title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 15 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความ ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 42/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มิให้นําความ (1) (ก) และ (7) มาใช้บังคับ โดยให้มีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้แทน (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะกองทรัสต์และกลไลการบริหารจัดการ ให้มีข้อความที่มีนัยสําคัญว่า “(ชื่อกองทรัสต์)เป็นกองทรัสต์ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ที่แปลงมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ..(ชื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์) โดยกองทรัสต์ก่อตั้งขึ้นด้วยผลของสัญญาก่อตั้งทรัสต์นี้ และสมบูรณ์เมื่อผู้ก่อตั้งทรัสต์ก่อสิทธิในทางทรัพย์สินให้แก่ทรัสตีด้วยการเข้าทําสัญญาที่มีข้อผูกพันว่าผู้ก่อตั้งทรัสต์จะดําเนินการเพื่อให้กองทรัสต์ได้มาซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพ โดยแลกกับการที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะได้รับหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี)” (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะให้เป็นกองทรัสต์ ให้มีข้อความเกี่ยวกับทรัพย์สินเริ่มต้นที่จะให้เป็นกองทรัสต์ที่มีนัยสําคัญว่า “ทรัพย์สินเริ่มต้นของกองทรัสต์ ได้แก่ สัญญาระหว่างผู้ก่อตั้งทรัสต์กับทรัสตี ซึ่งผู้ก่อตั้งทรัสต์ได้ก่อสิทธิในทางทรัพย์สินให้แก่ทรัสตีโดยการเข้าผูกพันว่า จะดําเนินการเพื่อให้กองทรัสต์ได้มาซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพโดยแลกกับการที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะได้รับหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี)”” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 ข้อ 18/2 และข้อ 18/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการ และข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 18/1 การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางตรง ต้องมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเป็นบุคคลที่ผู้จัดการกองทรัสต์พิจารณาว่ามี ความเหมาะสมและสามารถประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก (ข) กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนอยู่ในต่างประเทศ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินอาจเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของบุคคลซึ่งทางการหรือหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์กําหนดให้สามารถทําหน้าที่ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อดังกล่าว ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเข้าลักษณะใด ลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น 2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสากล 3. เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีเครือข่ายกว้างขวางในระดับสากล (international firm) (2) การประเมินมูลค่าต้องไม่กระทําโดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินรายเดียวกันติดต่อกันเกินสองครั้ง (3) ในกรณีดังนี้ จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบ เอกสารสิทธิ และเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน (ก) เมื่อกองทรัสต์จะได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน โดยจะประเมินล่วงหน้าเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี (ข) เมื่อครบกําหนดสองปีนับแต่วันที่มีการประเมินมูลค่าเต็มรูปแบบ ครั้งล่าสุด (ค) เมื่อปรากฏเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อันอาจมีผลกระทบ ต่อการด้อยค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (ง) เมื่อทรัสตีหรือผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ร้องขอ (4) มีการสอบทานการประเมินมูลค่าทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่มีการประเมินมูลค่าเต็มรูปแบบครั้งล่าสุด สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องกําหนดรอบการประเมินมูลค่าและการสอบทานการประเมินมูลค่าของกองทรัสต์ไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่แปลงมาจากกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ อาจกําหนดให้มีการประเมินมูลค่าและการสอบทานการประเมินมูลค่าต่อเนื่องกับ รอบการประเมินมูลค่าหรือการสอบทานการประเมินมูลค่าของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ข้อ 18/2 การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้นในบริษัท (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งในชั้นของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่ออกหุ้นดังนี้ (ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ จะประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/1 โดยคํานึงถึงภาระภาษีของบริษัทและปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อม (ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัท จะประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทดังกล่าวได้ลงทุนไว้ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/1 โดยอนุโลม (2) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นที่บริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นได้ลงทุนไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม (ข) ในกรณีหลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของ ทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในตราสารหนี้หรือสัญญาที่ถือเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยทางอ้อม จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ใน (2) ข้อ 18/3 ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินอื่นตามข้อ 14 ต้องกําหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/2(2)” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 12/2559 เรื่องข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18 รายการเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่กองทรัสต์ลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางตรง ต้องแสดง สาระสําคัญตามข้อ 18/1 (2) การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้นในบริษัท (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญตามข้อ 18/2 (3) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามข้อ 14 ต้องแสดงสาระสําคัญตามข้อ 18/3” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/1 ข้อ 18/2 และข้อ 18/3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการ และข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 18/1 การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางตรง ต้องมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเป็นบุคคลที่ผู้จัดการกองทรัสต์พิจารณาว่ามี ความเหมาะสมและสามารถประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก (ข) กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนอยู่ในต่างประเทศ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินอาจเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของบุคคลซึ่งทางการหรือหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์กําหนดให้สามารถทําหน้าที่ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อดังกล่าว ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเข้าลักษณะใด ลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น 2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสากล 3. เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีเครือข่ายกว้างขวางในระดับสากล (international firm) (2) การประเมินมูลค่าต้องไม่กระทําโดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินรายเดียวกันติดต่อกันเกินสองครั้ง (3) ในกรณีดังนี้ จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบ เอกสารสิทธิ และเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน (ก) เมื่อกองทรัสต์จะได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน โดยจะประเมินล่วงหน้าเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี (ข) เมื่อครบกําหนดสองปีนับแต่วันที่มีการประเมินมูลค่าเต็มรูปแบบ ครั้งล่าสุด (ค) เมื่อปรากฏเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อันอาจมีผลกระทบ ต่อการด้อยค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (ง) เมื่อทรัสตีหรือผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ร้องขอ (4) มีการสอบทานการประเมินมูลค่าทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่มีการประเมินมูลค่าเต็มรูปแบบครั้งล่าสุด สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องกําหนดรอบการประเมินมูลค่าและการสอบทานการประเมินมูลค่าของกองทรัสต์ไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่แปลงมาจากกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ อาจกําหนดให้มีการประเมินมูลค่าและการสอบทานการประเมินมูลค่าต่อเนื่องกับ รอบการประเมินมูลค่าหรือการสอบทานการประเมินมูลค่าของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ข้อ 18/2 การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้นในบริษัท (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งในชั้นของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่ออกหุ้นดังนี้ (ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ จะประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/1 โดยคํานึงถึงภาระภาษีของบริษัทและปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อม (ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัท จะประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทดังกล่าวได้ลงทุนไว้ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/1 โดยอนุโลม (2) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นที่บริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นได้ลงทุนไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม (ข) ในกรณีหลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของ ทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในตราสารหนี้หรือสัญญาที่ถือเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยทางอ้อม จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ใน (2) ข้อ 18/3 ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินอื่นตามข้อ 14 ต้องกําหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/2(2)” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความ ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) การเรียกประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้จัดทําเป็นหนังสือนัดประชุม ระบุสถานที่ วันเวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งความเห็นของผู้จัดการกองทรัสต์ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งรวมถึงผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์อาจได้รับจากการลงมติในเรื่องนั้น โดยการจัดส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องกําหนดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) กรณีทั่วไป ให้จัดส่งให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันประชุม (ข) กรณีที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลาการจัดส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ไว้เป็นการเฉพาะ ให้จัดส่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้น ๆ” ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ในข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “(8) กรณีที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอมติและการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้น” ข้อ ๗ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,400
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 59/2559 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 59/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 7) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 15 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1/1) ของข้อ 17 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความ ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 12/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1/1) ในกรณีที่กําหนดให้กองทรัสต์สามารถกู้ยืมเงินได้ ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่าการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (ข) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ 1. ให้สิทธิลูกหนี้ในการชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (callable) หรือให้สิทธิกองทรัสต์ในการเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) 2. กําหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น 3. ไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (ค) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ข้อ ๒ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,401
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 52/2561 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 52/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 15 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติ ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (9) ของข้อ 26 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สร. 86/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(9) ข้อกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดในค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ อันเนื่องมาจากการดูแลจัดการกองทรัสต์ของผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องรับผิดชอบในค่าปรับหรือค่าเสียหายที่เกิดแก่ตนเองอันเนื่องมาจากการที่ผู้จัดการกองทรัสต์กระทําผิดหน้าที่ของตนตามนัยมาตรา 33/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยผู้จัดการกองทรัสต์จะนําทรัพย์สินของกองทรัสต์มาชําระค่าปรับหรือชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้ (ข) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องรับผิดชอบในค่าปรับหรือค่าเสียหายอื่นใดที่เกิดแก่กองทรัสต์อันเนื่องมาจากการที่ผู้จัดการกองทรัสต์กระทําผิดหน้าที่ของตนไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยผู้จัดการกองทรัสต์จะนําทรัพย์สินของกองทรัสต์มาชําระค่าปรับหรือชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้” ข้อ ๒ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,402
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 23/2561 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 23/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 15 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของ (ข) ใน (2) ของข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การประชุมวิสามัญตามวรรคหนึ่ง 2. ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ จัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากผู้ถือหน่วยทรัสต์” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) การเรียกประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ําดังนี้ (ก) จัดทําหนังสือนัดประชุมที่มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ถือหน่วยทรัสต์ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการประชุมและการออกเสียงลงมติ ตลอดจนระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งความเห็นของผู้จัดการกองทรัสต์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการขอมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้รวมถึงความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์อาจได้รับจากการลงมติในเรื่องนั้น ๆ ด้วย (ข) จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหน่วยทรัสต์ล่วงหน้าก่อนวันประชุมตามระยะเวลาดังนี้ 1. สิบสี่วัน ในกรณีที่เป็นการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งมีวาระที่ต้องได้มติผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยทรัสต์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง 2. เจ็ดวัน ในกรณีอื่นนอกจาก 1. (ค) ประกาศการนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันประชุม” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) องค์ประชุม ต้องมีข้อกําหนดดังนี้ (ก) กําหนดให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์มาประชุมไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้ถือหน่วยทรัสต์ทั้งหมด และต้องมีหน่วยทรัสต์นับรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม (ข) ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ครั้งใด เมื่อล่วงเวลานัดไปแล้วถึงหนึ่งชั่วโมงจํานวนผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งมาเข้าร่วมประชุมไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามที่กําหนดไว้ใน (ก) หากว่าการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์นั้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหน่วยทรัสต์ร้องขอตาม (2) (ข) 2. ให้การประชุมเป็นอันระงับไป หากการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์นั้นมิใช่เป็นการเรียกประชุมเพราะผู้ถือหน่วยทรัสต์ร้องขอตาม (2) (ข) 2. ให้นัดประชุมใหม่ และให้ส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม โดยในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม” ข้อ 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) ในข้อ 22 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 “(4/1) การดําเนินการประชุม ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) การดําเนินการประชุม ให้เป็นไปตามลําดับระเบียบวาระที่กําหนดไว้ในหนังสือนัดประชุม เว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติให้เปลี่ยนลําดับระเบียบวาระด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งมาประชุม (ข) เมื่อที่ประชุมพิจารณาเสร็จตาม (ก) แล้ว ผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งมีหน่วยทรัสต์นับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้ทั้งหมด จะขอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ในหนังสือนัดประชุมอีกก็ได้ (ค) ในกรณีที่ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามลําดับระเบียบวาระไม่เสร็จตาม (ก) หรือพิจารณาเรื่องที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์เสนอไม่เสร็จตาม (ข) แล้วแต่กรณี และจําเป็นต้องเลื่อนการพิจารณา ให้ที่ประชุมกําหนดสถานที่ วัน และเวลาที่จะประชุมครั้งต่อไป และให้ผู้จัดการกองทรัสต์ส่งหนังสือนัดประชุมระบุสถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระการประชุมไปยังผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม ทั้งนี้ ให้โฆษณาคําบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันประชุมด้วย ข้อ 5 ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,403
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 16/2562 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 16/2562 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 15 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติ ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 รายการเกี่ยวกับการลงทุนของกองทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนในทรัพย์สินหลักและอุปกรณ์ (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) นโยบายลงทุนและประเภททรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์จะลงทุน รวมทั้งข้อจํากัดการลงทุน (ถ้ามี) ซึ่งมีสาระสําคัญตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ข) วิธีการได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักและอุปกรณ์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีของทรัพย์สินหลัก ให้มีข้อกําหนดตามข้อ 11 (ค) วิธีการจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลักและอุปกรณ์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีของทรัพย์สินหลัก ให้มีข้อกําหนดตามข้อ 12 (2) ในกรณีที่จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านบริษัทอื่นต้องมีข้อกําหนดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ (ก) ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของบริษัทที่กองทรัสต์สามารถลงทุนโดยทางอ้อม ผ่านบริษัทดังกล่าวได้ และกลไกการกํากับดูแลที่จะทําให้ผู้จัดการกองทรัสต์สามารถดูแลและควบคุมให้บริษัทดังกล่าวดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ข) ข้อกําหนดที่แสดงว่าการลงทุนโดยทางอ้อมนั้นต้องผ่านกระบวนการอนุมัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ด้วย (ค) ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทตาม (ก) ไม่ว่าในรูปแบบใด สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน และกําหนดขั้นตอนการดําเนินการในการให้กู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นด้วย นอกเหนือจากการลงทุนในทรัพย์สินหลัก ต้องระบุนโยบายดังกล่าวและประเภททรัพย์สินที่จะลงทุนให้ชัดเจน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 18/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18/2 การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้นในบริษัท (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งในชั้นของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่ออกหุ้นดังนี้ (ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ จะประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ ในข้อ 18/1 โดยต้องคํานึงถึงสัดส่วนการถือหุ้นของกองทรัสต์ ภาระภาษีของบริษัทที่กองทรัสต์เป็น ผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่การลงทุนโดยทางอ้อมดังกล่าวมีการถือหุ้นในบริษัทเป็นทอด ๆ การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ต้องคํานึงถึงปัจจัยตามวรรคหนึ่งของบริษัทในทุกชั้นด้วย (ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัทที่ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/1 โดยอนุโลม (2) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นซึ่งบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นและบริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ (ถ้ามี) ได้ลงทุนไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม (ข) ในกรณีหลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในตราสารหนี้หรือสัญญาที่ถือเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยทางอ้อม จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ใน (2)” ข้อ 3 ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัด หรือแย้งกับข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,404
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 22/2563 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 11)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 22/2563 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 11) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความ ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการแต่งตั้ง เงื่อนไขและวิธีการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนค่าตอบแทนทรัสตี ซึ่งรวมถึงข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (ก) การเปลี่ยนแปลงทรัสตี เมื่อมีเหตุดังนี้ 1. เหตุตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 2. เมื่อทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ข) กําหนดเวลาการเปลี่ยนแปลงทรัสตีในกรณีที่ปรากฏเหตุตาม (ก) 2. ซึ่งต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (4) ในข้อ 26 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) เหตุในการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องกําหนดไว้อย่างน้อยดังนี้ 1. ผู้จัดการกองทรัสต์ลาออก 2. ผู้จัดการกองทรัสต์ถูกถอดถอนจากการทําหน้าที่ เมื่อปรากฏว่าผู้จัดการ กองทรัสต์มิได้จัดการกองทรัสต์ตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ 3. ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน 4. สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ หรือสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์เป็นเวลาเกินกว่าเก้าสิบวัน ทั้งนี้ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ ให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน 5. ผู้จัดการกองทรัสต์สิ้นสภาพนิติบุคคล” ข้อ 3 ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัด หรือแย้งกับข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,405
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 4/2564 เรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 12)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 4/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ในวรรคหนึ่งของข้อ 18/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 “(5) กรณีอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์คืนให้แก่เจ้าของเดิม อย่างน้อยต้องมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และวิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach)” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,406
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อ ธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัด สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “กองทรัสต์”[[1]](#footnote-1)1 หมายความว่า ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “อสังหาริมทรัพย์” ให้หมายความรวมถึงอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์”[[2]](#footnote-2)1 หมายความว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ จัดตั้งขึ้นตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ “ทุนชําระแล้ว” หมายความว่า มูลค่ารวมของหน่วยทรัสต์ที่ชําระเต็มจํานวนแล้ว “บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน “ผู้จัดการกองทรัสต์” หมายความว่า บุคคลที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ตาม สัญญาก่อตั้งทรัสต์ “การเพิ่มทุนแบบมอบอํานาจทั่วไป” (general mandate) หมายความว่า การเพิ่มทุน ของกองทรัสต์ตามมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ให้อํานาจผู้จัดการกองทรัสต์กําหนดหรือเห็นชอบ วัตถุประสงค์การออกและจัดสรรหน่วยเพิ่มทุนแต่ละคราวตามความเหมาะสม เช่น การกําหนดราคา วันและเวลาที่จะเสนอขาย หรือเงื่อนไขในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ เป็นต้น “ทรัพย์สินหลัก” หมายความว่า ทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์สามารถลงทุนได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขาย หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “หน่วยทรัสต์” หมายความว่า ใบทรัสต์ที่แสดงสิทธิของผู้ถือในฐานะผู้รับประโยชน์ในกองทรัสต์ “ทรัสต์อื่น”[[3]](#footnote-3)12 หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายไทยซึ่งมิใช่หน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายต่างประเทศ “ลงทุนในทรัสต์อื่น”[[4]](#footnote-4)12 หมายความว่า ลงทุนในทรัสต์อื่นไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ เพื่อให้มีสิทธิในฐานะผู้รับประโยชน์ของทรัสต์อื่นนั้น “เจ้าของเดิม”[[5]](#footnote-5)16 หมายความว่า เจ้าของเดิมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบ “ค่าเช่า”[[6]](#footnote-6)2 หมายความว่า ค่าตอบแทนที่ได้รับจากการให้เช่า การให้ใช้พื้นที่ หรือการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้เช่าหรือให้ใช้พื้นที่ แล้วแต่กรณี ยกเลิก[[7]](#footnote-7)2 “สมาคมบริษัทจัดการลงทุน”[[8]](#footnote-8)4 หมายความว่า สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งและจดทะเบียนกับสํานักงาน ก.ล.ต. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําการส่งเสริมและ พัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่เกี่ยวกับการจัดการลงทุน “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ 2 ประกาศนี้ (1) เป็นข้อกําหนดที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (2) เป็นการกําหนดรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ [[9]](#footnote-9)14ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุน ในวงจํากัด ซึ่งให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ว่าด้วยรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ข้อ 3 สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายการเกี่ยวกับการก่อตั้งกองทรัสต์ (2) รายการเกี่ยวกับหน่วยทรัสต์ (3) รายการเกี่ยวกับการเพิ่มทุนของกองทรัสต์ (4) รายการเกี่ยวกับการลดทุนชําระแล้วของกองทรัสต์ (5) รายการเกี่ยวกับผู้ถือหน่วยทรัสต์ (6) รายการเกี่ยวกับการจัดทําทะเบียนหน่วยทรัสต์ การโอนหน่วยทรัสต์และข้อจํากัด การโอน และการออกเอกสารแสดงสิทธิ (7) รายการเกี่ยวกับการลงทุนของกองทรัสต์ (8) รายการเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทรัสต์ (9) รายการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ และการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของกองทรัสต์ (10) รายการเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน (10/1)[[10]](#footnote-10)13 รายการเกี่ยวกับการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ (11) รายการเกี่ยวกับการทําธุรกรรมระหว่างกองทรัสต์กับผู้จัดการกองทรัสต์หรือ บุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ (11/1)[[11]](#footnote-11)2 รายการเกี่ยวกับการทําธุรกรรมที่เป็นการขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง กองทรัสต์กับทรัสตี (12) รายการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ (13) รายการเกี่ยวกับการจ่ายประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ (14) รายการเกี่ยวกับการขอมติและการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ (15) รายการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิในการรับประโยชน์ตอบแทน การจัดการกับประโยชน์ตอบแทน และสิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ (16) รายการเกี่ยวกับทรัสตี (17) รายการเกี่ยวกับผู้จัดการกองทรัสต์ (18) รายการเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย (19) รายการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (20) รายการเกี่ยวกับการเลิกกองทรัสต์ ข้อ 4 รายการเกี่ยวกับการก่อตั้งกองทรัสต์ ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะของกองทรัสต์และกลไกการบริหาร ซึ่งมีข้อความที่มีนัยสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) ............(ชื่อกองทรัสต์)............เป็นกองทรัสต์ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ที่ก่อตั้งขึ้นด้วยผลของสัญญาก่อตั้งทรัสต์นี้ และสมบูรณ์เมื่อผู้ก่อตั้งทรัสต์ โอนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ ด้วยความไว้วางใจให้ทรัสตีจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของ ผู้ถือหน่วยทรัสต์ (ข) กองทรัสต์นี้ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล โดยเป็นกองทรัพย์สินที่อยู่ในชื่อ และอํานาจการจัดการของทรัสตี (ค)[[12]](#footnote-12)2 การจัดการกองทรัสต์ จะกระทําโดยทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับ มอบหมายจากทรัสตีซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามสัญญานี้ โดยมีขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ปรากฏในรายการเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ของทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ ในการนี้ ผู้จัดการกองทรัสต์มีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบหลักที่เกี่ยวข้องกับการดูแลจัดการกองทรัสต์ ซึ่งรวมถึง การลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ และทรัสตีมีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์และผู้รับมอบหมายรายอื่น (ถ้ามี) ให้เป็นไปตามสัญญา และตามกฎหมาย ตลอดจนการเก็บรักษาทรัพย์สินของกองทรัสต์ ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์สินหลัก การจัดการลงทุนในทรัพย์สินอื่นดังกล่าวอาจดําเนินการโดยทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือบุคคลอื่นที่ทรัสตีหรือผู้จัดการกองทรัสต์มอบหมาย โดยจะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์นี้ (ง) ผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตี จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีวิชาชีพซึ่งได้รับความไว้วางใจ ด้วยความระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม และเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อผูกพันที่ได้ให้ไว้เพิ่มเติมในเอกสารที่เปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์แก่ผู้ลงทุน (ถ้ามี) (2) ชื่อ อายุ ประเภท และวัตถุประสงค์ของกองทรัสต์ (3) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ก่อตั้งทรัสต์ และข้อความที่แสดงว่า ผู้ก่อตั้งทรัสต์ตกลงโอนเงินที่ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ด้วยความไว้วางใจให้ทรัสตีจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้รับประโยชน์ของกองทรัสต์ และเมื่อกองทรัสต์มีผลสมบูรณ์แล้ว ผู้ก่อตั้งทรัสต์จะเข้าเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ (4) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของทรัสตี และข้อความที่แสดงว่า ทรัสตีตกลง เข้าถือทรัพย์สินที่จะเป็นกองทรัสต์ ซึ่งผู้ก่อตั้งทรัสต์โอนให้แก่ทรัสตีด้วยความไว้วางใจให้จัดการ ทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของผู้รับประโยชน์ตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์นี้ (5) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้จัดการกองทรัสต์ และข้อความที่แสดงว่า ผู้จัดการกองทรัสต์ตกลงเข้ารับดูแลจัดการทรัพย์สินของกองทรัสต์ตามที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตี โดยมีขอบเขต อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์นี้ ตลอดจน สัญญาแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์และข้อตกลงอื่นระหว่างผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตี (ถ้ามี) (6) คุณสมบัติหรือลักษณะของผู้รับประโยชน์ของกองทรัสต์ ซึ่งมีข้อความที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามที่ปรากฏชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ เป็นผู้รับประโยชน์ของกองทรัสต์นี้ (7) ทรัพย์สินที่จะให้เป็นกองทรัสต์ ทั้งนี้ ทรัพย์สินเริ่มต้นที่จะให้เป็นกองทรัสต์ ต้องเป็นเงินที่ผู้ก่อตั้งทรัสต์ได้จากการจําหน่ายหน่วยทรัสต์ในการเสนอขายหน่วยทรัสต์ครั้งแรก (8) วันที่จัดตั้งกองทรัสต์ [[13]](#footnote-13)5ในกรณีกองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มิให้นําความ (1) (ก) และ (7) มาใช้บังคับ โดยให้มีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้แทน (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะกองทรัสต์และกลไกการบริหารจัดการ ให้มีข้อความ ที่มีนัยสําคัญว่า “............(ชื่อกองทรัสต์)......................เป็นกองทรัสต์ตามพระราชบัญญัติทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ที่แปลงมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ..(ชื่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์)....... โดยกองทรัสต์ก่อตั้งขึ้นด้วยผลของสัญญาก่อตั้งทรัสต์นี้ และสมบูรณ์เมื่อ ผู้ก่อตั้งทรัสต์ก่อสิทธิในทางทรัพย์สินให้แก่ทรัสตีด้วยการเข้าทําสัญญาที่มีข้อผูกพันว่าผู้ก่อตั้งทรัสต์ จะดําเนินการเพื่อให้กองทรัสต์ได้มาซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพ โดยแลกกับการที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะได้รับหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ และเงินสด (ถ้ามี)” (2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะให้เป็นกองทรัสต์ ให้มีข้อความเกี่ยวกับทรัพย์สินเริ่มต้นที่จะให้เป็นกองทรัสต์ที่มีนัยสําคัญว่า “ทรัพย์สินเริ่มต้นของกองทรัสต์ ได้แก่ สัญญาระหว่างผู้ก่อตั้งทรัสต์กับทรัสตี ซึ่งผู้ก่อตั้งทรัสต์ได้ก่อสิทธิในทางทรัพย์สินให้แก่ทรัสตี โดยการเข้าผูกพันว่าจะดําเนินการเพื่อให้กองทรัสต์ได้มาซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่แปลงสภาพโดยแลกกับการที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะได้รับหน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์และเงินสด (ถ้ามี)” ข้อ 5 รายการเกี่ยวกับหน่วยทรัสต์ ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดที่แสดงว่า สิทธิในการได้รับประโยชน์จากกองทรัสต์ให้แบ่งออกเป็นหน่วย หน่วยละเท่า ๆ กัน เรียกว่าหน่วยทรัสต์ โดยหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดให้สิทธิแก่ผู้ถือเท่า ๆ กัน ในการเป็นผู้รับประโยชน์จากกองทรัสต์ (2) ข้อกําหนดที่แสดงว่า หน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์นี้ มิได้ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการ ขายคืนหรือไถ่ถอน (3) ลักษณะการแบ่งชนิดของหน่วยทรัสต์ (ถ้ามี) (4) จํานวนและมูลค่ารวมของหน่วยทรัสต์ที่ออกครั้งแรก รวมทั้งจํานวนและ มูลค่ารวมของหน่วยทรัสต์ที่ออกเพิ่มเติม (ถ้ามี) ซึ่งคํานวณตามมูลค่าที่ตราไว้ โดยในกรณีที่มี การแบ่งหน่วยทรัสต์ออกเป็นหลายชนิด ให้แสดงแยกเป็นรายชนิดด้วย ข้อ 6 รายการเกี่ยวกับการเพิ่มทุนของกองทรัสต์ ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดอํานาจหน้าที่ให้ผู้จัดการกองทรัสต์เป็นผู้ดําเนินการเพิ่มทุน (2) เหตุในการเพิ่มทุน (3) กระบวนการเพิ่มทุน ซึ่งต้องมีข้อกําหนดขั้นต่ําดังต่อไปนี้ (ก) การเพิ่มทุนของกองทรัสต์จะกระทําได้ต่อเมื่อไม่ขัดหรือแย้งกับเจตนารมณ์ ในการก่อตั้งกองทรัสต์ และบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออก โดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (ข) ที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เพิ่มเติมดังต่อไปนี้ 1. การเพิ่มทุนโดยเสนอขายหน่วยทรัสต์เป็นการเฉพาะเจาะจงให้แก่ ผู้ถือหน่วยทรัสต์บางราย ต้องไม่มีผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งถือหน่วยทรัสต์รวมกันเกินกว่าร้อยละสิบของ จํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงคัดค้านการเพิ่มทุน 2. ในกรณีที่เป็นการขอมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อการเพิ่มทุนแบบ มอบอํานาจทั่วไป ให้กระทําได้เฉพาะกรณีที่แสดงไว้อย่างชัดเจนว่าการจัดสรรหน่วยทรัสต์เพิ่มทุนจะเป็นไปตามอัตราและหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเปิดเผยสารสนเทศ และการปฏิบัติการใด ๆ เกี่ยวกับการเพิ่มทุน ของบริษัทจดทะเบียน โดยอนุโลม และตามแนวทางที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดในรายละเอียดเพื่อให้เกิด ความชัดเจนในทางปฏิบัติ (ถ้ามี) รวมทั้งมีข้อกําหนดให้การเพิ่มทุนต้องกระทําให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุน (ค) ในกรณีที่เป็นการเพิ่มทุนเพื่อลงทุนในทรัพย์สินหลักเพิ่มเติม ได้ผ่าน กระบวนการตามข้อ 11 และหากเป็นการทําธุรกรรมระหว่างกองทรัสต์กับผู้จัดการกองทรัสต์หรือ บุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องผ่านการดําเนินการตามข้อ 19 ด้วย (ง) ผู้จัดการกองทรัสต์ได้รับอนุญาตจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้เสนอขาย หน่วยทรัสต์ที่ออกใหม่ [[14]](#footnote-14)5ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ระบุแผนการเพิ่มทุนไว้เป็นการล่วงหน้าอย่างชัดเจนแล้ว สัญญาก่อตั้งทรัสต์จะกําหนดให้การเพิ่มทุนสามารถกระทําได้โดยไม่ผ่านกระบวนการตามวรรคหนึ่ง (3) (ข) ก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่แผนการเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ ต้องกําหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับระยะเวลาแล้วเสร็จของการเพิ่มทุน ตามแผนการเพิ่มทุนนั้น ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มีมติอนุมัติแผนการแปลงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ข้อ 7 รายการเกี่ยวกับการลดทุนชําระแล้วของกองทรัสต์ ให้มีข้อกําหนดที่แสดง สาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การกําหนดอํานาจหน้าที่ให้ผู้จัดการกองทรัสต์เป็นผู้ดําเนินการลดทุนชําระแล้ว (2) เหตุในการลดทุนชําระแล้ว ซึ่งมีได้เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (ก) เป็นการลดทุนชําระแล้วตามแผนที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ข) กองทรัสต์มีสภาพคล่องส่วนเกินที่เหลืออยู่ภายหลังการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือการตัดจําหน่ายสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้องปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่ากองทรัสต์ไม่มีกําไรสะสมเหลืออยู่แล้ว (ค) กองทรัสต์มีการเพิ่มทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม แต่ปรากฏเหตุขัดข้องในภายหลังทําให้ไม่สามารถได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว (ง) กองทรัสต์มีรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสดและไม่มีเหตุต้องนําไปใช้ ในการคํานวณกําไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วของกองทรัสต์ตามข้อ 21 (จ) กรณีอื่นใดที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์มีมติให้ลดทุนชําระแล้วของกองทรัสต์ได้ (3) กระบวนการลดทุนชําระแล้ว ซึ่งต้องมีข้อกําหนดขั้นต่ําดังต่อไปนี้ (ก) การลดทุนชําระแล้วของกองทรัสต์จะกระทําได้ต่อเมื่อไม่ขัดหรือแย้งกับ เจตนารมณ์ในการก่อตั้งกองทรัสต์ และบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (ข) ที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์มีมติอนุมัติให้ลดทุนชําระแล้ว (ค) ดําเนินการลดทุนชําระแล้วด้วยวิธีการลดมูลค่าหน่วยทรัสต์ให้ต่ําลงเท่านั้น (ง) เฉลี่ยเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยทรัสต์ โดยคํานวณมูลค่าหน่วยทรัสต์ที่ใช้ในการลดทุนชําระแล้วจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทรัสต์ ณ วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยทรัสต์ ทั้งนี้ เงินที่เฉลี่ยคืนต้อง มิได้มาจากเงินกําไรของกองทรัสต์ [[15]](#footnote-15)2ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์มีข้อกําหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการลดทุนชําระแล้วตาม วรรคหนึ่ง (2) (ก) (ข) (ค) หรือ (ง) สัญญาก่อตั้งทรัสต์จะมีข้อกําหนดให้กระบวนการลดทุนชําระแล้วสําหรับเหตุดังกล่าวสามารถกระทําได้โดยไม่ต้องได้รับมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง (3)(ข) ก็ได้ ข้อ 8 รายการเกี่ยวกับผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) การเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์มิได้ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ในลักษณะของตัวการตัวแทน ระหว่างผู้ถือหน่วยทรัสต์กับทรัสตี และมิได้ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ในลักษณะของการเป็นหุ้นส่วนหรือ ลักษณะอื่น ๆ ระหว่างผู้ถือหน่วยทรัสต์ด้วยกัน (2) การเป็นผู้ถือหน่วยทรัสต์มิได้ทําให้บุคคลดังกล่าวมีความรับผิดในกรณีที่ทรัพย์สิน ของกองทรัสต์ไม่เพียงพอต่อการชําระหนี้ให้แก่ทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือเจ้าหนี้ของกองทรัสต์ โดยทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ และเจ้าหนี้ของกองทรัสต์จะบังคับชําระหนี้ได้จากทรัพย์สินของกองทรัสต์ เท่านั้น (3) ผู้ถือหน่วยทรัสต์มีสิทธิเรียกให้กองทรัสต์ชําระประโยชน์ตอบแทนได้ไม่เกิน ไปกว่าเงินกําไรหลังหักค่าสํารองต่าง ๆ และสิทธิเรียกให้คืนเงินทุนได้ไม่เกินไปกว่าจํานวนทุนของกองทรัสต์ที่ปรับปรุงด้วยส่วนเกินหรือส่วนต่ํากว่ามูลค่าหน่วยทรัสต์ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งชนิดของ หน่วยทรัสต์ สิทธิในการรับประโยชน์ตอบแทนหรือรับคืนเงินทุนของผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละชนิด ต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของหน่วยทรัสต์ชนิดนั้น ๆ ด้วย (4) ไม่ว่าในกรณีใด มิให้ตีความสัญญาก่อตั้งทรัสต์ไปในทางที่ก่อให้เกิดผลขัดหรือ แย้งกับข้อกําหนดตาม (1) (2) และ (3) ข้อ 9 รายการเกี่ยวกับการจัดทําทะเบียนหน่วยทรัสต์ การโอนหน่วยทรัสต์และข้อจํากัดการโอน และการออกเอกสารแสดงสิทธิ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ทรัสตีมีหน้าที่จัดให้มีทะเบียนหน่วยทรัสต์ โดยจะกําหนดให้ทรัสตีเป็นผู้ดําเนินการจัดทําทะเบียนหน่วยทรัสต์เอง หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นตามขอบเขตที่กําหนดไว้ ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็น ผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ ทรัสตีเป็นผู้จัดทําทะเบียนหน่วยทรัสต์เอง ต้องมีข้อกําหนดขั้นต่ําให้ทรัสตีปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้บริการเป็น นายทะเบียนหลักทรัพย์ โดยอนุโลม (2) ทะเบียนหน่วยทรัสต์ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง และการชําระเงินหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการให้สิทธิหรือการจํากัดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ปรากฏรายชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ผู้ถือหน่วยทรัสต์ หากได้กระทําตามข้อกําหนดในข้อผูกพันหรือตามกฎหมายแล้ว ให้ถือว่าทรัสตี ได้ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่แล้ว (3) ทรัสตีหรือนายทะเบียนหลักทรัพย์มีสิทธิปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียน ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่การถือหน่วยทรัสต์ไม่เป็นไปตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (4) ทรัสตีหรือนายทะเบียนหลักทรัพย์จะทําหลักฐานแสดงสิทธิในหน่วยทรัสต์ให้แก่ ผู้ถือหน่วยทรัสต์ เพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์สามารถใช้อ้างอิงต่อทรัสตี ผู้จัดการกองทรัสต์ และบุคคลอื่นได้ ทั้งนี้ ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ให้แสดงตัวอย่างหลักฐานแสดงสิทธิด้วย หรือเป็นการจัดทําหลักฐานอื่นตามระบบศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ข้อ 10[[16]](#footnote-16)9 รายการเกี่ยวกับการลงทุนของกองทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การลงทุนในทรัพย์สินหลักและอุปกรณ์ (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) นโยบายลงทุนและประเภททรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์จะลงทุน รวมทั้งข้อจํากัดการลงทุน (ถ้ามี) ซึ่งมีสาระสําคัญตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการ กํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ข) วิธีการได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักและอุปกรณ์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีของ ทรัพย์สินหลัก ให้มีข้อกําหนดตามข้อ 11 (ค) วิธีการจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลักและอุปกรณ์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในกรณีของ ทรัพย์สินหลัก ให้มีข้อกําหนดตามข้อ 12 (2)[[17]](#footnote-17)12 ในกรณีที่จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านบริษัทอื่นหรือ ผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ ต้องมีข้อกําหนดเพิ่มเติมดังนี้ (ก) ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของบริษัทหรือทรัสต์อื่นที่กองทรัสต์สามารถลงทุนโดยทางอ้อมได้ และกลไกการกํากับดูแลที่จะทําให้ผู้จัดการกองทรัสต์สามารถดูแลและควบคุมให้บริษัท หรือผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น รวมถึงทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์ โดยทางอ้อมดังกล่าว ดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ข) ข้อกําหนดที่แสดงว่าการลงทุนโดยทางอ้อมนั้นต้องผ่านกระบวนการอนุมัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ด้วย (ค) ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะให้กู้ยืมเงินแก่บริษัท หรือผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น รวมถึงทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อมดังกล่าว ตาม (ก) ไม่ว่าในรูปแบบใด สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัท หรือผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือ ทรัสต์อื่นดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน และกําหนดขั้นตอนการดําเนินการในการให้กู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอื่นด้วย นอกเหนือจากการลงทุนในทรัพย์สินหลัก ต้องระบุนโยบายดังกล่าวและประเภททรัพย์สินที่จะลงทุนให้ชัดเจน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13 ข้อ 11 วิธีการได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักและอุปกรณ์ (ถ้ามี) ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการกองทรัสต์จะดําเนินการดังต่อไปนี้ ก่อนการได้มาซึ่งทรัพย์สินหลัก แต่ละครั้ง (ก) ตรวจสอบหรือสอบทาน (การทํา due diligence) ข้อมูลและสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหลักและอุปกรณ์ (ถ้ามี) เช่น ข้อมูลด้านการเงินและกฎหมาย เป็นต้น เพื่อประกอบ การตัดสินใจลงทุนและการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง โดยในกรณีที่เจ้าของ ผู้ให้เช่า หรือผู้โอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์จะจัดให้มีที่ปรึกษา ทางการเงิน ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวด้วย (ข) ประเมินมูลค่าทรัพย์สินหลักอย่างน้อยตามข้อกําหนดในข้อ 18 (ค) ในกรณีที่กองทรัสต์จะลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะ ที่เป็นการเช่าช่วง จะจัดให้มีมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือการเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาเช่า หรือการไม่สามารถบังคับตามสิทธิในสัญญาเช่า (2) การได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักเพิ่มเติม ต้องมีข้อกําหนดดังต่อไปนี้ด้วย (ก) ในด้านสาระของรายการ เป็นธุรกรรมที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกองทรัสต์ 3. สมเหตุสมผลและใช้ราคาที่เป็นธรรม 4. ค่าใช้จ่ายในการเข้าทําธุรกรรมที่เรียกเก็บจากกองทรัสต์ (ถ้ามี) อยู่ในอัตราที่เป็นธรรมและเหมาะสม 5. ผู้ที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในการเข้าทําธุรกรรม ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเข้าทําธุรกรรมนั้น (ข) ในด้านระบบในการอนุมัติ ต้องผ่านการดําเนินการดังต่อไปนี้ 1. ได้รับความเห็นชอบจากทรัสตีว่าเป็นธุรกรรมที่เป็นไปสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว 2. ในกรณีที่เป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักที่มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละสิบของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ (board of directors) ของผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย 3. ในกรณีที่เป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักที่มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ ต้องได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง การคํานวณมูลค่าของทรัพย์สินหลักตามวรรคหนึ่ง จะคํานวณตามมูลค่า การได้มาซึ่งทรัพย์สินทั้งหมดของแต่ละโครงการที่ทําให้กองทรัสต์พร้อมจะหารายได้ ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการนั้นด้วย (ค) กระบวนการขอความเห็นชอบจากทรัสตีหรือการขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องกําหนดหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตีดังต่อไปนี้ 1. หน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ในการจัดให้เอกสารขอความเห็นชอบหรือหนังสือเชิญประชุม แล้วแต่กรณี แสดงความเห็นของตนเกี่ยวกับลักษณะธุรกรรมที่เป็นไปตาม (ก) พร้อมทั้งเหตุผลและข้อมูลประกอบที่ชัดเจน 2. หน้าที่ของทรัสตีในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อให้ความเห็น เกี่ยวกับลักษณะของธุรกรรมในประเด็นว่าเป็นไปสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ข้อ 12 วิธีการจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลักและอุปกรณ์ (ถ้ามี) ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงสาระสําคัญอย่างน้อยว่า ในการจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลัก ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ก่อนการจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลัก จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินหลัก อย่างน้อยตามข้อกําหนดในข้อ 18 (2) การจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลัก ต้องมีสาระสําคัญเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) การจําหน่ายไปจะกระทําโดยเปิดเผย และมีสาระของรายการตามข้อ 11(2) (ก) มีระบบในการอนุมัติตามข้อ 11(2) (ข) และมีกระบวนการขอความเห็นชอบจากทรัสตีหรือการขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามข้อ 11(2) (ค) โดยอนุโลม (ข) การจําหน่ายทรัพย์สินหลักที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ นอกจากจะต้อง เป็นไปตามข้อกําหนดใน (ก) แล้ว จะต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุจําเป็นและสมควรโดยได้รับอนุมัติ จากคณะกรรมการ (board of directors) ของผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย 1. การจําหน่ายทรัพย์สินหลักก่อนครบหนึ่งปีนับแต่วันที่กองทรัสต์ได้มาซึ่งทรัพย์สินหลักนั้น 2. การจําหน่ายทรัพย์สินหลักที่กองทรัสต์ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ให้แก่ เจ้าของเดิม ข้อ 13 ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วย นอกเหนือจาก การลงทุนในทรัพย์สินหลัก ต้องมีข้อกําหนดที่มีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ประเภทของทรัพย์สินอื่นที่กองทรัสต์จะลงทุน ซึ่งเป็นไปตามข้อ 14 และข้อ 15 (2) อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินอื่น ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ใน ประกาศเกี่ยวกับอัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินของกองทุนรวมทั่วไปที่ออกตามมาตรา 117 และ มาตรา 126(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยอนุโลม (3) ข้อกําหนดว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ตามตราสารที่กองทรัสต์ลงทุนผิดนัดชําระหนี้ หรือมี พฤติการณ์ว่าจะไม่สามารถชําระหนี้ได้ ผู้จัดการกองทรัสต์จะดําเนินการตามหลักเกณฑ์ในเรื่องเดียวกัน ที่กําหนดไว้สําหรับกองทุนรวมทั่วไปที่ออกตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยอนุโลม (4) ข้อกําหนดอื่นใดที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดตาม (1) (2) และ (3) ข้อ 14 ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วย นอกเหนือจาก การลงทุนในทรัพย์สินหลัก ต้องระบุนโยบายดังกล่าวและประเภททรัพย์สินที่จะลงทุนให้ชัดเจน โดยอยู่ในขอบเขตประเภททรัพย์สินดังต่อไปนี้ (1) พันธบัตรรัฐบาล (2) ตั๋วเงินคลัง (3) พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นผู้ออก และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนแบบไม่มีเงื่อนไข (4) เงินฝากในธนาคาร หรือบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (5) บัตรเงินฝากที่ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก โดยไม่มีลักษณะของ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (6) ตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคาร บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ําประกัน โดยไม่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (7) หน่วยลงทุนหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ตราสารแห่งหนี้ หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้หรือเงินฝาก ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นหน่วยลงทุนของต่างประเทศ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) เป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแล ของหน่วยงานกํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของInternational Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือเป็นหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) (ข) กองทุนรวมต่างประเทศนั้นมีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินประเภทและ ชนิดเดียวกับทรัพย์สินที่กองทรัสต์สามารถลงทุนหรือมีไว้ได้ และ (ค) กองทุนรวมต่างประเทศนั้นจัดตั้งขึ้นเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (8) หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์อื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (9) ตราสารของ Real Estate Investment Trust ที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่ว่ากองทรัสต์นั้นจะจัดตั้งในรูปบริษัท กองทรัสต์ หรือรูปแบบอื่นใด ทั้งนี้ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) Real Estate Investment Trust นั้นจัดตั้งขึ้นสําหรับผู้ลงทุนทั่วไป และอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงานที่กํากับดูแลด้านหลักทรัพย์และตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) (ข) มีวัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หุ้นสามัญของบริษัท ที่มีรายชื่ออยู่ในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) หรือหุ้นสามัญของบริษัทที่มีลักษณะธุรกิจเทียบเคียงได้กับ หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ค) มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) หรือมีการรับซื้อคืนโดยผู้ออกตราสาร (10) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่ทําสัญญาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน ความเสี่ยงของกองทรัสต์ การรับรอง รับอาวัล หรือค้ําประกัน แล้วแต่กรณี ตามวรรคหนึ่ง (6) ต้องเป็น การรับรองตลอดไป รับอาวัลทั้งจํานวน หรือค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข ข้อ 15 สัญญาก่อตั้งทรัสต์อาจกําหนดให้กองทรัสต์ลงทุนในหุ้นของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ได้ เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) สัญญาเช่ากําหนดค่าเช่าโดยอ้างอิงกับผลประกอบการของทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ และ (2) เป็นการลงทุนในหุ้นที่ให้สิทธิพิเศษเพื่อประโยชน์ในการอนุมัติการดําเนินงาน บางประการของนิติบุคคล (golden share) ตามที่ได้กําหนดไว้ในข้อบังคับของนิติบุคคลนั้น ไม่เกินหนึ่งหุ้น ข้อ 16 รายการเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทรัสต์ ต้องมีข้อกําหนดที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และข้อกําหนดเพิ่มเติมที่แสดงว่า ผู้จัดการกองทรัสต์จะดูแลรักษา ทรัพย์สินหลักให้อยู่ในสภาพดีพร้อมต่อการจัดหารายได้ ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีการประกันภัยที่เพียงพอ ตลอดระยะเวลาที่กองทรัสต์ลงทุนในทรัพย์สินหลักนั้นด้วย การประกันภัยที่เพียงพอตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงการประกันวินาศภัย ที่อาจเกิดขึ้นกับอสังหาริมทรัพย์ และการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่อาจได้รับความเสียหาย จากอสังหาริมทรัพย์หรือจากการดําเนินการในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 17 รายการการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ และการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของกองทรัสต์ ต้องมีข้อกําหนดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1)[[18]](#footnote-18)3 ข้อกําหนดที่แสดงว่า กองทรัสต์สามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่ ด้วยวิธีการใด เช่น การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือการออกตราสารหรือเข้าทําสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกู้ยืม เป็นต้น ทั้งนี้ ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการกู้ยืมเงินต้องมีข้อกําหนดหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ในเรื่องดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (ก) การเปิดเผยจํานวนเงินกู้ยืม และเงินกันสํารองเพื่อชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินหรือตามที่มีภาระผูกพันจากการกู้ยืมเงินในแต่ละปีจนกว่าจะชําระหนี้เสร็จสิ้น (ถ้ามี) ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน และแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีของกองทรัสต์ (ข) การกําหนดวงเงินกันสํารองตาม (ก) ที่เหมาะสม โดยคํานึงถึงจํานวนเงินกู้ยืม หรือภาระผูกพันจากการกู้ยืมเงินและระยะเวลาการชําระหนี้ ผลกระทบต่อการจ่ายประโยชน์ตอบแทนแก่ ผู้ถือหน่วยทรัสต์ และสถานะเงินสดที่เกิดจากการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น (unrealized loss) จากการประเมินค่า หรือการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ (ค) การกําหนดให้กองทรัสต์อาจนําวงเงินกันสํารองของรอบระยะเวลาบัญชีใด ที่มีสภาพคล่องไม่เพียงพอที่จะกันเงินสํารอง ไปรวมเพื่อการกันสํารองในรอบระยะเวลาบัญชีถัด ๆ ไป (1/1)[[19]](#footnote-19)6 ในกรณีที่กําหนดให้กองทรัสต์สามารถกู้ยืมเงินได้ ต้องมีข้อกําหนดที่แสดงว่าการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอน หุ้นกู้เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (ข) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ 1. ให้สิทธิลูกหนี้ในการชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (callable) หรือให้สิทธิกองทรัสต์ในการเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) 2. กําหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตรา ที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น 3. ไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่อ้างอิง กับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (ค) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2) ในกรณีที่กําหนดให้กองทรัสต์สามารถกู้ยืมเงินได้ ต้องระบุสัดส่วนการกู้ยืมเงินซึ่งต้องเป็นไปตามอัตราที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (3) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทรัสต์ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 17/1[[20]](#footnote-20)12 ในกรณีที่กองทรัสต์ลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านบริษัท ที่กองทรัสต์ถือหุ้น หรือผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ หากบริษัท หรือผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น รวมถึงทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อมดังกล่าว จะมีการกู้ยืมเงินไม่ว่าด้วยวิธีการใด สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องระบุข้อกําหนดเพิ่มเติมในรายการการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ และการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สิน ของกองทรัสต์ที่แสดงว่า การกู้ยืมเงินจะมีลักษณะเช่นเดียวกับที่กําหนดในข้อ 17 โดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีของสัดส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 17(2) จะกําหนดให้พิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์ก็ได้ ข้อ 18[[21]](#footnote-21)5 รายการเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ต้องมีข้อกําหนดเกี่ยวกับ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่กองทรัสต์ลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งมีสาระสําคัญ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางตรง ต้องแสดง สาระสําคัญตามข้อ 18/1 (2)[[22]](#footnote-22)12 การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการ ถือหุ้นในบริษัทหรือผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลัก ของกองทรัสต์ (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญตามข้อ 18/2 (3) การประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามข้อ 14 ต้องแสดงสาระสําคัญตามข้อ 18/3 ข้อ 18/1[[23]](#footnote-23)5 การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางตรงต้องมีสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเป็นบุคคลที่ผู้จัดการกองทรัสต์พิจารณาว่า มีความเหมาะสมและสามารถประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ และมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบ บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลัก (ข) กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนอยู่ในต่างประเทศ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน อาจเป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของบุคคลซึ่งทางการหรือหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์กําหนดให้สามารถทําหน้าที่ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ ในกรณี ที่ไม่ปรากฏบัญชีรายชื่อดังกล่าว ผู้ที่ทําหน้าที่ประเมินมูลค่าทรัพย์สินต้องเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ก1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศอันเป็นที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น 2. เป็นบุคคลที่มีมาตรฐานการปฏิบัติงานและระบบงานในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นสากล 3. เป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีเครือข่ายกว้างขวางในระดับสากล (international firm) (2) การประเมินมูลค่าต้องไม่กระทําโดยผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินรายเดียวกันติดต่อกัน เกินสองครั้ง (3) ในกรณีดังนี้ จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าอย่างเต็มรูปแบบที่มีการตรวจสอบ เอกสารสิทธิ และเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน (ก) เมื่อกองทรัสต์จะได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน โดยจะประเมินล่วงหน้าเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี (ข) เมื่อครบกําหนดสองปีนับแต่วันที่มีการประเมินมูลค่าเต็มรูปแบบครั้งล่าสุด (ค) เมื่อปรากฏเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อันอาจมีผลกระทบต่อ การด้อยค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (ง) เมื่อทรัสตีหรือผู้สอบบัญชีของกองทรัสต์ร้องขอ (4) มีการสอบทานการประเมินมูลค่าทุกหนึ่งปีนับแต่วันที่มีการประเมินมูลค่า เต็มรูปแบบครั้งล่าสุด (ก5)[[24]](#footnote-24)15 กรณีอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อย่างน้อยต้องมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และวิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach) สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องกําหนดรอบการประเมินมูลค่าและการสอบทานการประเมินมูลค่าของกองทรัสต์ไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นกองทรัสต์ที่แปลงมาจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ อาจกําหนดให้มีการประเมินมูลค่าและการสอบทานการประเมินมูลค่าต่อเนื่องกับรอบการประเมินมูลค่าหรือการสอบทานการประเมินมูลค่าของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ข้อ 18/2[[25]](#footnote-25)12 การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อม ผ่านการถือหุ้นในบริษัทหรือผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งในชั้นของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่ออกหุ้นดังนี้ (ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ จะประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ ในข้อ 18/1 โดยต้องคํานึงถึงสัดส่วนการถือหุ้นของกองทรัสต์ ภาระภาษีของบริษัทที่กองทรัสต์ เป็นผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่การลงทุนโดยทางอ้อมดังกล่าวมีการถือหุ้นในบริษัทเป็นทอด ๆ การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ต้องคํานึงถึงปัจจัยตามวรรคหนึ่งของบริษัทในทุกชั้นด้วย (ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัทที่ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/1 โดยอนุโลม (2) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นซึ่งบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น และบริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ (ถ้ามี) ได้ลงทุนไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของ เงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม (ข) ในกรณีหลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรม ของทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในตราสารหนี้หรือสัญญาที่ถือเป็นการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์โดยทางอ้อม จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ใน (2) (4) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านการลงทุน ในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ใน (1) (2) และ (3) โดยอนุโลม ข้อ 18/3[[26]](#footnote-26)5 ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินอื่นตามข้อ 14 ต้องกําหนดหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/2(2) ข้อ 18/4[[27]](#footnote-27)13 รายการเกี่ยวกับการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีสาระสําคัญ อย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ ที่กองทรัสต์ลงทุนให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กองทรัสต์เข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ และดําเนินการให้มีการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์นั้นครั้งต่อ ๆ ไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ การตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์อาจดําเนินการด้วยวิธีการหรือกลไกที่น่าเชื่อถือตามที่ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ตกลงกันได้ (2) ในการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ตาม (1) ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องจัดให้มีการบันทึกสภาพอสังหาริมทรัพย์อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามความเป็นจริงให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มตรวจตรา (3) ในกรณีที่ทรัสตีตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ตาม (1) แล้วพบว่าอสังหาริมทรัพย์ชํารุดบกพร่องอย่างมีนัยสําคัญต้องแจ้งให้ผู้จัดการกองทรัสต์ทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ พบเหตุดังกล่าว (4) เมื่อผู้จัดการกองทรัสต์ตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ตาม (1) แล้วเสร็จ ให้ส่งสําเนาบันทึกตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ทรัสตีภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําบันทึกแล้วเสร็จ (5) เมื่อผู้จัดการกองทรัสต์ตรวจพบหรือได้รับแจ้งจากทรัสตีว่าอสังหาริมทรัพย์ชํารุด บกพร่องอย่างมีนัยสําคัญ ต้องดําเนินการให้มีการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์นั้นให้อยู่ในสภาพที่จะใช้ หาผลประโยชน์ได้โดยเร็ว ข้อ 19 รายการเกี่ยวกับการทําธุรกรรมระหว่างกองทรัสต์กับผู้จัดการกองทรัสต์หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในด้านสาระของรายการ เป็นธุรกรรมที่เข้าลักษณะตามข้อ 11(2) (ก) (2) ในด้านระบบในการอนุมัติ ต้องผ่านการดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ได้รับความเห็นชอบจากทรัสตีว่าเป็นธุรกรรมที่เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว (ข) ในกรณีที่เป็นธุรกรรมที่มีมูลค่าเกินกว่าหนึ่งล้านบาท หรือตั้งแต่ร้อยละ 0.03ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทรัสต์ขึ้นไป แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ (board of directors) ของผู้จัดการกองทรัสต์ด้วย (ค) ในกรณีที่เป็นธุรกรรมที่มีมูลค่าตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป หรือเกินร้อยละสาม ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทรัสต์ แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ต้องได้รับมติของที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิ ออกเสียง ในกรณีที่ธุรกรรมตามวรรคหนึ่งเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลัก การคํานวณมูลค่าจะคํานวณตามมูลค่าการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินทั้งหมดของแต่ละโครงการ ที่ทําให้โครงการนั้นๆ พร้อมจะหารายได้ ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการนั้นด้วย (3) กระบวนการขอความเห็นชอบจากทรัสตีหรือการขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องเป็นไปตามข้อ 11(2) (ค) โดยอนุโลม และในกรณีที่เป็นการขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ หนังสือเชิญประชุมต้องมีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อประกอบการขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ด้วย ข้อกําหนดเกี่ยวกับระบบในการอนุมัติตามวรรคหนึ่ง (2) และกระบวนการขอความเห็นชอบจากทรัสตีหรือการขอมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง (3) จะกําหนดข้อยกเว้นสําหรับ การทําธุรกรรมระหว่างกองทรัสต์กับผู้จัดการกองทรัสต์หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ที่ได้แสดงข้อมูลไว้อย่างชัดเจนแล้วในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนก็ได้ 19/1[[28]](#footnote-28)2 รายการเกี่ยวกับการทําธุรกรรมที่เป็นการขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง กองทรัสต์กับทรัสตี ต้องมีสาระสําคัญที่ไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์ เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และตามประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งบทบัญญัติดังกล่าว ข้อ 20[[29]](#footnote-29)3 รายการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ ต้องกําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ต่อสํานักงาน ก.ล.ต.ตลาดหลักทรัพย์ และผู้ถือหน่วยทรัสต์ ซึ่งรวมถึงการจัดส่งรายงานประจําปีของกองทรัสต์ให้แก่ ผู้ถือหน่วยทรัสต์ พร้อมกับหนังสือนัดประชุมสามัญประจําปี ข้อ 21[[30]](#footnote-30)13 รายการเกี่ยวกับการจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการกองทรัสต์จะจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของกําไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วในแต่ละรอบปีบัญชี ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่ วันสิ้นรอบปีบัญชี หรือวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายประโยชน์ตอบแทนนั้น แล้วแต่กรณี กําไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วตามวรรคหนึ่ง ให้หมายถึงกําไรสุทธิที่หักด้วยรายการ เงินสํารองเฉพาะเพื่อการดังนี้ (ก) การซ่อมแซม บํารุงรักษา หรือปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ ตามแผนที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี รายงานประจําปี หรือที่ผู้จัดการกองทรัสต์ได้แจ้งให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบล่วงหน้า (ข) การชําระหนี้เงินกู้ยืมหรือภาระผูกพันจากการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ ตามวงเงินที่ได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี รายงานประจําปี หรือที่ผู้จัดการกองทรัสต์ได้แจ้งให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบล่วงหน้า (ค) การจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ชนิดที่ให้สิทธิในการได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนในลําดับแรก (ถ้ามี) (2) ในการพิจารณาจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ จะต้องพิจารณาถึงความจําเป็นในการดํารงเงินสดของกองทรัสต์ให้เหมาะสม ทั้งนี้ ตามแนวทาง ที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด (3) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องไม่กู้ยืมเงินเพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ (4) ในกรณีที่กองทรัสต์ยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้ผู้จัดการกองทรัสต์ จ่ายประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่กองทรัสต์ไม่สามารถจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ตามวรรคหนึ่ง (1) ผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตีต้องชี้แจงเหตุผลความจําเป็นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตามแนวทางที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด และเปิดเผยให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบในการประชุม สามัญประจําปี ข้อ 22 รายการเกี่ยวกับการขอมติและการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) วิธีการขอมติ ต้องกําหนดให้ขอมติด้วยวิธีการจัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เท่านั้น (2) เหตุในการขอมติและการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องระบุเหตุอย่างน้อยตามที่ กําหนดไว้ในประกาศนี้ และต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) การประชุมสามัญประจําปี ซึ่งต้องจัดให้มีขึ้นภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีของกองทรัสต์ (ข) การประชุมวิสามัญในกรณีดังต่อไปนี้ 1. เมื่อผู้จัดการกองทรัสต์เห็นสมควรให้เรียกประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทรัสต์ 2. เมื่อผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งถือหน่วยทรัสต์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด เข้าชื่อกันทําหนังสือขอให้ผู้จัดการกองทรัสต์เรียกประชุม ผู้ถือหน่วยทรัสต์ โดยระบุเหตุผลในการขอเรียกประชุมไว้อย่างชัดเจนในหนังสือนั้น [[31]](#footnote-31)7การประชุมวิสามัญตามวรรคหนึ่ง 2. ต้องมีข้อกําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ (3)[[32]](#footnote-32)7 การเรียกประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ขั้นต่ําดังนี้ (ก) จัดทําหนังสือนัดประชุมที่มีรายละเอียดเพียงพอต่อการตัดสินใจของ ผู้ถือหน่วยทรัสต์ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการประชุมและการออกเสียงลงมติ ตลอดจนระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งความเห็นของผู้จัดการกองทรัสต์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการขอมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ให้รวมถึงความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์อาจได้รับจากการลงมติในเรื่องนั้น ๆ ด้วย (ข) จัดส่งหนังสือนัดประชุมถึงผู้ถือหน่วยทรัสต์ล่วงหน้าก่อนวันประชุม ตามระยะเวลาดังนี้ 1. สิบสี่วัน ในกรณีที่เป็นการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งมีวาระที่ต้องได้มติ ผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนหน่วยทรัสต์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและ มีสิทธิออกเสียง 2. เจ็ดวัน ในกรณีอื่นนอกจาก 1. (ค) ประกาศการนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันแห่งท้องถิ่นอย่างน้อย หนึ่งฉบับไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันประชุม (4)[[33]](#footnote-33)7 องค์ประชุม ต้องมีข้อกําหนดดังนี้ (ก) กําหนดให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์มาประชุมไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือ ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้ถือหน่วยทรัสต์ทั้งหมด และต้องมีหน่วยทรัสต์นับรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม (ข) ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ครั้งใด เมื่อล่วงเวลานัดไปแล้ว ถึงหนึ่งชั่วโมงจํานวนผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งมาเข้าร่วมประชุมไม่ครบเป็นองค์ประชุมตามที่กําหนดไว้ใน (ก) หากว่าการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์นั้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหน่วยทรัสต์ร้องขอตาม (2) (ข) 2. ให้การประชุมเป็นอันระงับไป หากการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์นั้นมิใช่เป็นการเรียกประชุมเพราะ ผู้ถือหน่วยทรัสต์ร้องขอตาม (2) (ข) 2. ให้นัดประชุมใหม่ และให้ส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม โดยในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบ องค์ประชุม (4/1)[[34]](#footnote-34)7 การดําเนินการประชุม ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) การดําเนินการประชุม ให้เป็นไปตามลําดับระเบียบวาระที่กําหนดไว้ใน หนังสือนัดประชุม เว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติให้เปลี่ยนลําดับระเบียบวาระด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งมาประชุม (ข) เมื่อที่ประชุมพิจารณาเสร็จตาม (ก) แล้ว ผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งมี หน่วยทรัสต์นับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนหน่วยทรัสต์ที่จําหน่ายได้ทั้งหมด จะขอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ในหนังสือนัดประชุมอีกก็ได้ (ค) ในกรณีที่ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามลําดับระเบียบวาระไม่เสร็จตาม (ก) หรือพิจารณาเรื่องที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์เสนอไม่เสร็จตาม (ข) แล้วแต่กรณี และจําเป็นต้องเลื่อน การพิจารณา ให้ที่ประชุมกําหนดสถานที่ วัน และเวลาที่จะประชุมครั้งต่อไป และให้ผู้จัดการกองทรัสต์ส่งหนังสือนัดประชุมระบุสถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระการประชุมไปยังผู้ถือหน่วยทรัสต์ ไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม ทั้งนี้ ให้โฆษณาคําบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันประชุมด้วย (5) วิธีการนับคะแนนเสียง ต้องกําหนดให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์มีคะแนนเสียง หนึ่งเสียงต่อหนึ่งหน่วยทรัสต์ที่ตนถือ โดยผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนต้องไม่เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในเรื่องที่พิจารณา (6) มติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องกําหนดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ในกรณีทั่วไป ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (ข) ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน 1. การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลักที่มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละสามสิบของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ 2. การเพิ่มทุนหรือการลดทุนชําระแล้วของกองทรัสต์ที่มิได้ระบุไว้ เป็นการล่วงหน้าในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ 3. การเพิ่มทุนแบบมอบอํานาจทั่วไปของกองทรัสต์ 4. การทําธุรกรรมกับผู้จัดการกองทรัสต์หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งมีขนาดรายการตั้งแต่ยี่สิบล้านบาท หรือเกินกว่าร้อยละสามของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทรัสต์ แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า 5. การเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินทุนให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ 6. การเปลี่ยนแปลงทรัสตี 7. การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ในเรื่องที่กระทบสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างมีนัยสําคัญ 8. การเลิกกองทรัสต์ (7) ข้อความที่แสดงว่า มติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่จะเป็นผลให้กองทรัสต์หรือ การจัดการกองทรัสต์มีลักษณะที่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ หรือหลักเกณฑ์อื่น ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ให้ถือว่ามตินั้นไม่มีผลบังคับ (8)[[35]](#footnote-35)5 กรณีที่มีประกาศกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขอมติและการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ ไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องนั้น ข้อ 23 ในกรณีที่กองทรัสต์มีการแบ่งหน่วยทรัสต์ออกเป็นหลายชนิด รายการเกี่ยวกับการขอมติและการออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องมีข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ให้ผลดังต่อไปนี้ (1) การขอมติในเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ทุกชนิด เช่น การเลิกกองทรัสต์ เป็นต้น ต้องได้รับคะแนนเสียงของผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดเกินกึ่งหนึ่ง ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงด้วย (2) การขอมติในเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ชนิดหนึ่งชนิดใด เช่น การคิดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของหน่วยทรัสต์แต่ละชนิดเพิ่มเติม เป็นต้น ให้ผู้จัดการกองทรัสต์ ขอมติเฉพาะจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ชนิดนั้น ข้อ 24 รายการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิในการรับประโยชน์ตอบแทน การจัดการกับประโยชน์ตอบแทน และสิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) จํากัดสิทธิในการรับประโยชน์ตอบแทนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ถือหน่วยทรัสต์ เกินกว่าอัตราหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และกําหนดให้ประโยชน์ตอบแทนในส่วนที่ไม่อาจจ่ายแก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ดังกล่าวตกเป็นของผู้ถือหน่วยทรัสต์ รายอื่นตามสัดส่วนการถือหน่วยทรัสต์ (2) จํากัดสิทธิในการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหน่วยทรัสต์ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่ถือหน่วยทรัสต์เกินกว่าอัตราหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกินกว่าอัตราหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว (ข) ผู้ถือหน่วยทรัสต์ที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในเรื่องที่ขอมติ ข้อ 25[[36]](#footnote-36)2 รายการเกี่ยวกับทรัสตี ต้องมีข้อกําหนดเพิ่มเติมที่แสดงสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของทรัสตีที่แสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (ก) กําหนดให้ทรัสตีปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม และเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อผูกพันที่ได้ให้ไว้เพิ่มเติมในเอกสารที่เปิดเผยแก่ผู้ลงทุน (ถ้ามี) และต้องไม่มีข้อจํากัดความรับผิดของทรัสตีในกรณีที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว (ข) กําหนดให้ทรัสตีมีหน้าที่ติดตามดูแลให้ผู้จัดการกองทรัสต์ หรือผู้รับมอบหมาย งานรายอื่นตาม (ช) (ถ้ามี) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้อง (ค) กําหนดให้ทรัสตีมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ และให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ขอให้ที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ลงมติว่า เป็นกรณีที่เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ (ง) กําหนดให้ทรัสตีมีหน้าที่บังคับชําระหนี้หรือดูแลให้มีการบังคับชําระหนี้เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาระหว่างกองทรัสต์กับบุคคลอื่น (จ) กําหนดให้ทรัสตีเข้าจัดการกองทรัสต์ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการกองทรัสต์ หรือมีเหตุที่ทําให้ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กําหนด ไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็น ผู้ก่อตั้งทรัสต์และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉ) กําหนดให้ทรัสตีมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบอื่นตามที่กําหนดไว้ใน ประกาศนี้ และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ช) ในกรณีที่ทรัสตีประสงค์จะจัดการกองทรัสต์ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุน ในทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์สินหลักด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้จัดการกองทรัสต์เป็นผู้รับดําเนินการ ให้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้ให้ชัดเจน โดยต้องไม่มีสาระสําคัญที่ขัดหรือแย้งกับประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็น ผู้ก่อตั้งทรัสต์และการเป็นทรัสตีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ซ)[[37]](#footnote-37)16 กําหนดให้ทรัสตีต้องจัดให้มีกลไกในการติดตามดูแลว่าเจ้าของเดิมใช้เงิน ที่ได้จากการขายทรัพย์สินให้แก่กองทรัสต์เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้เปิดเผยไว้ใน แบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน และหากพบว่าเจ้าของเดิมมีการใช้เงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ต้องรายงานโดยไม่ชักช้าให้สํานักงาน ก.