินกองทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 34/2562 เรื่อง การคํานวณและการจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 8/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 34/2561 เรื่อง การจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลคํานวณเงินกองทุนตามแบบรายงานและคําอธิบายประกอบการคํานวณเงินกองทุนสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดทํารายงานการคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) จัดทํารายงานเป็นรายวันและยื่นรายงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการถัดไป (ข) จัดทํารายงานเป็นรายเดือนทุกวันสุดท้ายของเดือนและยื่นรายงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการที่ 10 ของเดือนถัดไป (2) จัดทํารายงานการคํานวณส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นรายเดือนทุกวันสุดท้ายของเดือน เว้นแต่กรณีที่ปรากฏเหตุที่อาจทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ให้จัดทํารายงานดังกล่าวทันที และยื่นรายงานต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ภายในวันทําการที่ 10 ของเดือนถัดไป รายงานการคํานวณเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องโดยบุคคลผู้มีอํานาจลงนาม ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรักษารายงานการคํานวณเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง พร้อมหลักฐานที่ใช้ประกอบการคํานวณรายงานดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบได้ หรือพร้อมที่จะจัดส่งให้แก่สํานักงาน ก.ล.ต. เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๔ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลใดมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.5 เท่าของเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดํารงไว้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการดังต่อไปนี้ทันที (1) ยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุที่เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิลดต่ํากว่าอัตราที่กําหนดข้างต้น (2) แจ้งแนวทางการดําเนินการที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะกลับมาดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิได้ ข้อ ๕ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลใดมีส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับหรือน้อยกว่า 1.1 เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้นที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องดํารงไว้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุที่ส่วนของผู้ถือหุ้นลดต่ํากว่าอัตราที่กําหนดข้างต้น และวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของส่วนของผู้ถือหุ้นในอนาคต รวมถึงความสามารถในการดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 1 ปีนับแต่วันที่ยื่นรายงานชี้แจง พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการดําเนินการที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะกลับมาดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นได้ (2) ยื่นรายงานชี้แจงสาเหตุและข้อมูลวิเคราะห์ พร้อมทั้งแนวทางการดําเนินการตาม (1) ภายใน 2 วันทําการนับแต่วันที่รู้ว่าส่วนของผู้ถือหุ้นลดต่ํากว่าอัตราที่กําหนดข้างต้น และทุกวันสุดท้ายของแต่ละเดือนจนกว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะสามารถดํารงส่วนของผู้ถือหุ้นได้ เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะกําหนดให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๖ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลยื่นรายงานการดํารงเงินกองทุนต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,164
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 19/2539 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ.19 /2539 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดง รายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77 และมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้เสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัท หรือเจ้าของหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึง นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน มีผลใช้บังคับ เอกสารการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวต้องมีลักษณะดังนี้ (1) มีแบบและข้อมูลตรงกับแบบและข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหลักทรัพย์ หรือร่างหนังสือชี้ชวน กรณีใดกรณีหนึ่ง (2) มีข้อความดังนี้อยู่บนปกหน้าด้านนอกของเอกสารการเผยแพร่ข้อมูล (ก) คําว่า “เอกสารนี้ไม่ใช่หนังสือชี้ชวน” เป็นตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่า ข้อความทั่วไปในเอกสารดังกล่าว และเห็นได้ชัดเจน (ข) วันที่นําเอกสารนี้ออกเผยแพร่ (ค) ข้อความดังต่อไปนี้ “เอกสารนี้มีข้อมูลไม่ต่างไปจากข้อมูลที่ปรากฏใน (ให้ระบุว่าเป็นข้อมูล ที่ไม่ต่างไปจากข้อมูลที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือร่างหนังสือ ชี้ชวนตามแต่กรณี) ที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งยัง ไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ข้อมูลในเอกสารนี้จึงอาจไม่สมบูรณ์และอาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่การเผยแพร่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีเอกสารอื่นใดประกอบ เอกสารดังกล่าว ต้องมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือ ร่างหนังสือชี้ชวน และต้องเป็นการเผยแพร่พร้อมกับการเผยแพร่เอกสารตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๓ บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายหลักทรัพย์ หรือร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นไว้ต่อสํานักงานได้ในวันและเวลาทําการของ สํานักงานโดยปฏิบัติตามระเบียบของสํานักงาน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,165
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 19/2544 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2544 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2539 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้เสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจหรือเจ้าของหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ “ข้อความ” หมายความรวมถึง การกระทําให้ปรากฏด้วยตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทําอย่างใด ๆ ที่ทําให้บุคคลทั่วไปสามารเข้าใจความหมายได้ “การสื่อสารออนไลน์” หมายความว่า การสื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีสายหรือไร้สาย เช่น สายโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ให้กระทําได้หลังจากสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนแล้ว โดยสาระสําคัญของข้อมูลที่เผยแพร่ดังกล่าวต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน ข้อ ๔ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์ซึ่งมิใช่การโฆษณาตามข้อ 6 ต้องจัดให้มีเอกสารสิ่งตีพิมพ์ที่ใช้ในการเผยแพร่มีลักษณะดังนี้ (1) มีแบบและข้อมูลตรงกับแบบและข้อมูลที่ปรากฏในร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงาน (2) มีข้อความดังต่อไปนี้อยู่บนปกหน้าด้านนอกของเอกสาร (ก) คําว่า “ร่างหนังสือชี้ชวน” เป็นตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในเอกสารดังกล่าว และเห็นได้ชัดเจน (ข) ข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” มีขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในเอกสารดังกล่าว และเห็นได้ชัดเจน (ค) วันที่นําเอกสารนี้ออกเผยแพร่ (ง) ข้อความดังต่อไปนี้ “เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่หนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์แต่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ก่อนการเสนอขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนมีระยะเวลาพอสมควรในการศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไม่แตกต่างไปจากข้อมูลที่ปรากฏในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ดังนั้น ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้จึงอาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก ทั้งนี้ การเสนอขายหลักทรัพย์จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว และจะกระทําโดยการส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุน” ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเผยแพร่เอกสารอื่นใดเพิ่มเติมนอกเหนือจากเอกสารที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง การเผยแพร่เอกสารอื่นใดดังกล่าวต้องกระทําควบคู่ไปกับการเผยแพร่เอกสารตามวรรคหนึ่ง และสาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในเอกสารอื่นใดนั้นต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จะได้นําข้อมูลดังกล่าวไปแก้ไขเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานหลังจากการเผยแพร่เอกสารตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ส่งข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งซึ่งมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันให้แก่ผู้ที่แสดงความสนใจในหลักทรัพย์ที่ได้รับเอกสารดังกล่าวไปแล้ว เว้นแต่ข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย และการจอง การจําหน่าย และการจัดสรร ข้อ ๕ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในลักษณะของการจัดให้ผู้ที่แสดงความสนใจในหลักทรัพย์ได้ประชุมพบปะโดยตรงกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายเอกสารที่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 4 วรรคหนึ่ง ให้เพียงพอแก่ผู้ที่แสดงความสนใจในหลักทรัพย์ (2) ในกรณีที่มีการเชิญผู้ที่แสดงความสนใจในหลักทรัพย์เข้าร่วมประชุมดังกล่าวตั้งแต่สิบรายขึ้นไป ให้ผู้เสนอขายหลัก ทรัพย์แจ้งกําหนดวันที่จะจัดให้มีการประชุมต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันทําการ และผู้เสนอขายหลักทรัพย์ ต้องยินยอมให้บุคคลที่สํานักงานมอบหมายเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์โดยการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์หรือการสื่อสารออนไลน์ ต้องส่งข้อความที่จะใช้ในการโฆษณาให้สํานักงานพิจารณาก่อนการโฆษณาและจะกระทําได้ต่อเมื่อสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงการใช้ข้อความดังกล่าวภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับข้อความนั้น การเผยแพร่ข้อมูลโดยการโฆษณาตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อความต่อไปนี้แสดงในโฆษณาด้วย (1) ข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” (2) ข้อความดังต่อไปนี้ “การโฆษณานี้มิใช่การเสนอขายหลักทรัพย์ การเสนอขายหลักทรัพย์จะกระทําโดยการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนที่มีผลใช้บังคับแล้วให้แก่ผู้ลงทุน” ในการแสดงข้อความที่เป็นคําเตือนตามวรรคสอง (1) และ (2) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) หากเป็นการโฆษณาผ่านสื่อที่ใช้ข้อความหรือภาพ ตัวอักษรของคําเตือนต้องมีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการโฆษณา และในกรณีที่โฆษณาดังกล่าวมิใช่ข้อความหรือภาพนิ่ง ต้องจัดให้มีการแสดงคําเตือน (display) ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบวินาที (2) หากเป็นการโฆษณาผ่านสื่อที่มีการใช้เสียง ต้องจัดให้มีการอ่านออกเสียงคําเตือนเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบวินาที ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่ได้แจ้งต่อสํานักงานแล้ว ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ส่งข้อความที่ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมให้สํานักงานพิจารณาก่อนการโฆษณา และให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดําเนินการต่อไปได้หากสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงการใช้ข้อความที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับข้อความนั้น ข้อ ๘ ข้อความที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ข้อความที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (2) ข้อความที่เป็นการประมาณการผลตอบแทนที่เป็นตัวเลข เว้นแต่เป็นการประมาณการอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหลักทรัพย์จะได้รับตามข้อกําหนดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (3) ข้อความที่เป็นการประมาณการผลการดําเนินงานและฐานะการเงินในอนาคต เว้นแต่เป็นการแสดงประมาณการงบการ เงินพร้อมทั้งสมมติฐานและคําอธิบายตามที่ปรากฏในร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อสํานักงาน (4) ข้อความที่เป็นการชี้นําว่าผู้ลงทุนจะไม่มีความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ (5) ข้อความที่เป็นการคาดการณ์หรือประมาณการถึงความต้องการหรือความสนใจในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ข้อ ๙ การเผยแพร่ข้อความที่เป็นการคัดลอกหรืออ้างอิงเฉพาะบางส่วนของข้อความ บทความ คํากล่าวของบุคคลใด ๆ หรือผลการดําเนินงานในอดีต ข้อความที่ใช้ในการเผยแพร่ดังกล่าวต้องเป็นข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง มีสาระสําคัญที่ครบถ้วนโดยไม่มีการตัดทอนหรือต่อเติมที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญ และต้องระบุแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้ในการเผยแพร่นั้นอย่างชัดเจน ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,166
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ.19/2544 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2544 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “ผู้เสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์ ที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ (2) “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (3) “ข้อความ” หมายความว่า เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่ง นั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ (4) “การโฆษณาผ่านสื่อ” หมายความว่า การโฆษณาการเสนอขายหลักทรัพย์ทางหนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสื่อสาร ออนไลน์ (5) “การสื่อสารออนไลน์” หมายความว่า การสื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีสายหรือไร้สาย เช่น สายโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น (6) “ผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ที่สนใจจะลงทุนในหลักทรัพย์ (7) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ให้กระทําได้หลังจากสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนแล้ว และให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๔ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ต้องมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน โดยมีลักษณะหรือวิธีการแสดงข้อมูลเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่แสดงข้อความที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นเท็จ เกินความจริง หรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (ข) เป็นการประมาณการผลตอบแทนจากการลงทุน เว้นแต่เป็นการประมาณการอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหลักทรัพย์จะได้รับตามข้อกําหนดหรือ เงื่อนไขของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (ค) เป็นการประมาณการผลการดําเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เว้นแต่เป็นการแสดงข้อความที่แสดงไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนที่ยื่นต่อ สํานักงาน (ง) เป็นการชี้นําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิดเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย (จ) เป็นการคาดการณ์หรือประมาณการเกี่ยวกับความต้องการซื้อหรือความสนใจในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่นใดในประการที่น่าจะทําให้ผู้ลงทุน เข้าใจสภาพความต้องการซื้อหรือความสนใจในหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพที่แท้จริง (2) ในกรณีข้อความที่เผยแพร่เป็นการคัดลอกหรืออ้างอิงเฉพาะบางส่วนของคํากล่าว หรือบทความของบุคคลใดๆ หรือบางส่วนของผลการดําเนินงานในอดีตของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ข้อความดังกล่าวต้องไม่มีการตัดทอนหรือต่อเติมที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญ และต้องระบุแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้ในการเผยแพร่ ข้อ ๕ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 4 การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้กระทําได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน (2) กรณีเป็นการแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้ลงทุนโดยตรง ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ในข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 9 (3) กรณีเป็นการจัดให้ผู้ลงทุนได้ประชุมพบปะโดยตรงกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 8 และข้อ 9 (4) กรณีเป็นการโฆษณาผ่านสื่อ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 10 ข้อ ๖ การแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้ลงทุนโดยตรง ให้กระทําได้ในรูปแบบและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ซึ่งมีข้อมูลอย่างเดียวกับที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน และมีข้อความดังต่อไปนี้อยู่บนปกหน้าด้านนอกของเอกสาร (ก) คําว่า “ร่างหนังสือชี้ชวน” เป็นตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในเอกสารดังกล่าว และเห็นได้ชัดเจน (ข) ข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” มีขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในเอกสารดังกล่าว และเห็นได้ชัดเจน (ค) วันที่นําข้อมูลนี้ออกเผยแพร่ (ง) ข้อความดังต่อไปนี้ “เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่หนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ แต่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ก่อนการเสนอขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนมีระยะเวลาพอสมควรในการศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไม่แตกต่างไปจากข้อมูล ที่ปรากฏในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ดังนั้น ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้จึงอาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก ทั้งนี้ การเสนอขายหลักทรัพย์จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว และจะกระทําโดยการส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุน” (2) ร่างหนังสือชี้ชวนที่จัดทําในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) ซึ่งต้องมีข้อมูลอย่างเดียวกับร่างหนังสือชี้ชวนตาม (1) และมีข้อความตาม (1) (ก) ถึง (ง) อยู่ในหน้าแรกของข้อความในแผ่นบันทึกข้อมูล (CD-ROM) (3) สรุปหนังสือชี้ชวน ซึ่งต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) จัดทําในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ (ข) มีข้อมูลอย่างน้อยตามรายการที่กําหนดในแบบ 77-1 ท้ายประกาศนี้ (ค) เป็นการแสดงข้อมูลที่คัดลอกหรือสรุปย่อจากข้อมูลรายการเดียวกันนั้นที่ได้แสดงไว้แล้วในร่างหนังสือชี้ชวน และต้องไม่มีการนําเสนอในลักษณะที่อาจทําให้สําคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสําคัญอื่น การแจกจ่ายสรุปหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่งให้กระทําได้เมื่อพ้นสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับสรุปหนังสือชี้ชวนจากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ และสํานักงานมิได้แจ้งความเห็นเป็นอย่างอื่นภายในระยะเวลานั้น โดยสํานักงานอาจแจ้งให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แจกจ่ายเอกสารดังกล่าวก่อนพ้นระยะเวลาที่กําหนดก็ได้ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์เลือกแจกจ่ายข้อมูลตาม (2) หรือ (3) แก่ผู้ลงทุน ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายร่างหนังสือชี้ชวนตาม (1) ให้ผู้ลงทุนด้วย หากผู้ลงทุนร้องขอ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารอื่นใดเพิ่มเติมนอกเหนือจากเอกสารที่มีลักษณะตามข้อ 6 การแจกจ่ายเอกสารอื่นใดดังกล่าวต้องกระทําควบคู่ไปกับการแจกจ่ายเอกสารตามข้อ 6 ด้วย และสาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในเอกสารอื่นใดนั้น ต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จะได้นําข้อมูลดังกล่าวไปแก้ไขเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๘ การจัดให้ผู้ลงทุนได้ประชุมพบปะโดยตรงกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้เข้าประชุม โดยข้อมูลที่แจกจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 6 และข้อ 7 โดยอนุโลม (2) ในกรณีที่มีการเชิญผู้ลงทุนเข้าร่วมประชุมดังกล่าวตั้งแต่สิบรายขึ้นไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แจ้งกําหนดวันที่จะจัดให้มีการประชุมต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันทําการและผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยินยอมให้บุคคลที่สํานักงานมอบหมายเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมดังกล่าวด้วย ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานภายหลังจากการแจกจ่ายร่างหนังสือชี้ชวนหรือสรุปหนังสือชี้ชวน ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ส่งข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันให้แก่ผู้ลงทุนที่ได้รับข้อมูลดังกล่าวไปแล้วด้วย เว้นแต่ข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือการจอง การจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ข้อ ๑๐ การโฆษณาผ่านสื่อจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้ส่งข้อความหรือตัวอย่างสื่อที่จะใช้ในการโฆษณา แล้วแต่กรณี ให้สํานักงานพิจารณาก่อนเริ่มการโฆษณา และสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงเนื้อหาของการโฆษณาดังกล่าวภายในสามวันทําการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สํานักงานได้รับข้อความหรือตัวอย่างสื่อนั้น การโฆษณาตามวรรคหนึ่ง ต้องมีข้อความต่อไปนี้แสดงในโฆษณาอย่างชัดเจนด้วย (1) ข้อความที่เป็นคําเตือนดังนี้ “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนก่อนการตัดสินใจลงทุน” (2) ข้อความอื่นใดที่สํานักงานกําหนดตามความจําเป็นและสมควรแก่กรณี ทั้งนี้โดยคํานึงถึงการมีมาตรการคุ้มครองที่เพียงพอสําหรับผู้ลงทุน ประกอบกับภาระต้นทุน ของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ ในการแสดงข้อความตามวรรคสอง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) หากเป็นการโฆษณาผ่านสื่อที่ใช้ข้อความหรือภาพ ตัวอักษรของคําเตือนต้องมีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการโฆษณา และ ในกรณีที่โฆษณาดังกล่าวมิใช่ข้อความหรือภาพนิ่ง ต้องจัดให้มีการแสดงคําเตือน (display) ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบวินาที (2) หากเป็นการโฆษณาผ่านสื่อที่มีเฉพาะการใช้เสียง ต้องจัดให้มีการอ่านออกเสียงคําเตือน โดยมีระดับเสียงและความเร็วไม่แตกต่างจากการอ่านออกเสียงถ้อยคําทั่วไป ที่ใช้ในการโฆษณานั้น ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,167
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 42/2552 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42/2552 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) คําว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ในแบบ 77-1 ท้ายประกาศนี้ ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารอื่นใดเพิ่มเติมนอกเหนือจากเอกสารที่มีลักษณะตามข้อ 6 การแจกจ่ายเอกสารอื่นใดดังกล่าวต้องกระทําควบคู่ไปกับการแจกจ่ายเอกสารตามข้อ 6 ด้วย และสาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในเอกสารอื่นใดนั้น ต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน เว้นแต่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์จะได้นําข้อมูลดังกล่าวไปแก้ไขเพิ่มเติมในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (3) ของหัวข้อที่ 1. ข้อมูลบริษัทและการดําเนินธุรกิจ ในส่วนที่ 1 บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ของแบบ 77-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ให้ระบุรายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 3 รายแรก โดยให้แสดงจํานวนหุ้นที่ถือและสัดส่วนการถือหุ้นล่าสุด ทั้งนี้ ให้นับผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ถือหุ้นที่อยู่ภายใต้ผู้มีอํานาจควบคุมเดียวกันเป็นกลุ่มเดียวกัน” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ โดยได้จัดทําหลักเกณฑ์ดังกล่าวในรูปของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ดังนั้น เพื่อให้ประกาศสํานักงานอ้างอิงหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างถูกต้องและสอดคล้องต่อการแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,168
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 24/2554 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 24 /2554 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 “(3/1) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) กรณีเป็นการจัดให้ผู้ลงทุนได้ประชุมพบปะโดยตรงกับกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 8 และข้อ 9” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 6(3) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) มีข้อมูลอย่างน้อยตามรายการที่กําหนดในแบบ 77-1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 การจัดให้ผู้ลงทุนได้ประชุมพบปะโดยตรงกับกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้เข้าประชุม โดยข้อมูลที่แจกจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 6 และข้อ 7 โดยอนุโลม (2) ในกรณีที่มีการเชิญผู้ลงทุนเข้าร่วมประชุมดังกล่าวตั้งแต่สิบรายขึ้นไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แจ้งกําหนดวันที่จะจัดให้มีการประชุมต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวันทําการและผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยินยอมให้บุคคลที่สํานักงานมอบหมายเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมดังกล่าวด้วย” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,169
