title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 15/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและ การออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 222 ประกอบกับมาตรา 206และมาตรา 207 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้เป็นดังนี้ 1. คําขอรับใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ คําขอละ 500 บาท 1. ใบอนุญาตการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ 10,000 บาท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในวันที่ได้รับใบอนุญาต” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,501
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 30/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ------------------------------------------------ ที่ กธ. 30/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับ ใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 222 ประกอบมาตรา 206 และมาตรา 207 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กด. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ### “ข้อ 8 นายทะเบียนหลักทรัพย์ใดประสงค์จะเลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แจ้งการเลิกการให้บริการให้ผู้ออกหลักทรัพย์ทราบเป็นหนังสือและให้จัดการส่งมอบหลักทรัพย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์รายใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ และให้มีหนังสือแจ้งการดําเนินการดังกล่าวพร้อมทั้งส่งคืนใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน และให้ถือว่านายทะเบียนหลักทรัพย์ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้เลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่สํานักงานกําหนด” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2545 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,502
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 32/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและ การออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 206 ประกอบมาตรา 222 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด.17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 บุคคลใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน ผู้ยื่นคําขอตามวรรคหนึ่งต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ธนาคารพาณิชย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) แสดงได้ว่าจะจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์แยกต่างหากจากหน่วยงานอื่น (3) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ โดยพิจารณาจากระบบงานเกี่ยวกับการจัดทํา การประมวลผล การจัดเก็ข้อมูล และการจัดทํารายงาน ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (4) แสดงได้ว่าจะมีระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด.17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) รายละเอียดเกี่ยวกับระบบการจัดทํา การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และการจัดทํารายงาน ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ รวมทั้งระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด.17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 นายทะเบียนหลักทรัพย์ใดไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่ได้แสดงไว้ในการขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3(2) (3) และ (4) ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นั้นดําเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ร้อยเอก (สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,503
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 9/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 9/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 222 ประกอบกับมาตรา 206 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 253และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) เอกสารหลักฐานอื่นตามที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 “ข้อ 5/1 ในกรณีที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนด ให้สํานักงานเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุญาตและคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่ วันที่ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,504
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 18/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6)
ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่าน การพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 14/3/2560 . CSDS เลขที่ 1/2560 ครั้งที่ 1 ผ่านทาง CSDS ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ================================================ ที่ กธ. 18/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับ ใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 222 ประกอบกับมาตรา 206 และมาตรา 207 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 “ข้อ 2/1 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการขอรับและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ที่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวกําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามประกาศอื่นอยู่แล้ว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,505
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 17/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 222 ประกอบกับ มาตรา 206 และมาตรา 207 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2/1( ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการขอรับและการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ที่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการดังกล่าวกําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามประกาศอื่นอยู่แล้ว ข้อ 3( บุคคลใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน ผู้ยื่นคําขอตามวรรคหนึ่งต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ธนาคารพาณิชย์ ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) แสดงได้ว่าจะจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์แยกต่างหากจากหน่วยงานอื่น (3) แสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ โดยพิจารณาจากระบบงานเกี่ยวกับการจัดทํา การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และการจัดทํารายงาน ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (4) แสดงได้ว่าจะมีระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ถือหลักทรัพย์ ข้อ 4 การยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 ให้ยื่นพร้อมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (1)( รายละเอียดเกี่ยวกับระบบการจัดทํา การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล และการจัดทํารายงาน ในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ รวมทั้งระบบควบคุมภายในที่สามารถป้องกันการกระทําโดยมิชอบ (2) รายชื่อหลักทรัพย์ที่ผู้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตเคยให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (ถ้ามี) (3)( เอกสารหลักฐานอื่นตามที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 5 คําขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) วัน เดือน ปี ที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต (2) ชื่อ และสถานที่ตั้งของผู้ขอรับใบอนุญาต (3) ชื่อ ประวัติการทํางาน และคุณสมบัติของบุคคลที่ผู้ขอรับใบอนุญาตจะแต่งตั้งให้มีอํานาจลงนามผูกพันผู้ขอรับใบอนุญาตในฐานะเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (4) สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างนายทะเบียนหลักทรัพย์และผู้ออกหลักทรัพย์ (5) ตําแหน่ง จํานวน และอํานาจหน้าที่ของพนักงานที่จะปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (6) แผนผังการจัดองค์กรของหน่วยงานที่จะทําหน้าที่รับผิดชอบงานในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ (7) อัตราและวิธีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือเงินตอบแทนอื่นใดที่จะเรียกเก็บจากผู้ออกหลักทรัพย์ ข้อ 5/1( ในกรณีที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนด ให้สํานักงานเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุญาตและคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 6( นายทะเบียนหลักทรัพย์ใดไม่สามารถดํารงลักษณะตามที่ได้แสดงไว้ในการขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3(2) (3) และ (4) ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้นายทะเบียนหลักทรัพย์นั้นดําเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ 7 นายทะเบียนหลักทรัพย์ใด (1) ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 6 (2) ไม่ชําระค่าธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กําหนดไว้ในข้อ 9 หรือ (3) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกําหนดเกี่ยวกับการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในมาตรา 223แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบในการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้โดยสํานักงานจะแจ้งการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนทราบเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตแจ้งการเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวให้ผู้ออกหลักทรัพย์ทราบเป็นหนังสือและให้จัดการส่งมอบหลักทรัพย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์รายใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์โดยเร็ว ข้อ 8( นายทะเบียนหลักทรัพย์ใดประสงค์จะเลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียน หลักทรัพย์ให้แจ้งการเลิกการให้บริการให้ผู้ออกหลักทรัพย์ทราบเป็นหนังสือและให้จัดการส่งมอบ หลักทรัพย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ออกหลักทรัพย์หรือ นายทะเบียนหลักทรัพย์รายใหม่ซึ่งผู้ออกหลักทรัพย์มอบหมายให้เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ และให้มีหนังสือแจ้งการดําเนินการดังกล่าวพร้อมทั้งส่งคืนใบอนุญาตการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงาน และให้ถือว่านายทะเบียน หลักทรัพย์ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้เลิกการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตั้งแต่วันที่สํานักงานกําหนด ข้อ 9( ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ให้เป็นดังนี้ (1) คําขอรับใบอนุญาตการให้บริการ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ คําขอละ 500 บาท (2) ใบอนุญาตการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ 10,000 บาท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในวันที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ 10 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2539 (นายบดี จุณณานนท์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,506
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 22/2560 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้บริการของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2560 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้บริการของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ ให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุน การให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจ การให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขาย หลักทรัพย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กําหนดกิจการการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “โครงการทดสอบ” หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox) “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เข้าร่วมโครงการทดสอบ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้อํานวยการฝ่าย หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับตําแหน่งข้างต้นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้ทําสัญญาให้มีอํานาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการจัดการด้วย ทั้งนี้ เฉพาะในหน่วยหรือส่วนงานที่ประกอบการเป็นผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ตามโครงการทดสอบ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ คําว่า “กิจการเงินร่วมลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับกิจการเงินร่วมลงทุนตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ คําว่า [“นิติบุคคลร่วมลงทุน”](http://capital.sec.or.th/webapp/nrs/data/744p.doc) ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดการเงินร่วมลงทุน คําว่า “ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตามที่กําหนดในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ ข้อ ๒ การให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ภายใต้โครงการทดสอบของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ ให้ได้รับการผ่อนผันไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ ในช่วงระยะเวลาที่ให้บริการภายใต้โครงการทดสอบดังกล่าว ข้อ ๓ ในกรณีที่บุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการทดสอบให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ (innovative financial services) ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุนในการให้บริการเป็นผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ (2) มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการทดสอบในเรื่องดังนี้ (ก) มีเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร ที่สามารถรองรับการให้บริการตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบอย่างเหมาะสมและเพียงพอ (ข) มีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการ (ค) มีกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ โดยมีรายละเอียดครอบคลุมการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 (ง) มีแผนการรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการให้สํานักงานทราบอย่างต่อเนื่อง (จ) มีแผนการรองรับการออกจากโครงการทดสอบ (exit strategy) ที่ชัดเจน ทั้งในกรณีที่ครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบหรือต้องออกจากโครงการทดสอบก่อนครบกําหนดระยะเวลา (3) มีการกําหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการทดสอบไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ (4) มีผลการศึกษาหรือผลการวิจัยที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในการนํานวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ รวมถึงผลการศึกษาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทดสอบ (5) ไม่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการทดสอบมาก่อน ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามวรรคหนึ่งภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๔ ให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบดําเนินการดังต่อไปนี้ ในระหว่างการให้บริการด้วย (1) รวบรวมและประเมินข้อมูลของผู้ใช้บริการ เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ (ก) ทําความรู้จักผู้ใช้บริการ (ข) จัดประเภทของผู้ใช้บริการ (ค) ประเมินความเหมาะสมในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ (ง) พิจารณาความสามารถของผู้ใช้บริการในการปฏิบัติตามข้อตกลงในการให้บริการ (2) มีกระบวนการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่คํานึงถึงเรื่องดังนี้ (ก) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการที่ถูกต้อง ครบถ้วน จําเป็น และเพียงพอแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้บริการหรือตัดสินใจลงทุนอย่างถูกต้อง (ข) การรักษาความลับของผู้ใช้บริการ (ค) การรับและจัดการข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการ (ง) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT risk) และความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber risk) ที่เพียงพอ โดยต้องให้ความสําคัญในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (security) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลและระบบสารสนเทศ (integrity) และความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศที่ใช้บริการ (availability) (จ) การป้องกันผู้ให้บริการ ผู้บริหารและพนักงานของผู้ให้บริการ จากการแสวงหาประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (3) มีการแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่า การให้บริการนี้เป็นการให้บริการตามโครงการทดสอบซึ่งมีข้อจํากัด ความเสี่ยง และเงื่อนไข ที่แตกต่างจากการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตและต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการก่อนให้บริการดังกล่าวด้วย (4) มีข้อตกลงกับผู้ใช้บริการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากการให้บริการ (5) จัดส่งรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการให้บริการต่อสํานักงานตามแผนการรายงานที่แสดงไว้ในข้อ 3(2) (ง) (6) ตรวจสอบดูแลให้การให้บริการเป็นไปตามที่กําหนดในประกาศนี้ รวมทั้งกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย (7) มีระบบการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังนี้ (ก) มีระบบที่สามารถรองรับปริมาณการซื้อขายได้อย่างเพียงพอ และสามารถตรวจสอบความสามารถในการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของผู้ใช้บริการได้ก่อนมีการส่งคําสั่งซื้อขาย (ข) มีระบบชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์โดยสํานักหักบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะดําเนินการโดยตนเองหรือบุคคลอื่น (ค) มีระบบการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการทํารายการซื้อขาย ซึ่งรวมถึงข้อมูลก่อนทํารายการซื้อขาย (ถ้ามี) (pre-trade information) และข้อมูลภายหลังทํารายการซื้อขาย (post-trade information) อย่างเพียงพอ รวดเร็ว และเหมาะสม (transparency) (ง) มีระบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับการทํารายการซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อติดตามและตรวจสอบการซื้อขายหลักทรัพย์ในภายหลัง (audit trail) (จ) มีระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทํางานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (ฉ) มีกลไกควบคุมให้ผู้ใช้บริการที่เสนอซื้อหรือซื้อหลักทรัพย์บนระบบที่ให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ และการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นการให้บริการการซื้อขายหุ้นของบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทที่ได้เสนอขายผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนดตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ผู้ให้บริการต้องกําหนดขอบเขตประเภทผู้ใช้บริการ โดยผู้ลงทุนทั่วไปไม่สามารถเสนอซื้อหรือซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคสอง “ผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน กิจการเงินร่วมลงทุน นิติบุคคลร่วมลงทุน และผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ (8) จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการซื้อขาย ซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ขั้นตอนและวิธีการในการเปิดรับผู้ใช้บริการที่ชัดเจนและเป็นธรรม (fair access) และต้องกําหนดประเภทผู้ใช้บริการให้เหมาะสมกับประเภทหลักทรัพย์ที่ซื้อขาย (ข) ขั้นตอนและวิธีการซื้อขายของระบบที่ให้บริการ และในกรณีที่เป็นการให้บริการระบบจับคู่คําเสนอซื้อเสนอขายจะต้องเปิดเผยการจัดลําดับและการจับคู่คําสั่งซื้อขายด้วย (ค) ประเภทหลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้บนระบบที่ให้บริการ รวมถึงข้อจํากัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของหลักทรัพย์ในแต่ละประเภท (ง) ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่ซื้อขายบนระบบที่ให้บริการ เป็นหุ้นของบริษัทจํากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ไม่ได้เสนอขายผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนกําหนดตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ผู้ให้บริการต้องดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทดังกล่าวบนระบบที่ให้บริการทั้งก่อนและต่อเนื่องไปภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ ในเรื่องดังนี้ 1. ข้อมูลลักษณะธุรกิจและโครงสร้างของบริษัท รวมถึงข้อมูลของกรรมการและผู้บริหาร 2. ข้อมูลทางการเงินของบริษัท เช่น ผลประกอบการในอดีต ประมาณการผลการดําเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต รวมทั้งสมมติฐานที่ใช้ในการประมาณการและคําเตือนเกี่ยวกับประมาณการดังกล่าวที่แสดงว่าไม่ได้เป็นการรับประกันผลการดําเนินงานในอนาคต เป็นต้น 3. งบการเงินประจํางวดการบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว (ถ้ามี) 4. ข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุน (จ) ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ข้อ ๕ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้เมื่อ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการให้บริการอาจไม่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุนในการให้บริการเป็นผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ ตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3(1) (2) บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามที่แสดงไว้ในข้อ 3 วรรคหนึ่ง (3) บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 (4) การให้บริการภายใต้โครงการทดสอบบกพร่องและไม่สามารถปรับปรุงได้ (5) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านวัตกรรมที่นํามาใช้ในการให้บริการอาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ข้อ ๖ การให้ความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการทดสอบตามประกาศนี้ สิ้นสุดลงเมื่อ (1) ครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบตามข้อ 3(3) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้ยุติการให้บริการก่อนครบกําหนดระยะเวลาหรือได้รับการผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการให้บริการออกไป โดยบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบได้ยื่นคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานก่อนดําเนินการยุติการให้บริการหรือก่อนครบกําหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน (2) สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามข้อ 5 ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,507
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 23/2560 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 23/2560 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขาย หลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 64(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต ข้อ ๒ ให้การเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ข้อ ๓ การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามข้อ 2 ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหลักทรัพย์ต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป เว้นแต่เป็นการโฆษณาผ่านผู้ให้บริการเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์บนระบบดังกล่าว (2) ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์ประสงค์จะแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ จะเสนอขายหรืออยู่ระหว่างเสนอขาย ผู้ถือหลักทรัพย์ต้องแจกจ่ายเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนที่สามารถเสนอซื้อหรือซื้อหลักทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการได้ ข้อ ๔ ให้การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศนี้ รายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,508
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 26/2560 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2560 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ได้รับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2558 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2560 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) 100 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มิใช่การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ที่มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) 50 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ที่มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 3 (3) 25 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ ที่ไม่มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ก) การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (ข) การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ให้บริการแก่ผู้ลงทุนทั่วไป (4) 10 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ให้บริการแก่กองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และไม่มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (5) 1 ล้านบาท สําหรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ข้อ ๓ ในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรซึ่งมีการประกอบธุรกิจที่มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ใช้คุณสมบัติการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 ในการขอรับใบอนุญาต ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) 25 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (2) 35 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (3) 50 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรตามวรรคหนึ่ง ได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตหลังวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่มีโครงสร้างการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งถือหุ้นอยู่ ณ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รายหนึ่งหรือหลายรายรวมกันน้อยกว่าร้อยละ 25 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ผู้ถือหุ้นเดิมตามวรรคสอง ให้หมายความถึงผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับใบอนุญาตที่ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,509
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 28/2560 เรื่อง การยกเลิกประกาศว่าด้วยการจัดทำบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 28/2560 เรื่อง การยกเลิกประกาศว่าด้วยการจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจ ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 14/2541 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 63/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,510
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 5/2544 เรื่อง การจัดทำบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2544 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ลูกหนี้ผ่อนชําระ” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ลูกหนี้ผ่อนชําระ” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ได้ทําสัญญาผ่อนชําระหนี้กับบริษัทหลักทรัพย์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ลูกหนี้ผ่อนชําระซึ่งทําสัญญาตามมาตรฐาน” และ“ลูกหนี้ผ่อนชําระอื่น” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้บริษัทหลักทรัพย์รับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ตามเกณฑ์สิทธิ เว้นแต่มีความไม่แน่นอนในการเรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ย บริษัทหลักทรัพย์ต้องหยุดรับรู้รายได้ดอกเบี้ยดังกล่าวตามเกณฑ์สิทธิ กรณีดังต่อไปนี้ถือว่ามีความไม่แน่นอนในการเรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยแล้ว (1) ลูกหนี้ทั่วไปที่มีหลักประกันต่ํากว่ามูลหนี้ (2) ลูกหนี้ผ่อนชําระรายที่มีงวดการชําระเงินไม่เกินทุกสามเดือนซึ่งค้างชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป (3) ลูกหนี้ผ่อนชําระรายที่มีงวดการชําระเงินเกินกว่าทุกสามเดือน เว้นแต่มีหลักฐานที่ชัดเจนและทําให้เชื่อได้ว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับชําระหนี้ทั้งหมด (4) ลูกหนี้สถาบันการเงินที่มีปัญหา (5) ลูกหนี้อื่นที่ค้างชําระดอกเบี้ยตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป เพื่อประโยชน์ตามความใน (2) ในกรณีที่จํานวนดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ชําระตามสัญญาต่ํากว่าจํานวนดอกเบี้ยที่คํานวณตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอย่างมีนัยสําคัญ ให้ถือว่าลูกหนี้รายนั้นยังค้างชําระดอกเบี้ยของเดือนนั้น” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) มูลหนี้จัดชั้นสงสัย หมายถึง มูลหนี้เฉพาะส่วนที่สูงเกินกว่าหลักประกันของลูกหนี้ที่เข้าลักษณะดังนี้ (ก) ลูกหนี้ทั่วไป ลูกหนี้สถาบันการเงินที่มีปัญหา และลูกหนี้อื่น ที่มีหลักประกันต่ํากว่ามูลหนี้ (ข) ลูกหนี้ผ่อนชําระรายที่มีงวดการชําระเงินไม่เกินทุกสามเดือนซึ่งค้างชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป (ค) ลูกหนี้ผ่อนชําระรายที่มีงวดการชําระเงินเกินกว่าทุกสามเดือน เว้นแต่มีหลักฐานที่ชัดเจนและทําให้เชื่อได้ว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับชําระหนี้ทั้งหมด เพื่อประโยชน์ตามความใน (ข) ในกรณีที่จํานวนดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ชําระตามสัญญาต่ํากว่าจํานวนดอกเบี้ยที่คํานวณตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอย่างมีนัยสําคัญ ให้ถือว่าลูกหนี้รายนั้นยังค้างชําระดอกเบี้ยของเดือนนั้น (3) มูลหนี้จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน หมายถึง มูลหนี้ส่วนที่ไม่สูงเกินกว่าหลักประกันของลูกหนี้ที่เข้าลักษณะตาม (2)” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) กรณีบัตรเงินฝาก ให้ใช้ราคายุติธรรม” ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (5) ของข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) กรณีหลักประกันที่เป็นทรัพย์สินอื่น ให้ใช้ราคายุติธรรม” ข้อ 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 “ในกรณีที่การทําสัญญาผ่อนชําระหนี้เป็นผลให้บริษัทหลักทรัพย์อาจตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในจํานวนที่ต่ํากว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ได้ตั้งไว้แล้ว การปรับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้ต่ําลงดังกล่าว ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีหลักฐานที่ชัดเจนและทําให้เชื่อได้ว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับชําระหนี้ทั้งหมด” ข้อ 8 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับสําหรับงบการเงินประจํางวดการบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ 3 ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,511
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 29/2560 เรื่อง การจัดทำบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 29/2560 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพ ของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “บริษัทหลักทรัพย์” ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ หรือการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,512
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทำบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2543 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพ ของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 45/2540 เรื่อง การจัดทําบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้ใบรับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนด้วย “ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า ลูกหนี้ทั่วไป ลูกหนี้ผ่อนชําระ ลูกหนี้สถาบันการเงินที่มีปัญหา และลูกหนี้อื่น “ลูกหนี้ทั่วไป” หมายความว่า ลูกหนี้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์แต่ไม่รวมถึงลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์ประเภทลูกค้าสถาบันที่มิได้ผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์ “ลูกค้าสถาบัน” หมายความว่า ลูกค้าสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขายหลักทรัพย์โดยที่บริษัทหลักทรัพย์ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง “ลูกหนี้ผ่อนชําระ” หมายความว่า ลูกหนี้ผ่อนชําระซึ่งทําสัญญาตามมาตรฐานและลูกหนี้ผ่อนชําระอื่น “ลูกหนี้ผ่อนชําระซึ่งทําสัญญาตามมาตรฐาน” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ได้ทําสัญญาผ่อนชําระหนี้กับบริษัทหลักทรัพย์ตามจํานวนเงินและระยะเวลาที่แน่นอน โดยจํานวนเงินและระยะเวลาในการชําระหนี้แต่ละงวดเป็นสัดส่วนเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน และแต่ละงวดห่างกันไม่เกินหนึ่งเดือน “ลูกหนี้ผ่อนชําระอื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ที่ได้ทําสัญญาผ่อนชําระหนี้กับบริษัทหลักทรัพย์ โดยจํานวนเงินและระยะเวลาในการชําระหนี้แตกต่างจากลูกหนี้ผ่อนชําระซึ่งทําสัญญาตามมาตรฐาน “ลูกหนี้สถาบันการเงินที่มีปัญหา” หมายความว่า ลูกหนี้ของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งถูกทางการสั่งปิดกิจการและไม่อยู่ภายใต้มาตรการคุ้มครองของทางการหรือทางการไม่รับประกันการชําระหนี้ “ลูกหนี้อื่น” หมายความว่า ลูกหนี้ที่โอนมาจากบัญชีมาร์จิ้น ลูกหนี้ที่ซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยบัญชีเงินสดแต่ไม่ชําระราคาหรือส่งมอบหลักทรัพย์ตามระยะเวลาที่กําหนด และลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการดําเนินการฟ้องร้องบังคับคดี “มูลหนี้” หมายความว่า หนี้ของลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์รายใดรายหนึ่งซึ่งรวมดอกเบี้ยค้างรับที่รับรู้เป็นรายได้ของบริษัทหลักทรัพย์แล้ว “หลักประกัน” หมายความว่า ทรัพย์สินตามประเภทต่อไปนี้ที่ให้เป็นประกันการชําระหนี้ของลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์รายใดรายหนึ่ง (ก) เงินสด (ข) บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (ค) หลักทรัพย์ (ง) หนังสือที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินออกให้ไว้แก่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ของลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ โดยสถาบันการเงินดังกล่าวยินยอมรับผิดในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น ทั้งนี้ ไม่ว่าหนังสือนั้นจะออกเป็นเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือหนังสือค้ําประกัน (จ) อสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์รับจํานอง ข้อ ๓ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์รับรู้รายได้ตามเกณฑ์ค้างรับ (accrual basis) สําหรับรายได้ดอกเบี้ยจากลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ที่มีลักษณะดังนี้ (1) ลูกหนี้ทั่วไปที่มีหลักประกันต่ํากว่ามูลหนี้ (2) ลูกหนี้ผ่อนชําระรายที่ยังผ่อนชําระหนี้ตามกําหนดเวลาไม่ครบหกงวดติดต่อกันภายหลังจากที่มีการผ่อนชําระตามสัญญา (3) ลูกหนี้ผ่อนชําระรายที่บริษัทหลักทรัพย์สามารถรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับได้แล้วเนื่องจากผ่อนชําระหนี้ตามสัญญาครบหกงวดติดต่อกัน แต่ภายหลังมีการค้างชําระเงินต้นหรือดอกเบี้ยตั้งแต่สามงวดขึ้นไป (4) ลูกหนี้สถาบันการเงินที่มีปัญหา (5) ลูกหนี้อื่นที่ค้างชําระดอกเบี้ยตั้งแต่สามงวดขึ้นไป “หลักประกัน” ตามความในวรรคหนึ่ง (1) ให้หมายถึงทรัพย์สินประเภทที่สามารถนํามารวมเพื่อการคํานวณมูลค่าในบัญชีมาร์จิ้นได้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่มิใช่ลูกค้าสถาบันเพื่อขายชอร์ต โดยใช้วิธีการคํานวณมูลค่าหลักประกันตามที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าว ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงมูลหนี้ของลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์จัดชั้นไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน โดยให้แยกแสดงตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) มูลหนี้จัดชั้นสูญ หมายถึง (ก) มูลหนี้ของลูกหนี้ที่ได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้รับการชําระหนี้และบริษัทหลักทรัพย์ได้ดําเนินการจําหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามกฎหมายภาษีอากรแล้ว (ข) มูลหนี้ส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ทําสัญญาปลดหนี้ให้ (2) มูลหนี้จัดชั้นสงสัย หมายถึง (ก) มูลหนี้ของลูกหนี้ผ่อนชําระ เฉพาะมูลหนี้ส่วนที่มีกําหนดระยะเวลาชําระคืนเกินกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชีที่จัดทํางบการเงิน (ข) มูลหนี้เฉพาะส่วนที่สูงเกินกว่าหลักประกันของลูกหนี้ที่เข้าลักษณะดังนี้ 1.ลูกหนี้ทั่วไป ลูกหนี้ผ่อนชําระอื่น ลูกหนี้สถาบันการเงินที่มีปัญหา และลูกหนี้อื่น ที่มีหลักประกันต่ํากว่ามูลหนี้ 2 ลูกหนี้ผ่อนชําระซึ่งทําสัญญาตามมาตรฐานรายที่บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถรับรู้รายได้ตามเกณฑ์ค้างรับได้ตามข้อ 3(2) และ (3) (3) มูลหนี้จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน หมายถึง มูลหนี้ส่วนที่ไม่สูงเกินกว่าหลักประกันของลูกหนี้ที่เข้าลักษณะตาม (2) (ข) 1. และ 2. ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ตามข้อ 4 การคํานวณมูลหนี้และการคํานวณมูลค่าหลักประกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) กรณีหลักทรัพย์ที่มีตลาดรองรับ ให้ใช้ราคายุติธรรมเช่นเดียวกับการตีราคาเงินลงทุนตามที่มาตรฐานการบัญชีกําหนด และนับเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบ (2) กรณีหลักทรัพย์ที่ไม่มีตลาดรองรับ ให้ใช้ราคายุติธรรมเช่นเดียวกับการตีราคาเงินลงทุนตามที่มาตรฐานการบัญชีกําหนดหรือมูลค่าตามบัญชีของหลักทรัพย์ดังกล่าว และนับเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละแปดสิบห้า (3) กรณีบัตรเงินฝาก ให้ใช้ราคาตามบัญชีหรือราคาตลาด (4) กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับจํานอง (ก) อสังหาริมทรัพย์ที่มีการประเมินภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีก่อนวันสิ้นงวดการบัญชีที่จัดทํางบการเงิน ให้นับเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละแปดสิบของราคาประเมิน (ข) อสังหาริมทรัพย์ที่มีการประเมินภายในระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งปีขึ้นไปแต่ไม่เกินสองปีก่อนวันสิ้นงวดการบัญชีที่จัดทํางบการเงิน ให้นับเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของราคาประเมิน (ค) อสังหาริมทรัพย์ที่มีการประเมินภายในระยะเวลาเกินกว่าสองปีขึ้นไปแต่ไม่เกินสามปีก่อนวันสิ้นงวดการบัญชีที่จัดทํางบการเงิน ให้นับเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละหกสิบของราคาประเมิน (ง) อสังหาริมทรัพย์ที่มีการประเมินเกินกว่าสามปีก่อนวันสิ้นงวดการบัญชีที่จัดทํา งบการเงิน ให้นับเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของราคาประเมิน ทั้งนี้ ราคาประเมินต้องมาจากผู้ประเมินราคาทรัพย์สินที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ความเห็นชอบ (5) กรณีหลักประกันที่เป็นทรัพย์สินอื่น ให้ใช้ราคาตราหรือราคาอื่นที่เหมาะสม ข้อ ๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ตัดจําหน่ายมูลหนี้จัดชั้นสูญออกจากบัญชีทันทีที่พบรายการดังกล่าว และให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละหนึ่งร้อยของมูลหนี้จัดชั้นสงสัยทั้งจํานวน และหากจํานวนที่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสูงกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ได้ตั้งไว้แล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์บันทึกส่วนต่างนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในงวดการบัญชีที่มีการตั้งค่าเผื่อหนีสงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,513
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 27/2558 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 27/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2553 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามอัตราดังต่อไปนี้ (1) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ปีละ 500,000 บาท (2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่ได้ จํากัดเฉพาะสินค้าหรือตัวแปรบางประเภท ปีละ 500,000 บาท (3) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัด เฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ปีละ 500,000 บาท ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. เป็นรายปีตามปีปฏิทิน ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบธุรกิจ ให้ชําระค่าธรรมเนียมในวันที่เริ่มประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ระยะเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินสําหรับในปีแรกที่เริ่มประกอบธุรกิจเหลือน้อยกว่าหกเดือน ให้ชําระค่าธรรมเนียมเพียงกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่มิได้จํากัดประเภทหลักทรัพย์อยู่ด้วย ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 2(1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี หากได้ชําระค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วทั้งจํานวน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต การยกเว้นค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งไม่ใช้กับกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 2(1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี สําหรับปีนั้นไว้แล้วก่อนได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าว ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๖ ให้อัตราค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจที่ต้องชําระตามข้อ 2(1) สําหรับปี พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2559 เป็นปีละ 450,000 บาท หากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 ใช้คุณสมบัติการเป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ในการขอรับใบอนุญาต (1) ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร เนื่องจากใช้คุณสมบัติการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,514
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 11/2559 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 11/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 27/2558 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามที่กําหนดในข้อ 3 “ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1” หมายความว่า ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้หลายประเภทธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประกอบด้วยธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ค่าธรรมเนียม” หมายความว่า ค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประเภทดังต่อไปนี้ ชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจตามที่กําหนดในประกาศนี้ โดยจํานวนที่ชําระต้องไม่ต่ํากว่าค่าธรรมเนียมขั้นต่ําที่กําหนดในข้อ 4 (1) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่ได้จํากัดเฉพาะสินค้าหรือตัวแปรบางประเภท (3) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า ข้อ ๔ ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระ มีอัตราขั้นต่ําปีละ 100,000 บาท และสูงสุดไม่เกินปีละ 1,000,000 บาท ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการระงับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตลอดปีปฏิทิน ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามวรรคหนึ่งโดยไม่ต้องชําระค่าธรรมเนียมที่ขึ้นกับปริมาณธุรกิจอีก ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งต้องชําระค่าธรรมเนียมตามข้อ 4 ชําระค่าธรรมเนียมในอัตราสัญญาละ 10 สตางค์ โดยคํานวณจากจํานวนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงราคาหุ้นรายตัว (Single stock futures) ที่มีราคาไม่เกิน 100 บาท ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมในอัตราสัญญาละ 1 สตางค์ ทั้งนี้ การคํานวณค่าธรรมเนียมจากจํานวนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งนั้น ไม่รวมถึงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตแบ่งชําระค่าธรรมเนียมเป็น 2 งวดดังนี้ (1) งวดแรก ให้ชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําตามข้อ 4 ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้น เว้นแต่ในปีแรกของการเริ่มประกอบกิจการ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมขั้นต่ําในวันที่เริ่มประกอบกิจการ (2) งวดที่สอง ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินกว่าค่าธรรมเนียมตาม (1) ภายในวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป ในกรณีที่มีการเลิกประกอบกิจการ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ชําระค่าธรรมเนียมส่วนที่ยังไม่ได้ชําระหรือยังคงค้างอยู่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. อนุญาตให้เลิกประกอบกิจการหรือวันที่สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดทําและยื่นรายละเอียดรายงานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,515
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กม. 31/2560 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 31/2560 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กม. 11/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ค่าธรรมเนียมที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชําระ มีอัตราขั้นต่ําปีละ 25,000 บาท และสูงสุดไม่เกินปีละ 1,000,000 บาท” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,516
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กข. 38/2547 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 38/2547 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (8) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคมพ.ศ. 2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(8) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ไม่ว่าบริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอีกด้วยหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,517
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 45 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 37/2540 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2541 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 34/2541 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2541 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 38/2547 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่อง หักด้วยค่าความเสี่ยง (2) “เงินกองทุนสภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์สภาพคล่อง หักด้วย หนี้สินรวม (3) “สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์รายการดังต่อไปนี้ (ก) เงินสดและเงินฝากธนาคาร (ข) หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน รวมดอกเบี้ยค้างรับ (ค) ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (ง) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ และตราสารทางการเงินอื่น (จ) ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคําสั่ง (ฉ) ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์ (ช) ลูกหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (ซ) รายการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (4) “หนี้สินทั่วไป” หมายความว่า หนี้สินรวม หักด้วย หนี้สินพิเศษ (5) “หนี้สินรวม” หมายความว่า (ก) รายการหนี้สินทุกรายการที่ปรากฏในงบการเงิน แต่ไม่รวมถึงหนี้สินรายการดังต่อไปนี้ 1. หนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกัน มีกําหนดระยะเวลาชําระคืนเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่คํานวณรายการ และไม่มีเงื่อนไขการชําระคืนก่อนกําหนดภายในหนึ่งปี เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน 2. สัญญาเช่าทางการเงินที่ให้สิทธิผู้เช่าในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า (financing lease) ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้เช่าสามารถบอกเลิกการเช่าก่อนกําหนดได้โดยไม่ต้องซื้อทรัพย์สินนั้นไป ยกเว้นส่วนที่เป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญาก่อนกําหนด 3. รายการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (ข) รายการภาระผูกพันอื่นที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่บริษัทหลักทรัพย์ได้ในภายหลัง ได้แก่ 1. ภาระจากการค้ําประกัน รับรอง หรืออาวัลตั๋วเงิน 2. ภาระผูกพันอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ 3. ภาระผูกพันอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (6) “หนี้สินพิเศษ” หมายความว่า (ก) หนี้สินที่มีกําหนดระยะเวลาชําระคืนเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่คํานวณรายการซึ่งไม่มีเงื่อนไขการชําระคืนก่อนกําหนดภายในหนึ่งปี ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขที่เกิดจากการให้สิทธิผู้กู้หรือผู้ให้กู้ไถ่ถอนก่อนกําหนด (put/call option) หรือเงื่อนไขอื่นในทํานองเดียวกัน เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน (ข) ภาระผูกพันที่มีสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่าเจ้าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นไม่มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่คํานวณรายการ (ค) ผลรวมของหนี้สินรายการดังต่อไปนี้ 1. เจ้าหนี้หลักทรัพย์ยืม 2. เจ้าหนี้ทรัพย์สินวางประกัน 3. บัญชีลูกค้า 4. หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (ง) หนี้สินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (7) “ค่าความเสี่ยง” หมายความว่า ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือการดําเนินการอื่นใดของบริษัทหลักทรัพย์ (8) “ทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน” หมายความว่า ผลรวมของจํานวนทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องนํามาวางเป็นประกันสําหรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ตามอัตราหรือมูลค่าที่สํานักงานประกาศกําหนด (9) “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ไม่ว่าบริษัทดังกล่าวได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่นอีกด้วยหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน (10) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ให้บริษัทหลักทรัพย์ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่าสิบห้าล้านบาทและไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดของหนี้สินทั่วไป ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าล้านบาทและไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ได้หยุดการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทดังกล่าว และได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงานแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งแทน การคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๔ มิให้นําความในข้อ 3 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้หยุดการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท และได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานแล้ว ทั้งนี้ ตราบเท่าที่บริษัทหลักทรัพย์ยังคงหยุดการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการยกเว้นหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวที่ยังคงประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งยังคงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สํานักงานมีอํานาจเรียกให้บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ส่งเอกสารหรือรายงานที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความสามารถในการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์ในระยะเวลาดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,518
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 12/2559 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 6)
- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย เมื่อวันที่ พ.ค. 54 -- ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2559 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ง) ใน (9) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2557 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 “(ง) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้และศุกูก” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,519
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 32/2560 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 32/2560 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 18/2549 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 27/2552 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 30/2552 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 14/2554 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 5/2557 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2559 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่อง หักด้วย ค่าความเสี่ยง “เงินกองทุนสภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์สภาพคล่อง หักด้วย หนี้สินรวม “สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์รายการดังต่อไปนี้ (1) เงินสดและเงินฝากธนาคาร (2) หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน รวมดอกเบี้ยค้างรับ (3) ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารทางการเงินอื่น (5) ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคําสั่ง (6) ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์ (7) ลูกหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (8) รายการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “หนี้สินทั่วไป” หมายความว่า หนี้สินรวม หักด้วย หนี้สินพิเศษ “หนี้สินรวม” หมายความว่า (1) รายการหนี้สินทุกรายการที่ปรากฏในงบการเงิน แต่ไม่รวมถึงหนี้สินรายการดังต่อไปนี้ (ก) หนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกันและไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ (ข) สัญญาเช่าทางการเงินที่ให้สิทธิผู้เช่าในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า (financing lease) ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะผู้เช่าสามารถบอกเลิกการเช่าก่อนกําหนดได้โดยไม่ต้องซื้อทรัพย์สินนั้นไป ยกเว้นส่วนที่เป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญาก่อนกําหนด (ค) รายการอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด (2) รายการภาระผูกพันอื่นที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่บริษัทหลักทรัพย์ได้ในภายหลัง ได้แก่ (ก) ภาระจากการค้ําประกัน รับรอง หรืออาวัลตั๋วเงิน (ข) ภาระผูกพันอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ (ค) ภาระผูกพันอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “หนี้สินพิเศษ” หมายความว่า (1) หนี้สินที่บริษัทหลักทรัพย์มีการวางทรัพย์สินไว้เป็นประกันกับเจ้าหนี้โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (2) ภาระผูกพันที่มีการวางทรัพย์สินไว้เป็นประกันกับเจ้าหนี้ โดยภาระผูกพันดังกล่าวต้องมีสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่าเจ้าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นไม่มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (3) ผลรวมของหนี้สินรายการดังต่อไปนี้ (ก) เจ้าหนี้หลักทรัพย์ยืมเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (ข) เจ้าหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (ค) บัญชีลูกค้า (ง) หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (4) หนี้สินอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด “ค่าความเสี่ยง” หมายความว่า ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือการดําเนินการอื่นใดของบริษัทหลักทรัพย์ “ทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน” หมายความว่า ผลรวมของจํานวนทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องนํามาวางเป็นประกันสําหรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ตามอัตราหรือมูลค่าที่สํานักงานประกาศกําหนด “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้ แต่ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น (1) การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (2) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (3) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนของบริษัท (ข) มีการซื้อขายหน่วยลงทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อลูกค้าผ่านสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว (4) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อันเป็นตราสารแห่งหนี้และศุกูก “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุน “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ข้อ ๓ การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทหลักทรัพย์ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาทและไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ของหนี้สินทั่วไป เว้นแต่ กรณีตาม (2) หรือ (3) (2) ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาด้วย ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาทและไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีตาม (3) (3) ให้บริษัทหลักทรัพย์ตาม (1) หรือ (2) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ครบทุกข้อ ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท และไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน (ถ้ามี) (ก) ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (ข) ไม่มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์นั้นเอง (ค) ไม่มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาตามวรรคหนึ่ง (2) หยุดประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา และมีหนังสือแจ้งความประสงค์นั้นต่อสํานักงานแล้ว ให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ตามที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ การคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามข้อ 3 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๕ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์หยุดประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท และมีหนังสือแจ้งความประสงค์นั้นต่อสํานักงานแล้ว บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่ต้องปฏิบัติตามความในข้อ 3 และข้อ 4 ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาด้วยและยังคงประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา ไม่เป็นการยกเว้นหน้าที่ซึ่งยังคงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สํานักงานมีอํานาจเรียกให้บริษัทหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ส่งเอกสารหรือรายงานที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความสามารถในการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทหลักทรัพย์ในระยะเวลาดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีหนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไปที่ไม่ต้องนับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินรวมตามข้อ 2 เกินกว่ามูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์อยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวอาจหักมูลค่าหนี้สินนั้นออกจากหนี้สินรวมต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,520
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดำรงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็น ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า -------------------------------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่อง หักด้วยค่าความเสี่ยง (3) “เงินกองทุนสภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์สภาพคล่อง หักด้วย หนี้สินรวม (4) “สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์รายการดังต่อไปนี้ (ก) เงินสดและเงินฝากธนาคาร (ข) หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน รวมดอกเบี้ยค้างรับ (ค) ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (ง) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารทางการเงินอื่น (จ) ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคําสั่ง (ฉ) ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์ (ช) ลูกหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (ซ) รายการอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (5) “หนี้สินทั่วไป” หมายความว่า หนี้สินรวม หักด้วย หนี้สินพิเศษ (6) “หนี้สินรวม” หมายความว่า (ก) รายการหนี้สินทุกรายการที่ปรากฏในงบการเงิน แต่ไม่รวมถึงหนี้สินรายการดังต่อไปนี้ 1. หนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกัน มีกําหนดระยะเวลาคืนเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่คํานวณรายการ และไม่มีเงื่อนไขการชําระคืนก่อนกําหนดภายในหนึ่งปี เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. 2. สัญญาเช่าทางการเงินที่ให้สิทธิผู้เช่าในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า (financing lease) ซึ่งตัวแทนซื้อขายสัญญาในฐานะผู้เช่าสามารถบอกเลิกการเช่าก่อนกําหนดได้โดยไม่ต้องซื้อทรัพย์สินนั้นไป ยกเว้นส่วนที่เป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญาก่อนกําหนด 3. รายการอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (ข) รายการภาระผูกพันอื่นที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ในภายหลัง ได้แก่ 1. ภาระจากการค้ําประกัน รับรอง หรืออาวัลตั๋วเงิน 2. ภาระผูกพันอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ 3. ภาระผูกพันอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (7) “หนี้สินพิเศษ” หมายความว่า (ก) หนี้สินที่มีกําหนดระยะเวลาชําระคืนเกินกว่าหกเดือนนับแต่วันที่คํานวณรายการซึ่งไม่มีเงื่อนไขการชําระคืนก่อนกําหนด ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขที่เกิดจากการให้สิทธิผู้กู้หรือผู้ให้กู้ไถ่ถอนก่อนกําหนด (put/call option) หรือเงื่อนไขอื่นในทํานองเดียวกัน เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. (ข) ผลรวมของหนี้สินรายการดังต่อไปนี้ 1. เจ้าหนี้หลักทรัพย์ยืม 2. เจ้าหนี้ทรัพย์สินวางประกัน 3. บัญชีลูกค้า (ค) หนี้สินอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (8) “ค่าความเสี่ยง” หมายความว่า ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการดําเนินการอื่นใดของตัวแทนซื้อขายสัญญา (9) “ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน” หมายความว่า ทรัพย์สินที่ลูกค้านํามาวางเป็นประกันในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามอัตราหรือมูลค่าที่สํานักหักบัญชีสัญญาหรือสํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด (10) “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่าสิบห้าล้านบาทและไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน การคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๓ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาลดทุนจดทะเบียนชําระแล้วจนทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินลดลง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2548 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2547 (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ละตลาดหลักทรัพย์