ล.ต. และกรมสรรพากรทราบ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับการสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ (2)[[38]](#footnote-38)10 ข้อกําหนดเกี่ยวกับการแต่งตั้ง เงื่อนไขและวิธีการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนค่าตอบแทนทรัสตี ซึ่งรวมถึงข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (ก) การเปลี่ยนแปลงทรัสตี เมื่อมีเหตุดังนี้ 1. เหตุตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 2. เมื่อทรัสตีไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตและการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (ข) กําหนดเวลาการเปลี่ยนแปลงทรัสตีในกรณีที่ปรากฏเหตุตาม (ก) 2. ซึ่งต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว ข้อ 26 รายการเกี่ยวกับผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องมีข้อกําหนดเพิ่มเติมที่แสดงสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การแต่งตั้งและค่าตอบแทนผู้จัดการกองทรัสต์ (2) ขอบเขตอํานาจหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ที่ได้รับมอบหมายจากทรัสตีในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การดูแลจัดการกองทรัสต์ในส่วนที่เป็นการดําเนินงานทางธุรกิจ ซึ่งรวมถึง การลงทุน การกู้ยืมเงินและก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทรัสต์ การเข้าทําสัญญา และการดําเนินกิจการต่าง ๆ เพื่อกองทรัสต์ ทั้งนี้ ภายในขอบเขต หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเท่าที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ได้ระบุไว้ (ข) หน้าที่การจัดทําและเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ ซึ่งรวมถึงข้อมูลตาม มาตรา 56 และมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อมูลอื่นตามที่กําหนดในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ค)[[39]](#footnote-39)2 ในกรณีที่ผู้จัดการกองทรัสต์ประสงค์จะให้บุคคลอื่นรับดําเนินการในงาน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน ต้องระบุเรื่องดังกล่าวพร้อมทั้งระบุหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ในการคัดเลือกผู้รับดําเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง ตลอดจนการกํากับและตรวจสอบการดําเนินการ ของผู้รับดําเนินการไว้ด้วย ทั้งนี้ ข้อกําหนดเกี่ยวกับการมอบหมายงานต้องไม่มีสาระที่ขัดหรือแย้งกับประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน (ง)[[40]](#footnote-40)16 การติดตามดูแลว่าเจ้าของเดิมได้ใช้เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินให้แก่ กองทรัสต์เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน และหากพบว่าเจ้าของเดิมมีการใช้เงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ต้องรายงานโดยไม่ชักช้าให้สํานักงาน ก.ล.ต. และกรมสรรพากรทราบ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับ การสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ (3) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวม และเป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อผูกพันที่ได้ให้ไว้เพิ่มเติมในเอกสารที่เปิดเผยแก่ผู้ลงทุน (ถ้ามี) และต้องไม่มีข้อจํากัดความรับผิดของผู้จัดการกองทรัสต์ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว (4) การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์ ซึ่งต้องกําหนดรายการและสาระอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก)[[41]](#footnote-41)10 เหตุในการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องกําหนดไว้อย่างน้อยดังนี้ 1. ผู้จัดการกองทรัสต์ลาออก 2. ผู้จัดการกองทรัสต์ถูกถอดถอนจากการทําหน้าที่ เมื่อปรากฏว่าผู้จัดการ กองทรัสต์มิได้จัดการกองทรัสต์ตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์หรือประกาศที่กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ 3. ผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน 4. สํานักงาน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ หรือสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์เป็นเวลาเกินกว่าเก้าสิบวัน ทั้งนี้ ตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการ ให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน 5. ผู้จัดการกองทรัสต์สิ้นสภาพนิติบุคคล (ข)[[42]](#footnote-42)3 วิธีการแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่ ต้องกําหนดให้ทรัสตีขอมติ ผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏเหตุตาม (ก) และแต่งตั้งบุคคลที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์มีมติเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับมติ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่ตามวิธีการดังกล่าว ให้ทรัสตีดําเนินการแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่ได้เองโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหน่วยทรัสต์โดยรวมตามระยะเวลาที่จําเป็นและสมควร (ค) หน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์รายเดิม ต้องกําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์ รายเดิมมีหน้าที่ดําเนินการตามที่จําเป็นเพื่อให้ทรัสตี หรือผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่ แล้วแต่กรณี สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวรวมถึงการลงลายมือชื่อในหนังสือเพื่อรับรองความถูกต้องครบถ้วนของสิ่งที่ส่งมอบให้ทรัสตีหรือผู้จัดการกองทรัสต์รายใหม่ด้วย (5) ไม่ว่ากรณีใด ๆ หากผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ระบุว่าทรัสตีจะจัดการกองทรัสต์ตามความจําเป็นเพื่อป้องกัน ยับยั้ง หรือจํากัดมิให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์ของกองทรัสต์หรือผู้ถือหน่วยทรัสต์ทั้งปวง โดยทรัสตีอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นจัดการกองทรัสต์แทนในระหว่างนี้ได้ (6) ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์กําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์สามารถเบิกจ่ายทรัพย์สินของกองทรัสต์ได้ ต้องมีข้อกําหนดให้การเบิกจ่ายดังกล่าวกระทําได้เฉพาะกรณีที่เป็นการเบิกจ่ายจากบัญชีเพื่อการดําเนินงานประจําวัน (petty cash) ภายใต้วงเงินที่ได้รับการอนุมัติจากทรัสตี และกําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดทําและจัดส่งรายงานการเบิกจ่ายให้แก่ทรัสตีเพื่อให้ทรัสตีสามารถตรวจสอบ รายการดังกล่าวได้ภายในระยะเวลาที่สมควร (7) ข้อกําหนดอื่นเพื่อรองรับอํานาจหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์ให้เป็นไปตามที่กําหนดในประกาศนี้ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการให้ความเห็นชอบผู้จัดการกองทรัสต์ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (8) [[43]](#footnote-43)3 ในกรณีที่กองทรัสต์จะมีการออกหุ้นกู้ ต้องกําหนดให้ผู้จัดการกองทรัสต์มีหน้าที่ดําเนินการใด ๆ เพื่อให้กองทรัสต์สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามประกาศเกี่ยวกับการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ของกองทรัสต์ด้วย (9)[[44]](#footnote-44)8 ข้อกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดในค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ อันเนื่องมาจาก การดูแลจัดการกองทรัสต์ของผู้จัดการกองทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องรับผิดชอบในค่าปรับหรือค่าเสียหายที่เกิดแก่ตนเอง อันเนื่องมาจากการที่ผู้จัดการกองทรัสต์กระทําผิดหน้าที่ของตนตามนัยมาตรา 33/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยผู้จัดการกองทรัสต์จะนําทรัพย์สินของกองทรัสต์มาชําระค่าปรับหรือชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้ (ข) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องรับผิดชอบในค่าปรับหรือค่าเสียหายอื่นใดที่เกิดแก่กองทรัสต์อันเนื่องมาจากการที่ผู้จัดการกองทรัสต์กระทําผิดหน้าที่ของตนไม่ว่าด้วยประการใด ๆ โดยผู้จัดการกองทรัสต์จะนําทรัพย์สินของกองทรัสต์มาชําระค่าปรับหรือชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้ ข้อ 27 รายการเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ต้องระบุข้อกําหนดเกี่ยวกับ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เงินตอบแทนอื่นใด หรือค่าใช้จ่าย จากกองทรัสต์หรือจากผู้ถือหน่วยทรัสต์ อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากทรัพย์สินของกองทรัสต์ได้ ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่จําเป็น และสมควรซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทรัสต์โดยตรง ข้อ 28 รายการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับเจตนารมณ์ในการ ก่อตั้งกองทรัสต์ และบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออก โดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว (2) การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์ในเรื่องที่กระทบสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ต้องได้รับมติของผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามข้อ 22(6) เว้นแต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมตามคําสั่งของ สํานักงาน ก.ล.ต. ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ข้อ 29 รายการเกี่ยวกับการเลิกกองทรัสต์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยที่แสดงว่า เมื่อปรากฏเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ทรัสตีจะเลิกกองทรัสต์ (1) เมื่อจํานวนผู้ถือหน่วยทรัสต์ลดลงเหลือน้อยกว่าสามสิบห้าราย (2) เมื่อมีการจําหน่ายทรัพย์สินหลัก และผู้จัดการกองทรัสต์ไม่สามารถดําเนินการเพื่อให้กองทรัสต์ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เป็นมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท หรือไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของมูลค่าทรัพย์สินรวมของกองทรัสต์ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่จําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหลักดังกล่าว ข้อ 30 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 1. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 42/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556) [↑](#footnote-ref-1) 2. 1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 42/2556 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556) [↑](#footnote-ref-2) 3. 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 20/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-3) 4. 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 20/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-4) 5. 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 21/2565 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565) [↑](#footnote-ref-5) 6. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557) [↑](#footnote-ref-6) 7. 2 ยกเลิกโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557) [↑](#footnote-ref-7) 8. 4 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 12/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559) [↑](#footnote-ref-8) 9. 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 32/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-9) 10. 13 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 26/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) [↑](#footnote-ref-10) 11. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557) [↑](#footnote-ref-11) 12. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557) [↑](#footnote-ref-12) 13. 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559) [↑](#footnote-ref-13) 14. 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559) [↑](#footnote-ref-14) 15. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557) [↑](#footnote-ref-15) 16. 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 16/2562 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562) [↑](#footnote-ref-16) 17. 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 20/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-17) 18. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 86/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559) [↑](#footnote-ref-18) 19. 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 59/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560) [↑](#footnote-ref-19) 20. 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 20/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-20) 21. 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559) [↑](#footnote-ref-21) 22. 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 20/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-22) 23. 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 [↑](#footnote-ref-23) 24. 15 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 38/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-24) 25. 12 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 20/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) [↑](#footnote-ref-25) 26. 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 [↑](#footnote-ref-26) 27. 13 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 26/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) [↑](#footnote-ref-27) 28. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557) [↑](#footnote-ref-28) 29. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 86/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559) [↑](#footnote-ref-29) 30. 13 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 26/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) [↑](#footnote-ref-30) 31. 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 23/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561) [↑](#footnote-ref-31) 32. 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 23/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561) [↑](#footnote-ref-32) 33. 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 23/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561) [↑](#footnote-ref-33) 34. 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 23/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561) [↑](#footnote-ref-34) 35. 5 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 [↑](#footnote-ref-35) 36. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557) [↑](#footnote-ref-36) 37. 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 21/2565 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565) [↑](#footnote-ref-37) 38. 10 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 22/2563 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) [↑](#footnote-ref-38) 39. 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557) [↑](#footnote-ref-39) 40. 16 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 21/2565 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565) [↑](#footnote-ref-40) 41. 10 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 22/2563 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) [↑](#footnote-ref-41) 42. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 86/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559) [↑](#footnote-ref-42) 43. 3 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 86/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559) [↑](#footnote-ref-43) 44. 8 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สร. 52/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้ง ทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562) [↑](#footnote-ref-44)
1,407
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 20/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 20/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ทรัสต์อื่น” และ “ลงทุนในทรัสต์อื่น” ระหว่างบทนิยามคําว่า “หน่วยทรัสต์” และคําว่า “ที่ปรึกษาทางการเงิน” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ““ทรัสต์อื่น” หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายไทยซึ่งมิใช่หน่วยทรัสต์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชอบตามกฎหมายต่างประเทศ “ลงทุนในทรัสต์อื่น” หมายความว่า ลงทุนในทรัสต์อื่นไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ เพื่อให้มีสิทธิในฐานะผู้รับประโยชน์ของทรัสต์อื่นนั้น” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 10 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 16/2562 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่จะมีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านบริษัทอื่นหรือผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ต้องมีข้อกําหนดเพิ่มเติมดังนี้ (ก) ข้อกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของบริษัทหรือทรัสต์อื่นที่กองทรัสต์สามารถลงทุนโดยทางอ้อมได้ และกลไกการกํากับดูแลที่จะทําให้ผู้จัดการกองทรัสต์สามารถดูแลและควบคุมให้บริษัท หรือผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น รวมถึงทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อมดังกล่าว ดําเนินการให้เป็นไปในทํานองเดียวกับหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้สําหรับกองทรัสต์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ข) ข้อกําหนดที่แสดงว่าการลงทุนโดยทางอ้อมนั้นต้องผ่านกระบวนการอนุมัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ด้วย (ค) ในกรณีที่กองทรัสต์มีนโยบายจะให้กู้ยืมเงินแก่บริษัท หรือผู้ลงทุนในทรัสต์อื่นรวมถึงทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อมดังกล่าว ตาม (ก) ไม่ว่าในรูปแบบใด สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัท หรือผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น หรือทรัสต์อื่นดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน และกําหนดขั้นตอนการดําเนินการในการให้กู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 17/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 12/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์(ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 17/1 ในกรณีที่กองทรัสต์ลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านบริษัทที่กองทรัสต์ถือหุ้น หรือผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ หากบริษัท หรือผู้ลงทุนในทรัสต์อื่น รวมถึงทรัสต์อื่นที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนของกองทรัสต์โดยทางอ้อมดังกล่าว จะมีการกู้ยืมเงินไม่ว่าด้วยวิธีการใด สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องระบุข้อกําหนดเพิ่มเติมในรายการการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ และการก่อภาระผูกพันใด ๆ แก่ทรัพย์สินของกองทรัสต์ที่แสดงว่า การกู้ยืมเงินจะมีลักษณะเช่นเดียวกับที่กําหนดในข้อ 17 โดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีของสัดส่วนการกู้ยืมเงินตามข้อ 17(2) จะกําหนดให้พิจารณาเฉพาะในชั้นของกองทรัสต์ก็ได้” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 18 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สร. 33/2559 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้นในบริษัทหรือผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญตามข้อ 18/2” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 18/2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่สร. 16/2562 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 18/2 การประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้นในบริษัทหรือผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ (ถ้ามี) ต้องแสดงสาระสําคัญดังต่อไปนี้ (1) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งในชั้นของกองทรัสต์และในชั้นของบริษัทที่ออกหุ้นดังนี้ (ก) การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ จะประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/1 โดยต้องคํานึงถึงสัดส่วนการถือหุ้นของกองทรัสต์ ภาระภาษีของบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่การลงทุนโดยทางอ้อมดังกล่าวมีการถือหุ้นในบริษัทเป็นทอด ๆ การประเมินมูลค่าในชั้นของกองทรัสต์ต้องคํานึงถึงปัจจัยตามวรรคหนึ่งของบริษัทในทุกชั้นด้วย (ข) การประเมินมูลค่าในชั้นของบริษัทที่ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้ประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ในข้อ 18/1 โดยอนุโลม (2) จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอื่นซึ่งบริษัทที่กองทรัสต์เป็นผู้ถือหุ้นและบริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ (ถ้ามี) ได้ลงทุนไว้ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) ใช้มูลค่ายุติธรรมตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่ออกโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนโดยอนุโลม (ข) ในกรณีหลักเกณฑ์ตาม (ก) ไม่รองรับการกําหนดมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินใด ให้ใช้มูลค่าที่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเป็นที่ยอมรับหรือมาตรฐานสากล (3) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในตราสารหนี้หรือสัญญาที่ถือเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยทางอ้อม จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ใน (2) (4) ในกรณีที่กองทรัสต์มีการลงทุนในทรัพย์สินหลักโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในทรัสต์อื่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินหลักของกองทรัสต์ จะจัดให้มีการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ใน (1) (2) และ (3) โดยอนุโลม” ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,408
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 26/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 14)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์(ฉบับที่ 14) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) มาตรา 15 และมาตรา 21แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (10/1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 “(10/1) รายการเกี่ยวกับการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 18/4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ข้อ 18/4 รายการเกี่ยวกับการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ที่กองทรัสต์ลงทุนให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กองทรัสต์เข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์และดําเนินการให้มีการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์นั้นครั้งต่อ ๆ ไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ การตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์อาจดําเนินการด้วยวิธีการหรือกลไกที่น่าเชื่อถือตามที่ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ตกลงกันได้ (2) ในการตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ตาม (1) ทรัสตีและผู้จัดการกองทรัสต์ต้องจัดให้มีการบันทึกสภาพอสังหาริมทรัพย์อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามความเป็นจริงให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เริ่มตรวจตรา (3) ในกรณีที่ทรัสตีตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ตาม (1) แล้วพบว่าอสังหาริมทรัพย์ชํารุดบกพร่องอย่างมีนัยสําคัญต้องแจ้งให้ผู้จัดการกองทรัสต์ทราบภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่พบเหตุดังกล่าว (4) เมื่อผู้จัดการกองทรัสต์ตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ตาม (1) แล้วเสร็จ ให้ส่งสําเนาบันทึกตรวจตราสภาพอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ทรัสตีภายในห้าวันทําการนับแต่วันทําบันทึกแล้วเสร็จ (5) เมื่อผู้จัดการกองทรัสต์ตรวจพบหรือได้รับแจ้งจากทรัสตีว่าอสังหาริมทรัพย์ชํารุด บกพร่องอย่างมีนัยสําคัญ ต้องดําเนินการให้มีการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์นั้นให้อยู่ในสภาพที่จะใช้หาผลประโยชน์ได้โดยเร็ว” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 86/2558 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 21 รายการเกี่ยวกับการจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ต้องมีสาระสําคัญอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ผู้จัดการกองทรัสต์จะจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของกําไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วในแต่ละรอบปีบัญชี ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี หรือวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายประโยชน์ตอบแทนนั้น แล้วแต่กรณี กําไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วตามวรรคหนึ่ง ให้หมายถึงกําไรสุทธิที่หักด้วยรายการ เงินสํารองเฉพาะเพื่อการดังนี้ (ก) การซ่อมแซม บํารุงรักษา หรือปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ตามแผนที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี รายงานประจําปี หรือที่ผู้จัดการกองทรัสต์ได้แจ้งให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบล่วงหน้า (ข) การชําระหนี้เงินกู้ยืมหรือภาระผูกพันจากการกู้ยืมเงินของกองทรัสต์ตามวงเงินที่ได้ระบุไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปีรายงานประจําปี หรือที่ผู้จัดการกองทรัสต์ได้แจ้งให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบล่วงหน้า (ค) การจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ชนิดที่ให้สิทธิในการได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือการคืนเงินทุนในลําดับแรก (ถ้ามี) (2) ในการพิจารณาจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์ จะต้องพิจารณาถึงความจําเป็นในการดํารงเงินสดของกองทรัสต์ให้เหมาะสม ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด (3) ผู้จัดการกองทรัสต์ต้องไม่กู้ยืมเงินเพื่อจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ (4) ในกรณีที่กองทรัสต์ยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้ผู้จัดการกองทรัสต์จ่ายประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ในกรณีที่กองทรัสต์ไม่สามารถจ่ายประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ตามวรรคหนึ่ง (1) ผู้จัดการกองทรัสต์และทรัสตีต้องชี้แจงเหตุผลความจําเป็นต่อสํานักงาน ก.ล.ต.ตามแนวทางที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด และเปิดเผยให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ทราบในการประชุมสามัญประจําปี” ข้อ 4 ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ 5 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,409
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 32/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 32/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 15) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด ซึ่งให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้ลงทุนในวงจํากัด” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,410
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 38/2564 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 16)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 38/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) มาตรา 15 และมาตรา 21แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (5) วรรคหนึ่งของข้อ 18/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สร. 4/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(5) กรณีอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนหรือกองทรัสต์ที่มีเงื่อนไขและเวลาบอกเลิกสัญญาเช่า ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อย่างน้อยต้องมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้วยวิธีรายได้ (income approach) และวิธีต้นทุนทดแทน (replacement cost approach)” ข้อ 2 ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์ของกองทรัสต์ใดมีรายการและข้อความที่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ให้ทรัสตีดําเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาก่อตั้งทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ภายในโอกาสแรกที่กระทําได้ ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,411
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สร. 21/2565 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 17)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 21/2565 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 17) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “เจ้าของเดิม” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ลงทุนในทรัสต์อื่น” และคําว่า “ที่ปรึกษาทางการเงิน” ในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความ ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 20/2564 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ““เจ้าของเดิม” หมายความว่า เจ้าของเดิมตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ซ) ใน (1) ของข้อ 25 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับ รายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 25/2557 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับรายการและข้อความในสัญญา ก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 “(ซ) กําหนดให้ทรัสตีต้องจัดให้มีกลไกในการติดตามดูแลว่าเจ้าของเดิมใช้เงิน ที่ได้จากการขายทรัพย์สินให้แก่กองทรัสต์เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้เปิดเผยไว้ใน แบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน และหากพบว่าเจ้าของเดิมมีการใช้เงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ต้องรายงานโดยไม่ชักช้าให้สํานักงาน ก.ล.ต. และกรมสรรพากรทราบ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับการสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ” ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ง) ใน (2) ของข้อ 26 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สร. 26/2555 เรื่อง ข้อกําหนดเกี่ยวกับ รายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “(ง) การติดตามดูแลว่าเจ้าของเดิมได้ใช้เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินให้แก่ กองทรัสต์เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน และหากพบว่าเจ้าของเดิมมีการใช้เงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ต้องรายงานโดยไม่ชักช้าให้สํานักงาน ก.ล.ต. และกรมสรรพากรทราบ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีกองทรัสต์ที่มีข้อกําหนดขายคืนที่จะได้รับการสนับสนุนทางภาษีและค่าธรรมเนียมจากภาครัฐ” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,412
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการ และผู้บริหารของบริษัท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัด สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้และในแบบตามประกาศนี้ (1) “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่หรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งยังคงมีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 (2) “ประกาศ ที่ กจ. 8/2553” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะที่ขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 ข้อ 2 ในการแจ้งชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทเพื่อนําเข้าสู่ระบบข้อมูล รายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ให้บริษัทแจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวต่อสํานักงานตามวิธีการดังต่อไปนี้ (1) แจ้งชื่อและข้อมูลผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และ (2) ยื่นข้อมูล คํารับรอง และคํายินยอมในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ตามแบบ 35-E1 ที่จัดไว้ในระบบตาม (1) พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ (ก) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาหนังสือเดินทาง (ข) เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (เฉพาะเอกสารทุกฉบับที่แสดงการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุลภายหลังจากที่กรรมการหรือผู้บริหารบรรลุนิติภาวะแล้ว) ข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และเอกสารสิ่งพิมพ์ ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน ข้อ 3 เมื่อบริษัทได้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 สํานักงานจะดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน (1) แสดงชื่อกรรมการหรือผู้บริหารแต่ละรายในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหาร ของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) แจ้งปฏิเสธการแสดงรายชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ที่ออกหลักทรัพย์ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศ ที่ กจ. 8/2553 (3) แจ้งให้รอผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งนั้น ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร บริษัทหรือบุคคล ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร อาจขอตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวต่อสํานักงาน โดยให้ปฏิบัติดังนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทเป็นผู้ขอตรวจสอบ ให้บริษัทขอตรวจสอบผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และบุคคลที่บริษัทจะแต่งตั้งให้เป็นกรรมการหรือผู้บริหารต้องยื่นหนังสือยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลตามแบบ 35-E2 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ ของสํานักงาน (2) ในกรณีที่บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นผู้ขอตรวจสอบ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นหนังสือขอตรวจสอบคุณสมบัติในการเป็นกรรมการและผู้บริหารตามแบบ 35-E3 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน สํานักงานจะดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนตามวรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี (1) แจ้งการสามารถแสดงชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ที่ออกหลักทรัพย์ (2) แจ้งการอยู่ในข่ายที่สํานักงานไม่สามารถแสดงชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (3) แจ้งการต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งนั้น ข้อ 5 การเปลี่ยนแปลงรายชื่อหรือข้อมูลของกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทในลักษณะดังต่อไปนี้ ให้บริษัทแจ้งต่อสํานักงานผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน โดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น (1) การแต่งตั้งกรรมการหรือผู้บริหารรายใหม่ ให้บริษัทแจ้งรายชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าว โดยให้ปฏิบัติตามความในข้อ 2 โดยอนุโลม (2) การพ้นตําแหน่งของกรรมการหรือผู้บริหาร ให้บริษัทแจ้งรายชื่อ ตําแหน่งของ บุคคลดังกล่าว เหตุแห่งการพ้นตําแหน่ง และวันที่พ้นตําแหน่ง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่มิได้มีการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวให้ดํารงตําแหน่งอีกต่อไป (3) การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังต่อไปนี้ของกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์อยู่แล้ว (ก) การเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (ให้แนบเอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ หรือชื่อสกุลมาด้วย) (ข) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการดํารงตําแหน่ง (ค) การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการทําหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ข้อ 6 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งยังคงมีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 ว่ากรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 ตามที่กําหนดไว้ในประกาศ ที่ กจ. 8/2553 ให้บริษัทดังกล่าวรายงานการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 โดยไม่ชักช้า แต่ไม่รวมกรณีที่สํานักงานได้แจ้งต่อบริษัทเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ การรายงานดังกล่าวให้เป็นไปตามแบบ 57-E1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่บริษัทตามวรรคหนึ่งพบเหตุอันควรเชื่อว่ากรรมการหรือผู้บริหารของ บริษัทมีพฤติกรรมที่อาจเข้าลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 3 ตามที่กําหนดไว้ในประกาศ ที่ กจ. 8/2553 บริษัทอาจรายงานพฤติกรรมดังกล่าวพร้อมเอกสารหลักฐานต่อสํานักงานตามแบบ ที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้ ข้อ 7 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 27/2552 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการ ในการนําชื่อกรรมการและผู้บริหารเข้าสู่ระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และการกําหนดหน้าที่ในการรายงานการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท รวมทั้งหน้าที่ในการแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายชื่อหรือข้อมูลกรรมการและผู้บริหาร ของบริษัทในระบบดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,413
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 43/2558 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2558 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการ และผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2553เรื่อง หลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 15มิถุนายน พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบ 35-E1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 15มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้แบบ 35-E1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,414