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ. 37/2562 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 37/2562 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 18/2547 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2547 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 42/2552 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 24/2554 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้เสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือเจ้าของหลักทรัพย์ที่ประสงค์จะเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ “ผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ที่สนใจจะลงทุนในหลักทรัพย์ “ข้อมูล” หมายความว่า เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ “การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อ” หมายความว่า การเผยแพร่ข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ทางหนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสื่อสารออนไลน์ “การสื่อสารออนไลน์” หมายความว่า การสื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีสายหรือไร้สาย เช่น สายโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้ดํารงตําแหน่งตามที่กําหนดในบทนิยามคําว่า “ผู้บริหาร” ตามประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย ในกรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศดังกล่าว (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีอื่นนอกจาก (1) หมวด ๑ หลักเกณฑ์ทั่วไปและอํานาจสํานักงาน ข้อ ๓ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ให้กระทําได้หลังจากสํานักงานได้รับแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนแล้ว และให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๔ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ต้องมีความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหา สัดส่วนของเนื้อหา และวิธีการนําเสนอ เพื่อทําให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ โดยการเผยแพร่ข้อมูลต้องกระทําในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามหมวด 2 และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ไม่เป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) สาระสําคัญของข้อมูลต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่แสดงไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน (3) ไม่เป็นการชี้นําหรือการประมาณการผลตอบแทนจากการลงทุน เว้นแต่เป็นการประมาณการอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหลักทรัพย์จะได้รับตามข้อกําหนดหรือเงื่อนไขของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย และมีลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) มีข้อมูลประกอบการประมาณการอย่างเหมาะสม (ข) มีข้อมูลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประมาณการผลตอบแทน (ค) ข้อมูลตาม (ก) และ (ข) อยู่ในรูปแบบที่ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยไม่สําคัญผิด (4) ไม่เป็นการประมาณการผลการดําเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคตของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นข้อมูลที่แสดงไว้ในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน (5) ไม่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์หรือประมาณการเกี่ยวกับความต้องการซื้อหรือความสนใจในหลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่นใดในประการที่น่าจะทําให้ผู้ลงทุนเข้าใจสภาพความต้องการซื้อหรือความสนใจในหลักทรัพย์นั้นผิดไปจากสภาพที่แท้จริง (6) หากข้อมูลที่เผยแพร่เป็นการใช้หรืออ้างอิงข้อมูลของบุคคลอื่น จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน โดยต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ใช้วิธีการนําเสนอข้อมูลหลายวิธี แต่ละวิธีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) หยุดการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (2) แก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ใช้ในการเผยแพร่ (3) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงและไม่ทําให้สําคัญผิด (4) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจลงทุน บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริงและไม่ทําให้สําคัญผิด หมวด ๒ ลักษณะของการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๖ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ให้กระทําได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน (2) การแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้ลงทุนโดยตรง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 10 (3) การจัดให้ผู้ลงทุนได้ประชุมพบปะโดยตรงกับกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 9 และข้อ 10 (4) การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 11 ข้อ ๗ การแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้ลงทุนโดยตรง ให้กระทําได้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยข้อมูลที่แจกจ่ายดังกล่าวจะจัดทําในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ แผ่นบันทึกข้อมูลหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดก็ได้ โดยให้คํานึงถึงความเหมาะสมของผู้ลงทุน (1) ร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งมีข้อมูลอย่างเดียวกับที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน และมีข้อความดังนี้อยู่บนปกหน้าด้านนอกของร่างหนังสือชี้ชวน หรือบนหน้าแรกในกรณีที่ไม่มีปก (ก) คําว่า “ร่างหนังสือชี้ชวน” เป็นตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในเอกสารดังกล่าว และเห็นได้ชัดเจน (ข) ข้อความที่เป็นคําเตือนว่า “ทําความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” มีขนาดไม่เล็กกว่าข้อความทั่วไปในเอกสารดังกล่าว และเห็นได้ชัดเจน (ค) วันที่นําข้อมูลนี้ออกเผยแพร่ (ง) ข้อความดังนี้ “เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่หนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ แต่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีระยะเวลาพอสมควรในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไม่แตกต่างไปจากข้อมูลที่ปรากฏในร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ดังนั้น ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้จึงอาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ การเสนอขายหลักทรัพย์จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว และได้จัดส่งหรือแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนแล้ว” (2) ข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) หรือสรุปข้อมูลสําคัญ (fact sheet) ที่ปรากฏในส่วนที่ 1 ของแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทนั้น และมีข้อความตาม (1) (ข) และ (ค) และข้อความดังนี้ “เอกสารฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ที่จัดทําขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ลงทุนมีระยะเวลาพอสมควรในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไม่แตกต่างไปจากข้อมูลที่ปรากฏในส่วนที่ 1 ของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ดังนั้น ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้จึงอาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ การเสนอขายหลักทรัพย์จะกระทําได้ก็ต่อเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว” ในกรณีที่ผู้ลงทุนที่ได้รับการแจกจ่ายข้อมูลตามวรรคหนึ่ง (2) ประสงค์จะได้รับร่างหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง (1) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แจกจ่ายร่างหนังสือชี้ชวนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย ข้อ ๘ การแจกจ่ายข้อมูลอื่นนอกเหนือจากข้อมูลตามข้อ 7 ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องกระทําควบคู่ไปกับการแจกจ่ายข้อมูลตามข้อ 7 ข้อ ๙ การจัดให้ผู้ลงทุนได้ประชุมพบปะโดยตรงกับกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้เข้าประชุม โดยข้อมูลที่แจกจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 7 และข้อ 8 โดยอนุโลม (2) ในกรณีที่มีการเชิญผู้ลงทุนเข้าร่วมประชุมดังกล่าวตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แจ้งกําหนดวันที่จะจัดให้มีการประชุมต่อสํานักงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า3 วันทําการ และผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องยินยอมให้บุคคลที่สํานักงานมอบหมายเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมดังกล่าวด้วย ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงานภายหลังจากการแจกจ่ายข้อมูลตามข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ส่งข้อมูลที่ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันแก่ผู้ลงทุนที่ได้รับข้อมูลตามข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 ไปแล้วด้วย เว้นแต่ข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของหลักทรัพย์ที่เสนอขาย หรือการจอง การจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่เสนอขาย ข้อ ๑๑ การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อ ต้องมีข้อความที่เป็นคําเตือนดังนี้ “ทําความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” แสดงในสื่อที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวอย่างชัดเจนด้วย ในการแสดงข้อความตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) รูปแบบการนําเสนอคําเตือนต้องมีความคมชัดและสังเกตได้ง่าย โดยต้องใช้ตัวอักษรที่มีความชัดเจนและมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติ (2) การอ่านออกเสียงคําเตือนต้องอยู่ในวิสัยที่ผู้ฟังสามารถจับใจความของถ้อยคําได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องจัดให้มีการอ่านออกเสียงด้วยความเร็วปกติ ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,170
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 6/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ "กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว "บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม "โครงการ" หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมของบริษัทจัดการ "กองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้เป็นการแน่นอนแล้วในโครงการ "กองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง" หมายความว่า กองทุนรวมซึ่งกําหนดเพียงประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าไว้ในโครงการ "รายงานการประเมินค่า" หมายความว่า รายงานของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินซึ่งระบ รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่า โดยมีผู้ประเมินหลักเป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานดังกล่าว "บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน" หมายความว่า นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าหรือการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินเป็นทางค้าปกติ และได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ "ผู้ดูแลผลประโยชน์" หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม "ที่ปรึกษา" หมายความว่า บุคคลที่รับให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําแก่บริษัทจัดการเกี่ยวกับการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อ ประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม "ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า นิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทจัดการให้ทําหน้าที่ในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมแทนบริษัทจัดการ "บริษัทในเครือ" หมายความว่า บริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา หรือผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบุคคลดังกล่าว หรือบริษัทที่บุคคลดังกล่าวถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น "ตลาดหลักทรัพย์" หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย "คนต่างด้าว" หมายความว่า บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและให้หมายความรวมถึงนิติบุคคลซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินให้มีสิทธิในที่ดินได้เสมือนกับคนต่างด้าว "การบริหารอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า การดูแลรักษาให้อสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ได้ตลอดเวลา ตลอดจนการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวด้วย "การประเมินค่า" หมายความว่า การคํานวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนโดยเป็นการประเมินอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารสิทธิ ข้อจํากัดสิทธิครอบครองในทรัพย์สิน เงื่อนไขและข้อจํากัดทางกฎหมาย ข้อจํากัดอื่นของการใช้ประโยชน์ รายละเอียดการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสํารวจทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่ "การสอบทานการประเมินค่า" หมายความว่า การเสนอความเห็นเกี่ยวกับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม โดยมิได้มีการสํารวจทรัพย์สิน ข้อ ๒ ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวม บริษัทจัดการต้องแสดงรายละเอียดของโครงการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทจัดการ (2) ชื่อ ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของโครงการ (ในกรณีที่ไม่กําหนดอายุโครงการ ให้ระบุว่าไม่กําหนดอายุโครงการ) (3) จํานวนเงินทุนของโครงการ มูลค่าที่ตราไว้ จํานวน ประเภทและราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขาย รวมทั้งจํานวนเงินจองซื้อขั้นต่ํา (4) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจงหรือกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะ เจาะจง (5) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า (ก) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ 1. ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ ประเภทการใช้งาน และอายุการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) 2. ราคาที่จะซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าโดยบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินทั้งสองราย และเหตุผลที่จะซื้อหรือเช่าหากราคาที่จะซื้อหรือเช่าสูงกว่าราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าต่ําสุด เกินร้อยละยี่สิบของราคาที่ได้จากรายงานการประเมินค่าดังกล่าว 3. ประมาณการรายได้ 4. หากปรากฏว่า บริษัทจัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการกองทุนรวมนั้น ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทในเครือของบุคคลดังกล่าว เป็นเจ้าของหรือมีทรัพยสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่าให้ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย (ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจง ให้ระบุประเภทและทําเลที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อหรือเช่า (6) ข้อจํากัดการลงทุนของกองทุนรวม (7) ทรัพย์สินอื่นที่กองทุนรวมจะลงทุน (8) นโยบายการจ่ายเงินปันผล (9) การจดทะเบียนหน่วยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือการขึ้นทะเบียนหน่วยลงทุนในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ (10) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนของคนต่างด้าวและของผู้ถือหน่วยลงทุน (11) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ รวมทั้งเงื่อนไขการเปลี่ยนผู้ดูแลผลประโยชน์ (12) ชื่อผู้สอบบัญชี และนายทะเบียนหน่วยลงทุน (13) ชื่อบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินในกรณีเป็นกองทุนรวมที่ระบุเฉพาะเจาะจง ที่ปรึกษา (ถ้ามี) และผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) (14) อัตราและวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใด ซึ่งบริษัทจัดการจะเรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม (15) อัตราและวิธีการจ่ายค่าธรรมเนียมหรือเงินตอบแทนอื่นใดที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้สอบบัญชี นายทะเบียนหน่วยลงทุน บริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ที่ปรึกษา (ถ้ามี) และผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) พึงได้รับจากกองทุนรวม (16) วิธีการจําหน่ายหน่วยลงทุน การรับชําระและการเก็บรักษาเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน วิธีการจัดสรรหน่วยลงทุน และการคืนเงินค่าจองซื้อพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) แก่ผู้ไม่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนหรือแก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนของโครงการที่ต้องยุติโครงการ เนื่องจากไม่สามารถจําหน่ายหน่วยลงทุนได้ตามที่คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกําหนด (17) วิธีการเพิ่มเงินทุนของกองทุนรวม (18) สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทจัดการ และผู้ดูแลผลประโยชน์ (19) การแต่งตั้ง และขอบเขตสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทประเมินค่าทรัพย์สิน ผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) และที่ปรึกษา (ถ้ามี) (20) การออกและการส่งมอบใบหน่วยลงทุนหรือหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการออกให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน เงื่อนไขและวิธีการโอนหน่วยลงทุน รวมทั้งข้อจํากัดการโอนหน่วยลงทุน (21) การบริหารอสังหาริมทรัพย์ (22) การประกันวินาศภัยอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม (23) การประเมินค่าและการสอบทานการประเมินค่า (24) วิธีคํานวณ กําหนดเวลาในการคํานวณ และการประกาศมูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (25) วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีประจําปีของกองทุนรวม (26) การจัดทํารายงานแสดงฐานะและผลการดําเนินงานของกองทุนรวม (27) หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (28) สิทธิประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน (29) วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการ (30) การเลิกโครงการ และเหตุที่จะเลิกโครงการในกรณีที่ไม่กําหนดอายุโครงการ (31) วิธีการชําระบัญชีของกองทุนรวมเมื่อเลิกโครงการ และวิธีการเฉลี่ยคืนเงินให้แก่ ผู้ถือหน่วยลงทุน (32) รายละเอียดอื่นที่จําเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,171
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 43/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น 5. ใน (ก) ของ (5) ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 5. การรับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาของบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ดินหรือของบุคคลผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทําประโยชน์ กรณีที่เป็นการเช่าจากผู้มีสิทธิในอาคาร โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาซึ่งทําไว้กับบุคคลดังกล่าว ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (17) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 6/2540 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน (17) วิธีการเพิ่มเงินทุนและลดเงินทุนของกองทุนรวม (ถ้ามี) ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,172
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 41/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 41/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 54/2552 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 48/2553 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “บุคคลที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ข้อ ๔ ประกาศนี้มีข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการในโครงการจัดการกองทุนรวมของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมโดยได้รับความเห็นชอบ จากสํานักงาน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 หมวด ๑ รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ตามข้อ 6 (2) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 7 (3) การแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน (ถ้ามี) ตามข้อ 8 (4) นโยบายการกู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ตามข้อ 9 (5) นโยบายการบริหารและจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม ตามข้อ 10 (6) การประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) ตามข้อ 11 (7) นโยบายการจ่ายเงินปันผล ตามข้อ 12 (8) การทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 13 (9) การจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ตามข้อ 14 (10) การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตามข้อ 15 (11) การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน ตามข้อ 16 (12) การคํานวณและการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ตามข้อ 17 (13) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ตามข้อ 18 (14) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ตามข้อ 19 (15) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามข้อ 20 (16) การเลิกกองทุนรวม ตามข้อ 21 ข้อ ๖ รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการ (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ (4) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม (5) จํานวนเงินทุนโครงการเริ่มแรก และนโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (6) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเริ่มแรก (7) ลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ผู้ลงทุนทั่วไป หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น (8) รูปแบบการออกหน่วยลงทุน เช่น หน่วยลงทุนจะอยู่ในรูปแบบไร้ใบหน่วยลงทุนโดยนายทะเบียนจะออกใบหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อมีการร้องขอ ข้อ ๗ รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดว่ากองทุนรวมมีนโยบายลงทุนในทรัพย์สินประเภทใด ข้อ ๘ รายการการแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน (ถ้ามี) ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ องค์ประกอบ และวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการการลงทุน ข้อ ๙ รายการนโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายการกู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายในการกู้ยืมเงิน ให้ระบุสัดส่วนการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมด้วย ข้อ ๑๐ รายการการบริหารและจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ข้อ ๑๑ รายการการประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) ต้องระบุชื่อผู้ประกันรายได้ และสรุปสาระสําคัญของเงื่อนไขของการประกันรายได้ ข้อ ๑๒ รายการนโยบายการจ่ายเงินปันผล ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไข และกําหนดเวลาในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๓ รายการการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการที่บริษัทจัดการต้องดําเนินการก่อนการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ข้อ ๑๔ รายการการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุนต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะของผู้ลงทุนที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุน และคุณสมบัติ (ถ้ามี) (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าว ข้อ ๑๕ รายการการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ธุรกรรมที่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้แสดงด้วยว่าธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีปกติ และธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีพิเศษ ทั้งนี้ หากเป็นการขอมติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายนั้น (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนผลบังคับของมติดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ข้อ ๑๖ รายการการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับกระบวนการในการดําเนินการดังกล่าว เช่น การขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน การขออนุมัติจากสํานักงานในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หรือขั้นตอนการลดเงินทุนจดทะเบียน และการเฉลี่ยเงินคืนผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีที่เป็นการลดเงินทุนจดทะเบียน เป็นต้น ข้อ ๑๗ รายการการคํานวณและการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๑๘ รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ข้อ ๑๙ รายการการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องระบุวิธีการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายนั้น ข้อ ๒๐ รายการค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย เงินตอบแทนอื่นใด ที่บริษัทจัดการจะเรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม ข้อ ๒๑ รายการการเลิกกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่าบริษัทจัดการจะเลิกกองทุนรวมเมื่อปรากฏเหตุอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เมื่อปรากฏเหตุที่ทําให้บริษัทจัดการต้องดําเนินการเลิกกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (2) เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หมวด ๒ การแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวม โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๒ การแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง ข้อ ๒๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่จะแก้ไขเพิ่มเติม (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 37/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบริษัทจัดการ ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (3) คํารับรองว่าข้อมูลของกองทุนรวมที่ต้องมีในโครงการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ และร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตาม (2) มิได้มีสาระสําคัญเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ คํารับรองต้องลงลายมือชื่อโดยบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ (ข) กรรมการที่มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทจัดการ หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจจากกรรมการ ผู้รับรองต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น (4) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม เมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งและมิได้แจ้งทักท้วงภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองเลขาธิการ เลขาธิการแทน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,173