1,521
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 19/2549 เรื่อง การดำรงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2549 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็น ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (7) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) “หนี้สินพิเศษ” หมายความว่า (ก) หนี้สินที่มีกําหนดระยะเวลาชําระคืนเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่คํานวณรายการซึ่งไม่มีเงื่อนไขการชําระคืนก่อนกําหนดภายในหนึ่งปี ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขที่เกิดจากการให้สิทธิผู้กู้หรือผู้ให้กู้ไถ่ถอนก่อนกําหนด (put/call option) หรือเงื่อนไขอื่นในทํานองเดียวกัน เว้นแต่เป็นเงื่อนไขที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ก.ล.ต. (ข) ภาระผูกพันที่มีสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่าเจ้าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นไม่มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่คํานวณรายการ (ค) ผลรวมของหนี้สินรายการดังต่อไปนี้ 1. เจ้าหนี้หลักทรัพย์ยืม 2. เจ้าหนี้ทรัพย์สินวางประกัน 3. บัญชีลูกค้า 4. หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (ง) หนี้สินอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(9) “ทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน” หมายความว่า ผลรวมของจํานวนทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องนํามาวางเป็นประกันสําหรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ตามอัตราหรือมูลค่าที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (10) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่าสิบห้าล้านบาทและไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 2/1 มิให้นําความในข้อ 2 มาใช้บังคับกับตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้หยุดการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว ทั้งนี้ ตราบเท่าที่ตัวแทนดังกล่าวยังคงหยุดการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจเรียกให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาตามวรรคหนึ่งส่งเอกสารหรือรายงานที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความสามารถในการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของบริษัทในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (นายทนง พิทยะ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,522
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 13/2559 เรื่อง การดำรงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4)
- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย เมื่อวันที่ พ.ค. 54 - ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2559 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็น ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,523
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 33/2560 เรื่อง การดำรงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 33/2560 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็น ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 19/2549 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 31/2552 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 13/2559 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ทั้งนี้ มิให้หมายความรวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ” หมายความว่า เงินกองทุนสภาพคล่อง หักด้วยค่าความเสี่ยง “เงินกองทุนสภาพคล่อง” หมายความว่า สินทรัพย์สภาพคล่อง หักด้วย หนี้สินรวม “สินทรัพย์สภาพคล่อง” หมายความว่า ผลรวมของสินทรัพย์รายการดังต่อไปนี้ (1) เงินสดและเงินฝากธนาคาร (2) หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน รวมดอกเบี้ยค้างรับ (3) ตั๋วสัญญาใช้เงินและตั๋วแลกเงินที่ออกโดยสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (4) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารทางการเงินอื่น (5) ลูกหนี้ซื้อหลักทรัพย์ตามคําสั่ง (6) ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และลูกหนี้ยืมหลักทรัพย์ (7) ลูกหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (8) รายการอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด “หนี้สินทั่วไป” หมายความว่า หนี้สินรวม หักด้วย หนี้สินพิเศษ “หนี้สินรวม” หมายความว่า (1) รายการหนี้สินทุกรายการที่ปรากฏในงบการเงิน แต่ไม่รวมถึงหนี้สินรายการดังต่อไปนี้ (ก) หนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไป โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีประกันและไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของตัวแทนซื้อขายสัญญา (ข) สัญญาเช่าทางการเงินที่ให้สิทธิผู้เช่าในการซื้อทรัพย์สินที่เช่า (financing lease) ซึ่งตัวแทนซื้อขายสัญญาในฐานะผู้เช่าสามารถบอกเลิกการเช่าก่อนกําหนดได้โดยไม่ต้องซื้อทรัพย์สินนั้นไป ยกเว้นส่วนที่เป็นเบี้ยปรับที่เกิดจากการบอกเลิกสัญญาก่อนกําหนด (ค) รายการอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (2) รายการภาระผูกพันอื่นที่ไม่ปรากฏในงบการเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สินแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ในภายหลัง ได้แก่ (ก) ภาระจากการค้ําประกัน รับรอง หรืออาวัลตั๋วเงิน (ข) ภาระผูกพันอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ (ค) ภาระผูกพันอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด “หนี้สินพิเศษ” หมายความว่า (1) หนี้สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีการวางทรัพย์สินไว้เป็นประกันกับเจ้าหนี้โดยหนี้สินดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (2) ภาระผูกพันที่มีการวางทรัพย์สินไว้เป็นประกันกับเจ้าหนี้ โดยภาระผูกพันดังกล่าวต้องมีสัญญาระบุอย่างชัดเจนว่าเจ้าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นไม่มีสิทธิเรียกให้มีการชําระหนี้ก่อนกําหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (3) ผลรวมของหนี้สินรายการดังต่อไปนี้ (ก) เจ้าหนี้หลักทรัพย์ยืมเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ได้วางเป็นประกันไว้กับเจ้าหนี้แล้ว (ข) เจ้าหนี้ทรัพย์สินวางประกัน (ค) บัญชีลูกค้า (ง) หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาซื้อคืน (4) หนี้สินอื่นตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด “ค่าความเสี่ยง” หมายความว่า ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้า หรือการดําเนินการอื่นใดของตัวแทนซื้อขายสัญญา “ทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน” หมายความว่า ผลรวมของจํานวนทรัพย์สินที่ลูกค้าต้องนํามาวางเป็นประกันสําหรับฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่คงค้างอยู่ตามอัตราหรือมูลค่าที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๓ การดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของตัวแทนซื้อขายสัญญา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท และไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน เว้นแต่เป็นกรณีตาม (2) (2) ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาตาม (1) ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ครบทุกข้อ ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท และไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน (ก) ไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง (ข) ไม่มีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อการลงทุนของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นเอง (ค) ไม่มีภาระความรับผิดชอบต่อระบบชําระราคาและการส่งมอบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๔ การคํานวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามข้อ 3 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ข้อ ๕ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาหยุดประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมีหนังสือแจ้งความประสงค์นั้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาดังกล่าวไม่ต้องปฎิบัติตามความในข้อ 3 และข้อ 4 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจเรียกให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาตามวรรคหนึ่งส่งเอกสารหรือรายงานที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาความสามารถในการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิของตัวแทนซื้อขายสัญญาในระยะเวลาดังกล่าวได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๖ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาลดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วจนทําให้ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินลดลง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ข้อ ๗ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีหนี้สินที่กําหนดสิทธิของเจ้าหนี้ไว้ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไปที่ไม่ต้องนับรวมไว้ในการคํานวณหนี้สินรวมตามข้อ 2 เกินกว่ามูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นของตัวแทนซื้อขายสัญญาอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ตัวแทนซื้อขายสัญญาดังกล่าวอาจหักมูลค่าหนี้สินนั้นออกจากหนี้สินรวมต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,524
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 1/2561 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการไม่นำบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศและหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 1/2561 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขาย หลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วย ของอีทีเอฟต่างประเทศและหน่วยของโครงการ จัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 63(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24/2553 เรื่อง การไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2557 เรื่อง การไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,525
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2561 เรื่อง การกำหนดให้โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศเป็นบริษัท
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 2/2561 เรื่อง การกําหนดให้โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศเป็นบริษัท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศเป็นบริษัทตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง คําว่า “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” ให้หมายถึง โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม โดยได้รับอนุญาต การจดทะเบียน หรือดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันจากหน่วยงานกํากับดูแลที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้น ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,526
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2561 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2561 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษา สัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2557 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ ลงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2560 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ (ฉบับที่ 2)ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนหรือที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “กรมธรรม์ประกันภัย” หมายความว่า กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพ (professional indemnity insurance) ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินดังนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต (ค) สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น (2) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนอื่นอยู่แล้ว (3) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่ระหว่างหยุดการประกอบธุรกิจตามที่ได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงาน ข้อ ๔ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดํารงเงินกองทุนไม่น้อยกว่าอัตราสูงสุดของมูลค่าดังต่อไปนี้ (1) 100,000 บาท (2) มูลค่าของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในรอบ 3 เดือนต่อปี ทั้งนี้ เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (3) มูลค่าร้อยละ 10 ของรายได้เฉลี่ยต่อปีแต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ทั้งนี้ เฉพาะรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่งที่มีคุณสมบัติและได้แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภทแล้ว ให้ดํารงเงินกองทุนเฉพาะตามวรรคหนึ่ง (1) ในการคํานวณมูลค่าตามวรรคหนึ่ง (2) หรือ (3) หากผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาการลงทุนที่ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ให้นําค่าใช้จ่ายหรือรายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามารวมคํานวณในการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่ง (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดสําหรับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับสินทรัพย์สภาพคล่องและกรมธรรม์ประกันภัย และการใช้ทรัพย์สินดังกล่าวในการดํารงเงินกองทุน (2) การคํานวณเงินกองทุน ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,527
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 26/2561 เรื่อง การกำหนดผู้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2561 เรื่อง การกําหนดผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 33/1 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการ ก.ล.ต.ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทใบทรัสต์และหุ้นกู้ที่ออกโดยทรัสต์ดังกล่าว (1) ผู้ที่จะเป็นผู้ก่อตั้งกองทรัสต์หรือผู้ก่อตั้งกองทรัสต์ เฉพาะกรณีที่เป็นการขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก และยังมิได้ก่อตั้งกองทรัสต์ (2) ผู้จัดการกองทรัสต์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ([นาย](http://www.sec.or.th/TH/AboutUs/Pages/link-OrganizationOfTheSEC/SEC_achaporn.aspx)วรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,528
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 7/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 7/25612560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการกู้ยืมเงิน ในนามของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 126 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 10/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 2/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กองทุนรวมเปิด” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน “ธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืน” หมายความว่า การขายหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้โดยมีสัญญาที่จะซื้อคืนหลักทรัพย์หรือตราสารแห่งหนี้นั้นตามวันที่กําหนดไว้ในสัญญา “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุนดังกล่าว ข้อ ๓ ในกรณีที่บริษัทจัดการมีเหตุจําเป็นต้องบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวมเปิดเป็นการชั่วคราว บริษัทจัดการอาจกู้ยืมเงินหรือเข้าทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนได้ต่อเมื่อ (1) คู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบัน (2) ระยะเวลาการชําระหนี้จัดอยู่ในช่วงเวลาอันสั้น (3) อัตราส่วนของการกู้ยืมเงินหรือการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าวต้องอยู่ในอัตราที่เหมาะสมต่อความจําเป็นในการบริหารสภาพคล่องที่เกิดขึ้นเป็นการชั่วคราว (4) การทําธุรกรรมการขายโดยมีสัญญาซื้อคืนต้องใช้รูปแบบสัญญาที่เป็นมาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๔ ในการจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ บริษัทจัดการอาจกู้ยืมเงินได้ต่อเมื่อได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและในหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการให้หลักประกันไว้ด้วยหรือไม่ก็ตาม และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการกู้ยืมเงินเฉพาะเพื่อดําเนินการดังนี้ (ก) ปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมหรืออสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่าให้อยู่ในสภาพดีและมีความพร้อมที่จะใช้หาผลประโยชน์ (ข) ต่อเติมหรือก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมบนที่ดินที่มีอยู่แล้วซึ่งเป็นของกองทุนรวมหรือที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่า เพื่อประโยชน์ในการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุนรวม (ค) ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม (2) เป็นการกู้ยืมเงินโดยคํานึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่าตาม (1) (ก) หรือเพื่อต่อเติมหรือก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมบนที่ดินที่มีอยู่แล้วที่กองทุนรวมมีสิทธิการเช่าตาม (1) (ข) บริษัทจัดการต้องคํานึงถึงกําหนดเวลาเช่าที่เหลืออยู่ตามสัญญาเช่าด้วย (3) จํานวนเงินที่กู้ยืมต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และในกรณีที่ต่อมาภายหลังจํานวนเงินที่กู้ยืมเกินอัตราส่วนดังกล่าว แต่การเกินอัตราส่วนนั้นมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะคงอัตราส่วนการกู้ยืมเงินไว้ต่อไปก็ได้ แต่จะกู้ยืมเงินเพิ่มเติมอีกไม่ได้จนกว่าอัตราส่วนการกู้ยืมเงินจะลดลงจนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (4) ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมตาม (1) (ค) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ด้วย (ก) บริษัทจัดการต้องระบุการกู้ยืมเงินในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เว้นแต่เป็นการระบุไว้หลังเวลาดังกล่าว ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่บริษัทจัดการได้ระบุการกู้ยืมเงินไว้แล้วตั้งแต่ในวันยื่นคําขออนุมัติจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมหรือวันยื่นคําขอความเห็นชอบเพิ่มเงินทุนจดทะเบียน ซึ่งได้ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 และต่อมาสํานักงานได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบตามคําขอนั้น (ข) บริษัทจัดการต้องทําสัญญากู้ยืมเงิน รับมอบเงินที่กู้ยืมทั้งหมดและนําเงินกู้ยืมดังกล่าวไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการลงทุนโดยมีแหล่งเงินทุนมาจากการจําหน่ายหน่วยลงทุนด้วย ให้เป็นไปตามระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งดังต่อไปนี้ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่า 1. ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 2. ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เพิ่มเงินทุนจดทะเบียน หรือวันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมนอกเหนือจากที่ระบุในข้อ 3 และข้อ 4 ได้อย่างรัดกุมและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน วัตถุประสงค์ของกองทุนรวม ลักษณะของผู้ลงทุน รวมทั้งมิได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฐานะของกองทุนรวมอย่างไม่เหมาะสม ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดรายละเอียดการกู้ยืมเงินดังกล่าวได้ ข้อ ๖ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ถูกยกเลิกโดยข้อ 1 แห่งประกาศนี้ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,529
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเข้าผูกพันในธุรกรรมบางประเภทของกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเข้าผูกพัน ในธุรกรรมบางประเภทของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 126 วรรคหนึ่ง (5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “หน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า หุ้น ใบทรัสต์ ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน ของกิจการเงินร่วมลงทุน (private equity) ทั้งนี้ ไม่ว่ากิจการดังกล่าวจะจัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัท ทรัสต์ หรือรูปแบบอื่นใด “กิจการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า กิจการดังต่อไปนี้ (1) กิจการเงินร่วมลงทุนที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดการจัดการเงินทุนของกิจการเงินร่วมลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) กิจการเงินร่วมลงทุนตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะครบถ้วนดังนี้ (ก) มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนร่วมกันของผู้ลงทุนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ทั้งนี้ ต้องมิได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (ข) มีการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดการเงินทุนและทรัพย์สินที่เกิดจากเงินทุน (ค) มีนโยบายการลงทุนในกิจการอื่นผ่านการเข้าทําสัญญาการลงทุนในหุ้นหรือการสนับสนุนทางการเงินที่ก่อให้เกิดสิทธิในการได้มาซึ่งหุ้นของกิจการนั้นในภายหลัง โดยมีส่วนในการกํากับดูแลแผนธุรกิจ การดําเนินงานหรือการปรับปรุงการดําเนินงาน หรือการดําเนินการอื่นใดในลักษณะที่สะท้อนถึงการมีบทบาทต่อการดําเนินธุรกิจของกิจการดังกล่าว ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับการเข้าผูกพันในธุรกรรมของกองทุนรวมที่มีประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับอื่นกําหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ข้อ ๓ ในการเข้าผูกพันตามธุรกรรมดังต่อไปนี้ของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกระทําได้โดยต้องเป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการทําธุรกรรมดังกล่าวเพื่อกองทุนรวมนั้น (1) การขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง (2) การลงทุนในหน่วยของกิจการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๔ เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถเข้าผูกพันในธุรกรรมอื่นใดของกองทุนรวมนอกเหนือจากที่ระบุในข้อ 3 ได้อย่างรัดกุมและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน วัตถุประสงค์ของกองทุนรวม ลักษณะของผู้ลงทุน รวมทั้งมิได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฐานะของกองทุนรวมอย่างไม่เหมาะสม ให้สํานักงานเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดรายละเอียดการเข้าผูกพันในธุรกรรมดังกล่าวได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,530
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อตกลงกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์เกี่ยวกับเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามระยะเวลาและวิธีการที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 10 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ วันที่สิ้นสุดระยะเวลายกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์ หรือวันที่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการยกเลิกการเสนอขายหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี (2) กรณีที่ไม่สามารถคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้ภายในกําหนดเวลาตาม (1) จะต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลาส่งคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ (3) การห้ามมิให้มีการนําเงินที่รับเป็นค่าจองซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่คาดว่าจะรับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งหมดไปใช้ในการใด ๆ เว้นแต่เพื่อการคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรร” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) การจัดสรรหุ้นที่เป็นการเสนอขายให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหรือตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งบุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) เป็นผู้มีสิทธิได้รับจัดสรรเนื่องจากเป็นบุคคลที่มีฐานะดังกล่าว และได้มีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนแล้ว” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 “(1/1) การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลที่พึงได้รับจัดสรรตามสิทธิที่เกิดจากข้อผูกพันใด ๆ ที่ได้มีการตกลงกันไว้ก่อนแล้ว ซึ่งข้อผูกพันดังกล่าวเป็นการให้สิทธิในการถือหุ้นหรือหน่วยทรัสต์อันเนื่องมาจากการที่บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน ผู้ถือหน่วยทรัสต์ หรือผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และได้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนแล้ว การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนที่บุคคลนั้นมีอยู่ ทั้งนี้ ในกรณีของการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้น สัดส่วนหุ้นทั้งหมดที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้นด้วย” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,531
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 9/2561 เรื่อง การกำหนดการจัดการเงินทุนของนิติบุคคลในกลุ่มกิจการเดียวกันที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 9/2561 เรื่อง การกําหนดการจัดการเงินทุนของนิติบุคคลในกลุ่มกิจการเดียวกัน ที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท การจัดการกองทุนส่วนบุคคล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 22/2552 เรื่อง การกําหนดการจัดการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กลุ่มกิจการเดียวกัน” หมายความว่า กลุ่มของนิติบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันโดยพิจารณาจากอํานาจควบคุมกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) การถือหุ้นของนิติบุคคลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (2) การมีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด (3) การมีอํานาจควบคุมการแต่งตั้ง หรือถอดถอนกรรมการของนิติบุคคลตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม (4) การที่นิติบุคคลมีผู้มีอํานาจควบคุมกิจการในลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) เป็นบุคคลเดียวกัน ข้อ ๓ ให้การจัดการเงินทุนระหว่างคู่สัญญาซึ่งเป็นนิติบุคคลในกลุ่มกิจการเดียวกันที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (1) ผู้รับจัดการเงินทุนไม่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (2) คู่สัญญามีสถานะเป็นนิติบุคคลในกลุ่มกิจการเดียวกันตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเงินทุน (3) ได้รับความเห็นชอบการเป็นกลุ่มกิจการเดียวกันจากสํานักงานตามข้อ 4 แล้ว เว้นแต่เป็นกรณีการจัดการเงินทุนที่คู่สัญญามีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังนี้ (ก) คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งถือหุ้นในคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (ข) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีผู้ถือหุ้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดเป็นบุคคลเดียวกัน ข้อ ๔ ให้คู่สัญญาฝ่ายที่ประสงค์จะเป็นผู้รับจัดการเงินทุนยื่นคําขอรับความเห็นชอบการเป็นกลุ่มกิจการเดียวกัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,532
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 10/2561 เรื่อง การไม่นำบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนมาใช้บังคับกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลบางลักษณะ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 10/2561 เรื่อง การไม่นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน มาใช้บังคับกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลบางลักษณะ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10(1) และมาตรา 16 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้การเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกและดําเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่มิให้นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนมาใช้บังคับ ข้อ ๒ ให้การเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ เป็นการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่มิให้นําบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชนมาใช้บังคับ (1) เป็นโทเคนดิจิทัลอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (ก) โทเคนดิจิทัลที่มีการกําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง (ข) โทเคนดิจิทัลที่มีการกําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสิทธิตาม (ก) (2) สินค้าหรือบริการตาม (1) (ก) หรือ (1) (ข) พร้อมที่จะให้ใช้ประโยชน์ได้ทันทีตั้งแต่วันที่เสนอขายโทเคนดิจิทัลครั้งแรก การเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ไม่เข้าลักษณะตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติในหมวด 3 การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,533
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 11/2561 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้บริการที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 11/2561 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้บริการที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 10(1) แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การให้บริการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีลักษณะเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ที่จํากัดเฉพาะสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกและดําเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อ ๒ การให้บริการแลกเปลี่ยนโทเคนดิจิทัลในลักษณะที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล นายหน้าซื้อขายโทเคนดิจิทัล หรือผู้ค้าโทเคนดิจิทัล (1) โทเคนดิจิทัลที่ให้บริการแลกเปลี่ยนต้องมีลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ (ก) เป็นโทเคนดิจิทัลอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ 1. โทเคนดิจิทัลที่มีการกําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง 2. โทเคนดิจิทัลที่มีการกําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสิทธิตาม 1. (ข) สินค้าหรือบริการตาม (1) (ก) 1. หรือ (1) (ก) 2. พร้อมที่จะให้ผู้ถือใช้ประโยชน์ได้ทันทีในวันที่แลกเปลี่ยน (2) เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างโทเคนดิจิทัลประเภทเดียวกันเท่านั้น ข้อ ๓ การให้บริการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (1) การให้บริการซื้อหรือขายเฉพาะสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ออกกําหนดมูลค่าไว้กับสกุลเงินบาทในอัตราคงที่และผู้ออกมีกลไกที่ชัดเจนในการคงมูลค่าที่กําหนดไว้ดังกล่าว (2) การให้บริการซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลกับเงินบาทตามมูลค่าที่กําหนดไว้ใน (1) เท่านั้น (3) ต้องรับชําระเงินค่าซื้อหรือขายสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,534
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 12/2561 เรื่อง การกำหนดประเภทโทเคนดิจิทัลเพิ่มเติม
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 12/2561 เรื่อง การกําหนดประเภทโทเคนดิจิทัลเพิ่มเติม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 10(1) แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้คริปโทเคอร์เรนซีที่ผู้ออกมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนจากประชาชนและมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นโทเคนดิจิทัลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ด้วย (1) มีการกําหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ (2) มีการกําหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใด ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,535
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 13/2561 เรื่อง การกำหนดการจัดการลงทุนโดยการให้บริการออกแบบการลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 13/2561 เรื่อง การกําหนดการจัดการลงทุนโดยการให้บริการออกแบบ การลงทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้แนะนําการลงทุน” และ “ผู้วางแผนการลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน คําว่า “ผู้จัดการกองทุน” และ “นักวิเคราะห์การลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับความเห็นชอบการเป็นบุคลากรดังกล่าวด้วยคุณสมบัติการดํารงตําแหน่งผู้จัดการ หรือตําแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งดูแลรับผิดชอบสูงสุดในสายงานที่เกี่ยวกับการลงทุน หรือสายงานที่เกี่ยวกับตลาดทุน แล้วแต่กรณี “การให้บริการออกแบบการลงทุน” หมายความว่า การให้คําแนะนําและกําหนดแผนการลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม “บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบการให้บริการออกแบบการลงทุนตามประกาศนี้ “ระบบอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยในการวิเคราะห์และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อประกอบการให้บริการออกแบบการลงทุน ข้อ ๒ การให้บริการออกแบบการลงทุนของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 3 โดยมีการรับบริหารจัดการทรัพย์สิน (portfolio management) ให้ได้รับการผ่อนผันไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ในช่วงระยะเวลาที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าว ข้อ ๓ ในกรณีบุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ประสงค์จะขอรับความเห็นชอบเป็นผู้ให้บริการออกแบบการลงทุน ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน พร้อมเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) เป็นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) มีความพร้อมในการให้บริการในเรื่องดังนี้ (ก) มีเงินทุน และบุคลากร ที่สามารถรองรับการให้บริการตลอดเวลาที่ให้บริการอย่างเหมาะสมและเพียงพอ (ข) มีการดําเนินการเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า โดยมีรายละเอียดครอบคลุมการดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 (ค) มีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย (3) ไม่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอรับความเห็นชอบการให้บริการออกแบบการลงทุนมาก่อน ให้สํานักงานพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ในการให้ความเห็นชอบดังกล่าว ให้สํานักงานกําหนดระยะเวลาในการให้ความเห็นชอบได้ไม่เกินวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ข้อ ๔ บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบต้องมีการดําเนินการดังต่อไปนี้ ในระหว่างการให้บริการด้วย (1) มีกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ลูกค้าในเรื่องต่าง ๆ โดยครบถ้วนดังนี้ (ก) การสํารวจและทําความเข้าใจลูกค้า (explore & understand) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ และเป้าหมายในการลงทุนของลูกค้า (ข) การกําหนดโครงสร้างการลงทุน (portfolio construction) โดยจัดสรรและกําหนดสัดส่วนการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เหมาะสม (asset allocation) และสอดคล้องกับผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ และเป้าหมายในการลงทุนของลูกค้า (ค) การลงทุนตามแผนจัดสรรการลงทุน (portfolio implementation) ซึ่งมีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม และคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ง) การติดตามและปรับปรุงการลงทุน (monitoring & rebalancing) ให้สอดคล้องกับผลการประเมินระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ และเป้าหมายในการลงทุนของลูกค้า โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (จ) การรายงานภาพรวมการลงทุนของลูกค้า (consolidated reporting) โดยจัดทําและจัดส่งรายงานการลงทุนให้กับลูกค้าอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลที่เพียงพอต่อการติดตามผลการดําเนินงาน รวมถึงการทบทวนและประเมินคุณภาพของการให้บริการ กระบวนการติดต่อและให้บริการตาม (1) วรรคหนึ่งต้องครอบคลุมถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินเพื่อการลงทุนของลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยต้องมีการกําหนดกรอบกลยุทธ์การลงทุน การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ และการตัดสินใจลงทุนที่คํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ รวมถึงนโยบายในการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม (2) จัดให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการให้บริการตามที่กําหนดใน (1) (ค) และ (ง) ซึ่งต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ลงทุน ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถเทียบเท่ากับบุคคลดังกล่าวที่สํานักงานยอมรับ เพื่อมีส่วนร่วมในการกําหนดกระบวนการและปัจจัยในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของระบบดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และมีมาตรการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ (3) มีการแบ่งแยกหน่วยงานที่ให้บริการซื้อขาย (distribution) ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบการกําหนดกระบวนการและปัจจัยในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนของระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างชัดเจน (4) มีผู้แนะนําการลงทุนหรือผู้วางแผนการลงทุนเป็นผู้ทําหน้าที่ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนตามแนวทางที่กําหนดในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยบุคคลดังกล่าวต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับหน้าที่ของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน โดยอนุโลม (5) จัดให้มีโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการที่สอดคล้องกับคุณภาพการให้บริการในฐานะผู้มีวิชาชีพ (6) มีการแจ้งข้อมูลให้ลูกค้าทราบก่อนใช้บริการเกี่ยวกับลักษณะ ขอบเขต และเงื่อนไขในการให้บริการ รวมถึงสิทธิต่าง ๆ ของลูกค้า ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการให้บริการตาม (6) วรรคหนึ่ง อย่างมีนัยสําคัญ ต้องแจ้งลูกค้าเพื่อทบทวนหรือปรับปรุงข้อตกลงในการให้บริการกับลูกค้าทันที (7) มีกระบวนการให้บริการแก่ลูกค้าที่คํานึงถึงเรื่องดังนี้ (ก) การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน จําเป็น และเพียงพอแก่ลูกค้า (ข) การรักษาความลับของลูกค้า (ค) การรับและจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า (8) มีการจัดส่งรายงานข้อมูลในการให้บริการต่อสํานักงานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (9) มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารหนี้หรือหน่วยลงทุน บุคคลดังกล่าวอาจเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้กับตนเองก็ได้โดยต้องแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันเริ่มดําเนินการดังกล่าว (10) มีการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของลูกค้าไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ (11) จัดให้มีการกํากับดูแลเพื่อให้การให้บริการเป็นไปตามประกาศนี้ รวมทั้งดูแลให้การให้บริการเป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการดําเนินการตามข้อ 4(1) (2) หรือ (5) ไปจากที่เคยแสดงไว้ต่อสํานักงานอย่างมีนัยสําคัญ ต้องยื่นขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันที่จะมีการเปลี่ยนแปลง และหากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบตั้งแต่วันครบกําหนดระยะเวลานั้น ข้อ ๖ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้เมื่อ (1) การให้บริการไม่เป็นไปตามรายละเอียดที่แสดงไว้ในข้อ 3 วรรคหนึ่ง (2) (2) บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบไม่ดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 4 หรือข้อ 5 (3) การให้บริการอาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,536
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 21/2561 เรื่อง การกำหนดแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 21/2561 เรื่อง การกําหนดแบบใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการอนุญาต การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,537
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 22/2561 เรื่อง การกำหนดแบบคำขอและวิธีการขอรับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 22/2561 เรื่อง การกําหนดแบบคําขอและวิธีการขอรับใบอนุญาต ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามประกาศ กระทรวงการคลังว่าด้วยการอนุญาต การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ยื่นคําขอรับใบอนุญาตพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,538
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 23/2561 เรื่อง การกำหนดแบบคำขอและวิธีการขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 23/2561 เรื่อง การกําหนดแบบคําขอและวิธีการขอรับความเห็นชอบบุคคลที่ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วย การกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ประสงค์จะยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ยื่นคําขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,539
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่โดยทรัสตีผู้ออกศุกูกซึ่งเป็นกิจการต่างประเทศ และการเปิดเผยข้อมูล
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ โดยทรัสตีผู้ออกศุกูกซึ่งเป็นกิจการต่างประเทศ และการเปิดเผยข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 35 มาตรา 56 และมาตรา 69 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กิจการต่างประเทศ” หมายความว่า กิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ (2) องค์การระหว่างประเทศ (3) นิติบุคคลต่างประเทศ “กองทรัสต์” หมายความว่า ทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นและสามารถดําเนินการได้ตามกฎหมายต่างประเทศ “ทรัสตีผู้ออกศุกูก” (Asset trustee) หมายความว่า ทรัสตีที่เป็นกิจการต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ออกและเสนอขายศุกูกตามประกาศนี้ และเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิในทรัพย์สินของกองทรัสต์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือศุกูก “ผู้ถือศุกูก” หมายความว่า ผู้ถือหลักทรัพย์ประเภทใบทรัสต์ที่จะได้รับประโยชน์จากกองทรัสต์เนื่องจากการออกศุกูกนั้น “ผู้ระดมทุน” (Originator หรือ Obligor) หมายความว่า กิจการต่างประเทศที่ได้ใช้ประโยชน์จากเงินที่ได้จากการขายศุกูกซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับทรัสตีผู้ออกศุกูกก็ได้ “ศุกูก” (Sukuk) หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่มีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) เป็นใบทรัสต์ที่ออกโดยทรัสตีผู้ออกศุกูก (2) มีการกําหนดโครงสร้างของการทําธุรกรรมของกองทรัสต์เพื่อนําเงินที่ได้จากการออกตราสารไปหาประโยชน์ในรูปแบบที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม (3) มีการกําหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้ระดมทุนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือตราสาร และมีการกําหนดเงื่อนไขการคืนเงินลงทุนและอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะจ่ายให้แก่ผู้ถือตราสารด้วย ซึ่งการกําหนดอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม “ศุกูกทรัสตี” (Sukuk trustee) หมายความว่า ทรัสตีที่ทําหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือศุกูก ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายศุกูกซึ่งทรัสตีผู้ออกศุกูก และผู้ระดมทุนเป็นกิจการต่างประเทศ โดยศุกูกดังกล่าวจะมีข้อตกลงให้ชําระค่าตอบแทนและคืนเงินลงทุนเป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินตราต่างประเทศก็ได้ ข้อ ๓ ทรัสตีผู้ออกศุกูกตามประกาศนี้จะต้องเป็นทรัสตีได้ตามกฎหมายของประเทศที่ที่ผู้ระดมทุนตั้งอยู่ ข้อ ๔ ศุกูกทรัสตีตามประกาศนี้จะเป็นทรัสตีตามกฎหมายไทย หรือตามกฎหมายของประเทศที่ผู้ระดมทุนตั้งอยู่ก็ได้ ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ข้อ 5 วรรคหนึ่งกําหนด ข้อ ๕ ในการพิจารณาอนุญาตให้เสนอขายศุกูกตามประกาศนี้ ให้นําหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ในการพิจารณาลักษณะของผู้ระดมทุนกรณีการขออนุญาตเสนอขายศุกูกต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้นําหลักเกณฑ์เรื่องลักษณะของผู้ขออนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน ผู้ขออนุญาตและผู้ระดมทุนต้องใช้รอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน ข้อ ๖ การเสนอขายศุกูกของทรัสตีผู้ออกศุกูกหรือผู้ถือศุกูก ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลงบการเงิน และงบการเงินรวมที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ซึ่งในกรณีดังกล่าวให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทํารายงานที่แสดงฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทต่างประเทศแทน ข้อ ๗ ในการจําหน่ายศุกูก ให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจําหน่ายตราสารหนี้และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับตราสารหนี้ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้การชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายหรือลงทุนในศุกูกดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทที่สามารถเป็นผู้ให้บริการดังกล่าวเกี่ยวกับศุกูกได้ เว้นแต่กรณีการเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนที่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก ข้อ ๘ ในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของทรัสตีผู้ออกศุกูกให้นําหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่จัดทําและจัดส่งข้อมูลของบริษัทต่างประเทศ เนื่องจากการออกและเสนอขายตราสารหนี้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ในกรณีที่ทรัสตีผู้ออกศุกูกเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ระดมทุน ข้อมูลที่ทรัสตีผู้ออกศุกูกต้องเปิดเผยตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง ให้หมายถึงข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลของกองทรัสต์ (2) ข้อมูลของผู้ระดมทุน ข้อ ๙ งบการเงินของกองทรัสต์ และงบการเงินหรืองบการเงินรวมของผู้ระดมทุนที่ต้องเปิดเผยตามข้อ 6 และข้อ 8 ต้องผ่านการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,540
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการอำนวยความสะดวกการรับส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการอํานวยความสะดวก การรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 100 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ตัวแทน” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้ประกอบธุรกิจตั้งให้เป็นตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือการจัดการกองทุนรวม (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “การให้คําแนะนําแบบเฉพาะเจาะจง (specific advice)” หมายความว่า การให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุน ซึ่งมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ ข้อ ๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติตาม ข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น (2) ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้หรือข้อกําหนดที่สํานักงานออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจรายนั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้หรือข้อกําหนดที่สํานักงานออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ หรือสั่งพักการอนุญาตการตั้งตัวแทนตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตการตั้งตัวแทนได้ ข้อ ๓ ในการตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนเพื่อทําหน้าที่อํานวยความสะดวกในการรับส่ง คําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ (1) การรับคําขอเปิดบัญชีและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชีเพื่อนําส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาอนุมัติคําขอเปิดบัญชี (2) การรับคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแทนลูกค้าเพื่อนําส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจทํารายการให้แก่ลูกค้า ข้อ ๔ การตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขาย หลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 3 ผู้ประกอบธุรกิจต้องตั้งนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน หรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ที่มีการให้คําแนะนําแบบเฉพาะเจาะจง (specific advice) (2) ไม่อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งให้แก้ไขการกระทํา กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการ หรือถูกคณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งพักการประกอบธุรกิจ แล้วแต่กรณี (3) มีความพร้อมในการให้บริการและมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งรองรับการให้บริการตามข้อ 3 ข้อ ๕ ผู้ประกอบธุรกิจต้องทําสัญญาตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้ (1) กําหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจและตัวแทนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว (2) กําหนดให้ตัวแทนปฏิบัติงานเฉพาะที่กําหนดในข้อ 3 (3) กําหนดห้ามตัวแทนตั้งตัวแทนช่วง ข้อ ๖ ในกรณีที่ตัวแทนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 3 ได้อย่างเหมาะสม หรือไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวต่อไปได้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีมาตรการรองรับเพื่อให้การดําเนินการตามข้อ 3 เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๗ ในการตั้งตัวแทนหรือยกเลิกการตั้งตัวแทนในการอํานวยความสะดวกการรับส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งให้สํานักงานทราบภายใน 7 วันทําการนับแต่วันที่มีการตั้งหรือยกเลิกการตั้งตัวแทนดังกล่าว ในกรณีที่การตั้งตัวแทนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงานว่าการตั้งตัวแทนดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบต่อผู้ลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งระงับมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนได้ ทั้งนี้ ให้สํานักงานแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจนด้วย ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,541
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2561 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ ในแบบคําขออนุญาต และในแบบแสดงรายการข้อมูลที่กําหนดตามประกาศนี้ คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับความหมายของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษและผู้ลงทุนรายใหญ่ คําว่า “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ คําว่า “ผู้มีเงินลงทุนสูง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ผู้ลงทุนทั่วไป” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มิได้จํากัดเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ และผู้มีเงินลงทุนสูง “หน่วย” หมายความว่า หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศหรือที่ออกภายใต้อีทีเอฟต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงิน หรือธุรกรรมทางการเงิน (1) หุ้นของบริษัท (investment company) (2) ใบทรัสต์ของทรัสต์ (unit trust) (3) ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ซึ่งมีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม แต่ไม่มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนโดยตรงในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ในอสังหาริมทรัพย์ หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ โครงการจัดการลงทุนดังกล่าวต้องจัดตั้งโดยได้รับอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดําเนินการอื่นใดในทํานองเดียวกันจากหน่วยงานกํากับดูแลหลัก (1) โครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน (2) โครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค (3) อีทีเอฟต่างประเทศ “โครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่ได้รับความเห็นชอบและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลักที่ลงนามร่วมกันใน Memorandum of Understanding Concerning Cooperation and Exchange of Information on Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes to Non-retail Investors หรือ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes “โครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นในประเทศในภูมิภาคเอเชียภายใต้กรอบเอเปค (Asia Pacific Economic Cooperation : APEC) ที่ได้รับความเห็นชอบและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลักที่ลงนามร่วมกันใน Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport “อีทีเอฟต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุนแบบ exchange traded fund ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ “ตลาดหลักทรัพย์หลัก” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศจดทะเบียนซื้อขายอยู่แล้ว และในกรณีที่หน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศมีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้หมายถึงตลาดหลักทรัพย์ที่อีทีเอฟต่างประเทศระบุว่าเป็นตลาดหลักทรัพย์หลัก “ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ” (CIS operator) หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” (home regulator) หมายความว่า หน่วยงานกํากับดูแลที่มีอํานาจกํากับดูแลโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ หรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ อื่นๆ - ภาค 1 บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ ขอบเขตการใช้ประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การขออนุญาต การอนุญาตให้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ และเงื่อนไขภายหลังการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 2 (2) การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 3 (3) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในภาค 4 ข้อ ๔ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในประเทศไทยตามประกาศนี้จะกระทําได้ต่อเมื่อมูลค่าของหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตยังอยู่ในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดสําหรับการควบคุมการทําธุรกรรมในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ หมวด ๒ ภาษาที่ใช้ในการยื่นข้อมูลหรือเอกสาร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ การยื่นข้อมูลหรือเอกสารต่อสํานักงานตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร (1) ผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้อาจยื่นข้อมูลหรือเอกสารที่จัดทําเป็นภาษาลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ เว้นแต่สํานักงานจะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ก) ภาษาไทย (ข) ภาษาอังกฤษ (ค) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (2) ในกรณีที่ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานมีการแปลมาจากข้อมูลหรือเอกสารต้นฉบับภาษาอื่น ให้ผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้ดําเนินการดังนี้ด้วย (ก) ดําเนินการให้ผู้แปลรับรองความถูกต้องว่า สาระของการแปลถูกต้องตรงตามสาระของข้อมูลหรือเอกสารที่เป็นต้นฉบับ (ข) ผู้มีหน้าที่ตามประกาศนี้ต้องรับรองว่า สาระของข้อมูลหรือเอกสารที่แปลนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่จริงและมิได้มีการปกปิดข้อเท็จจริงที่พึงเปิดเผย ข้อมูลหรือเอกสารที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศนี้ หากได้จัดทําเป็นภาษาใดในครั้งแรกให้จัดทําโดยใช้ภาษานั้นต่อไป ไม่ว่าจะมีการจัดทําด้วยภาษาอื่นด้วยหรือไม่ เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควร หมวด ๓ อํานาจของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ตามคําขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ตามภาค 2 ได้ (1) ผู้ขออนุญาตหรือการเสนอขายหลักทรัพย์มีลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ แต่มีข้อเท็จจริงซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าความมุ่งหมายหรือเนื้อหาสาระที่แท้จริง (substance) ของการเสนอขายหลักทรัพย์นั้นเข้าลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือประกาศนี้ (2) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจขัดต่อนโยบายสาธารณะหรือนโยบายของรัฐ (3) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทยโดยรวม (4) การเสนอขายหลักทรัพย์อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ลงทุนโดยรวมหรืออาจทําให้ผู้ลงทุนโดยรวมไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือเพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อ ๗ ในกรณีที่เข้าลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจผ่อนผันไม่นําหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้พิจารณาคําขออนุญาต หรือไม่นําเงื่อนไขตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามภาค 2 ได้ (1) มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนซึ่งทําให้พิจารณาได้ว่าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผันให้ไม่มีนัยสําคัญสําหรับการพิจารณาอนุญาตในกรณีนั้น และประโยชน์ที่จะได้ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว (2) ผู้ขออนุญาตมีข้อจํากัดตามกฎหมายอื่นที่ทําให้ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน ทั้งนี้ ไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (3) ผู้ขออนุญาตมีมาตรการอื่นที่เพียงพอ และสามารถทดแทนการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะผ่อนผัน การผ่อนผันตามวรรคหนึ่งให้คํานึงถึงความเหมาะสมและความเพียงพอของข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนและมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนเป็นสําคัญ ทั้งนี้ สํานักงานอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ ข้อ ๘ ให้สํานักงานมีอํานาจผ่อนผันการเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลที่กําหนดเพิ่มเติมตามประกาศนี้ หากผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศแสดงได้ว่าข้อมูลดังกล่าวมิใช่ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ และมีเหตุอันควรที่จะไม่แสดงรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลหรือได้ดําเนินการประการอื่นเพื่อทดแทนอย่างเพียงพอแล้ว ข้อ ๙ ในการพิจารณาข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามภาค 3 หากสํานักงานเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควรเพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่มีนัยสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน ให้สํานักงานมีอํานาจกําหนดให้ผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดําเนินการดังต่อไปนี้ ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (1) เปิดเผยข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนเพิ่มเติม (2) ชี้แจงหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล เมื่อสํานักงานดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานหยุดนับระยะเวลาการมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนไว้ชั่วคราวตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 75 อื่นๆ - ภาค 2 การขออนุญาต การอนุญาตให้เสนอขายหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ และเงื่อนไขภายหลังการอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ วิธีการยื่นคําขออนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ผู้ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว ข้อ ๑๑ ให้บุคคลที่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศยื่นคําขอต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๑๒ เมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุญาตพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) กรณีคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 10 วัน (2) กรณีคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนแก่ผู้ลงทุนทั่วไป ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในระยะเวลาที่กําหนดใน Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 45 วัน (3) กรณีคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายในระยะเวลาที่กําหนดใน Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 45 วัน (4) กรณีคําขออนุญาตเสนอขายหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตภายใน 45 วัน ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตประสงค์จะขอผ่อนผันหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคําขอผ่อนผัน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอผ่อนผันต่อสํานักงานตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๑๓ เมื่อผู้ขออนุญาตได้รับแจ้งผลการอนุญาตตามข้อ 12 ว่าผู้ขออนุญาตเป็นผู้ที่มีลักษณะตามข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 หรือข้อ 17 แล้วแต่กรณี ผู้ขออนุญาตดังกล่าวจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้โดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายต่อเมื่อผู้ขออนุญาตได้แสดงถึงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามภาค 3 แล้ว หมวด ๒ หลักเกณฑ์การอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุน กลุ่มอาเซียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตอน ๑ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ การขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง จะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลักที่ร่วมลงนามกับสํานักงานใน Memorandum of Understanding Concerning Cooperation and Exchange of Information on Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes to Non-retail Investors ซึ่งมีอํานาจในการพิจารณาลงโทษ หรือสั่งให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ หากมีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ลงทุนได้ (ข) ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนการประกอบธุรกิจโดยหน่วยงานกํากับดูแลหลัก (ค) ไม่เคยฝ่าฝืนกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสําคัญแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก หรือไม่อยู่ระหว่างค้างการนําส่งเอกสารดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก (2) มีตัวแทน (local representative) ของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือเป็นสํานักงานตัวแทนในประเทศไทย (representative office) ตามมาตรา 93 เพื่อประสานงานและอํานวยความสะดวกในเรื่องดังนี้ในประเทศไทย (ก) การเปิดเผยและจัดส่งข้อมูลของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนตามที่กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกํากับดูแลหลักกําหนดให้เปิดเผยหรือส่งให้แก่ผู้ลงทุนหรือข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนซึ่งผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนประสงค์จะเปิดเผยให้แก่ผู้ลงทุน (ข) การรับหนังสือ คําสั่ง หมายเรียก หรือเอกสารใด ๆ แทนโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน หรือผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ (3) มีบริษัทนายหน้าเป็นตัวแทนที่รับผิดชอบในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนดังกล่าวในประเทศไทย (4) มีการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ และต้องไม่อยู่ระหว่างถูกหน่วยงานกํากับดูแลหลักสั่งห้ามการซื้อขายหน่วยของโครงการดังกล่าว (5) มีการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนดังกล่าวทั้งหมดต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ในกรณีที่มีการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนทั้งหมดแก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ต้องมีนโยบายการลงทุนในประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุนที่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (ข) ในกรณีที่มีการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนทั้งหมดแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ต้องมีนโยบายการลงทุนในประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุนที่ใช้บังคับกับกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย ทั้งนี้ ในกรณีที่โครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนเสนอขายหน่วยทั้งหมดแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ให้นโยบายการลงทุนในประเภททรัพย์สินและอัตราส่วนการลงทุนเป็นไปตามวรรคหนึ่ง (ก) หรือ (ข) ก็ได้ (6) ในกรณีที่โครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนมีนโยบายการลงทุนซึ่งจะส่งผลให้มีมูลค่าการลงทุนสุทธิ (net exposure) ในหน่วยลงทุนของกองทุนใดเพียงกองทุนหนึ่งหรือหลายกองทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของโครงการจัดการลงทุน การลงทุนดังกล่าวต้องเป็นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนที่จัดตั้งและเสนอขายในประเทศกลุ่มอาเซียนที่มีหน่วยงานกํากับดูแลหลักที่ลงนามร่วมกันใน Memorandum of Understanding Concerning Cooperation and Exchange of Information on Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes to Non-retail Investors ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของโครงการจัดการลงทุนนั้นเพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง (6) ให้คําว่า “หน่วยลงทุน” หมายความว่า หุ้น ใบทรัสต์ หรือตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน ของกองทุน “กองทุน” หมายความว่า กองทุนที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่ากองทุนดังกล่าวจะจัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัท ทรัสต์ หรือรูปแบบอื่นใด (1) กองทุนที่มีลักษณะเป็นโครงการจัดการลงทุน (collective investment scheme) (2) กองทุนซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (3) กองทุนซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือในกิจการที่ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตอน ๒ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุน กลุ่มอาเซียนแก่ผู้ลงทุนทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๕ การขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไปจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลักที่ร่วมลงนามกับสํานักงานใน Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes ซึ่งมีอํานาจในการพิจารณาลงโทษ หรือสั่งให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ หากมีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ลงทุนได้ (ข) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 14(1) (ข) และ (ค) โดยอนุโลม (2) มีลักษณะตามที่กําหนดใน Part I : The Qualifications of the CIS Operator, Trustee/ Fund Supervisor, and requirements relating to Approval, Valuation, and Operational Matters และ Part II : The Product Restrictions of Qualifying CIS ซึ่งอยู่ใน Appendix C : Standards of Qualifying CIS ของ Memorandum of Understanding on Streamlined Authorisation Framework for Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (3) มีตัวแทน (local representative) ของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือเป็นสํานักงานตัวแทนในประเทศไทย (representative office) ตามมาตรา 93 เพื่อประสานงานและอํานวยความสะดวกในเรื่องดังนี้ในประเทศไทย (ก) การดําเนินการตามข้อ 14(2) โดยอนุโลม (ข) การติดต่อกับนายทะเบียนของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนเพื่อผู้ถือหน่วยในประเทศไทย (4) มีลักษณะเช่นเดียวกับข้อ 14(3) และ (4) โดยอนุโลม (5) มีการเปิดเผยข้อมูลที่มีสาระสําคัญอย่างน้อยเช่นเดียวกับข้อมูลที่กองทุนรวมตามประกาศเกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนซึ่งออกตามมาตรา 117 มีหน้าที่เปิดเผยต่อผู้ถือหน่วยลงทุน (6) มีช่องทางในการระงับข้อพิพาทตามแนวทางของ Working Group on Dispute Resolution and Enforcement Mechanism หรือวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากการยุติข้อพิพาทโดยศาลอย่างเหมาะสม ส่วน ๒ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุน ในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ การขออนุญาตเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปคจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลักที่ร่วมลงนามกับสํานักงานใน Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport ซึ่งมีอํานาจในการพิจารณาลงโทษ หรือสั่งให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปคกระทําการหรืองดเว้นกระทําการ หากมีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของผู้ลงทุนได้ (ข) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 14(1) (ข) และ (ค) โดยอนุโลม (2) มีลักษณะตามที่กําหนดใน Annex 1 : Host Economy Laws and Regulations Annex 2 : Common Regulatory Arrangements และ Annex 3 : Passport Rules ของ Memorandum of Cooperation on the Establishment and Implementation of the Asia Region Funds Passport (3) มีลักษณะเช่นเดียวกับข้อ 14(3) และข้อ 15(3) และ (5) โดยอนุโลม ส่วน ๓ การเสนอขายหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๗ การขออนุญาตเสนอขายหน่วยของอีทีเอฟต่างประเทศจะได้รับอนุญาตจากสํานักงานเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) อีทีเอฟต่างประเทศและผู้รับผิดชอบในการดําเนินการอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหลักที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (2) มีผู้รับผิดชอบในการดําเนินการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 14(1) (ข) และ (ค) โดยอนุโลม (3) มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หลักที่เป็นสมาชิกของ World Federation ofExchanges (WFE) (4) มีวัตถุประสงค์ในการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยในลักษณะที่แปรผันโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งดังนี้ (ก) ราคาทองคํา (ข) ดัชนีที่มีองค์ประกอบทั้งหมดเป็นหรือเกี่ยวข้องกับน้ํามันดิบ (ค) ดัชนีกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (ง) ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) โดยดัชนีดังกล่าวมีองค์ประกอบทั้งหมดเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) หรือตราสารหนี้ที่มีตลาดรอง (organized market) (5) มีตัวแทน (local representative) ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ หรือเป็นสํานักงานตัวแทนในประเทศไทย (representative office) ตามมาตรา 93 เพื่อประสานงานและอํานวยความสะดวกในการดําเนินการตามข้อ 14(2) โดยอนุโลม (6) มีนโยบายการลงทุนในประเภททรัพย์สินในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน ซึ่งเป็นการบริหารจัดการกองทุนในลักษณะเชิงรับ (passive management) หมวด ๓ เงื่อนไขภายหลังการอนุญาต \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานภายหลังการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามภาค 2 ซึ่งหากข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏต่อสํานักงานก่อนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้นอาจทําให้การพิจารณาของสํานักงานเปลี่ยนแปลงไป ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้ผู้ได้รับอนุญาต หรือกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาตชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กําหนด และให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะได้ชี้แจง หรือแก้ไขให้ถูกต้อง และหากผู้ได้รับอนุญาต หรือกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถชี้แจงหรือดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด สํานักงานอาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง (2) ได้ (2) สั่งเพิกถอนการอนุญาตให้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในส่วนที่ยังมิได้เสนอขาย หรือยังไม่มีผู้จองซื้อ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานคํานึงถึงปัจจัยดังนี้ ประกอบการพิจารณา (1) ความร้ายแรงของข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) ผลกระทบต่อผู้ลงทุนที่จองซื้อหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้น ข้อ ๑๙ นับแต่วันที่แบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ หากผู้ได้รับอนุญาตจะจัดให้มีการโฆษณาชี้ชวนเกี่ยวกับหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศโดยวิธีการอื่นนอกจากการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน ข้อมูลที่จะใช้ในการโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีลักษณะเป็นเท็จ เกินความจริง บิดเบือน ปิดบัง หรือทําให้สําคัญผิดในสาระสําคัญ (2) สาระสําคัญของข้อมูลที่แสดงในโฆษณาต้องไม่นอกเหนือไปจากข้อมูลที่แสดงไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคําสั่งของสํานักงานที่จะสั่งให้ดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ (1) หยุดการโฆษณา หรือยุติการส่งเสริมการขาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (2) แก้ไขข้อมูลหรือข้อความในการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขาย (3) ชี้แจงเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง หรือไม่ทําให้สําคัญผิด (4) กระทําการหรือไม่กระทําการใดภายในระยะเวลาที่กําหนดเพื่อให้ผู้ลงทุนตัดสินใจหรือทบทวนการตัดสินใจ บนพื้นฐานข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทําให้สําคัญผิด ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องดํารงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การอนุญาตตามข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 หรือข้อ 17 แล้วแต่กรณี ที่ผ่านการพิจารณาของสํานักงานตลอดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนดังกล่าวในประเทศไทย อื่นๆ - ภาค 3 การยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ วิธีการยื่นและค่าธรรมเนียม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๑ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และแบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว ข้อ ๒๒ ให้ผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามที่กําหนดในหมวด 2 และร่างหนังสือชี้ชวนตามแบบที่กําหนดตามมาตรา 72 พร้อมเอกสารหลักฐานตามที่กําหนดไว้ในเว็บไซต์ของสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ต่อสํานักงานจํานวน 1 ชุด ตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๒๓ ผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีหน้าที่ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ หมวด ๒ แบบแสดงรายการข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๔ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือที่อาจทําให้สําคัญผิด และไม่ขาดข้อความที่ควรต้องแจ้งในสาระสําคัญ (2) มีข้อมูลตามที่กําหนดในมาตรา 69(1) ถึง (10) ข้อ ๒๕ การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศให้ใช้แบบ 69 – CIS full ท้ายประกาศนี้ และหากแบบแสดงรายการข้อมูลมีผลใช้บังคับแล้ว ให้สามารถเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศนั้นภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลดังกล่าวโดยไม่จํากัดจํานวนครั้งที่เสนอขาย แต่การเสนอขายครั้งใด ๆ ต้องมีระยะเวลาไม่เกินกว่า 1 ปีนับแต่วันที่แบบ 69 – CIS full ที่ได้ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้เสนอขายไม่ประสงค์ที่จะยื่นแบบ 69 – CIS full ใหม่ทุก ๆ ครั้ง แต่ประสงค์จะใช้ข้อมูลตามแบบ 69 – CIS full ที่ได้ยื่นไว้แล้วเป็นฐานข้อมูลสําหรับยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในครั้งต่อ ๆ ไป ให้ผู้เสนอขายปฏิบัติตามข้อ 27 ข้อ ๒๗ เพื่อประโยชน์ในการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลในครั้งต่อ ๆ ไป ให้ผู้เสนอขายปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบ 69 – CIS annually update ท้ายประกาศนี้ ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่แบบ 69 – CIS full หรือแบบ 69 – CIS annually update ในครั้งก่อนมีผลใช้บังคับ แล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เสนอขายได้ยื่นแบบตาม (2) มาแล้ว ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบ 69 – CIS annually update ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่แบบตาม (2) มีผลใช้บังคับแล้วแทน (2) ในกรณีที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญซึ่งผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานกํากับดูแลหลักแล้ว ให้ผู้เสนอขายยื่นแบบ 69 – CIS material update ท้ายประกาศนี้ภายใน 10 วันทําการนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล โดยมิให้นับรวมวันหยุดทําการในต่างประเทศ ข้อ ๒๘ ให้แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นตามข้อ 27 เป็นแบบแสดงรายการข้อมูลสําหรับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศโดยไม่จํากัดมูลค่าและจํานวนครั้งที่เสนอขายก่อนการยื่นแบบ 69 – CIS annually update หรือแบบ 69 – CIS material update ในครั้งต่อ ๆ ไป ข้อ ๒๙ งบการเงินของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ถ้ามี) ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินตามที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีหน้าที่ต้องยื่นต่อหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลที่จัดทําเฉพาะภาษาอังกฤษ หากผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศประสงค์จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศเป็นภาษาไทย ต้องจัดให้มีข้อมูลที่จะเผยแพร่ดังกล่าวไว้เป็นภาคผนวกต่อท้ายแบบแสดงรายการข้อมูลด้วย และให้ถือว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการข้อมูล หมวด ๓ การรับรองข้อมูล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๑ แบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงาน ต้องมีการลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน (investment company) ต้องลงลายมือชื่อโดยผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว (2) การเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศในกรณีอื่นนอกจาก (1) ต้องลงลายมือชื่อโดยผู้มีอํานาจลงนามผูกพันของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ หมวด ๔ วันมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๒ ภายใต้บังคับมาตรา 68 และมาตรา 75 การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) ผู้เสนอขายต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศแล้ว (2) ผู้เสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้ชําระค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลครบถ้วนแล้ว (3) สํานักงานได้รับร่างหนังสือชี้ชวนที่ครบถ้วน และแบบ 69 – CIS fullตามข้อ 25 หรือแบบ 69 – CIS annually update หรือแบบ 69 – CIS material update ตามข้อ 27 แล้วแต่กรณี หมวด ๔ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงาน ของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๓ ให้โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศมีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามประกาศนี้ เว้นแต่มีเหตุที่ทําให้โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศสิ้นสุดหน้าที่ตามที่กําหนดในข้อ 35 การจัดทําและส่งรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มเมื่อแบบแสดงรายการข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานมีผลใช้บังคับแล้ว ข้อ ๓๔ ในกรณีที่โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อกําหนดของหน่วยงานกํากับดูแลหลักแล้ว พร้อมทั้งจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ลงทุนในประเทศไทยทราบอย่างทั่วถึงด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น เผยแพร่ข้อมูลไว้บนเว็บไซต์ของผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ เป็นต้น ให้ถือว่าโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อ 33 ต่อสํานักงานแล้ว ข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง ข้อ ๓๕ ให้โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งรายงานที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดําเนินงานต่อสํานักงานตามที่กําหนดในภาคนี้เมื่อผู้รับผิดชอบในการดําเนินการของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามข้อกําหนดของหน่วยงานกํากับดูแลหลัก ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,542
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๔๓/๒๕๖๖ เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการ ลงทุนต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย ผปก.แล้ว เมื่อวันที่...............29/11/2566.......................... L&R เลขที่..2566-0045... ครั้งที่ ...........4.......... ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. ๔๓/๒๕๖๖ เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๖/๖ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของข้อ ๑๗ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ ตลาดทุน ที่ ทจ. ๔/๒๕๖๑ เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๔) มีนโยบายการลงทุนและการจัดการลงทุนในลักษณะเดียวกับกองทุนรวมอีทีเอฟ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (๖) ของข้อ ๑๗ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. ๔/๒๕๖๑ เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๖) มีการเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินที่อีทีเอฟต่างประเทศลงทุนหรือมีไว้ ต่อผู้ลงทุนทั่วไป ในลักษณะเดียวกับการเปิดเผยข้อมูลตามข้อ ๒ ของส่วนที่ ๔ ในภาคผนวก ๙ แนบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. ๙/๒๕๖๔ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางพรอนงค์ บุษราตระกูล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,543
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2561 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการและการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการอีทีเอฟต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 7/2561 เรื่อง การยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการและการเข้าถือ หลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการอีทีเอฟต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 มาตรา 89/1 มาตรา 89/12 มาตรา 89/14 มาตรา 89/29 มาตรา 89/31 มาตรา 246 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 49/2553 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการและการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการอีทีเอฟต่างประเทศ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,544
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน และโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 8/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของ โครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน และโครงการ จัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 7/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ” และ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ คําว่า “หน่วย” “โครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน” “โครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค” “ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ” และ “หน่วยงานกํากับดูแลหลัก” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ คําว่า “ผู้มีเงินลงทุนสูง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปและเพื่อผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย และการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “โครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ” หมายความว่า โครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียน และโครงการจัดการลงทุนในเอเชียภายใต้กรอบเอเปค “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหาร ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมถึงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่งและหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนดังกล่าว ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งให้บริการในการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ข้อ ๔ ในการให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่ประกาศนี้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ในการติดต่อและให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศนี้ มิให้นําข้อกําหนดเกี่ยวกับการศึกษาและทําความเข้าใจข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับผลการดําเนินงานของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่จะนํามาให้บริการเทียบกับกองทุนรวมหรือโครงการจัดการลงทุนในกลุ่มเดียวกันตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจมาใช้บังคับ ข้อ ๕ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามประกาศนี้แล้ว ข้อ ๖ ให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศได้เฉพาะหน่วยที่อยู่ในรายชื่อซึ่งได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายได้ซึ่งเปิดเผยไว้เป็นการทั่วไปบนเว็บไซต์ของสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ข้อ ๗ ก่อนการตกลงรับเป็นตัวแทนซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้รับผิดชอบในการดําเนินการ อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการจัดส่งข้อมูลที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศต่อผู้ลงทุน ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ (2) ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการจัดส่งข้อมูลอย่างเดียวกับข้อมูลที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องส่งข้อมูลนั้นต่อผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลักให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ พร้อมทั้งต้องรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเดียวกับที่ได้ส่งให้แก่ผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก แล้วแต่กรณี (3) ให้ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการจัดส่งข้อมูลตาม (1) หรือ (2) ให้บริษัทหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาเดียวกันกับที่ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการมีหน้าที่ต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ลงทุนหรือหน่วยงานกํากับดูแลหลัก แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ก่อนการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จัดส่งหรือแจกจ่ายข้อมูลดังนี้ ที่มีสาระสําคัญไม่แตกต่างจากร่างที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ ให้แก่ผู้ลงทุน (ก) สรุปข้อมูลสําคัญเกี่ยวกับหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศ (fact sheet) และรายงานประจําปี (ถ้ามี) (ข) ในกรณีที่เป็นการขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือผู้มีเงินลงทุนสูง ต้องมีข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างกฎเกณฑ์การจัดการโครงการจัดการลงทุนกลุ่มอาเซียนตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของประเทศ ที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่กับกฎเกณฑ์การจัดการกองทุนรวมที่ออกตามมาตรา 117 (2) จัดให้มีข้อมูลประกอบการเสนอขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศซึ่งได้จัดทําและแจกจ่ายในประเทศที่หน่วยงานกํากับดูแลหลักตั้งอยู่ โดยข้อมูลดังกล่าวให้เก็บไว้ ณ ที่ทําการหรือบนเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์ และจัดส่งให้แก่ผู้ลงทุนเมื่อผู้ลงทุนร้องขอ ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบในการดําเนินการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทํากับบริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 7 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการเพิ่มเติมอีกต่อไป ข้อ ๑๐ ในกรณีที่สํานักงานพบว่าบริษัทหลักทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่บริษัทหลักทรัพย์กําหนดเพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการทําหน้าที่ในการให้คําแนะนําการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศตามประกาศนี้ สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์นั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นการกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้ ข้อ ๑๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,545
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม และหน้าที่ของบริษัทจัดการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ประกาศนี้เป็นการกําหนดข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมแต่ละกองทุนรวม แต่มิให้นํามาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) กองทุนรวมอีทีเอฟที่จัดตั้งขึ้นตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สองตามมติที่ประชุมกลุ่มธนาคารกลางสมาชิก Executives Meeting of East Asia and Pacific Central Banks (EMEAP) (2) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (3) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนประเภทสถาบัน (4) กองทุนรวมดังต่อไปนี้ ที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 (ก) กองทุนรวมปิดที่มีข้อกําหนดว่าบริษัทจัดการจะขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวและได้กําหนดวันสิ้นอายุโครงการไว้อย่างแน่นอนในโครงการ โดยไม่มีการขยายอายุโครงการ (ข) กองทุนรวมเปิดที่มีข้อกําหนดในโครงการว่าบริษัทจัดการจะขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (ค) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ (5) กองทุนรวมที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ข้อ ๓ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในข้อผูกพันและโครงการ โดยมีรายละเอียดตามหมวด 1 (2) การดําเนินการของบริษัทจัดการเพื่อให้การถือหน่วยลงทุนเป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน โดยมีรายละเอียดตามหมวด 2 (3) มาตรการบังคับและอํานาจของสํานักงาน โดยมีรายละเอียดตามหมวด 3 ข้อ ๔ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้และหากบริษัทจัดการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น ข้อ ๕ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (2) นิติบุคคล และผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลดังกล่าวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหรือความเป็นหุ้นส่วนทั้งหมด (3) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) หรือ (2) ที่ไม่ใช่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “ข้อผูกพัน” หมายความว่า ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม “โครงการ” หมายความว่า โครงการจัดการกองทุนรวมตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน หมวด ๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ ในการจัดตั้งกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกําหนดรายการดังต่อไปนี้ไว้ในข้อผูกพัน (1) ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7 และข้อยกเว้นตามข้อ 8 (2) เงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนกรณีที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 9 ข้อ ๗ ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดจะถือได้ในแต่ละกองทุนรวมต้องไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม ข้อ ๘ ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7 ให้มีข้อยกเว้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณียกเว้นให้ถือหน่วยลงทุนได้โดยไม่จํากัดสัดส่วนสําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ (ก) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (ข) กองทุนประกันสังคม (ค) กองทุนการออมแห่งชาติ (ง) กองทุนบําเหน็จบํานาญแห่งชาติ (จ) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (ฉ) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (ช) กองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะตาม (ก) ถึง (ฉ) (ซ) กองทุนอื่นใดที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนตาม (ก) ถึง (ฉ) (ฌ) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยนอกเหนือจาก (ก) ถึง (ฉ) ซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิ หรือวัด เป็นต้น (ญ) บุคคลอื่นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร (2) กรณียกเว้นให้โดยผ่อนคลายสัดส่วนการถือหน่วยลงทุน หรือเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งได้แก่กรณีดังต่อไปนี้ (ก) กรณีที่เป็นการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอีทีเอฟโดยผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ดูแลสภาพคล่องที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการ อาจถือหน่วยลงทุนได้โดยไม่จํากัดสัดส่วน ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมจนถึงวันที่ครบกําหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟดังกล่าวในตลาดรอง (ข) กรณีของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามอัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7 ได้ไม่เกินสัดส่วนที่ระบุไว้ในโครงการ ทั้งนี้ เมื่อได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามเหตุจําเป็นและสมควร (ค) กรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรอื่นใด ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7 ได้แต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในการผ่อนผันดังกล่าว ให้สํานักงานพิจารณาถึงประโยชน์โดยรวมของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นสําคัญ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” และ “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” ตามวรรคหนึ่ง (2)(ก) ให้หมายความถึงผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ดูแลสภาพคล่อง ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอีทีเอฟ ข้อ ๙ เงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถือหน่วยลงทุนกรณีที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) บริษัทจัดการหรือนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการโอนหน่วยลงทุน ในกรณีที่การถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน (2) การจํากัดสิทธิรับเงินปันผลของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดที่ถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน จะถูกจํากัดสิทธิรับเงินปันผลในส่วนที่ถือเกินนั้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. การเกินสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนมิได้เกิดจากการได้หน่วยลงทุนมาเพิ่มเติม 2. การเกินสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนเป็นกรณีข้อยกเว้นข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 8 (ข) บริษัทจัดการจะยกเงินปันผลส่วนที่ถูกจํากัดสิทธิตาม (ก) ให้เป็นรายได้ของแผ่นดิน (ค) ในระหว่างการดําเนินการเพื่อยกเงินปันผลให้เป็นรายได้ของแผ่นดิน บริษัทจัดการจะจัดทําบัญชีและแยกเงินปันผลส่วนดังกล่าวออกจากทรัพย์สินอื่นของกองทุนรวม โดยไม่นํามารวมคํานวณเป็นมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม (3) ในกรณีที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม และในกรณีที่กองทุนรวมมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนหากเป็นการขอมติรายชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น เว้นแต่ชนิดหน่วยลงทุนนั้นมีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเพียงรายเดียวหรือกลุ่มเดียวเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดนั้น บริษัทจัดการจะนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเต็มตามจํานวนที่ถืออยู่ หมวด ๒ หน้าที่ของบริษัทจัดการเพื่อให้การถือหน่วยลงทุน เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ เพื่อมิให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดสรรหน่วยลงทุนให้แก่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดไม่เกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน และดูแลให้ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนจัดสรรหน่วยลงทุนไม่เกินข้อจํากัดดังกล่าวด้วย (2) ในกรณีที่มีบุคคลอื่นเป็นนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการแจ้งให้นายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนทราบถึงข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน และดูแลให้นายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนปฏิเสธการโอนหน่วยลงทุนหากมีการถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน (3) ตรวจสอบสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดในแต่ละกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน และดําเนินการให้ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนตรวจสอบและรายงานต่อบริษัทจัดการเมื่อพบการถือหน่วยลงทุนที่ไม่เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน ข้อ ๑๑ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการถือหน่วยลงทุนเองโดยตรงหรือผ่านบุคคลอื่น ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีการเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนที่เกิดจากการได้หน่วยลงทุนมาเพิ่มเติม ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) รายงานต่อสํานักงานภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทจัดการรู้หรือควรรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งนี้ การรายงานดังกล่าว ให้แสดงแนวทางการแก้ไขเพื่อให้การถือหน่วยลงทุนเป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนด้วย (ข) ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมเปิดและกองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดให้ผู้ลงทุนทราบในช่องทางที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. กรณีกองทุนรวมเปิด ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่มีการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนครั้งแรกของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดและต้องปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันทุกเดือน 2. กรณีกองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องจัดให้มีข้อตกลงเพื่อให้นายทะเบียนแจ้งให้บริษัทจัดการทราบหากมีการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนดังกล่าวด้วย (ค) แก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดให้เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน (เช่น เสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม) ภายในสองเดือนนับแต่วันที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลนั้นหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันนั้นถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามข้อจํากัดดังกล่าว เว้นแต่เป็นกองทุนรวมที่กําหนดเวลาซื้อขายหน่วยลงทุนแต่ละครั้งห่างกันนานกว่าสองเดือน ให้ดําเนินการแก้ไขภายในวันสุดท้ายของกําหนดเวลาซื้อขายหน่วยลงทุนครั้งถัดไป (2) กรณีการเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนโดยไม่ได้เกิดจากการได้หน่วยลงทุนมาเพิ่มเติมหรือเป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นตามข้อ 8 ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ใน (1)(ข) ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีบุคคลใดถือหน่วยลงทุนเพื่อบุคคลอื่นผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) บริษัทจัดการต้องจัดให้มีข้อตกลงเพื่อให้บุคคลที่มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีนั้นดําเนินการตามข้อกําหนดในข้อผูกพันในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลและการนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุน และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดําเนินการเมื่อมีการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดตามข้อ 10(1) และ (3) ข้อ 11(1)(ก)และ (ค) โดยอนุโลม ทั้งนี้ การรายงานเกี่ยวกับการถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 11(1)(ก) ให้บุคคลที่มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีดังกล่าวรายงานต่อบริษัทจัดการกองทุนรวมแทนการรายงานต่อสํานักงาน หมวด ๓ มาตรการบังคับและอํานาจของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่ามีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหรือจะถือหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน หรือมีการใช้กองทุนรวมเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลใด ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งให้บริษัทจัดการชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด (2) สั่งให้บริษัทจัดการดําเนินการเพื่อให้การถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน หรือดําเนินการใด ๆ เพื่อมิให้กองทุนรวมถูกใช้เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลใด ภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดสรรหน่วยลงทุนไม่เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน อันเป็นเหตุให้สํานักงานปฏิเสธการรับจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมและการแก้ไขเพิ่มเติมรายการทางทะเบียน ให้ถือว่าการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง เมื่อปรากฏกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากเงินดังกล่าว (ถ้ามี) ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ตามสัดส่วนของเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุน โดยในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถคืนเงินค่าจองซื้อและผลประโยชน์ (ถ้ามี) ให้แก่ผู้จองซื้อหน่วยลงทุนได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้บริษัทจัดการชําระดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลานั้นจนถึงวันที่บริษัทจัดการชําระเงินจํานวนดังกล่าวได้ครบถ้วน ข้อ ๑๕ ในกรณีดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมได้ (1) บริษัทจัดการไม่แก้ไข หรือไม่สามารถแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 11(1)(ค) (2) บริษัทจัดการไม่แก้ไข ไม่สามารถแก้ไข หรือไม่ดําเนินการตามที่สํานักงานมีคําสั่งตามข้อ 13(2) ในกรณีที่สํานักงานเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง (2) โดยการเพิกถอนดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนตามข้อ 14 วรรคสอง โดยอนุโลม หากการเพิกถอนดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามรายการที่กําหนดไว้ในข้อผูกพัน ข้อ ๑๖ ในการใช้ดุลยพินิจสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมตามข้อ 15 ให้สํานักงานนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา (1) พฤติกรรมของบริษัทจัดการในการปฏิบัติหรือดูแลให้มีการปฏิบัติตามประกาศนี้ (2) ผลกระทบหรือความเสียหายที่ผู้ถือหน่วยลงทุนรายอื่นอาจได้รับ (3) ความสามารถของบริษัทจัดการเพื่อแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศนี้ (4) ทางเลือกอื่นในการดําเนินการที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามประกาศนี้ หมวด ๔ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๗ มิให้นําความในประกาศนี้มาใช้บังคับกับกองทุนรวมดังต่อไปนี้ที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 จนถึงก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้กองทุนรวมดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดเรื่องการถือหน่วยลงทุนเกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (ก) กองทุนรวมปิดที่มีข้อกําหนดว่าบริษัทจัดการจะขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวและได้กําหนดวันสิ้นอายุโครงการไว้อย่างแน่นอนในโครงการ โดยไม่มีการขยายอายุโครงการ (ข) กองทุนรวมเปิดที่มีข้อกําหนดในโครงการว่าบริษัทจัดการจะขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว (ค) กองทุนรวมสําหรับผู้ลงทุนในต่างประเทศ ข้อ ๑๘ ในกรณีของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมจากสํานักงานอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ยังมิได้มีการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวต่อประชาชน ให้บริษัทจัดการดําเนินการขอความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมโครงการและข้อผูกพันให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ให้แล้วเสร็จก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนครั้งแรก ข้อ ๑๙ ในกรณีของกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนหรือในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่โครงการหรือข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดในประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ยื่นคําขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจากสํานักงานเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ภายในสองเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (ข) ดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ภายในสองเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยให้ดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (2) ในกรณีที่มีการถือหน่วยลงทุนโดยบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนที่กําหนดในประกาศนี้ ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (ก) กรณีกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนหรือในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ให้ดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (ข) กรณีกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมภายหลังวันที่14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จนถึงวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนภายในสองเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ในระหว่างที่บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง (2) มิให้นําความในข้อ 9(2) มาใช้บังคับกับผู้ถือหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้แล้วเสร็จตามตามวรรคหนึ่ง (2) สํานักงานอาจไม่อนุมัติคําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมใหม่ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นต่อสํานักงาน หรือสั่งระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมจากสํานักงานแล้ว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่ได้เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวต่อประชาชน ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับใดอ้างอิงความหมายของคําว่า “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้ง กองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงความหมายของคําว่า “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” ตามที่กําหนดในประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,546
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม และหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) กรณียกเว้นให้ถือหน่วยลงทุนได้โดยไม่จํากัดสัดส่วนสําหรับผู้ถือหน่วยลงทุนดังต่อไปนี้ (ก) กองทุนดังต่อไปนี้ 1. กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ 2. กองทุนประกันสังคม 3. กองทุนการออมแห่งชาติ 4. กองทุนบําเหน็จบํานาญแห่งชาติ 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 6. กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป 7. กองทุนอื่นใดที่สํานักงานพิจารณาว่ามีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนตาม 1. ถึง 6. 8. กองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะตาม 1. ถึง 7. (ข) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยนอกเหนือจากกองทุนตาม (ก) ซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิ หรือวัด เป็นต้น (ค) บุคคลซึ่งลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes โดยเป็นการลงทุนของผู้ลงทุนที่มิได้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศหรือเป็นการลงทุนผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ในต่างประเทศ (ง) บุคคลอื่นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ในกรณีที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกองทุนรวม เว้นแต่การเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนเป็นกรณีข้อยกเว้นข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 8(1) (ค)” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 “(4) ในกรณีที่กองทุนรวมมีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนหากเป็นการขอมติรายชนิดหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะไม่นับคะแนนเสียงส่วนที่เกินกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยลงทุนชนิดนั้น เว้นแต่ (ก) เป็นชนิดหน่วยลงทุนที่มีบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเพียงรายเดียวหรือกลุ่มเดียวเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนชนิดนั้น จะนับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเต็มตามจํานวนที่ถืออยู่ (ข) เป็นการถือหน่วยลงทุนที่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 8(1) (ค)” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อที่อยู่ในความดูแลของตัวแทนในต่างประเทศซึ่งขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 16/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 16/1 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลใด โดยผ่านการถือหน่วยลงทุนที่มีลักษณะตามข้อ 8(1) (ค) ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 และข้อ 16” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,547
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 28/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 28/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม และหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 19 ในกรณีของกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนหรือในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ให้บริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่โครงการหรือข้อผูกพันขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดในประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังนี้ (ก) ยื่นคําขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจากสํานักงานเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ ภายในสองเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (ข) ดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมข้อผูกพันเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้ภายในสองเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ โดยให้ดําเนินการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการกองทุนรวม (2) ในกรณีที่มีการถือหน่วยลงทุนโดยบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 19/1” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 19/1 และข้อ 19/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 19/1 ในกรณีที่บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตามข้อ 19 เกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้เป็นไปตามข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาดังนี้ (ก) กรณีกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมก่อนหรือในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ให้ดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (ข) กรณีกองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมภายหลังวันที่14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จนถึงวันก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนภายในสองเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (2) ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนได้ทันภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง (1)(ก) บริษัทจัดการอาจยื่นคําขอขยายระยะเวลาในการดําเนินการดังกล่าวต่อสํานักงานได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการยื่นเอกสารดังนี้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาของสํานักงานด้วย และในการพิจารณาขยายระยะเวลาการดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้สํานักงานพิจารณาตามเหตุจําเป็นและสมควร (ก) รายละเอียดของแผนการดําเนินการปรับลดสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการ (ข) เอกสารที่อธิบายถึงเหตุผลและความจําเป็นในการขอขยายระเวลาในการดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุน พร้อมทั้งระบุระยะเวลาที่จะขอขยายมาด้วย (ค) หนังสือยืนยันว่ากองทุนรวมดังกล่าวไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ โดยหนังสือดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการ (ง) ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมเพิ่มเติมดังนี้ 1. การประเมินความคุ้มค่าในการดํารงอยู่ของกองทุนรวม โดยพิจารณาจากผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุนรวม 2. สัดส่วนการถือหน่วยลงทุนของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันในส่วนที่เกินกว่าข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7 3. ความพยายามในการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนเพื่อไม่ให้เกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในเวลาที่ผ่านมา 4. ความสัมพันธ์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลตาม 2. กับบริษัทจัดการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการ (ถ้ามี) 5. ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในทรัพย์สินของกองทุนรวมที่มีลักษณะเดียวกับทรัพย์สินที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลตาม 2. ลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าว (ถ้ามี)ซึ่งอยู่ในความครอบครองหรือการรับรู้ของบริษัทจัดการ 6. ข้อมูลการลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลตาม 2. (ถ้ามี) ในระหว่างที่บริษัทจัดการดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง มิให้นําความในข้อ 9(2) มาใช้บังคับกับผู้ถือหน่วยลงทุนในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ข้อ 19/2 ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการแก้ไขสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนให้แล้วเสร็จตามข้อ 19/1 วรรคหนึ่ง สํานักงานอาจไม่อนุมัติคําขอจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมใหม่ที่บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นต่อสํานักงาน หรือสั่งระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมจากสํานักงานแล้ว หากบริษัทจัดการกองทุนรวมยังไม่ได้เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวต่อประชาชน” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,548
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 78/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 78/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม และหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7 ให้มีข้อยกเว้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณียกเว้นให้ถือหน่วยลงทุนได้โดยไม่จํากัดสัดส่วนสําหรับผู้ถือหน่วยลงทุน ดังนี้ (ก) กองทุนดังนี้ 1. กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ 2. กองทุนประกันสังคม 3. กองทุนการออมแห่งชาติ 4. กองทุนบําเหน็จบํานาญแห่งชาติ 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 6. กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป 7. กองทุนอื่นใดที่สํานักงานพิจารณาว่ามีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนตาม 1. ถึง 6. 8. กองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะตาม 1. ถึง 7. (ข) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยนอกเหนือจากกองทุนตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) ซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น ธนาคารออมสิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิ หรือวัด เป็นต้น (ค) บุคคลซึ่งลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไปที่เสนอขายหน่วยลงทุนภายใต้โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes โดยเป็นการลงทุนของผู้ลงทุนที่มิได้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศหรือเป็นการลงทุนผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) ในต่างประเทศ (ง) บุคคลอื่นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร (2) กรณียกเว้นให้โดยผ่อนคลายสัดส่วนการถือหน่วยลงทุน หรือเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งได้แก่กรณีดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอีทีเอฟโดยผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ดูแลสภาพคล่องที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการ อาจถือหน่วยลงทุนได้โดยไม่จํากัดสัดส่วน ทั้งนี้ เฉพาะในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมจนถึงวันที่ครบกําหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่เริ่มซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟดังกล่าวในตลาดรอง (ข) กรณีที่เป็นการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพหรือรับโอนเงินดังกล่าวต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของหน่วยลงทุนที่รองรับการรับโอนเงินดังกล่าว (ค) กรณีของกองทุนรวมที่มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนตามอัตราผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7 ได้ไม่เกินสัดส่วนที่ระบุไว้ในโครงการ ทั้งนี้ เมื่อได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานตามเหตุจําเป็นและสมควร (ง) กรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควรอื่นใด ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจถือหน่วยลงทุนเกินข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7 ได้แต่ไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ทั้งนี้ ในการผ่อนผันดังกล่าว ให้สํานักงานพิจารณาถึงประโยชน์โดยรวมของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นสําคัญ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” และ “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” ตามวรรคหนึ่ง (2) (ก) ให้หมายความถึงผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ดูแลสภาพคล่อง ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอีทีเอฟ “เงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ตามวรรคหนึ่ง (2) (ข) ให้หมายความดังนี้ (1) เงินที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรับโอนจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (2) เงินตามวรรคสาม (1) ที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรับโอนต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น (3) ผลประโยชน์อันเกิดจากเงินตามวรรคสาม (1) และ (2)” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,549
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม และหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “กองทุนรวมภายใต้โครงการระหว่างประเทศ” ถัดจากบทนิยามคําว่า “ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน” ในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ““กองทุนรวมภายใต้โครงการระหว่างประเทศ” หมายความว่า กองทุนรวมภายใต้โครงการดังต่อไปนี้ (1) โครงการ Cross-border Offers of ASEAN Collective Investment Schemes to Non-retail Investors (2) โครงการ Cross-border Public Offers of ASEAN Collective Investment Schemes (3) โครงการ Asia Region Funds Passport ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ค) ของ (1) ในวรรคหนึ่งของข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 78/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ค) บุคคลซึ่งลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการระหว่างประเทศโดยเป็นการลงทุนในต่างประเทศ ของผู้ลงทุนที่มิได้มีสัญชาติไทยหรือผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account)” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อที่อยู่ในความดูแลของตัวแทนในต่างประเทศซึ่งขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการระหว่างประเทศ” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 16/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 23/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16/1 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้กองทุนรวมภายใต้โครงการระหว่างประเทศเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการลงทุนของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือธุรกิจของบุคคลใด โดยผ่านการถือหน่วยลงทุนที่มีลักษณะตามข้อ 8(1) (ค) ให้สํานักงานมีอํานาจดําเนินการตามที่กําหนดในข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 และข้อ 16” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,550
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2561 เรื่อง การทำประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการที่บริหารกองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 15/2561 เรื่อง การทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการที่บริหาร กองอสังหาริมทรัพย์หรือกองโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 109 มาตรา 117 และมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 42/2552 เรื่อง การทําประกันภัยความรับผิดของบริษัทจัดการ และข้อกําหนดสําหรับบริษัทจัดการในการดํารงความเพียงพอของเงินกองทุน ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทจัดการกองทุนรวมหรือบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ที่มีการประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) การจัดการกองทุนรวมดังนี้ (ก) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (ข) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ค) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (ง) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (จ) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (2) การเป็นทรัสตีหรือผู้จัดการกองทรัสต์ สําหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐาน “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ที่รับจัดการกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “มูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ” หมายความว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการ “กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” หมายความว่า กองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ปรากฏในงบการเงินของบริษัทจัดการ ซึ่งมีวิธีการคํานวณตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กําหนดโดยคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี ข้อ ๓ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับบริษัทจัดการที่มีการกํากับดูแลฐานะทางการเงินตามกฎหมายอื่นหรือที่ต้องดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ ข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีการประกันภัยสําหรับความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจหรือการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการ ผู้บริหาร กรรมการ และพนักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันทําสัญญาประกันภัยดังกล่าว ไม่เกิน 25,000 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 120 ล้านบาท ให้บริษัทจัดการจัดทําประกันภัยในวงเงินไม่น้อยกว่าส่วนต่างของจํานวน 120 ล้านบาทหักด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นนั้น (2) ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารจัดการ ณ วันทําการสุดท้ายก่อนวันทําสัญญาประกันภัยดังกล่าว มากกว่า 25,000 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 220 ล้านบาท ให้บริษัทจัดการจัดทําประกันภัยในวงเงินไม่น้อยกว่าส่วนต่างของจํานวน 220 ล้านบาทหักด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นนั้น ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,551