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 60/2559 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 60/2559 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการ และผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกแบบ 35-E1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2558 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,415
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 17/2560 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 17/2560 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการ และผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การแสดง ชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 1 ในประกาศนี้และในแบบตามประกาศนี้ “บริษัท” หมายความว่า บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่หรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งยังคงมีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 “ประกาศว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2558 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 เมื่อบริษัทได้ยื่นเอกสารหลักฐานตามข้อ 2 สํานักงานจะดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน (1) แสดงชื่อกรรมการหรือผู้บริหารแต่ละรายในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) แจ้งปฏิเสธการแสดงรายชื่อในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 6 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ซึ่งยังคงมีหน้าที่จัดทําและส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทตามมาตรา 56 ว่ากรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามที่กําหนดไว้ในประกาศว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ ให้บริษัทดังกล่าวรายงานการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจดังกล่าวโดยไม่ชักช้า แต่ไม่รวมกรณีที่สํานักงานได้แจ้งต่อบริษัทเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงนั้นแล้ว ทั้งนี้ การรายงานดังกล่าวให้เป็นไปตามแบบ 57-E1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,416
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 56/2561 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 56/2561 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการ และผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 57(6) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (2) ในวรรคหนึ่งของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) สําเนาหนังสือเดินทาง (เฉพาะกรณีบุคคลที่มิได้มีสัญชาติไทย)” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,417
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 6/2554 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 6/2554 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และอาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 และข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 18/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสต์ในธุรกรรมที่เกี่ยวกับศุกูก ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และข้อ 14 ข้อ 17 ข้อ 26(6) และข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ (1) เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสต์ในธุรกรรมที่เกี่ยวกับศุกูก และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ก่อนและภายหลังการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ (3) เป็นการกําหนดรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์สําหรับการออกศุกูก ข้อ ๒ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง ตามหมวด 1 (2) คุณสมบัติที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ ตามหมวด 2 (3) รายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกศุกูก ตามหมวด 3 (4) ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน ตามหมวด 4 (5) การรายงานผลการขายศุกูกต่อประชาชน ตามหมวด 5 (6) รายการขั้นต่ําในใบศุกูก ตามหมวด 6 (7) การจัดทําทะเบียนผู้ถือศุกูก ตามหมวด 7 หมวด ๑ แบบคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และ การยื่นเอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานพร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตในวันยื่นคําขออนุญาตนั้น ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงศุกูกทรัสต์ภายหลังการออกศุกูก ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ 4/12 ยกเลิก หมวด ๒ คุณสมบัติที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ที่จะให้ความเห็นว่าศุกูกที่ขออนุญาตเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้บริการทางการเงินตามหลักชะรีอะฮ์จากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ (2) เป็นบุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติตามข้อ 6 ข้อ ๖ บุคคลธรรมดาที่จะเป็นที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีวุฒิการศึกษาอย่างน้อยในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) กฎหมายอิสลาม (ข) หลักการศาสนาอิสลาม (ค) กฎหมายพาณิชย์และธุรกรรมอิสลาม (ง) เศรษฐศาสตร์อิสลามและการเงินการธนาคารอิสลาม (2) มีประสบการณ์อย่างน้อยสามปีในด้านใดด้านหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําเกี่ยวกับหลักการของศาสนาอิสลาม (ข) วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการเงินการธนาคารอิสลาม (ค) เป็นผู้บรรยายสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งตาม (1) ของสถาบันที่เป็นที่รู้จักและยอมรับ (3) มีความรู้ความสามารถในภาษาอาหรับหรือจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นหลักในการเรียนการสอน (4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (ข) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือความผิดเกี่ยวกับการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดดังกล่าว (ค) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษในความผิดตาม (ข) โดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงิน หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องมาจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษในความผิดตาม (ข) (ง) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน โดยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการ โดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามตาม (ค) และ (ง) คําว่า “สถาบันการเงิน” ให้หมายความถึงสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน หมวด ๓ รายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องประกอบด้วยรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายการที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทรัสต์และการออกศุกูก (ก) ชื่อ อายุ ประเภท และวัตถุประสงค์ของกองทรัสต์ โดยชื่อดังกล่าวต้องแสดงลักษณะของกองทรัสต์ (ข) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ระดมทุน ผู้ก่อตั้งทรัสต์ (ถ้ามี) และทรัสต์ผู้ออกศุกูก (ค) วันที่จัดตั้งกองทรัสต์เพื่อการออกศุกูก (ง) ทรัพย์สินในกองทรัสต์ (2) รายการที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และการคืนเงินลงทุน (ก) วัตถุประสงค์ในการออกศุกูก (ข) ลักษณะสําคัญของศุกูก ซึ่งต้องระบุสิทธิ เงื่อนไข และอัตราหรือสัดส่วนผลประโยชน์ที่ผู้ถือศุกูกจะได้รับ (ค) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระเงินตามศุกูก (ง) การคืนเงินลงทุน และการคืนเงินลงทุนก่อนสิ้นอายุศุกูกซึ่งรวมถึงกรณีที่ทรัสต์ผู้ออกศุกูกไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสต์อีกต่อไป (จ) สิทธิอื่นใดของผู้ถือศุกูก (ฉ) การประชุมผู้ถือศุกูก (3) รายการที่เกี่ยวกับศุกูกทรัสต์ (ก) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของศุกูกทรัสต์ (ข) ข้อผูกพันที่ต้องจัดให้มีศุกูกทรัสต์ซึ่งทําหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือศุกูกให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ตลอดอายุของศุกูก (ค) หน้าที่ของศุกูกทรัสต์เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ 1. อํานาจของศุกูกทรัสต์ในการกระทําในนามของตนเองเพื่อประโยชน์ของผู้ถือศุกูกทั้งปวงสําหรับการดําเนินการให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุนปฏิบัติตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ 2. การดําเนินการให้ผู้ระดมทุนปฏิบัติตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ 3. การฟ้องและการเรียกค่าเสียหายจากทรัสต์ผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุนในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ (ง) การเป็นผู้ถือศุกูกของศุกูกทรัสต์ และข้อจํากัดการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือศุกูก (ถ้ามี) (จ) การแต่งตั้ง เปลี่ยนแปลง และถอดถอนศุกูกทรัสต์ (ฉ) การแจ้งให้ผู้ถือศุกูกทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงศุกูกทรัสต์ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (4) รายการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทรัสต์ (ก) โครงสร้าง วิธีการ และธุรกรรม (ถ้ามี) ที่กองทรัสต์จะนําเงินที่ได้จากการเสนอขายศุกูกไปลงทุนหรือหาประโยชน์ โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่ากองทรัสต์จะนําเงินไปลงทุนหรือหาประโยชน์จากผู้ระดมทุนในลักษณะใด และเป็นไปตามหลักการประเภทใดของศาสนาอิสลาม (ข) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการคืนเงินลงทุน และอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้ระดมทุนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือศุกูก (ค) สิทธิ หน้าที่ และความผูกพันของทรัสต์ผู้ออกศุกูก ศุกูกทรัสต์ ผู้ระดมทุน และผู้ถือศุกูก (ง) เหตุที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์และวิธีการในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือศุกูกให้ด้อยลง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือศุกูกเท่านั้น (จ) อัตราและวิธีจ่ายค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ (ฉ) การมอบหมายการจัดการกองทรัสต์ (ถ้ามี) (ช) การทดรองจ่ายเงินเพื่อกองทรัสต์ของทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือศุกูกทรัสต์ (ถ้ามี) (ซ) การจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ (5) รายการที่เกี่ยวกับการออกใบศุกูกและการโอน (ก) การโอนศุกูก (ข) ตัวอย่างเอกสารหรือหลักฐานการถือศุกูกแนบท้ายสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ถ้ามี) (6) การสิ้นสุดสัญญาก่อตั้งทรัสต์ โดยให้ระบุเหตุที่ทําให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์สิ้นสุดลง ทั้งนี้ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์สิ้นสุดลงเพราะมีการเลิกสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ให้ระบุการดําเนินการในการเลิกสัญญาก่อตั้งทรัสต์ด้วย (7) การเลิกกองทรัสต์ และการชําระสะสางหนี้สิน หมวด ๔ หมวด 4 ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายศุกูกต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกที่ผู้เสนอขายศุกูกมีหน้าที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ข้อ ๙ ร่างหนังสือชี้ชวนต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ในหน้าแรก "บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในเวลาทําการของสํานักงาน หรือทาง http://www.sec.or.th" ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล กําหนดให้ผู้เสนอขายศุกูกต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก ให้ผู้เสนอขายศุกูกจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนด้วย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้เสนอขายศุกูกประสงค์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 8 ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล เพื่อให้ผู้จองซื้อมีสิทธิเลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการ แผ่นบันทึกข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 8 ผู้เสนอขายศุกูกต้องส่งแผ่นบันทึกข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานก่อนหรืออย่างช้าภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกและร่างหนังสือชี้ชวนเริ่มมีผลใช้บังคับ หมวด ๕ การรายงานผลการขายศุกูกต่อประชาชน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกที่ผู้เสนอขายมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกและร่างหนังสือชี้ชวน ให้ผู้เสนอขายศุกูกรายงานผลการขายศุกูกต่อสํานักงาน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (1) กรณีเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป ให้รายงานผลการขายศุกูกภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย (2) กรณีเสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ให้รายงานผลการขายศุกูกภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย ข้อ ๑๓ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายศุกูกไม่สามารถยื่นแบบรายงานตามข้อ 12 ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายศุกูกนั้นอาจขอผ่อนผันการส่งแบบรายงานดังกล่าวโดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่งแบบรายงานนั้น และในกรณีที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งแบบรายงานดังกล่าวได้ หมวด ๖ รายการขั้นต่ําในใบศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ ใบศุกูก (ถ้ามี) อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อทรัสต์ผู้ออกศุกูก ศุกูกทรัสต์ และผู้ระดมทุน (2) เลขทะเบียนบริษัทของทรัสต์ผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุน และวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท (ถ้ามี) (3) จํานวนเงินที่ออกศุกูก (4) ชื่อผู้ถือศุกูก หรือคําแถลงว่าได้ออกศุกูกนั้นให้แก่ผู้ถือ (5) ชนิด มูลค่า เลขที่ใบศุกูก (ถ้ามี) จํานวนศุกูกและจํานวนเงิน อัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน และระยะเวลาการชําระคืนเงินลงทุนของผู้ถือศุกูก (6) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระผลประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินลงทุนของผู้ถือศุกูก (7) สิทธิของผู้ถือศุกูกในกรณีที่ผู้ระดมทุนมีหนี้ก่อนที่ทรัสต์ผู้ออกศุกูกจะออกศุกูกดังกล่าว (8) ข้อจํากัดการโอนศุกูก (ถ้ามี) (9) ลายมือชื่อกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันทรัสต์ผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุน หรือนายทะเบียนศุกูก (10) วันเดือนปีที่ออกศุกูก ข้อ ๑๕ 15 ใบศุกูกด้อยสิทธินอกจากจะต้องมีรายการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 14 แล้วยังต้องมีรายการดังต่อไปนี้ด้วย (1) คําบอกชื่อว่าเป็นศุกูกด้อยสิทธิ (2) สาระสําคัญของศุกูกด้อยสิทธิเกี่ยวกับสิทธิของกองทรัสต์ที่จะได้รับชําระเงินด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไปของผู้ระดมทุน (3) ข้อความที่แสดงว่าผู้ถือศุกูกยินยอมผูกพันตามสาระสําคัญของศุกูกด้อยสิทธินั้น หมวด ๗ การจัดทําทะเบียนผู้ถือศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ภายใต้บังคับข้อ 22 ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกจัดทําทะเบียนศุกูกในแต่ละรุ่น โดยทะเบียนต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดทั่วไป (ก) ชื่อทรัสต์ผู้ออกศุกูก ศุกูกทรัสต์ และผู้ระดมทุน (ข) ชนิดศุกูก จํานวนศุกูก มูลค่าที่ตราไว้ มูลค่าที่ตราไว้ทั้งสิ้น และวันเดือนปีที่ออกศุกูก (ค) อัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน กําหนดวันชําระผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว วันครบกําหนดคืนเงินลงทุนของผู้ถือศุกูก และสิทธิของทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ถือศุกูกเกี่ยวกับการคืนเงินลงทุนให้ผู้ถือศุกูกก่อนครบกําหนด (ถ้ามี) (ง) ข้อจํากัดในเรื่องการโอน (ถ้ามี) (2) รายละเอียดของผู้ถือศุกูกแต่ละราย (ก) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือศุกูก (ข) เลขที่ใบศุกูก (ถ้ามี) จํานวนศุกูก และจํานวนเงินตามมูลค่าที่ตราไว้ทั้งสิ้นของศุกูกที่ถือ (ค) วันเดือนปีที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือศุกูก (ง) วันเดือนปีที่ยกเลิกใบศุกูกและออกใบศุกูกแทน (ถ้ามี) (จ) วันเดือนปีที่ดําเนินการคืนเงินลงทุนให้ผู้ถือศุกูก (ฉ) เลขที่คําร้องขอให้เปลี่ยนแปลงหรือจดแจ้งรายการในทะเบียน (ถ้ามี) ในกรณีศุกูกที่ต้องจัดทําทะเบียนเป็นศุกูกชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือศุกูก ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกระบุไว้ในทะเบียนว่าศุกูกดังกล่าวเป็นศุกูกชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือ และให้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) ด้วย ข้อ ๑๗ ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกเก็บรักษาทะเบียนไว้ที่สํานักงานใหญ่ของทรัสต์ผู้ออกศุกูก และให้ผู้ถือศุกูกตรวจดูได้ในระหว่างเวลาทําการของทรัสต์ผู้ออกศุกูก ในการนี้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกจะกําหนดเวลาสําหรับการตรวจดูไว้ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าวันละสองชั่วโมง ข้อ ๑๘ ทรัสต์ผู้ออกศุกูกต้องจัดให้มีคําร้องขอให้เปลี่ยนแปลงหรือจดแจ้งรายการในทะเบียนโดยคําร้องดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คําร้อง วันเดือนปีที่ยื่นคําร้อง ประเภทศุกูก จํานวนศุกูก ชื่อของผู้ถือศุกูก และวัตถุประสงค์ของการยื่นคําร้องนั้น ข้อ ๑๙ ในกรณีใบศุกูกสูญหายหรือถูกทําลาย ให้ผู้ถือศุกูกยื่นคําร้องพร้อมแสดงหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน และเมื่อทรัสต์ผู้ออกศุกูกพิจารณาเห็นว่าหลักฐานถูกต้องแล้ว ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกออกใบศุกูกใหม่แก่ผู้ถือศุกูก ข้อ ๒๐ เมื่อทรัสต์ผู้ออกศุกูกจะงดรับลงทะเบียน ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกแจ้งการงดรับลงทะเบียนนั้นเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการก่อนวันงดรับการลงทะเบียนวันแรก ต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยในกรณีเป็นศุกูกที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมดังกล่าว ในกรณีที่เป็นศุกูกที่มิได้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกประกาศการงดรับการลงทะเบียนไว้ ณ สํานักงานใหญ่ของทรัสต์ผู้ออกศุกูกให้ผู้ถือศุกูกทราบเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวันงดรับการลงทะเบียน ข้อ ๒๑ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 22 ในการจัดทําทะเบียนตามหมวดนี้ ทรัสต์ผู้ออกศุกูกอาจมอบหมายให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือบุคคลผู้ได้รับอนุญาตให้บริการเป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนศุกูกและเก็บรักษาทะเบียนแทนทรัสต์ผู้ออกศุกูกก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถือศุกูกที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนการมอบหมาย โดยทรัสต์ผู้ออกศุกูกต้องมีข้อกําหนดให้นายทะเบียนศุกูกที่ได้รับมอบหมายนั้นปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๒๒ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศทั้งจํานวน ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกจัดให้มีทะเบียนศุกูกที่เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่เสนอขายศุกูก โดยทรัสต์ผู้ออกศุกูกอาจมอบหมายให้บุคคลที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้โดยชอบตามกฎหมายของประเทศที่เสนอขายศุกูกดังกล่าว เป็นผู้ดําเนินการให้มีทะเบียนศุกูกได้ หมวด ๘ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,418
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สด. 6/2554 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 6 /2554 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และอาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 และข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 18/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสต์ในธุรกรรมที่เกี่ยวกับศุกูก ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และข้อ 14 ข้อ 17 ข้อ 26(6) และข้อ 35 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ (1) เป็นข้อกําหนดเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบกับข้อกําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นทรัสต์ในธุรกรรมที่เกี่ยวกับศุกูก และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (2) เป็นการกําหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีหน้าที่ก่อนและภายหลังการเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ (3) เป็นการกําหนดรายการในสัญญาก่อตั้งทรัสต์สําหรับการออกศุกูก ข้อ ๒ ประกาศนี้มีข้อกําหนดในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) แบบคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง ตามหมวด 1 (2) คุณสมบัติที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ ตามหมวด 2 (3) รายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกศุกูก ตามหมวด 3 (4) ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน ตามหมวด 4 (5) การรายงานผลการขายศุกูกต่อประชาชน ตามหมวด 5 (6) รายการขั้นต่ําในใบศุกูก ตามหมวด 6 (7) การจัดทําทะเบียนผู้ถือศุกูก ตามหมวด 7 หมวด ๑ แบบคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และ การยื่นเอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ยื่นคําขออนุญาตและเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานพร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมคําขออนุญาตในวันยื่นคําขออนุญาตนั้น ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงศุกูกทรัสต์ภายหลังการออกศุกูก ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน หมวด ๒ คุณสมบัติที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ ที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ที่จะให้ความเห็นว่าศุกูกที่ขออนุญาตเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้บริการทางการเงินตามหลักชะรีอะฮ์จากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ (2) เป็นบุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติตามข้อ 6 ข้อ ๖ บุคคลธรรมดาที่จะเป็นที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีวุฒิการศึกษาอย่างน้อยในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) กฎหมายอิสลาม (ข) หลักการศาสนาอิสลาม (ค) กฎหมายพาณิชย์และธุรกรรมอิสลาม (ง) เศรษฐศาสตร์อิสลามและการเงินการธนาคารอิสลาม (2) มีประสบการณ์อย่างน้อยสามปีในด้านใดด้านหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ให้คําปรึกษาหรือคําแนะนําเกี่ยวกับหลักการของศาสนาอิสลาม (ข) วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการเงินการธนาคารอิสลาม (ค) เป็นผู้บรรยายสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งตาม (1) ของสถาบันที่เป็นที่รู้จักและยอมรับ (3) มีความรู้ความสามารถในภาษาอาหรับหรือจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นหลักในการเรียนการสอน (4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (ข) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือความผิดเกี่ยวกับการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทําความผิดดังกล่าว (ค) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษในความผิดตาม (ข) โดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงิน หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องมาจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษในความผิดตาม (ข) (ง) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลผู้มีอํานาจในการจัดการของสถาบันการเงิน โดยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายหรือต้องร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินดังกล่าวซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาต ถูกควบคุมกิจการ หรือถูกระงับการดําเนินกิจการ โดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินนั้น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการมีลักษณะต้องห้ามตาม (ค) และ (ง) คําว่า “สถาบันการเงิน” ให้หมายความถึงสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน หมวด ๓ รายการและข้อความในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ที่เกี่ยวกับการออกศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๗ สัญญาก่อตั้งทรัสต์ต้องประกอบด้วยรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายการที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทรัสต์และการออกศุกูก (ก) ชื่อ อายุ ประเภท และวัตถุประสงค์ของกองทรัสต์ โดยชื่อดังกล่าวต้องแสดงลักษณะของกองทรัสต์ (ข) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ระดมทุน ผู้ก่อตั้งทรัสต์ (ถ้ามี) และทรัสต์ผู้ออกศุกูก (ค) วันที่จัดตั้งกองทรัสต์เพื่อการออกศุกูก (ง) ทรัพย์สินในกองทรัสต์ (2) รายการที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และการคืนเงินลงทุน (ก) วัตถุประสงค์ในการออกศุกูก (ข) ลักษณะสําคัญของศุกูก ซึ่งต้องระบุสิทธิ เงื่อนไข และอัตราหรือสัดส่วนผลประโยชน์ที่ผู้ถือศุกูกจะได้รับ (ค) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระเงินตามศุกูก (ง) การคืนเงินลงทุน และการคืนเงินลงทุนก่อนสิ้นอายุศุกูกซึ่งรวมถึงกรณีที่ทรัสต์ผู้ออกศุกูกไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นทรัสต์อีกต่อไป (จ) สิทธิอื่นใดของผู้ถือศุกูก (ฉ) การประชุมผู้ถือศุกูก (3) รายการที่เกี่ยวกับศุกูกทรัสต์ (ก) ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของศุกูกทรัสต์ (ข) ข้อผูกพันที่ต้องจัดให้มีศุกูกทรัสต์ซึ่งทําหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือศุกูกให้เป็นไปตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ตลอดอายุของศุกูก (ค) หน้าที่ของศุกูกทรัสต์เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ 1. อํานาจของศุกูกทรัสต์ในการกระทําในนามของตนเองเพื่อประโยชน์ของผู้ถือศุกูกทั้งปวงสําหรับการดําเนินการให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุนปฏิบัติตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ 2. การดําเนินการให้ผู้ระดมทุนปฏิบัติตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และข้อตกลง ที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ 3. การฟ้องและการเรียกค่าเสียหายจากทรัสต์ผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุนในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์และข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ (ง) การเป็นผู้ถือศุกูกของศุกูกทรัสต์ และข้อจํากัดการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือศุกูก (ถ้ามี) (จ) การแต่งตั้ง เปลี่ยนแปลง และถอดถอนศุกูกทรัสต์ (ฉ) การแจ้งให้ผู้ถือศุกูกทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงศุกูกทรัสต์ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (4) รายการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทรัสต์ (ก) โครงสร้าง วิธีการ และธุรกรรม (ถ้ามี) ที่กองทรัสต์จะนําเงินที่ได้จากการเสนอขายศุกูกไปลงทุนหรือหาประโยชน์ โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่ากองทรัสต์จะนําเงินไปลงทุนหรือหาประโยชน์จากผู้ระดมทุนในลักษณะใด และเป็นไปตามหลักการประเภทใดของศาสนาอิสลาม (ข) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการคืนเงินลงทุน และอัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทรัสต์จะได้รับจากผู้ระดมทุนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือศุกูก (ค) สิทธิ หน้าที่ และความผูกพันของทรัสต์ผู้ออกศุกูก ศุกูกทรัสต์ ผู้ระดมทุน และผู้ถือศุกูก (ง) เหตุที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อตั้งทรัสต์และวิธีการในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือศุกูกให้ด้อยลง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือศุกูกเท่านั้น (จ) อัตราและวิธีจ่ายค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ (ฉ) การมอบหมายการจัดการกองทรัสต์ (ถ้ามี) (ช) การทดรองจ่ายเงินเพื่อกองทรัสต์ของทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือศุกูกทรัสต์ (ถ้ามี) (ซ) การจัดทํางบการเงินของกองทรัสต์ (5) รายการที่เกี่ยวกับการออกใบศุกูกและการโอน (ก) การโอนศุกูก (ข) ตัวอย่างเอกสารหรือหลักฐานการถือศุกูกแนบท้ายสัญญาก่อตั้งทรัสต์ (ถ้ามี) (6) การสิ้นสุดสัญญาก่อตั้งทรัสต์ โดยให้ระบุเหตุที่ทําให้สัญญาก่อตั้งทรัสต์สิ้นสุดลง ทั้งนี้ ในกรณีที่สัญญาก่อตั้งทรัสต์สิ้นสุดลงเพราะมีการเลิกสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ให้ระบุการดําเนินการในการเลิกสัญญาก่อตั้งทรัสต์ด้วย (7) การเลิกกองทรัสต์ และการชําระสะสางหนี้สิน หมวด ๔ ข้อกําหนดเกี่ยวกับร่างหนังสือชี้ชวน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๘ แบบของร่างหนังสือชี้ชวนที่ผู้เสนอขายศุกูกต้องยื่นต่อสํานักงาน ให้อนุโลมใช้ตามแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกที่ผู้เสนอขายศุกูกมีหน้าที่ยื่นต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ข้อ ๙ ร่างหนังสือชี้ชวนต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ในหน้าแรก “บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ชั้น 15 อาคารจีพีเอฟ วิทยุ เลขที่ 93/1 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในเวลาทําการของสํานักงาน หรือทาง http://www.sec.or.th” ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล กําหนดให้ผู้เสนอขายศุกูกต้องจัดให้มีที่ปรึกษทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทําแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก ให้ผู้เสนอขายศุกูกจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ร่วมจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนด้วย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้เสนอขายศุกูกประสงค์จะจัดทําร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 8 ในรูปแผ่นบันทึกข้อมูล เพื่อให้ผู้จองซื้อมีสิทธิเลือกรับร่างหนังสือชี้ชวนตามรูปแบบที่ต้องการ แผ่นบันทึกข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีข้อมูลถูกต้องตรงกันและนําเสนอข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับร่างหนังสือชี้ชวนตามข้อ 8 ผู้เสนอขายศุกูกต้องส่งแผ่นบันทึกข้อมูลตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานก่อนหรืออย่างช้าภายในวันที่แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกและร่างหนังสือชี้ชวนเริ่มมีผลใช้บังคับ หมวด ๕ การรายงานผลการขายศุกูกต่อประชาชน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกที่ผู้เสนอขายมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกและร่างหนังสือชี้ชวน ให้ผู้เสนอขายศุกูกรายงานผลการขายศุกูกต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย ทั้งนี้ ตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๑ ในกรณีมีเหตุจําเป็นทําให้ผู้เสนอขายศุกูกไม่สามารถยื่นแบบรายงานตามข้อ 12 ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้เสนอขายศุกูกนั้นอาจขอผ่อนผันการส่งแบบรายงานดังกล่าวโดยต้องทําเป็นหนังสือถึงสํานักงานก่อนวันครบระยะเวลาที่กําหนดพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการขอผ่อนผันและแจ้งกําหนดระยะเวลาที่จะส่งแบบรายงานนั้น และในกรณีที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่าคําขอดังกล่าวมีเหตุจําเป็นและสมควร สํานักงานอาจผ่อนผันกําหนดระยะเวลาการส่งแบบรายงานดังกล่าวได้ หมวด ๖ รายการขั้นต่ําในใบศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๔ ใบศุกูก (ถ้ามี) อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อทรัสต์ผู้ออกศุกูก ศุกูกทรัสต์ และผู้ระดมทุน (2) เลขทะเบียนบริษัทของทรัสต์ผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุน และวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท (ถ้ามี) (3) จํานวนเงินที่ออกศุกูก (4) ชื่อผู้ถือศุกูก หรือคําแถลงว่าได้ออกศุกูกนั้นให้แก่ผู้ถือ (5) ชนิด มูลค่า เลขที่ใบศุกูก (ถ้ามี) จํานวนศุกูกและจํานวนเงิน อัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน และระยะเวลาการชําระคืนเงินลงทุนของผู้ถือศุกูก (6) วิธีการ เวลา และสถานที่สําหรับการชําระผลประโยชน์ตอบแทนและการคืนเงินลงทุนของผู้ถือศุกูก (7) สิทธิของผู้ถือศุกูกในกรณีที่ผู้ระดมทุนมีหนี้ก่อนที่ทรัสต์ผู้ออกศุกูกจะออกศุกูกดังกล่าว (8) ข้อจํากัดการโอนศุกูก (ถ้ามี) (9) ลายมือชื่อกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันทรัสต์ผู้ออกศุกูกและผู้ระดมทุน หรือนายทะเบียนศุกูก (10) วันเดือนปีที่ออกศุกูก ข้อ ๑๕ ใบศุกูกด้อยสิทธินอกจากจะต้องมีรายการตามที่กําหนดไว้ในข้อ 14 แล้วยังต้องมีรายการดังต่อไปนี้ด้วย (1) คําบอกชื่อว่าเป็นศุกูกด้อยสิทธิ (2) สาระสําคัญของศุกูกด้อยสิทธิเกี่ยวกับสิทธิของกองทรัสต์ที่จะได้รับชําระเงินด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญทั่วไปของผู้ระดมทุน (3) ข้อความที่แสดงว่าผู้ถือศุกูกยินยอมผูกพันตามสาระสําคัญของศุกูกด้อยสิทธินั้น หมวด ๗ การจัดทําทะเบียนผู้ถือศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๖ ภายใต้บังคับข้อ 22 ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกจัดทําทะเบียนศุกูกในแต่ละรุ่น โดยทะเบียนต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดทั่วไป (ก) ชื่อทรัสต์ผู้ออกศุกูก ศุกูกทรัสต์ และผู้ระดมทุน (ข) ชนิดศุกูก จํานวนศุกูก มูลค่าที่ตราไว้ มูลค่าที่ตราไว้ทั้งสิ้น และวันเดือนปีที่ออกศุกูก (ค) อัตราหรือสัดส่วนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน กําหนดวันชําระผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว วันครบกําหนดคืนเงินลงทุนของผู้ถือศุกูก และสิทธิของทรัสต์ผู้ออกศุกูกหรือผู้ถือศุกูกเกี่ยวกับการคืนเงินลงทุนให้ผู้ถือศุกูกก่อนครบกําหนด (ถ้ามี) (ง) ข้อจํากัดในเรื่องการโอน (ถ้ามี) (2) รายละเอียดของผู้ถือศุกูกแต่ละราย (ก) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือศุกูก (ข) เลขที่ใบศุกูก (ถ้ามี) จํานวนศุกูก และจํานวนเงินตามมูลค่าที่ตราไว้ทั้งสิ้นของศุกูกที่ถือ (ค) วันเดือนปีที่ลงทะเบียนเป็นหรือขาดจากการเป็นผู้ถือศุกูก (ง) วันเดือนปีที่ยกเลิกใบศุกูกและออกใบศุกูกแทน (ถ้ามี) (จ) วันเดือนปีที่ดําเนินการคืนเงินลงทุนให้ผู้ถือศุกูก (ฉ) เลขที่คําร้องขอให้เปลี่ยนแปลงหรือจดแจ้งรายการในทะเบียน (ถ้ามี) ในกรณีศุกูกที่ต้องจัดทําทะเบียนเป็นศุกูกชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือศุกูก ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกระบุไว้ในทะเบียนว่าศุกูกดังกล่าวเป็นศุกูกชนิดไม่ระบุชื่อผู้ถือและให้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) ด้วย ข้อ ๑๗ ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกเก็บรักษาทะเบียนไว้ที่สํานักงานใหญ่ของทรัสต์ผู้ออกศุกูก และให้ผู้ถือศุกูกตรวจดูได้ในระหว่างเวลาทําการของทรัสต์ผู้ออกศุกูก ในการนี้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกจะกําหนดเวลาสําหรับการตรวจดูไว้ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่าวันละสองชั่วโมง ข้อ ๑๘ ทรัสต์ผู้ออกศุกูกต้องจัดให้มีคําร้องขอให้เปลี่ยนแปลงหรือจดแจ้งรายการในทะเบียนโดยคําร้องดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คําร้อง วันเดือนปีที่ยื่นคําร้อง ประเภทศุกูก จํานวนศุกูก ชื่อของผู้ถือศุกูก และวัตถุประสงค์ของการยื่นคําร้องนั้น ข้อ ๑๙ ในกรณีใบศุกูกสูญหายหรือถูกทําลาย ให้ผู้ถือศุกูกยื่นคําร้องพร้อมแสดงหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน และเมื่อทรัสต์ผู้ออกศุกูกพิจารณาเห็นว่าหลักฐานถูกต้องแล้ว ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกออกใบศุกูกใหม่แก่ผู้ถือศุกูก ข้อ ๒๐ เมื่อทรัสต์ผู้ออกศุกูกจะงดรับลงทะเบียน ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกแจ้งการงดรับลงทะเบียนนั้นเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทําการก่อนวันงดรับการลงทะเบียนวันแรก ต่อสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยในกรณีเป็นศุกูกที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมดังกล่าว ในกรณีที่เป็นศุกูกที่มิได้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกประกาศการงดรับการลงทะเบียนไว้ ณ สํานักงานใหญ่ของทรัสต์ผู้ออกศุกูกให้ผู้ถือศุกูกทราบเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนวันงดรับการลงทะเบียน ข้อ ๒๑ เว้นแต่กรณีที่กําหนดในข้อ 22 ในการจัดทําทะเบียนตามหมวดนี้ ทรัสต์ผู้ออกศุกูกอาจมอบหมายให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือบุคคลผู้ได้รับอนุญาตให้บริการเป็นนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทําหน้าที่เป็นนายทะเบียนศุกูกและเก็บรักษาทะเบียนแทนทรัสต์ผู้ออกศุกูกก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถือศุกูกที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนการมอบหมาย โดยทรัสต์ผู้ออกศุกูกต้องมีข้อกําหนดให้นายทะเบียนศุกูกที่ได้รับมอบหมายนั้นปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้ด้วย ข้อ ๒๒ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายศุกูกต่อผู้ลงทุนในต่างประเทศทั้งจํานวน ให้ทรัสต์ผู้ออกศุกูกจัดให้มีทะเบียนศุกูกที่เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่เสนอขายศุกูก โดยทรัสต์ผู้ออกศุกูกอาจมอบหมายให้บุคคลที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้โดยชอบตามกฎหมายของประเทศที่เสนอขายศุกูกดังกล่าว เป็นผู้ดําเนินการให้มีทะเบียนศุกูกได้ หมวด ๘ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกและเสนอขายศุกูก ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์ก่อนหรือหลังการออกและเสนอขายศุกูกนั้นแล้ว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,419
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 60/2561 เรื่อง ข้อกำหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 60/2561 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 27 และข้อ 29 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทด. 2/2554 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 69/2561 เรื่อง ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 ของหมวด 1 แบบคําขออนุญาตเสนอขายศุกูกที่ออกใหม่ และการยื่นเอกสารหลักฐาน หรือรายงานที่เกี่ยวข้อง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 6/2554 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 “ข้อ 4/1 ให้ทรัสตีผู้ออกศุกูกที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายศุกูกแก่ประชาชนทั่วไปและทรัสตีผู้ออกศุกูกที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายศุกูกในวงจํากัดต่อผู้ลงทุนรายใหญ่ รายงานอัตราส่วนที่มีนัยสําคัญทางการเงินของผู้ระดมทุนรายปี (key financial ratio) ตามแนวทางและวิธีการที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สด. 6/2554 เรื่อง ข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 ร่างหนังสือชี้ชวนต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ในหน้าแรก “บุคคลทั่วไปสามารถขอตรวจสอบหรือขอสําเนาแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ศูนย์สารสนเทศตลาดทุน สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 333/3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในเวลาทําการของสํานักงาน หรือทาง ”” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,420
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 31/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 2)
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ “ หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ และใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นบทนิยามคําว่า “ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น” และ “ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” และคําว่า “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 “ “ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทมหาชนจํากัดที่ให้สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทมหาชนจํากัดนั้น และ ให้หมายความรวมถึงใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ “ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” หมายความว่า ตราสารที่บริษัทมหาชนจํากัดออกให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นนั้นหรือบุคคลอื่นที่รับโอนตราสารดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทมหาชนจํากัดนั้น โดยสิทธิดังกล่าวเป็นสัดส่วนกับจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นแต่ละคนมีอยู่” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,421