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 24/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 24/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14/1) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 41/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 “(14/1) การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดให้บริษัทจัดการอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงเงินกองทุน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,174
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 7/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 7/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (17) ของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 41/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 “(17) ภูมิลําเนาในประเทศไทยเพื่อการวางทรัพย์ สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ถ้ามี)” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,175
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 13/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 13/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24 และข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 41/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 “ข้อ 24 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการอาจขอให้สํานักงานให้ความเห็นชอบแทนการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้ (1) การเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายหน่วยลงทุน (2) การเพิ่มชนิดหน่วยลงทุนที่ไม่ทําให้สิทธิที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่เดิมด้อยลง (3) กรณีอื่นใดนอกเหนือจาก (1) และ (2) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ 25 ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 24 ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้ว สํานักงานจะดําเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง มิให้บริษัทจัดการเรียกเก็บจากกองทุนรวม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,176
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 41/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 41/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 12/2550 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 54/2552 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 48/2553 เรื่อง รายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ข้อ 3 ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม “บุคคลที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับ การป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ข้อ 4 ประกาศนี้มีข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการในโครงการจัดการกองทุนรวมของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมโดยได้รับความเห็นชอบ จากสํานักงาน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 หมวด 1 รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ตามข้อ 6 (2) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 7 (3) การแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน (ถ้ามี) ตามข้อ 8 (4) นโยบายการกู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ตามข้อ 9 (5) นโยบายการบริหารและจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม ตามข้อ 10 (6) การประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) ตามข้อ 11 (7) นโยบายการจ่ายเงินปันผล ตามข้อ 12 (8) การทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 13 (9) การจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ตามข้อ 14 (10) การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตามข้อ 15 (11) การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน ตามข้อ 16 (12) การคํานวณและการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ตามข้อ 17 (13) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ตามข้อ 18 (14) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ตามข้อ 19 (14/1)( การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดให้บริษัทจัดการอื่นเข้าจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงเงินกองทุน (15) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามข้อ 20 (16) การเลิกกองทุนรวม ตามข้อ 21 (17)( ภูมิลําเนาในประเทศไทยเพื่อการวางทรัพย์ สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ถ้ามี) ข้อ 6 รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของ กองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการ (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ (4) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม (5) จํานวนเงินทุนโครงการเริ่มแรก และนโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (6) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเริ่มแรก (7) ลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ผู้ลงทุนทั่วไป หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น (8) รูปแบบการออกหน่วยลงทุน เช่น หน่วยลงทุนจะอยู่ในรูปแบบไร้ใบหน่วยลงทุนโดยนายทะเบียนจะออกใบหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อมีการร้องขอ ข้อ 7 รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดว่ากองทุนรวม มีนโยบายลงทุนในทรัพย์สินประเภทใด ข้อ 8 รายการการแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน (ถ้ามี) ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ องค์ประกอบ และวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการการลงทุน ข้อ 9 รายการนโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายการกู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพัน แก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายในการกู้ยืมเงิน ให้ระบุสัดส่วน การกู้ยืมเงินของกองทุนรวมด้วย ข้อ 10 รายการการบริหารและจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวม ข้อ 11 รายการการประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) ต้องระบุชื่อผู้ประกันรายได้ และสรุปสาระสําคัญของเงื่อนไขของการประกันรายได้ ข้อ 12 รายการนโยบายการจ่ายเงินปันผล ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไข และกําหนดเวลาในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ข้อ 13 รายการการทําธุรกรรมเพื่อกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการที่บริษัทจัดการต้องดําเนินการก่อนการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ข้อ 14 รายการการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุนต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะของผู้ลงทุนที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุน และคุณสมบัติ (ถ้ามี) (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าว ข้อ 15 รายการการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ธุรกรรมที่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้แสดงด้วยว่าธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีปกติ และธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีพิเศษ ทั้งนี้ หากเป็นการขอมติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายนั้น (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนผลบังคับของมติดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุน กับบริษัทจัดการ ข้อ 16 รายการการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับกระบวนการในการดําเนินการดังกล่าว เช่น การขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน การขออนุมัติจากสํานักงานในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หรือขั้นตอนการลดเงินทุนจดทะเบียน และการเฉลี่ยเงินคืนผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีที่เป็นการลดเงินทุนจดทะเบียน เป็นต้น ข้อ 17 รายการการคํานวณและการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 18 รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียด อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการ กองทุนรวม ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์มีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและ ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ข้อ 19 รายการการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องระบุวิธีการ แก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายนั้น ข้อ 20 รายการค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอัตรา และวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย เงินตอบแทนอื่นใด ที่บริษัทจัดการจะเรียกเก็บจาก ผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม ข้อ 21 รายการการเลิกกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่าบริษัทจัดการ จะเลิกกองทุนรวมเมื่อปรากฏเหตุอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เมื่อปรากฏเหตุที่ทําให้บริษัทจัดการต้องดําเนินการเลิกกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (2) เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หมวด 2 การแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวม โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22 การแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง ข้อ 23 ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงาน ในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่จะแก้ไขเพิ่มเติม (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 37/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์กับบริษัทจัดการ ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (3) คํารับรองว่าข้อมูลของกองทุนรวมที่ต้องมีในโครงการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ และร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตาม (2) มิได้มีสาระสําคัญเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ คํารับรองต้องลงลายมือชื่อโดยบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ (ข) กรรมการที่มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทจัดการ หรือในกรณีที่มี การมอบอํานาจจากกรรมการ ผู้รับรองต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น (4) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม เมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งและมิได้แจ้งทักท้วงภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ข้อ 24( การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้บริษัทจัดการอาจขอให้สํานักงานให้ความเห็นชอบแทนการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้ (1) การเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายหน่วยลงทุน (2) การเพิ่มชนิดหน่วยลงทุนที่ไม่ทําให้สิทธิที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่เดิมด้อยลง (3) กรณีอื่นใดนอกเหนือจาก (1) และ (2) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ 25( ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 24 ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้วสํานักงานจะดําเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง มิให้บริษัทจัดการเรียกเก็บจากกองทุนรวม ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองเลขาธิการ เลขาธิการแทน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,177
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 34/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34 /2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวม” “บริษัทจัดการ” “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” “กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๓ โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีรายการที่แสดงลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม (2) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (3) นโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม (ถ้ามี) (4) นโยบายเกี่ยวกับการบริหารและจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมจะลงทุน และสรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (ถ้ามี) (5) การทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (6) มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม (7) การออกหน่วยลงทุน และการเพิ่มหรือลดเงินทุนจดทะเบียน ซึ่งต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่าที่บริษัทจัดการจะนําหน่วยลงทุนชนิดที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย (8) ข้อจํากัดเกี่ยวกับการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) (9) การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน (10) การปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม (11) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม (12) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม (13) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (14) การเลิกกองทุนรวม ข้อ ๔ รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการ (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ชื่อนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (5) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม (6) จํานวนเงินทุนโครงการ นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนโครงการภายหลังจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม และขั้นตอนการดําเนินการ (ถ้ามี) (7) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน (8) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย (ข) สิทธิประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับ ตลอดจนนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน (9) ลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ผู้ลงทุนทั่วไป หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น ข้อ ๕ รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (2) รายละเอียดของทรัพย์สินที่กองทุนรวมสามารถลงทุนหรือมีไว้ และอัตราส่วน การลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว โดยให้แยกข้อมูลเป็นกลุ่มทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และกลุ่มทรัพย์สินอื่น ทั้งนี้ ในกรณีของทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ด้วย (ก) ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ และประเภทของทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของกิจการโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว (ข) ราคาหรือวิธีการกําหนดราคาของทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และส่วนต่างระหว่างราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และราคาประเมิน (ถ้ามี) (ค) สรุปสาระสําคัญของสัญญาที่ทําให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ง) สรุปการประเมินค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมจะลงทุนซึ่งมีข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับราคาประเมิน วิธีการที่ใช้ในการประเมินค่าและสมมติฐานที่สําคัญที่ใช้ในการประเมินค่า ความเห็นที่สําคัญของผู้ประเมินค่า (ถ้ามี) รวมทั้งสรุปความเห็นของบริษัทจัดการและที่ปรึกษาทางการเงินเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลของสมมติฐานที่ใช้ในการประเมินค่าดังกล่าว (จ) กรณีที่ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเป็นโครงการที่ไม่แล้วเสร็จต้องระบุแผนการดําเนินงานในการพัฒนาการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ และการบริหารและจัดหาประโยชน์จากโครงการ (ฉ) วิธีการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) (ช) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการได้มาเพิ่มเติมและการจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๖ รายการมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการประเมินค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมลงทุนไว้แล้ว (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการคํานวณและการประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน ราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ตลอดจนการดําเนินการในกรณีที่มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายหน่วยลงทุน หรือราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน ข้อ ๗ รายการข้อจํากัดเกี่ยวกับการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะของผู้ลงทุนที่จะเสนอขายหน่วยลงทุน และคุณสมบัติ (ถ้ามี) เช่น ผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าว เช่น การไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลที่ซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนดในหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือการไม่นับคะแนนเสียงในการลงมติของผู้ถือหน่วยลงทุนเกินอัตราดังกล่าว เป็นต้น ข้อ ๘ รายการการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ธุรกรรมที่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้แสดงด้วยว่าธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีปกติ และธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีพิเศษ ทั้งนี้ หากเป็นการขอมติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในมาตรา 129 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) ข้อกําหนดว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนผลบังคับของมติดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ข้อ ๙ รายการการปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การมอบหมายงานในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนให้แก่บุคคลอื่น (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้องระบุขอบเขตของการมอบหมาย และชื่อผู้รับมอบหมายด้วย (2) การแต่งตั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของกองทุนรวม เช่น คณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน ที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ประเมินค่า และผู้สอบบัญชี เป็นต้น ข้อ ๑๐ รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมกับบริษัทจัดการ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมายประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการ ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการ ข้อ ๑๑ การระบุข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมว่า บริษัทจัดการอาจแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมได้ โดยถือว่าได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนแล้ว หรือข้อกําหนดอื่นในทํานองเดียวกัน ให้กระทําได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง ข้อ ๑๒ รายการเลิกกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับเหตุในการเลิกกองทุนรวม ซึ่งระบุเหตุตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นอย่างน้อย (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการจะเลิกกองทุนรวม เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,178
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 17/2557 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 17 /2557 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (8) ในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับ ตลอดจนนโยบาย การจ่ายเงินปันผล โดยให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุน โดยกําหนดประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนไว้แตกต่างกัน ต้องแสดงรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับ ลักษณะและเงื่อนไขในการจ่ายประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,179
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 35/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 34/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 “ข้อ 5/1 รายการเกี่ยวกับนโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม (ถ้ามี) ต้องมีรายละเอียดที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,180
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 43/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 34/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 17/2557 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 35/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คําว่า “กองทุนรวม” “บริษัทจัดการ” “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” “กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” และ “บุคคลที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๕ ประกาศนี้มีข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการในโครงการจัดการกองทุนรวมของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด หมวด ๑ รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีรายการที่แสดงลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ตามข้อ 7 (2) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 8 (3) การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน ตามข้อ 9 (4) นโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม และการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ตามข้อ 10 (5) นโยบายเกี่ยวกับการบริหารและจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 11 (6) การประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) ตามข้อ 12 (7) การทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 13 (8) การจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ตามข้อ 14 (9) การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตามข้อ 15 (10) การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน ตามข้อ 16 (11) การคํานวณและการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ตามข้อ 17 (12) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ตามข้อ 18 (13) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ตามข้อ 19 (14) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามข้อ 20 (15) การเลิกกองทุนรวม ตามข้อ 21 ข้อ ๗ รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการ (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของกองทุนรวมต้องมีข้อความที่แสดงว่า กองทุนรวมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการนําหน่วยลงทุนชนิดที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย (5) จํานวนเงินทุนโครงการเริ่มแรก นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนโครงการภายหลังจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม (6) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเริ่มแรก (7) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (ก) ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย (ข) สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับ ตลอดจนนโยบายการจ่ายเงินปันผล โดยให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนโดยกําหนดประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนไว้แตกต่างกัน ต้องแสดงรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะและเงื่อนไขในการจ่ายประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนด้วย (8) ลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ผู้ลงทุนทั่วไป หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น (9) รูปแบบการออกหน่วยลงทุน เช่น หน่วยลงทุนจะอยู่ในรูปแบบไร้ใบหน่วยลงทุน และนายทะเบียนจะออกใบหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อมีการร้องขอ ข้อ ๘ รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดว่ากองทุนรวมมีนโยบายลงทุนในทรัพย์สินประเภทใด ข้อ ๙ รายการการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ องค์ประกอบ และวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน ข้อ ๑๐ รายการนโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม และการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและ การก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายในการกู้ยืมเงิน ให้ระบุสัดส่วนการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมด้วย ข้อ ๑๑ รายการนโยบายเกี่ยวกับการบริหารและจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมลงทุน ข้อ ๑๒ รายการการประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) ต้องระบุชื่อของผู้ประกันรายได้ และสรุปสาระสําคัญของเงื่อนไขของการประกันรายได้ ข้อ ๑๓ รายการการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับกระบวนการที่บริษัทจัดการต้องดําเนินการก่อนการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๑๔ รายการการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะของผู้ลงทุนที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุน และคุณสมบัติ (ถ้ามี) เช่น ผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าว ข้อ ๑๕ รายการการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ธุรกรรมที่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้แสดงด้วยว่าธุรกรรมใด ต้องได้รับมติในกรณีปกติ และธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีพิเศษ ทั้งนี้ หากเป็นการขอมติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายนั้น (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนผลบังคับของมติดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ข้อ ๑๖ รายการการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับกระบวนการในการดําเนินการดังกล่าว เช่น การขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน การขออนุมัติจากสํานักงานในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หรือขั้นตอนการลดเงินทุนจดทะเบียนและการเฉลี่ยเงินคืนผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีที่เป็นการลดเงินทุนจดทะเบียน เป็นต้น ข้อ ๑๗ รายการการคํานวณและการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนต้องมีรายละเอียดเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนที่มาของการกําหนดราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ทั้งนี้ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน ข้อ ๑๘ รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวมข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้นให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ทั้งนี้ การลงนามของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ข้อ ๑๙ รายการการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องระบุวิธีการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายนั้น ข้อ ๒๐ รายการค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่บริษัทจัดการจะเรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม ข้อ ๒๑ รายการการเลิกกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการต้องดําเนินการเลิกกองทุนรวมเมื่อปรากฏเหตุอย่างน้อยดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผัน จากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (1) เมื่อปรากฏเหตุการณ์ที่ทําให้บริษัทจัดการต้องดําเนินการเลิกกองทุนรวมตาม ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (2) เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 หมวด ๒ การแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวม โดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๒ การแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง ข้อ ๒๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่จะแก้ไขเพิ่มเติม (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 39/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการ ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (3) คํารับรองว่าข้อมูลของกองทุนรวมที่ต้องมีในโครงการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ และในร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตาม (2) มิได้มีสาระสําคัญเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ คํารับรองต้องลงลายมือชื่อโดยบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ข) กรรมการที่มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทจัดการ หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจจากกรรมการ ผู้รับรองต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น (4) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม เมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งและมิได้แจ้งทักท้วงภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองเลขาธิการ เลขาธิการแทน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,181