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 41/2561 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 41/2561 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ประกาศว่าด้วยการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น” หมายความว่า ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ข้อ ๒ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนอย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุม (2) ข้อความที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา (3) ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในเรื่องที่เสนอต่อที่ประชุม หนังสือนัดประชุมตามวรรคหนึ่งต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น มีความครบถ้วน ถูกต้อง และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง ข้อ ๓ ในกรณีที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศอื่น หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในเรื่องดังกล่าวต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในประกาศว่าด้วยการนั้น และข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 2 ด้วย ข้อ ๔ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติให้บุคคลใดได้หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทจดทะเบียนโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนนั้น นอกจากต้องมีข้อมูลตามที่กําหนดในข้อ 2 แล้ว อย่างน้อยต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ด้วย (1) บุคคลที่บริษัทประสงค์จะออกหุ้นใหม่ให้เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน (2) จํานวนคะแนนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในวาระพิจารณาอนุมัติให้บุคคลตาม (1) ได้หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทจดทะเบียนโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนนั้น เช่น ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลตาม (1) รวมทั้งจํานวนคะแนนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่การออกเสียงลงคะแนนไม่สามารถนับรวมในวาระดังกล่าวได้ภายใต้บังคับของประกาศว่าด้วยการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น บุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลตาม (1) บุคคลที่กระทําการร่วมกัน (concert party) กับบุคคลตาม (1) และบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลที่กระทําการร่วมกันนั้น (3) สิทธิของผู้ถือหุ้นในการคัดค้านการผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนตามประกาศว่าด้วยการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (ถ้ามี) (4) ความเห็นของคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) เหตุผลในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แก่บุคคลตาม (1) และประโยชน์ที่บริษัทจดทะเบียนจะได้รับจากบุคคลตาม (1) ภายหลังการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้แก่บุคคลดังกล่าว รวมทั้งความเหมาะสมของราคาหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งบริษัทจดทะเบียนจะเสนอขายให้แก่บุคคลนั้นและที่มาของการกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว (ข) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตาม (1) กับบริษัทจดทะเบียน กรรมการ ผู้บริหาร ผู้มีอํานาจควบคุม หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน และข้อตกลงที่มีนัยสําคัญระหว่างกัน (ค) ประโยชน์หรือผลกระทบจากนโยบายหรือแผนการบริหารกิจการของบุคคลตาม (1) รวมทั้งความเป็นไปได้ของนโยบายหรือแผนการบริหารกิจการดังกล่าว (ง) ความเห็นของคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนที่เสนอต่อผู้ถือหุ้นว่าควรหรือไม่ควรเห็นชอบให้บุคคลตาม (1) ได้หลักทรัพย์ที่ออกใหม่โดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน พร้อมทั้งเหตุผลในการให้ความเห็นดังกล่าว (จ) ความเห็นและเหตุผลของกรรมการของบริษัทจดทะเบียนแต่ละรายในเรื่องที่คณะกรรมการมีความเห็นแตกต่างจากความเห็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้น (5) ความเห็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นที่บริษัทจดทะเบียนแต่งตั้งจากบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ปรึกษาทางการเงินที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ อย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ความเห็นต่อนโยบายหรือแผนการบริหารกิจการที่เสนอโดยบุคคลตาม (1) (ข) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ อย่างน้อยในเรื่องสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน และกําไรต่อหุ้น (ค) ความเหมาะสมของราคาหลักทรัพย์ออกใหม่ที่บริษัทจดทะเบียนจะเสนอขายให้แก่บุคคลตาม (1) (ง) การสอบทานข้อมูล (due diligence) เกี่ยวกับรายชื่อของบุคคลที่เป็นบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลตาม (1) บุคคลที่กระทําการร่วมกัน (concert party) กับบุคคลตาม (1) และบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลที่กระทําการร่วมกันนั้น รวมทั้งจํานวนหุ้นและจํานวนสิทธิออกเสียงของบุคคลเหล่านั้น (6) จํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดที่บุคคลตาม (1) จะมีภายหลังการได้มาซึ่งหลักทรัพย์และที่จะสามารถได้มาเพิ่มเติมในอนาคตโดยไม่เกิดหน้าที่ในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจัดทําโดยที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตาม (5) เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง (1) คําว่า “บุคคลที่กระทําการร่วมกัน” (concert party) ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศว่าด้วยการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (2) คําว่า “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม ข้อ ๕ ข้อมูลที่ต้องระบุในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติให้บุคคลใดได้หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทจดทะเบียนโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนมีการดําเนินการครบถ้วนดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 36/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (1) คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนมีมติอนุมัติให้บุคคลใดได้หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ของบริษัทจดทะเบียนโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียน และ (2) บริษัทจดทะเบียนได้เปิดเผยมติคณะกรรมการตาม (1) ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสําหรับการจัดทําหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,552
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/ข/ด/น. 1/2552 เรื่อง การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/ข/ด/น. 1/2552 เรื่อง การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายหลังจากมีสถานะเป็นสถาบันการเงินแล้ว (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ต้องจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบตามมาตรา 89/25 ซึ่งต้องประกอบด้วยกรรมการของบริษัทที่ไม่ได้เป็นผู้ที่รับผิดชอบการบริหารงานประจําวันและมีจํานวนไม่น้อยกว่าสองคน เพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่สํานักงานและผู้สอบบัญชีทราบ ข้อ ๓ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2 เนื่องจากการตาย ลาออก หรือถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบการเป็นกรรมการของบริษัท บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการแก้ไขเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทเป็นไป ตามที่กําหนดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว และให้ถือว่าบริษัทได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบภายในกําหนดระยะเวลานั้น ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ที่มิใช่สถาบันการเงินหรือที่ไม่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบตามองค์ประกอบที่กําหนดเพื่อทําหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่สํานักงานและผู้สอบบัญชีทราบตามมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,553
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 42/2561 เรื่อง การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 42/2561 เรื่อง การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และข้อ 16(6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ/ข/ด/น. 1/2552 เรื่อง การจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกับนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายหลังจากมีสถานะเป็นสถาบันการเงินแล้ว (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๓ เพื่อให้มีการตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่สํานักงานและผู้สอบบัญชีทราบถึงพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ได้กระทําความผิดตามที่กําหนดในมาตรา 89/25 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทําหน้าที่ดังกล่าวโดยบริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบด้วย เว้นแต่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มิได้มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครอง บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวอาจจัดให้มีกลไกหรือการดําเนินการอื่นใดเพื่อทดแทนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบก็ได้ ข้อ ๔ คณะกรรมการตรวจสอบตามข้อ 3 ต้องประกอบด้วยกรรมการที่มิได้เป็นผู้ที่รับผิดชอบการบริหารงานประจําวันและมีจํานวนไม่น้อยกว่า 2 คน ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทหลักทรัพย์ไม่เป็นไปตามที่กําหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง เนื่องจากตาย ลาออก หรือถูกสํานักงานเพิกถอนการให้ความเห็นชอบการเป็นกรรมการบริษัท บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการแก้ไขเพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทเป็นไปตามที่กําหนดภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดกรณีดังกล่าว และให้ถือว่าบริษัทได้รับการผ่อนผันการจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบภายในระยะเวลานั้น ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,554
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 45/2561 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยและการจัดการกองทุนรวม
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 45/2561 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทยและการจัดการกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 53/2560 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยต่อประชาชน และการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 8/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 “กิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “ประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ผู้จําหน่ายทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ผู้จําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทุนรวม และให้หมายความรวมถึงผู้ที่จะดําเนินการดังกล่าวด้วย “สมาคม” หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการลงทุน คําว่า “ที่ปรึกษาทางการเงิน” “กลุ่มบุคคลเดียวกัน” และ “บุคคลที่เกี่ยวข้อง”ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 8/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่เพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (ข) การเสนอขายหน่วยลงทุนในครั้งต่อ ๆ ไปภายหลังการเสนอขายหน่วยลงทุนตาม (ก) ที่ไม่ใช่กรณีตาม (ค) (ค) การเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) เพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (2) การจัดการกองทุนรวมภายหลังจากได้รับอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก อื่นๆ - ภาค 1 การเสนอขายหน่วยลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ การเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่เพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 6 (1) กรณีการเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้เป็นไปตามหมวด 2 (2) กรณีการเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) เพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ให้เป็นไปตามหมวด 3 ข้อ ๖ การเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ไม่ต้องได้รับอนุมัติจากสํานักงาน (1) การเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ทั้งหมดต่อผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วนการถือหน่วยลงทุนโดยได้รับชําระราคาเต็มมูลค่าที่เสนอขายจากผู้ถือหน่วยลงทุน (2) การเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ในลักษณะเป็นการทั่วไปโดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อหน่วยลงทุนต้องเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหน่วยลงทุน โดยเป็นการเสนอขายตามมติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน แต่จะไม่เสนอขายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะทําให้กองทุนรวมหรือบริษัทจัดการมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ ๗ หนังสือชี้ชวนที่บริษัทจัดการจัดทําขึ้นเพื่อจัดส่งหรือแจกจ่ายตามมาตรา 123 ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน โดยต้องมีลักษณะและวิธีการแสดงข้อมูลที่เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ในกรณีที่บริษัทจัดการมีการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) หนังสือชี้ชวนที่จัดส่งหรือแจกจ่ายในการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปต้องเปิดเผยรายละเอียดของข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญไม่น้อยกว่ารายละเอียดที่ได้เปิดเผยไว้ในหนังสือชี้ชวนที่จัดส่งหรือแจกจ่ายต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) ข้อ ๘ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนโดยการโฆษณาต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่มีลักษณะที่ทําให้ผู้ลงทุนสําคัญผิด ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการปฏิบัติตามประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายของกองทุนรวมด้วย เช่น (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการโฆษณาและการส่งเสริมการขายสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมวด ๒ การเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ หลักเกณฑ์การอนุมัติ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ บริษัทจัดการจะได้รับอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ของกองทุนรวมต่อประชาชน เมื่อแสดงได้ว่า (1) กองทุนรวมมีลักษณะเป็นไปตามข้อกําหนดที่ใช้ในการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม เว้นแต่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับชื่อของกองทุนรวม (2) โครงการจัดการกองทุนรวมและข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการมีรายละเอียดและรายการที่เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยและประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยกับบริษัทจัดการกองทุนรวม และที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในส่วนนี้และในภาค 2 (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก ต้องแสดงได้ว่าการเสนอขายหน่วยลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่จะลงทุนเป็นครั้งแรกได้อย่างแน่นอนแล้ว ส่วน ๒ การยื่นคําขออนุมัติ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ให้บริษัทจัดการที่ประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชน ยื่นคําขออนุมัติต่อสํานักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุมัติตามวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ให้บริษัทจัดการชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติต่อสํานักงานเมื่อสํานักงานได้รับคําขออนุมัติพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุมัติที่ถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ข้อ ๑๑ การยื่นคําขออนุมัติตามข้อ 10 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําคําขออนุมัติ โดยที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวต้องสามารถแสดงความเห็นได้อย่างเป็นอิสระจากบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ผู้จําหน่ายทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทุนรวม (ข) กลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลตาม (ก) (2) คําขออนุมัติและเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุมัติต้องมีบุคคลดังต่อไปนี้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน (ก) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทจัดการ (ข) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาทางการเงิน (ค) กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัทที่เป็นผู้จัดทํารายงานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมจะลงทุน (ง) ผู้จําหน่ายทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่กองทุนรวม ข้อ ๑๒ เมื่อบริษัทจัดการได้ยื่นคําขออนุมัติพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุมัติตามข้อ 10 แล้ว ให้บริษัทจัดการเผยแพร่ข้อมูลที่มีสาระตรงตามโครงการจัดการกองทุนรวมและร่างหนังสือชี้ชวนที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งหลังสุดต่อผู้ลงทุนผ่านระบบการรับส่งข้อมูลตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๑๓ ให้สํานักงานแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุมัติภายใน 165 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วน หมวด ๓ การเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) เพื่อประโยชน์ในการเสนอขาย หน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) ในระหว่างช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ได้ยื่นคําขออนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามหมวด 2 จนถึงวันที่หน่วยลงทุนดังกล่าวเริ่มทําการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากบริษัทจัดการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้แล้ว ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้เสนอขายหน่วยลงทุน ต่อผู้ลงทุนดังกล่าว (1) ได้รับมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่อนุมัติให้บริษัทจัดการเสนอขายและจัดสรรหน่วยลงทุนเพื่อการเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของกองทุนรวมแก่ผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) โดยการกันหน่วยลงทุนบางส่วนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติให้เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปไว้แล้ว มาเสนอขายและจัดสรรให้ผู้ลงทุนดังกล่าว (2) เสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor)ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) เป็นผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 15 (ข) ไม่เป็นผู้ที่จะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนในฐานะผู้จองซื้อพิเศษในการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไป “ผู้จองซื้อพิเศษ” ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า ผู้จองซื้อพิเศษตามที่กําหนดในประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ค) ไม่เป็นผู้จําหน่ายทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือกลุ่มบุคคลเดียวกันกับบุคคลดังกล่าว (3) มีมูลค่าการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามที่ยื่นคําขออนุมัติต่อสํานักงาน เมื่อรวมกับมูลค่าการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) และมูลค่าการเสนอขายหน่วยลงทุนโดยผู้ถือหน่วยลงทุนที่เสนอขายในคราวเดียวกัน (ถ้ามี) ไม่ต่ํากว่า 5,000 ล้านบาท (4) จัดให้มีข้อตกลงกับผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) โดยให้ผู้ลงทุนดังกล่าวชําระราคาค่าหน่วยลงทุนที่ซื้อในราคาเดียวกับราคาหน่วยลงทุนที่บริษัทจัดการจะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ ต้องไม่มีข้อตกลงหรือสัญญาใด ๆ ที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์กับผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) เป็นพิเศษกว่าผู้ลงทุนรายอื่น ๆ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้หนังสือชี้ชวนที่ใช้ในการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนมีการระบุรายชื่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) ที่ตกลงซื้อหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง และจํานวนหน่วยลงทุนโดยประมาณที่แต่ละรายตกลงซื้อ โดยจะระบุจํานวนเงินโดยประมาณที่แต่ละรายตกลงซื้อไว้ด้วยก็ได้ ข้อ ๑๕ ผู้ลงทุนสถาบันตามข้อ 14 วรรคหนึ่ง (2) (ก) ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ (2) บริษัทเงินทุน (3) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (4) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (5) บริษัทประกันภัย (6) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (7) ธนาคารแห่งประเทศไทย (8) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (9) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (10) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (11) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (12) กองทุนรวม (13) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (1) ถึง (12)โดยอนุโลม อื่นๆ - ภาค 2 การจัดการกองทุนรวมภายหลังจากได้รับอนุมัติให้เสนอขาย หน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชน เป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ เมื่อกองทุนรวมซึ่งได้รับอนุมัติตามส่วนที่ 2 ในหมวด 2 ของภาค 1 ได้ปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกแล้ว มิให้นําบทบัญญัติในหมวด 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 8/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 มาใช้บังคับ ข้อ ๑๗ เว้นแต่จะได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ การจัดการกองทุนรวมภายหลังจากได้รับอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก ให้เป็นไปตามประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนที่กําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ โดยอนุโลม (1) หน้าที่ของบริษัทจัดการในการบริหารจัดการกองทุนรวมด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน (2) ระบบงานสําหรับการบริหารและจัดการกองทุนรวม (3) การดําเนินการเมื่อได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม (4) ข้อกําหนดเพื่อรองรับการดําเนินการของกองทุนรวมภายหลังการจัดตั้ง (5) หลักเกณฑ์การบริหารและจัดการกองทุนรวม (6) อํานาจสั่งการของสํานักงานเกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัทจัดการหรือกองทุนรวม ข้อ ๑๘ บริษัทจัดการต้องเริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากสํานักงานให้ดําเนินการดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทจัดการไม่สามารถดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งให้การอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกเป็นอันสิ้นสุดลง ข้อ ๑๙ บริษัทจัดการต้องนําเงินที่รวบรวมได้จากการจําหน่ายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ดังต่อไปนี้ ไปลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานคิดเป็นมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทุนรวมภายใน 6 เดือนนับแต่วันปิดการเสนอขายหน่วยลงทุนที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (1) หน่วยลงทุนที่จําหน่ายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกตามข้อ 9(3) (2) หน่วยลงทุนที่จําหน่ายต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) ที่กันส่วนมาจากหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติให้เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (ถ้ามี) ข้อ ๒๐ ในกรณีที่กองทุนรวมมีการแบ่งชําระราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทจัดการอาจนําเงินที่กันไว้สําหรับการชําระราคาในคราวถัด ๆ ไป มารวมคํานวณเป็นมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 19 ได้ ข้อ ๒๑ การคํานวณมูลค่าการลงทุนในทรัพย์สินของกองทุนรวม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามข้อ 1(3) (ก) (ข) (ค) และ (ง) แห่งประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ให้คํานวณตามราคาที่ได้จากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินครั้งล่าสุด ซึ่งปรับปรุงด้วยการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ถ้ามี) และการตัดจําหน่ายทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (ถ้ามี) ที่เกิดขึ้นภายหลังการประเมินมูลค่าทรัพย์สินล่าสุดนั้น ทั้งนี้ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หรือความรู้ความเชี่ยวชาญในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (2) กรณีที่เป็นการลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นหุ้นตามข้อ 1(3) (จ) แห่งประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หากหุ้นดังกล่าวมิใช่หลักทรัพย์จดทะเบียนให้ใช้วิธีการคํานวณราคาตาม (1) กับทรัพย์สินของบริษัทที่กองทุนรวมเป็นผู้ถือหุ้นโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงภาระภาษีของบริษัทดังกล่าว และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทที่กองทุนรวมเป็นผู้ถือหุ้น (3) กรณีที่เป็นการลงทุนในกรณีอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้คํานวณตามราคาที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) หลักเกณฑ์ของสมาคมที่กําหนดเกี่ยวกับการกําหนดราคาทรัพย์สิน (ข) ในกรณีที่หลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดราคาของทรัพย์สินใด ให้ใช้ราคาที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล ข้อ ๒๒ ในกรณีที่กองทุนรวมประสงค์จะเข้าทํารายการในเรื่องที่มีประกาศกําหนดให้กระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ถือหน่วยลงทุน หรือได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทจัดการแล้ว ให้บุคคลที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ สามารถเข้าร่วมพิจารณาอนุมัติการเข้าทํารายการดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดที่ห้ามมิให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมพิจารณาอนุมัติการเข้าทํารายการดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อได้มีการเปิดเผยข้อมูลตามหลักเกณฑ์ในข้อ 23 แล้ว (1) ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เข้าลักษณะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวต้องมิใช่บุคคลดังนี้ (ก) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ที่เป็นเจ้าของ ผู้มีอํานาจกํากับดูแลตามกฎหมาย หรือผู้มีความรับผิดชอบโดยตรงในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการทํารายการดังกล่าว (ข) กลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลตาม (ก) (2) กรรมการของบริษัทจัดการที่เป็นผู้แทนจากผู้ถือหน่วยลงทุนตาม (1) ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อ 22 ให้บริษัทจัดการเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิพิจารณาอนุมัติการเข้าทํารายการตามข้อ 22 โดยให้แสดงไว้อย่างชัดเจนในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน (2) ในกรณีที่การเข้าทํารายการตามข้อ 22 ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหน่วยลงทุน ให้จัดให้มีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระในเรื่องดังต่อไปนี้ ซึ่งระบุเหตุผล ข้อสมมติฐานที่สําคัญ และปัจจัยที่นํามาประกอบการพิจารณาในการแสดงความเห็นนั้น โดยให้แสดงความเห็นดังกล่าวไว้ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนหรือหนังสือที่จัดส่งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนเพื่อขออนุมัติการเข้าทํารายการแล้วแต่กรณี (ก) ความสมเหตุสมผลและประโยชน์ของรายการต่อกองทุนรวม (ข) ความเป็นธรรมของราคา และเงื่อนไขของรายการ (ค) ผู้ถือหน่วยลงทุนควรลงมติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับรายการ พร้อมระบุเหตุผลประกอบ ข้อ ๒๔ ให้กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุนที่เป็นผู้แทนจากบุคคลที่เข้าลักษณะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น สามารถให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนและการจัดการทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกองทุนรวมได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดที่ห้ามมิให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น ทั้งนี้ ให้นําความในข้อ 23(1) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่บุคคลดังนี้ (1) เจ้าของ ผู้มีอํานาจกํากับดูแลตามกฎหมาย หรือผู้มีความรับผิดชอบโดยตรงในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําดังกล่าว (2) กลุ่มบุคคลเดียวกันของบุคคลตาม (1) อื่นๆ - ภาค 3 อํานาจของสํานักงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๕ ให้นําหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอํานาจสํานักงานเกี่ยวกับการอนุมัติในส่วนที่ 3 ของหมวด 1 ในภาค 1 แห่งประกาศกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน มาใช้บังคับกับการพิจารณาอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนตามภาค 1 โดยอนุโลม ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานที่เป็นเหตุอันควรสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจสั่งระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) ตามประกาศนี้ไว้ก่อนหรือสั่งเพิกถอนการอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนในกรณีดังกล่าวได้ (1) ผู้ได้รับอนุมัติมีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในหมวด 3 ของภาค 1 (2) ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการตัดสินใจลงทุน (3) การเสนอขายหน่วยลงทุนมีลักษณะที่อาจเข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์อื่นที่ออกภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ ๒๗ เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นไปตามนโยบายหรือหลักเกณฑ์ในการกํากับดูแลที่มีผลใช้บังคับในขณะใดขณะหนึ่ง ในกรณีที่การดําเนินการของกองทุนรวมไม่เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติหรือที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยชอบ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งการให้บริษัทจัดการกระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามที่สํานักงานเห็นสมควรภายในระยะเวลาที่กําหนด อํานาจสั่งการตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงอํานาจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ (1) ให้บริษัทจัดการแก้ไขลักษณะของกองทุนรวมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในภาค 1 และ 2 ภายในระยะเวลาที่กําหนด (2) ระงับการเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเป็นการชั่วคราว (3) เพิกถอนการอนุมัติให้เสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ข้อ ๒๘ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว อื่นๆ - บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๙ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 53/2560 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ อนาคตประเทศไทยต่อประชาชน และการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งใช้ บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓๐ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทน. 53/2560 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยต่อประชาชน และการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,555
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2565 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยและการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2565 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทยและการจัดการกองทุนรวม (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ในวรรคหนึ่ง ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 45/2561 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม โครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยและการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) เป็นผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่” ข้อ 2 ให้ยกเลิกข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 45/2561 เรื่อง การเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยและการจัดการกองทุนรวม ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,556
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 48/2561 เรื่อง การกำหนดประเภทธุรกิจหลักทรัพย์ที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 111/1
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 48/2561 เรื่อง การกําหนดประเภทธุรกิจหลักทรัพย์ ที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 111/1 อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 111/1 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตกเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือถูกทางการหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กํากับดูแลตามกฎหมายอื่น สั่งระงับการดําเนินกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด ให้ทรัพย์สินของลูกค้าที่เกิดจากการใช้บริการดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 111/1 ด้วย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,557
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 60/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดำเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 60/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการมอบหมายให้บุคคลอื่น เป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 100 วรรคสอง มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 116 และมาตรา 117แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 133 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และข้อ 16 วรรคหนึ่ง (6) แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 และข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 25/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 41/2556 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 42/2558 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 45/2559 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 56/2559 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 47/2560 เรื่อง การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “งานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า งานที่เป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรืองานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แต่ไม่รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนหรือการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ และผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า คณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจหรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ และผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุน การวางแผนการลงทุน การวิเคราะห์การลงทุนหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน การจัดการลงทุน การจัดการสาขาของผู้ประกอบธุรกิจ การดูแลบัญชีของลูกค้าเพื่อการตัดสินใจแทนลูกค้า การปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน “ลูกค้า” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ประกอบธุรกิจ และให้หมายความรวมถึงกองทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน หรือสมาชิกของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพด้วย “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์” (central utility function) หมายความว่า งานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจซึ่งหากผู้ให้บริการหยุดให้บริการ ไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ หรือไม่สามารถให้บริการได้อย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนโดยรวม เนื่องจากมีผู้ให้บริการจํานวนน้อยรายหรืออาจไม่สามารถหาผู้ให้บริการรายอื่นมาให้บริการแทนได้ในทันที “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจ โดยมีโครงสร้างการถือหุ้นระหว่างกันไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (2) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจด้วยการมีอํานาจควบคุมระหว่างกัน (3) บริษัทที่มีผู้มีอํานาจควบคุมกิจการเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีอํานาจควบคุมกิจการของผู้ประกอบธุรกิจ “อํานาจควบคุมกิจการ” หมายความว่า อํานาจควบคุมกิจการตามบทนิยามคําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” ที่กําหนดในมาตรา 89/1 ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจดังต่อไปนี้ (1) กําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจมีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ในเรื่องที่มีการออกแนวทางนั้น (2) ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่าผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้หรือข้อกําหนดที่สํานักงานออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ หรือผู้รับดําเนินการไม่สามารถดํารงคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้รับดําเนินการ ตามข้อกําหนดในประกาศนี้หรือตามข้อกําหนดที่สํานักงานออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจรายนั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้หรือข้อกําหนดที่สํานักงานออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ หรือสั่งระงับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ (1) การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ที่มีประกาศกําหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว (2) การให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในเรื่องที่มีข้อกําหนดไว้เป็นการเฉพาะตามประกาศอื่นอยู่แล้ว ข้อ ๖ ในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีนโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ตามที่กําหนดในหมวด 1 (2) มีการมอบหมายงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 2 (3) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในหมวด 3 หมวด ๑ นโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการมอบหมาย ให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดนโยบาย มาตรการ และวิธีปฏิบัติในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติและดูแลให้บุคลากรของตนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย (1) กําหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ โดยนโยบายดังกล่าวต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยตามที่กําหนดในข้อ 8 พร้อมทั้งต้องมีการพิจารณาทบทวนความมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือในทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ (2) กําหนดมาตรการรองรับที่ทําให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการไม่สามารถดําเนินงานต่อไปได้ (3) กําหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (4) กําหนดมาตรการตรวจสอบดูแลให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องสามารถควบคุมให้ผู้รับดําเนินการไม่มีลักษณะที่จะทําให้มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (5) จัดให้มีทรัพยากรที่จําเป็นและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในจํานวนที่เพียงพอ เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลการดําเนินงานของผู้รับดําเนินการและบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (6) พิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ข้อ ๘ นโยบายในการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามข้อ 7(1) ต้องระบุรายละเอียดและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ขอบเขตและลักษณะงานที่จะให้ดําเนินการ (2) หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับดําเนินการซึ่งมีรายละเอียดของแนวทางการพิจารณาในเรื่องดังนี้ (ก) ฐานะทางการเงิน ซึ่งต้องกําหนดในลักษณะที่จะทําให้สามารถกลั่นกรองหรือคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นได้ว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน (ข) ความสามารถและความพร้อมในการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องกําหนดในลักษณะที่จะทําให้สามารถกลั่นกรองหรือคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่มีระบบงานในการดําเนินการที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ (ค) ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และชื่อเสียงในทางธุรกิจ (ง) ความพร้อมของผู้รับดําเนินการในกรณีที่รับดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจหลายราย (จ) ประวัติการถูกร้องเรียนหรือถูกฟ้องร้องดําเนินคดีในเรื่องที่เกี่ยวกับงานที่จะให้ดําเนินการ (ฉ) ความเกี่ยวข้องกับกรรมการหรือผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจ (ช) ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการอยู่ในต่างประเทศ ต้องพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และกฎหมายของประเทศของผู้รับดําเนินการ ตลอดจนความซับซ้อนในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่อยู่ในต่างประเทศของผู้รับดําเนินการด้วย (3) หลักเกณฑ์การทบทวนและการเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการ (4) แนวทางการพิจารณาในกรณีที่ผู้รับดําเนินการจะให้บุคคลอื่นรับดําเนินการช่วง ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องดังนี้ (ก) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานจัดการลงทุนของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ งานจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรืองานบริหารความเสี่ยงในการลงทุนดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์หรือไม่และไม่ว่าในทอดใด ต้องมีขั้นตอนการขออนุมัติจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจเป็นรายกรณีทุกครั้งก่อนดําเนินการดังกล่าว และต้องดําเนินการให้บุคคลอื่นที่รับดําเนินการช่วงเป็นบุคคลตามข้อ 12 ข้อ 16 ข้อ 17 หรือข้อ 18 แล้วแต่กรณี (ข) กรณีที่เป็นการมอบหมายงานที่มิใช่งานจัดการลงทุนของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ งานจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรืองานบริหารความเสี่ยงในการลงทุนดังกล่าว ต้องดําเนินการดังนี้ 1. หากเป็นงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ต้องกําหนดให้บุคคลที่รับดําเนินการช่วงไม่ว่าในทอดใด เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 12 2. หากเป็นงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ต้องมีขั้นตอนการขออนุมัติจากผู้ประกอบธุรกิจเป็นรายกรณีทุกครั้งก่อนดําเนินการดังกล่าว (5) แนวทางการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมตามระดับความสําคัญของงานที่ให้ดําเนินการ (6) ระบบรักษาความปลอดภัยของผู้รับดําเนินการในการดูแลรักษาข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจและลูกค้า ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีการมอบหมายงานจัดการลงทุนของกองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรืองานจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และงานบริหารความเสี่ยงในการลงทุนดังกล่าว ให้บุคคลเดียวกันเป็นผู้รับดําเนินการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกําหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามข้อ 7(3) ที่ครอบคลุมถึงการแยกส่วนการปฏิบัติงานและโครงสร้างการบริหารจัดการ รวมทั้งระบบงานและมาตรการอื่นใดเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น หมวด ๒ หลักเกณฑ์การมอบหมายงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ ในการมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การมอบหมายงานในหมวดนี้ ทั้งนี้ ต้องดําเนินการด้วยความสมเหตุสมผลและไม่มีผลเสมือนเป็นการไม่ประกอบธุรกิจ รวมทั้งต้องเป็นไปตามหลักการในการมอบหมายงานดังต่อไปนี้ไม่ว่าจะมีการมอบหมายกี่ทอดก็ตาม (1) มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อลูกค้าและดําเนินการเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) ดําเนินการโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของทางการหรือทําให้ประสิทธิภาพในการกํากับดูแลของผู้ประกอบธุรกิจและสํานักงานลดลง ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการ ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อนการมอบหมายให้ดําเนินการดังกล่าว ส่วน ๑ การมอบหมายงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ ในการมอบหมายงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมอบหมายให้บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้รับดําเนินการเท่านั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่สํานักงานประกาศกําหนด ในกรณีที่การมอบหมายงานตามวรรคหนึ่งเป็นงานจัดการลงทุนของกองทุนรวมกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรืองานจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บุคคลที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวต้องเป็นบุคคลตามข้อ 16 ข้อ 17 หรือข้อ 18 แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ มิให้นําความในข้อ 7(2) และ (4) ข้อ 8(2) ข้อ 20(1)(ข) และข้อ 22(1) มาใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจที่มีการมอบหมายงานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ให้กับบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ส่วน ๒ การมอบหมายงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ ในการมอบหมายงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) มีความพร้อมในด้านบุคลากรและระบบงานในการดําเนินงานอย่างเพียงพอที่จะทําให้งานของผู้ประกอบธุรกิจเป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยต้องมีระบบที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ระบบการบริหารความเสี่ยง (ข) ระบบการควบคุมภายใน (ค) ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง ล่วงรู้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมทั้งเพื่อป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร (ง) ระบบการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน (2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน (3) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ ข้อ ๑๕ ในการมอบหมายงานจัดการลงทุนของกองทุน ผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ระบุรายละเอียดของการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานดังกล่าวอย่างชัดเจนไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม หรือต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าที่เป็นกองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี (2) จัดให้มีการรายงานการควบคุมดูแลผู้รับดําเนินการไว้ในรายงานการกํากับดูแลการปฏิบัติงานประจําปี (annual compliance report) ข้อ ๑๖ ในการมอบหมายงานจัดการลงทุนของกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ผู้รับดําเนินการต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล และในกรณีที่งานจัดการลงทุนดังกล่าวมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ข้อ ๑๗ ในการมอบหมายงานจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้รับดําเนินการต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าที่มอบหมายให้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก่อน ข้อ ๑๘ ในการมอบหมายงานจัดการลงทุนของกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรืองานจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้แก่ผู้รับดําเนินการต่างประเทศ ผู้รับดําเนินการดังกล่าวต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วน (1) สามารถประกอบธุรกิจจัดการลงทุนได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่บุคคลดังกล่าวประกอบธุรกิจอยู่ (2) อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังนี้ และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่มีมาตรการกํากับดูแลการจัดการลงทุนที่สํานักงานยอมรับ (ก) หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (MMOU) (ข) หน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีบันทึกความเข้าใจในการให้ความช่วยเหลือกับสํานักงานในระดับไม่น้อยกว่าความช่วยเหลือที่กําหนดตาม MMOU และหน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมีอํานาจตามกฎหมายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่สํานักงานได้ตามบันทึกความเข้าใจนั้น ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการต่างประเทศอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลตามวรรคหนึ่ง (2) แต่หน่วยงานกํากับดูแลดังกล่าวมิได้ตั้งอยู่ในประเทศที่มีมาตรการกํากับดูแลการจัดการลงทุนที่สํานักงานยอมรับ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงได้ถึงความมีประสิทธิภาพและความเหมาะสมของมาตรการในการมอบหมายงานของผู้ประกอบธุรกิจ ระบบงานของผู้รับดําเนินการ และมาตรการกํากับดูแลของหน่วยงานกํากับดูแลในประเทศดังกล่าว ข้อ ๑๙ ในการมอบหมายงานที่มิใช่งานที่มีผู้ให้บริการแบบรวมศูนย์ ผู้ประกอบธุรกิจต้องกํากับดูแลการมอบหมายงานอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการติดตามและทบทวนความเหมาะสมของการดําเนินการของผู้รับดําเนินการเป็นประจํา โดยอย่างน้อยต้องทบทวนทันทีเมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ หรือคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้รับดําเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับดําเนินการขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้รับดําเนินการอีกต่อไป ต้องเปลี่ยนตัวผู้รับดําเนินการ หรือดําเนินการอื่นใดตามความเหมาะสมโดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญเพื่อให้ผู้รับดําเนินการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้หรือข้อกําหนดที่สํานักงานออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ (2) จัดทําสรุปการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน เสนอต่อผู้บริหารที่รับผิดชอบสูงสุดในการดําเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ (3) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจไว้ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า (4) จัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการได้ เมื่อสํานักงานร้องขอ หมวด ๓ เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติในการมอบหมายงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการทําสัญญามอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการ โดยต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) ความรับผิดต่อผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับดําเนินการ (ข) มาตรการที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องของผู้รับดําเนินการ ซึ่งต้องครอบคลุมถึงงานที่รับดําเนินการให้ผู้ประกอบธุรกิจ (ค) การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความลับ และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจ และข้อมูลของลูกค้า (ง) การกําหนดให้ผู้รับดําเนินการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่ได้รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว (2) ให้ผู้รับดําเนินการยินยอมให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับดําเนินการ เรียกดู หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้ (3) เหตุ เงื่อนไข และวิธีการ ในการเลิกสัญญาหรือระงับการดําเนินการ (4) ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่มีการเรียกเก็บ ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วง ผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการให้ผู้รับดําเนินการจัดให้มีข้อสัญญาซึ่งมีรายละเอียดตามที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการมอบหมายงานกันกี่ทอดก็ตาม ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือการจัดการเงินทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สัญญาตามข้อ 20 ต้องมีสาระสําคัญในเรื่องดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถสั่งการและกําหนดแนวทางการดําเนินการแก่ผู้รับดําเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่มอบหมาย (2) ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเข้าตรวจสอบการดําเนินงานที่มอบหมายของผู้รับดําเนินการ เรียกดูหรือเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่มอบหมาย (3) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้รับดําเนินการที่อาจทําให้การมอบหมายงานไม่เป็นไปตามนโยบายการให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการตามข้อ 7(1) และข้อ 8 หรืออาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อความสามารถหรือความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงาน กําหนดเกี่ยวกับงานที่รับดําเนินการ รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้ผู้รับดําเนินการรายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อผู้ประกอบธุรกิจโดยไม่ชักช้า (4) ในกรณีที่การมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือการจัดการเงินทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว เป็นงานจัดการลงทุนหรืองานบริหารความเสี่ยงในการลงทุน ให้ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับดําเนินการดังนี้ (ก) การกําหนดมาตรการที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องตามข้อ 20(1)(ข) ให้ครอบคลุมถึงการจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติงานสํารอง (alternate site) และจัดให้มีการทดสอบความพร้อมของศูนย์ปฏิบัติงานสํารองดังกล่าวอย่างสม่ําเสมอ (ข) ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการประสงค์จะมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วงไม่ว่าในทอดใด ผู้รับดําเนินการต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนดําเนินการ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่บริษัทในเครือของผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ทําสัญญามอบหมายงานกับผู้รับดําเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมั่นใจได้ว่าสัญญาดังกล่าวจะรองรับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ผู้รับดําเนินการมีต่อผู้ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ทําสัญญาด้วยตนเอง และผู้ประกอบธุรกิจต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการให้บริษัทในเครือมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้รับดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายซึ่งผู้ประกอบธุรกิจกําหนดไว้ตามข้อ 8(2) (2) ดําเนินการให้บริษัทในเครือกําหนดสาระสําคัญในสัญญาให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในข้อ 20 รวมถึงข้อ 21 แล้วแต่กรณี และเพิ่มเติมข้อสัญญาที่มีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ไว้ในสัญญาด้วย (ก) ให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับประโยชน์ในงานที่บุคคลอื่นจะดําเนินการให้ (ข) ให้ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจากผู้รับดําเนินการได้ (3) ตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาให้เป็นไปตาม (2) และจัดเก็บสําเนาสัญญาดังกล่าวให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยไม่ชักช้า ข้อ ๒๓ ให้ผู้ประกอบธุรกิจแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการมอบหมายงานดังกล่าว และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่ผู้รับดําเนินการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการช่วงไม่ว่าจะมีการมอบหมายงานกันกี่ทอดก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งต่อสํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการเริ่มการดําเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามแบบที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบธุรกิจต้องรายงานสรุปการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ให้สํานักงานทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หมวด ๔ บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๕ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศที่ถูกยกเลิกโดยประกาศนี้และใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๖ การมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจซึ่งผู้ประกอบธุรกิจได้ดําเนินการตามประกาศที่ถูกยกเลิกโดยประกาศนี้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการในงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตามประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่งปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดในประกาศนี้หรือตามข้อกําหนดที่สํานักงานออกโดยอาศัยอํานาจตามประกาศนี้ แต่ในกรณีที่นโยบายหรือสัญญาให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับดําเนินการยังไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดตามประกาศนี้ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายหรือข้อสัญญาดังกล่าวให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่สามารถทําได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,558
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 65/2558 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 65/2558 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 มาตรา 67 และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยโดยกิจการตามกฎหมายต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ (2) องค์การระหว่างประเทศ (3) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ ๒ ให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย มาใช้บังคับกับการอนุญาตและการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน สําหรับการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ โดยอนุโลม ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,559
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 64/2561 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 64/2561 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย ของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 65/2558 เรื่อง การเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศดังต่อไปนี้ (1) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ (2) องค์การระหว่างประเทศ (3) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ข้อ ๓ ให้นําหลักเกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย มาใช้บังคับกับการอนุญาต เสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ โดยอนุโลม ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,560
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 71/2561 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 71/2561 เรื่อง รายการในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ที่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินตาม แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “แบบแสดงรายการข้อมูล” หมายความว่า แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ตามประกาศใดประกาศหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ข้อ ๓ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูล ต้องระบุความเห็นของคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) จํานวนเงินหรือกําหนดระยะเวลาการใช้เงินที่บริษัทประสงค์จะเปลี่ยนแปลง (2) ความสมเหตุสมผล เหตุผลและความจําเป็น และประโยชน์และความคุ้มค่าที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงิน (3) ข้อมูลโดยสรุปเกี่ยวกับวงเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไป (4) แผนการใช้เงินภายหลังการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงิน รวมถึงความเพียงพอของแหล่งเงินทุน และมาตรการรองรับในกรณีที่เงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นไม่เพียงพอสําหรับการดําเนินการตามแผนดังกล่าว (5) ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อการประกอบธุรกิจของบริษัท หรือต่อประมาณการใด ๆ ที่ได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล (ถ้ามี) อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินที่เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูล ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,561
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 72/2561 เรื่อง การยกเว้นการเสนอขายหุ้นของบริษัทประชารัฐรักสามัคคีที่กระทำเป็นการทั่วไปหรือต่อประชาชนในวงกว้าง
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 72/2561 เรื่อง การยกเว้นการเสนอขายหุ้นของบริษัทประชารัฐรักสามัคคี ที่กระทําเป็นการทั่วไปหรือต่อประชาชนในวงกว้าง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้การเสนอขายหุ้นของบริษัทประชารัฐรักสามัคคีตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ ไม่ว่าโดยบริษัทที่ออกหุ้นนั้นหรือโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว สามารถกระทําได้เป็นการทั่วไปหรือต่อบุคคลในวงกว้าง บริษัทประชารัฐรักสามัคคีตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า บริษัทประชารัฐรักสามัคคีวิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จํากัด ที่จัดตั้งขึ้นตามนโยบายสานพลังประชารัฐของรัฐบาล และได้รับการรับรองเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,562
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สท. 6/2559 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 6/2559 เรื่อง การจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการรับจดทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศรายชื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่ได้รับจดทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พนักงานกลุ่มเอ็มซีไอซี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2558 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ข้อ ๒ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โคเวสโตร (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 2/2558 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,563
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2551 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2551 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) ของวรรคสองในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) สถาบันการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักโดยตรงอยู่แล้วและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในภายหลัง แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ซึ่งรับดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 16 บริษัทหลักทรัพย์ต้องเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี โดยการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้คือ เพื่อให้สถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ตามประกาศนี้ด้วย และปรับปรุงระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (IOSCO) จึจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,564