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 13 /2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 13/2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 19/1 และข้อ 35/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 65/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า "หลักทรัพย์แปลงสภาพ" ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2541 เรื่อง การรายงานผล การขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” ข้อ 2 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” และคําว่า “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ““ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่” ข้อ 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2541 เรื่อง การรายงาน ผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า การใช้สิทธิแปลงสภาพตามหุ้นกู้แปลงสภาพ การใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น การใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ตามใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ การใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นตามใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ และการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ แล้วแต่กรณี” ข้อ 4 ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “ผู้บริหาร” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้บริหาร” หมายความว่า กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นนอกจาก (2) ให้แสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1 ท้ายประกาศนี้ (2) กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ก) วันที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ข) วันที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ค) ชื่อเฉพาะของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (ง) จํานวนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ขายได้ ทั้งนี้ กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้น ให้ระบุจํานวนหุ้นอ้างอิงด้วย (จ) ราคาของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขาย (ฉ) เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ข้อ 4 นอกจากรายงานตามข้อ 3 ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพยื่นรายงานผลการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพตามแบบดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในแต่ละครั้ง 1. แบบ 81-2 ท้ายประกาศนี้ สําหรับการรายงานผลการขายหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพอื่นที่มิใช่ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ 2. แบบ 81-dw ท้ายประกาศนี้ สําหรับการรายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ในกรณีที่ผู้ถือหลักทรัพย์แปลงสภาพอาจใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์แปลงสภาพยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ” ================================================================================================================================================================================================================================================ ข้อ 6 ให้เพิ่มแบบรายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (แบบ 81-dw) เป็นแบบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================================ ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ======================================================================= ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ======================================== (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,422
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 47/2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 4)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47 /2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 4) ### อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 13/2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในประกาศนี้ และในแบบท้ายประกาศนี้ (1) คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “บริษัท” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) “ผู้เสนอขายหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัด บริษัท หรือเจ้าของหลักทรัพย์ที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (3) “บริษัทที่ออกหลักทรัพย์” ให้หมายความรวมถึง ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจํากัดด้วย (4) “บริษัทในเครือ” หมายความว่า บริษัทใหญ่และบริษัทย่อย (5) “ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ และให้หมายความรวมถึงผู้สนับสนุนการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ด้วย (6) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และให้หมายความรวมถึงบริษัทประกันวินาศภัย กองทุนรวม กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ และกองทุนอื่นใดที่มีลักษณะในทํานองเดียวกับกองทุนที่กล่าวถึงข้างต้น (7) “สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 3 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในกําหนดเวลาและโดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ โดยแสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1 ท้ายประกาศนี้ 2. สี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ 3. วันที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ 4. วันที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ 5. ชื่อเฉพาะของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ 6. จํานวนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ขายได้ ทั้งนี้ กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้น ให้ระบุจํานวนหุ้นอ้างอิงด้วย 7. ราคาของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขาย 8. เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ 9. สี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นนอกจาก(1) และ (2) โดยแสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1 ท้ายประกาศนี้” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ### ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,423
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 31/2546 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 5)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2546 ###### เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 5) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 19/1 และข้อ 35/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 65/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 ธันวาคมพ.ศ. 2543 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ###### ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 4 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) แบบ 81-sn/dw ท้ายประกาศนี้ สําหรับการรายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีการส่งมอบหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี” ###### ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในหัวข้อ 2.2 กรณีที่หลักทรัพย์นั้นเป็นหุ้นกู้ ภายใต้หัวข้อ 2. ข้อมูลเกี่ยวกับสาระสําคัญของหลักทรัพย์ ในแบบ 81-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “2.2 กรณีที่หลักทรัพย์นั้นเป็นหุ้นกู้ 2.2.1 ชื่อเฉพาะของหุ้นกู้ที่เสนอขาย 2.2.2 ลักษณะของหุ้นกู้ที่เสนอขาย ❑ หุ้นกู้ไม่มีประกัน ❑ หุ้นกู้มีประกัน หลักประกันคือ ❑ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ ❑ หุ้นกู้ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท (perpetual bond) ❑ หุ้นกู้แปลงสภาพ อัตราการแปลงสภาพ ราคาการแปลงสภาพ ระยะเวลาการใช้สิทธิแปลงสภาพ ❑ หุ้นกู้อนุพันธ์ ปัจจัยอ้างอิง ❑ หุ้นกู้ที่เสนอขายได้หลายครั้ง วงเงินรวมที่ได้รับอนุญาต วงเงินที่เสนอขายในครั้งนี้ * + 1. จํานวนหุ้นกู้ที่เสนอขาย 2. มูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย 3. ราคาที่เสนอขายต่อหน่วย 4. มูลค่าการเสนอขายทั้งหมด 5. อัตราดอกเบี้ย /หรือผลประโยชน์ตอบแทน 6. อันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับ (ให้ระบุผลการจัดอันดับครั้งล่าสุด) จัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย เมื่อวันที่ * + 1. ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (ถ้ามี) 2. อายุหุ้นกู้ 3. วันที่ออก 4. วันที่ครบกําหนดไถ่ถอน 5. ระยะเวลาชําระหนี้ (ระบุงวดการชําระเงินต้นและดอกเบี้ย) 6. เงื่อนไขการไถ่ถอนก่อนกําหนด (put/call) ( ถ้ามี ให้ระบุเงื่อนไขให้ชัดเจน) 7. มูลค่าและวิธีการในการไถ่ถอนเมื่อครบกําหนด 8. สิทธิและผลประโยชน์อื่น (ถ้ามี) 9. สาระสําคัญอื่น (ถ้ามี) ” ข้อ 3 ให้ยกเลิกแบบ 81-dw ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และให้ใช้แบบ 81-sn/dw ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 4 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป #### ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,424
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 16/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 6)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 16/2547 ###### เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 6) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ###### ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47/2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “บริษัท” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์” ###### ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47/2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 “(1/1) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” 1. ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ หมายความว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ 2. ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หมายความว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (6) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47/2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(6) “ผู้มีอุปการคุณ” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของการช่วยเหลือเกื้อกูลกับบริษัทที่ออกหุ้น เช่น ลูกค้า ผู้จําหน่ายวัตถุดิบ พนักงานของบริษัทในเครือ หรือ กิจการที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจ เป็นต้น” ###### ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 47/2544 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายใน กําหนดเวลาและโดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ โดยแสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1 ท้ายประกาศนี้ 2. สี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหุ้น โดย ###### กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรกโดยมี ###### วัตถุประสงค์เพื่อนําเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้แสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1-IPO ท้ายประกาศนี้ นอกจากรายงานที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เสนอขายหุ้นมีการแบ่งแยกหุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้นเป็นการเฉพาะ ให้ผู้เสนอขายหุ้นจัดทํารายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นจากส่วนที่ได้แบ่งไว้เพื่อผู้มีอุปการคุณในจํานวนสูงสุดสองร้อยรายแรก ตามแบบ 81-1- IPO200 และส่งต่อสํานักงานพร้อมแบบ 81-1-IPO ###### กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นในลักษณะอื่นนอกจาก (ก) ให้แสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1 ท้ายประกาศนี้ ###### (3) สี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ โดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ ###### วันที่เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ###### วันที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ###### ชื่อเฉพาะของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ###### จํานวนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขายทั้งหมด และจํานวนใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ขายได้ ทั้งนี้ กรณีเป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ในหุ้นให้ระบุจํานวนหุ้นอ้างอิงด้วย ###### (จ) ราคาของใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่เสนอขาย ###### เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (4) สี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นนอกจาก (1) (2) และ (3) โดยแสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1 ท้ายประกาศนี้” ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 “ข้อ 3/1 ให้ผู้เสนอขายหุ้นที่มีหน้าที่ต้องรายงานตามข้อ 3(2)(ก) วรรคสอง จัดเก็บเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลสนับสนุนเหตุผลการจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรทุกรายที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ไว้ ณ ที่ทําการแห่งใหญ่ของผู้เสนอขายหุ้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีนับแต่วันปิดการเสนอขาย ในลักษณะที่พร้อมแสดงต่อสํานักงานโดยไม่ชักช้าเมื่อได้รับการร้องขอ” ข้อ 6 ให้เพิ่มแบบ 81-1-IPO และแบบ 81-1-IPO200 ท้ายประกาศนี้เป็นแบบท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 7 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป #### ประกาศ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,425
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 38/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 7)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2547 ###### เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 7) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ###### ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 16/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) คําว่า “หลักทรัพย์” “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ” “บริษัท” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์” ###### ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 16/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน โดย 1. กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ ให้แสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1 ท้ายประกาศนี้ 2. กรณีเป็นการเสนอขายตั๋วเงินหรือหุ้นกู้ระยะสั้น ให้แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ 3. วันที่ได้รับอนุญาต 4. ลักษณะการอนุญาต โดยระบุว่าเป็นการได้รับอนุญาตเป็นรายโครงการ หรือรายปี (กรณีที่ได้รับอนุญาตเป็นโครงการ ให้ระบุชื่อและลักษณะเฉพาะของโครงการให้ชัดเจน) 5. วันที่สิ้นสุดระยะเวลาการได้รับอนุญาต 6. วงเงินที่ได้รับอนุญาตตามโครงการ 7. มูลค่าที่ตราไว้รวมของตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้นที่ขายได้ โดยแสดงข้อมูลแยกตามผู้ลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ผู้ลงทุนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศด้วย 8. มูลค่ารวมของตั๋วเงินและหุ้นกู้ระยะสั้นทั้งหมดที่ยังมิได้ชําระหนี้ให้แก่ผู้ทรงหรือผู้ถือ (รวมมูลค่าที่ขายได้ในครั้งที่รายงาน) ซึ่งต้องแสดงมูลค่ารวมของตั๋วเงินที่เสนอขายไม่เกินสิบฉบับ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในลักษณะจํากัดตามหมวด 2 ของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตั๋วเงินที่เป็นหลักทรัพย์และหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ออกใหม่ ด้วย 9. อันดับความน่าเชื่อถือและชื่อสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (ถ้ามี) ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ส่งรายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามวรรคหนึ่งผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางที่สํานักงานกําหนดด้วย ข้อ 3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป #### ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,427
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 43/2549 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 8)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2549 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 8) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 19/1 และข้อ 35/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 24/2543 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 28/2548 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) (ก) คําว่า “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” “การใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ”“ผู้ลงทุนสถาบัน” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ“ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ กรณีเป็นการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารหนี้ (ข) คําว่า “ตราสารหนี้” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ“ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ กรณีเป็นการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ประเภทดังกล่าว” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 “ข้อ 2/1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 3(1) แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 38/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2546 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 นอกจากรายงานตามข้อ 3 ให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ หุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิ ยื่นรายงานผลการไถ่ถอนหรือการใช้สิทธิตามหลักเกณฑ์หรือตามแบบดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการไถ่ถอนหรือการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวในแต่ละครั้ง (1) แบบรายงานที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ของสํานักงาน สําหรับการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีการส่งมอบหลักทรัพย์ (2) แบบ 81-2 ท้ายประกาศนี้ สําหรับการรายงานผลการขายหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่มิใช่ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (3) แบบ 81-dw ท้ายประกาศนี้ สําหรับการรายงานผลการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้อนุพันธ์ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ อาจขอให้มีการไถ่ถอนหรือใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวในลักษณะต่อเนื่องได้ตั้งแต่วันที่กําหนดให้ใช้สิทธิ ให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ ยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง ต่อสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของทุกเดือนที่มีการใช้สิทธิ” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ข้อ ๖ ให้ยกเลิกแบบรายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีการชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการส่งมอบหลักทรัพย์ การใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (แบบ 81-sn/dw) ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 31/2546 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้แบบรายงานการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(แบบ 81-dw) ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๗ ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ที่ปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ไปแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จัดทํารายงานผลการขายหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ก่อนแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,428
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 9/2552 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 9)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 9/2552 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 9) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2549 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และ (1/1) ของข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 16/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 6)ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) (ก) ในกรณีเป็นการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่มิใช่ตราสารหนี้ คําว่า “ใบสําคัญแสดงสิทธิ” “การใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิ” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (ข) ในกรณีเป็นการรายงานผลการขายตราสารหนี้ คําว่า “ตราสารหนี้” “หุ้นกู้ระยะสั้น” “ตั๋วเงินระยะสั้น” “ผู้ลงทุนสถาบัน” “ผู้ลงทุนรายใหญ่” “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “ผู้บริหาร” “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” และ “ผู้มีอํานาจควบคุม” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ทุกประเภท (1/1) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” (ก) ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เสนอขายหลักทรัพย์ หมายความว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ข) ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ หมายความว่า “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2549 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 8)ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2/1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ แล้วแต่กรณี” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2549 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ (1) สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายตราสารหนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายต่อสํานักงานโดยอาจจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกแบบรายงานผลการขาย แบบ 81-1 ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 31/2546 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และให้ใช้แบบ 81-1 ท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงแบบรายงานและหลักเกณฑ์ในการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ให้สอดคล้องกับการแก้ไขประกาศที่เกี่ยวกับการยื่น แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และการเสนอขายตราสารหนี้ รวมทั้งกําหนดให้ การรายงานผลการขายหลักทรัพย์สําหรับการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศสามารถจัดทําเป็นภาษาอังกฤษได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,429
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 43/2552 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 10)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2552 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 10) -------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2549 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 “ข้อ 5 ให้ผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยต่อสํานักงาน โดยให้รายงานตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาเช่นเดียวกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์อ้างอิง โดยอนุโลม พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่เสนอขายนั้นด้วย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย โดยได้จัดทําหลักเกณฑ์ดังกล่าวในรูปของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ซึ่งมีผลกระทบต่อหลักเกณฑ์การรายงานผลการขายใบแสดงสิทธิดังกล่าวด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,430
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 10/2553 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 11 )
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 10 /2553 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 11 ) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 16/2547 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547 ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (3) ของข้อ 4 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2549 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบรายงานการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (แบบ 81-dw) ท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 43/2549 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การรายงานผลการขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ต่อประชาชน และการรายงานผลการใช้สิทธิตาม ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ โดยได้จัดทําหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยข้อกําหนดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ออกใหม่ จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,431
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 26/2553 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 12)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 26/2553 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 12) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 9/2552 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2/1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่เสนอขายโดยบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ หรือ (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตรา ต่างประเทศในประเทศไทย” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 9/2552 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย สําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จัดไว้ในระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศตาม ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย แล้วแต่กรณี การรายงานผลการขายต่อสํานักงานจะจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงให้รองรับการรายงานผลการขายหุ้นกู้ สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,432
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 22/2554 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 13)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 22 /2554 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 13) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 26/2553 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายใน กําหนดเวลาและโดยแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขาย สําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ในกรณีที่เป็นการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศตาม ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย แล้วแต่กรณี การรายงานผลการขายต่อสํานักงานจะจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ (2) สี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหุ้น โดย (ก) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้แสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1-IPO ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน นอกจากรายงานที่กําหนดตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ผู้เสนอขายหุ้นมีการแบ่งแยกหุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้นเป็นการเฉพาะ ให้ผู้เสนอขายหุ้นจัดทํารายชื่อผู้ได้รับการจัดสรรหุ้นจากส่วนที่ได้แบ่งไว้เพื่อผู้มีอุปการคุณในจํานวนสูงสุดสองร้อยรายแรกตามแบบ 81-1-IPO 200 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน และส่งต่อสํานักงานพร้อมแบบ 81-1-IPO (ข) กรณีเป็นการเสนอขายหุ้นในลักษณะอื่นนอกจาก (ก) ให้แสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (3) สี่สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย กรณีเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์อื่นนอกจาก (1) และ (2) โดยแสดงรายละเอียดตามแบบ 81-1 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 10/2553 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 นอกจากรายงานตามข้อ 3 ให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญ แสดงสิทธิ ยื่นรายงานผลการไถ่ถอนหรือการใช้สิทธิตามหลักเกณฑ์หรือตามแบบดังต่อไปนี้ต่อสํานักงาน ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการไถ่ถอนหรือการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวในแต่ละครั้ง (1) แบบรายงานที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน สําหรับการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ ที่มีการส่งมอบหลักทรัพย์ (2) แบบ 81-2 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน สําหรับการรายงานผลการขายหุ้นหรือ หุ้นกู้ที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสําคัญแสดงสิทธิที่มิใช่ใบสําคัญ แสดงสิทธิอนุพันธ์” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,433
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 7/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 15)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 15)\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ของข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2555 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555 “(5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,434
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 19/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 16)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 16) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (6) ของข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558 “(6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศในประเทศไทย” ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 22/2554 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ ต่อประชาชน (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ให้ผู้ออกหุ้นกู้อนุพันธ์ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือใบสําคัญแสดงสิทธิ ยื่นรายงานผลการไถ่ถอนหรือการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การรายงานการไถ่ถอนหุ้นกู้อนุพันธ์ที่มีการส่งมอบหลักทรัพย์ หรือรายงานผลการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามหุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ยื่นรายงานดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของเดือนที่มีการไถ่ถอนหรือการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง (2) การรายงานผลการขายหุ้นที่ออกใหม่เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิให้ยื่นตามแบบ 81-2 ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดการใช้สิทธิในแต่ละครั้ง” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,435
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 12/2555 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 14)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12 /2555 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 14 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) ของข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 26/2553 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 “(4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นกู้อนุพันธ์หรือหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นกู้มีภาระผูกพันซึ่งออกโดยสถาบันการเงิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,436
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 74/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 17)
- ร่าง -ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 74/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 17) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (7) ของข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 19/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553 --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- “(7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ” ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป --------------------------------------------------------------------- ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,437
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 7/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 18)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 7/2560 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 18) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 74/2558 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 17) ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2/1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ที่เสนอขาย โดยบุคคลที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามประกาศ ดังต่อไปนี้ (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศซึ่งไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 21/2541 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 22/2554 เรื่อง การรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) สําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ให้รายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อสํานักงานภายในกําหนดเวลาดังนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน (ก) สิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ละเดือนที่มีการเสนอขายสําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (ข) สิบห้าวันนับแต่วันปิดการเสนอขาย สําหรับการเสนอขายตราสารหนี้ต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ในกรณีที่เป็นการเสนอขายพันธบัตรต่างประเทศหรือหุ้นกู้ต่างประเทศตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้กิจการต่างประเทศเสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ซึ่งเป็นสกุลเงินบาท ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย หรือประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยของกิจการตามกฎหมายต่างประเทศ แล้วแต่กรณี การรายงานผลการขายต่อสํานักงานจะจัดทําเป็นภาษาอังกฤษก็ได้” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,438
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 24/2560 เรื่อง วันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจำปี พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 24/2560 เรื่อง วันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 2) เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เห็นชอบให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการประจําปี เนื่องจากเป็นวันสําคัญของชาติไทย และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560 ยกเลิกวันหยุดราชการประจําปีในวันที่ 5 พฤษภาคม (วันฉัตรมงคล) และเพิ่มวันหยุดราชการประจําปีในวันที่ 28 กรกฎาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร) และวันที่ 13 ตุลาคม (วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร) นั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และข้อ 2 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 88/2552 เรื่อง การเปิดทําการและหยุดทําการของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552สํานักงานออกประกาศปรับปรุงวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2560 ที่ได้กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 36/2559 เรื่อง วันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559 ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ปรับปรุงวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประจําปี พ.ศ. 2560 ดังต่อไปนี้ (1) ยกเลิกวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล (2) เพิ่มเติมวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังนี้ (ก) วันศุกร์ 28 กรกฎาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ข) วันศุกร์ 13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (3) แก้ไขวันหยุดทําการของบริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากวันอังคารที่ 5 ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น วันอังคารที่ 5 ธันวาคม วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,439
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 15/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทย \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และตามมติที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นกระทรวงการคลัง “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ข้อ ๓ โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีรายการที่แสดงลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 4 (2) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (3) ลักษณะของหน่วยลงทุนและการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามตามข้อ 5 (4) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 6 (5) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 7 (6) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (7) การเลิกกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 8 ข้อ ๔ รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการ (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ชื่อนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (5) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม (6) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน ตลอดจนสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับ (7) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิดทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย ข้อ ๕ รายการลักษณะของหน่วยลงทุนและการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ให้สิทธิแก่กระทรวงการคลังเท่านั้น (2) ข้อกําหนดว่า นายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมิใช่กระทรวงการคลัง ข้อ ๖ รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดอย่างน้อยที่แสดงว่าในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว ข้อ ๗ รายการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดอย่างน้อยที่แสดงว่าการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ข้อ ๘ รายการเลิกกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับเหตุในการเลิกกองทุนรวม (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการจะเลิกกองทุนรวม เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,440
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 44/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 44/2560 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทย (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “กองทุนรวม” ในข้อ 2 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 “ข้อ 2/1 รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นกระทรวงการคลัง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามข้อ 3 ถึงข้อ 8 (2) ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,441
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 15/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 15/2559 เรื่อง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทย (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 118(1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการจัดทํารายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ข้อ 2 ในประกาศนี้ “กองทุนรวม”[1](#fn1) หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ข้อ 2/11 รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่กองทุนรวมมีผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดเป็นกระทรวงการคลัง รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามข้อ 3 ถึงข้อ 8 (2) ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม (1) รายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมให้เป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยอนุโลม ข้อ 3 โครงการจัดการกองทุนรวมต้องมีรายการที่แสดงลักษณะที่สําคัญของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 4 (2) นโยบายการลงทุนของกองทุนรวม (3) ลักษณะของหน่วยลงทุนและการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นไปตามตามข้อ 5 (4) ผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 6 (5) การแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 7 (6) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (7) การเลิกกองทุนรวม ซึ่งเป็นไปตามข้อ 8 ข้อ 4 รายการลักษณะเฉพาะของกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดโดยสรุปของกองทุนรวมดังต่อไปนี้ (1) ชื่อโครงการจัดการกองทุนรวม (2) ชื่อบริษัทจัดการ (3) ชื่อผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (4) ชื่อนายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (5) ประเภท วัตถุประสงค์ และอายุของกองทุนรวม (6) มูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน ตลอดจนสิทธิและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับ (7) การแบ่งชนิดของหน่วยลงทุน โดยให้แสดงว่ามีชนิดเดียวหรือหลายชนิดทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแบ่งหน่วยลงทุนเป็นหลายชนิด ให้แสดงหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนด้วย ข้อ 5 รายการลักษณะของหน่วยลงทุนและการจัดทําทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมนี้ให้สิทธิแก่กระทรวงการคลังเท่านั้น (2) ข้อกําหนดว่า นายทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุนจะปฏิเสธการแสดงชื่อในทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมิใช่กระทรวงการคลัง ข้อ 6 รายการผลบังคับของโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดอย่างน้อยที่แสดงว่าในกรณีที่ข้อกําหนดในโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ หรือคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว หากบริษัทจัดการได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือคําสั่งนั้น ให้ถือว่าบริษัทจัดการได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมแล้ว ข้อ 7 รายการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ต้องมีข้อกําหนดอย่างน้อยที่แสดงว่าการแก้ไขโครงการจัดการกองทุนรวมต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตลอดจนประกาศ กฎ และคําสั่งที่ออกโดยอาศัยอํานาจแห่งกฎหมายดังกล่าว ข้อ 8 รายการเลิกกองทุนรวม ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ข้อกําหนดเกี่ยวกับเหตุในการเลิกกองทุนรวม (2) ข้อกําหนดว่า บริษัทจัดการจะเลิกกองทุนรวม เมื่อสํานักงานมีคําสั่งเลิกกองทุนรวมตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ --- 1.