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 25/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 25/2563 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (13/1) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 “(13/1) การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดให้บริษัทจัดการอื่นเข้าจัดการกองทุนรวมในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงเงินกองทุน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,182
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 8/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 8/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (16) ของข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 “(16) ภูมิลําเนาในประเทศไทยเพื่อการวางทรัพย์ สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ถ้ามี)” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,183
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 14/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 14/2565 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24 และข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 “ข้อ 24 การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้ บริษัทจัดการอาจขอให้สํานักงานให้ความเห็นชอบแทนการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้ (1) การเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายและการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) การเพิ่มชนิดหน่วยลงทุนที่ไม่ทําให้สิทธิที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่เดิมด้อยลง (3) กรณีอื่นใดนอกเหนือจาก (1) และ (2) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ 25 ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 24 ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้วสํานักงานจะดําเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง มิให้บริษัทจัดการเรียกเก็บจากกองทุนรวม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,184
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 43/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 43/2562 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 129/1(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 34/2554 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่6 กันยายน พ.ศ. 2554 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 17/2557 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 35/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 4 ในประกาศนี้ “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คําว่า “กองทุนรวม” “บริษัทจัดการ” “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” “กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” และ “บุคคลที่เกี่ยวข้อง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 5 ประกาศนี้มีข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการในโครงการจัดการกองทุนรวมของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 1 (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวด 2 หมวด 1รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 6 โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีรายการที่แสดงลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวม ดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ตามข้อ 7 (2) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ตามข้อ 8 (3) การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน ตามข้อ 9 (4) นโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม และการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ตามข้อ 10 (5) นโยบายเกี่ยวกับการบริหารและจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 11 (6) การประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) ตามข้อ 12 (7) การทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 13 (8) การจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ตามข้อ 14 (9) การขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตามข้อ 15 (10) การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน ตามข้อ 16 (11) การคํานวณและการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุน ตามข้อ 17 (12) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ตามข้อ 18 (13) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ตามข้อ 19 (13/1)( การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดให้บริษัทจัดการอื่นเข้าจัดการกองทุนรวม ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดํารงเงินกองทุน (14) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามข้อ 20 (15) การเลิกกองทุนรวม ตามข้อ 21 (16)( ภูมิลําเนาในประเทศไทยเพื่อการวางทรัพย์ สําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายที่ไม่มีภูมิลําเนาในประเทศไทย (ถ้ามี) ข้อ 7 รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการ (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของกองทุนรวมต้องมีข้อความที่แสดงว่า กองทุนรวมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการนําหน่วยลงทุนชนิดที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย (5) จํานวนเงินทุนโครงการเริ่มแรก นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มเงินทุนโครงการภายหลังจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม (6) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนเริ่มแรก (7) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (ก) ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย (ข) สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับ ตลอดจนนโยบายการจ่ายเงินปันผล โดยให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนโดยกําหนดประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนไว้แตกต่างกัน ต้องแสดงรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะและเงื่อนไขในการจ่ายประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนด้วย (8) ลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ผู้ลงทุนทั่วไป หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น (9) รูปแบบการออกหน่วยลงทุน เช่น หน่วยลงทุนจะอยู่ในรูปแบบไร้ใบหน่วยลงทุน และนายทะเบียนจะออกใบหน่วยลงทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อมีการร้องขอ ข้อ 8 รายการนโยบายการลงทุนของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดว่ากองทุนรวมมีนโยบายลงทุนในทรัพย์สินประเภทใด ข้อ 9 รายการการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ องค์ประกอบ และวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน ข้อ 10 รายการนโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม และการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายในการกู้ยืมเงิน ให้ระบุสัดส่วนการกู้ยืมเงินของกองทุนรวมด้วย ข้อ 11 รายการนโยบายเกี่ยวกับการบริหารและจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการหรือการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมลงทุน ข้อ 12 รายการการประกันรายได้ของกองทุนรวม (ถ้ามี) ต้องระบุชื่อของผู้ประกันรายได้ และสรุปสาระสําคัญของเงื่อนไขของการประกันรายได้ ข้อ 13 รายการการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับกระบวนการที่บริษัทจัดการต้องดําเนินการก่อนการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 14 รายการการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะของผู้ลงทุนที่บริษัทจัดการจะเสนอขายหน่วยลงทุน และคุณสมบัติ (ถ้ามี) เช่น ผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดดังกล่าว ข้อ 15 รายการการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ธุรกรรมที่ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยให้แสดงด้วยว่าธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีปกติ และธุรกรรมใดต้องได้รับมติในกรณีพิเศษ ทั้งนี้ หากเป็นการขอมติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมหรือแก้ไขวิธีการจัดการ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายนั้น (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุน ตลอดจนผลบังคับของมติดังกล่าว ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ข้อ 16 รายการการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนและการลดเงินทุนจดทะเบียน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับกระบวนการในการดําเนินการดังกล่าว เช่น การขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุน การขออนุมัติจากสํานักงานในกรณีที่เป็นการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หรือขั้นตอนการลดเงินทุนจดทะเบียนและการเฉลี่ยเงินคืนผู้ถือหน่วยลงทุนในกรณีที่เป็นการลดเงินทุนจดทะเบียน เป็นต้น ข้อ 17 รายการการคํานวณและการเปิดเผยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและมูลค่าหน่วยลงทุนต้องมีรายละเอียดเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนรวมและทรัสต์ที่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนที่มาของการกําหนดราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) ทั้งนี้ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน ข้อ 18 รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวมข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ และพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้นให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ทั้งนี้ การลงนามของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (3) ข้อกําหนดที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อหรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ข้อ 19 รายการการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องระบุวิธีการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายนั้น ข้อ 20 รายการค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยเกี่ยวกับอัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่บริษัทจัดการจะเรียกเก็บจากผู้ซื้อหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม ข้อ 21 รายการการเลิกกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่า บริษัทจัดการต้องดําเนินการเลิกกองทุนรวมเมื่อปรากฏเหตุอย่างน้อยดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (1) เมื่อปรากฏเหตุการณ์ที่ทําให้บริษัทจัดการต้องดําเนินการเลิกกองทุนรวมตาม ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (2) เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 หมวด 2การแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 22 การแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงาน (1) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลซึ่งมีผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวงได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น (2) การแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (3) การแก้ไขชื่อและรายละเอียดอื่นของบุคคลให้ถูกต้อง ข้อ 23 ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอเป็นหนังสือพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่จะแก้ไขเพิ่มเติม (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 39/2562 เรื่อง ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกับบริษัทจัดการ ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (3) คํารับรองว่าข้อมูลของกองทุนรวมที่ต้องมีในโครงการจัดการกองทุนรวมตามประกาศนี้ และในร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการตาม (2) มิได้มีสาระสําคัญเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ คํารับรองต้องลงลายมือชื่อโดยบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ข) กรรมการที่มีอํานาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทจัดการ หรือในกรณีที่มีการมอบอํานาจจากกรรมการ ผู้รับรองต้องมีตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ดํารงตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่รับผิดชอบงานในสายงานเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมนั้น (4) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้รับความเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม เมื่อพ้น 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วนตามวรรคหนึ่งและมิได้แจ้งทักท้วงภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ข้อ 24( การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมในเรื่องดังต่อไปนี้บริษัทจัดการอาจขอให้สํานักงานให้ความเห็นชอบแทนการขอมติของผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมก่อนให้ความเห็นชอบก็ได้ (1) การเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายและการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (2) การเพิ่มชนิดหน่วยลงทุนที่ไม่ทําให้สิทธิที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่เดิมด้อยลง (3) กรณีอื่นใดนอกเหนือจาก (1) และ (2) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ถือหน่วยลงทุน รวมถึงไม่ทําให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ข้อ 25( ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะขอรับความเห็นชอบจากสํานักงานในการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมตามข้อ 24 ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนผ่านระบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ เมื่อสํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามวรรคหนึ่งแล้วสํานักงานจะดําเนินการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน การชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง มิให้บริษัทจัดการเรียกเก็บจากกองทุนรวม ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองเลขาธิการ เลขาธิการแทน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,185
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 35/2554 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35 /2554 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประกอบกับข้อ 30(1) และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ 2 ในประกาศนี้ คําว่า “กองทุนรวม” “บริษัทจัดการ” “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” “กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “ผู้สนับสนุนการขาย” หมายความว่า บุคคลที่บริษัทจัดการมอบหมายให้ทําหน้าที่ขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม “ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากสํานักงานให้ทําหน้าที่ติดต่อชักชวน ให้คําแนะนําหรือวางแผนเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุน ข้อ 3 หนังสือชี้ชวนต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน โดยต้องมีลักษณะและวิธีการแสดงข้อมูลที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจได้ง่าย (2) ไม่แสดงข้อความที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ในการจัดทําหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการจะใช้วิธีการสื่อความหมาย โดยแผนภาพหรือวิธีการอื่นใดแทนการสื่อความหมายโดยข้อความก็ได้ เว้นแต่ข้อกําหนดในประกาศนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ 4 หนังสือชี้ชวนให้จัดทําขึ้นโดยแบ่งออกเป็นสามส่วนดังต่อไปนี้ (1) ส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ (2) ส่วนข้อมูลกองทุนรวม โดยให้โครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานเป็นหนังสือชี้ชวนส่วนนี้ (3) ส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ในกรณีที่เป็นหนังสือชี้ชวนที่จัดทําขึ้นเพื่อเสนอขายหน่วยลงทุนในการเพิ่มทุน จดทะเบียนของกองทุนรวม ต้องมีรายการและข้อมูลตามวรรคหนึ่งที่ปรับปรุงเป็นปัจจุบัน และมีรายการและข้อมูลตามหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในข้อ 13 ข้อ 5 หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ให้อยู่ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวน โดยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลทั่วไปของกองทุนรวม ซึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม ชื่อบริษัทจัดการ ชื่อที่ปรึกษาทางการเงิน ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ ชื่อนายทะเบียนหน่วยลงทุน อายุของกองทุนรวม จํานวนเงินทุนโครงการ และลักษณะของผู้ถือหน่วยลงทุน (2) แผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวม และสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญของกองทุนรวม ตามแนวทางที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้ (3) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิด จํานวนหน่วยลงทุนและมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนแต่ละชนิด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย (ข) สิทธิประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับ ตลอดจนนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน (4) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมและอัตราส่วน โดยให้แสดงข้อมูลโดยสรุปของกลุ่มทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานและกลุ่มทรัพย์สินอื่น (5) ข้อมูลทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (6) นโยบายการบริหารและจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (7) การทําธุรกรรมระหว่างกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (8) ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนรวม ให้แสดงปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมนั้น ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม ตลอดจนแนวทางการบริหารความเสี่ยง โดยเรียงลําดับตามโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและนัยสําคัญของผลกระทบจากมากไปหาน้อย (9) การบริหารและจัดการกองทุนรวม (10) คําเตือนเกี่ยวกับกองทุนรวม (11) การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (12) วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม (13) วัน เดือน ปี ที่รวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวน (14) ข้อมูลอื่นที่มีนัยสําคัญและจําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุน การจัดทําหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญตามวรรคหนึ่ง ต้องพิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีความชัดเจน เว้นแต่การจัดทําแผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวม อาจใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กกว่าตัวอักษรข้างต้นได้แต่ต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่ผู้ลงทุนจะเข้าใจได้ ข้อ 6 รายการข้อมูลทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ที่ตั้ง ลักษณะ และข้อมูลสรุปเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของกิจการโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งประเภทและรายละเอียดของทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (2) ราคาหรือวิธีการกําหนดราคาของทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และส่วนต่างระหว่างราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และราคาประเมิน (ถ้ามี) (3) สรุปการประเมินค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมจะลงทุน ซึ่งมีข้อมูลอย่างน้อยเกี่ยวกับราคาประเมิน วิธีการที่ใช้ในการประเมินค่าและสมมติฐานที่สําคัญที่ใช้ ในการประเมินค่า ความเห็นที่สําคัญของผู้ประเมินค่า (ถ้ามี) รวมทั้งสรุปความเห็นของบริษัทจัดการ และที่ปรึกษาทางการเงินเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลของสมมติฐานที่ใช้ในการประเมินค่าดังกล่าว (4) ในกรณีที่บริษัทจัดการหรือที่ปรึกษาทางการเงินมีการเปิดเผยประมาณการทางการเงินของกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมจะลงทุน ให้ระบุสมมติฐานที่สําคัญในการประมาณการดังกล่าว และคําอธิบายของบริษัทจัดการและที่ปรึกษาทางการเงินเกี่ยวกับ ความแตกต่างระหว่างรายงานการประเมินค่ากับประมาณการทางการเงิน (ถ้ามี) (5) สรุปสาระสําคัญของสัญญาที่ทําให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (6) ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้กับกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ถ้ามี) (7) ข้อมูลที่แสดงถึงการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดําเนินกิจการของรัฐ และการดําเนินการที่ผ่านมาของกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เข้าทําธุรกรรมกับกองทุนรวม (ถ้ามี) ข้อ 7 รายการนโยบายการบริหารและจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ให้มีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต หรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคต หากกองทุนรวมมิได้เป็นบุคคลเดียวที่มีสิทธิได้รับรายได้ในอนาคตทั้งจํานวน ให้ระบุการวิเคราะห์ ของบริษัทจัดการเกี่ยวกับสิทธิได้เสียทางทรัพย์สินของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละชนิด โดยเปรียบเทียบกับสิทธิของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิอื่นในรายได้ในอนาคตนั้น พร้อมทั้งแสดงบทวิเคราะห์และความเห็นทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าว (2) ในกรณีที่กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานเป็นโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ ให้ระบุแผนการดําเนินงานในแต่ละขั้น โดยเริ่มตั้งแต่การดําเนินการก่อสร้างจนถึงการก่อสร้างแล้วเสร็จ และการบริหารและจัดหาประโยชน์จากโครงการ (3) สรุปสาระสําคัญของร่างสัญญาเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (4) ฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมจะลงทุน โดยให้แสดงข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อยสามปี พร้อมทั้งคําอธิบายเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ และปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือมีผลต่อฐานะการเงิน ผลการดําเนินงาน หรือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ตลอดจนแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลต่อฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานอย่างมีนัยสําคัญในอนาคต (ถ้ามี) (5) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการประกันรายได้ ให้ระบุสาระสําคัญของร่างสัญญารับประกันรายได้โดยสรุป ข้อมูลฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของผู้รับประกันรายได้ย้อนหลังอย่างน้อยสามปี รวมทั้งความเห็นของบริษัทจัดการเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญา ของผู้รับประกันรายได้ ข้อ 8 รายการการทําธุรกรรมระหว่างกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้มีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างกองทุนรวมกับผู้ที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานแก่กองทุนรวม (2) กรณีที่กองทุนรวมได้มาซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานจากการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้แสดงคํารับรองของบุคคลที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมว่า ธุรกรรมดังกล่าวเป็นข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทํากับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอํานาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลของบุคคลที่เกี่ยวข้อง (3) ในกรณีกองทุนรวมจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน เข้าลักษณะเป็นการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้แสดงความเห็นของบริษัทจัดการและบุคคลที่ บริษัทจัดการจะแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม เกี่ยวกับความจําเป็นและความสมเหตุสมผลของธุรกรรมดังกล่าวว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งผลกระทบที่กองทุนรวมอาจได้รับจากการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าว ข้อ 9 รายการการบริหารและจัดการกองทุนรวม ให้มีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) นโยบายการจ่ายเงินปันผล ข้อจํากัดในการจ่ายเงินปันผล และการดําเนินการของบริษัทจัดการสําหรับเงินปันผลที่ไม่สามารถจ่ายได้เนื่องจากผู้ถือหน่วยลงทุนถือหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนด (2) นโยบายการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม (3) การออกหน่วยลงทุน ซึ่งต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่าบริษัทจัดการจะนําหน่วยลงทุนชนิดที่จะเสนอขายต่อผู้ลงทุนเป็นการทั่วไปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (4) ข้อจํากัดเกี่ยวกับการจัดสรรและการโอนหน่วยลงทุน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) ลักษณะของผู้ลงทุนที่จะเสนอขายหน่วยลงทุน และคุณสมบัติ (ถ้ามี) เช่น ผู้ลงทุนทั่วไป ผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน ให้แสดงข้อมูลตามหน่วยลงทุนแต่ละชนิด (ข) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรหน่วยลงทุน การโอนหน่วยลงทุน และข้อจํากัดในการจัดสรรและการโอน ตลอดจนผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าว เช่น การไม่จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลที่ซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่าอัตราที่กําหนด หรือการไม่นับคะแนนเสียงในการลงมติของผู้ถือหน่วยลงทุนเกินอัตราดังกล่าว เป็นต้น (5) การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุน (6) การเปิดเผยข้อมูลภายหลังการเสนอขายหน่วยลงทุน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทข้อมูลที่จะเปิดเผย ระยะเวลาและช่องทางในการเปิดเผย ทั้งนี้ ประเภทข้อมูลที่จะเปิดเผยให้รวมถึงงบการเงินและงบการเงินรวมของกองทุนรวม มูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม รายงานความคืบหน้าของโครงการในกรณีที่กองทุนรวมลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ และรายงานประจําปีของกองทุนรวม (7) ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน (8) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) ข้อความที่แสดงว่า บริษัทจัดการมีหน้าที่ปฏิบัติตามโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อกําหนด ในโครงการจัดการกองทุนรวม หรือข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว (ข) ข้อความที่แสดงว่า สิทธิ หน้าที่ และความผูกพันระหว่างบริษัทจัดการและผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นไปตามข้อกําหนดในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ (ค) ข้อความที่แสดงว่า บริษัทจัดการจะแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม โดยผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีอํานาจลงนามในข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนและบริษัทจัดการ ทั้งนี้ การลงนามในข้อผูกพันของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่ได้รับการแต่งตั้งโดยชอบ ให้ถือว่าผูกพันผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง (ง) ข้อความที่แสดงว่า การที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แสดงความประสงค์ในการซื้อ หรือลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามโครงการจัดการกองทุนรวมนี้ ไม่ว่าในทอดใด ๆ ให้ถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยอมรับที่จะผูกพันตามข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ (จ) ช่องทางที่ผู้ลงทุนสามารถขอรับข้อมูลรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวม และข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ (9) การเลิกกองทุนรวม (10) ช่องทางและวิธีการร้องเรียนของผู้ลงทุน และนโยบายการระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ตลอดจนวิธีเข้าสู่กระบวนการดังกล่าว ข้อ 10 รายการคําเตือนเกี่ยวกับกองทุนรวม ให้มีข้อมูลที่เตือนให้ผู้ลงทุนเข้าใจอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) คําเตือนที่แสดงว่า การลงทุนในหน่วยลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจํานวน จึงไม่ได้อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และความเสี่ยงจากการลงทุนอย่างละเอียดรอบคอบก่อนลงทุน และเมื่อมีข้อสงสัยควรสอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุน โดยควรลงทุนเมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้ (2) คําเตือนที่จําเป็นเมื่อคํานึงถึงลักษณะของกองทุนรวมที่อาจส่งผลกระทบต่อ การตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ เช่น กองทุนรวมที่จัดหาผลประโยชน์ในลักษณะที่ อาจเกิดความไม่แน่นอนของกระแสรายรับซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์หรือผลตอบแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ เป็นต้น (3) คําเตือนที่แสดงว่า ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินหรือผลการดําเนินงานของบริษัทจัดการหรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (4) คําเตือนว่า “การพิจารณาร่างหนังสือชี้ชวนในการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม..(ระบุชื่อกองทุนรวม)..มิได้เป็นการแสดงว่าสํานักงานได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม หรือได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหน่วยลงทุนที่เสนอขายนั้น” คําเตือนตามวรรคหนึ่งให้พิมพ์ด้วยตัวอักษรที่มีความชัดเจนและมีขนาดไม่เล็กกว่าอักษรปกติของหนังสือชี้ชวน และให้แสดงไว้ในส่วนท้ายของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่มีข้อกําหนดในประกาศนี้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้เป็นไปตามข้อกําหนดนั้น (2) กรณีที่เป็นคําเตือนที่บริษัทจัดการพิจารณาว่าผู้ลงทุนควรทราบและให้ความสําคัญเป็นพิเศษ ให้แสดงไว้ในส่วนแรกของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ ข้อ 11 รายการการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้มีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดหน่วยลงทุนที่เสนอขาย (2) ลักษณะของผู้ลงทุนที่มีสิทธิจองซื้อหน่วยลงทุน (3) จํานวนหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจะจัดสรรให้ผู้ลงทุนแต่ละลักษณะ (4) วิธีการจอง การจําหน่าย และการจัดสรรหน่วยลงทุน (5) การส่งมอบหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนที่ได้รับจัดสรร ในกรณีหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะเสนอขายมีการแบ่งหน่วยลงทุนออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงข้อมูลตามวรรคหนึ่งตามชนิดของหน่วยลงทุน ข้อ 12 หนังสือชี้ชวนส่วนรับรองความถูกต้องครบถ้วน ให้อยู่ส่วนท้ายของหนังสือชี้ชวน โดยต้องมีข้อความที่แสดงว่า บุคคลดังต่อไปนี้ได้สอบทานข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของตนในหนังสือชี้ชวนฉบับนี้แล้ว ด้วยความระมัดระวังในฐานะผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลดังกล่าว และ ขอรับรองว่าข้อมูลดังกล่าวถูกต้องครบถ้วน ไม่เป็นเท็จ ไม่ทําให้ผู้อื่นสําคัญผิด และไม่ขาดข้อมูลที่ ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ (1) บริษัทจัดการ (2) ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทางการเงิน (3) ผู้ประกันรายได้ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการประกันรายได้ ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ต้องมีกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของหนังสือชี้ชวนตามวรรคหนึ่ง พร้อมทั้งประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) ข้อ 13 ในกรณีที่กองทุนรวมมีการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หนังสือชี้ชวนที่จัดทําขึ้น เพื่อเสนอขายหน่วยลงทุนในการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม ให้มีข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนสรุปข้อมูลสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปีที่กองทุนรวมได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้เพิ่มเงินทุนจดทะเบียน (2) การลงทุนและผลการดําเนินงานของกองทุนรวมโดยให้แสดงไว้ในรายการข้อมูลทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน และให้แสดงข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) รายละเอียดการลงทุน การกู้ยืม และการก่อภาระผูกพันของกองทุนรวม (ข) ผลการดําเนินงานของกองทุนรวมในรอบระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา หรือ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมจนถึงงวดบัญชีที่มีการจัดทําและเปิดเผย งบการเงินของกองทุนรวมครั้งล่าสุด (3) ในกรณีที่การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อให้ได้มาเพิ่มเติมซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หากการได้มาดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับ มติของผู้ถือหน่วยลงทุน ให้นําความเห็นของบริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมที่ระบุไว้ในหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขอมติ โดยให้แสดงไว้ในรายการ การทําธุรกรรมระหว่างกองทุนรวมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ **แผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญ** **ความเสี่ยง/มีความซับซ้อนต่ํา ความเสี่ยง/มีความซับซ้อนสูง** **➇** **➆** **➅** **➄** **➃** **➂** **➁** **➀** **กองทุนรวม กองทุนรวม กองทุนรวม กองทุนรวม กองทุนรวมผสม กองทุนรวม กองทุนรวม กองทุนรวมที่ลงทุนใน** **ตลาดเงิน ตลาดเงิน พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ ตราสารแห่งทุน หมวดอุตสาหกรรม ทรัพย์สินทางเลือก** **ที่ลงทุนเฉพาะ ที่ลงทุนใน** **ในประเทศ ต่างประเทศบางส่วน** **กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน** กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จัดอยู่ในกลุ่มกองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือกซึ่งมีระดับความเสี่ยง = 8 (Risk Profile = เสี่ยงสูงมาก) เพราะมีนโยบายลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุนหรือมีโครงสร้างซับซ้อน ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนโดยละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน ตัวอย่างคําอธิบายสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (“กองทุนรวม”) 1. กรณีทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมจะลงทุน ไม่อยู่ในรูปของกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นสิทธิการเช่า สิทธิสัมปทาน สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต => กองทุนรวมจะลงทุนในสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ของกิจการ ... เป็นระยะเวลา ... ปี ดังนั้น มูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมลงทุนจะลดลงตามอายุสิทธิที่เหลืออยู่ โดยมูลค่าที่ลดลงในแต่ละปีอาจเป็นจํานวนที่ไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินค่าทรัพย์สินดังกล่าว 2. กรณีกองทุนรวมจะลงทุนในโครงการที่ไม่แล้วเสร็จ (greenfield project) => กองทุนรวมจะลงทุนในกิจการ ... ซึ่ง ณ วันที่ ... ก่อสร้างไปแล้วร้อยละ ... ของโครงการ กองทุนรวมจึงมีความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการดังกล่าวหากเกิดกรณีการก่อสร้างล่าช้า (project delay) หรือต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น (cost overrun) 3. กรณีกองทุนรวมมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุน => กองทุนรวมมีการแบ่งหน่วยลงทุนเป็น 2 ชนิด คือ หน่วยลงทุนชนิดคล้ายหนี้ (debt-liked tranche) และหน่วยลงทุนชนิดคล้ายทุน (equity tranche) โดยหน่วยลงทุนชนิดคล้ายหนี้มีลําดับสิทธิใกล้เคียงกับเจ้าหนี้ และได้รับส่วนแบ่งกําไรก่อนหน่วยลงทุนชนิดคล้ายทุน 4. กรณีกองทุนรวมจะลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มจัดหาประโยชน์ได้ไม่นานนัก => กองทุนรวมจะลงทุนในกิจการ ... ซึ่งเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มจัดหาประโยชน์ได้เมื่อวันที่ ... ความสําเร็จของการจัดหาประโยชน์จากกิจการดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับปริมาณลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการซึ่งอาจประเมินศักยภาพของลูกค้าได้ยากกว่าโครงการอื่นที่มีการดําเนินงานหรือให้บริการมาระยะหนึ่งแล้ว
1,186
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 16/2557 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16 /2557 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (3) ในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2554 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) สิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับ ตลอดจนนโยบาย การจ่ายเงินปันผล โดยให้แสดงข้อมูลตามชนิดของหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนโดยกําหนดประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนไว้แตกต่างกัน ต้องแสดงรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะและเงื่อนไขในการจ่ายประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนด้วย” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2554 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้แผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐานและสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,187
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สน. 44/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2562 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 40(1) และข้อ 131 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 38/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 35/2554 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 16/2557 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สน. 32/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทําหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๓ หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองเลขาธิการ เลขาธิการ แทน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,188
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 32/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 32/2558 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุน ของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 30(1) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 22/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 สํานักงาน ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2554 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) แผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวม และสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญของกองทุนรวม ซึ่งสะท้อนความเสี่ยงของกองทุนรวมอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ตามแนวทางที่กําหนดไว้ท้ายประกาศนี้” ข้อ 2 ให้ยกเลิกแผนภาพแสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญ ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 35/2554 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 16/2557 เรื่อง หนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้แผนภาพ แสดงตําแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและสรุปปัจจัยความเสี่ยงที่สําคัญ ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,189
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(3) และ (12) ข้อ 14 ข้อ 30 ข้อ 37 ข้อ 38 ข้อ 43(3) และข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป เว้นแต่ (1) ข้อ 12(4) ที่เกี่ยวกับการจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าที่จะระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงานสําหรับผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป (2) ข้อ 17 ที่เกี่ยวกับการจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าสําหรับการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป (3) ข้อ 30 ที่เกี่ยวกับการทดสอบความรู้ของลูกค้าที่ประสงค์จะลงทุนหรือทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 29(2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (10) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป (4) ข้อ 32(1) ที่เกี่ยวกับการแจกจ่ายเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 29(2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) และ (10) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ ๓ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 2 (2) การทําข้อตกลงกับลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการ ให้เป็นไปตามหมวด 3 (3) การวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 4 (4) การจัดส่งหลักฐานยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 5 (5) การให้บริการลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ให้เป็นไปตามหมวด 6 (6) การรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ให้เป็นไปตามหมวด 7 ข้อ ๔ ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจพิจารณาผ่อนผันให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามประกาศนี้เป็นการเฉพาะรายหรือเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผ่อนผันต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๕ ในการติดต่อและให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังในการให้บริการหรือนําเสนอบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ (1) ลูกค้าเป็นบุคคลธรรมดาที่มีอายุตั้งแต่หกสิบปีขึ้นไป (2) ลูกค้าที่มีความรู้ทางการเงินน้อย หมวด ๒ การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า ข้อ ๖ ในการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าตามข้อ 30 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการรวบรวมและ ประเมินข้อมูลของลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยอย่างน้อยต้องมีการกําหนดรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 หรือข้อ 8 แล้วแต่กรณีด้วย ข้อ ๗ ในการจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลจากลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนแก่ลูกค้าว่า การที่ลูกค้าให้ข้อมูลที่เป็นความจริง ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และครบถ้วนตามที่ผู้ประกอบธุรกิจร้องขอ ย่อมมีผลต่อการให้บริการหรือการให้คําแนะนําที่ลูกค้าแต่ละรายจะได้รับจากผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๘ ผู้ประกอบธุรกิจต้องพิจารณาความสามารถในการลงทุน ความสามารถในการชําระหนี้ และความสามารถในการวางหลักประกันของลูกค้า โดยการกําหนดวงเงินหรือปริมาณการซื้อขาย (position limit) สําหรับลูกค้าแต่ละราย ทั้งนี้ ในการดําเนินการดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาให้การกําหนดวงเงินหรือปริมาณการซื้อขายของลูกค้าแต่ละรายเป็นไปตามประกาศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีข้อกําหนดในรายละเอียดเป็นการเฉพาะสําหรับผู้ประกอบธุรกิจบางประเภทด้วย ข้อ ๙ ในการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าให้เป็นปัจจุบันภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามข้อ 37 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า อย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ทําการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าภายในระยะเวลาดังนี้ (ก) ข้อมูลเพื่อการทําความรู้จักลูกค้าและการจัดประเภทลูกค้า ให้ดําเนินการภายในระยะเวลาที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงิน ให้ดําเนินการภายในระยะเวลาที่สถาบันการเงินนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) ข้อมูลเพื่อการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้า ให้ดําเนินการอย่างน้อยทุกสองปี (ค) ข้อมูลเพื่อการพิจารณาความสามารถในการลงทุน ความสามารถในการชําระหนี้ และความสามารถในการวางหลักประกัน รวมทั้งความสามารถในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้บริการใด ๆ ของลูกค้า ให้ดําเนินการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (2) ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือปรากฏข้อเท็จจริงต่อผู้ประกอบธุรกิจว่าข้อมูลในส่วนที่มีนัยสําคัญของลูกค้ารายใดไม่ถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ให้ดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าทันที (3) ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อลูกค้ารายใดเพื่อทําการการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าได้ตาม (1) ให้ดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ ในระหว่างที่ยังดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง (3) ไม่แล้วเสร็จ ให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าได้เฉพาะการรับคําสั่งขายหรือล้างฐานะผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่คงค้างอยู่ในบัญชีของลูกค้าอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น เว้นแต่การรับคําสั่งขายหรือล้างฐานะดังกล่าวเป็นธุรกรรมที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องห้ามมิให้บริการแก่ลูกค้าตามกฎหมายอื่น หมวด ๓ การทําข้อตกลงกับลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการ ส่วน ๑ ข้อกําหนดทั่วไป ข้อ ๑๐ ในกรณีที่การให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจจําเป็นต้องทําข้อตกลงกับลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของคําขอเปิดบัญชี สัญญา หรือข้อตกลงในรูปแบบอื่นใดตามข้อ 44 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้การทําข้อตกลงดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการในการทําข้อตกลงกับลูกค้า ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ ต้องจัดให้มีข้อตกลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรกับลูกค้าที่จะระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงานเมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยข้อตกลงดังกล่าวให้จัดให้มีตั้งแต่ในเวลาที่ทําสัญญาหรือข้อตกลงกับลูกค้าด้วย (1) ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม (3) ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) ที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ส่วน ๒ ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการให้บริการเป็น ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือพฤติกรรมการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ไว้ในข้อตกลงกับลูกค้าเพื่อการให้บริการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย (1) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้งและจัดหาข้อมูลดังนี้ พร้อมทั้งจัดทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสํานักงาน เมื่อผู้ประกอบธุรกิจหรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าวร้องขอ หรือเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานดังกล่าวกําหนด (ก) ข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าทุกรายทุกทอด (ข) วัตถุประสงค์ในการซื้อขายของลูกค้า (ค) ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายของลูกค้า ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้าซื้อขาย (ง) ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อขายเพื่อบุคคลอื่นหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้ง จัดหา และจัดทําคําชี้แจงเกี่ยวกับข้อมูลตาม (ก) (ข) และ (ค) ของบุคคลอื่นนั้นทุกรายและทุกทอด ทั้งนี้ เฉพาะที่ลูกค้ารู้หรือควรรู้เนื่องจากการเป็นผู้ดําเนินการเช่นนั้น (2) ลูกค้ายินยอมให้ผู้ประกอบธุรกิจงดให้บริการเป็นตัวแทนกับลูกค้าเป็นการชั่วคราว ปิดบัญชีซื้อขาย จํากัดฐานะหรือปริมาณการซื้อขาย ล้างฐานะ และดําเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสํานักงาน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้ (ก) การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ามีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือทําให้หรือน่าจะทําให้ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด (ข) ลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เหมาะสมหรืออาจฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ค) ลูกค้าไม่ดําเนินการแจ้ง จัดหาข้อมูล หรือจัดทําคําชี้แจงตาม (1) หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรืออาจก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่เป็นการให้บริการแก่ลูกค้าที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ก่อนทําการเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้าหรือก่อนเริ่มทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (risk disclosure statement) ซึ่งมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยตามแนวทางของเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่แนบท้ายประกาศนี้ ในการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบธุรกิจลงนามในเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเพื่อรับรองว่าได้มีการอธิบายถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ลูกค้ารับทราบแล้ว พร้อมทั้งดําเนินการให้ลูกค้าลงนามในเอกสารดังกล่าวเพื่อรับรองว่าผู้ประกอบธุรกิจได้อธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วด้วย เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้หมายความถึง ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความเสี่ยงเฉพาะซึ่งแตกต่างจากที่ได้เปิดเผยไว้ในเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงตามข้อ 14 และผู้ประกอบธุรกิจยังไม่เคยเปิดเผยความเสี่ยงเฉพาะดังกล่าวมาก่อน ให้ผู้ประกอบธุรกิจเปิดเผยความเสี่ยงเฉพาะดังกล่าวพร้อมข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ลูกค้ารายนั้นทราบก่อนเริ่มทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้กับลูกค้าด้วย ให้นําความในข้อ 14 วรรคสองมาบังคับกับการเปิดเผยความเสี่ยงเฉพาะตามข้อนี้ด้วยโดยอนุโลม ส่วน ๓ ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการให้บริการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน ข้อ ๑๖ ในส่วนนี้ “หลักทรัพย์จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและยับยั้งการกระทําอันไม่เป็นธรรม หรือพฤติกรรมการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่ไม่เหมาะสม ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ไว้ในข้อตกลงกับลูกค้าเพื่อการให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนด้วย (1) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้งและจัดหาข้อมูลดังนี้ พร้อมทั้งจัดทําคําชี้แจงเพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชี หรือสํานักงาน เมื่อผู้ประกอบธุรกิจหรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าวร้องขอ หรือเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานดังกล่าวกําหนด (ก) ข้อมูลที่สามารถระบุความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าและผู้รับประโยชน์จากการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของลูกค้าทุกรายทุกทอด (ข) วัตถุประสงค์ในการซื้อขายของลูกค้า (ค) ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายของลูกค้า (ง) ในกรณีที่ลูกค้าเป็นผู้ดําเนินการสั่งซื้อขายเพื่อบุคคลอื่นหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ลูกค้ายินยอมที่จะแจ้ง จัดหา และจัดทําคําชี้แจงเกี่ยวกับข้อมูลตาม (ก) (ข) และ (ค) ของบุคคลอื่นนั้นทุกรายและทุกทอด ทั้งนี้ เฉพาะที่ลูกค้ารู้หรือควรรู้เนื่องจากการเป็นผู้ดําเนินการเช่นนั้น (2) ลูกค้ายินยอมให้ผู้ประกอบธุรกิจงดให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนกับลูกค้าเป็นการชั่วคราว ปิดบัญชีซื้อขาย จํากัดการซื้อขาย และดําเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของลูกค้าได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ นายทะเบียนหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชี หรือสํานักงาน ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้ (ก) การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนของลูกค้ามีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือทําให้หรือน่าจะทําให้ราคาของหลักทรัพย์จดทะเบียนไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด (ข) ลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ไม่เหมาะสมหรืออาจฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ค) ลูกค้าไม่ดําเนินการแจ้ง จัดหาข้อมูล หรือจัดทําคําชี้แจงตาม (1) หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จหรืออาจก่อให้เกิดความสําคัญผิดในสาระสําคัญ ส่วน ๔ ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับธุรกรรม การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีฐานะเป็นตัวแทนของผู้ยืมหรือผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีสัญญาตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่มีลักษณะและสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในข้อ 20 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๐ เว้นแต่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 21 สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ที่ใช้ในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต้องทําเป็นลายลักษณ์อักษรโดยต้องมีลักษณะและสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ให้ยืมและหลักประกันในการยืมหลักทรัพย์ โดยต้องมีรายละเอียดในเรื่องดังนี้ (ก) ผู้ให้ยืมต้องโอนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ยืมโดยปลอดจากบุริมสิทธิหรือภาระผูกพันใด ๆ โดยผู้ยืมต้องส่งมอบหลักประกันให้แก่ผู้ให้ยืมเพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ และผู้ให้ยืมจะส่งมอบหลักประกันคืนให้แก่ผู้ยืม เมื่อผู้ยืมคืนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ให้ยืม (ข) การคืนหลักทรัพย์ที่ยืมและการคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่เป็นหลักประกัน ให้ใช้หลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลเดียวกัน ประเภทและชนิดเดียวกัน และจํานวนเท่ากันแทนกันได้ (ค) ในกรณีที่มีการวางหลักประกันเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกันที่สถาบันการเงินออกให้ไว้แก่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ การคืนหลักประกันให้กระทําโดยการยกเลิกหรือลดวงเงินของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกันที่นํามาวางไว้ แล้วแต่กรณี (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปรับจํานวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกันที่ต้องคืน โดยสัญญาต้องมีรายละเอียดในเรื่องดังนี้ ซึ่งเกี่ยวกับการปรับจํานวนหรือมูลค่าของหลักทรัพย์หรือหลักประกันที่ต้องคืนเมื่อมีเหตุการณ์อันจะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ยืมหรือผู้ให้ยืมเมื่อมีการโอนหลักทรัพย์หรือหลักประกันคืน เกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่ครบกําหนดคืน (ก) การให้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่มีอยู่ก่อนแล้ว (ข) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้อันเป็นผลให้จํานวนหุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง (ค) การไถ่ถอนหลักทรัพย์ (ง) การรวมกิจการ การควบกิจการ หรือการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (จ) การจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น (ฉ) การแปลงสภาพหลักทรัพย์ หรือ (ช) กรณีอื่นใดในทํานองเดียวกัน (3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการชดเชยสิทธิประโยชน์ให้แก่คู่สัญญา โดยสัญญาต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการชดเชยสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ที่ผู้ให้ยืมหลักทรัพย์หรือผู้ยืมหลักทรัพย์พึงได้รับ หากยังถือหลักทรัพย์หรือหลักประกันไว้ แล้วแต่กรณี โดยต้องกําหนดให้การจ่ายชดเชยสิทธิประโยชน์ดังกล่าวมีมูลค่าไม่น้อยกว่าสิทธิประโยชน์ที่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารจ่ายให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์หรือตราสารนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่คู่สัญญาจะตกลงเป็นประการอื่น (4) ข้อกําหนดในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดหรือมีเหตุการณ์ที่ทําให้หนี้ถึงกําหนดชําระโดยพลัน โดยสัญญาต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาตลอดจนมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดหรือมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่ทําให้หนี้ถึงกําหนดชําระโดยพลัน ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม ผู้ให้ยืมและผู้ยืมอาจตกลงกําหนดลักษณะและสาระสําคัญของสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักประกันไว้เป็นประการอื่นก็ได้ ข้อ ๒๑ สัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการขายชอร์ตผ่านบัญชีมาร์จิ้นให้เป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หมวด ๔ การวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุน ข้อ ๒๒ การวิเคราะห์หรือการแนะนําการลงทุนให้กับลูกค้าตามข้อ 38 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรซึ่งทําหน้าที่ดังกล่าวและการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนบางประเภทที่จะแนะนําให้แก่ลูกค้าหรือที่ลูกค้าสนใจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมและดูแลบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ การแนะนํา หรือการวางแผนการลงทุนให้แก่ลูกค้า โดยให้บุคลากรดังกล่าวให้บริการแก่ลูกค้าตามประเภทและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้มอบหมายให้บุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนเป็นผู้แนะนําการลงทุนเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ําประกัน ต้นเงินและดอกเบี้ยที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ขายคืนได้ตามราคาที่แน่นอนหรือราคาขั้นต่ําที่ได้กําหนดไว้ตั้งแต่วันที่ออกพันธบัตรดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ให้แก่ลูกค้าด้วย (1) จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและลักษณะของพันธบัตรที่จะลงทุน โดยอาจดําเนินการด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกัน ดังนี้ (ก) จัดให้มีพนักงานที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าประจําอยู่ ณ สถานที่ ทําการของผู้ประกอบธุรกิจที่ติดต่อกับลูกค้าในเรื่องดังกล่าว (ข) จัดให้มีระบบติดต่อสื่อสารที่ทําให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสารกับพนักงานของผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้าได้ (ค) จัดให้มีศูนย์บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวกับลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องให้บริการตลอดเวลาทําการของผู้ประกอบธุรกิจ (2) ดําเนินการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ให้ลูกค้าทราบถึงการดําเนินการตาม (1) (3) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบถึงราคารับซื้อคืน (4) ตรวจสอบดูแลให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง หมวด ๕ การจัดส่งหลักฐานยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้า ข้อ ๒๕ เมื่อลูกค้าตัดสินใจให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการให้มีการลงทุนหรือเข้าทําธุรกรรมแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องรายงานหรือแจ้งผลการดําเนินการให้ลูกค้าทราบตามข้อ 43(3) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งหลักฐานการยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้า(confirmation statement) ซึ่งมีรายละเอียดตามแนวทางที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ตามวิธีการที่ได้ตกลงไว้กับลูกค้า ข้อ ๒๖ ในกรณีที่เป็นธุรกรรมดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งหลักฐานยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้าที่มีรายละเอียดตามข้อ 25 ให้แก่ลูกค้าภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้สําหรับธุรกรรมดังกล่าว (1) ธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น ให้จัดส่งภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการซื้อขายหุ้น (2) ธุรกรรมการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้จัดส่งภายในวันทําการถัดจากวันที่มีการซื้อขายหรือวันที่มีการเรียกหลักประกันเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี (3) ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการวางหรือการคืนหลักประกัน ให้จัดส่งลูกค้าภายในวันทําการถัดจากวันที่เกิดธุรกรรม ข้อ ๒๗ เพื่อประโยชน์ในการส่งหลักฐานการยืนยันการทําธุรกรรมตามข้อ 26 (1) ในกรณีที่ธุรกรรมการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ให้จัดส่งหลักฐานการยืนยันการทําธุรกรรมดังกล่าวให้แก่ลูกค้าภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับข้อมูลยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้าจากต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ หากการยืนยันข้อมูลดังกล่าวเกิดขึ้นนอกเวลาทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจได้รับข้อมูลยืนยันการทําธุรกรรมนั้นในวันทําการถัดไป (2) ให้ถือว่าการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นหลังเวลาปิดทําการซื้อขายภาคปกติ เป็นการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกิดขึ้นในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ทําการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นให้แก่ลูกค้า หมวด ๖ การให้บริการลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ข้อ ๒๘ ในการให้บริการลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่กําหนดไว้ในหมวดนี้เพิ่มเติม นอกเหนือจากการปฏิบัติต่อลูกค้าตามปกติ เพื่อให้การให้บริการลูกค้าเป็นไปตามข้อ 30 และข้อ 38 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ข้อ ๒๙ ให้ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้ง จัดการและลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนและอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินที่มีเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนการลงทุนที่ซับซ้อนและอาจทําให้เกิดผลขาดทุน เกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (3) ศุกูก (Sukuk) ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูกและการเปิดเผยข้อมูล (4) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ (5) หุ้นกู้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (6) หุ้นกู้ที่ออกตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (7) หุ้นกู้อนุพันธ์ (8) หุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพัน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน (9) ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (10) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนแต่ละประเภทเป็นครั้งแรก ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทดสอบความรู้ของลูกค้าเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมเพื่อประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวก่อนการลงทุน ทั้งนี้ ตามแบบทดสอบที่สํานักงานกําหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ ซึ่งไม่ได้แสดงเจตนาที่จะรับการทดสอบความรู้ (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ และมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะไม่รับการทดสอบความรู้ ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ผลการทดสอบความรู้ของลูกค้าตามข้อ 30 แสดงว่าผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนประเภทใดอาจไม่เหมาะสมกับลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการเตือนให้ลูกค้าทราบว่าลูกค้าไม่เหมาะสมที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนประเภทนั้น หากลูกค้ายืนยันที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมต่อไป ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ลูกค้าลงนามรับทราบคําเตือนและความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการลงทุนหรือทําธุรกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ ในระหว่างที่ลูกค้ายังไม่ยืนยันที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมต่อไป ผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่นําเสนอบริการเพิ่มเติมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนประเภทนั้นแก่ลูกค้า ข้อ ๓๒ ในการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้สําหรับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมของลูกค้าทุกครั้ง เว้นแต่เป็นกรณีตามที่กําหนดไว้ในข้อ 33 (1) จัดให้มีการแจกจ่ายเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนในประเภทที่ประสงค์จะลงทุนหรือทําธุรกรรมแก่ลูกค้า ตามที่สํานักงานกําหนด (2) จัดให้มีการอธิบายโดยการให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนในประเภทที่ประสงค์จะลงทุนหรือทําธุรกรรมแก่ลูกค้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการลงทุนหรือทําธุรกรรมดังกล่าวให้ชัดเจน (3) จัดให้มีคําแนะนําลูกค้าอย่างเป็นกลาง (balanced view) ซึ่งมีลักษณะ ข้อดี ข้อจํากัด ผลตอบแทน และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนดังกล่าว โดยมีเอกสารหรือข้อมูลสนับสนุนการให้คําแนะนํานั้นด้วย (4) จัดให้มีคําแนะนําเกี่ยวกับความเหมาะสมของลูกค้าในการลงทุนหรือการทําธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน โดยพิจารณาจากการประเมินข้อมูลของลูกค้าที่ได้จากการทําความรู้จักลูกค้าและการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของลูกค้ารายนั้น (5) จัดให้มีคําเตือนเพิ่มเติมแก่ลูกค้าว่า การลงทุนหรือการทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน มีความแตกต่างจากการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป แม้ว่าลูกค้าจะเคยมีประสบการณ์ในการลงทุนหรือทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมาก่อน ลูกค้าควรทําความเข้าใจถึงลักษณะความเสี่ยงและเงื่อนไขเฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง เมื่อผู้ประกอบธุรกิจได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งจนลูกค้ามีความเข้าใจแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้ลูกค้าลงนามรับรองการดําเนินการของผู้ประกอบธุรกิจด้วย ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามข้อ 32 เมื่อเป็นการลงทุนหรือทําธุรกรรมเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะลงทุนหรือทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภท รุ่น และชนิดเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ลูกค้าเคยลงทุนหรือทําธุรกรรมมาแล้วครั้งหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ดําเนินการตามข้อ 32 กับลูกค้าซ้ําอีกก็ได้ ข้อ ๓๔ ในกรณีที่เป็นการให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนดังต่อไปนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 35 เพิ่มเติมด้วย (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยตามข้อ 29(1) ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามากกว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (2) ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนตามข้อ 29(9) ข้อ ๓๕ การให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 34 ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้การให้บริการกระทําในรูปแบบที่ลูกค้าต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานของผู้ประกอบธุรกิจ (face to face) (2) จัดให้มีการอธิบายกรณีหากมีสถานการณ์ในเชิงลบอย่างมากที่สุดเกิดขึ้น (worst case scenario) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนหรือทําธุรกรรมแก่ลูกค้า ทั้งนี้ ตามตัวอย่างสถานการณ์ในเชิงลบอย่างมากที่สุด ที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนและหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสําคัญ (factsheet) (3) จัดให้มีบันทึกการให้คําแนะนําโดยอาจอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือเทปบันทึกเสียงการสนทนา ทั้งนี้ ในกรณีที่จัดให้อยู่ในรูปแบบเอกสาร ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้ลูกค้าทําการตรวจสอบรายละเอียดของบันทึกคําแนะนําที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวด้วย (4) ในกรณีที่ลูกค้ามีผลการทดสอบความรู้ตามข้อ 30 แสดงว่าผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 34 อาจไม่เหมาะสมกับลูกค้า และลูกค้ายืนยันที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมต่อไป ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้พนักงานที่มีความเป็นอิสระหรือพนักงานระดับอาวุโส ณ สถานที่ทําการแห่งนั้น ดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ตรวจสอบขั้นตอนในการให้บริการแก่ลูกค้ารายนั้น (ข) แจ้งเตือนลูกค้าถึงการลงทุนหรือทําธุรกรรมที่อาจไม่เหมาะสมกับลูกค้า (ค) ลงนามเป็นผู้อนุมัติในขั้นตอนสุดท้ายของการให้บริการแก่ลูกค้า (5) จัดเก็บหลักฐานการดําเนินการตาม (1) (2) (3) และ (4) ไว้ในลักษณะที่สํานักงานสามารถเรียกดูได้โดยไม่ชักช้า หมวด ๗ การรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน นอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ข้อ ๓๖ ในหมวดนี้ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุนหรือตราสารดังต่อไปนี้ (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (foreign collective investment scheme) ข้อ ๓๗ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีระบบงานที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องตามข้อ 12(3) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในกรณีที่มีการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ ๓๘ ผู้ประกอบธุรกิจจะให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจได้ต่อเมื่อผู้ประกอบธุรกิจมีคุณสมบัติและความพร้อมในการให้บริการในลักษณะเช่นเดียวกับการมีสํานักงานสาขาตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสํานักงานสาขา ข้อ ๓๙ ในการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) รับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนในสถานที่ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจเปิดให้บริการชั่วคราวเท่านั้น (ข) จัดให้ลูกค้าส่งคําสั่งซื้อขายด้วยตนเอง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์สําหรับลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจจัดไว้ในสถานที่เปิดให้บริการชั่วคราว (2) ในกรณีที่เป็นการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนได้เฉพาะกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) รับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน (ข) รับใบจองซื้อหลักทรัพย์ตามสถานที่และวิธีการที่กําหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนและแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามวรรคหนึ่ง (1) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟซึ่งโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวกําหนดให้ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนโดยตรงกับบริษัทจัดการกองทุนรวมได้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจรับคําสั่งขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) และ (ข) ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการในกรณีอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 38 และข้อ 39 ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคําขออนุญาตจากสํานักงานเป็นรายกรณี โดยสํานักงานจะพิจารณาอนุญาตต่อเมื่อผู้ประกอบธุรกิจสามารถแสดงได้ว่ามีความพร้อมของบุคลากรและมีระบบงานอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าโดยเฉพาะข้อมูลการซื้อขายของลูกค้า และระบบป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เข้าถึงข้อมูลของลูกค้าและป้องกันไม่ให้มีการนําข้อมูลของลูกค้าไปใช้ในทางมิชอบ (2) ระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น บันทึกการสนทนาการให้คําแนะนําและการรับคําสั่งซื้อขายที่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถตัด เพิ่ม แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อความที่บันทึกคําสนทนาได้ เป็นต้น (3) ระบบการรับส่งคําสั่งซื้อขายที่มีประสิทธิภาพ (4) ระบบตรวจสอบและควบคุมภายในสําหรับการรับคําสั่งนอกสถานที่ เช่น แผนการตรวจสอบและรายงานการตรวจสอบ เป็นต้น ในการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติเพิ่มเติมในแต่ละกรณีด้วยก็ได้ ข้อ ๔๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทํารายงานการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการในทุกรอบปีปฏิทิน โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ วันและเวลาที่ได้เปิดให้บริการ และขอบเขตการให้บริการ และจัดเก็บไว้ที่สํานักงานใหญ่เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินที่มีการให้บริการนอกสถานที่ทําการ เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ หมวด ๘ บทเฉพาะกาล ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ข้อตกลงในการให้บริการแก่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ยังไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามข้อ 12(4) และข้อ 17 ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้แต่ไม่เกินกว่าวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,190
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 34/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 34/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของวรรคหนึ่งในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “(4) ในกรณีที่บัญชีของลูกค้ามีสถานะถูกระงับบัญชีไม่ให้ทําธุรกรรมตามระเบียบปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าให้แล้วเสร็จก่อนยกเลิกสถานะดังกล่าว” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,191