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2551 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ (1) “ทรัพย์สิน” หมายความว่า (ก) เงินสด (ข) หลักทรัพย์ (ค) ทรัพย์สินอื่น (ง) สิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรัพย์สินตาม (ก) ถึง (ค) เช่น สิทธิในเงินปันผลหรือดอกเบี้ย สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน สิทธิในการเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ เป็นต้น (2) “บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์เพื่อการขาย (3) “บัญชีเงินสด” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่รายการที่ต้องบันทึกไว้ในบัญชีมาร์จิ้น (4) “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่รับดูแลรักษาทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าไม่ว่าเพื่อประโยชน์ด้านการเก็บรักษา หรือเพื่อการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อเป็นประกันการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกองทรัพย์สินหรือบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับบริหารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือรับดูแลรักษาในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์หรือผู้รับฝากทรัพย์สิน (2) สถาบันการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักโดยตรงอยู่แล้วและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในภายหลัง แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ซึ่งรับดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (3) เงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเนื่องจากการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ข้อ ๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งเป็นอิสระจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการให้คําแนะนําด้านหลักทรัพย์ และต้องจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดีในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยระบบดังกล่าวอย่างน้อยต้องแยกบุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้า และบุคลากรที่ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้า ออกจากกัน และกําหนดให้การจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกค้าทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากบุคลากรที่มีอํานาจของบริษัทซึ่งต้องมิใช่บุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและบุคลากรที่ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าดังกล่าว ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดระเบียบหรือวิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้สอดคล้องกับข้อกําหนดในประกาศนี้ โดยให้จัดทําไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงถึงขั้นตอนการจัดการและบุคลากรที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบหรือวิธีปฏิบัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การรับหรือส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้า (2) การบันทึกรายการทรัพย์สินของลูกค้า (3) การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๗ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงวิธีปฏิบัติของลูกค้าในการฝากหรือถอนทรัพย์สินกับหรือจากบริษัทหลักทรัพย์ วิธีการของบริษัทหลักทรัพย์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี) ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ลูกค้าทราบโดยไม่ชักช้า (2) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบว่าในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสบปัญหาทางการเงิน เงินของลูกค้าที่เก็บรักษาไว้กับบริษัทหลักทรัพย์จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (3) จัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่มีข้อความตอนใดที่ทําให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถปฏิเสธความรับผิดต่อลูกค้าในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าสูญหายหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบริษัทหลักทรัพย์ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งบุคคลอื่นใดที่บริษัทหลักทรัพย์ยินยอมให้มีอํานาจดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๘ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของตนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า เว้นแต่การตั้งตัวแทนดังกล่าวจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งให้เป็นตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์ (ง) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (จ) สถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) จัดให้มีสัญญาตั้งตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรโดยสัญญาดังกล่าวต้องมีข้อห้ามมิให้ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วง และมีข้อกําหนดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแทน ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าเกิดความเสียหาย และข้อกําหนดให้ตัวแทนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่ประกาศนี้กําหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการตั้งตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าโดยไม่ชักช้า และในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม เป็นตัวแทน บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งความสัมพันธ์ดังกล่าวให้ลูกค้าทราบด้วย คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม” ตามวรรคสอง ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การที่บริษัทหลักทรัพย์แยกทรัพย์สินของลูกค้าตามวิธีที่กําหนดในข้อ 18(1) (ก) หรือ (2) (ก) มิให้ถือว่าเป็นการตั้งตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๙ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการใดอันมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิของลูกค้าในทรัพย์สิน โดยปราศจากหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งหรือความยินยอมของลูกค้าหรือบุคคลที่มีอํานาจสั่งการแทนลูกค้า ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําทรัพย์สินของลูกค้ารายหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าอีกรายหนึ่งหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือของบริษัทหลักทรัพย์เอง เว้นแต่จะได้รับคําสั่งหรือความยินยอมจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นรายกรณี ข้อ ๑๑ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือตราสารใดที่อยู่ในการดูแลรักษาของบริษัทหลักทรัพย์จากผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารนั้นได้ภายในเวลาอันสมควร ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงเจตนาใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าโดยปราศจากคําสั่งหรือความยินยอมของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร หมวด ๒ การบันทึกรายการทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๒ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําบัญชีแสดงทรัพย์สินทุกรายการของลูกค้าแต่ละรายที่อยู่ในการดูแลรักษา โดยต้องแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินอื่นใดของบริษัทหลักทรัพย์ และให้แยกไว้เป็นบัญชีมาร์จิ้นหรือบัญชีเงินสด แล้วแต่กรณี บัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน (2) จํานวนและประเภททรัพย์สิน (3) เหตุที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายใดเป็นทรัพย์สินของบุคคลที่สามซึ่งถูกวางไว้เป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์ของลูกค้ารายนั้น บริษัทหลักทรัพย์ต้องบันทึกชื่อบุคคลที่สามซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายนั้นด้วย ข้อ ๑๓ บริษัทหลักทรัพย์ต้องบันทึกรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน และในกรณีที่เป็นการบันทึกเพื่อแก้ไขรายการ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการที่พบเหตุแห่งการแก้ไขรายการ และต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขรายการทุกครั้ง ข้อ ๑๔ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการตรวจนับทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์เก็บรักษาไว้เองอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อสอบทานความถูกต้องกับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดทํา สําหรับทรัพย์สินของลูกค้าส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์มิได้เก็บรักษาไว้เอง บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อสอบทานความถูกต้องของรายการทรัพย์สินที่ปรากฏในรายงานของบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้า กับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดทํา ข้อ ๑๕ บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้า ณ วันสิ้นเดือนให้แก่ลูกค้าภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป เว้นแต่ในเดือนนั้นลูกค้าไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินที่มอบให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ดูแลรักษา โดยในกรณีที่ลูกค้ารายดังกล่าวไม่มีธุรกรรมติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้าไปให้แก่ลูกค้ารายนั้นอย่างน้อยทุกหกเดือนครั้งภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป ข้อ ๑๖ บริษัทหลักทรัพย์ต้องเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี โดยการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที หมวด ๓ การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๗ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาจํานวนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้เป็นทรัพย์สินของลูกค้า (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน จํานวนเงินที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิซึ่งคํานวณได้ ณ สิ้นวันทําการก่อนหรือ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบัน จากบัญชีเงินสดและบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าทุกราย หลังจากหักเงินประกันการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตของลูกค้าแต่ละรายนั้นในอัตราตามที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ตกลงกับลูกค้าซึ่งเป็นผู้ยืมหลักทรัพย์แล้ว ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เลือกใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณแล้ว บริษัทหลักทรัพยจะต้องใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณตลอดไป เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นทําให้บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณต่อไปให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการก่อนเป็นฐานในการคํานวณในระหว่างที่มีเหตุจําเป็นได้ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้สํานักงานทราบโดยทันที บริษัทหลักทรัพย์อาจหักเงินดังต่อไปนี้ออกจากจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งได้ (ก) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ก่อนวันครบกําหนดชําระราคาตามธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว (ข) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์เกินกว่าจํานวนที่ต้องชําระหนี้ตามธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว และบริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งเงินส่วนเกินดังกล่าวคืนให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับเงินจํานวนนั้น (ค) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้าตามธุรกรรมการขายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้น และบริษัทหลักทรัพย์ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ลูกค้าหรือส่งมอบเงินให้แก่ลูกค้าภายในวันครบกําหนดชําระราคาแล้ว (ง) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้า เนื่องจากเป็นเงินปันผลหรือดอกเบี้ยของหลักทรัพย์หรือตราสารที่ลูกค้าเป็นเจ้าของ และบริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งเงินทั้งหมดนั้นให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเงินนั้น แต่ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ให้บริษัทหลักทรัพย์เก็บรักษาเงินตาม (ข)(ค) หรือ (ง) ไว้เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมของลูกค้าในอนาคต บริษัทหลักทรัพย์ต้องนําเงินจํานวนดังกล่าวมารวมในยอดเงินของวันทําการที่ได้รับทราบความประสงค์ของลูกค้า เพื่อการคํานวณจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งต่อไป (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ จํานวนทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์บันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น (3) ทรัพย์สินประเภทอื่น จํานวนทรัพย์สินประเภทอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการทรัพย์สินประเภทอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์บันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น ข้อ ๑๘ การดําเนินการดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 17 แล้ว (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน (ก) แยกโดยดําเนินการดังนี้ 1. ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยในกรณีที่เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด 2. ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร 3. ลงทุนในลักษณะอื่นตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเงินจํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ (ก) แยกโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องระบุอย่างชัดเจนว่าหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นการฝากโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (3) ทรัพย์สินอื่น ให้แยกไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ข้อ ๑๙ บริษัทหลักทรัพย์อาจตกลงกับลูกค้าเพื่อกําหนดอัตราดอกผลที่บริษัทหลักทรัพย์จะคํานวณให้แก่ลูกค้าสําหรับยอดเงินจํานวนที่บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามประกาศนี้ไว้ด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้ อัตราดอกผลดังกล่าวต้องไม่เกินอัตราที่บริษัทหลักทรัพย์จะได้รับจริงจากการฝากเงินหรือลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินหรือการลงทุนในลักษณะอื่น ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําเงินของลูกค้าที่ได้แยกไว้ตามข้อ 18 ไปเป็นหลักประกันหนี้เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือของบริษัทหลักทรัพย์เอง ข้อ ๒๑ ภายใต้บังคับข้อ 18(1) (ก) ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําเงินจํานวนที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนกับสถาบันการเงินที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม เว้นแต่ลูกค้าจะแสดงความยินยอมโดยชัดแจ้ง คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม” ตามวรรคหนึ่ง ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าไว้เองไม่ว่าการจัดเก็บจะกระทําในสถานที่ของบริษัทหลักทรัพย์เองหรือใช้สถานที่ของบุคคลอื่น สถานที่นั้นต้องมีความมั่นคงและปลอดภัย และในกรณีที่เป็นการใช้สถานที่ของบุคคลอื่น บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้บุคคลอื่นนั้นทราบอย่างชัดเจนด้วยว่าทรัพย์สินที่นํามาเก็บรักษาเป็นทรัพย์สินของลูกค้า หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๓ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๔ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ห้ามบริษัทหลักทรัพย์กระทําการใด ๆ อันมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นการเอาเปรียบลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,565
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 40/2553 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 40/2553 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 การดําเนินการดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 17 แล้ว (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน (ก) แยกโดยดําเนินการดังนี้ 1. ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น โดยในกรณีที่เป็นเงินฝากประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด 2. ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตราสารดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร 3. ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร 4. ลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินหรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน หรือลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ โดยในกรณีที่ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก หรือตั๋วแลกเงิน เป็นประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา ตั๋วสัญญาใช้เงิน บัตรเงินฝาก หรือตั๋วแลกเงินดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด 5. ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ (money market fund)ที่กําหนดวันทําการซื้อขายหน่วยลงทุนทุกวันทําการ (daily redemption fund) 6. ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนซึ่งหลักทรัพย์ตาม 2. หรือ 3. ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 6.1 มีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม 6.2 ใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ 6.3 ระยะเวลาการรับชําระหนี้ของธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไม่เกินเก้าสิบวัน 6.4 มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ณ วันเริ่มต้นสัญญาสูงกว่าราคาซื้อหลักทรัพย์ในจํานวนที่สมเหตุสมผล โดยส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานวณจากอัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ (initial margin) ซึ่งกําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้น 6.5 มีการเรียกเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนลดลงต่ํากว่าราคาซื้อ x (1+อัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ) 6.6 ไม่มีการนําหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนนั้น ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเงินจํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ (ก) แยกโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องระบุอย่างชัดเจนว่าหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นการฝากโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (3) ทรัพย์สินอื่น ให้แยกไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งเป็นทรัพย์สินเพื่อการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกทรัพย์สินดังกล่าวในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย หรือระบุอย่างชัดเจนว่าการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า” ข้อ ๒ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์นําเงินของลูกค้าไปลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้บริษัทหลักทรัพย์คงเงินลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้เพียงเท่าระยะเวลาที่เหลืออยู่ของตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเป็นการผ่อนคลายและเพิ่มทางเลือกให้บริษัทหลักทรัพย์สามารถนําเงินของลูกค้าที่อยู่ภายใต้การดูแลรักษาไปฝากหรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารตามที่กําหนดเพิ่มเติมได้ รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการแยกทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นทรัพย์สินเพื่อการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,566
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 13/2555 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 13 /2555 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) จัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่มีข้อกําหนดในลักษณะที่เป็นการปฏิเสธหรือจํากัดความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของลูกค้า และกรณีทรัพย์สินของลูกค้าสูญหายหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ ต้องมีข้อกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์รับผิดชอบในทรัพย์สินของลูกค้าอย่างเต็มจํานวน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 40/2553 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 การดําเนินการดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 17 แล้ว (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน (ก) แยกโดยดําเนินการดังนี้ 1. ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในบัตรเงินฝากของธนาคารดังกล่าวที่มีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปี ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1.1 ผู้รับฝากเงินหรือผู้ออกบัตรเงินฝากมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ซึ่งอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวได้รับการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน หรือมีรัฐบาลหรือกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวน ในกรณีที่ผู้รับฝากเงินหรือผู้ออกบัตรเงินฝากตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้อันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งหมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีที่จําเป็นด้วย 1.2 กรณีที่เป็นเงินฝากหรือบัตรเงินฝากประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือบัตรเงินฝากดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด 2. ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย 3. ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย 4. ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนซึ่งหลักทรัพย์ตาม 2. หรือ 3. ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 4.1 มีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม 4.2 ใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ 4.3 ระยะเวลาการรับชําระหนี้ของธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไม่เกินเก้าสิบวัน 4.4 มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ณ วันเริ่มต้นสัญญาสูงกว่าราคาซื้อหลักทรัพย์ในจํานวนที่สมเหตุสมผล โดยส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานวณจากอัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ (initial margin) ซึ่งกําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้น 4.5 มีการเรียกเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนลดลงต่ํากว่าราคาซื้อ x (1 + อัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ) 4.6 ไม่มีการนําหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนนั้น ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเงินจํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ (ก) แยกโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องระบุอย่างชัดเจนว่าหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นการฝากโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (3) ทรัพย์สินอื่น ให้แยกไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งเป็นทรัพย์สินเพื่อการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ในต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกทรัพย์สินดังกล่าวในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้น เป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย หรือระบุอย่างชัดเจนว่าการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 18/1 ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณมูลค่าของตราสารหรือหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์นําเงินของลูกค้าไปลงทุนตามข้อ 18(1) (ก) อย่างน้อยทุกวันทําการ โดยให้ใช้ราคาที่สามารถสะท้อนมูลค่าตลาดในปัจจุบันของตราสารหรือหลักทรัพย์แต่ละประเภท” ข้อ ๔ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์นําเงินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ บริษัทหลักทรัพย์จะคงไว้ซึ่งการฝากเงินหรือการลงทุนดังกล่าวต่อไปเท่าระยะเวลาที่ยังเหลืออยู่ก็ได้ เว้นแต่เป็นการฝากเงินหรือการลงทุนในตราสารหรือหลักทรัพย์ประเภทไม่มีกําหนดระยะเวลา ให้บริษัหลักทรัพย์ดําเนินการให้การฝากเงินหรือการลงทุนนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป เว้นแต่ความในข้อ 1 และข้อ 3 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,567
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 23/2558 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ============================ ที่ ทธ. 23/2558 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้า ณ วันทําการ สุดท้ายของแต่ละเดือนให้แก่ลูกค้า ภายในวันทําการที่ห้าของเดือนถัดไป เว้นแต่ในเดือนนั้นลูกค้า ไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินที่มอบให้บริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ดูแลรักษา หรือเป็นกรณีตามวรรคสอง ในกรณีที่ปรากฏว่าลูกค้ารายใดไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลง ในทรัพย์สินของลูกค้าติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สิน ของลูกค้า ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนที่ครบกําหนดระยะเวลาหนึ่งปีสําหรับลูกค้ารายนั้นให้แก่ลูกค้า อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายในวันทําการที่ห้าของเดือนถัดไป เว้นแต่ลูกค้ารายดังกล่าวจะไม่มีทรัพย์สิน เหลืออยู่ในการดูแลของบริษัทหลักทรัพย์และบัญชีของลูกค้ามีสถานะถูกระงับบัญชีไม่ให้ทําธุรกรรม ตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้า มิให้ถือว่าการจ่ายดอกเบี้ยเป็นธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สิน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,568
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 47/2559 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 47/2559 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 13/2555 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 การดําเนินการดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 17 แล้ว (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน (ก) แยกโดยดําเนินการดังนี้ 1. ฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในบัตรเงินฝากของธนาคารดังกล่าวที่มีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปี ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ 1.1 ผู้รับฝากเงินหรือผู้ออกบัตรเงินฝากมีอันดับความน่าเชื่อถือ ตามข้อ 18/2 วรรคสอง หรือมีรัฐบาลหรือกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวน 1.2 กรณีที่เป็นเงินฝากหรือบัตรเงินฝากประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือบัตรเงินฝากดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด 2. ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย 3. ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย 4. ลงทุนในตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สั่งจ่ายหรือออกโดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินเก้าสิบวัน ไม่มีเงื่อนไขการห้ามขาย โอน หรือไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร และมีอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 18/2 5. ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ที่มีนโยบายการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ 6. ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนซึ่งหลักทรัพย์ตาม 2. หรือ 3. ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 6.1 มีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม 6.2 ใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ 6.3 ระยะเวลาการรับชําระหนี้ของธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไม่เกินเก้าสิบวัน 6.4 มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน ณ วันเริ่มต้นสัญญาสูงกว่าราคาซื้อหลักทรัพย์ในจํานวนที่สมเหตุสมผล โดยส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานวณจากอัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ (initial margin) ซึ่งกําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้น 6.5 มีการเรียกเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนลดลงต่ํากว่าราคาซื้อ x (1 + อัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ) 6.6 ไม่มีการนําหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนนั้น (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะ ได้ว่าเงินจํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ (ก) แยกโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องระบุอย่างชัดเจนว่าหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นการฝากโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (3) ทรัพย์สินอื่น ให้แยกไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) บริษัทหลักทรัพย์ต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการฝากเงินหรือลงทุนในทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) 1. หรือ 4. แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงอันดับความน่าเชื่อถือจนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 18/2 บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในโอกาสแรกที่ทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าว ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) เป็นทรัพย์สินเพื่อการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกทรัพย์สินดังกล่าวในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย หรือระบุอย่างชัดเจนว่าการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/2 และข้อ 18/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 18/2 ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทหลักทรัพย์จะลงทุนตามข้อ 18 วรรคหนึ่ง (1) (ก) 4. ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือ (issue rating) อยู่ในอันดับแรกสําหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น หรืออยู่ในสามอันดับแรกสําหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว ในกรณีที่ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินตามวรรคหนึ่งไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือในกรณีการฝากเงินหรือลงทุนในบัตรเงินฝากตามข้อ 18 วรรคหนึ่ง (1) (ก) 1. ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือผู้รับฝากเงิน (issuer rating) แล้วแต่กรณี โดยต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย ในกรณีที่ผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือผู้รับฝากเงินตามวรรคสอง เป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้อันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคสองหมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็นด้วย ข้อ 18/3 ในการพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 18/2 ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลโดยยึดหลักความรับผิดชอบและความระมัดระวัง (fiduciary duties) และไม่เลือกใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จะส่งผลให้ทรัพย์สินของลูกค้ามีสภาพคล่องต่ําและมีความเสี่ยงสูง (cherry picking) (2) ต้องใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารที่อยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน รวมทั้งต้องใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องเหมาะสมกับระยะเวลาการลงทุนด้วย (3) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ของผู้รับฝากเงิน ผู้ออกบัตรเงินฝาก ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน หรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ประเมินโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย (4) ต้องพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของอันดับความน่าเชื่อถือที่เลือกใช้อย่างสม่ําเสมอโดยเฉพาะในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายอื่นมีการปรับเปลี่ยนอันดับความน่าเชื่อถือ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําและจัดเก็บคําอธิบายเหตุผลในการเลือกใช้อันดับความน่าเชื่อถือเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,569
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2562 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2562 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “(5) คําว่า “ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ” และ “ผู้รับฝากต่างประเทศ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 4/1 มิให้นําความในข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 12 และข้อ 15 มาใช้บังคับกับทรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์รับดูแลรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในฐานะที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ใน (1) ของข้อ 17 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ในกรณีที่ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งเป็นเงินที่เป็นสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่บริษัทหลักทรัพย์รับดูแลรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในฐานะที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์แยกทรัพย์สินดังกล่าวในแต่ละวันไม่น้อยกว่าผลรวมของเงินที่เป็นสิทธิประโยชน์ที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องส่งให้แก่ลูกค้า” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ใน (2) ของวรรคหนึ่งในข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 47/2559 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 “(ค) แยกโดยการฝากไว้กับผู้รับฝากต่างประเทศ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์รับดูแลรักษาทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าในฐานะที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยให้แยกไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย” ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,570
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 43/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์(ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 98(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 9/2551 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ข้อ 3 ในประกาศนี้ (1) “ทรัพย์สิน” หมายความว่า (ก) เงินสด (ข) หลักทรัพย์ (ค) ทรัพย์สินอื่น (ง) สิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรัพย์สินตาม (ก) ถึง (ค) เช่น สิทธิในเงินปันผลหรือดอกเบี้ย สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน สิทธิในการเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ เป็นต้น (2) “บัญชีมาร์จิ้น” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการการให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อ การซื้อหลักทรัพย์หรือการให้ลูกค้ายืมหลักทรัพย์เพื่อการขาย (3) “บัญชีเงินสด” หมายความว่า บัญชีที่บันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ซึ่งมิใช่รายการที่ต้องบันทึกไว้ในบัญชีมาร์จิ้น (4) “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (5)( คําว่า “ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ” และ “ผู้รับฝากต่างประเทศ” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ หมวด 1 บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่รับดูแลรักษาทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าไม่ว่าเพื่อประโยชน์ด้านการเก็บรักษา หรือเพื่อการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อเป็นประกันการซื้อหรือขายหรือยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกองทรัพย์สินหรือบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนอื่นในทํานองเดียวกัน ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์รับบริหารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือรับดูแลรักษาในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์หรือผู้รับฝากทรัพย์สิน (2) สถาบันการเงินที่มีหน่วยงานกํากับดูแลธุรกิจหลักโดยตรงอยู่แล้วและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในภายหลัง แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ซึ่งรับดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (3) เงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเนื่องจากการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ข้อ 4/1( มิให้นําความในข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 12 และข้อ 15 มาใช้บังคับกับทรัพย์สินที่บริษัทหลักทรัพย์รับดูแลรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในฐานะที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ข้อ 5 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งเป็นอิสระจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการให้คําแนะนําด้านหลักทรัพย์ และต้องจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดีในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยระบบดังกล่าวอย่างน้อยต้องแยกบุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้า และบุคลากรที่ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้า ออกจากกัน และกําหนดให้การจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกค้าทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากบุคลากรที่มีอํานาจของบริษัทซึ่งต้องมิใช่บุคลากรที่ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและบุคลากรที่ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าดังกล่าว ข้อ 6 บริษัทหลักทรัพย์ต้องกําหนดระเบียบหรือวิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้สอดคล้องกับข้อกําหนดในประกาศนี้ โดยให้จัดทําไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงถึงขั้นตอนการจัดการและบุคลากรที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบหรือวิธีปฏิบัติดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การรับหรือส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้า (2) การบันทึกรายการทรัพย์สินของลูกค้า (3) การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ 7 ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงวิธีปฏิบัติของลูกค้าในการฝากหรือถอนทรัพย์สินกับหรือจากบริษัทหลักทรัพย์ วิธีการของบริษัทหลักทรัพย์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี) ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ลูกค้าทราบโดยไม่ชักช้า (2) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบว่าในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ประสบปัญหาทางการเงิน เงินของลูกค้าที่เก็บรักษาไว้กับบริษัทหลักทรัพย์จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (3)( จัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร ซึ่งระบุถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวต้องไม่มีข้อกําหนดในลักษณะที่เป็นการปฏิเสธหรือจํากัดความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของลูกค้า และกรณีทรัพย์สินของลูกค้าสูญหายหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์ ต้องมีข้อกําหนดให้บริษัทหลักทรัพย์รับผิดชอบในทรัพย์สินของลูกค้าอย่างเต็มจํานวน ข้อ 8 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของตนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า เว้นแต่การตั้งตัวแทนดังกล่าวจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่บริษัทหลักทรัพย์จะตั้งให้เป็นตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าต้องเป็นบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ (ข) บริษัทเงินทุน (ค) บริษัทหลักทรัพย์ (ง) ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (จ) สถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) จัดให้มีสัญญาตั้งตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรโดยสัญญาดังกล่าวต้องมีข้อห้ามมิให้ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วง และมีข้อกําหนดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแทน ข้อกําหนดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าเกิดความเสียหาย และข้อกําหนดให้ตัวแทนต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามที่ประกาศนี้กําหนด ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการตั้งตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าโดยไม่ชักช้า และในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ตั้งบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม เป็นตัวแทน บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งความสัมพันธ์ดังกล่าวให้ลูกค้าทราบด้วย คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม” ตามวรรคสอง ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ การที่บริษัทหลักทรัพย์แยกทรัพย์สินของลูกค้าตามวิธีที่กําหนดในข้อ 18(1) (ก) หรือ(2) (ก) มิให้ถือว่าเป็นการตั้งตัวแทนในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ 9 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทําการใดอันมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิของลูกค้าในทรัพย์สิน โดยปราศจากหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งหรือความยินยอมของลูกค้าหรือบุคคลที่มีอํานาจสั่งการแทนลูกค้า ข้อ 10 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําทรัพย์สินของลูกค้ารายหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของลูกค้าอีกรายหนึ่งหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือของบริษัทหลักทรัพย์เอง เว้นแต่จะได้รับคําสั่งหรือความยินยอมจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นรายกรณี ข้อ 11 บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับ สิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์หรือตราสารใดที่อยู่ในการดูแลรักษาของบริษัทหลักทรัพย์จากผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้ออกตราสารนั้นได้ภายในเวลาอันสมควร ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์แสดงเจตนาใช้สิทธิประโยชน์ของลูกค้าโดยปราศจากคําสั่งหรือความยินยอมของลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษร หมวด 2 การบันทึกรายการทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 12 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดทําบัญชีแสดงทรัพย์สินทุกรายการของลูกค้าแต่ละรายที่อยู่ในการดูแลรักษา โดยต้องแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินอื่นใดของบริษัทหลักทรัพย์และให้แยกไว้เป็นบัญชีมาร์จิ้นหรือบัญชีเงินสด แล้วแต่กรณี บัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน (2) จํานวนและประเภททรัพย์สิน (3) เหตุที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายใดเป็นทรัพย์สินของบุคคลที่สามซึ่งถูกวางไว้เป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์ของลูกค้ารายนั้น บริษัทหลักทรัพย์ต้องบันทึกชื่อบุคคลที่สามซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายนั้นด้วย ข้อ 13 บริษัทหลักทรัพย์ต้องบันทึกรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน และในกรณีที่เป็นการบันทึกเพื่อแก้ไขรายการ บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันทําการที่พบเหตุแห่งการแก้ไขรายการ และต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขรายการทุกครั้ง ข้อ 14 บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการตรวจนับทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่ บริษัทหลักทรัพย์เก็บรักษาไว้เองอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อสอบทานความถูกต้องกับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดทํา สําหรับทรัพย์สินของลูกค้าส่วนที่บริษัทหลักทรัพย์มิได้เก็บรักษาไว้เอง บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อสอบทานความถูกต้องของรายการทรัพย์สินที่ปรากฏในรายงานของบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้า กับรายการที่ปรากฏในบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้จัดทํา ข้อ 15( บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้า ณ วันทําการ สุดท้ายของแต่ละเดือนให้แก่ลูกค้า ภายในวันทําการที่ห้าของเดือนถัดไป เว้นแต่ในเดือนนั้นลูกค้า ไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินที่มอบให้บริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ดูแลรักษา หรือเป็นกรณีตามวรรคสอง ในกรณีที่ปรากฏว่าลูกค้ารายใดไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลง ในทรัพย์สินของลูกค้าติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สิน ของลูกค้า ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนที่ครบกําหนดระยะเวลาหนึ่งปีสําหรับลูกค้ารายนั้นให้แก่ลูกค้า อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายในวันทําการที่ห้าของเดือนถัดไป เว้นแต่ลูกค้ารายดังกล่าวจะไม่มีทรัพย์สิน เหลืออยู่ในการดูแลของบริษัทหลักทรัพย์และบัญชีของลูกค้ามีสถานะถูกระงับบัญชีไม่ให้ทําธุรกรรม ตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินของลูกค้า มิให้ถือว่าการจ่ายดอกเบี้ยเป็นธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สิน ข้อ 16 บริษัทหลักทรัพย์ต้องเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี โดยการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงานเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที หมวด 3 การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 17 บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาจํานวนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้เป็นทรัพย์สินของลูกค้า (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน จํานวนเงินที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้อง ไม่น้อยกว่าผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิซึ่งคํานวณได้ ณ สิ้นวันทําการก่อนหรือ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันจากบัญชีเงินสดและบัญชีมาร์จิ้นของลูกค้าทุกราย หลังจากหักเงินประกันการยืมหลักทรัพย์เพื่อขายชอร์ตของลูกค้าแต่ละรายนั้นในอัตราตามที่บริษัทหลักทรัพย์ได้ตกลงกับลูกค้าซึ่งเป็นผู้ยืมหลักทรัพย์แล้ว ทั้งนี้ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เลือกใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณแล้ว บริษัทหลักทรัพย์จะต้องใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณตลอดไป เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นทําให้บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณต่อไปให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการก่อนเป็นฐานในการคํานวณในระหว่างที่มีเหตุจําเป็นได้ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้สํานักงานทราบโดยทันที บริษัทหลักทรัพย์อาจหักเงินดังต่อไปนี้ออกจากจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งได้ (ก) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ก่อนวันครบกําหนดชําระราคาตามธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว (ข) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์เกินกว่าจํานวนที่ต้องชําระหนี้ตามธุรกรรมการซื้อหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว และบริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งเงินส่วนเกินดังกล่าวคืนให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับเงินจํานวนนั้น (ค) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้าตามธุรกรรม การขายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้น และบริษัทหลักทรัพย์ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ลูกค้าหรือส่งมอบเงิน ให้แก่ลูกค้าภายในวันครบกําหนดชําระราคาแล้ว (ง) เงินที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้า เนื่องจากเป็นเงินปันผลหรือดอกเบี้ยของหลักทรัพย์หรือตราสารที่ลูกค้าเป็นเจ้าของ และบริษัทหลักทรัพย์ได้ส่งเงินทั้งหมดนั้นให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บริษัทหลักทรัพย์ได้รับเงินนั้น แต่ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ให้บริษัทหลักทรัพย์เก็บรักษาเงินตาม (ข)(ค) หรือ (ง) ไว้เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมของลูกค้าในอนาคต บริษัทหลักทรัพย์ต้องนําเงินจํานวนดังกล่าวมารวมในยอดเงินของวันทําการที่ได้รับทราบความประสงค์ของลูกค้า เพื่อการคํานวณจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งต่อไป (ในกรณีที่ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งเป็นเงินที่เป็นสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ต่างประเทศที่บริษัทหลักทรัพย์รับดูแลรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในฐานะที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ ให้บริษัทหลักทรัพย์แยกทรัพย์สินดังกล่าวในแต่ละวันไม่น้อยกว่าผลรวมของเงินที่เป็นสิทธิประโยชน์ที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องส่งให้แก่ลูกค้า (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ จํานวนทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์บันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น (3) ทรัพย์สินประเภทอื่น จํานวนทรัพย์สินประเภทอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการทรัพย์สินประเภทอื่นที่บริษัทหลักทรัพย์บันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น ข้อ 18( การดําเนินการดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 17 แล้ว (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน (ก) แยกโดยดําเนินการดังนี้ 1. ฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในบัตรเงินฝากของธนาคารดังกล่าวที่มีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปี ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ 1.1 ผู้รับฝากเงินหรือผู้ออกบัตรเงินฝากมีอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 18/2 วรรคสอง หรือมีรัฐบาลหรือกระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวน 1.2 กรณีที่เป็นเงินฝากหรือบัตรเงินฝากประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือบัตรเงินฝากดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด 2. ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวง การคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย 3. ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้รับอาวัลทั้งจํานวนหรือเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินหนึ่งปีและต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสารด้วย 4. ลงทุนในตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สั่งจ่ายหรือออกโดยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องมีอายุคงเหลือไม่เกินเก้าสิบวัน ไม่มีเงื่อนไขการห้ามขาย โอน หรือไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร และมีอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 18/2 5. ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)ที่มีนโยบายการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนทุกสิ้นวันทําการ 6. ลงทุนในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนซึ่งหลักทรัพย์ตาม 2. หรือ 3.ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 6.1 มีคู่สัญญาเป็นผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม 6.2 ใช้สัญญามาตรฐานตามที่สํานักงานยอมรับ 6.3 ระยะเวลาการรับชําระหนี้ของธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไม่เกินเก้าสิบวัน 6.4 มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนณ วันเริ่มต้นสัญญาสูงกว่าราคาซื้อหลักทรัพย์ในจํานวนที่สมเหตุสมผล โดยส่วนต่างดังกล่าวต้องคํานวณจากอัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ (initial margin) ซึ่งกําหนดขึ้นโดยคํานึงถึงปัจจัยความเสี่ยงของคู่สัญญาและหลักทรัพย์ที่ซื้อนั้น 6.5 มีการเรียกเงินหรือหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนลดลงต่ํากว่าราคาซื้อ x (1 +อัตราส่วนลดของหลักทรัพย์ที่ซื้อ) 6.6 ไม่มีการนําหลักทรัพย์ที่ได้รับจากธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนไปขายหรือโอนต่อ เว้นแต่เป็นการขายหรือโอนตามข้อกําหนดในธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืนนั้น (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเงินจํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ (ก) แยกโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทยโดยต้องระบุอย่างชัดเจนว่าหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นการฝากโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (ค)( แยกโดยการฝากไว้กับผู้รับฝากต่างประเทศ ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์รับดูแลรักษาทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าในฐานะที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยให้แยกไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (3) ทรัพย์สินอื่น ให้แยกไว้ในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) บริษัทหลักทรัพย์ต้องระบุอย่างชัดเจนในบัญชีเงินฝากหรือการลงทุนนั้นว่าเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มีการฝากเงินหรือลงทุนในทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) 1. หรือ 4. แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงอันดับความน่าเชื่อถือจนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน ข้อ 18/2 บริษัทหลักทรัพย์ต้องดําเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในโอกาสแรกที่ทําได้ โดยต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงอันดับ ความน่าเชื่อถือดังกล่าว ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่ง (1) (2) และ (3) เป็นทรัพย์สินเพื่อการซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ต้องแยกทรัพย์สินดังกล่าวในลักษณะที่สามารถ ชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย หรือระบุอย่างชัดเจนว่า การดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของลูกค้า ข้อ 18/1( ให้บริษัทหลักทรัพย์คํานวณมูลค่าของตราสารหรือหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์นําเงินของลูกค้าไปลงทุนตามข้อ 18(1) (ก) อย่างน้อยทุกวันทําการ โดยให้ใช้ราคาที่สามารถสะท้อนมูลค่าตลาดในปัจจุบันของตราสารหรือหลักทรัพย์แต่ละประเภท ข้อ 18/2( ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทหลักทรัพย์จะลงทุนตามข้อ 18วรรคหนึ่ง (1) (ก) 4. ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือ (issue rating) อยู่ในอันดับแรกสําหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น หรืออยู่ในสามอันดับแรกสําหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว ในกรณีที่ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินตามวรรคหนึ่งไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือในกรณีการฝากเงินหรือลงทุนในบัตรเงินฝากตามข้อ 18 วรรคหนึ่ง (1) (ก) 1. ให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือผู้รับฝากเงิน (issuer rating) แล้วแต่กรณี โดยต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่งด้วย ในกรณีที่ผู้ออก ผู้สั่งจ่าย หรือผู้รับฝากเงินตามวรรคสอง เป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ให้อันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคสองหมายความรวมถึงอันดับความน่าเชื่อถือสนับสนุน (support credit rating) ซึ่งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือประเมินจากแนวโน้มที่ธนาคารดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลเมื่อมีกรณีจําเป็นด้วย ข้อ 18/3( ในการพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามข้อ 18/2ให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ต้องพิจารณาเลือกใช้ข้อมูลโดยยึดหลักความรับผิดชอบและความระมัดระวัง (fiduciary duties) และไม่เลือกใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่จะส่งผลให้ทรัพย์สินของลูกค้ามีสภาพคล่องต่ําและมีความเสี่ยงสูง (cherry picking) (2) ต้องใช้ข้อมูลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งล่าสุดที่จัดทําโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดอันดับความน่าเชื่อถือสําหรับตราสารที่อยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการออกและเสนอขาย และเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน รวมทั้งต้องใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่สอดคล้องเหมาะสมกับระยะเวลาการลงทุนด้วย (3) ต้องมีการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ของผู้รับฝากเงิน ผู้ออกบัตรเงินฝาก ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน หรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการใช้อันดับความน่าเชื่อถือที่ประเมินโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้วย (4) ต้องพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของอันดับความน่าเชื่อถือที่เลือกใช้อย่างสม่ําเสมอโดยเฉพาะในกรณีที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายอื่นมีการปรับเปลี่ยนอันดับความน่าเชื่อถือ ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดทําและจัดเก็บคําอธิบายเหตุผลในการเลือกใช้อันดับความน่าเชื่อถือเพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ข้อ 19 บริษัทหลักทรัพย์อาจตกลงกับลูกค้าเพื่อกําหนดอัตราดอกผลที่บริษัทหลักทรัพย์จะคํานวณให้แก่ลูกค้าสําหรับยอดเงินจํานวนที่บริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามประกาศนี้ไว้ด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้ อัตราดอกผลดังกล่าวต้องไม่เกินอัตราที่บริษัทหลักทรัพย์ จะได้รับจริงจากการฝากเงินหรือลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินหรือการลงทุนในลักษณะอื่น ข้อ 20 ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําเงินของลูกค้าที่ได้แยกไว้ตามข้อ 18 ไปเป็นหลักประกันหนี้เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นหรือของบริษัทหลักทรัพย์เอง ข้อ 21 ภายใต้บังคับข้อ 18(1) (ก) ห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์นําเงินจํานวนที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนกับสถาบันการเงินที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม เว้นแต่ลูกค้าจะแสดงความยินยอมโดยชัดแจ้ง คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ “บริษัทร่วม” ตามวรรคหนึ่ง ให้อนุโลมตาม บทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ 22 ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าไว้เองไม่ว่าการจัดเก็บจะกระทําในสถานที่ของบริษัทหลักทรัพย์เองหรือใช้สถานที่ของบุคคลอื่น สถานที่นั้นต้องมีความมั่นคงและปลอดภัย และในกรณีที่เป็นการใช้สถานที่ของบุคคลอื่น บริษัทหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้บุคคลอื่นนั้นทราบอย่างชัดเจนด้วยว่าทรัพย์สินที่นํามาเก็บรักษาเป็นทรัพย์สินของลูกค้า หมวด4 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 23 ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 24 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2543 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2543 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,571
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สท. 7/2559 เรื่อง การเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สท. 7/2559 เรื่อง การเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ โดยที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กําหนดให้ นายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเลิกตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว นายทะเบียนกองทุน สํารองเลี้ยงชีพจึงประกาศการเลิกกองทุนสํารองเลี้ยงชีพไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทซิก้า (ประเทศไทย) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 44/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ข้อ ๒ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัท ทรู วิชั่นส์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 17/2542 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ข้อ ๓ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ฮัพซูน โกลบอลกรุ๊ป ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 8/2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ข้อ ๔ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท เอ็นทีเอ็น แบริ่ง-ประเทศไทย จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 187/2533 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2558 ข้อ ๕ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ บริษัท ลินฟ้อกซ์ เอ็ม โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 16/2536 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ข้อ ๖ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซีเอ็ดเกษียณรวย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 1/2547 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2558 ข้อ ๗ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ มาเลเซียนแอร์ไลนส์ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ทะเบียนเลขที่ 55/2539 ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2558 ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
1,572
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 13/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจำกัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม และหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 6)
-ร่าง- ร่างประกาศตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ที่ผ่านการพิจารณาของฝ่ายพัฒนากฎเกณฑ์ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 04/09/2018 CSDS เลขที่ 76/2561... ครั้งที่ 1 ผ่านทาง.....CSDS... ... ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 13/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวม และหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 117 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 11/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนตามข้อ 7 ให้มีข้อยกเว้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นบุคคลดังนี้ (ก) กองทุนดังนี้ 1. กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ 2. กองทุนประกันสังคม 3. กองทุนการออมแห่งชาติ 4. กองทุนบําเหน็จบํานาญแห่งชาติ 5. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 6. กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป 7. กองทุนอื่นใดที่สํานักงานพิจารณาว่ามีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนตาม 1. ถึง 6. 8. กองทุนต่างประเทศที่มีลักษณะตาม 1. ถึง 7. (ข) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยนอกเหนือจากกองทุนตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) ซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ค) บุคคลซึ่งลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้โครงการระหว่างประเทศโดยเป็นการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนที่มิได้มีสัญชาติไทยหรือผ่านบัญชีแบบไม่เปิดเผยชื่อ (omnibus account) (ง) บุคคลอื่นที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานเมื่อมีเหตุจําเป็นและสมควร (2) กรณีที่เป็นการถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีลักษณะครบถ้วนตามข้อ 8/1 ดังนี้ (ก) กองทุนรวมอีทีเอฟ เฉพาะกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่หรือผู้ดูแลสภาพคล่องที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” และ “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” ตาม (2) (ก) ให้หมายความถึงผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ดูแลสภาพคล่อง ตามที่กําหนดไว้ในประกาศที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและการจัดการกองทุนรวมอีทีเอฟ (ข) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีการรับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของหน่วยลงทุนที่รองรับการรับโอนเงินดังกล่าว “เงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” ให้หมายความดังนี้ 1. เงินที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรับโอนจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 2. เงินที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพรับโอนต่อเนื่องจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น 3. ผลประโยชน์อันเกิดจากเงินตาม 1. และ 2. (ค) กรณีอื่นนอกเหนือจากกรณีตาม (2) (ก) และ (ข) ซึ่งเป็นการถือหน่วยลงทุนที่มีระยะเวลาติดต่อกันไม่เกินหนึ่งปี เว้นแต่ ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานเนื่องจากมีเหตุจําเป็นและสมควรโดยพิจารณาถึงประโยชน์โดยรวมของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวเป็นสําคัญ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 8/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 46/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและหน้าที่ของบริษัทจัดการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 “ข้อ 8/1 กองทุนรวมที่จะได้รับการยกเว้นตามข้อ 8(2) ต้องมีลักษณะครบถ้วนดังต่อไปนี้ (1) การถือหน่วยลงทุนของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันใดเกินกว่าข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน ต้องมิได้เป็นไปโดยมุ่งแสวงหาประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากประโยชน์ทั่วไปที่พึงได้รับจากการลงทุน เช่น เงินปันผล หรือสิทธิออกเสียง เป็นต้น (2) มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมรับทราบถึงการมีผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือเกินกว่าข้อจํากัดการถือหน่วยลงทุน ซึ่งอาจกระทบต่อการบริหารจัดการกองทุนรวมหรือการเลิกกองทุนรวมได้” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,573