1,442
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหารและผู้สอบบัญชี
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหารและผู้สอบบัญชี --------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายสํานักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 14/2540 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 (2) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 30/2541 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (3) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 29/2543 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (4) ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สจ. 53/2543 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ข้อ ๒ ในประกาศนี้และในแบบที่กําหนดตามประกาศนี้ (1) “หลักทรัพย์” หมายความว่า หุ้น หรือหลักทรัพย์แปลงสภาพ (2) “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (3) “หุ้นกู้แปลงสภาพ” หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพที่ออกโดยบริษัทมหาชนจํากัดที่ให้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกโดยบริษัทมหาชนจํากัดนั้น (4) “ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทมหาชนจํากัดที่ให้สิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทมหาชนจํากัดนั้น (5) “ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้” หมายความว่า ตราสารที่บริษัทมหาชนจํากัดออกให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีอยู่ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นนั้นหรือบุคคลอื่นที่รับโอนตราสารดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทมหาชนจํากัดนั้น โดยสิทธิดังกล่าวเป็นสัดส่วนกับจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นแต่ละคนมีอยู่ (6) “ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการ หรือผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดํารงตําแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า (7) “เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน” หมายความว่า การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามมาตรา 65 (8) “เสนอขายหลักทรัพย์แก่บุคคลในวงจํากัด” หมายความว่า การเสนอขายหลักทรัพย์ที่ผู้เสนอขายได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงานตามมาตรา 64 (9) “บริษัทจดทะเบียน” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (10) “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๓ ให้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทมหาชนจํากัดที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ต้องจัดทําและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ของตน ของคู่สมรส และของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในบริษัทมหาชนจํากัดที่ตนเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชีนั้นต่อสํานักงานตามที่กําหนดในข้อ 4 (1) การเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน โดยไม่มีการยกเลิกการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น (2) การเสนอขายหลักทรัพย์แก่บุคคลในวงจํากัดและต่อมาได้มีเจ้าของหลักทรัพย์รายใดรายหนึ่งเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน โดยผู้เสนอขายหลักทรัพย์ไม่ได้ยกเลิกการเสนอขายหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๔ การจัดทําและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีตามข้อ 3 ได้แก่การรายงานดังต่อไปนี้ (1) การรายงานการถือหลักทรัพย์ต่อสํานักงานเป็นครั้งแรก ให้ใช้แบบ 59-1 ท้ายประกาศนี้ และให้รายงานตามเวลาที่กําหนดไว้ในข้อ 8 (2) การรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์อันเนื่องมาจากการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ ให้ใช้แบบ 59-2 ท้ายประกาศนี้ และให้รายงานตามเวลาที่กําหนดไว้ในข้อ 9 ข้อ ๕ ให้กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งมีหน้าที่ตามข้อ 3 ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทําและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ตามข้อ 4(1) ต่อสํานักงาน หากได้จัดทําและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ สําหรับการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนนั้นแล้ว ข้อ ๖ การเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ที่ต้องรายงานตามข้อ 4(2) (1) การได้หลักทรัพย์ตามสัดส่วนจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถืออยู่ (2) การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ (3) การได้หลักทรัพย์จากการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน (4) การเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์อันเนื่องมาจากการวางหลักทรัพย์เพื่อเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการได้รับคืนหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าว (5) การได้หุ้นจากการเข้าร่วมโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง(Employee Joint Investment Program) โดยโครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ (6) การได้มาโดยทางมรดก ข้อ ๗ โครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามข้อ 6(5) ต้องไม่มีลักษณะที่เอื้อให้กรรมการหรือผู้บริหารสามารถแทรกแซงการตัดสินใจในการลงทุนได้ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท (2) มีข้อกําหนดให้กรรมการหรือผู้บริหารต้องนําส่งเงินสะสมเข้าโครงการเป็นงวดคงที่สม่ําเสมอตามจํานวนหรือสัดส่วนที่กําหนดในโครงการ เพื่อลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ตนเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร (3) มีข้อกําหนดให้ผู้ดําเนินการตามโครงการต้องซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเป็นรายงวดและในวันที่กําหนดแน่นอนซึ่งระบุไว้ในโครงการ โดยการซื้อหุ้นดังกล่าวต้องกระทําในตลาดหลักทรัพย์ (4) มีการแยกบัญชีหลักทรัพย์ที่ได้มาตามโครงการดังกล่าวออกจากบัญชีหลักทรัพย์ที่ได้มาจากการลงทุนส่วนตัวของกรรมการหรือผู้บริหาร ข้อ ๘ การรายงานการถือหลักทรัพย์ต่อสํานักงานเป็นครั้งแรกตามข้อ 4(1) ให้ยื่นต่อสํานักงานภายในสามสิบวันนับแต่ (1) วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือ (2) วันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชี ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งภายหลังจากวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ตาม (1) ข้อ ๙ การรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามข้อ 4(2) ให้เริ่มเมื่อบริษัทมหาชนจํากัดตามข้อ 3 มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และให้ยื่นต่อสํานักงานทุกครั้งเมื่อมีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ โดยให้ยื่นภายในสามวันทําการนับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๑๐ ให้กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทมหาชนจํากัดตามข้อ 3 สิ้นสุดหน้าที่การจัดทําและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ต่อสํานักงานตามข้อ 4 ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การสิ้นสุดหน้าที่การจัดทําและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ตามข้อ 4(1) เมื่อบริษัทดังกล่าวสิ้นสุดหน้าที่จัดทําและส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานตามนัยแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ (2) การสิ้นสุดหน้าที่การจัดทําและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ตามข้อ 4(2) เมื่อหลักทรัพย์ทุกประเภทของบริษัทดังกล่าวมีการเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๑๑ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 14/2540 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 14/2540 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 หรือประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป อื่นๆ - ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทมหาชนจํากัดที่มีหลักทรัพย์กระจายสู่ผู้ลงทุนในวงกว้าง ให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการติดตามความเคลื่อนไหวการถือหลักทรัพย์ของบุคคลดังกล่าวซึ่งอยู่ในตําแหน่งหรือฐานะที่อาจล่วงรู้ข้อมูลภายใน (inside information) ของบริษัท และอาจหาประโยชน์จากข้อมูลนั้นก่อนที่ข้อมูลจะเปิดเผยเป็นการทั่วไป อย่างไรก็ตาม การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของบุคคลดังกล่าวในบางลักษณะเป็นที่ชัดเจนว่าไม่สัมพันธ์กับการใช้ข้อมูลภายในของบริษัท จึงได้กําหนดกรณีที่ไม่จําต้องรายงานการได้มาหรือจําหน่ายหลักทรัพย์สําหรับกรณีดังกล่าวเพิ่มเติมจากที่กําหนดไว้เดิม อีกทั้งได้ปรับปรุงรายละเอียดในการรายงานตามแบบที่แนบท้ายประกาศด้วย จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,443
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สจ. 49/2560 เรื่อง การจัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหารและผู้สอบบัญชี (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 49/2560 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหารและผู้สอบบัญชี (ฉบับที่ 2) โดยที่มาตรา 334/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 กําหนดให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ เป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ตามมาตรา 33 เพื่อให้หลักเกณฑ์ที่กําหนดเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ใช้บังคับกับบริษัทดังกล่าวด้วย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 3 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 12/2552 เรื่อง การจัดทําและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552 “ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ที่มีหลักทรัพย์ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ใช้บังคับด้วย” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,444
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการ ในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาด ของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 42 /2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4) และจัดให้มีระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 11(5) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 12 (3) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่สํานักงานในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา (4) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง (5) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (6) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ ๓ ในการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการหรือตัวแทนการตลาด ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญา ให้เป็นไปตามหมวด 1 (2) การแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า ให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับผู้ค้าสัญญา ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามหมวด 4 หมวด ๑ การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับบริษัทหลักทรัพย์ หรือตัวแทนซื้อขายสัญญา ข้อ ๔ บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาจะแต่งตั้งผู้ให้บริการเพื่อเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตนได้ ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มอบหมาย ผู้ให้บริการต้องเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบริษัทหลักทรัพย์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น (ข) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นด้วย (2) ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามอบหมาย ผู้ให้บริการต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวแทนซื้อขายสัญญาในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น (ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นด้วย (3) มีความมั่นคงทางด้านการเงินรวมทั้งความสามารถและความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานกําหนด และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีมาตรการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน (4) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า ข้อ ๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4) และจัดให้มีระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 11(5) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 12 (3) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่สํานักงานในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา (4) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง (5) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (6) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ ๖ บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ซึ่งรวมถึงความรับผิดต่อบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญา แล้วแต่กรณี และความรับผิดชอบต่อลูกค้าของตนเอง อันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (3) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ ๗ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาจะสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีแผนงานหรือมาตรการรองรับในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาระหว่างกัน หรือผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ ข้อ ๘ บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับลูกค้า เช่น บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขาย และรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการซื้อขายให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ไว้ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงานและผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๙ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4) และจัดให้มีระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 11(5) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 12 (3) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่สํานักงานในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา (4) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง (5) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (6) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานในภายหลังว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือผู้ให้บริการไม่มีลักษณะหรือขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4 สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ให้บริการได้ หมวด ๒ การแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า ข้อ ๑๑ ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะแต่งตั้งผู้ให้บริการเพื่อเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตัวแทนซื้อขายสัญญา โดยจํากัดเฉพาะการให้บริกาที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่าในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี และเป็นสมาชิกสมาคมค้าทองคํา ชมรมผู้ค้าปลีกทองคําแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย หรือหน่วยงานอื่นใดที่สํานักงานยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป (2) กรรมการ ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ลงทุนเกินกว่าร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของผู้ให้บริการ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอนุโลม และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย (4) มีความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกตามประกาศดังกล่าว ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว (5) มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งครอบคลุมระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย (6) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า ข้อ ๑๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเฉพาะในกิจการดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) การรับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี เพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาพิจารณาอนุมัติ (2) การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งการจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของตัวแทนซื้อขายสัญญาและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า (3) การรับคําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าเพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํารายการให้แก่ลูกค้า (4) การให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าแก่ลูกค้า โดยต้องไม่ทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๑๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะแต่งตั้งผู้ให้บริการตามข้อ 11 แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวันทําการก่อนการใช้บริการ หากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ข้อ ๑๔ ในกรณีที่การแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงานว่า ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจไม่สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการรายดังกล่าวได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน ข้อ ๑๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้ให้บริการและการยกเลิกการใช้บริการต่อสํานักงานโดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายใน วันทําการที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่มีการแต่งตั้งผู้ให้บริการหรือยกเลิกการใช้บริการ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4) และจัดให้มีระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 11(5) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 12 (3) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่สํานักงานในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา (4) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง (5) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (6) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ ๑๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดูแลผู้ให้บริการ ให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา ซึ่งรวมถึงการดูแลให้ผู้ให้บริการปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดําเนินการตามข้อสัญญาและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4) (2) ดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 11 ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการยกเลิกการใช้บริการโดยไม่ชักช้า ข้อ ๑๘ เพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ และพนักงาน ของผู้ให้บริการอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากการปฏิบัติงาน เบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ ไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อผู้ให้บริการ หรือเพื่อบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดให้มีระเบียบวิธีปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระเบียบปฏิบัติดังกล่าวอย่างน้อยต้องเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเป็นแนวทางปฏิบัติที่สํานักงานยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว มีบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาอื่น ระเบียบวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน แจ้งให้ผู้ให้บริการทราบถึงการมีบัญชีรวมทั้งข้อมูลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของตนเอง รวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ให้บริการแจ้งข้อมูลที่ได้รับให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ตนให้บริการทราบตามหลักเกณฑ์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนด ข้อ ๑๙ ให้นําความในข้อ 8 และข้อ 9 มาใช้บังคับกับการแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า โดยอนุโลม ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ หรือผู้ให้บริการขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 11 หรือกระทํากิจการนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 12 สํานักงานอาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ หรือสั่งพักการอนุญาตให้แต่งตั้งผู้ให้บริการตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตให้แต่งตั้งผู้ให้บริการได้ หมวด ๓ การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับผู้ค้าสัญญา ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ค้าสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้ลงทุน หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการทําการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุน ให้ผู้ค้าสัญญาแจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการมอบหมาย หมวด ๔ การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ส่วน ๑ การแต่งตั้งตัวแทนการตลาด ข้อ ๒๒ บุคคลที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะแต่งตั้งเป็นตัวแทนการตลาดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งตัวแทนการตลาดที่ทําหน้าที่เฉพาะในต่างประเทศ ต้องเป็นการแต่งตั้งนิติบุคคลที่สามารถประกอบการเป็นตัวแทนการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้น และให้ถือว่านิติบุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาดแล้ว (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ต้องเป็นการแต่งตั้งผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 ข้อ ๒๓ ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายงานการแต่งตั้งและยกเลิกการแต่งตั้งตัวแทนการตลาดต่อสํานักงาน โดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ส่วน ๒ การให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาด ข้อ ๒๔ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาด ต้องเป็นนิติบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (4) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย (5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือ (6) บริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด ที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท ข้อ ๒๖ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบตามข้อ 24 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ (2) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (3) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (4) ดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะอันเป็นการหลอกลวงหรือไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าหรือขาดความรอบคอบ หรือสะท้อนถึงวิธีการทําธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่น่าเชื่อถือ (5) ถูกสํานักงานเพิกถอนจากการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ ในการพิจารณาคําขอความเห็นชอบ สํานักงานจะพิจารณาประวัติการมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (2) ถึง (5) ภายในระยะเวลาสามปีย้อนหลังนับแต่วันที่ยื่นคําขอ สํานักงานอาจไม่นําลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งมาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบได้ หากปรากฏว่าผู้ขอความเห็นชอบได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่งในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาด ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ผู้ที่จะเป็นตัวแทนการตลาดเป็นสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต หรือธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณี ในการพิจารณาคุณสมบัติตามข้อ 25 และลักษณะต้องห้ามตามข้อ 26 ให้พิจารณาเฉพาะที่สาขาดังกล่าวนั้นเอง ข้อ ๒๘ ให้ผู้ที่ประสงค์จะยื่นขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาด จัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๒๙ สํานักงานจะแจ้งผลการพิจารณาคําขอความเห็นชอบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบผู้ใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย สํานักงานอาจแจ้งให้ผู้ที่ยื่นขอความเห็นชอบมาชี้แจงหรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด หากผู้ที่ยื่นขอความเห็นชอบมิได้ปฏิบัติหรือดําเนินการตามที่กําหนด ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอความเห็นชอบอีกต่อไป ข้อ ๓๐ ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดแล้ว ต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจ และขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นชอบแล้ว (2) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของพนักงานที่ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้า โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง และเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ (3) มีหนังสือแจ้งการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีมติแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ ความในวรรคหนึ่ง (1) มิให้นํามาใช้บังคับกับผู้ได้รับความเห็นชอบที่สํานักงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีระบบงานและบุคลากรที่มีความพร้อมตามข้อ 25(1) และ (2) อยู่แล้วในขณะที่ยื่นคําขอให้สํานักงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ การเปลี่ยนแปลงระบบงานตามวรรคหนึ่ง (1) ให้ตัวแทนการตลาดแจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนดําเนินการ ทั้งนี้ ระบบงานที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่ด้อยกว่าระบบงานที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบไปแล้ว ส่วน ๓ มาตรฐานการทําหน้าที่ของตัวแทนการตลาด ข้อ ๓๑ ตัวแทนการตลาดต้องดูแลให้พนักงานผู้ทําหน้าที่ชักชวนลูกค้าปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้ความเห็นชอบบุคลากรของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนและแนะนําการลงทุน ข้อ ๓๒ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ และเป็นธรรม ตัวแทนการตลาดต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ลูกค้าทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) กรณีที่รับมอบทรัพย์สินที่ลูกค้ามอบหมายให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการ ต้องมอบหลักฐานการรับมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้ลูกค้าด้วย (3) ปฏิบัติตามและให้ความร่วมมือกับสํานักงานเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว (4) จัดทํารายงาน ชี้แจง หรือจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่สํานักงานโดยไม่ชักช้า ข้อ ๓๓ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูกเอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวแทนการตลาดต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้ (1) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน (2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้านอกเหนือจากที่ลูกค้ามีหน้าที่ต้องชําระต่อผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่เป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนที่สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บได้เนื่องจากการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น ข้อ ๓๔ ตัวแทนการตลาดต้องดําเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) รับข้อร้องเรียนของลูกค้าในส่วนที่เกี่ยวกับการชักชวนลูกค้าที่เกิดจากการกระทําของตัวแทนการตลาดหรือพนักงานของตนเอง และหากเป็นการร้องเรียนด้วยวาจา ต้องบันทึกการร้องเรียนดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร และให้ลูกค้าลงนามเพื่อรับรองความถูกต้องไว้ก่อนที่ตัวแทนการตลาดจะดําเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว (2) ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนโดยเร็ว (3) แจ้งข้อร้องเรียนให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน (4) เมื่อมีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียน ตัวแทนการตลาดต้องแจ้งผลการดําเนินการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทราบ หรือแจ้งผลการดําเนินการที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีข้อยุตินั้น (5) จัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนและการดําเนินการดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่มีข้อยุติเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น ส่วน ๔ มาตรการบังคับตัวแทนการตลาด ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนการตลาดรายใดขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) สั่งพักการปฏิบัติงานตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด (3) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง (3) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๖ ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานในการแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตนเองอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย ข้อ ๓๗ ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานในการแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย ข้อ ๓๘ ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นตัวแทนการตลาดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,445
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 47/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 47/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการ ในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนการตลาด ของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 42/2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็น ตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สํานักงาน ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 5 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 29 สํานักงานจะพิจารณาคําขอรับความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอรับความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และในกรณีที่สํานักงานไม่ให้ความเห็นชอบผู้ใด สํานักงานจะแจ้งเหตุผลไปพร้อมกันด้วย” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,446
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 14/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 14/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการ ในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาด ของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 42/2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในหมวด 4 การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 22 ถึงข้อ 35 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน หมวด ๔ การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒๒ ในหมวดนี้ “ตัวแทนการตลาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ โดยในการชักชวนได้มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย “ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (4) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย (5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของสาขาในประเทศไทย ในกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ส่วน ๑ การตั้งตัวแทนการตลาด ข้อ ๒๓ บุคคลที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะแต่งตั้งเป็นตัวแทนการตลาดต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 ข้อ ๒๔ ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายงานการตั้งและการยกเลิกการตั้งตัวแทนการตลาดต่อสํานักงานโดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในวันทําการที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการตั้งหรือยกเลิกการตั้งนั้น ส่วน ๒ การให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาด ข้อ ๒๕ ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาด ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงิน หรือเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนการตลาดอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท (2) มีหรือจะมีระบบการรับลูกค้าและระบบการเก็บรักษาความลับของลูกค้าที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) มีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากร โดยต้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนการตลาด ซึ่งเป็นบุคคลที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้วางแผนการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (4) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาด (5) ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการปฏิบัติงานใด ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ (ข) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (ค) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (ง) ดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้ความรู้ความสามารถ และความชํานาญ ไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังตามมาตรฐานที่พึงจะกระทํา ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานจะพิจารณาประวัติการถูกเพิกถอนตามวรรคหนึ่ง (5)(ก) และการมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5)(ข) ถึง (ง) ภายในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลังก่อนวันที่ยื่นคําขอ ลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานอาจไม่นํามาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบ หากปรากฏว่าสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นนั้นได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่ง (5) ในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการเป็นตัวแทนการตลาด ข้อ ๒๖ การยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาด ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ ๒๗ สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประสงค์จะตั้งนิติบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นตัวแทนการตลาด ให้ถือว่านิติบุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) นิติบุคคลที่สามารถประกอบการเป็นตัวแทนการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะตั้งนิติบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนการตลาดในประเทศนั้น ส่วน ๓ มาตรฐานการให้บริการของตัวแทนการตลาด ข้อ ๒๙ ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาดที่แสดงว่าจะมีความพร้อมเกี่ยวกับระบบงานและบุคลากรภายหลังได้รับความเห็นชอบ ก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะเริ่มให้บริการเป็นตัวแทนการตลาด บุคคลดังกล่าวต้องขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นว่ามีความพร้อมของระบบงานและบุคลากรแล้ว ข้อ ๓๐ ตัวแทนการตลาดต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนการตลาด โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงและเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ (2) มีหนังสือแจ้งการตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีมติตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ (3) แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนแปลงระบบงานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ระบบงานที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่ด้อยกว่าระบบงานที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบตามข้อ 25 วรรคหนึ่ง (2) หรือข้อ 29 แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๑ ตัวแทนการตลาดต้องดูแลให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยอนุโลม ข้อ ๓๒ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพและเป็นธรรม ตัวแทนการตลาดต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ลูกค้าทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน (3) ได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนส่งรายชื่อของลูกค้าให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่ที่กฎหมายกําหนด ข้อ ๓๓ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูกเอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวแทนการตลาดต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้ (1) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน (2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้า (3) รับมอบหรือจ่ายทรัพย์สินของลูกค้า ส่วน ๔ มาตรการบังคับตัวแทนการตลาด ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนการตลาดรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งระงับการเป็นตัวแทนการตลาด หรือสั่งระงับการให้ความเห็นชอบตามข้อ 28 เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด (2) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง (2) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,447
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 29/2556 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับประมวลถึงฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 และข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ทธ. 42 /2556 เรื่อง การแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า (1) บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการค้าหลักทรัพย์ ซึ่งมิได้จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้หรือหน่วยลงทุน “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ค้าสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของผู้ประกอบธุรกิจ “ตัวแทนการตลาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ โดยในการชักชวนได้มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย “โลหะมีค่า” หมายความว่า ทองคํา เงิน (silver) หรือแพลทินัม “ธนาคารพาณิชย์” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือรับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ให้บริการ เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง คําว่า “ผู้รับประโยชน์จากหุ้น” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ในมาตรา 25 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ข้อ 3 ในการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการหรือตัวแทนการตลาด ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาให้เป็นไปตามหมวด 1 (2) การแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า ให้เป็นไปตามหมวด 2 (3) การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับผู้ค้าสัญญา ให้เป็นไปตามหมวด 3 (4) การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้เป็นไปตามหมวด 4 **หมวด 1** **การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับบริษัทหลักทรัพย์** **หรือตัวแทนซื้อขายสัญญา** ข้อ 4 บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาจะแต่งตั้งผู้ให้บริการเพื่อเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตนได้ ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์มอบหมาย ผู้ให้บริการต้องเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบริษัทหลักทรัพย์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่บริษัทหลักทรัพย์ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น (ข) ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้นด้วย (2) ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามอบหมาย ผู้ให้บริการต้องเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวแทนซื้อขายสัญญาในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) บริษัทหลักทรัพย์ที่ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้น (ข) บริษัทหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทหลักทรัพย์นั้น และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวถือหุ้นในตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นด้วย (3) มีความมั่นคงทางด้านการเงินรวมทั้งความสามารถและความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หรือสํานักงานกําหนด และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจกําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยอย่างน้อยต้องมีระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล และระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีมาตรการรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีต่าง ๆ ซึ่งมีการกําหนดขั้นตอนและผู้รับผิดชอบในแต่ละกรณีไว้อย่างชัดเจน (4) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า ข้อ 5 ให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะแต่งตั้งผู้ให้บริการตามหมวดนี้ ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) ขอบเขตในการทําหน้าที่ของผู้ให้บริการ (2) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าผู้ให้บริการที่จะแต่งตั้งมีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4 [1](#fn1) สํานักงานจะพิจารณาคําขออนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 6 บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ซึ่งรวมถึงความรับผิดต่อบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญา แล้วแต่กรณี และความรับผิดชอบต่อลูกค้าของตนเอง อันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (3) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ 7 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาจะสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีแผนงานหรือมาตรการรองรับในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาระหว่างกัน หรือผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ ข้อ 8 บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับลูกค้า เช่น บันทึกการให้คําแนะนํา การรับคําสั่งซื้อขาย และรายละเอียดเกี่ยวกับการทํารายการซื้อขายให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ไว้ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน โดยต้องจัดเก็บในลักษณะที่พร้อมให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาเรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที และสามารถจัดให้สํานักงานและผู้สอบบัญชีของบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาตรวจสอบได้เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ 9 ในกรณีที่สํานักงานเห็นสมควร บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้สํานักงานเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการได้ ข้อ 10 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานในภายหลังว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือผู้ให้บริการไม่มีลักษณะหรือขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 4 สํานักงานอาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ให้บริการได้ **หมวด 2** **การแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็น** **สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า** ข้อ 11 ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะแต่งตั้งผู้ให้บริการเพื่อเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตัวแทนซื้อขายสัญญา โดยจํากัดเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า ผู้ให้บริการนั้นต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อหรือขายโลหะมีค่าในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี และเป็นสมาชิกสมาคมค้าทองคํา ชมรมผู้ค้าปลีกทองคําแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย หรือหน่วยงานอื่นใดที่สํานักงานยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป (2) กรรมการ ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ลงทุนเกินกว่าร้อยละสิบของทุนทั้งหมดของผู้ให้บริการไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอนุโลม และในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย (4) มีความพร้อมในการให้บริการและการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องซึ่งออกตามประกาศดังกล่าว ตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว (5) มีระบบงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งครอบคลุมระบบการควบคุมภายใน ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลอันมิพึงเปิดเผยระหว่างหน่วยงานและบุคลากร และระบบการกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมาย (6) มีบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานเป็นผู้ทําหน้าที่วิเคราะห์การลงทุนหรือแนะนําการลงทุนให้แก่ลูกค้า ข้อ 12 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเฉพาะในกิจการดังต่อไปนี้เท่านั้น (1) การรับคําขอเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าและตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี เพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาพิจารณาอนุมัติ (2) การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าให้ลูกค้าทราบ รวมทั้งการจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของลูกค้าเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคําขอเปิดบัญชีของตัวแทนซื้อขายสัญญาและการให้คําแนะนําแก่ลูกค้า (3) การรับคําสั่งซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าเพื่อส่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทํารายการให้แก่ลูกค้า (4) การให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าแก่ลูกค้า โดยต้องไม่ทําการวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 13 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ประสงค์จะแต่งตั้งผู้ให้บริการตามข้อ 11 แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสิบห้าวันทําการก่อนการใช้บริการ หากสํานักงานไม่ทักท้วงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับอนุญาตจากสํานักงานแล้ว ข้อ 14 ในกรณีที่การแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ แต่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันควรสงสัยต่อสํานักงานว่า ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจไม่สามารถกํากับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงานอาจไม่อนุญาตให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการรายดังกล่าวได้ ทั้งนี้ สํานักงานต้องแจ้งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทราบถึงเหตุผลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน ข้อ 15 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้ให้บริการและการยกเลิกการใช้บริการต่อสํานักงานโดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่สํานักงานจัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในวันทําการที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่มีการแต่งตั้งผู้ให้บริการหรือยกเลิกการใช้บริการ แล้วแต่กรณี ข้อ 16 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีสัญญากับผู้ให้บริการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ โดยต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4) และจัดให้มีระบบงานตามที่กําหนดในข้อ 11(5) ตลอดจนกําหนดเกี่ยวกับความรับผิดต่อตัวแทนซื้อขายสัญญาและลูกค้าอันเนื่องมาจากการกระทําหรือการละเลยการกระทําหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการ (2) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการที่กําหนดในข้อ 12 (3) ข้อกําหนดให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือและอํานวยความสะดวกแก่สํานักงานในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการในส่วนที่ให้บริการแก่ตัวแทนซื้อขายสัญญา (4) ข้อกําหนดห้ามมิให้ผู้ให้บริการตั้งตัวแทนช่วง (5) เงื่อนไขและวิธีการในการเลิกสัญญาหรือระงับการให้บริการ (6) อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ข้อ 17 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดูแลผู้ให้บริการ ให้บริการแก่ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและความระมัดระวังเอาใจใส่ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ รวมทั้งให้ข้อมูลแก่ลูกค้าอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยมีมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับตัวแทนซื้อขายสัญญา ซึ่งรวมถึงการดูแลให้ผู้ให้บริการปฏิบัติดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดําเนินการตามข้อสัญญาและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่กําหนดในข้อ 11(4) (2) ดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 11 ในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการยกเลิกการใช้บริการโดยไม่ชักช้า ข้อ 18 เพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ และพนักงาน ของผู้ให้บริการอาศัยช่องทางหรือโอกาสจากการปฏิบัติงาน เบียดบังหรือแสวงหาประโยชน์ใด ๆ โดยมิชอบ ไม่ว่าเพื่อตนเอง เพื่อผู้ให้บริการ หรือเพื่อบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดให้ผู้ให้บริการจัดให้มีระเบียบวิธีปฏิบัติในการควบคุมดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของบุคคลดังกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระเบียบปฏิบัติดังกล่าวอย่างน้อยต้องเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กําหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเป็นแนวทางปฏิบัติที่สํานักงานยอมรับและแจ้งให้ทราบเป็นการทั่วไป ในกรณีที่กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว มีบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาอื่น ระเบียบวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้กรรมการ ผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการและพนักงาน แจ้งให้ผู้ให้บริการทราบถึงการมีบัญชีรวมทั้งข้อมูลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่าของตนเอง รวมทั้งของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ให้บริการแจ้งข้อมูลที่ได้รับให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ตนให้บริการทราบตามหลักเกณฑ์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญากําหนด ข้อ 19 ให้นําความในข้อ 8 และข้อ 9 มาใช้บังคับกับการแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า โดยอนุโลม ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ หรือผู้ให้บริการขาดคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 11 หรือกระทํากิจการนอกเหนือจากที่กําหนดในข้อ 12 สํานักงานอาจสั่งให้ตัวแทนซื้อขายสัญญานั้นแก้ไข กระทําการ หรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในหมวดนี้ หรือสั่งพักการอนุญาตให้แต่งตั้งผู้ให้บริการตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด หรือเพิกถอนการอนุญาตให้แต่งตั้งผู้ให้บริการได้ **หมวด 3** **การแต่งตั้งผู้ให้บริการสําหรับผู้ค้าสัญญา** ข้อ 21 ในกรณีที่ผู้ค้าสัญญาแต่งตั้งผู้ให้บริการทําหน้าที่ติดต่อ ชักชวน หรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ผู้ลงทุน หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการทําการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุน ให้ผู้ค้าสัญญาแจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงานทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการมอบหมาย **หมวด 4[2](#fn2)** **การแต่งตั้งตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุน** **สัญญาซื้อขายล่วงหน้า** ข้อ 22 ในหมวดนี้ “ตัวแทนการตลาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนในการชักชวนผู้ลงทุนให้เข้าทําสัญญากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้ โดยในการชักชวนได้มีการวางแผนการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนด้วย “ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (2) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต (4) บริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย (5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น “ผู้จัดการ” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของบริษัท หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสูงสุดในการบริหารงานของสาขาในประเทศไทย ในกรณีสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศ หรือสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ แล้วแต่กรณี **ส่วนที่ 1** **การตั้งตัวแทนการตลาด** ข้อ 23 บุคคลที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะแต่งตั้งเป็นตัวแทนการตลาดต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในส่วนที่ 2 ข้อ 24 ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารายงานการตั้งและการยกเลิกการตั้งตัวแทนการตลาดต่อสํานักงานโดยจัดส่งข้อมูลตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานภายในวันทําการที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการตั้งหรือยกเลิกการตั้งนั้น **ส่วนที่ 2** **การให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาด** ข้อ 25 ผู้ที่จะได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาด ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (1) เป็นสถาบันการเงิน หรือเป็นบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่การประกอบกิจการเป็นตัวแทนการตลาดอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท (2) มีหรือจะมีระบบการรับลูกค้าและระบบการเก็บรักษาความลับของลูกค้าที่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) มีหรือจะมีความพร้อมด้านบุคลากร โดยต้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนการตลาด ซึ่งเป็นบุคคลที่สํานักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้แนะนําการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุน หรือผู้วางแผนการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (4) มีผู้จัดการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยพิจารณาจากประวัติการทํางาน รวมทั้งมีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนการตลาด (5) ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (ก) อยู่ระหว่างถูกสํานักงานสั่งพักหรือถูกสํานักงานเพิกถอนการปฏิบัติงานใด ๆที่เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่ได้รับความเห็นชอบ การขึ้นทะเบียน หรือการอนุญาตใด ๆ (ข) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทําอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (ค) กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ (ง) ดําเนินกิจการใดที่มีลักษณะไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้ความรู้ความสามารถและความชํานาญ ไม่เอาใจใส่และไม่ระมัดระวังตามมาตรฐานที่พึงจะกระทํา ในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานจะพิจารณาประวัติการถูกเพิกถอนตามวรรคหนึ่ง (5)(ก) และการมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5)(ข) ถึง (ง) ภายในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลังก่อนวันที่ยื่นคําขอ ลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง (5) สํานักงานอาจไม่นํามาพิจารณาประกอบในการให้ความเห็นชอบ หากปรากฏว่าสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นนั้นได้ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขเหตุตามวรรคหนึ่ง (5) ในลักษณะที่ทําให้เห็นได้ว่าเหตุดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการเป็นตัวแทนการตลาด ข้อ 26 การยื่นคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาด ให้ผู้ขอความเห็นชอบจัดส่งข้อมูลและเอกสารหลักฐานให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ข้อ 27 สํานักงานจะพิจารณาคําขอความเห็นชอบเป็นตัวแทนการตลาดภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอความเห็นชอบพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ 28 ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประสงค์จะตั้งนิติบุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นตัวแทนการตลาด ให้ถือว่านิติบุคคลดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานแล้ว (1) บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ (2) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) นิติบุคคลที่สามารถประกอบการเป็นตัวแทนการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะตั้งนิติบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนการตลาดในประเทศนั้น **ส่วนที่ 3** **มาตรฐานการให้บริการของตัวแทนการตลาด** ข้อ 29 ในกรณีที่สํานักงานให้ความเห็นชอบตัวแทนการตลาดที่แสดงว่าจะมีความพร้อมเกี่ยวกับระบบงานและบุคลากรภายหลังได้รับความเห็นชอบ ก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะเริ่มให้บริการเป็นตัวแทนการตลาด บุคคลดังกล่าวต้องขอความเห็นชอบการเริ่มประกอบธุรกิจต่อสํานักงานล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ และจะเริ่มประกอบธุรกิจได้เมื่อสํานักงานเห็นว่ามีความพร้อมของระบบงานและบุคลากรแล้ว ข้อ 30 ตัวแทนการตลาดต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดทําข้อมูลรายชื่อ สถานที่ปฏิบัติงานของบุคลากรที่รับผิดชอบงานการเป็นตัวแทนการตลาด โดยต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงและเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้หรือเพื่อจัดส่งให้สํานักงานเมื่อได้รับการร้องขอ (2) มีหนังสือแจ้งการตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการให้สํานักงานทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีมติตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ (3) แจ้งให้สํานักงานทราบล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนแปลงระบบงานตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ทั้งนี้ ระบบงานที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องไม่ด้อยกว่าระบบงานที่สํานักงานเคยให้ความเห็นชอบตามข้อ 25 วรรคหนึ่ง (2) หรือข้อ 29 แล้วแต่กรณี ข้อ 31 ตัวแทนการตลาดต้องดูแลให้บุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านดังกล่าวปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กําหนดตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนโดยอนุโลม ข้อ 32 เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพและเป็นธรรม ตัวแทนการตลาดต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรมแก่ลูกค้าทุกราย โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ (2) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และประกาศที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน (3) ได้รับความยินยอมจากลูกค้าก่อนส่งรายชื่อของลูกค้าให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่ที่กฎหมายกําหนด ข้อ 33 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถูกกระทําโดยทุจริต หรือถูกเอาเปรียบจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัวแทนการตลาดต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้ (1) ตั้งให้บุคคลอื่นทําการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนตน (2) เรียกเก็บหรือรับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนจากลูกค้า (3) รับมอบหรือจ่ายทรัพย์สินของลูกค้า **ส่วนที่ 4** **มาตรการบังคับตัวแทนการตลาด** ข้อ 34 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงานว่าตัวแทนการตลาดรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวดนี้ สํานักงานอาจดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) สั่งระงับการเป็นตัวแทนการตลาด หรือสั่งระงับการให้ความเห็นชอบตามข้อ 28 เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กําหนด (2) เพิกถอนการให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่สํานักงานสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง (2) สํานักงานอาจกําหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวในคราวต่อไปด้วยก็ได้ และเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาหรือเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว สํานักงานจะไม่นําประวัติการกระทําที่เป็นเหตุให้สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบมาประกอบการพิจารณาคําขอความเห็นชอบของบุคคลดังกล่าวอีก” **หมวด 5** **บทเฉพาะกาล** ข้อ 36 ให้ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานในการแต่งตั้งผู้ให้บริการเป็นตัวแทนในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือแนะนําการลงทุนในนามของตนเองอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย ข้อ 37 ให้ถือว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานในการแต่งตั้งผู้ให้บริการเฉพาะการให้บริการที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเกี่ยวกับโลหะมีค่า อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย ข้อ 38 ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานให้เป็นตัวแทนการตลาดสําหรับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เป็นตัวแทนการตลาดที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานตามประกาศนี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดตามที่ประกาศนี้ด้วย ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ: ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 29/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 02/10/2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29/10/2556 เล่ม 130 ตอนพิเศษ 147ง หน้า 33 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 47/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10/07/2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20/07/2558เล่ม 132 ตอนพิเศษ 167ง หน้า 22 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 14/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการในนามของผู้ประกอบธุรกิจหรือเป็นตัวแทนการตลาดของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11/04/2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13/05/2559 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 110ง หน้า 24 --- 1. 2.