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 51/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 51/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(3) และ (12) ข้อ 14 ข้อ 26 ข้อ 27 ข้อ 28 ข้อ 38 ข้อ 43 และข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 สํานักงานจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “(7) การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยลูกค้ายินยอมให้ตัดสินใจแทนในขอบเขตที่จํากัดให้เป็นไปตามหมวด 7/1” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 7/1 การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยลูกค้ายินยอมให้ตัดสินใจแทนในขอบเขตที่จํากัด ข้อ 41/1 ถึงข้อ 41/9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 หมวด ๗ การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยลูกค้ายินยอม ให้ตัดสินใจแทนในขอบเขตที่จํากัด ข้อ ๔๑/๑ ในหมวดนี้ คําว่า “ผู้แนะนําการลงทุน” และ “ผู้วางแผนการลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน “ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทําการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บุคลากร” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน “การให้บริการ” หมายความว่า การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยลูกค้ายินยอมให้ตัดสินใจแทนในขอบเขตที่จํากัด ข้อ ๔๑/๒ ในการให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่กําหนดไว้ในหมวดนี้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการปฏิบัติต่อลูกค้าตามปกติ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจกําหนด ข้อ ๔๑/๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีข้อตกลงการให้บริการกับลูกค้า โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ก่อนทําการเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้า (1) ขั้นตอนและวิธีการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนจากลูกค้า (2) ขอบเขตและเงื่อนไขในการให้บริการ รวมถึงสิทธิของลูกค้าในการใช้บริการ (3) ข้อมูลการแสดงตนว่าการให้บริการไม่มีลักษณะเป็นการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (4) หน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการใช้บริการ (risk disclosure statement) (5) หน้าที่ในการเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) (6) ขั้นตอนการดําเนินการในกรณีที่เกิดการขาดทุนเกินกว่าอัตราขาดทุนสูงสุด ที่ลูกค้ากําหนด โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้ (7) เงื่อนไขการกําหนดอัตราหมุนเวียนการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (turnover ratio) และหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว (8) ขั้นตอนการดําเนินการในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นที่ไม่สามารถให้บริการได้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการดําเนินการทบทวนข้อตกลงการให้บริการและปรับปรุงข้อมูลทันที ข้อ ๔๑/๔ ก่อนทําการเปิดบัญชีให้แก่ลูกค้าหรือก่อนเริ่มการให้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ โดยอย่างน้อยต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงดังกล่าว (risk disclosure statement) ให้ผู้ประกอบธุรกิจอธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการให้บริการดังกล่าวให้ลูกค้าทราบ พร้อมทั้งดําเนินการให้ลูกค้ารับทราบถึงการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงนั้น ข้อ ๔๑/๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการยืนยันการเปิดบัญชี (call back) โดยบุคลากรซึ่งปฏิบัติการด้านงานสนับสนุน (back office) เพื่อยืนยันความถูกต้องในการเปิดบัญชีและตรวจสอบว่าลูกค้าทราบถึงเงื่อนไขการให้บริการอย่างชัดเจน ข้อ ๔๑/๖ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีบุคลากรประเภทผู้แนะนําการลงทุนหรือผู้วางแผนการลงทุนตามที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อตกลงการให้บริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องควบคุมและดูแลให้บุคลากรตามวรรคหนึ่งให้บริการแก่ลูกค้าตามประเภทและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ ๔๑/๗ 7 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีหลักฐานยืนยันการรับคําสั่งของลูกค้าตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจกําหนด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) รายชื่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (2) จํานวนของรายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน วงเงินลงทุนของรายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน หรือวงเงินลงทุนรวมสําหรับการรับบริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามหมวดนี้ ในกรณีที่ลูกค้ากําหนดเพียงวงเงินลงทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดจํานวนรายชื่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในแต่ละประเภทที่จะให้บริการได้ไม่เกิน 10 รายชื่อ (3) อัตราขาดทุนสูงสุดที่ลูกค้ากําหนด (stop-loss limited) โดยต้องกําหนดทั้งอัตราขาดทุนสูงสุดรายผลิตภัณฑ์และอัตราขาดทุนสูงสุดของมูลค่าการลงทุน ระยะเวลาในการปฏิบัติตามคําสั่งของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ลูกค้ากําหนด ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กําหนดต้องไม่เกิน 3 เดือน ข้อ ๔๑/๘ เพื่อให้การควบคุมขอบเขตการให้บริการและการดูแลความเสี่ยงในการลงทุนของลูกค้าตามหมวดนี้เป็นไปตามข้อ 12(3) แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการแยกบัญชีการซื้อขายตามหมวดนี้ออกจากบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบอื่น (2) จัดให้มีระบบงานอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถควบคุมดูแลการซื้อขายให้เป็นไปตามที่ลูกค้ามอบหมาย (ข) ระบบควบคุมและดูแลความเสี่ยงให้การซื้อขายอยู่ภายใต้อัตราขาดทุนสูงสุดที่ลูกค้ากําหนด (stop-loss limited) (3) จัดให้มีการแจ้งข้อมูลให้ลูกค้าทราบทันทีในกรณีที่เกิดการขาดทุนเกินกว่าอัตราขาดทุนสูงสุดที่ลูกค้ากําหนด ข้อ ๔๑/๙ ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทํารายงานผลการดําเนินงานในทุก ๆ เดือน โดยต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ให้จัดทํารายงานผลการดําเนินงานดังกล่าวแยกออกจากรายงานผลการดําเนินงานแบบอื่น (1) รายละเอียดผลการดําเนินงานของบุคลากรซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ให้บริการ รวมถึงผลกําไรขาดทุนของมูลค่าการลงทุนของลูกค้าทั้งหมด (2) อัตราหมุนเวียนการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (turnover ratio) พร้อมทั้งคําอธิบาย (ถ้ามี) (3) รายงานเกี่ยวกับผลการดําเนินงานการให้บริการเทียบกับตัวชี้วัดการดําเนินงาน (benchmark) ที่เหมาะสม” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,192
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(12) ข้อ 14 ข้อ 30 และข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 12/(3/1) และข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงานระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (3) และ (4) ของข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 51/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ในส่วนที่เกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (1) การจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 1/1 (2) การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) การทําข้อตกลงกับลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการ ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การวิเคราะห์และการแนะนําการลงทุน ให้เป็นไปตามหมวด 4 (5) การจัดส่งหลักฐานยืนยันการทําธุรกรรมของลูกค้า ให้เป็นไปตามหมวด 5 (6) การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ให้เป็นไปตามหมวด 6 (7) การรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ ให้เป็นไปตามหมวด 7 (8) การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยลูกค้ายินยอมให้ตัดสินใจแทนในขอบเขตที่จํากัดให้เป็นไปตามหมวด 7/1” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5 ในการติดต่อและให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังในการให้บริการหรือนําเสนอบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ (1) ลูกค้าเป็นบุคคลธรรมดาที่มีอายุตั้งแต่หกสิบปีขึ้นไป (2) ลูกค้าที่มีความรู้ทางการเงินอย่างจํากัด หรือไม่มีประสบการณ์การลงทุน (3) ลูกค้าที่มีข้อจํากัดในการสื่อสารหรือในการตัดสินใจด้วยตนเอง หรือมีภาวะบกพร่องทางสุขภาพ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกค้าตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (3) เป็นผู้มีความรู้ทางการเงินหรือมีประสบการณ์การลงทุนแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้ดุลยพินิจในการให้บริการหรือนําเสนอบริการตามที่เห็นว่าเหมาะสมกับลูกค้ารายดังกล่าวก็ได้” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 1/1 การจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการ ข้อ 5/1 ข้อ 5/2 ข้อ 5/3 และข้อ 5/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 หมวด ๑/๑ การจัดให้มีระบบงานเพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ข้อ ๕/๑ ในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าตามข้อ 12(3/1) และข้อ 25/1 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานเพื่อรองรับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ ๕/๒ ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าไม่ประสงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามความในหมวดนี้ (3) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนหรือผู้ใช้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๕/๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานที่ทําให้มั่นใจได้ว่า การกําหนดขั้นตอนและวิธีการในรายละเอียดของกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ได้มีการคํานึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ รวมทั้งสอดคล้องและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (1) กระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การคัดเลือกและมอบหมายให้บุคลากรซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท เป็นผู้ขายหรือผู้ให้บริการแก่ลูกค้า (ข) การจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการให้แก่บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายตาม (ก) เพื่อใช้ศึกษาและทําความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการก่อนนําไปเสนอขายหรือให้บริการแก่ลูกค้า (ค) การจัดหาเครื่องมือหรือสื่อประกอบการอธิบายให้แก่บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายตาม (ก) เพื่อใช้ในการอธิบายลักษณะและความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแก่ลูกค้าตามความจําเป็น (2) กระบวนการในการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพื่อทําความรู้จักลูกค้าและประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือทําธุรกรรมของลูกค้า (ข) การนําเสนอผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการที่มีความเหมาะสมกับลูกค้า โดยพิจารณาจากผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (suitability test) และคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุน (asset allocation) ของลูกค้า (ค) การแจกจ่ายเอกสารประกอบการติดต่อหรือให้บริการให้แก่ลูกค้า ให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (ง) การอธิบายและให้ข้อมูลตลอดจนความเสี่ยงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแก่ลูกค้าอย่างเพียงพอก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจลงทุนหรือใช้บริการ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์สําคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (material event) (ถ้ามี) (3) กระบวนการติดตามตรวจสอบการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การติดตามตรวจสอบเพื่อควบคุมให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าสอดคล้องกับกระบวนการติดต่อและให้บริการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดตาม (1) และ (2) (ข) การแก้ไขหรือดําเนินการใด ๆ เมื่อพบว่ามีการติดต่อและให้บริการไม่สอดคล้องกับกระบวนการติดต่อและให้บริการ (ค) การจัดเก็บเอกสารและหลักฐานการดําเนินการตาม (ก) และ (ข) ไว้ในลักษณะที่สํานักงานสามารถเรียกดูได้โดยไม่ชักช้า ข้อ ๕/๓ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานที่ทําให้มั่นใจได้ว่า การกําหนดขั้นตอนและวิธีการในรายละเอียดของกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ได้มีการคํานึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ รวมทั้งสอดคล้องและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (1) กระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การคัดเลือกและมอบหมายให้บุคลากรซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท เป็นผู้ขายหรือผู้ให้บริการแก่ลูกค้า (ข) การจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการให้แก่บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายตาม (ก) เพื่อใช้ศึกษาและทําความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการก่อนนําไปเสนอขายหรือให้บริการแก่ลูกค้า (ค) การจัดหาเครื่องมือหรือสื่อประกอบการอธิบายให้แก่บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายตาม (ก) เพื่อใช้ในการอธิบายลักษณะและความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแก่ลูกค้าตามความจําเป็น (2) กระบวนการในการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพื่อทําความรู้จักลูกค้าและประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือทําธุรกรรมของลูกค้า (ข) การนําเสนอผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการที่มีความเหมาะสมกับลูกค้า โดยพิจารณาจากผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (suitability test) และคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุน (asset allocation) ของลูกค้า (ค) การแจกจ่ายเอกสารประกอบการติดต่อหรือให้บริการให้แก่ลูกค้า ให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (ง) การอธิบายและให้ข้อมูลตลอดจนความเสี่ยงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแก่ลูกค้าอย่างเพียงพอก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจลงทุนหรือใช้บริการ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์สําคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (material event) (ถ้ามี) (3) กระบวนการติดตามตรวจสอบการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การติดตามตรวจสอบเพื่อควบคุมให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าสอดคล้องกับกระบวนการติดต่อและให้บริการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดตาม (1) และ (2) (ข) การแก้ไขหรือดําเนินการใด ๆ เมื่อพบว่ามีการติดต่อและให้บริการไม่สอดคล้องกับกระบวนการติดต่อและให้บริการ (ค) การจัดเก็บเอกสารและหลักฐานการดําเนินการตาม (ก) และ (ข) ไว้ในลักษณะที่สํานักงานสามารถเรียกดูได้โดยไม่ชักช้า ข้อ ๕/๔ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกํากับดูแลให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการในรายละเอียดของกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่กําหนดในข้อ 5/3 ในกรณีที่เป็นการติดต่อและให้บริการซ้ําในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภท รุ่น และชนิดเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเดิม หรือเป็นการติดต่อและให้บริการซ้ําในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (repeated sell) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถปรับลดขั้นตอนและวิธีการในรายละเอียดของกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าลงได้ตามความเหมาะสม ในการปรับลดลดขั้นตอนหรือวิธีการตามวรรคสอง ลูกค้าต้องได้รับทราบข้อมูลหรือความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งลูกค้าเคยได้รับจากกระบวนการติดต่อและให้บริการครั้งก่อนด้วย (ถ้ามี)” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในหมวด 6 การให้บริการลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ข้อ 28 ข้อ 29 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 32 ข้อ 33 ข้อ 34 และข้อ 35 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน หมวด ๖ การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ข้อ ๒๘ ในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่กําหนดไว้ในหมวดนี้เพิ่มเติม นอกเหนือจากการปฏิบัติต่อลูกค้าตามปกติ เพื่อให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามข้อ 12(3/1) ข้อ 25/1 ข้อ 30 และข้อ 38 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ข้อ ๒๙ ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับกับการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน (2) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าไม่ประสงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามความในหมวดนี้ (3) ลูกค้าเป็นผู้ลงทุนหรือใช้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓๐ ให้ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (1) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (2) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการลงทุนแบบซับซ้อน ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกรณีที่กองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (3) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคํานวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคํานวณหรือเงื่อนไขใด ๆ ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทําความเข้าใจได้โดยง่าย (complex return fund) (4) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีมูลค่าการลงทุนสุทธิ (net exposure) ในสินค้าโภคภัณฑ์ ผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์นั้น (5) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เกินกว่าร้อยละหกสิบของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (6) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (hybrid securities) ที่มีกําหนดเวลาชําระหนี้เกินกว่าสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันที่ออกตราสาร และมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) มีข้อกําหนดให้ผู้ออกตราสารมีสิทธิในการเลื่อนหรืองดการชําระหนี้ตามตราสาร หรือมีสิทธิในการเลื่อนหรืองดการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนตามตราสาร (ข) มีข้อกําหนดให้ผู้ถือตราสารมีสิทธิได้รับชําระหนี้คืนจากผู้ออกตราสารด้อยกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ แต่ดีกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นหุ้นสามัญของผู้ออกตราสาร (7) ตราสารหนี้ที่ครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (8) ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade bond) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) (9) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หรือตราสารอื่นที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (10) ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ (11) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (12) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะหรือเงื่อนไขทํานองเดียวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตาม (1) ถึง (11) ข้อ ๓๑ การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30 นอกจากการปฏิบัติให้เป็นไปตามความในหมวด 1/1 ของประกาศนี้แล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานในการกําหนดและกํากับดูแลกระบวนการติดต่อและให้บริการโดยคํานึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย (1) การคัดเลือกและมอบหมายให้บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน เป็นผู้ทําหน้าที่ติดต่อหรือให้บริการแก่ลูกค้า (2) การประเมินความรู้ความสามารถของลูกค้าโดยพิจารณาจากปัจจัยดังนี้ ก่อนทําการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า (ก) การศึกษา (ข) ประสบการณ์การทํางาน (ค) ประสบการณ์การลงทุน (3) การจัดให้มีแนวทางการให้ข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน โดยเฉพาะข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนเนื่องจากผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง (4) การจัดให้มีเครื่องมือหรือสื่อประกอบการอธิบายในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนที่เข้าใจยาก เพื่อให้ลูกค้าทําความเข้าใจได้ง่ายขึ้น (5) การจัดให้มีคําเตือนเพิ่มเติมแก่ลูกค้าว่า การลงทุนหรือใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน มีความแตกต่างจากการลงทุนหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป (6) การจัดให้ลูกค้าได้รับทราบความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนหรือใช้บริการก่อนการลงทุนหรือให้บริการ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๓๒ ในกรณีที่เป็นการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30(1) หรือ (10) ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการอธิบายถึงสถานการณ์เชิงลบอย่างมากที่สุดที่เกิดขึ้น (worst case scenario) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนหรือใช้บริการของลูกค้าด้วย” ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 31(2) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 31(2) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,193
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 13/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 13/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 7(4) ข้อ 26 ข้อ 37 และข้อ 44 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 12(3/1) และ ข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 5/3 ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีระบบงานที่ทําให้มั่นใจได้ว่า การกําหนดขั้นตอนและวิธีการในรายละเอียดของกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้า ได้มีการคํานึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ รวมทั้งสอดคล้องและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (1) กระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การคัดเลือกและมอบหมายให้บุคลากรซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท เป็นผู้ขายหรือผู้ให้บริการแก่ลูกค้า (ข) การจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการให้แก่บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายตาม (ก) เพื่อใช้ศึกษาและทําความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการก่อนนําไปเสนอขายหรือให้บริการแก่ลูกค้า (ค) การจัดหาเครื่องมือหรือสื่อประกอบการอธิบายให้แก่บุคลากรที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายตาม (ก) เพื่อใช้ในการอธิบายลักษณะและความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการ แก่ลูกค้าตามความจําเป็น (2) กระบวนการในการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้าเพื่อทําความรู้จักลูกค้าและประเมิน ความเหมาะสมในการลงทุนหรือทําธุรกรรมของลูกค้า (ข) การนําเสนอผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการที่มีความเหมาะสมกับลูกค้า โดยพิจารณาจากผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (suitability test) และคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุน (asset allocation) ของลูกค้า (ค) การแจกจ่ายเอกสารประกอบการติดต่อหรือให้บริการให้แก่ลูกค้า ให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (ง) การอธิบายและให้ข้อมูลตลอดจนความเสี่ยงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแก่ลูกค้าอย่างเพียงพอก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจลงทุนหรือใช้บริการ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์สําคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนหรือบริการแต่ละประเภท (material event) (ถ้ามี) (3) กระบวนการในการยืนยันตัวตนของลูกค้า (authentication) ที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือ เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนหรือการทําธุรกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนได้กระทําโดยลูกค้าหรือ ผู้ได้รับมอบอํานาจจากลูกค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจติดต่อและให้บริการ (4) กระบวนการติดตามตรวจสอบการติดต่อและให้บริการ ได้แก่ (ก) การติดตามตรวจสอบเพื่อควบคุมให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าสอดคล้องกับกระบวนการติดต่อและให้บริการที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดตาม (1) (2) และ (3) (ข) การแก้ไขหรือดําเนินการใด ๆ เมื่อพบว่ามีการติดต่อและให้บริการไม่สอดคล้องกับกระบวนการติดต่อและให้บริการ (ค) การจัดเก็บเอกสารและหลักฐานการดําเนินการตาม (ก) และ (ข) ไว้ในลักษณะที่สํานักงานสามารถเรียกดูได้โดยไม่ชักช้า” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของวรรคหนึ่งในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 34/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558 “(5) ในกรณีที่มูลค่า รูปแบบหรือวิธีการในการทําธุรกรรม การชําระเงิน หรือ การรับชําระเงินของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญหรือมีความไม่เหมาะสม หรือมีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลหรือเอกสารที่ลูกค้าให้ไว้กับผู้ประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้าโดยไม่ชักช้า โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังนี้ (ก) รวบรวมข้อมูลและสอบยันข้อมูลเพิ่มเติมจากการดําเนินการตามปกติ (ข) จัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของรายได้ที่ใช้ในการทําธุรกรรมของลูกค้า (ค) จัดให้ลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ (ง) ประเมินประสิทธิภาพของมาตรการในการทําความรู้จักลูกค้าและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าที่เป็นสถาบันการเงินที่เปิดบัญชีหรือทําธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจเพื่อบุคคลที่ใช้บริการของสถาบันการเงินดังกล่าวหลายรายหรือหลายทอดผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) (จ) ติดตามการทําธุรกรรมของลูกค้าอย่างใกล้ชิด” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 1/1 