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 8/2559 เรื่อง การจดแจ้งการเป็นบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนและทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 8/2559 เรื่อง การจดแจ้งการเป็นบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน และทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และโดยที่มาตรา 5(4) และมาตรา 9(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 597) พ.ศ. 2559 กําหนดให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนและทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต้องจดแจ้ง การเป็นกิจการเงินร่วมลงทุนหรือทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด สํานักงานจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในบริษัทเป้าหมาย “บริษัทเป้าหมาย” หมายความว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน และต้องไม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “กิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน” หมายความว่า กิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนซึ่งประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมตามที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 597) พ.ศ. 2559 กําหนด “ทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน” หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทธุรกรรมในตลาดทุนที่ให้ใช้ทรัสต์ได้ “ทรัสตี” หมายความว่า ทรัสตีของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๓ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนและทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนที่ประสงค์จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 597) พ.ศ. 2559 อยู่ภายใต้บังคับของประกาศนี้ หมวด ๒ การจดแจ้งการเป็นบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๔ ให้บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนยื่นคําขอจดแจ้งต่อสํานักงานตาม[แบบ VC-1](http://capital.sec.or.th/webapp/nrs/data/6904a3.doc) ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) สําเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (2) สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท (3) สําเนาข้อบังคับบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์รับรอง (4) สําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์รับรอง (5) งบการเงิน (ถ้ามี) ข้อ ๕ บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนต้องจัดทํารายงานการลงทุนตาม[แบบ VC-2](http://capital.sec.or.th/webapp/nrs/data/6904a1.xlsx) ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และส่งให้สํานักงานภายใน 5 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี หมวด ๓ การจดแจ้งการเป็นทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน ข้อ ๖ ให้ทรัสตีที่ประสงค์จะจดแจ้งการเป็นทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนยื่นคําขอจดแจ้งต่อสํานักงานตาม[แบบ PE Trust-2](http://capital.sec.or.th/webapp/nrs/data/6904a2.doc) ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอดังต่อไปนี้ (1) สําเนาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (2) หนังสือรับรองจากทรัสตีที่รับรองว่าทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนมิได้มีลักษณะเพื่อแสวงหาประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (private trust) (3) สําเนารายชื่อผู้ถือหน่วยทรัสต์หรือผู้รับประโยชน์ (4) งบการเงิน (ถ้ามี) ข้อ ๗ ทรัสตีต้องจัดทํารายงานการลงทุนของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนตาม[แบบPE Trust-3](http://capital.sec.or.th/webapp/nrs/data/6904a0.xlsx) ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และส่งให้สํานักงานภายใน 5 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,574
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 13/2559 เรื่อง การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 13/2559 เรื่อง การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลเป็นตัวแทนด้านการตลาด กองทุนส่วนบุคคล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 วรรคสอง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทข. 35/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทจัดการตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนลูกค้าให้ทําสัญญากับบริษัทจัดการ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลที่มอบหมายหรือจะมอบหมายให้บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทจัดการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่เป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คําว่า “ลูกค้า” หมายความถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ “สัญญา” หมายความว่า สัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (4) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย (5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของสาขาในประเทศไทย ในกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ แล้วแต่กรณี หมวด ๑ การให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาด กองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๓ นิติบุคคลที่จะได้รับความเห็นชอบให้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงิน หรือเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท (2) มีหรือจะมีระบบการรับลูกค้าและระบบการเก็บรักษาความลับของลูกค้าที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) มีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากร โดยต้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งเป็นบุคคลที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้วางแผนการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (4) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (5) ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ (ข) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (ค) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (ง) ดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้ความรู้ความสามารถและความชํานาญ ไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังตามมาตรฐานที่พึงจะกระทํา ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานจะพิจารณาประวัติการถูกเพิกถอนตามวรรคหนึ่ง (5)(ก) และการมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5)(ข) ถึง (ง) ภายในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลังก่อนวันที่ยื่นคําขอ ลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานอาจไม่นํามาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบ หากปรากฏว่าสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นนั้นได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่ง (5) ในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๔ การยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๕ สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอความเห็นชอบ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๖ ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะตั้งนิติบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล ให้ถือว่านิติบุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (2) นิติบุคคลที่ได้รับการตั้งให้เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนในประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตั้งตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนและตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล (3) นิติบุคคลที่สามารถประกอบการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลได้ตามกฎหมายของประเทศที่บริษัทจัดการจะตั้งนิติบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลในประเทศนั้น หมวด ๒ มาตรฐานการให้บริการของตัวแทนการตลาด กองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลที่แสดงว่าจะมีความพร้อมเกี่ยวกับระบบงานและบุคลากรภายหลังได้รับความเห็นชอบ ก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะเริ่มให้บริการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล บุคคลดังกล่าวต้องขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นว่ามีความพร้อมของระบบงานและบุคลากรแล้ว ข้อ ๘ ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงและเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ (2) มีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีมติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ (3) แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนแปลงระบบงานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ระบบงานที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่ด้อยกว่าระบบงานที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง (2) หรือข้อ 7 แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องดูแลให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยอนุโลม ข้อ ๑๐ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพและเป็นธรรม ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ลูกค้าทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน (3) ได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนส่งรายชื่อของลูกค้าให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่ที่กฎหมายกําหนด ข้อ ๑๑ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูกเอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้ (1) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน (2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้า (3) รับมอบหรือจ่ายทรัพย์สินของลูกค้า หมวด ๓ มาตรการบังคับตัวแทนด้านการตลาด กองทุนส่วนบุคคล ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคลรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งระงับการเป็นตัวแทนด้านการตลาดกองทุนส่วนบุคคล หรือสั่งระงับการให้ความเห็นชอบตามข้อ 6 เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด (2) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง (2) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,575
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจำกัดโดยผู้ถือหุ้น
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขาย หุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ (2) คําว่า “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้บริหาร” และ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ ข้อ ๒ การเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้นตามมาตรา 34 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินห้าสิบรายภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆ (ข) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนสถาบัน หรือ (ค) การเสนอขายหุ้นซึ่งผู้ขายและผู้ซื้อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจํากัดนั้น (2) ไม่มีการโฆษณาการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นการทั่วไป เว้นแต่เป็นการแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับหุ้นที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขายให้กับบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลเท่าที่จําเป็น เพื่อให้การเสนอขายหุ้นดังกล่าวอยู่ภายในลักษณะที่กําหนดไว้ใน (1) เท่านั้น การนับจํานวนผู้ลงทุนตาม (1) (ก) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนตาม (1) (ข) และ (ค) ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน ข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาลักษณะการเสนอขายหุ้นตามข้อ 2 ให้ถือปฏิบัติว่าในกรณีที่มีผู้ถือหุ้นหลายรายร่วมกันเสนอขายหุ้นซึ่งออกโดยบริษัทเดียวกัน หรือเสนอขายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ให้นับรวมการเสนอขายของผู้ถือหุ้นทุกราย เป็นการเสนอขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นเพียงหนึ่งราย ทั้งนี้ การร่วมกันเสนอขายหุ้นดังกล่าวให้รวมถึงพฤติการณ์ ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ผู้ถือหุ้นแต่ละรายเสนอขายหุ้นในราคาและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และ (2) ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ถือหุ้นแต่ละรายเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน (ข) ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทย่อย หรือเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว (ค) เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละรายในที่สุดไปสู่บุคคลเดียวกัน ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,576
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจำกัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขาย หุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 “(3) “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 การเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้นตามมาตรา 34 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจํานวนไม่เกินห้าสิบรายภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือนใด ๆ (ข) การเสนอขายหุ้นต่อผู้ลงทุนสถาบัน (ค) การเสนอขายหุ้นซึ่งผู้ขายและผู้ซื้อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจํากัดนั้น (ง) การเสนอขายหุ้นผ่านผู้ให้บริการต่อผู้ลงทุนที่สามารถเสนอซื้อหรือซื้อหุ้นผ่านผู้ให้บริการได้ (2) ไม่มีการโฆษณาการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นการทั่วไป เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการโฆษณาเพื่อเสนอขายหุ้นผ่านผู้ให้บริการเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบดังกล่าว (ข) เป็นการแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับหุ้นที่จะเสนอขายหรือกําลังเสนอขายให้กับบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือบุคคลเท่าที่จําเป็น เพื่อให้การเสนอขายหุ้นดังกล่าวอยู่ภายในลักษณะที่กําหนดไว้ใน (1) เท่านั้น การนับจํานวนผู้ลงทุนตาม (1) (ก) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนตาม (1) (ข) (ค) และ (ง) ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทําในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,577
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจำกัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขาย หุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต คําว่า “นิติบุคคลร่วมลงทุน” และ “กิจการเงินร่วมลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน คําว่า “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้บริหาร” และ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (1) ในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) การเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน กิจการเงินร่วมลงทุน นิติบุคคลร่วมลงทุน หรือผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,578
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจำกัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 50/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขาย หุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และผู้ลงทุนรายใหญ่ “ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะ” หมายความว่า ผู้ลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต “ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์” หมายความว่า บุคคลใด ๆ ซึ่งซื้อหุ้นจากผู้เสนอขายโดยมีข้อผูกพันไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายที่จะนําหุ้นนั้นไปเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นของผู้เสนอขายดังกล่าวอีกทอดหนึ่ง ตามสัดส่วนการถือหุ้น “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ คําว่า “นิติบุคคลร่วมลงทุน” และ “กิจการเงินร่วมลงทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน คําว่า “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้บริหาร” และ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (จ) ใน (1) ของวรรคหนึ่งในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 22/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 “(จ) การเสนอขายหุ้นซึ่งผู้เสนอขายเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียนในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ เพื่อการปรับโครงสร้างการถือหุ้นตามแผนการควบรวมกิจการ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในข้อ 2/1 ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นโดยตรงหรือเสนอขายผ่านผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับหุ้นที่เสนอขายนั้นในที่สุด 1. การเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น 2. การเสนอขายตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวที่ให้เสนอขายต่อผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยไม่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นที่จะทําให้ผู้เสนอขายมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 2/1 การเสนอขายหุ้นตามข้อ 2 วรรคหนึ่ง (1) (จ) ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเสนอขายหุ้นตามมติที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้เสนอขาย โดยราคาเสนอขายหรือหลักเกณฑ์การกําหนดราคาเสนอขายต้องสมเหตุสมผลโดยคํานึงถึงมูลค่ายุติธรรมของหุ้นที่เสนอขาย (2) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้ส่งเพื่อการประชุมตาม (1) ต้องมีข้อมูลอันเป็นสาระสําคัญเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดของการเสนอขายราคาเสนอขายหรือหลักเกณฑ์การกําหนดราคาเสนอขาย ขั้นตอนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการควบรวมกิจการ ข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลของราคาเสนอขายหรือหลักเกณฑ์การกําหนดราคาเสนอขายดังกล่าว (3) ผู้เสนอขายจัดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นอิสระรับหุ้นที่จะเสนอขายดังกล่าวไปจําหน่ายต่อผู้ถือหุ้นของผู้เสนอขายตามสัดส่วนการถือหุ้นตามข้อ 2 วรรคหนึ่ง (1) (จ) 1. หรือ 2. เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานในกรณีที่แสดงได้ว่ามีมาตรการทดแทนที่จะทําให้เชื่อมั่นได้ว่าผู้ถือหุ้นจะได้รับการประเมินความเหมาะสมก่อนการลงทุนในหุ้นดังกล่าว (4) ผู้เสนอขายแจกจ่ายข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิจองซื้อหุ้นเป็นการล่วงหน้าในระยะเวลาที่เพียงพอต่อการศึกษาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจลงทุนซึ่งไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวันเริ่มต้นการจองซื้อ ทั้งนี้ ผู้เสนอขายต้องไม่โฆษณาการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นการทั่วไป เว้นแต่เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในการแจ้งข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงสิทธิและการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นดังกล่าว (5) ผู้เสนอขายต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นที่จะยกเลิกการจองซื้อหุ้นภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามที่กําหนดในข้อมูลที่แจกจ่ายตาม (4) โดยผู้เสนอขายต้องคืนเงินค่าจองซื้อให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ยกเลิกการจองซื้อตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคืนเงินค่าจองซื้อที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ โดยอนุโลม (6) การเสนอขายหุ้นดังกล่าวแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นตาม (1) แต่ต้องไม่เกินสามเดือนในกรณีที่ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติราคาเสนอขายหุ้นไว้อย่างชัดเจน หรือไม่เกินหนึ่งปีในกรณีที่ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติหลักเกณฑ์การกําหนดราคาเสนอขาย แล้วแต่กรณี (7) ในกรณีที่ผู้เสนอขายจัดให้มีผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ ผู้เสนอขายต้องจัดให้มีข้อตกลงเพื่อให้ผู้รับช่วงซื้อหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใน (3) (4) (5) และ (6) และรายงานผลการขายตามข้อ 3/1 โดยอนุโลม” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 8/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเสนอขายหุ้นของบริษัทจํากัดโดยผู้ถือหุ้น ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 “ข้อ 3/1 ให้ผู้เสนอขายหุ้นตามข้อ 2 วรรคหนึ่ง (1) (จ) รายงานผลการขายหุ้นต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่เสนอขายหุ้น (2) ประเภทหุ้นที่เสนอขาย (3) จํานวนหุ้นที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนหุ้นที่ขายได้ทั้งหมด (4) ราคาของหุ้นที่เสนอขาย (5) ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อหุ้น และจํานวนที่ผู้ซื้อหุ้นแต่ละรายได้รับจัดสรร (6) ชื่อ สถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รายงานผลการขาย” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,579
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สม. 17/2559 เรื่อง การกำหนดค่าธรรมเนียมคำขออนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สม. 17/2559 เรื่อง การกําหนดค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียน ของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19(3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการกําหนดค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติจัดตั้งและการจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ข้อ ๒ ค่าธรรมเนียมคําขออนุมัติจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ให้คิดในอัตรา 10,000 บาท ข้อ ๓ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ให้คิดในอัตรา 10,000 บาท ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,580
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 มาตรา 115 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น (1) คําว่า “บริษัท” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (2) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังต่อไปนี้กับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุม ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ก) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าว ซึ่งหมายถึง 1. บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว 2. บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม 1. เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น 3. บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม 2. โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่งให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย (ค) บริษัทที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึง 1. บริษัทที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (ก) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น 2. บริษัทที่บริษัทตาม 1. ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น 3. บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม 2. ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น (3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้อนุพันธ์ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (4) “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (5) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือพนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปที่รับผิดชอบสายงานที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจัดสรรหลักทรัพย์ หรือสายงานที่มีโอกาสได้รับข้อมูลภายในที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์หรือบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงของหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่าย รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าว (6) “วันปิดการเสนอขาย” หมายความว่า วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ สําหรับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ในกรณีทั่วไป (7) “วันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ” หมายความว่า วันที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินสามารถจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบตามจํานวนที่มีหน้าที่ส่งมอบหรือส่งคืน สําหรับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดสรรหุ้นส่วนเกิน ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่าย (8) “ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดหาหุ้นส่วนเกินเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรหรือส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืมตามข้อผูกพันในการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (9) “จัดสรรหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า การจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่าย โดยการจัดสรรหุ้นเกินจํานวนดังกล่าวได้กระทําไปพร้อมกับการเสนอขายหุ้นที่จัดจําหน่าย (10) “บริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า (ก) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นในผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น (ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทหลักทรัพย์นั้น (ค) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวและในผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทหลักทรัพย์และผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (11) “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีข้อความตรงกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน (12) “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง (organized market) สะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โดยการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีที่กองทุนรวมอีทีเอฟนั้นอ้างอิง (13) “กองทุนรวมอีทีเอฟ” หมายความว่า กองทุนรวมอีทีเอฟตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนรวมและการเข้าทําสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล (14) “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (15) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการรับจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ข้อ ๓ ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน (1) หุ้นที่ออกหรือเสนอขายโดยบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (2) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ซึ่งออกหรือเสนอขายโดยบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (3) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง และหุ้นที่เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงนั้นออกโดยบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ข้อ ๔ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จองซื้อหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย ข้อ ๖ ภายใต้บังคับข้อ 8 ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ (1) ตนเองหรือผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ร่วมจัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น (2) กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย ของบุคคลตาม (1) และผู้ที่เกี่ยวข้อง (3) กองทุนรวมซึ่งบุคคลตาม (1) หรือ (2) ถือหน่วยลงทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบขึ้นไปของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด (4) กองทุนรวมซึ่งบุคคลตาม (1) หรือ (2) ถือหน่วยลงทุนไม่เกินร้อยละห้าสิบของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และบุคคลตาม (1) แทรกแซงการดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจองหรือการจัดสรรหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่จัดการกองทุนรวมนั้น เพื่อให้กองทุนรวมดังกล่าวได้รับประโยชน์ในลักษณะที่ไม่เป็นไปตามหลักการจัดสรรหลักทรัพย์อย่างเท่าเทียมกัน และ (5) บุคคลที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ถูกห้ามมิให้จัดสรรหลักทรัพย์ให้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ข้อ ๗ ข้อห้ามในการจองซื้อหลักทรัพย์ตามข้อ 5 หรือข้อห้ามในการจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลตามข้อ 6 มิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) การรับจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ และผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 5 หรือบุคคลตามข้อ 6 เป็นผู้มีสิทธิจองซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายดังกล่าว (ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งจํานวนให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ และได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว 1. ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ 2. กรรมการและพนักงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ 3. เจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหรือตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ 4. ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามสัดส่วนการถือหุ้นที่มีอยู่เดิม (rights offering) 5. ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้เดิม (renew) 6. บุคคลอื่นใดที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าบุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายได้ด้วยตนเองและการเสนอขายหลักทรัพย์ให้กับบุคคลดังกล่าวไม่จําต้องนําหลักการจัดสรรหลักทรัพย์อย่างเท่าเทียมกันมาใช้บังคับ (fair allocation) (ข) การเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีการแบ่งแยกจํานวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายให้แก่บุคคลตาม (ก) 2. 3. 4. หรือ 5. ออกจากหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว (2) การจัดสรรหลักทรัพย์ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด ข้อ ๘ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่บริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหุ้นหรือหุ้นอ้างอิงนั้น ข้อ ๙ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องจัดให้การแจกใบจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน กระทําไปพร้อมกับการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ ในรูปแบบเดียวกับที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่สามารถแจกจ่ายได้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ โดยอนุโลม ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ลงทุนแสดงเจตนาโดยสมัครใจที่จะไม่รับข้อมูลนั้น ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มิใช่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวน ตั้งแต่สิบห้าวันก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์ จนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่จัดทําโดยผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เผยแพร่บทความหรืองานวิจัยที่จัดทําขึ้นโดยตนเองหรือผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ร่วมจัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง อันเป็นบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย หรือหลักทรัพย์อื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายในลักษณะที่การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับหลักทรัพย์นั้นอาจมีผลกระทบโดยตรงต่อราคาของหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย ตั้งแต่สิบห้าวันก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์ จนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบทความหรืองานวิจัยที่มีลักษณะครบถ้วนตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ และไม่เป็นบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ประเภทหุ้นที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (initial public offering) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นนั้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือเกี่ยวกับหลักทรัพย์ประเภทใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง (1) เป็นบทความหรืองานวิจัยที่แสดงอยู่ในเอกสารที่จัดทําและเผยแพร่ต่อสาธารณชนอยู่เป็นประจําในธุรกิจปกติ (2) เนื้อหาของบทความหรืองานวิจัยเป็นการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อมูลที่เคยเผยแพร่มาก่อนหน้านั้น (3) เนื้อหาของบทความหรืองานวิจัยต้องไม่เน้นหรือให้ความสําคัญเป็นพิเศษกับหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายหรือหลักทรัพย์อื่นที่มีความเกี่ยวข้อง โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับบทความหรืองานวิจัยในหลักทรัพย์อื่นทั่วไปที่เคยจัดทําและเผยแพร่มาก่อน และ (4) ในบทความหรืองานวิจัยมีข้อความที่แสดงให้ผู้ลงทุนทราบถึงส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้จัดทําบทความหรืองานวิจัยดังกล่าวในหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายนั้น โดยตัวอักษรของข้อความต้องมีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการจัดทําบทความหรืองานวิจัยนั้น และอยู่ในหน้าเดียวกับสรุปความเห็นของบทความหรืองานวิจัย หรือตําแหน่งใกล้เคียงที่ผู้ลงทุนสามารถเห็นได้ชัดเจน ข้อ ๑๒ ในช่วงระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จะเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยที่จัดทําขึ้นโดยตนเองหรือผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ร่วมจัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง อันเป็นบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย หรือหลักทรัพย์อื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายในลักษณะที่การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับหลักทรัพย์นั้นอาจมีผลกระทบโดยตรงต่อราคาของหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย ได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) มีการแสดงข้อความในบทความหรืองานวิจัยนั้นเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้จัดทําบทความหรืองานวิจัยดังกล่าวในหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายนั้น รวมทั้งจํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องรับซื้อตามสัญญาการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และ (2) ตัวอักษรของข้อความตาม (1) ต้องมีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการจัดทําบทความหรืองานวิจัยนั้น และอยู่ในหน้าเดียวกับสรุปความเห็นของบทความหรืองานวิจัย หรือตําแหน่งใกล้เคียงที่ผู้ลงทุนสามารถเห็นได้ชัดเจน ข้อ ๑๓ ในการดําเนินการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติดังนี้ (1) ต้องนําเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์เข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหลักทรัพย์ของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ หรือแยกเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ออกจากบัญชีทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เรียกเก็บเงินจากผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้ โดยต้องไม่นําเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวไปใช้ในกิจการใด ๆ (2) ต้องจัดให้มีข้อตกลงกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรภายในสิบสี่วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย หากไม่สามารถคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว จะต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลานั้น (ข) การห้ามมิให้มีการนําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่คาดว่าจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งหมดไปใช้ในกิจการใด ๆ ก่อนที่จะดําเนินการเพื่อคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรแล้วเสร็จ (3) ต้องรายงานผลการจัดสรรหลักทรัพย์ต่อสํานักงานร่วมกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (4) ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หากการจัดสรรหุ้นของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รายใด ไม่ได้ใช้กระบวนการจัดสรรที่ให้โอกาสแก่ผู้จองซื้อทุกรายอย่างเป็นธรรม ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รายนั้นต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (ก) จัดทํารายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรสูงสุดหนึ่งร้อยรายแรก พร้อมด้วยเหตุผลของการจัดสรรให้ผู้ได้รับการจัดสรรแต่ละราย โดยแยกรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรดังกล่าวตามข้อมูลการจัดสรรของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์แต่ละราย และส่งต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขายหลักทรัพย์ รายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรสูงสุดตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับการจัดสรรในฐานะกรรมการหรือพนักงาน หรือผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้น (ข) จัดทํารายงานสรุปข้อมูลการจัดสรรหุ้นระหว่างกลุ่มลูกค้าที่มีบัญชีและมีการซื้อขายหลักทรัพย์กับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ก่อนการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ กับกลุ่มที่มิใช่ลูกค้าดังกล่าว โดยแสดงจํานวนผู้ได้รับการจัดสรร จํานวนและมูลค่าหุ้นที่จัดสรรให้บุคคลแต่ละกลุ่ม (ค) จัดเก็บเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลสนับสนุนเหตุผลการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรทุกรายที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ไว้ ณ ที่ทําการแห่งใหญ่ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันปิดการเสนอขาย ในลักษณะที่พร้อมแสดงต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อได้รับการร้องขอ การจัดสรรที่ให้โอกาสแก่ผู้จองซื้อทุกรายอย่างเป็นธรรมตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการจัดสรรหุ้นส่วนที่แบ่งแยกไว้สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน กรรมการหรือพนักงานของบริษัทที่ออกหุ้น ลูกค้าที่มีบัญชีและมีการซื้อขายหลักทรัพย์กับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ก่อนการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ หรือผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้น (ถ้ามี) เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง “กระบวนการจัดสรรที่ให้โอกาสแก่ผู้จองซื้อทุกรายอย่างเป็นธรรม” หมายถึง กระบวนการที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์กําหนดหน่วยการจองซื้อ (board lot) ไว้ และจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อทุกรายอย่างเท่าเทียมกันครั้งละหนึ่งหน่วยการจองซื้อ จนครบจํานวนหุ้นที่รับจัดจําหน่าย หรือกระบวนการอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน (5) ต้องไม่เสนอขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งร่วมกับหลักทรัพย์อื่น เว้นแต่จะได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน (6) ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รายใด หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และมิใช่การจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ต้องห้ามตามข้อ 3 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รายนั้นต้องเปิดเผยความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและบุคคลดังกล่าวต่อผู้ลงทุนด้วย (7) แจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องทราบถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามข้อ 16 (8) แจ้งรายชื่อบุคคลที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ถูกห้ามมิให้จัดสรรหลักทรัพย์ให้ตามข้อ 6 ให้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมหรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่แสดงความสนใจจองซื้อหลักทรัพย์ทุกบริษัททราบ ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ตั้งแต่ห้าวันทําการก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์ จนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี (1) หุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้นหรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (2) หุ้นอ้างอิงของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือหุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์ หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นอ้างอิงดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ (3) หุ้นอ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยหรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยดังกล่าว ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการซื้อหรือขายในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การซื้อจากผู้เสนอขายหลักทรัพย์หรือการขายแก่ผู้ลงทุน ตามสัญญาการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (2) การซื้อหรือการขายตามคําสั่งของลูกค้าซึ่งมิได้เกิดจากการชี้นําหรือชักจูงของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (unsolicited purchase or sale) (3) การซื้อเพื่อบัญชีหลักทรัพย์ของตนเอง ซึ่งเป็นผลจากความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า (4) การซื้อเพื่อบัญชีหลักทรัพย์ของตนเอง โดยปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับจัดสรรหุ้นส่วนเกินหรือส่งคืนผู้ให้ยืมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย (5) การซื้อเพื่อบัญชีหลักทรัพย์ของตนเอง ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้นปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของกองทุนรวมอีทีเอฟ หากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจัดให้มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์แล้ว ข้อ ๑๕ ในกรณีหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายเป็นหุ้นและสัญญาการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีการระบุข้อผูกพันเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นส่วนเกินไว้ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินต้องควบคุมดูแลมิให้พนักงานของตนที่มีส่วนร่วมในการจัดหาหุ้นส่วนเกินซื้อหรือขายหุ้นตามข้อ 14 วรรคหนึ่งด้วย โดยอนุโลม ข้อ ๑๖ ให้นําความในข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 14 มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง โดยอนุโลม ข้อ ๑๗ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 14/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 14/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 14/2546 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,581
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 3/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 3 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 มาตรา 115 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้อนุพันธ์ ศุกูก ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใดกําหนดให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องแจกเอกสารสรุปลักษณะสําคัญและความเสี่ยงของตราสาร (fact sheet) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการแจกเอกสารดังกล่าวซึ่งมีรายละเอียดสอดคล้องกับแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแนบไปพร้อมกับการแจกใบจองซื้อหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งด้วย” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อเพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ให้ครอบคลุมถึงศุกูก และเพิ่มช่องทางให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลโดยย่อเกี่ยวกับลักษณะสําคัญและความเสี่ยงของตราสารดังกล่าวด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,582
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 11/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 11/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ ตั้งแต่ห้าวันทําการก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์ จนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี (1) หุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์นั้น หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (2) หุ้นอ้างอิงของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์ หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นอ้างอิงดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ (3) หุ้นอ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยดังกล่าว ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์อ้างอิง ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการซื้อหรือการขายในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การซื้อจากผู้เสนอขายหลักทรัพย์ หรือการขายแก่ผู้ลงทุน ตามสัญญาการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (2) การซื้อหรือการขายตามคําสั่งของลูกค้า ซึ่งมิได้เกิดจากการชี้นําหรือชักจูงของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (unsolicited purchase or sale) (3) การซื้อหรือการขายเพื่อบัญชีหลักทรัพย์ของตนเอง ซึ่งเป็นผลจากความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า (4) การซื้อเพื่อบัญชีหลักทรัพย์ของตนเอง โดยปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับจัดสรรหุ้นส่วนเกินหรือส่งคืนผู้ให้ยืมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดสรรหุ้นเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย (5) การซื้อเพื่อบัญชีหลักทรัพย์ของตนเอง ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของกองทุนรวมอีทีเอฟ หากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจัดให้มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์แล้ว (6) การซื้อหรือการขายเพื่อบัญชีหลักทรัพย์ของตนเอง เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้นเป็นผู้ออกตราสารที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย หากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจัดให้มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดให้มีระบบงานสําหรับการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อบริษัทหลักทรัพย์แล้ว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ได้มีการ ออกตราสารที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย สามารถบริหารความเสี่ยงโดยการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นได้ รวมทั้งผ่อนคลายให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์สามารถขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีหลักทรัพย์ของตนเอง ซึ่งเป็นผลจากความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,583
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ============================ ที่ ทธ. 24 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “(3) การรับจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้อนุพันธ์ หรือศุกูก ที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไป และผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 5 หรือบุคคลตามข้อ 6 สามารถจองซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายดังกล่าวได้ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (ก) ในขั้นตอนการสํารวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ (book building) ต้องไม่นําราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ไปรวมคํานวณกับราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนรายอื่นที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สํารวจความต้องการซื้อเพื่อใช้กําหนดราคาเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (ข) จํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรให้กับตนเองและบุคคลตามข้อ 6 ทุกรายรวมกัน ต้องไม่เกินกว่าจํานวนหลักทรัพย์ที่จัดสรรให้กับผู้ลงทุนที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สํารวจความต้องการซื้อหารด้วยจํานวนผู้ลงทุนดังกล่าวที่ได้รับจัดสรร (ค) ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนต้องมีการเปิดเผยว่าผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์และบุคคลตามข้อ 6 สามารถจองซื้อและได้รับการจัดสรรหลักทรัพย์ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดตาม (ก) และ (ข)” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ------------------------------------- (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,584
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 40 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 40 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 3/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่การเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทใดกําหนดให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องแจกสรุปข้อมูลสําคัญของตราสาร (fact sheet) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการแจกเอกสารดังกล่าวซึ่งมีสาระตรงตามสรุปข้อมูลสําคัญของตราสารที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูล ในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์หรือแผ่นบันทึกข้อมูลไปพร้อมกับการแจกใบจองซื้อหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,585
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 22 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 3/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ศุกูก ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (1) ในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) การเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งจํานวนให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ และได้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนแล้ว 1. ผู้ลงทุนสถาบันตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ 2. กรรมการและพนักงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือของบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ 3. เจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหรือตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ 4. ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามสัดส่วนการถือหุ้นที่มีอยู่เดิม (rights offering) 5. ผู้ถือหุ้นกู้หรือตั๋วเงินของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์เพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้หรือตั๋วเงินเดิม (renew) 6. บุคคลอื่นใดที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์แสดงต่อสํานักงานได้ว่าบุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายได้ด้วยตนเองและการเสนอขายหลักทรัพย์ให้กับบุคคลดังกล่าวไม่จําต้องนําหลักการจัดสรรหลักทรัพย์อย่างเท่าเทียมกันมาใช้บังคับ (fair allocation)” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,586
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 50/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 50 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 22 /2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ศุกูก ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย และหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “(4) หน่วยทรัสต์ที่บริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ทรัสตี ผู้ที่จะเป็นทรัสตี หรือผู้เสนอขายในฐานะที่เป็นเจ้าของหน่วยทรัสต์” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,587
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 55/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 55 /2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 40/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 “ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้น ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องแจกข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) ที่ปรากฏในส่วนที่ 1 ของแบบแสดงรายการข้อมูล ไปพร้อมกับการแจกใบจองซื้อหลักทรัพย์ด้วย” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,588
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (4) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 50/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับ ตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ข้อ 3/1 ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับจัดจําหน่ายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์สามารถแสดงต่อสํานักงานได้ว่ามีกลไกหรือมาตรการที่จะทําให้สามารถปฏิบัติหน้าที่การเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้อย่างเป็นอิสระ (1) หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นผู้ที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์ดังกล่าว (2) หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้เสนอขายในฐานะที่เป็นเจ้าของหน่วยทรัสต์” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,589
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 มาตรา 115 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 3/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 11/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 40/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 50/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 55/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 หมวด ๑ บททั่วไป ส่วน ๑ สาระสําคัญของข้อกําหนด ข้อ ๓ ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ นอกจากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้ว ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ในกรณีที่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามประกาศนี้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ต้องห้ามมิให้รับทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 2 (2) หลักเกณฑ์การให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 3 (3) การจัดสรรหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 4 (4) การซื้อขายหุ้นและหน่วยทรัสต์ในระหว่างการให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 5 (5) ข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามหมวด 6 (6) การรายงานผลการจัดสรรหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 7 ข้อ ๕ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้ และหากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ส่วน ๒ บทนิยาม ข้อ ๖ ในประกาศนี้ คําว่า “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” “ผู้มีอํานาจควบคุม”และ “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ศุกูก ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และหน่วยทรัสต์ “พันธบัตร” หมายความว่า พันธบัตรตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า (1) หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไป ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีข้อความตรงกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังต่อไปนี้กับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุม ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (1) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (2) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าว ซึ่งหมายถึง (ก) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว (ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่ง (2) ให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย (3) บริษัทที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึง (ก) บริษัทที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือพนักงานระดับผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่รับผิดชอบสายงานที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจัดสรรหลักทรัพย์ หรือสายงานที่มีโอกาสได้รับข้อมูลภายในที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์หรือบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงของหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่าย รวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าว “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท “วันปิดการเสนอขาย” หมายความว่า วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์สําหรับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ในกรณีทั่วไป “วันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ” หมายความว่า วันที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินสามารถจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบตามจํานวนที่มีหน้าที่ส่งมอบหรือส่งคืน สําหรับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดสรรหุ้นส่วนเกิน ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่าย “ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดหาหุ้นส่วนเกินเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรหรือส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืมตามข้อผูกพันในการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน “จัดสรรหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า การจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่าย โดยการจัดสรรหุ้นเกินจํานวนดังกล่าวได้กระทําไปพร้อมกับการเสนอขายหุ้นที่จัดจําหน่าย “บริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นในผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละ 20 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 20 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทหลักทรัพย์นั้น (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวและในผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละ 20 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทหลักทรัพย์และผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง (organized market) สะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โดยการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีที่กองทุนรวมอีทีเอฟนั้นอ้างอิง “กองทุนรวมอีทีเอฟ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมอีทีเอฟตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หมวด ๒ กรณีที่ต้องห้ามมิให้รับทําหน้าที่เป็น ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีลักษณะหรือมีความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กําหนดในข้อ 8 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (1) หุ้น (2) หน่วยทรัสต์ ข้อ ๘ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ต้องห้ามมิให้จัดจําหน่ายหุ้นตามข้อ 7(1) ได้แก่ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะหรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ถือหุ้นในผู้เสนอขายหุ้นซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียน โดยจํานวนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดเกินกว่าสัดส่วนดังนี้ (ก) ร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้เสนอขายหุ้นนั้น ในกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีส่วนในการกําหนดราคาเสนอขายหุ้น (ข) ร้อยละ 20 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้เสนอขายหุ้นนั้น ในกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ไม่มีส่วนในการกําหนดราคาเสนอขายหุ้น (2) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ถือหุ้นในผู้เสนอขายหุ้นซึ่งไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน เว้นแต่เป็นการถือหุ้นที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) เป็นการถือหุ้นทั้งหมดเกินกว่า 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน และการถือหุ้นทั้งหมดนั้นมีจํานวนไม่เกินกว่าที่กําหนดไว้ตาม (1) (ข) เป็นการถือหุ้นทั้งหมดไม่เกินกว่า 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน โดยจํานวนหุ้นดังกล่าวเป็นการได้มาเพิ่มเนื่องจากผู้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนและให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นที่จะซื้อหุ้นตามส่วนที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถืออยู่ (right issue) และการถือหุ้นทั้งหมดนั้นมีจํานวนไม่เกินกว่าที่กําหนดไว้ตาม (1) (3) ผู้เสนอขายหุ้น หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือกรรมการแต่ละรายของผู้เสนอขายหุ้น ถือหุ้นในผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือเมื่อนับรวมการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าวรวมกันเกินกว่าร้อยละ 10 ของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (4) มีกรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบควบคุมดูแลงานด้านการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันกับกรรมการของผู้เสนอขายหุ้น แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรรมการอิสระหรือกรรมการตรวจสอบของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์และของผู้เสนอขายหุ้น (5) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เสนอขายหุ้นในลักษณะที่อาจทําให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาลักษณะหรือความสัมพันธ์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 8 (1) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 8(1) (2) และ (5) ให้หมายความรวมถึง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบควบคุมดูแลงานด้านการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ในการคํานวณจํานวนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดตามข้อ 8(1) หรือ (2) ให้นับรวมจํานวนหุ้นของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์และบุคคลตามข้อนี้เข้าด้วยกันด้วย (2) ผู้เสนอขายหุ้นตามข้อ 8(5) ให้หมายความรวมถึง ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือกรรมการของผู้เสนอขายหุ้นด้วย (3) การพิจารณาการถือหุ้นตามข้อ 8(1) (2) หรือ (3) ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ 8(1) (2) หรือ (3) ด้วย และให้นับรวมถึงหุ้นที่จะเกิดจากการใช้สิทธิของหุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นที่เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับส่งมอบในการชําระหนี้ตามหุ้นกู้อนุพันธ์ และหุ้นอ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงด้วย (4) มิให้นําการถือหุ้น การส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้ส่วนเสียของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่มิใช่บริษัทจดทะเบียน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ หรือบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน มาพิจารณาเป็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 8 ด้วย ข้อ ๑๐ การห้ามผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับจัดจําหน่ายหน่วยทรัสต์ตามข้อ 7(2) ให้นําความในข้อ 8 และข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้ใช้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สินแก่ทรัสต์” แทนคําว่า “ผู้เสนอขายหุ้น” ในข้อ 8 และข้อ 9 ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง ให้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สินแก่ทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือบุคคลที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี หมวด ๓ หลักเกณฑ์การให้บริการเป็น ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ส่วน ๑ ข้อกําหนดทั่วไป ข้อ ๑๑ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อกําหนดที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามประกาศที่เกี่ยวข้อง และตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน (2) ไม่เสนอขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งร่วมกับหลักทรัพย์อื่น เว้นแต่จะได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน (3) เปิดเผยข้อมูลประกอบการจองซื้อหลักทรัพย์ตามข้อกําหนดที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามประกาศที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนนั้นจะทําการจองซื้อหลักทรัพย์ (4) แจ้งรายชื่อบุคคลที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีข้อจํากัดในการจัดสรรหลักทรัพย์ ตามข้อ 20 ให้กับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่แสดงความสนใจจองซื้อหลักทรัพย์ทราบ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามข้อ 8 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและบุคคลดังกล่าวต่อผู้ลงทุนด้วย ส่วน ๒ การจัดการเกี่ยวกับเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ ข้อ ๑๓ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องนําเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์เข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหลักทรัพย์ของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ หรือแยกเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ออกจากบัญชีทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เรียกเก็บเงินจากผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้ โดยต้องไม่นําเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวไปใช้ในกิจการใด ๆ ข้อ ๑๔ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อตกลงกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์เกี่ยวกับเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรต้องกระทําภายใน 14 วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย หากไม่สามารถคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว จะต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรรมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลานั้น (2) การห้ามมิให้มีการนําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่คาดว่าจะได้รับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งหมดไปใช้ในการใด ๆ เว้นแต่เพื่อการคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรร ส่วน ๓ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย ข้อ ๑๕ การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มิใช่ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวน ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่15 วันก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์จนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์กระทําได้เฉพาะการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่จัดทําโดยผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๖ การเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้ ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์กระทําได้ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด (1) ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 15 วันก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์จนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี ให้เผยแพร่ได้เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (ก) เป็นบทความหรืองานวิจัยที่แสดงอยู่ในเอกสารที่จัดทําและเผยแพร่ต่อสาธารณชนอยู่เป็นประจําในธุรกิจปกติ (ข) เนื้อหาของบทความหรืองานวิจัยเป็นการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อมูลที่เคยเผยแพร่มาก่อนหน้านั้น (ค) เนื้อหาของบทความหรืองานวิจัยต้องไม่เน้นหรือให้ความสําคัญเป็นพิเศษกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายหรือหลักทรัพย์อื่นที่มีความเกี่ยวข้อง โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับบทความหรืองานวิจัยในหลักทรัพย์อื่นทั่วไปที่เคยจัดทําและเผยแพร่มาก่อน (ง) ในบทความหรืองานวิจัยมีข้อความที่แสดงให้ผู้ลงทุนทราบถึงส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้จัดทําบทความหรืองานวิจัยดังกล่าวในหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายนั้น โดยตัวอักษรของข้อความต้องมีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการจัดทําบทความหรืองานวิจัยนั้น และอยู่ในหน้าเดียวกับสรุปความเห็นของบทความหรืองานวิจัย หรือตําแหน่งใกล้เคียงที่ผู้ลงทุนสามารถเห็นได้ชัดเจน (จ) ไม่เป็นบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหุ้นที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (initial public offering) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นนั้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (2) ช่วงระยะเวลา 30 วันนับแต่วันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี ให้เผยแพร่ได้เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (ก) มีการแสดงข้อความในบทความหรืองานวิจัยนั้นเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้จัดทําบทความหรืองานวิจัยดังกล่าวในหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายนั้น รวมทั้งจํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องรับซื้อตามสัญญาการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ข) ตัวอักษรของข้อความตาม (ก) ต้องมีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการจัดทําบทความหรืองานวิจัยนั้น และอยู่ในหน้าเดียวกับสรุปความเห็นของบทความหรืองานวิจัย หรือตําแหน่งใกล้เคียงที่ผู้ลงทุนสามารถเห็นได้ชัดเจน ข้อ ๑๗ ให้นําความในข้อ 16 มาใช้บังคับกับการเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์อื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายในลักษณะที่การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดกับหลักทรัพย์นั้นอาจมีผลกระทบโดยตรงต่อราคาของหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายด้วย โดยอนุโลม ข้อ ๑๘ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นของบริษัทต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ หากผู้เสนอขายหุ้นได้จัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นภาษาไทย เว้นแต่เป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลภาษาไทยที่ปรากฏในภาคผนวกของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น หมวด ๔ การจัดสรรหลักทรัพย์ ข้อ ๑๙ ความในหมวดนี้ ให้ใช้บังคับกับการจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ข้อ ๒๐ ในการจัดสรรหลักทรัพย์ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรหุ้นที่ตนรับจัดจําหน่ายให้แก่บริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหุ้นนั้น (2) ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ตนรับจัดจําหน่ายให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด หรือเป็นการจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์เฉพาะกรณีที่กําหนดในข้อ 21 เท่านั้น (ก) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น (ข) กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุม ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตาม (ก) (ค) บริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตาม (ก) (ง) ผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลตาม (ข) (3) ในกรณีที่เป็นการจัดสรรตราสารหนี้ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปดังต่อไปนี้แก่บุคคลตาม (2) ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรหลักทรัพย์ดังกล่าวตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 22 เว้นแต่เป็นการจัดสรรหุ้นกู้หรือตั๋วเงินเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้หรือตั๋วเงินเดิม (renew) โดยมีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนแล้ว หรือเป็นการจัดสรรตราสารหนี้ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด (ก) พันธบัตร (ข) หุ้นกู้ (ค) หุ้นกู้แปลงสภาพ (ง) หุ้นกู้อนุพันธ์ (จ) ศุกูก (ฉ) ตั๋วเงินที่มีการกําหนดมูลค่าของตั๋วเงินและประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกฉบับ ข้อ ๒๑ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์อาจจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ตนรับจัดจําหน่ายให้แก่บุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) ได้ เมื่อการจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การจัดสรรหุ้นที่เป็นการเสนอขายทั้งจํานวนให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ ซึ่งบุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) เป็นผู้มีสิทธิได้รับจัดสรรเนื่องจากเป็นบุคคลที่มีฐานะดังกล่าว และได้มีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนแล้ว (ก) เจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้น ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหรือตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ (ข) ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น สําหรับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไป โดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อได้ต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่านั้น และจํานวนการจองซื้อต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้นด้วย (preferential public offering) (2) การจัดสรรหุ้นที่เป็นการเสนอขายที่มีการแบ่งแยกจํานวนที่จะเสนอขายให้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทที่ออกหุ้นหรือของบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหุ้น ออกจากจํานวนที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปไว้อย่างชัดเจน ซึ่งบุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) เป็นผู้มีสิทธิได้รับจัดสรรเนื่องจากเป็นบุคคลที่มีฐานะดังกล่าว และได้มีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนแล้ว (3) การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้กับบุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) บุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) เป็นกองทุนหรือนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีลักษณะดังนี้อย่างครบถ้วน 1. เป็นกองทุนที่มีการระดมทุนจากประชาชนในวงกว้าง กองทุนของรัฐ นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อบริหารจัดการลงทุนให้ภาครัฐ หรือนิติบุคคลที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นหลัก 2. ผู้ได้รับประโยชน์จากการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินของกองทุนหรือนิติบุคคลตาม 1. เป็นประชาชนในวงกว้างไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือการลงทุนเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งรัฐหรือสาธารณประโยชน์ 3. กองทุนหรือนิติบุคคลตาม 1. อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานหรือหน่วยงานกํากับดูแลภาครัฐอื่น หรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นรายกรณีหากกองทุนหรือนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลโดยตรง (ข) จํานวนที่จัดสรร ต้องไม่เกินจํานวนดังนี้ 1. ในกรณีที่เป็นหุ้น จํานวนที่จัดสรรให้ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 25 ของจํานวนหุ้นที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในครั้งนั้น 2. ในกรณีที่เป็นหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์จํานวนที่จัดสรรให้เมื่อรวมกับจํานวนที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในการเสนอขายครั้งนั้น และไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดในการเสนอขายครั้งนั้น ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ 3. ในกรณีที่เป็นหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานจํานวนที่จัดสรรให้เมื่อรวมกับจํานวนที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในการเสนอขายครั้งนั้น และไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดในการเสนอขายครั้งนั้น ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ (ค) ใช้หลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้กับบุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) ซึ่งเป็นกองทุนหรือนิติบุคคลตาม (ก) เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์การจัดสรรให้กับผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั่วไป (ง) มีการเปิดเผยข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนว่า บุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) ซึ่งเป็นกองทุนหรือนิติบุคคลตาม (ก) สามารถได้รับการจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดตาม (ก) (ข) และ (ค) ข้อ ๒๒ ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรตราสารหนี้ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปให้แก่บุคคลตามข้อ 20(2) ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ในขั้นตอนการสํารวจความต้องการซื้อตราสารหนี้ (book building) ต้องไม่มีการนําราคาเสนอซื้อตราสารหนี้ของบุคคลตามข้อ 20(2) (ก) ไปรวมคํานวณกับราคาเสนอซื้อตราสารหนี้ของผู้ลงทุนรายอื่นเพื่อใช้กําหนดราคาเสนอขายตราสารหนี้นั้น (2) จํานวนตราสารหนี้ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรให้แก่บุคคลตามข้อ 20(2) ทุกรายรวมกัน ต้องไม่เกินกว่าจํานวนตราสารหนี้ที่จัดสรรให้กับผู้ลงทุนที่ผู้เสนอขายตราสารหนี้สํารวจความต้องการซื้อหารด้วยจํานวนผู้ลงทุนดังกล่าวที่ได้รับจัดสรร (3) มีการเปิดเผยข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนว่า บุคคลตามข้อ 20(2) สามารถจองซื้อและได้รับการจัดสรรตราสารหนี้ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดตาม (1) และ (2) หมวด ๕ การซื้อขายหุ้นและหน่วยทรัสต์ในระหว่างการให้บริการ เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือเพื่อลูกค้า ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการซื้อหรือขายตามสัญญาการจัดจําหน่ายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเอง หรือเป็นกรณีตามที่กําหนดในข้อ 24 (1) หุ้นของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (2) หุ้นอ้างอิงของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (3) หุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้อนุพันธ์ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นกู้อนุพันธ์ (4) หน่วยทรัสต์ของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหน่วยทรัสต์ ข้อ ๒๔ ข้อห้ามตามข้อ 23 มิให้ใช้บังคับกับการซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การซื้อหรือขายตามคําสั่งของลูกค้าในฐานะที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือค้าหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า โดยคําสั่งซื้อขายของลูกค้านั้นต้องมิได้เกิดจากการชี้นําหรือชักจูงของตนเอง (unsolicited purchase or sale) (2) การซื้อหรือขายที่เป็นการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นผลจากความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้แก่ลูกค้า (3) การซื้อหุ้นที่เป็นการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ โดยปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับจัดสรรหุ้นส่วนเกินหรือส่งคืนผู้ให้ยืมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดสรรหุ้นส่วนเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย (4) การซื้อหรือขายที่เป็นการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ โดยได้จัดให้มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ก) เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของกองทุนรวมอีทีเอฟ (ข) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้ออกตราสารที่อ้างอิงกับหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่รับจัดจําหน่าย (ค) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ก่อนระยะเวลาต้องห้ามในการซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ตามข้อ 23 (5) การซื้อหรือขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ดังนี้ โดยได้จัดให้มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ก) หุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 (ข) หุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหลักทรัพย์ SET 100 โดยหุ้นในลําดับที่ 51 ถึง 100 แต่ละหุ้นต้องมีมูลค่าตลาดเฉลี่ยแต่ละไตรมาสไม่ต่ํากว่า 10,000 ล้านบาท รวมติดต่อกัน 4 ไตรมาสล่าสุด ข้อ ๒๕ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (initial public offering) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ดังกล่าวที่ถือไว้เพื่อตนเอง ตั้งแต่วันปิดการเสนอขายจนถึงวันที่หุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้วไม่น้อยกว่า 15 วัน ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การขายหุ้นซึ่งผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้ถือมานานกว่า 2 ปีก่อนวันที่บริษัทที่ออกหุ้นยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือก่อนวันที่เจ้าของหุ้นยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ การขายหุ้นของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวเมื่อรวมกับการขายหุ้นของผู้บริหารและพนักงานของตนตามข้อ 26 และการขายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องตามข้อ 27(2) ต้องมีจํานวนรวมกันไม่เกินกว่าร้อยละ 1 ของจํานวนหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนในช่วงที่ต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (2) การขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ซึ่งผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องรับซื้อไว้ตามสัญญาการจัดจําหน่ายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเอง โดยจํานวนหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ขายต้องไม่เกินกว่าจํานวนหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับซื้อไว้ ข้อ ๒๖ ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ควบคุมดูแลให้ผู้บริหารและพนักงานของตนที่มีส่วนร่วมในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 23 ข้อ 24 และข้อ 25 ด้วย โดยอนุโลม หมวด ๖ ข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๗ ให้นําความดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง โดยอนุโลม (1) ข้อ 16 และข้อ 17 เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย (2) ข้อ 23 ข้อ 24 และข้อ 25 เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นและหน่วยทรัสต์ในระหว่างการให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ข้อ ๒๘ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องทราบถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามหมวดนี้ด้วย หมวด ๗ การรายงานผลการจัดสรรหลักทรัพย์ ข้อ ๒๙ ในหมวดนี้ “กระบวนการจัดสรรแบบกําหนดหน่วยการจองซื้อ” หมายความว่า กระบวนการที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์กําหนดหน่วยการจองซื้อ (board lot) ไว้ และจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อทุกรายอย่างเท่าเทียมกันครั้งละ 1 หน่วยการจองซื้อ จนครบจํานวนหุ้นที่รับจัดจําหน่าย แต่ไม่รวมถึง การจัดสรรหุ้นส่วนที่แบ่งแยกไว้สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน กรรมการหรือพนักงานของบริษัทที่ออกหุ้น ลูกค้าที่มีบัญชีและมีการซื้อขายหลักทรัพย์กับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ก่อนการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ หรือผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้น (ถ้ามี) ข้อ ๓๐ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องรายงานผลการจัดสรรหลักทรัพย์ต่อสํานักงานร่วมกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ข้อ ๓๑ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (initial public offering) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นนั้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ไม่ได้ใช้กระบวนการจัดสรรแบบกําหนดหน่วยการจองซื้อ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1) จัดทํารายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรสูงสุด 100 รายแรก พร้อมด้วยเหตุผลของการจัดสรรให้ผู้ได้รับการจัดสรรแต่ละราย โดยแยกรายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรดังกล่าวตามข้อมูลการจัดสรรของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์แต่ละราย และส่งต่อสํานักงานพร้อมกับรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ รายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรสูงสุดดังกล่าวไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับการจัดสรรในฐานะกรรมการ พนักงาน หรือผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้นนั้น (2) จัดทํารายงานสรุปข้อมูลการจัดสรรหุ้นระหว่างกลุ่มลูกค้าที่มีบัญชีและมีการซื้อขายหลักทรัพย์กับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ก่อนการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ กับกลุ่มที่มิใช่ลูกค้าดังกล่าว โดยแสดงจํานวนผู้ได้รับการจัดสรร จํานวนและมูลค่าหุ้นที่จัดสรรให้บุคคลแต่ละกลุ่ม (3) จัดเก็บเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลสนับสนุนเหตุผลการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรทุกรายที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปไว้ ณ ที่สํานักงานใหญ่ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปีนับแต่วันปิดการเสนอขาย ในลักษณะที่พร้อมแสดงต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อได้รับการร้องขอ หมวด ๘ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๒ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์โดยมีการทําข้อตกลงหรือสัญญาการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์กับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากการรับทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวด 2 แห่งประกาศนี้ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะยังคงทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต่อไปภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาที่ทําไว้นั้นก็ได้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,590
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 มาตรา 115 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “หลักทรัพย์” ในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ศุกูก ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หน่วยทรัสต์ และตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,591
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จะสามารถทําหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการทําหน้าที่ดังกล่าวโดยมีลักษณะหรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กําหนดในข้อ 8 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี รับจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (1) หุ้น (2) หน่วยทรัสต์ ข้อ 8 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะหรือความสัมพันธ์ในกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งมีรายละเอียดตามภาคผนวกท้ายประกาศ ให้ถือว่ามีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 7(1) (1) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้ถือหุ้นในผู้เสนอขายหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (2) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีผู้เสนอขายหุ้นเป็นผู้ถือหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (3) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีกรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบควบคุมดูแลงานด้านการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันกับกรรมการของผู้เสนอขายหุ้น (4) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียอื่นใดกับผู้เสนอขายหุ้นในลักษณะที่อาจทําให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (5) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งประสงค์จะจองซื้อหุ้นที่ตนรับจัดจําหน่าย เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ข้อ 9 การพิจารณากรณีตามข้อ 8 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้พิจารณาลักษณะหรือความสัมพันธ์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์โดยรวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือผู้เสนอขายหุ้นด้วย ทั้งนี้ ตามรายละเอียด ในภาคผนวกท้ายประกาศ (2) การคํานวณอัตราการถือหุ้นให้เป็นไปตามวิธีการตามภาคผนวกท้ายประกาศ โดยให้นับรวมจํานวนหุ้นที่จะเกิดจากการใช้สิทธิของหุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นที่เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับส่งมอบในการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และหุ้นอ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงด้วย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีตามข้อ 8(1) และ (2) (3) มิให้นําการถือหุ้น การส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้ส่วนเสีย ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่มิใช่บริษัทจดทะเบียน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ หรือบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน มาพิจารณาเป็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 8 ด้วย” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (ง) ของ (3) ในข้อ 20 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ง) หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 23 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) หุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง” ข้อ ๔ ให้เพิ่มภาคผนวกท้ายประกาศนี้ เป็นภาคผนวกท้ายประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์โดยมีการทําข้อตกลงหรือสัญญาการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์กับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากการรับทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวด 2 แห่งประกาศนี้ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะยังคงทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต่อไปภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาที่ทําไว้นั้นก็ได้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,592
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 62/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 62/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) มิให้นําการถือหุ้น การส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เป็นการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ หรือของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่มิใช่บริษัทจดทะเบียน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน มาพิจารณาเป็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 8 ด้วย” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 21 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 10/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 “(4) การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้กับบุคคลใด ๆ ที่เป็นการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,593
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 114 มาตรา 115 และมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 3/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 11/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 24/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 40/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 50/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 55/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 27/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 หมวด 1 บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 สาระสําคัญของข้อกําหนด \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 3 ในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ นอกจากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้ว ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ด้วย ในกรณีที่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามประกาศนี้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ข้อ 4 ประกาศนี้มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ต้องห้ามมิให้รับทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 2 (2) หลักเกณฑ์การให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 3 (3) การจัดสรรหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 4 (4) การซื้อขายหุ้นและหน่วยทรัสต์ในระหว่างการให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 5 (5) ข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามหมวด 6 (6) การรายงานผลการจัดสรรหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามหมวด 7 ข้อ 5 สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) การปฏิบัติในรายละเอียดของข้อกําหนดตามประกาศนี้ เพื่อเป็นการให้แนวทางที่ถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องตามประกาศนี้และหากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ส่วนที่ 2 บทนิยาม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 6 ในประกาศนี้ คําว่า “บริษัท” “บริษัทจดทะเบียน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่”“ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “ผู้ลงทุนสถาบัน” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ “หลักทรัพย์”2 หมายความว่า หุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ศุกูก ใบสําคัญแสดงสิทธิ [1](#fn1)ที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หน่วยทรัสต์ และตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ “พันธบัตร” หมายความว่า พันธบัตรตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายตราสารหนี้ของหน่วยงานภาครัฐไทย “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า (1) หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไป ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีข้อความตรงกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะดังต่อไปนี้กับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุม ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (1) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (2) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าว ซึ่งหมายถึง (ก) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 50ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว (ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละ 50ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่ง (2) ให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย (3) บริษัทที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึง (ก) บริษัทที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือพนักงานระดับผู้อํานวยการฝ่ายขึ้นไปที่รับผิดชอบสายงานที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจัดสรรหลักทรัพย์ หรือสายงานที่มีโอกาสได้รับข้อมูลภายในที่เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์หรือบริษัทที่ออกหุ้นอ้างอิงของหลักทรัพย์ที่จัดจําหน่ายรวมทั้งบุคคลที่มีตําแหน่งซึ่งมีอํานาจหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลดังกล่าว “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท “วันปิดการเสนอขาย” หมายความว่า วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์สําหรับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ในกรณีทั่วไป “วันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ” หมายความว่า วันที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินสามารถจัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบตามจํานวนที่มีหน้าที่ส่งมอบหรือส่งคืน สําหรับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดสรรหุ้นส่วนเกิน ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่าย “ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่จัดหาหุ้นส่วนเกินเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรหรือส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืมตามข้อผูกพันในการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน “จัดสรรหุ้นส่วนเกิน” หมายความว่า การจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจํานวนหุ้นที่จัดจําหน่าย โดยการจัดสรรหุ้นเกินจํานวนดังกล่าวได้กระทําไปพร้อมกับการเสนอขายหุ้นที่จัดจําหน่าย “บริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นในผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละ 20 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น (2) บริษัทหลักทรัพย์ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 20 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทหลักทรัพย์นั้น (3) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวและในผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตั้งแต่ร้อยละ 20 ของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทหลักทรัพย์และผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ “ผู้ดูแลสภาพคล่อง” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการกองทุนรวมให้ทําหน้าที่เพื่อให้ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟในตลาดรอง(organized market) สะท้อนมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวที่คํานวณจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมได้อย่างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ โดยการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอีทีเอฟและหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีที่กองทุนรวมอีทีเอฟนั้นอ้างอิง “กองทุนรวมอีทีเอฟ” หมายความว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในลักษณะของกองทุนรวมอีทีเอฟตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “บริษัทจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคล” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หมวด 2 กรณีที่ต้องห้ามมิให้รับทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7( เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จะสามารถทําหน้าที่ได้อย่างเป็นอิสระห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการทําหน้าที่ดังกล่าวโดยมีลักษณะ หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กําหนดในข้อ 8 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี รับจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (1) หุ้น (2) หน่วยทรัสต์ ข้อ 8( ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะหรือความสัมพันธ์ในกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งมีรายละเอียดตามภาคผนวกท้ายประกาศ ให้ถือว่ามีประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกับการทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 7(1) (1) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้ถือหุ้นในผู้เสนอขายหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (2) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีผู้เสนอขายหุ้นเป็นผู้ถือหุ้น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (3) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีกรรมการ ผู้จัดการ ผู้ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่รับผิดชอบควบคุมดูแลงานด้านการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกันกับกรรมการของผู้เสนอขายหุ้น (4) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียอื่นใดกับผู้เสนอขายหุ้นในลักษณะที่อาจทําให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ขาดความเป็นอิสระในการทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (5) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งประสงค์จะจองซื้อหุ้นที่ตนรับจัดจําหน่าย เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจง (cornerstone investor) ตามที่กําหนด ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อผู้ลงทุนหลักโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ข้อ 9( การพิจารณากรณีตามข้อ 8 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้พิจารณาลักษณะหรือความสัมพันธ์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์โดยรวมถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือผู้เสนอขายหุ้นด้วย ทั้งนี้ ตามรายละเอียด ในภาคผนวกท้ายประกาศ (2) การคํานวณอัตราการถือหุ้นให้เป็นไปตามวิธีการตามภาคผนวกท้ายประกาศ โดยให้นับรวมจํานวนหุ้นที่จะเกิดจากการใช้สิทธิของหุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นที่เป็นปัจจัยอ้างอิงสําหรับส่งมอบในการชําระหนี้ตามหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง และหุ้นอ้างอิงของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงด้วย ทั้งนี้ เฉพาะกรณีตามข้อ 8(1) และ (2) (3)( มิให้นําการถือหุ้น การส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการ หรือการมีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เป็นการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ หรือของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นที่มิใช่บริษัทจดทะเบียน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน มาพิจารณาเป็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อ 8 ด้วย ข้อ 10 การห้ามผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับจัดจําหน่ายหน่วยทรัสต์ตามข้อ 7(2) ให้นําความในข้อ 8 และข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้ใช้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สินแก่ทรัสต์” แทนคําว่า“ผู้เสนอขายหุ้น” ในข้อ 8 และข้อ 9 ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง ให้คําว่า “ผู้จําหน่ายทรัพย์สินแก่ทรัสต์”หมายความว่า บุคคลที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือบุคคลที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วแต่กรณี หมวด 3 หลักเกณฑ์การให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วนที่ 1 ข้อกําหนดทั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามข้อกําหนดที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามประกาศที่เกี่ยวข้อง และตามวิธีการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน (2) ไม่เสนอขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งร่วมกับหลักทรัพย์อื่น เว้นแต่จะได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน (3) เปิดเผยข้อมูลประกอบการจองซื้อหลักทรัพย์ตามข้อกําหนดที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามประกาศที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนนั้นจะทําการจองซื้อหลักทรัพย์ (4) แจ้งรายชื่อบุคคลที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีข้อจํากัดในการจัดสรรหลักทรัพย์ตามข้อ 20 ให้กับบริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลที่แสดงความสนใจจองซื้อหลักทรัพย์ทราบ ข้อ 12 ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยกรรมการ ผู้บริหารผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่ต้องห้ามตามข้อ 8 หรือข้อ 10 แล้วแต่กรณี ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและบุคคลดังกล่าวต่อผู้ลงทุนด้วย ส่วนที่ 2 การจัดการเกี่ยวกับเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องนําเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์เข้าบัญชีเพื่อการจองซื้อหลักทรัพย์ของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ หรือแยกเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ออกจากบัญชีทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เรียกเก็บเงินจากผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้ โดยต้องไม่นําเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวไปใช้ในกิจการใด ๆ ข้อ 141 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีข้อตกลงกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ [2](#fn2)เกี่ยวกับเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามระยะเวลาและวิธีการที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 10 วันทําการนับแต่วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ วันที่สิ้นสุดระยะเวลายกเลิกการจองซื้อหลักทรัพย์ หรือวันที่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการยกเลิกการเสนอขายหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี (2) กรณีที่ไม่สามารถคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ได้ภายในกําหนดเวลาตาม (1) จะต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จองซื้อหลักทรัพย์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลาส่งคืนเงินค่าจองซื้อหลักทรัพย์ (3) การห้ามมิให้มีการนําเงินที่รับเป็นค่าจองซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่คาดว่าจะรับจากการเสนอขายหลักทรัพย์ทั้งหมดไปใช้ในการใด ๆ เว้นแต่เพื่อการคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการจัดสรร ส่วนที่ 3 การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 15 การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่มิใช่ข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์หรือร่างหนังสือชี้ชวน ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่15 วันก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์จนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์กระทําได้เฉพาะการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่จัดทําโดยผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ก่อนวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับ ข้อ 16 การเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้ ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์กระทําได้ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด (1) ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 15 วันก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์จนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี ให้เผยแพร่ได้เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (ก) เป็นบทความหรืองานวิจัยที่แสดงอยู่ในเอกสารที่จัดทําและเผยแพร่ต่อสาธารณชนอยู่เป็นประจําในธุรกิจปกติ (ข) เนื้อหาของบทความหรืองานวิจัยเป็นการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อมูลที่เคยเผยแพร่มาก่อนหน้านั้น (ค) เนื้อหาของบทความหรืองานวิจัยต้องไม่เน้นหรือให้ความสําคัญเป็นพิเศษกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายหรือหลักทรัพย์อื่นที่มีความเกี่ยวข้อง โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับบทความหรืองานวิจัยในหลักทรัพย์อื่นทั่วไปที่เคยจัดทําและเผยแพร่มาก่อน (ง) ในบทความหรืองานวิจัยมีข้อความที่แสดงให้ผู้ลงทุนทราบถึงส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้จัดทําบทความหรืองานวิจัยดังกล่าวในหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายนั้นโดยตัวอักษรของข้อความต้องมีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการจัดทําบทความหรืองานวิจัยนั้น และอยู่ในหน้าเดียวกับสรุปความเห็นของบทความหรืองานวิจัยหรือตําแหน่งใกล้เคียงที่ผู้ลงทุนสามารถเห็นได้ชัดเจน (จ) ไม่เป็นบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหุ้นที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (initial public offering) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นนั้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (2) ช่วงระยะเวลา 30 วันนับแต่วันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบแล้วแต่กรณี ให้เผยแพร่ได้เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้ (ก) มีการแสดงข้อความในบทความหรืองานวิจัยนั้นเพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้จัดทําบทความหรืองานวิจัยดังกล่าวในหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายนั้น รวมทั้งจํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องรับซื้อตามสัญญาการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (ข) ตัวอักษรของข้อความตาม (ก) ต้องมีความคมชัด อ่านได้ชัดเจน และมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวอักษรปกติที่ใช้ในการจัดทําบทความหรืองานวิจัยนั้น และอยู่ในหน้าเดียวกับสรุปความเห็นของบทความหรืองานวิจัย หรือตําแหน่งใกล้เคียงที่ผู้ลงทุนสามารถเห็นได้ชัดเจน ข้อ 17 ให้นําความในข้อ 16 มาใช้บังคับกับการเผยแพร่บทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับหลักทรัพย์อื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายในลักษณะที่การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดกับหลักทรัพย์นั้นอาจมีผลกระทบโดยตรงต่อราคาของหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่ายด้วย โดยอนุโลม ข้อ 18 ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นของบริษัทต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ หากผู้เสนอขายหุ้นได้จัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นภาษาไทย เว้นแต่เป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลภาษาไทยที่ปรากฏในภาคผนวกของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น หมวด 4 การจัดสรรหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 19 ความในหมวดนี้ ให้ใช้บังคับกับการจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน ข้อ 20 ในการจัดสรรหลักทรัพย์ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1)( ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรหุ้นที่ตนรับจัดจําหน่ายให้แก่บริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหุ้นนั้น เว้นแต่เป็นการจัดสรรหุ้นให้แก่บริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหุ้นซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยบริษัทมหาชนจํากัดเพื่อการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ และการเสนอขายหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (2) ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ตนรับจัดจําหน่ายให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ เว้นแต่เป็นการจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด หรือเป็นการจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์เฉพาะกรณีที่กําหนดในข้อ 21 เท่านั้น (ก) ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์นั้น (ข) กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุม ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตาม (ก) (ค) บริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตาม (ก) (ง) ผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลตาม (ข) (3) ในกรณีที่เป็นการจัดสรรตราสารหนี้ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปดังต่อไปนี้แก่บุคคลตาม (2) ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรหลักทรัพย์ดังกล่าวตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 22 เว้นแต่เป็นการจัดสรรหุ้นกู้หรือตั๋วเงินเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้หรือตั๋วเงินเดิม (renew) โดยมีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนแล้ว หรือเป็นการจัดสรรตราสารหนี้ที่เหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด (ก) พันธบัตร (ข) หุ้นกู้ (ค) หุ้นกู้แปลงสภาพ (ง)( หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (จ) ศุกูก (ฉ) ตั๋วเงินที่มีการกําหนดมูลค่าของตั๋วเงินและประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกฉบับ ข้อ 21 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์อาจจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ตนรับจัดจําหน่ายให้แก่บุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) ได้ เมื่อการจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1)( การจัดสรรหุ้นที่เป็นการเสนอขายให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหรือตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งบุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) เป็นผู้มีสิทธิได้รับจัดสรรเนื่องจากเป็นบุคคลที่มีฐานะดังกล่าว และได้มีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนแล้ว (1/1)1 การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลที่พึงได้รับจัดสรรตามสิทธิที่เกิดจากข้อผูกพันใด ๆ ที่ได้มีการตกลงกันไว้ก่อนแล้ว ซึ่งข้อผูกพันดังกล่าวเป็นการให้สิทธิในการถือหุ้นหรือหน่วยทรัสต์อันเนื่องมาจากการที่บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ หรือผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และได้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนแล้ว การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้แก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนที่บุคคลนั้นมีอยู่ ทั้งนี้ ในกรณีของการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้น สัดส่วนหุ้นทั้งหมดที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้นด้วย (2) การจัดสรรหุ้นที่เป็นการเสนอขายที่มีการแบ่งแยกจํานวนที่จะเสนอขายให้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทที่ออกหุ้นหรือของบริษัทย่อยของบริษัทที่ออกหุ้น ออกจากจํานวนที่จะเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปไว้อย่างชัดเจน ซึ่งบุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2)เป็นผู้มีสิทธิได้รับจัดสรรเนื่องจากเป็นบุคคลที่มีฐานะดังกล่าว และได้มีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนแล้ว (3) การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้กับบุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2)ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) บุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) เป็นกองทุนหรือนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันซึ่งมีลักษณะดังนี้อย่างครบถ้วน 1. เป็นกองทุนที่มีการระดมทุนจากประชาชนในวงกว้างกองทุนของรัฐ นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อบริหารจัดการลงทุนให้ภาครัฐหรือนิติบุคคลที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นหลัก 2. ผู้ได้รับประโยชน์จากการลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินของกองทุนหรือนิติบุคคลตาม 1. เป็นประชาชนในวงกว้างไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม หรือการลงทุนเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งรัฐหรือสาธารณประโยชน์ 3. กองทุนหรือนิติบุคคลตาม 1. อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานหรือหน่วยงานกํากับดูแลภาครัฐอื่น หรือได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นรายกรณีหากกองทุนหรือนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีหน่วยงานกํากับดูแลโดยตรง (ข) จํานวนที่จัดสรร ต้องไม่เกินจํานวนดังนี้ 1. ในกรณีที่เป็นหุ้น จํานวนที่จัดสรรให้ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 25 ของจํานวนหุ้นที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในครั้งนั้น 2. ในกรณีที่เป็นหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์จํานวนที่จัดสรรให้เมื่อรวมกับจํานวนที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่จะจําหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในการเสนอขายครั้งนั้น และไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดในการเสนอขายครั้งนั้น ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ 3. ในกรณีที่เป็นหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานจํานวนที่จัดสรรให้เมื่อรวมกับจํานวนที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่จะจําหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า หรือให้สิทธิในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลดังกล่าว ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ต้องไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดในการเสนอขายครั้งนั้น และไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดในการเสนอขายครั้งนั้น ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ (ค) ใช้หลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้กับบุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) ซึ่งเป็นกองทุนหรือนิติบุคคลตาม (ก) เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์การจัดสรรให้กับผู้จองซื้อหลักทรัพย์ทั่วไป (ง) มีการเปิดเผยข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนว่า บุคคลที่ต้องห้ามจัดสรรตามข้อ 20(2) ซึ่งเป็นกองทุนหรือนิติบุคคลตาม (ก) สามารถได้รับการจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดตาม (ก) (ข) และ (ค) (4)( การจัดสรรหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้กับบุคคลใด ๆ ที่เป็นการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ข้อ 22 ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรตราสารหนี้ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปให้แก่บุคคลตามข้อ 20(2) ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) ในขั้นตอนการสํารวจความต้องการซื้อตราสารหนี้ (book building) ต้องไม่มีการนําราคาเสนอซื้อตราสารหนี้ของบุคคลตามข้อ 20(2) (ก) ไปรวมคํานวณกับราคาเสนอซื้อตราสารหนี้ของผู้ลงทุนรายอื่นเพื่อใช้กําหนดราคาเสนอขายตราสารหนี้นั้น (2) จํานวนตราสารหนี้ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จัดสรรให้แก่บุคคลตามข้อ 20(2)ทุกรายรวมกัน ต้องไม่เกินกว่าจํานวนตราสารหนี้ที่จัดสรรให้กับผู้ลงทุนที่ผู้เสนอขายตราสารหนี้สํารวจความต้องการซื้อหารด้วยจํานวนผู้ลงทุนดังกล่าวที่ได้รับจัดสรร (3) มีการเปิดเผยข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนว่า บุคคลตามข้อ 20(2) สามารถจองซื้อและได้รับการจัดสรรตราสารหนี้ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดตาม (1) และ (2) หมวด 5 การซื้อขายหุ้นและหน่วยทรัสต์ในระหว่างการให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 23 ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ดังต่อไปนี้ทั้งนี้ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือเพื่อลูกค้า ตั้งแต่ 5 วันทําการก่อนวันเริ่มเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวจนถึงวันปิดการเสนอขายหรือวันที่จัดหาหุ้นส่วนเกินได้ครบ แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการซื้อหรือขายตามสัญญาการจัดจําหน่ายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเอง หรือเป็นกรณีตามที่กําหนดในข้อ 24 (1) หุ้นของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (2) หุ้นอ้างอิงของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (3)( หุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (4) หน่วยทรัสต์ของผู้เสนอขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหน่วยทรัสต์ ข้อ 24 ข้อห้ามตามข้อ 23 มิให้ใช้บังคับกับการซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การซื้อหรือขายตามคําสั่งของลูกค้าในฐานะที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือค้าหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า โดยคําสั่งซื้อขายของลูกค้านั้นต้องมิได้เกิดจากการชี้นําหรือชักจูงของตนเอง (unsolicited purchase or sale) (2) การซื้อหรือขายที่เป็นการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผลจากความผิดพลาดในการส่งคําสั่งซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ให้แก่ลูกค้า (3) การซื้อหุ้นที่เป็นการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์โดยปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้จองซื้อซึ่งได้รับจัดสรรหุ้นส่วนเกินหรือส่งคืนผู้ให้ยืมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจัดสรรหุ้นส่วนเกินกว่าจํานวนที่จัดจําหน่าย (4) การซื้อหรือขายที่เป็นการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ โดยได้จัดให้มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ก) เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของกองทุนรวมอีทีเอฟ (ข) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นผู้ออกตราสารที่อ้างอิงกับหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่รับจัดจําหน่าย (ค) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์มีฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ก่อนระยะเวลาต้องห้ามในการซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ตามข้อ 23 (5) การซื้อหรือขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ดังนี้ โดยได้จัดให้มีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจ (ก) หุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 (ข) หุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหลักทรัพย์ SET 100 โดยหุ้นในลําดับที่51 ถึง 100 แต่ละหุ้นต้องมีมูลค่าตลาดเฉลี่ยแต่ละไตรมาสไม่ต่ํากว่า 10,000 ล้านบาท รวมติดต่อกัน4 ไตรมาสล่าสุด ข้อ 25 ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (initial public offering) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ห้ามมิให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ดังกล่าวที่ถือไว้เพื่อตนเอง ตั้งแต่วันปิดการเสนอขายจนถึงวันที่หุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แล้วไม่น้อยกว่า 15 วัน ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การขายหุ้นซึ่งผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ได้ถือมานานกว่า 2 ปีก่อนวันที่บริษัทที่ออกหุ้นยื่นคําขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ หรือก่อนวันที่เจ้าของหุ้นยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน ทั้งนี้ การขายหุ้นของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวเมื่อรวมกับการขายหุ้นของผู้บริหารและพนักงานของตนตามข้อ 26 และการขายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องตามข้อ 27(2) ต้องมีจํานวนรวมกันไม่เกินกว่าร้อยละ 1 ของจํานวนหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนในช่วงที่ต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (2) การขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ซึ่งผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องรับซื้อไว้ตามสัญญาการจัดจําหน่ายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์นั้นเอง โดยจํานวนหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ขายต้องไม่เกินกว่าจํานวนหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับซื้อไว้ ข้อ 26 ให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ควบคุมดูแลให้ผู้บริหารและพนักงานของตนที่มีส่วนร่วมในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ซื้อหรือขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในข้อ 23 ข้อ 24 และข้อ 25 ด้วย โดยอนุโลม หมวด 6 ข้อกําหนดสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 27 ให้นําความดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง โดยอนุโลม (1) ข้อ 16 และข้อ 17 เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่รับจัดจําหน่าย (2) ข้อ 23 ข้อ 24 และข้อ 25 เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นและหน่วยทรัสต์ในระหว่างการให้บริการเป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ข้อ 28 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องแจ้งให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องทราบถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามหมวดนี้ด้วย หมวด 7 การรายงานผลการจัดสรรหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 29 ในหมวดนี้ “กระบวนการจัดสรรแบบกําหนดหน่วยการจองซื้อ” หมายความว่า กระบวนการที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์กําหนดหน่วยการจองซื้อ (board lot) ไว้ และจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้จองซื้อทุกรายอย่างเท่าเทียมกันครั้งละ 1 หน่วยการจองซื้อ จนครบจํานวนหุ้นที่รับจัดจําหน่าย แต่ไม่รวมถึงการจัดสรรหุ้นส่วนที่แบ่งแยกไว้สําหรับผู้ลงทุนสถาบัน กรรมการหรือพนักงานของบริษัทที่ออกหุ้นลูกค้าที่มีบัญชีและมีการซื้อขายหลักทรัพย์กับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ก่อนการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้หรือผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้น (ถ้ามี) ข้อ 30 ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องรายงานผลการจัดสรรหลักทรัพย์ต่อสํานักงานร่วมกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ข้อ 31 ในกรณีที่เป็นการจัดจําหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ซึ่งเสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก(initial public offering) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนําหุ้นนั้นเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ไม่ได้ใช้กระบวนการจัดสรรแบบกําหนดหน่วยการจองซื้อ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ด้วย (1)( ยกเลิก (2) จัดทํารายงานสรุปข้อมูลการจัดสรรหุ้นระหว่างกลุ่มลูกค้าที่มีบัญชีและมีการซื้อขายหลักทรัพย์กับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ก่อนการเสนอขายหุ้นในครั้งนี้ กับกลุ่มที่มิใช่ลูกค้าดังกล่าว โดยแสดงจํานวนผู้ได้รับการจัดสรร จํานวนและมูลค่าหุ้นที่จัดสรรให้บุคคลแต่ละกลุ่ม (3) จัดเก็บเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลสนับสนุนเหตุผลการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรทุกรายที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปไว้ ณ ที่สํานักงานใหญ่ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปีนับแต่วันปิดการเสนอขาย ในลักษณะที่พร้อมแสดงต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อได้รับการร้องขอ หมวด 8 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 32 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 70/2552เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 33 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 70/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคมพ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ 34 ในกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์รับทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์โดยมีการทําข้อตกลงหรือสัญญาการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์กับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากการรับทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวด 2 แห่งประกาศนี้ ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดังกล่าวจะยังคงทําหน้าที่เป็นผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ต่อไปภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาที่ทําไว้นั้นก็ได้ ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน --- 1. 2.