1,448
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 3/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสำคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและ สาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 68/2547 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับมาหรือมีไว้เนื่องจากการให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งเป็นอิสระจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการให้คําแนะนําด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และต้องจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดีในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แยกผู้ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าออกจากกัน (2) กําหนดให้การจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกค้าและการแก้ไขรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอํานาจสั่งการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งต้องมิใช่ผู้ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดระเบียบหรือวิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ โดยให้จัดทําไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงถึงขั้นตอนการจัดการและผู้มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การรับหรือส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้า (2) การบันทึกรายการทรัพย์สินของลูกค้า (3) การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๖ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงวิธีปฏิบัติของลูกค้าในการฝากหรือถอนทรัพย์สินของลูกค้ากับหรือจากตัวแทนซื้อขายสัญญา ตลอดจนวิธีการของตัวแทนซื้อขายสัญญาในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ลูกค้าทราบโดยไม่ชักช้า (2) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบว่าในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาประสบปัญหาทางการเงิน เงินของลูกค้าที่เก็บรักษาไว้กับตัวแทนซื้อขายสัญญาจะไม่อยู่ภายใต้มาตรการให้ความคุ้มครองของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ข้อ ๗ สัญญาหรือข้อตกลงในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าต้องมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของตัวแทนซื้อขายสัญญา 2. อัตราและวิธีการชําระค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี) 3. ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกผลหรือประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี โดยการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที หมวด ๒ การจัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๙ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทําบัญชีแสดงทรัพย์สินทุกรายการของลูกค้าแต่ละราย โดยแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินของตัวแทนซื้อขายสัญญา บัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน (2) จํานวนและประเภททรัพย์สิน (3) เหตุที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายใดเป็นทรัพย์สินของบุคคลที่สามซึ่งนํามาวางไว้เพื่อเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องบันทึกชื่อบุคคลที่สามซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายนั้นด้วย ข้อ ๑๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องบันทึกรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน และในกรณีที่เป็นการบันทึกเพื่อแก้ไขรายการ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันทําการที่พบเหตุแห่งการแก้ไขรายการและต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขรายการทุกครั้ง ข้อ ๑๑ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีการตรวจนับทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเก็บรักษาไว้อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อสอบทานความถูกต้องกับรายการที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้จัดทํา สําหรับทรัพย์สินของลูกค้าส่วนที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามิได้เก็บรักษาไว้เอง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อสอบทานความถูกต้องของรายการทรัพย์สินที่ปรากฏในรายงานของบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้า กับรายการที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้จัดทํา หมวด ๓ การจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาจํานวนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้ เป็นทรัพย์สินของลูกค้า 1. ทรัพย์สินประเภทเงิน จํานวนเงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาบันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการก่อน หรือ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบัน ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเลือกใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณแล้ว ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะต้องใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณตลอดไป เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นทําให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่สามารถใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณต่อไป ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการก่อนเป็นฐานในการคํานวณในระหว่างที่มีเหตุจําเป็นได้ ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยทันที (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ จํานวนทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการหลักทรัพย์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาบันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น 3. ทรัพย์สินประเภทอื่น จํานวนทรัพย์สินประเภทอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการทรัพย์สินประเภทอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาบันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น ข้อ ๑๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจหักเงินดังต่อไปนี้ออกจากจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 12 (1) ได้ (1) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าเกินกว่าจํานวนที่ลูกค้าต้องชําระ และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ส่งเงินส่วนเกินดังกล่าวคืนให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับเงินนั้น (2) เงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้าอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ส่งเงินจํานวนดังกล่าวให้แก่ลูกค้าภายในวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับเงินนั้น (3) เงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับไว้แทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้า เนื่องจากเป็นเงินปันผลหรือดอกเบี้ยของหลักทรัพย์หรือตราสารที่ลูกค้าเป็นเจ้าของ และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ส่งเงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับเงินนั้น ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเก็บรักษาเงินตาม (1) – (3) ไว้เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมของลูกค้าในอนาคต ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องนําเงินจํานวนดังกล่าวมารวมในยอดเงินของวันทําการที่ได้รับทราบความประสงค์ของลูกค้า เพื่อการคํานวณจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 12 (1) ต่อไป ข้อ ๑๔ การดําเนินการดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 12 แล้ว (1) กรณีทรัพย์สินของลูกค้าเป็นเงิน (ก) แยกโดยดําเนินการดังนี้ 1. ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยในกรณีที่เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นประเภทชําระคืนเมื่อครบกําหนดระยะเวลา เงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องไม่มีข้อห้ามการไถ่ถอนคืนก่อนครบกําหนด ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญานําเงินจํานวนที่แยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าไปฝากหรือลงทุนกับสถาบันการเงินที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมของตัวแทนซื้อขายสัญญา ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้าก่อนดําเนินการ โดยหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวต้องจัดทําเป็นเอกสารแยกต่างหากจากสัญญาตั้งตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ในข้อนี้ คําว่า “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” และ“บริษัทร่วม” ให้อนุโลมตามบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 2. ลงทุนในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ําประกันต้นเงินและดอกเบี้ยเต็มจํานวนอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยตราสารดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขการห้ามขายหรือโอนก่อนครบกําหนดอายุของตราสาร (ข) แยกโดยการนําไปวางไว้กับสํานักหักบัญชีสัญญา ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด (ค) แยกโดยการจัดเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเงินจํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (2) กรณีทรัพย์สินของลูกค้าเป็นหลักทรัพย์ (ก) แยกโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้ระบุอย่างชัดเจนว่าการฝากหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการนําไปวางไว้กับสํานักหักบัญชีสัญญา ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด (ค) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย 3. กรณีทรัพย์สินของลูกค้าเป็นทรัพย์สินอื่น ให้แยกในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าไว้เองไม่ว่าการจัดเก็บจะกระทําในสถานที่ของตัวแทนซื้อขายสัญญาเองหรือใช้สถานที่ของบุคคลอื่น สถานที่นั้นต้องมีความมั่นคงและปลอดภัย และในกรณีที่เป็นการใช้สถานที่ของบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งให้บุคคลอื่นนั้นทราบอย่างชัดเจนด้วยว่าทรัพย์สินที่นํามาเก็บเป็นทรัพย์สินของลูกค้า หมวด ๔ การรายงานการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๖ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทํารายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าเป็นรายเดือน และจัดส่งให้แก่ลูกค้าภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป เว้นแต่กรณีที่ทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลาสามเดือนติดต่อกันขึ้นไป ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทํารายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าอย่างน้อยทุกสามเดือนครั้งและจัดส่งให้แก่ลูกค้าภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป ในกรณีที่ได้รับการร้องขอจากลูกค้า ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทําและจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าให้แก่ลูกค้าตามที่ได้รับการร้องขอโดยไม่ชักช้า ข้อ ๑๗ รายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าตามข้อ 16 ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1. ประเภททรัพย์สินของลูกค้า 2. มูลค่าหรือจํานวนทรัพย์สินแต่ละประเภทและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคงค้างยกมาจากรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าในรอบระยะเวลาก่อนหน้า 3. รายการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดจนมูลค่าหรือจํานวนทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป 3. ยอดสุทธิของทรัพย์สินแต่ละประเภทและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ที่เปลี่ยนแปลงไป 5. มูลค่าหรือจํานวนคงเหลือสุทธิของทรัพย์สินแต่ละประเภทและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคงค้าง ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (นายประสงค์ วินัยแพทย์) รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,449
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 38/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสำคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 38/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและ สาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และให้หมายความรวมถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (regulated exchange) (3) “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. (4) “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับมาหรือมีไว้เนื่องจากการให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้แก่ลูกค้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา หมวด ๑ ระบบงานและการควบคุมการปฏิบัติงาน ส่วน ๑ ระบบงานในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๓ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการดูแลรักษา ทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งเป็นอิสระจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการให้คําแนะนําด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และต้องจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดีในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แยกผู้ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าออกจากกัน (2) กําหนดให้การจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกค้าและการแก้ไขรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอํานาจสั่งการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งต้องมิใช่ผู้ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๔ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดระเบียบหรือวิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ โดยให้จัดทําไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงถึงขั้นตอนการจัดการและผู้มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การรับหรือส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้า (2) การบันทึกรายการทรัพย์สินของลูกค้า (3) การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า ส่วน ๒ ขั้นตอนการดําเนินการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๕ ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงวิธีปฏิบัติของลูกค้าในการฝากหรือถอนทรัพย์สินของลูกค้ากับหรือจากตัวแทนซื้อขายสัญญา ตลอดจนวิธีการของตัวแทนซื้อขายสัญญาในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ลูกค้าทราบโดยไม่ชักช้า (2) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบว่าในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาประสบปัญหาทางการเงิน เงินของลูกค้าที่เก็บรักษาไว้กับตัวแทนซื้อขายสัญญาจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ส่วน ๓ สาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๖ สัญญาหรือข้อตกลงในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าต้องมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของตัวแทนซื้อขายสัญญา (2) อัตราและวิธีการชําระค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี) (3) ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกผลหรือประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากทรัพย์สินของลูกค้า ส่วน ๔ การจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร ข้อ ๗ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี โดยการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที หมวด ๒ การจัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๘ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทําบัญชีแสดงทรัพย์สินทุกรายการของลูกค้า แต่ละราย โดยแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินของตัวแทนซื้อขายสัญญา บัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน (2) จํานวนและประเภททรัพย์สิน (3) เหตุที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายใดเป็นทรัพย์สิน ของบุคคลที่สามซึ่งนํามาวางไว้เพื่อเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องบันทึกชื่อบุคคลที่สามซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายนั้นด้วย ข้อ ๙ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องบันทึกรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าให้ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน และในกรณีที่เป็นการบันทึกเพื่อแก้ไขรายการ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันทําการที่พบเหตุแห่งการแก้ไขรายการและต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขรายการทุกครั้ง ข้อ ๑๐ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีการตรวจนับทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเก็บรักษาไว้อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อสอบทานความถูกต้องกับรายการที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้จัดทํา สําหรับทรัพย์สินของลูกค้าส่วนที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามิได้เก็บรักษาไว้เอง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อสอบทานความถูกต้องของรายการทรัพย์สินที่ปรากฏในรายงานของบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้า กับรายการที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้จัดทํา หมวด ๓ การจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้าแยกจากทรัพย์สิน ของตัวแทนซื้อขายสัญญา ส่วน ๑ จํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๑ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาจํานวนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้ เป็นทรัพย์สินของลูกค้า (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน จํานวนเงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกไว้ในแต่ละวัน ต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาบันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการก่อน หรือ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบัน ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเลือกใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณแล้ว ตัวแทนซื้อขายสัญญาจะต้องใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณตลอดไป เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นทําให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่สามารถใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณต่อไป ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการก่อนเป็นฐานในการคํานวณในระหว่างที่มีเหตุจําเป็นได้ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยทันที (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ จํานวนทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ที่ตัวแทน ซื้อขายสัญญาต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการหลักทรัพย์ที่ตัวแทนซื้อขาย สัญญาบันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น (3) ทรัพย์สินประเภทอื่น จํานวนทรัพย์สินประเภทอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้อง แยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการทรัพย์สินประเภทอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาบันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น ข้อ ๑๒ ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจหักเงินดังต่อไปนี้ออกจากจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 11(1) ได้ (1) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ของลูกค้าเกินกว่าจํานวนที่ลูกค้าต้องชําระ และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ส่งเงินส่วนเกินดังกล่าวคืนให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับเงินนั้น (2) เงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้าอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ส่งเงินจํานวนดังกล่าวให้แก่ลูกค้าภายในวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับเงินนั้น (3) เงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับไว้แทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้า เนื่องจากเป็นเงินปันผลหรือดอกเบี้ยของหลักทรัพย์หรือตราสารที่ลูกค้าเป็นเจ้าของ และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ส่งเงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับเงินนั้น ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเก็บรักษาเงินตาม (1) – (3) ไว้เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมของลูกค้าในอนาคต ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องนําเงินจํานวนดังกล่าวมารวมในยอดเงินของวันทําการที่ได้รับทราบความประสงค์ของลูกค้า เพื่อการคํานวณจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 11(1) ต่อไป ส่วน ๒ วิธีการแยกทรัพย์สินของลูกค้า ส่วน ๒ วิธีการแยกทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีการดําเนินการดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 11 แล้ว (1) กรณีทรัพย์สินของลูกค้าเป็นเงิน (ก) แยกโดยการฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสาร ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 41/2553 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 (ข) แยกโดยการนําไปวางไว้กับสํานักหักบัญชีสัญญา ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด (ค) แยกโดยการจัดเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเงินจํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (2) กรณีทรัพย์สินของลูกค้าเป็นหลักทรัพย์ (ก) แยกโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้ระบุอย่างชัดเจนว่าการฝากหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการนําไปวางไว้กับสํานักหักบัญชีสัญญา ตามหลักเกณฑ์ที่ สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด (ค) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (3) กรณีทรัพย์สินของลูกค้าเป็นทรัพย์สินอื่น ให้แยกในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งเป็นทรัพย์สินเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกทรัพย์สินดังกล่าวในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย หรือระบุอย่างชัดเจนว่าการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า ส่วน ๓ การรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าไว้เองไม่ว่าการจัดเก็บจะกระทําในสถานที่ของตัวแทนซื้อขายสัญญาเองหรือใช้สถานที่ของบุคคลอื่น สถานที่นั้นต้องมีความมั่นคงและปลอดภัย และในกรณีที่เป็นการใช้สถานที่ของบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งให้บุคคลอื่นนั้นทราบอย่างชัดเจนด้วยว่าทรัพย์สินที่นํามาเก็บเป็นทรัพย์สินของลูกค้า หมวด ๔ การรายงานการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ ๑๕ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทํารายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าเป็นรายเดือน และจัดส่งให้แก่ลูกค้าภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป เว้นแต่กรณีที่ทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลาสามเดือนติดต่อกันขึ้นไป ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทํารายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าอย่างน้อยทุกสามเดือนครั้งและจัดส่งให้แก่ลูกค้าภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดไป ในกรณีที่ได้รับการร้องขอจากลูกค้า ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทําและจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าให้แก่ลูกค้าตามที่ได้รับการร้องขอโดยไม่ชักช้า ข้อ ๑๖ รายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าตามข้อ 15 ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ประเภททรัพย์สินของลูกค้า (2) มูลค่าหรือจํานวนทรัพย์สินแต่ละประเภทและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคงค้างยกมาจากรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าในรอบระยะเวลาก่อนหน้า (3) รายการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดจนมูลค่าหรือจํานวนทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป (4) ยอดสุทธิของทรัพย์สินแต่ละประเภทและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป (5) มูลค่าหรือจํานวนคงเหลือสุทธิของทรัพย์สินแต่ละประเภทและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคงค้าง หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๗ ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ หมวด ๖ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ ข้อ ๑๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการแยกทรัพย์สินของลูกค้าที่เป็นทรัพย์สินเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ รวมทั้งปรับถ้อยคําในส่วนของการแยกทรัพย์สินให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในประกาศแม่บท จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,450
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 33/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสำคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 33/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและ สาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 38/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทํารายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ณ วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนให้แก่ลูกค้า ภายในวันทําการที่ห้าของเดือนถัดไป เว้นแต่ในเดือนนั้นลูกค้าไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มอบให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้ดูแลรักษา หรือเป็นกรณีตามวรรคสอง ในกรณีที่ปรากฏว่าลูกค้ารายใดไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ณ วันทําการสุดท้ายของเดือนที่ครบกําหนดระยะเวลาหนึ่งปีสําหรับลูกค้ารายนั้นให้แก่ลูกค้าอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายในวันทําการที่ห้าของเดือนถัดไป เว้นแต่ลูกค้ารายดังกล่าวจะไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่ในการดูแลของตัวแทนซื้อขายสัญญาและบัญชีของลูกค้ามีสถานะถูกระงับบัญชีไม่ให้ทําธุรกรรมตามระเบียบปฏิบัติของตัวแทนซื้อขายสัญญา เพื่อประโยชน์ในการจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า มิให้ถือว่าการจ่ายดอกเบี้ยเป็นธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่ได้รับการร้องขอจากลูกค้า ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทําและจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าให้แก่ลูกค้าตามที่ได้รับการร้องขอโดยไม่ชักช้า” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,451
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สธ. 52/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสำคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 52/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและ สาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ก) ของ (1) ในข้อ 13 แห่งประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 38/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ก) แยกโดยการฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสาร ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,452
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สธ. 38/2553 หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสำคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ฉบับประมวล)
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 38/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า(ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 และข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 84/2552 เรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สํานักงาน ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ (1) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) “ศูนย์ซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และให้หมายความรวมถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งสามารถให้บริการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นและอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (regulated exchange) (3) “สํานักหักบัญชีสัญญา” หมายความว่า สํานักหักบัญชีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. (4) “ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์” หมายความว่า ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับมาหรือมีไว้เนื่องจากการให้บริการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้แก่ลูกค้าในศูนย์ซื้อขายสัญญา หมวด 1 ระบบงานและการควบคุมการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน 1 ระบบงานในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 3 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าซึ่งเป็นอิสระจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือการให้คําแนะนําด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และต้องจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่ดีในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แยกผู้ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าออกจากกัน (2) กําหนดให้การจ่ายโอนทรัพย์สินของลูกค้าและการแก้ไขรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าทุกครั้งต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอํานาจสั่งการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งต้องมิใช่ผู้ทําหน้าที่จัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าและผู้ทําหน้าที่เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้า ข้อ 4 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องกําหนดระเบียบหรือวิธีปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ โดยให้จัดทําไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงถึงขั้นตอนการจัดการและผู้มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การรับหรือส่งมอบทรัพย์สินของลูกค้า (2) การบันทึกรายการทรัพย์สินของลูกค้า (3) การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกค้า ส่วน 2 ขั้นตอนการดําเนินการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 5 ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) แจ้งให้ลูกค้าเข้าใจและลงนามรับทราบถึงวิธีปฏิบัติของลูกค้าในการฝากหรือถอนทรัพย์สินของลูกค้ากับหรือจากตัวแทนซื้อขายสัญญา ตลอดจนวิธีการของตัวแทนซื้อขายสัญญาในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ในกรณีที่ข้อมูลตามวรรคหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ลูกค้าทราบโดยไม่ชักช้า (2) เปิดเผยให้ลูกค้าทราบว่าในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาประสบปัญหาทางการเงินเงินของลูกค้าที่เก็บรักษาไว้กับตัวแทนซื้อขายสัญญาจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ส่วน 3 สาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 6 สัญญาหรือข้อตกลงในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าต้องมีรายการและสาระสําคัญอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) อํานาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของตัวแทนซื้อขายสัญญา (2) อัตราและวิธีการชําระค่าธรรมเนียมในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า (ถ้ามี) (3) ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกผลหรือประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากทรัพย์สินของลูกค้า ส่วน 4 การจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 7 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี โดยการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบได้ในทันที หมวด 2 การจัดทําบัญชีทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 8 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทําบัญชีแสดงทรัพย์สินทุกรายการของลูกค้าแต่ละราย โดยแยกเป็นบัญชีต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินของตัวแทนซื้อขายสัญญา บัญชีทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) วันที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน (2) จํานวนและประเภททรัพย์สิน (3) เหตุที่รับหรือจ่ายทรัพย์สิน ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ถูกบันทึกไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายใดเป็นทรัพย์สินของบุคคลที่สามซึ่งนํามาวางไว้เพื่อเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้ารายนั้นตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องบันทึกชื่อบุคคลที่สามซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวไว้ในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้ารายนั้นด้วย ข้อ 9 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องบันทึกรายการในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน และในกรณีที่เป็นการบันทึกเพื่อแก้ไขรายการ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันทําการที่พบเหตุแห่งการแก้ไขรายการและต้องบันทึกเหตุผลประกอบการแก้ไขรายการทุกครั้ง ข้อ 10 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีการตรวจนับทรัพย์สินของลูกค้าในส่วนที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเก็บรักษาไว้อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อสอบทานความถูกต้องกับรายการที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้จัดทํา สําหรับทรัพย์สินของลูกค้าส่วนที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามิได้เก็บรักษาไว้เอง ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดให้มีระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเพื่อสอบทานความถูกต้องของรายการทรัพย์สินที่ปรากฏในรายงานของบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของลูกค้า กับรายการที่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สินของลูกค้าที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้จัดทํา หมวด 3 การจัดเก็บทรัพย์สินของลูกค้าแยกจากทรัพย์สินของตัวแทนซื้อขายสัญญา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน 1 จํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 11 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาจํานวนไม่น้อยกว่าที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้ เป็นทรัพย์สินของลูกค้า (1) ทรัพย์สินประเภทเงิน จํานวนเงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาบันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการก่อน หรือ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบัน ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญา เลือกใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณแล้ว ตัวแทน ซื้อขายสัญญาจะต้องใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณตลอดไป เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นทําให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาไม่สามารถใช้ผลรวมของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการปัจจุบันเป็นฐานในการคํานวณต่อไป ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาใช้ผลรวม ของยอดเงินคงเหลือสุทธิ ณ สิ้นวันทําการก่อนเป็นฐานในการคํานวณในระหว่างที่มีเหตุจําเป็นได้ ทั้งนี้ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งเหตุจําเป็นดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยทันที (2) ทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ จํานวนทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการหลักทรัพย์ที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาบันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น (3) ทรัพย์สินประเภทอื่น จํานวนทรัพย์สินประเภทอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกไว้ในแต่ละวันต้องไม่น้อยกว่าผลรวมของรายการทรัพย์สินประเภทอื่นที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาบันทึกไว้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าแต่ละราย ณ สิ้นวันทําการนั้น ข้อ 12 ตัวแทนซื้อขายสัญญาอาจหักเงินดังต่อไปนี้ออกจากจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 11(1) ได้ (1) เงินที่ลูกค้านํามาชําระหนี้ที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าเกินกว่าจํานวนที่ลูกค้าต้องชําระ และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ส่งเงินส่วนเกินดังกล่าวคืนให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ได้รับเงินนั้น (2) เงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับแทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้าอันเนื่องมาจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ส่งเงินจํานวนดังกล่าวให้แก่ลูกค้าภายในวันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับเงินนั้น (3) เงินที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับไว้แทนลูกค้าหรือในนามของลูกค้า เนื่องจากเป็นเงินปันผลหรือดอกเบี้ยของหลักทรัพย์หรือตราสารที่ลูกค้าเป็นเจ้าของ และตัวแทนซื้อขายสัญญาได้ส่งเงินดังกล่าวให้แก่ลูกค้าภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาได้รับเงินนั้น ในกรณีที่ลูกค้าแจ้งความประสงค์ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเก็บรักษาเงินตาม (1) – (3) ไว้เพื่อประโยชน์ในการทําธุรกรรมของลูกค้าในอนาคต ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องนําเงินจํานวนดังกล่าวมารวมในยอดเงินของวันทําการที่ได้รับทราบความประสงค์ของลูกค้า เพื่อการคํานวณจํานวนทรัพย์สินที่ต้องแยกไว้เป็นทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 11(1) ต่อไป ส่วน 2 วิธีการแยกทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 13 ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญามีการดําเนินการดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการแยกทรัพย์สินของลูกค้าตามข้อ 11 แล้ว (1) กรณีทรัพย์สินของลูกค้าเป็นเงิน (ก)2 แยกโดยการฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสาร ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ข) แยกโดยการนําไปวางไว้กับสํานักหักบัญชีสัญญา ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด (ค) แยกโดยการจัดเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าเงินจํานวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (2) กรณีทรัพย์สินของลูกค้าเป็นหลักทรัพย์ (ก) แยกโดยการฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทยโดยให้ระบุอย่างชัดเจนว่าการฝากหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า (ข) แยกโดยการนําไปวางไว้กับสํานักหักบัญชีสัญญา ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักหักบัญชีสัญญากําหนด (ค) แยกโดยการเก็บรักษาไว้เอง ซึ่งต้องกระทําในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย (3) กรณีทรัพย์สินของลูกค้าเป็นทรัพย์สินอื่น ให้แยกในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย ในกรณีที่ทรัพย์สินของลูกค้าตามวรรคหนึ่งเป็นทรัพย์สินเพื่อการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศ ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแยกทรัพย์สินดังกล่าวในลักษณะที่สามารถชี้เฉพาะได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของลูกค้าโดยปราศจากเหตุสงสัย หรือระบุอย่างชัดเจนว่าการดําเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการดําเนินการโดยตัวแทนซื้อขายสัญญาเพื่อประโยชน์ของลูกค้า ส่วน 3 การรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 14 ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้เก็บรักษาตัวทรัพย์สินของลูกค้าไว้เองไม่ว่าการจัดเก็บจะกระทําในสถานที่ของตัวแทนซื้อขายสัญญาเองหรือใช้สถานที่ของบุคคลอื่น สถานที่นั้นต้องมีความมั่นคงและปลอดภัย และในกรณีที่เป็นการใช้สถานที่ของบุคคลอื่น ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องแจ้งให้บุคคลอื่นนั้นทราบอย่างชัดเจนด้วยว่าทรัพย์สินที่นํามาเก็บเป็นทรัพย์สินของลูกค้า หมวด 4 การรายงานการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 151 ตัวแทนซื้อขายสัญญาต้องจัดทํารายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า ณ วันทําการสุดท้ายของแต่ละเดือนให้แก่ลูกค้า ภายในวันทําการที่ห้าของเดือนถัดไป เว้นแต่ในเดือนนั้นลูกค้าไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มอบให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาเป็นผู้ดูแลรักษา หรือเป็นกรณีตามวรรคสอง ในกรณีที่ปรากฏว่าลูกค้ารายใดไม่มีธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าณ วันทําการสุดท้ายของเดือนที่ครบกําหนดระยะเวลาหนึ่งปีสําหรับลูกค้ารายนั้นให้แก่ลูกค้าอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายในวันทําการที่ห้าของเดือนถัดไป เว้นแต่ลูกค้ารายดังกล่าวจะไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่ในการดูแลของตัวแทนซื้อขายสัญญาและบัญชีของลูกค้ามีสถานะถูกระงับบัญชีไม่ให้ทําธุรกรรมตามระเบียบปฏิบัติของตัวแทนซื้อขายสัญญา เพื่อประโยชน์ในการจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้า มิให้ถือว่าการจ่ายดอกเบี้ยเป็นธุรกรรมซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงในทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่ได้รับการร้องขอจากลูกค้า ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาจัดทําและจัดส่งรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าให้แก่ลูกค้าตามที่ได้รับการร้องขอโดยไม่ชักช้า ข้อ 16 รายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าตามข้อ 15 ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ประเภททรัพย์สินของลูกค้า (2) มูลค่าหรือจํานวนทรัพย์สินแต่ละประเภทและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคงค้างยกมาจากรายงานแสดงทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าในรอบระยะเวลาก่อนหน้า (3) รายการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดจนมูลค่าหรือจํานวนทรัพย์สินหรือฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป (4) ยอดสุทธิของทรัพย์สินแต่ละประเภทและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป (5) มูลค่าหรือจํานวนคงเหลือสุทธิของทรัพย์สินแต่ละประเภทและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าคงค้าง หมวด 5 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 17 ให้บรรดาคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีคําสั่งและหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 18 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 3/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้าและสาระสําคัญของสัญญาดูแลรักษาทรัพย์สินของลูกค้า ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ หมวด 6 วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 19 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,453