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการให้บริการ เป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 12/1 ของหมวด 3 การทําข้อตกลงกับลูกค้าก่อนเริ่มให้บริการ แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “ส่วนที่ 1/1 ข้อกําหนดเฉพาะสําหรับการให้บริการเป็น ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 12/1 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึง ข้อมูลและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลและความเสี่ยงดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับประเภท ลักษณะ โครงสร้าง สินค้าหรือตัวแปร และเงื่อนไข ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ลูกค้าจะได้รับจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กําไรหรือขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งรายละเอียดวิธีการคํานวณกําไรขาดทุน ประโยชน์หรือผลตอบแทนดังกล่าว (3) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และขอบเขตความเสียหายในสถานการณ์ที่เป็นผลลบกับลูกค้ามากที่สุด (4) ช่องทางในการดําเนินการเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายไทยหรือตามกฎหมายต่างประเทศ (2) ลูกค้าอื่นที่มิใช่กรณีตาม (1) ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ประกอบธุรกิจว่าไม่ประสงค์ที่จะรับทราบข้อมูลนั้น” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “ข้อ 24/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ปรึกษาการลงทุนหรือ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีการให้คําแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า โดยมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของลูกค้ารายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ (specific advice) ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องมอบหมายให้ผู้วางแผนการลงทุนตามประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน เป็นผู้ดําเนินการ” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 4/1 กระบวนการซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อ 24/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “หมวด 4/1 กระบวนการซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อ 24/2 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ตรวจสอบสถานะบัญชีของลูกค้าก่อนทําการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า (2) กําหนดขั้นตอนและวิธีการในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าให้เป็นไป ตามลําดับก่อนหลัง และต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าก่อนประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ (3) กําหนดขั้นตอนและวิธีการในการแก้ไขรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องควบคุมดูแลมิให้มีการแก้ไขรายการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กําหนด” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 42 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 42 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่ปรึกษาการลงทุนหรือ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มีการให้คําแนะนําตามข้อ 24/1 และไม่มีการให้บริการเป็นตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยได้มอบหมายให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่มิใช่ผู้วางแผนการลงทุนเป็นผู้ดําเนินการอยู่แล้วโดยชอบตามข้อ 5/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.12/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 1/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกําหนดตามลักษณะเฉพาะของการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 ผู้ประกอบธุรกิจนั้นยังคงมอบหมายให้บุคลากรในธุรกิจตลาดทุนดังกล่าวดําเนินการต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563” ข้อ 7 ให้ยกเลิกเอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า (risk disclosure statement) ที่แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้เอกสารการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,194
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 33/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12(3) และ (12) ข้อ 14 ข้อ 35/1 ข้อ 37 ข้อ 38 ข้อ 40 ข้อ 41 ข้อ 42 ข้อ 43 ข้อ 44 และข้อ 49 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 51/2558 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 12(3/1) และข้อ 25/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 6/2560 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกหมวด 7/1 การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยลูกค้ายินยอมให้ตัดสินใจแทนในขอบเขตที่จํากัด ข้อ 41/1 ถึง 41/9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 51/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “หมวด 7/1 การให้บริการเกี่ยวกับแผนจัดสรรการลงทุน หรือกลยุทธ์การลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41/1 การให้บริการเกี่ยวกับแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุน ให้เป็นไปตามส่วนที่ 1 (2) การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุน ให้เป็นไปตามส่วนที่ 2 ข้อ 41/2 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดเก็บข้อมูลหลักฐานในการให้บริการในหมวดนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่การจัดเก็บข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ให้จัดเก็บเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่มีการซื้อขาย โดยในระยะเวลา 2 ปีแรกต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ทันที ส่วนที่ 1 การกําหนดแผนจัดสรรการลงทุน หรือกลยุทธ์การลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41/3 ในส่วนนี้ “การกําหนดแผนจัดสรรการลงทุน” หมายความว่า การวิเคราะห์และแนะนําการลงทุนเพื่อกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนสําหรับลูกค้า ซึ่งแสดงถึงผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแต่ละประเภทและสัดส่วนการลงทุน (portfolio advisory) “การกําหนดกลยุทธ์การลงทุน” หมายความว่า การกําหนดกลยุทธ์การลงทุนสําหรับการส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยใช้โปรแกรมการคัดเลือกและส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่สามารถถูกแทรกแซงขั้นตอนการส่งคําสั่งได้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า (1) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน (2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน” หมายความว่า ผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิตและประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว คําว่า “ผู้จัดการกองทุน” และ “นักวิเคราะห์การลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับความเห็นชอบการเป็นบุคลากรดังกล่าวด้วยคุณสมบัติการดํารงตําแหน่งผู้จัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน หรือสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน แล้วแต่กรณี ข้อ 41/4 ในการให้บริการกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนแก่ลูกค้าผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีกลไกหรือกระบวนการในการจัดทําแนวทางการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (house view) ที่มีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้ที่รับผิดชอบดูแลหน่วยงานการลงทุน มีส่วนร่วมในการกําหนดแนวทางการลงทุนด้วย ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวต้องผ่านการเห็นชอบจากผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุนของผู้ประกอบธุรกิจ แนวทางการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รูปแบบของแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) แนวทางในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (3) โครงสร้างการลงทุน (portfolio construction) ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีแผนจัดสรรการลงทุน ต้องมีการจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (asset allocation) (ข) กรณีกลยุทธ์การลงทุน ต้องกําหนดตัวแปรของกลยุทธ์การลงทุน (parameter) เพื่อใช้ในโปรแกรมการคัดเลือกและส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจอาจแต่งตั้งคณะกรรมการการลงทุน ซึ่งประกอบด้วยผู้รับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนและสายงานที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อทําหน้าที่ในการกําหนดแนวทางการลงทุนตามวรรคหนึ่งก็ได้ ข้อ 41/5 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีข้อตกลงการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องกําหนดขอบเขตและเงื่อนไขในการให้บริการ รวมถึงสิทธิของลูกค้าในการใช้บริการทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการดําเนินการทบทวนข้อตกลงการให้บริการและปรับปรุงข้อมูลทันที ข้อ 41/6 ในการติดต่อและให้บริการลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ดูแลให้บุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจให้คําแนะนําและกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนที่สอดคล้องกับผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้และเป้าหมายในการลงทุนของลูกค้า โดยต้องอยู่ในขอบเขตของแนวทางการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ (house view) ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกเหนือแนวทางการลงทุนดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการใด ๆ เพื่อให้ลูกค้าตระหนักถึงความเสี่ยงจากการลงทุนนอกเหนือแนวทางการลงทุนดังกล่าว รวมทั้งต้องจัดให้มีหลักฐานที่แสดงว่าลูกค้าได้รับทราบและยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย (2) จัดให้มีการติดตามและปรับปรุงข้อมูลของลูกค้า โดยในกรณีที่ผลการประเมินความเสี่ยงของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง ให้ผู้ประกอบธุรกิจปรับปรุงแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนและนําเสนอข้อมูลต่อลูกค้าโดยไม่ชักช้า ข้อ 41/7 ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลการวัดผลการดําเนินงานให้ลูกค้าทราบ โดยต้องเปรียบเทียบผลการดําเนินงานกับตัวชี้วัดการดําเนินงาน (benchmark) ที่สอดคล้องกับแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนของลูกค้าและเป็นดัชนีผลตอบแทนรวม (total return index) ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถระบุตัวชี้วัดการดําเนินงานของแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนเป็นดัชนีผลตอบแทนรวมได้ ให้เปิดเผยอัตราผลตอบแทนขั้นต่ํา (hurdle rate) พร้อมทั้งอธิบายถึงความเหมาะสมของอัตราผลตอบแทนดังกล่าว ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนตามส่วนที่ 2 ด้วย ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลการวัดผลการดําเนินงานตามวรรคหนึ่งให้ลูกค้าทราบตามระยะเวลาที่ตกลงไว้กับลูกค้า ส่วนที่ 2 การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุน หรือกลยุทธ์การลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 41/8 ในส่วนนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า (1) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 41/9 ในการให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนของลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กําหนดขั้นตอนและวิธีการให้ลูกค้าเลือกแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุน โดยต้องมีหลักฐานยืนยันการเลือกแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนของลูกค้า (2) มีกลไกควบคุมการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถดูแลให้การซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนเป็นไปตามแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนของลูกค้า ตลอดจนมีการติดตามและปรับปรุงการลงทุน (monitoring & rebalancing) ให้สอดคล้องกับแผนจัดสรรการลงทุนของลูกค้า (3) มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับลูกค้า (ก) กําหนดขั้นตอนและวิธีดําเนินการในการส่งคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน รวมถึงในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นที่ไม่สามารถให้บริการได้ (ข) เงื่อนไขของการสับเปลี่ยนการลงทุนไปยังกองทุนรวมอื่นซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียงกัน ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้ลงทุนไว้มีการเลิกกองทุนรวม ปิดรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน หรือเหตุอื่นใดทํานองเดียวกัน (ถ้ามี) (4) จัดให้มีการแยกบัญชีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามหมวดนี้ออกจากบัญชีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนประเภทอื่น (5) ดําเนินการให้ลูกค้ายืนยันรายละเอียดของคําสั่ง ก่อนการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) กรณีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุน ต้องให้ลูกค้ายืนยันรายชื่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน เว้นแต่เป็นการซื้อขายหน่วยลงทุนเพื่อสับเปลี่ยนการลงทุนไปยังกองทุนรวมอื่นซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียงกัน ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้ลงทุนไว้มีการเลิกกองทุนรวม ปิดรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน หรือเหตุอื่นใดทํานองเดียวกัน อาจไม่ต้องดําเนินการ ให้ลูกค้ายืนยันรายชื่อผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนก็ได้ (ข) กรณีซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามกลยุทธ์การลงทุน ต้องดําเนินการให้ลูกค้ายืนยันตัวแปรของกลยุทธ์การลงทุน (parameter) (6) แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงข้อมูลดังนี้ ก่อนการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามแผนจัดสรรการลงทุน (ก) ประมาณการสัดส่วนการลงทุนของแต่ละรายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน (ข) กรอบราคาที่เหมาะสมของแต่ละรายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน” ข้อ 2 ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการทําสัญญาให้บริการกําหนดแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุน การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามกลยุทธ์การลงทุน หรือการให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุนเพื่อสับเปลี่ยนการลงทุนไปยังกองทุนรวมอื่นซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่ใกล้เคียงกัน ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้ลงทุนไว้มีการเลิกกองทุนรวม ปิดรับคําสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน หรือเหตุอื่นใดทํานองเดียวกัน กับลูกค้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ดําเนินการให้เป็นไปตามหมวด 7/1 การให้บริการเกี่ยวกับแผนจัดสรรการลงทุนหรือกลยุทธ์การลงทุนแห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ โดยไม่ชักช้าภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 3 ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการทําสัญญาให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยลูกค้ายินยอมให้ตัดสินใจแทนในขอบเขตที่จํากัดกับลูกค้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้สามารถดําเนินการต่อไปได้โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการให้บริการตามวรรคสอง แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ การให้บริการตามวรรคหนึ่งให้หมายความถึง การให้บริการตามหมวด 7/1 การให้บริการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนโดยลูกค้ายินยอมให้ตัดสินใจแทนในขอบเขตที่จํากัด แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 51/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,195
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 5/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 5/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 30 และข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 12(3/1) และข้อ 25/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5/1) ของข้อ 30 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256064 “(5/1) หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,196
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 6/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 6/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 30 และข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 12(3/1) และข้อ 25/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 28 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 28 ในการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในรายละเอียดที่กําหนดไว้ในหมวดนี้เพิ่มเติม นอกเหนือจากการปฏิบัติต่อลูกค้าตามปกติ เพื่อให้การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าเป็นไปตามข้อ 12(3/1) ข้อ 25/4 ข้อ 30 และข้อ 38 แห่งประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7/1) ของข้อ 30 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 5/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 “(7/1) ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีข้อกําหนดให้ผู้ถือตราสารมีสิทธิได้รับชําระหนี้คืนจากผู้ออกตราสารด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญ แต่ดีกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นสามัญของผู้ออกตราสาร และครบกําหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (subordinated perpetual bond)” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 32/1 และข้อ 32/2 ของหมวด 6 การติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “ข้อ 32/1 ในกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30(7/1) เป็นครั้งแรก ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทดสอบความรู้ของลูกค้าเกี่ยวกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมเพื่อประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวก่อนการใช้บริการ ทั้งนี้ แบบทดสอบจะต้องครอบคลุมถึงลักษณะ ความเสี่ยง และผลตอบแทน จากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าว ข้อ 32/2 ในกรณีที่ผลการทดสอบความรู้ของลูกค้าตามข้อ 32/1 แสดงว่าผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนตามข้อ 30(7/1) อาจไม่เหมาะสมกับลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้มีการเตือนให้ลูกค้าทราบว่าลูกค้าไม่เหมาะสมที่จะลงทุนหรือทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ ในตลาดทุนดังกล่าว และต้องไม่นําเสนอบริการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนั้นแก่ลูกค้า เว้นแต่ในกรณีที่ลูกค้ารายใดประสงค์จะลงทุนหรือทําธุรกรรมต่อไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนําเสนอบริการแก่ลูกค้าได้” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,197
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 39/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 39/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 30 และข้อ 38 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงานระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 และข้อ 12(3/1) และข้อ 25/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (5/1) ของข้อ 30 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 5/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5/1) หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ที่เสนอขายต่อผู้ลงทุน สถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,198
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 49/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและ ให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 98(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 12 วรรคหนึ่ง (3) (5) (11) และ (12) และข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ข้อ 12 วรรคหนึ่ง (3/1) และข้อ 25/4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 49/2562 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 35/2556 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 71/2563 เรื่อง มาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “สถานที่ทําการ” ต่อจากบทนิยามคําว่า “หน่วยลงทุน” ในข้อ 36 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ““สถานที่ทําการ” หมายความว่า สถานที่ทําการของสํานักงานใหญ่หรือสํานักงานสาขา” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 38 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 40 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 40 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการในกรณีอื่นนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 39 ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงได้ว่ามีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว รวมทั้งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 40/1 และข้อ 41 (1) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าโดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการซื้อขายของลูกค้า และระบบป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เข้าถึงข้อมูลของลูกค้า ทั้งนี้ ในกรณีที่กําหนดให้บุคคลใดสามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าได้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจํากัดให้เข้าถึงได้เฉพาะเท่าที่จําเป็นกับการปฏิบัติงาน รวมถึงต้องป้องกันไม่ให้มีการนําข้อมูลของลูกค้าไปใช้ในทางมิชอบ (2) ระบบการจัดการและจัดเก็บข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น บันทึกการสนทนาการให้คําแนะนําและการรับคําสั่งซื้อขายที่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถตัด เพิ่ม แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อความที่บันทึกคําสนทนาได้ เป็นต้น (3) ระบบการให้บริการรับส่งคําสั่งซื้อขายแก่ลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ (4) ระบบควบคุมภายในและระบบกํากับดูแลและตรวจสอบสําหรับการรับคําสั่งซื้อขายที่สอดคล้องกับความเสี่ยง ลักษณะการปฏิบัติงานและปริมาณธุรกรรม (5) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เทียบเท่าหรือเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งความประสงค์ให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า เจ็ดวันทําการก่อนเริ่มให้บริการ โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องมีผลการประเมินจากการตรวจสอบโดยสํานักงานครั้งล่าสุด ไม่เกินกว่าระดับปานกลางหรือระดับที่ยอมรับได้ ในเรื่องเกี่ยวกับการกํากับดูแลกิจการ การจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและความเสี่ยงเกี่ยวกับลูกค้า ณ วันที่แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงาน ทั้งนี้ การแจ้งให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้ บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 40/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “ข้อ 40/1 ในการติดต่อและให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการตามข้อ 40 ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่ทําให้สําคัญผิดว่าเป็นการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนในสถานที่ทําการของผู้ประกอบธุรกิจ (2) แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการ (3) ดําเนินการให้มั่นใจว่าผู้แนะนําการลงทุนหรือผู้วางแผนการลงทุนมีการปฏิบัติงานให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยมีการแบ่งแยกพื้นที่การปฏิบัติงานที่ไม่ทําให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงหรือล่วงรู้ข้อมูลของลูกค้า เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้แนะนําการลงทุน” และ “ผู้วางแผนการลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ 41 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 35/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อและให้บริการลูกค้าสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 41 ให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทํารายงานการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการ โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ วันและเวลาที่ให้บริการรับคําสั่งซื้อขาย และขอบเขตการให้บริการ และจัดส่งเมื่อสํานักงานร้องขอ ในกรณีที่เป็นการให้บริการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามข้อ 40 ให้รายงานการรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนซึ่งผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําตามวรรคหนึ่ง มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบุคลากรที่เป็นผู้รับคําสั่งซื้อขายจากลูกค้านอกสถานที่ทําการ จํานวนลูกค้าที่ใช้บริการ รายการ และมูลค่าซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่รับคําสั่งซื้อขายนอกสถานที่ทําการด้วย และให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อสํานักงานภายในวันทําการที่สิบ ของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคมของทุกปี หรือเมื่อสํานักงานร้องขอ ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๖ ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้รับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการได้อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้สามารถรับคําสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนนอกสถานที่ทําการต่อไปได้ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ และกรณีที่ปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจมีระบบงานหรือบุคลากรไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดดังกล่าว ให้ดําเนินการแก้ไขภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 180 วันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,199