1,594
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 18/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องของกองทุนรวม
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 18/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง ของกองทุนรวม \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 11/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สํานักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๒ ในกรณีที่กองทุนรวมขาดสภาพคล่องเนื่องจากประสบปัญหาในการดําเนินงาน บริษัทจัดการที่บริหารจัดการกองทุนรวมดังกล่าวอาจทดรองจ่ายเงินเพื่อชําระค่าใช้จ่ายอันจําเป็นและสมควรของกองทุนรวม ซึ่งเกิดจากเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ได้ (1) การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งหลักเกณฑ์ที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) การติดตามผลประโยชน์หรือเรียกร้องค่าเสียหายของกองทุนรวม หรือการติดตามให้คู่สัญญาของกองทุนรวมปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญา การทดรองจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทําธุรกรรมระหว่างบริษัทจัดการกับกองทุนรวมที่อยู่ภายใต้การจัดการซึ่งกําหนดโดยประกาศที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,595
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 21/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นเป็นปัจจัยอ้างอิง และการจัดทำและการส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นเป็นปัจจัยอ้างอิงเพื่อการออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและ การยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นเป็นปัจจัยอ้างอิง และการจัดทําและการส่งรายงานเกี่ยวกับ การใช้หุ้นเป็นปัจจัยอ้างอิงเพื่อการ ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 ประกอบกับข้อ 17 วรรคสองแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ใช้หุ้นอ้างอิง” หมายความว่า หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่อาจมีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนโดยการส่งมอบเป็นหุ้น “หุ้นอ้างอิง” (underlying shares) หมายความว่า หุ้นรายการใดรายการหนึ่งหรือ หลายรายการ ซึ่งบริษัทที่ออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมีสิทธิส่งมอบหรือผู้ถือหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมีสิทธิได้รับมอบเพื่อการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๒ บริษัทที่ประสงค์จะออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ใช้หุ้นอ้างอิงต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และเมื่อสํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้บริษัทชําระค่าธรรมเนียมต่อสํานักงาน เว้นแต่หุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเป็นหุ้นที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิง (1) หุ้นที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 ของตลาดหลักทรัพย์ (2) หุ้นที่ไม่ได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (3) หุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามวรรคหนึ่ง ภายใน 15 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงพร้อมเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน บริษัทที่ได้รับยกเว้นการยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามวรรคหนึ่งยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4 และข้อ 5 ด้วย ข้อ ๓ บริษัทที่ยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงจะได้รับแจ้งยืนยันการอนุญาต ให้ใช้หุ้นอ้างอิงก็ต่อเมื่อสํานักงานพิจารณาเห็นว่าการใช้หุ้นอ้างอิงในกรณีดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบ ต่อเสถียรภาพหรือความน่าเชื่อถือของตลาดทุน ทั้งนี้ สํานักงานจะคํานึงถึงวิธีการของบริษัทในการบริหารความเสี่ยงในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ใช้หุ้นอ้างอิงมาประกอบการพิจารณาด้วย ในการแจ้งยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิง สํานักงานอาจกําหนดมูลค่าหรือจํานวนหุ้นอ้างอิงสูงสุดหรือระยะเวลาในการใช้หุ้นอ้างอิงก็ได้ ข้อ ๔ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพหรือความน่าเชื่อถือของตลาดทุน สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยกเลิกการได้รับยกเว้นการยื่นคําขอตรวจสอบการใช้หุ้นอ้างอิงตามข้อ 2 (2) ประกาศระงับการนําหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาใช้เป็นหุ้นอ้างอิง ภายใต้เงื่อนไขหรือระยะเวลาที่กําหนด (ถ้ามี) โดยการประกาศดังกล่าวจะไม่กระทบต่อหุ้นอ้างอิงของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ได้เสนอขายต่อผู้ลงทุนไปก่อนแล้ว ข้อ ๕ ภายหลังการเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่ใช้หุ้นอ้างอิง บริษัทต้องดําเนินการแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) แจ้งจํานวนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวที่ขายได้ พร้อมทั้งจํานวนหุ้นอ้างอิงสําหรับหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนั้น (2) แจ้งจํานวนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงดังกล่าวที่ได้มีการไถ่ถอนแล้ว พร้อมทั้งจํานวนหุ้นอ้างอิงสําหรับหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนั้น ข้อ ๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 9/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการขอตรวจสอบและการยืนยันการอนุญาตให้ใช้หุ้นอ้างอิง และการจัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับการใช้หุ้นอ้างอิงเพื่อการออกหุ้นกู้อนุพันธ์ ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,596
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 24/2559 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2559 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทน จําหน่ายหลักทรัพย์ โดยที่มาตรา 100 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กําหนดให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน สํานักงานจึงกําหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งประสงค์จะตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ หากการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้วทั้งนี้ ในกรณีตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ในประเทศเพื่อทําหน้าที่จําหน่ายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ให้บริษัทหลักทรัพย์แจ้งรายชื่อตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งให้สํานักงานทราบภายใน 5 วันทําการนับแต่วันที่แต่งตั้งด้วย ข้อ ๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2547 เรื่อง การตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2547 และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ตั้งตัวแทนจําหน่ายหลักทรัพย์ พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,597
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 73/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 73/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่จัดตั้งและจัดการโดยบริษัทจัดการ เพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (2) “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (3) “ผู้ดูแลผลประโยชน์” หมายความว่า ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งทําสัญญายินยอมให้กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมได้ (5) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (6) “ผู้ลงทุน” หมายความว่า ผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (7) “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จัดจําหน่ายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียน (8) “บริษัทนายหน้า” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมทุกกองทุนภายใต้โครงการจัดการกองทุนรวมเดียวกัน บริษัทจัดการต้องส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ร่างข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการ (3) ร่างสัญญาแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์ (4) ร่างหนังสือชี้ชวน (5) สําเนาสัญญาระหว่างบริษัทจัดการกับบริษัทจดทะเบียน ซึ่งกรรมการผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อของบริษัทจัดการได้รับรองความถูกต้องแล้ว (6) สําเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีมติให้กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตนตามอัตราส่วนที่กําหนดไว้ได้ ซึ่งกรรมการผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อของบริษัทจดทะเบียนได้รับรองความถูกต้องแล้ว สัญญาระหว่างบริษัทจัดการกับบริษัทจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง (5) ต้องกําหนดอัตราส่วนที่บริษัทจดทะเบียนสมัครใจให้กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตนด้วย ข้อ ๓ เมื่อบริษัทจัดการได้ยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงานแล้ว ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อขอให้พิจารณารับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในวันเดียวกันกับการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมต่อสํานักงาน ข้อ ๔ เมื่อบริษัทจัดการยื่นคําขอจัดตั้งกองทุนรวมและได้รับอนุมัติจากสํานักงานแล้วให้บริษัทจัดการจัดทําหนังสือชี้ชวนเป็นภาษาไทยและส่งให้สํานักงานล่วงหน้าก่อนวันเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนครั้งแรก ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจจัดทําหนังสือชี้ชวนเพื่อจัดส่งหรือแจกจ่ายต่อประชาชนเป็นภาษาอื่นที่มีเนื้อความถูกต้องตรงตามหนังสือชี้ชวนฉบับภาษาไทยก็ได้ ในกรณีที่บริษัทจัดการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่ปรากฏในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมซึ่งเป็นข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนด้วย ไม่ว่าเป็นกรณีแก้ไขเพิ่มเติมตามมติโดยเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งคิดตามจํานวนหน่วยลงทุนรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนหน่วยลงทุนที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของโครงการจัดการกองทุนรวม หรือเป็นกรณีแก้ไขเพิ่มเติมโดยได้รับ ความเห็นชอบจากสํานักงานก็ตาม ให้บริษัทจัดการแก้ไขข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้ตรงกับรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่แก้ไขเพิ่มเติม และจัดส่งหนังสือชี้ชวนรวมทั้งรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้แก่สํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๕ ห้ามมิให้บริษัทจัดการแก้ไขหรือยินยอมให้มีการแก้ไขสัญญาระหว่างบริษัทจัดการกับบริษัทจดทะเบียนเพื่อลดอัตราส่วนที่บริษัทจดทะเบียนสมัครใจให้กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตน เว้นแต่การแก้ไขดังกล่าวจะได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม หรือเมื่อสํานักงานได้ให้ความเห็นชอบให้แก้ไขอัตราส่วนดังกล่าวในโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว ในการขอความเห็นชอบจากสํานักงานเพื่อแก้ไขอัตราส่วนในโครงการจัดการกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการยื่นคําขอแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมพร้อมด้วยสําเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีมติให้แก้ไขอัตราส่วนดังกล่าว ซึ่งกรรมการผู้มีอํานาจลงลายมือชื่อของบริษัทจดทะเบียนได้รับรองความถูกต้องแล้ว ในกรณีที่อาจแก้ไขอัตราส่วนตามวรรคหนึ่งได้ บริษัทจัดการอาจสงวนสิทธิที่จะไม่ขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนที่สั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวได้จนกว่ากองทุนรวมจะถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้นต่ํากว่าอัตราส่วนที่ได้แก้ไขใหม่แล้ว ข้อ ๖ ในการจัดการกองทุนรวมหนึ่ง ๆ ให้บริษัทจัดการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนใดเพียงบริษัทจดทะเบียนเดียวเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมนั้น ข้อ ๗ เมื่อผู้ลงทุนจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดผ่านผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์หรือสั่งซื้อหรือสั่งขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดผ่านบริษัทนายหน้า และบริษัทจัดการได้รับทราบการจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวจากผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หรือรับทราบการสั่งซื้อหรือการสั่งขายหน่วยลงทุนดังกล่าวจากบริษัทนายหน้าแล้ว ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เมื่อผู้ลงทุนจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่บริษัทจัดการรับผิดชอบดําเนินการอยู่หรือที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง เพื่อการลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนผ่านผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ให้บริษัทจัดการมอบหมายให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนเพื่อกองทุนรวม และเมื่อกองทุนรวมได้รับจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนรวมทั้งมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ให้บริษัทจัดการดําเนินการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนในจํานวนเดียวกับจํานวนหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว ในกรณีที่ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ไม่สามารถซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนได้ให้บริษัทจัดการมอบหมายให้ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ดําเนินการคืนเงินค่าจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมแก่ผู้ลงทุน และหากบริษัทจดทะเบียนไม่ดําเนินการยื่นคําขอให้ตลาดหลักทรัพย์รับหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนภายในระยะเวลาเดียวกันกับที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้บริษัทจดทะเบียนยื่นคําขอให้รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือตลาดหลักทรัพย์ไม่รับหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ให้บริษัทจัดการดําเนินการบังคับไถ่ถอนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามจํานวนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับจากการจองซื้อตามวิธีการที่ระบุไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวม (2) เมื่อผู้ลงทุนสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดผ่านบริษัทนายหน้า และบริษัทจัดการได้รับทราบการสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวจากบริษัทนายหน้าแล้ว ให้บริษัทจัดการสั่งซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนผ่านบริษัทนายหน้า และเมื่อบริษัทนายหน้านั้นซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวได้แล้ว ให้บริษัทจัดการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนในจํานวนเดียวกับจํานวนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ซื้อได้ เมื่อผู้ลงทุนสั่งขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดผ่านบริษัทนายหน้า และบริษัทจัดการได้รับทราบการสั่งขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวจากบริษัทนายหน้าแล้ว ให้บริษัทจัดการสั่งขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนผ่านบริษัทนายหน้า และเมื่อบริษัทนายหน้านั้นขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวได้แล้ว ให้บริษัทจัดการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนในจํานวนเดียวกับจํานวนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ขายได้ (3) เมื่อผู้ลงทุนสั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดเพื่อให้กองทุนรวมซื้อหุ้นในลักษณะที่เป็นการซื้อขายรายใหญ่ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขาย การชําระราคา และการส่งมอบหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทจัดการได้รับทราบการสั่งซื้อหน่วยลงทุนขอกองทุนรวมดังกล่าวจากบริษัทนายหน้าแล้ว ให้บริษัทจัดการสั่งซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนบนกระดานรายใหญ่ผ่านบริษัทนายหน้า และเมื่อบริษัทนายหน้านั้นซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวได้แล้ว ให้บริษัทจัดการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนในจํานวนที่มีการตกลงซื้อขายกัน (4) เมื่อผู้ลงทุนสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมใดที่มีลักษณะเป็นการซื้อขายรายใหญ่ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขาย การชําระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทจัดการต้องดําเนินการให้ผู้ลงทุนดําเนินการซื้อขายผ่านบริษัทนายหน้า และให้บริษัทจัดการดําเนินการเกี่ยวกับหน่วยลงทุนและหุ้นของบริษัทจดทะเบียนโดยใช้วิธีการในลักษณะทํานองเดียวกันกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนบนกระดานรายใหญ่โดยอนุโลม และเมื่อบริษัทจัดการได้รับทราบการดําเนินการเกี่ยวกับหน่วยลงทุนและหุ้นดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทจัดการยกเลิกหน่วยลงทุนของผู้ขายหน่วยลงทุนและออกหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนในจํานวนที่มีการตกลงซื้อขายกัน การสั่งซื้อหรือสั่งขายหุ้นตามวรรคหนึ่ง (2) (3) และ (4) ให้บริษัทจัดการดําเนินการผ่านระบบการซื้อขายบนกระดานหลัก กระดานหน่วยย่อย หรือกระดานรายใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์หรือกระดานอื่นใดของตลาดหลักทรัพย์ตามที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ เว้นแต่เป็นการขายหุ้นตามคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 247 ข้อ ๘ ในกรณีที่กองทุนรวมทุกกองทุนรวมที่บริษัทจัดการเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนบริษัทใดบริษัทหนึ่งรวมกันถึงจํานวนที่ต้องรายงานการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 58/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ให้บริษัทจัดการจัดทํารายงานเกี่ยวกับการถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมดังกล่าวโดยระบุชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน จํานวนหน่วยลงทุน และวันที่ได้มาซึ่งหน่วยลงทุนดังกล่าว ส่งให้สํานักงานพร้อมกับการยื่นรายงานการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้นตามประกาศดังกล่าวด้วย ข้อ ๙ ในการขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการออกหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนเมื่อมีการร้องขอให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนแทนการออกใบหน่วยลงทุน ตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ทั้งนี้ หนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนดังกล่าว จะนําไจําหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระแก่สิทธิในหน่วยลงทุนมิได้ หนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อกองทุนรวม (2) ชื่อผู้ถือหน่วยลงทุน (3) จํานวนหน่วยลงทุน (4) วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุน (5) ชื่อและสถานที่ตั้งของบริษัทจัดการ (6) ลายมือชื่อบุคคลผู้ได้รับมอบหมายให้มีอํานาจลงนามเพื่อบริษัทจัดการในการรับรองข้อความหรือรายการในหนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุน ข้อ ๑๐ ในการชําระค่าหน่วยลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องชําระเงินจนเต็มค่า จะหักกลบลบหนี้กับบริษัทจัดการไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ข้อ ๑๑ ในการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่มิใช่กรณีที่กําหนดไว้ในข้อ 16 ให้บริษัทจัดการชําระเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาเดียวกันกับที่ตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้สมาชิกชําระราคาค่าขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า ข้อ ๑๒ ในการกําหนดราคาซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีขายหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกําหนดราคาขายหน่วยลงทุนเท่ากับราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่บริษัทจัดการซื้อได้ บวกด้วยค่าธรรมเนียมของบริษัทจัดการในอัตราที่ระบุไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน (2) กรณีรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ให้บริษัทจัดการกําหนดราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่ากับราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่บริษัทจัดการขายได้ หักด้วยค่าธรรมเนียมของบริษัทจัดการ ในอัตราที่ระบุไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน ข้อ ๑๓ ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย หรือเงินตอบแทนอื่นใดที่จะเรียกจากผู้ซื้อหน่วยลงทุนหรือผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทจัดการต้องกําหนดอัตราและวิธีการเรียกเก็บไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๔ เมื่อกองทุนรวมได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินจากการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่สิทธิประโยชน์ทางการเงินที่ได้รับนั้นเป็นเงินปันผล ให้บริษัทจัดการจ่ายเงินปันผลในจํานวนเดียวกันนั้นให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว ซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันก่อนวันที่ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมายที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนจะไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นคราวนั้น ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการจ่ายเงินปันผลตามสัดส่วนจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายถืออยู่ภายในวันทําการถัดจากวันที่กองทุนรวมได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินดังกล่าว และตามวิธีการที่กําหนดไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม (2) กรณีที่สิทธิประโยชน์ทางการเงินที่ได้รับนั้นเป็นสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของ บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวมีสิทธิซื้อหน่วยลงทุนเพิ่ม ให้บริษัทจัดการแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งมีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันก่อนวันที่ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมายที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนจะไม่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ในการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นคราวนั้น เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนแจ้งความจํานงที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มภายในระยะเวลาที่สอดคล้องเหมาะสมกับระยะเวลาที่กองทุนรวมจะใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการกําหนดวิธีการและระยะเวลาดังกล่าวไว้ในรายละเอียดโครงการจัดการกองทุนรวมด้วย ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแจ้งความจํานงที่จะซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มตามวรรคหนึ่ง (2) ให้บริษัทจัดการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมในจํานวนเดียวกับจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแจ้งความจํานงที่จะซื้อเพิ่ม และเมื่อบริษัทจัดการได้รับหุ้นจากการใช้สิทธิดังกล่าวแล้ว ให้บริษัทจัดการขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่แจ้งความจํานงว่าจะซื้อในจํานวนเดียวกับจํานวนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ซื้อได้ (3) กรณีที่เป็นสิทธิประโยชน์ทางการเงินอื่น ให้บริษัทจัดการดําเนินการตามที่กําหนดไว้ในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวม ข้อ ๑๕ ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้อันเป็นผลให้จํานวนหุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง ให้บริษัทจัดการดําเนินการเพิ่มหรือลดจํานวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายให้สอดคล้องกับสัดส่วนของหุ้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีผู้ทําคําเสนอซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนซึ่งกองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้นจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป ให้บริษัทจัดการแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมทราบ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวแจ้งความจํานงในการขายหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่สอดคล้องเหมาะสมกับระยะเวลารับซื้อที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนแจ้งความจํานงว่าจะขายหน่วยลงทุนตามวรรคหนึ่ง ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แสดงเจตนาขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนให้แก่ผู้ทําคําเสนอซื้อหุ้นในจํานวนเดียวกับจํานวนหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องการขาย (2) รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนที่ต้องการขายหน่วยลงทุนนั้นในจํานวนเดียวกับจํานวนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่บริษัทจัดการขายได้จริง โดยให้บริษัทจัดการรับซื้อคืนในวันเดียวกับวันที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหุ้นรับซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนจากกองทุนรวม (3) ชําระเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้รับชําระเงินค่าขายหุ้นจํานวนดังกล่าว ในกรณีที่การทําคําเสนอซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง เป็นผลจากการที่ตลาดหลักทรัพย์อนุมัติให้บริษัทจดทะเบียนถอนหุ้นของตนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้ และมีผู้ถือหน่วยลงทุนบางรายมิได้แจ้งความจํานงในการขายหน่วยลงทุนในวันก่อนวันสุดท้ายของระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อนั้น ให้บริษัทจัดการดําเนินการบังคับไถ่ถอนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวเพื่อแสดงเจตนาขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่เหลือให้แก่ผู้ทําคําเสนอซื้อ โดยบริษัทจัดการต้องชําระเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นภายในวันทําการถัดจากวันที่บริษัทจัดการได้รับชําระเงินค่าขายหุ้นจํานวนดังกล่าว ทั้งนี้ เว้นแต่สํานักงานจะผ่อนผันให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ข้อ ๑๗ ให้บริษัทจัดการจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ซึ่งมีคุณสมบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม ในกรณีที่มีเหตุต้องเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์และแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์อื่นแทนไม่ว่าเพราะเหตุใด บริษัทจัดการจะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสํานักงานก่อน ในกรณีที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ขาดคุณสมบัติและมิได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด บริษัทจัดการต้องขออนุญาตเปลี่ยนตัวผู้ดูแลผลประโยชน์ต่อสํานักงานในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกําหนดระยะเวลาให้แก้ไข และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วให้บริษัทจัดการแต่งตั้งผู้ดูแลผลประโยชน์อื่นแทนโดยพลัน ข้อ ๑๘ บริษัทจัดการอาจเลิกกองทุนรวมได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เลิกกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งได้ เมื่อกองทุนรวมนั้นไม่มีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเหลืออยู่ (2) เลิกกองทุนรวมทุกกองทุนที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเดียวกันได้ เมื่อกองทุนรวมทุกกองทุนไม่มีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้นเหลืออยู่ และบริษัทจดทะเบียนไม่ประสงค์จะให้กองทุนรวมนั้นลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตนต่อไป (3) เลิกกองทุนรวมทุกกองทุนที่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเดียวกันได้ เมื่อกองทุนรวมทุกกองทุนมีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนนั้นเหลืออยู่รวมกันไม่เกินร้อยละศูนย์จุดห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี (4) กรณีอื่นที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๑๙ ให้บริษัทจัดการเลิกกองทุนรวมเมื่อมีการเพิกถอนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ข้อ ๒๐ ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะเลิกกองทุนรวมตามข้อ 18(1) หรือ (3) ให้บริษัทจัดการปิดประกาศการเลิกกองทุนรวมไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของบริษัทจัดการ และสํานักงานที่เป็นสถานที่ติดต่อของผู้ดูแลผลประโยชน์ และแจ้งการเลิกกองทุนรวมเป็นหนังสือต่อสํานักงาน ภายในวันที่บริษัทจัดการกําหนดให้เป็นวันเลิกกองทุนรวม การเลิกกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง บริษัทจัดการอาจสงวนสิทธิที่จะไม่ขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนที่สั่งซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จะเลิกนั้นได้เมื่อกองทุนรวมนั้นไม่มีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเหลืออยู่ หรือเมื่อกองทุนรวมทุกกองทุนมีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเหลืออยู่รวมกันไม่เกินร้อยละศูนย์จุดห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้บริษัทจัดการปิดประกาศสงวนสิทธิที่จะไม่ขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้นที่สํานักงานของบริษัทจัดการและสํานักงานที่เป็นสถานที่ติดต่อของผู้ดูแลผลประโยชน์ภายในวันที่เริ่มสงวนสิทธิ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่บริษัทจัดการประสงค์จะเลิกกองทุนรวมตามข้อ 18(2) ให้บริษัทจัดการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ประกาศเจตนาว่า จะเลิกกองทุนรวมทุกกองทุนเมื่อกองทุนรวมทุกกองทุนไม่มีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเหลืออยู่ โดยแจ้งเป็นหนังสือต่อสํานักงาน และต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อเปิดเผยให้ผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปทราบ ทั้งนี้ การประกาศเจตนาดังกล่าวจะกระทําได้ต่อเมื่อมีมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนว่ามีความประสงค์ที่จะไม่ให้กองทุนรวมลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหุ้นของบริษัทตนต่อไป (2) ประกาศสงวนสิทธิที่จะไม่ขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนเมื่อกองทุนรวมทุกกองทุนมีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเหลืออยู่รวมกันไม่เกินร้อยละศูนย์จุดห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว โดยปิดประกาศสงวนสิทธิไว้ในที่เปิดเผย ณ สํานักงานของบริษัทจัดการและสํานักงานที่เป็นสถานที่ติดต่อของผู้ดูแลผลประโยชน์ และแจ้งการสงวนสิทธิที่จะไม่ขายหน่วยลงทุนเป็นหนังสือต่อสํานักงาน และต่อตลาดหลักทรัพย์เพื่อเปิดเผยให้ผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปทราบ (3) แจ้งการเลิกกองทุนรวมเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในวันที่บริษัทจัดการและบริษัทจดทะเบียนกําหนดให้เป็นวันเลิกกองทุนรวม ข้อ ๒๒ การเลิกกองทุนรวมตามข้อ 19 ให้บริษัทจัดการแจ้งการเลิกกองทุนรวมเป็นหนังสือต่อสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีมติเพิกถอนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน การเลิกกองทุนรวมตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าวันที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์กําหนดให้มีผลเป็นการเพิกถอนหุ้นของบริษัทจดทะเบียนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นวันเลิกกองทุนรวม ข้อ ๒๓ มิให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดการกองทุนรวม และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทุน มาใช้บังคับแก่การจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ข้อ ๒๔ เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทุนรวม ให้สํานักงานมีอํานาจพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อ 20 ข้อ 21 และข้อ 22 ได้ตามความจําเป็นและสมควร ข้อ ๒๕ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะมีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงกับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๒๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ในการจัดการกองทุนรวมเป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2539 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2539 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,598
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 35/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 35/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 129/2 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “มติเสียงข้างมาก” และคําว่า “มติพิเศษ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ตลาดหลักทรัพย์” และคําว่า “ผู้ลงทุน” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 73/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 “ “มติเสียงข้างมาก” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงข้างมากของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน “มติพิเศษ” หมายความว่า มติของผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือของจํานวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งส่งหนังสือแจ้งมติและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 73/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่บริษัทจัดการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่ปรากฏในรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมซึ่งเป็นข้อมูลที่ปรากฏในหนังสือชี้ชวนด้วย ไม่ว่าเป็นกรณีแก้ไขเพิ่มเติมตามมติเสียงข้างมากหรือมติพิเศษ แล้วแต่กรณี หรือเป็นกรณีแก้ไขเพิ่มเติมโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานก็ตาม ให้บริษัทจัดการแก้ไขข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้ตรงกับรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่แก้ไขเพิ่มเติม และจัดส่งหนังสือชี้ชวนรวมทั้งรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้แก่สํานักงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 (นางทิพยสุดา ถาวรามร) รองประธานกรรมการ ประธานกรรมการแทน คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,599
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 29/2559 เรื่อง ข้อกำหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงของสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2559 เรื่อง ข้อกําหนดในรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยงของ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 5(1) ประกอบกับข้อ 11 และข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “บริษัทใหญ่” หมายความว่า (1) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในสํานักหักบัญชีเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ (2) นิติบุคคลที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม (1) เกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น ข้อ ๒ ข้อกําหนดในรายละเอียดตามประกาศนี้ กําหนดขึ้นเพื่อให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 32/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ และการดําเนินการในรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ข้อ ๓ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีแหล่งเงินทุนที่เพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากสมาชิกไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ (credit risk) และความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ โดยแหล่งเงินทุนดังกล่าวต้องเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง มีความผันผวนด้านราคาต่ํา ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) ทรัพย์สินที่ได้รับจากสมาชิก (2) ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อเป็นประกันการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (3) ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อความมั่นคงของระบบการซื้อขายและการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (4) ทรัพย์สินที่บริษัทใหญ่แบ่งแยกไว้ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์โดยอยู่ในรูปของข้อผูกพันที่เป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย (explicit guarantee) ในกรณีที่เป็นแหล่งเงินทุนรองรับความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ทรัพย์สินตามวรรคสองให้รวมถึงสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์ก็ได้ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องคํานวณมูลค่าเงินทุนเพื่อให้เพียงพอรองรับความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 (1) การผิดนัดชําระหนี้ของสมาชิก 1 รายที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุด หรือ (2) การผิดนัดชําระหนี้ของสมาชิก 2 รายที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายสูงสุด ในกรณีที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์จัดให้มีบริการเกี่ยวกับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงและมีความซับซ้อนมากขึ้น หรือมีการเชื่อมโยงการทําธุรกรรมในหลายประเทศ ข้อ ๔ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีการประเมินความเพียงพอของมูลค่าแหล่งเงินทุนที่ใช้รองรับความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเป็นประจํา โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด (stress test) ทุกวันโดยสถานการณ์สมมุติ ค่าตัวแปรและสมมติฐานที่ใช้ (scenario/parameter/assumption) เป็นไปตามแนวทางที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งต้องครอบคลุมภาวะตลาดผันผวนสูงสุดที่มีโอกาสเกิดขึ้น (2) ประเมินค่าความผันผวนสูงสุดที่แหล่งเงินทุนสามารถรองรับได้ (reverse stress test) เป็นประจําทุกไตรมาส ให้สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์จัดส่งรายงานผลการประเมินตาม (1) และ (2) ต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ทุกรายไตรมาส ภายในวันที่ 15 ของเดือนแรกของไตรมาสถัดไป ข้อ ๕ เพื่อให้มั่นใจว่าแบบจําลอง (model) หรือวิธีการที่ใช้ในการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุด มีความเหมาะสมภายใต้สภาพตลาดปัจจุบันและที่อาจเปลี่ยนแปลงไป สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีการประเมินความเหมาะสมของสถานการณ์สมมติ ตัวแปร และสมมุติฐานที่ใช้ในการประเมินค่าความเสี่ยงสูงสุดทุกไตรมาส หรือเมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ และต้องตรวจสอบความถูกต้องของแบบจําลองดังกล่าว (full validation) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อ ๖ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องมีมาตรการและวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการติดตามและควบคุมมูลค่าคงค้างของการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ และความเสี่ยงที่สมาชิกแต่ละรายมีต่อระบบชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันหรือทรัพย์สินเพื่อรองรับความเสี่ยง สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยแนวทางการวางหลักประกันและการใช้แหล่งเงินทุนดังกล่าวให้ชัดเจน ซึ่งรวมถึงสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในการวางหลักประกัน ตลอดจนความเสี่ยงที่มีผลให้สมาชิกต้องวางหลักประกันหรือทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติม ข้อ ๘ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องจัดหาเงินทุนที่มีสภาพคล่องในระหว่างวัน (intraday liquidity) เพื่อบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ข้อ ๙ เพื่อเป็นประกันการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีระบบและข้อกําหนดในการวางหรือเรียกหลักประกันจากสมาชิกโดยรวมถึงวิธีการคํานวณและการปรับมูลค่าหลักประกัน การพิจารณาและทบทวนความเหมาะสมของแบบจําลองและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่ออัตราหลักประกัน ตลอดจนประเภท ลักษณะ และสัดส่วนของหลักประกัน โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้ (1) การคํานวณมูลค่าความเสี่ยงของสมาชิกแต่ละรายจากมูลค่าคงค้างชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์สุทธิทุกวันตามความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ โดยต้องคํานวณค่าความเสี่ยงของสมาชิกและของลูกค้าแยกออกจากกัน และไม่นําผลกําไรของลูกค้ามาหักล้างผลขาดทุนของสมาชิก (2) การเรียกเก็บหลักประกันจากสมาชิกแต่ละรายเพื่อให้เพียงพอรองรับความเสี่ยงทั้งในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นในระบบชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ เมื่อมูลค่าความเสี่ยงเกินกว่าระดับที่กําหนดในหลักเกณฑ์ของสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ และหากราคาหลักทรัพย์มีความผันผวนมาก สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์อาจเรียกหลักประกันมากกว่าวันละ 1 ครั้งก็ได้ (3) การทบทวนความถูกต้องของแบบจําลองและตัวแปรอย่างเหมาะสมเพื่อให้เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (4) กําหนดหลักประกันที่สอดคล้องกับความเสี่ยงและลักษณะของหลักทรัพย์ และราคาที่ใช้ในการคํานวณต้องมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ (5) กําหนดให้สมาชิกวางหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง มีความผันผวนด้านราคาต่ํา และมีความมั่นคงปลอดภัย โดยอาจอยู่ในรูปของเงินสด หรือทรัพย์สินอื่นโดยในกรณีที่หลักประกันเป็นหลักทรัพย์ต้องคํานึงถึงความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดของสมาชิกผู้วางหลักประกันกับผู้ออกหลักทรัพย์ด้วย ทั้งนี้ ตามระเบียบหรือข้อบังคับที่สํานักหักบัญชีหลักทรัพย์กําหนด (6) กําหนดสัดส่วนของทรัพย์สินแต่ละประเภท (concentration limit) ที่สมาชิกสามารถนํามาวางเป็นหลักประกันกับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์เพื่อป้องกันการกระจุกตัวของหลักประกันและสามารถบังคับเอากับหลักประกันได้ภายในเวลาที่กําหนดในกรณีที่สมาชิกผิดนัดชําระหนี้ (7) กําหนดวิธีการปรับมูลค่าหลักประกันและใช้อัตราส่วนลดค่าความเสี่ยง (haircut) ที่คํานึงถึงความเสี่ยงจากการลดมูลค่าของหลักประกันซึ่งรองรับช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงโดยต้องมีการทดสอบวิธีการประเมินมูลค่าและอัตราส่วนลดค่าความเสี่ยงเป็นประจํา และมีการทบทวนความถูกต้องของวิธีคํานวณอัตราส่วนลดค่าความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (8) กําหนดวิธีการที่สามารถระบุและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการรับหลักประกันที่มีความเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ (cross border collateral) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถบังคับหลักประกันดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,600