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 92/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกรณีที่กองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 92/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกรณีที่กองทุนลงทุน ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มี สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 วรรคหนึ่ง (5) (ข) (ค) (ง) และ (จ) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แล้วแต่กรณี “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม หรือการจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะในทํานองเดียวกัน “สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงเครดิต” (credit derivatives) หมายความว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนย้ายความเสี่ยงด้านเครดิตของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง (obligation) จากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรฐานสากล โดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งซึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องชําระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้ (credit event) ของทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง จะได้รับผลตอบแทนหรือค่าธรรมเนียมสําหรับการมีภาระผูกพันดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะของธุรกรรมเป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 7.2 ของส่วนที่ 6 : ธุรกรรมประเภท derivatives ในภาคผนวก 3 แห่งประกาศการลงทุน “ประกาศการลงทุน” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการลงทุนของกองทุน “ทรัพย์สินที่ได้รับการประกันความเสี่ยง” หมายความว่า ประเภทและลักษณะของทรัพย์สินที่ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงเครดิตอ้างอิงถึง (obligation category and obligation characteristics) “เหตุการณ์ที่มีผลต่อการชําระหนี้” หมายความว่า เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการชําระหนี้ตามที่ระบุในข้อตกลงของตราสารหรือสัญญา “ปัจจัยอ้างอิง” (underlying) หมายความว่า สินค้าหรือตัวแปรที่ถูกอ้างอิงโดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงเครดิต “ตัวชี้วัด” (benchmark) หมายความว่า ตัวชี้วัดของกองทุน ซึ่งเป็นดัชนีหรือองค์ประกอบของดัชนีที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น “การลงทุนแบบซับซ้อน” หมายความว่า การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีกลยุทธ์แบบซับซ้อน (complex strategic investment) หรือการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีความซับซ้อน (exotic derivatives) หมวด ๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ไม่ใช่เพื่อการลดความเสี่ยง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกรณี ที่มีการลงทุนแบบซับซ้อน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ไม่ใช่เพื่อการลดความเสี่ยง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ หมวด ๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดความเสี่ยงในทรัพย์สิน ที่กองทุนลงทุนโดยใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกรณี ที่มีการลงทุนแบบซับซ้อน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖ ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) และตามกลุ่มกิจการ (group limit) สําหรับทรัพย์สินของกองทุนที่มีการลดความเสี่ยงโดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงเครดิตที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในข้อ 7 ให้ใช้ส่วนต่างของมูลค่ายุติธรรมของทรัพย์สินดังกล่าวหักด้วยมูลค่าขั้นสูงที่คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชําระหนี้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงเครดิต มาใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนสําหรับทรัพย์สินดังกล่าวแทนได้ ในกรณีที่ส่วนต่างที่คํานวณได้มีค่าเท่ากับหรือต่ํากว่าศูนย์ บริษัทจัดการจะไม่นําทรัพย์สินดังกล่าวมาคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) และตามกลุ่มกิจการ (group limit) ก็ได้ ข้อ ๗ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงเครดิตตามข้อ 6 ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งในสัญญาดังกล่าวมีอันดับความน่าเชื่อถือในอันดับที่สูงกว่าหรือเทียบเท่ากับอันดับความน่าเชื่อถือของทรัพย์สินตามข้อ 6 ที่สัญญาดังกล่าวมุ่งลดความเสี่ยง (2) สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีประสิทธิภาพตามข้อ 8 หมวด ๓ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ไม่ใช่เพื่อการลดความเสี่ยง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ในการดําเนินการตามหมวดนี้ ให้บริษัทจัดการจัดทําและจัดเก็บเอกสารที่แสดงถึงการดําเนินการดังกล่าวไว้เพื่อให้สํานักงานสามารถตรวจสอบได้ ส่วน ๑ การคํานวณฐานะการลงทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการคํานวณ global exposure limit ตามประกาศการลงทุนให้บริษัทจัดการคํานวณฐานะการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุนตามวิธีการที่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุน ดังต่อไปนี้ (1) กรณีกองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่ใช่การลงทุนแบบซับซ้อน ให้บริษัทจัดการคํานวณฐานะการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยใช้วิธี commitment approach ตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ (2) กรณีกองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นการลงทุนแบบซับซ้อน ให้บริษัทจัดการคํานวณฐานะการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุน ดังนี้ (ก) relative VaR approach ตามที่กําหนดในส่วนที่ 3 ของภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่ตัวชี้วัดไม่มีองค์ประกอบเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลดความเสี่ยง (unleveraged benchmark) ทั้งนี้ ในการคํานวณมูลค่าความเสียหายสูงสุด (value-at-risk : VaR) ของทรัพย์สินทั้งหมดที่กองทุนลงทุน เพื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าความเสียหายสูงสุดตามตัวชี้วัด จะต้องใช้สมมติฐานและวิธีการคํานวณในลักษณะเดียวกัน (ข) absolute VaR approach ตามที่กําหนดในส่วนที่ 3 ของภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่ไม่มีตัวชี้วัดหรือมีตัวชี้วัดที่นอกเหนือจากตัวชี้วัดตาม (ก) การคํานวณฐานะการลงทุนตามวรรคหนึ่ง (2) ให้บริษัทจัดการระบุสมมติฐานที่ใช้ในการคํานวณไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมด้วย ส่วน ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมสําหรับกรณี ที่มีการลงทุนแบบซับซ้อน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ตอน ๑๑ บริษัทจัดการต้องทําการทดสอบผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนหากเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญ (stress test) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้ (1) มีการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนอย่างมีนัยสําคัญ (2) เกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสภาวะตลาดอย่างมีนัยสําคัญ ให้บริษัทจัดการนําผลการทดสอบตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการบริหารความเสี่ยงและการพิจารณาลงทุนของกองทุนอย่างเหมาะสมด้วย ข้อ ๑๒ ในการทดสอบตามข้อ 11 บริษัทจัดการต้องใช้สมมติฐานที่เหมาะสมโดยคํานึงถึงค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างทรัพย์สินที่ลงทุนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไป โดยต้องทบทวนสมมติฐานดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีนัยสําคัญต่อการลงทุนของกองทุน ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เป็นกองทุนรวมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนจัดตั้งแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเป็นกองทุนส่วนบุคคลที่บริษัทจัดการกองทุนส่วนบุคคลรับจัดการกองทุนส่วนบุคคลดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี บริษัทจัดการต้องทดสอบความถูกต้อง (back testing) ของแบบจําลองการคํานวณมูลค่าความเสียหายสูงสุด (VaR model) ของกองทุนดังกล่าวอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยต้องใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน Kupiec test (1995) หรือมาตรฐานของ Bank for International Settlements (1996) เป็นต้น ทั้งนี้ ให้ใช้สมมติฐานบนการเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนของวันใดวันหนึ่ง ณ สิ้นวัน กับมูลค่า ณ สิ้นวันของวันถัดมา โดยเสมือนไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะการลงทุน (clean back testing) ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผลการทดสอบตามข้อ 13 แสดงผลเป็นจํานวนเกินกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามวิธีทดสอบที่ใช้ ให้บริษัทจัดการปรับปรุงแบบจําลองการคํานวณมูลค่าความเสียหายสูงสุด (VaR model) เพื่อให้อยู่ในกรอบของเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่บริษัทจัดการทราบผลการทดสอบดังกล่าว หมวด ๔ การคํานวณฐานะการลงทุนในคู่สัญญาตาม สัญญาซื้อขายล่วงหน้าและในทรัพย์สิน ที่เป็นปัจจัยอ้างอิง \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่กองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (OTC derivatives) ให้บริษัทจัดการคํานวณฐานะการลงทุนในคู่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวเพื่อใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) และตามกลุ่มกิจการ (group limit) โดยให้เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดในส่วนที่ 4 ของภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๖ การคํานวณฐานะการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นปัจจัยอ้างอิงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง เพื่อใช้ในการคํานวณอัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามผู้ออกทรัพย์สินหรือคู่สัญญา (single entity limit) ตามกลุ่มกิจการ (group limit) และตามประเภททรัพย์สิน (product limit) สําหรับทรัพย์สินที่จัดอยู่ในประเภท Specific Investment Product (total SIP) ในส่วนที่ 3 : อัตราส่วนการลงทุนที่คํานวณตามประเภททรัพย์สิน (product limit) ของภาคผนวก 4-retail MF-PF ภาคผนวก 4-AI หรือภาคผนวก 4-PVD แห่งประกาศการลงทุน แล้วแต่กรณี ให้ใช้วิธี commitment approach ตามที่กําหนดในส่วนที่ 2 ของภาคผนวกที่แนบท้ายประกาศนี้ โดยอนุโลม ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,454
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต ที่ สน. 54/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกรณีที่กองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (ฉบับที่ 2)
-ร่าง- ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 54/2559559 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกรณีที่กองทุนลงทุน ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มี สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในข้อ 10 วรรคหนึ่ง (5) (ง) และ (จ) และ (6) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทน. 87/2558 เรื่อง การลงทุนของกองทุน ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สํานักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกภาคผนวกท้ายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สน. 92/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในกรณีที่กองทุนลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ภาคผนวกท้ายประกาศนี้แทน ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,455
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 5/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 5/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 3/3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 “ข้อ 3/3 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้า ที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ ๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ดําเนินการให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาท ทางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวให้กระทําในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ แต่ต้อง ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้ขั้นตอนและวิธีการในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด ซึ่งจะเป็นการสะดวกต่อการอํานวยความยุติธรรม
1,456
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 81/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 81/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ทําหน้าที่คณะกรรมการกํากับตลาดทุนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 5/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๓ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดโครงสร้างองค์กรตลอดจนกําหนดนโยบาย ขอบเขตอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งแสดงได้ว่ามีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร ระบบการบริหารความเสี่ยง การจัดการด้านการปฏิบัติการ และระบบการควบคุมภายใน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้ ข้อ ๔ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดํารงเงินกองทุนและกันเงินสํารองตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไม่สามารถดํารงเงินกองทุนหรือกันเงินสํารองตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบโดยทันที ข้อ ๕ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีระบบการจัดการข้อมูลที่ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งที่เป็นข้อมูลเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีความถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถนําไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวได้ ข้อ ๖ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๗ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้า ที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๘ ห้ามมิให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๙ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทําการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เฉพาะสัญญาที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นนิติบุคคลตามข้อ 2(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 7/2547 เรื่อง การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้ด้วย (1) ดํารงคุณสมบัติในการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้นตลอดเวลาที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) แจ้งให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบพร้อมทั้งข้อเท็จจริงโดยทันที เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถูกทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น สั่งจํากัด พักหรือเพิกถอนการประกอบการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศดังกล่าว รวมทั้งคําสั่งยกเลิกหรือคําสั่งเปลี่ยนแปลง หรือ (ข) ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเลิกกิจการหรือเลิกประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น (3) พักการประกอบการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในทันที หากผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถูกทางการหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น สั่งพักการประกอบการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศนั้น ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่ทางการหรือหน่วยงานในต่างประเทศนั้นกําหนด เว้นแต่สํานักงาน ก.ล.ต. จะสั่งเป็นประการอื่น ข้อ ๑๑ ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 10 ต้องปฏิบัติได้ ในกรณีที่ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (1) ไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อ 10(1) (2) ถูกสั่งจํากัด พัก เพิกถอน เลิกกิจการหรือเลิกประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 10(2) หรือ (3) พักการประกอบการเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามที่กําหนดในข้อ 10(3) ข้อ ๑๒ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตรวจสอบและดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามประกาศนี้และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้ ข้อ ๑๔ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 กําหนดให้การออกหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติ เป็นอํานาจของคณะกรรมการกํากับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,457
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 81/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ (1) “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) “ผู้ค้าสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซึ่งประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเฉพาะกับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน หมวด ๑ การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน ข้อ ๔ ในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทําให้มั่นใจได้ว่าจะมีการประกอบกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ และปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม รวมทั้งเพื่อดํารงไว้ซึ่งความมั่นคงของตลาดทุนและระบบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม ข้อ ๕ ในการจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน ตามข้อ 4 ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องมีการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ การจัดการด้านการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน และการควบคุมภายใน อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๖ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดให้มีระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน รวมทั้งสามารถนําไปใช้งานและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการบันทึกข้อมูลนั้นไว้ในระบบ โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบข้อมูลนั้นได้โดยเร็ว ข้อ ๗ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญามีหน้าที่ตรวจสอบ ดูแล และรับผิดชอบให้พนักงานและผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หมวด ๒ ข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจของตัวแทนซื้อขายสัญญา ข้อ ๘ ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทําการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เฉพาะสัญญาที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมวด ๓ มาตรฐานในการประกอบธุรกิจ ข้อ ๙ ข้อกําหนดในหมวดนี้เป็นการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ส่วน ๑ มาตรฐานทั่วไปสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง อันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร ข้อ ๑๑ ในการทําธุรกรรมกับลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องมีกระบวนการในการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าทุกรายอย่างเพียงพอ และมั่นใจ ได้ว่าลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องมีระบบในการจัดเก็บ ตรวจสอบ และทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ตลอดช่วงระยะเวลาที่ลูกค้ามีการทําธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ข้อ ๑๒ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดให้มีข้อตกลงกับลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาที่ตกลงให้บริการแก่ลูกค้า ที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เมื่อลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญามอบหมายงานให้ผู้อื่นทําหน้าที่ในการติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและทําการเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาแจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการมอบหมาย ส่วน ๒ มาตรฐานเฉพาะสําหรับผู้ค้าสัญญา ข้อ ๑๔ ผู้ค้าสัญญาต้องคํานึงถึงความเหมาะสมในการเสนอสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องมีการจัดกลุ่มลูกค้าและประเภทของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามระดับความเสี่ยง และต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ในการลงทุนและกําหนดปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละรายอย่างเหมาะสมด้วย ข้อ ๑๕ ผู้ค้าสัญญาต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบถึงข้อมูลและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ เว้นแต่ลูกค้าจะแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าไม่ประสงค์ที่จะรับทราบข้อมูลนั้น (1) ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ความน่าเชื่อถือ และการประกอบธุรกิจของผู้ค้าสัญญา (2) รายละเอียดและเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ผลกระทบในกรณีที่ราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปลี่ยนแปลงไป (4) ผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ (5) ช่องทางในการดําเนินการเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างลูกค้าและผู้ค้าสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๑๖ ผู้ค้าสัญญาซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น ต้องจัดให้มีผู้ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสํานักงาน ก.ล.ต. และลูกค้า ในประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งรายและให้แจ้งชื่อและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ของผู้ประสานงานดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้ประสานงานนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจผ่อนผันให้ผู้ค้าสัญญาดังกล่าวไม่ต้องจัดให้มีผู้ประสานงานเป็นการชั่วคราวได้ หมวด ๔ อํานาจสั่งการและผลของการฝ่าฝืนประกาศ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้ประกอบธุรกิจสัญญารายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้ ข้อ ๑๘ การฝ่าฝืนประกาศนี้จะเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาได้รับการพิจารณาลงโทษทางปกครองตามมาตรา 111 ประกอบกับมาตรา 114 หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๙ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซึ่งมอบหมายให้ผู้อื่นทําหน้าที่ในการติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและทําการเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ แจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๐ ให้ผู้ค้าสัญญาซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งได้รับการจดทะเบียนอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จัดให้มีผู้ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสํานักงาน ก.ล.ต. และลูกค้าในประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งรายและให้แจ้งชื่อและที่อยู่ที่สามารถติดต่อไดของผู้ประสานงานดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หมวด ๖ วันมีผลใช้บังคับของประกาศ ข้อ ๒๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้มีความรัดกุม เหมาะสมกับลักษณะของการประกอบธุรกิจมากยิ่งขึ้น และทําให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนจะได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอ รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งสองประเภทดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,458
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 26/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 26 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ------------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกข้อ 12 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 15 ผู้ค้าสัญญาต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบและเข้าใจข้อมูลและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลและความเสี่ยงดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ความน่าเชื่อถือ และการประกอบธุรกิจของผู้ค้าสัญญา (2) รายละเอียดเกี่ยวกับประเภท ลักษณะ โครงสร้าง สินค้าหรือตัวแปร และเงื่อนไข ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ลูกค้าจะได้รับจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กําไรหรือขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งรายละเอียดวิธีการคํานวณกําไร ขาดทุน ประโยชน์หรือผลตอบแทนดังกล่าว (4) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และขอบเขตความเสียหายในสถานการณ์ที่เป็นผลลบกับลูกค้ามากที่สุด (5) ช่องทางในการดําเนินการเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างลูกค้าและผู้ค้าสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายไทย หรือตามกฎหมายต่างประเทศ (2) ลูกค้าอื่นที่มิใช่กรณีตาม (1) ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ค้าสัญญาว่าไม่ประสงค์ที่จะรับทราบข้อมูลนั้น” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,459
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 1/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3 ) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 22/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 14 ในการเสนอสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อลูกค้า ผู้ค้าสัญญาต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) นําเสนอประเภทของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้เหมาะสมกับลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องคํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุนของลูกค้าด้วย (2) กําหนดปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย (3) จัดให้มีการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในกรณีที่ลูกค้าแสดงความประสงค์ที่จะได้รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน ให้นําความในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มาใช้บังคับกับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง (3) โดยอนุโลม” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,460
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 13/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 22/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 “ข้อ 13/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดให้มีบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมาให้บุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,461
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2553 หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 22/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับ ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 81/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ข้อ 2 ในประกาศนี้ (1) “ผู้ประกอบธุรกิจสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) “ตัวแทนซื้อขายสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) “ผู้ค้าสัญญา” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า ผู้ลงทุนสถาบันตามมาตรา 3 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดประเภทนิติบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนสถาบันเพิ่มเติม ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซึ่งประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเฉพาะกับลูกค้าที่เป็นผู้ลงทุนสถาบัน หมวด 1 การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 4 ในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน ที่สามารถรองรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทําให้มั่นใจได้ว่าจะมีการประกอบกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสําคัญ และปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม รวมทั้งเพื่อดํารงไว้ซึ่งความมั่นคงของตลาดทุนและระบบการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยรวม ข้อ 5 ในการจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และการควบคุมการปฏิบัติงาน ตามข้อ 4 ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องมีการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ การจัดการด้านการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน และการควบคุมภายใน อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ 6 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดให้มีระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน รวมทั้งสามารถนําไปใช้งานและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอแก่การป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีอํานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ล่วงรู้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งไว้อย่างน้อยเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีการบันทึกข้อมูลนั้นไว้ในระบบ โดยการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลาสองปีแรกต้องกระทําในลักษณะที่พร้อมให้สํานักงาน ก.ล.ต. เรียกดูหรือตรวจสอบข้อมูลนั้นได้โดยเร็ว ข้อ 7 ผู้ประกอบธุรกิจสัญญามีหน้าที่ตรวจสอบ ดูแล และรับผิดชอบให้พนักงานและผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและหลักเกณฑ์ที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว รวมทั้งระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หมวด 2 ข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจของตัวแทนซื้อขายสัญญา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 8 ให้ตัวแทนซื้อขายสัญญาทําการเป็นตัวแทนในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้เฉพาะสัญญาที่กระทํานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมวด 3 มาตรฐานในการประกอบธุรกิจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 9 ข้อกําหนดในหมวดนี้เป็นการกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสัญญา เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ส่วนที่ 1 มาตรฐานทั่วไปสําหรับผู้ประกอบธุรกิจสัญญา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 10 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง อันควรบอกให้แจ้ง อันเป็นการหลอกลวงลูกค้าหรืออาจทําให้ลูกค้าสําคัญผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้า หรือตัวแปร ข้อ 11 ในการทําธุรกรรมกับลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องมีกระบวนการในการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าทุกรายอย่างเพียงพอและมั่นใจได้ว่าลูกค้าเป็นผู้ลงทุนสถาบัน รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจสัญญาต้องมีระบบในการจัดเก็บ ตรวจสอบ และทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบันตลอดช่วงระยะเวลาที่ลูกค้ามีการทําธุรกรรมกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญา ข้อ 121 ยกเลิก ข้อ 13 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญามอบหมายงานให้ผู้อื่นทําหน้าที่ในการติดต่อ ชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและทําการเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาแจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการมอบหมาย ข้อ 13/1( ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาจัดให้มีบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนที่ 2 มาตรฐานเฉพาะสําหรับผู้ค้าสัญญา \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 142 ในการเสนอสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อลูกค้า ผู้ค้าสัญญาต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) นําเสนอประเภทของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้เหมาะสมกับลูกค้า โดยอย่างน้อยต้องคํานึงถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุนของลูกค้าด้วย (2) กําหนดปริมาณการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าแต่ละราย (3) จัดให้มีการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่ลูกค้าแสดงความประสงค์ที่จะได้รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน ให้นําความในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มาใช้บังคับกับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง (3) โดยอนุโลม ข้อ 151 ผู้ค้าสัญญาต้องจัดให้มีกระบวนการที่ทําให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าทราบและเข้าใจข้อมูลและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยอย่างน้อยต้องจัดทําเอกสารเปิดเผยข้อมูลและความเสี่ยงดังต่อไปนี้ (1) ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ความน่าเชื่อถือ และการประกอบธุรกิจของผู้ค้าสัญญา (2) รายละเอียดเกี่ยวกับประเภท ลักษณะ โครงสร้าง สินค้าหรือตัวแปร และเงื่อนไข ของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ประโยชน์หรือผลตอบแทนที่ลูกค้าจะได้รับจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กําไรหรือขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งรายละเอียดวิธีการคํานวณกําไร ขาดทุน ประโยชน์หรือผลตอบแทนดังกล่าว (4) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และขอบเขตความเสียหายในสถานการณ์ที่เป็นผลลบกับลูกค้ามากที่สุด (5) ช่องทางในการดําเนินการเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างลูกค้าและผู้ค้าสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับลูกค้าดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายไทย หรือตามกฎหมายต่างประเทศ (2) ลูกค้าอื่นที่มิใช่กรณีตาม (1) ซึ่งแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ค้าสัญญาว่าไม่ประสงค์ที่จะรับทราบข้อมูลนั้น ข้อ 16 ผู้ค้าสัญญาซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น ต้องจัดให้มีผู้ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสํานักงาน ก.ล.ต. และลูกค้า ในประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งรายและให้แจ้งชื่อและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ของผู้ประสานงานดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้ประสานงานนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจผ่อนผันให้ผู้ค้าสัญญาดังกล่าวไม่ต้องจัดให้มีผู้ประสานงานเป็นการชั่วคราวได้ หมวด 4 อํานาจสั่งการและผลของการฝ่าฝืนประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 17 ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงาน ก.ล.ต. ว่าผู้ประกอบธุรกิจสัญญารายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือตามระเบียบวิธีปฏิบัติที่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญากําหนดขึ้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศนี้ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญา สํานักงาน ก.ล.ต. อาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวแก้ไข กระทําการหรืองดเว้นกระทําการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ได้ ข้อ 18 การฝ่าฝืนประกาศนี้จะเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาได้รับการพิจารณาลงโทษทางปกครองตามมาตรา 111 ประกอบกับมาตรา 114 หมวด 5 บทเฉพาะกาล \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 19 ให้ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซึ่งมอบหมายให้ผู้อื่นทําหน้าที่ในการติดต่อชักชวนหรือให้คําแนะนําเกี่ยวกับการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้า หรือวิเคราะห์คุณค่าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าหรือตัวแปรที่กําหนดในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและทําการเผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้า อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับแจ้งชื่อและข้อมูลของบุคคลดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ 20 ให้ผู้ค้าสัญญาซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งได้รับการจดทะเบียนอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จัดให้มีผู้ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสํานักงาน ก.ล.ต. และลูกค้าในประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งรายและให้แจ้งชื่อและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ของผู้ประสานงานดังกล่าวให้สํานักงาน ก.ล.ต. ทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หมวด 6 วันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ 21 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,462
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 38/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 38/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สมาคม” หมายความว่า สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลซึ่งมอบหมายให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้ให้บริการแก่ตนในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ ในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักการดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยในการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในเรื่องใดที่ประกาศนี้ รวมทั้งประกาศหรือแนวทางที่ออกตามประกาศนี้ มิได้มีข้อกําหนดไว้ หรือมีข้อกําหนดแต่จําเป็นต้องพิจารณาหรือตีความข้อกําหนดดังกล่าว ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินธุรกิจ พิจารณา หรือตีความให้เป็นไปตามหลักการของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ข้อ ๓ สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อได้ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ ๔ ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในฐานะที่ได้รับความไว้วางใจให้จัดการเงินทุนของลูกค้า ต้องลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยใช้ความสามารถเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเต็มที่ เพื่อคํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้า และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และความรอบคอบระมัดระวัง ข้อ ๕ ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติงานตามข้อกําหนดในประกาศนี้ รวมทั้งหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๖ ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องจัดให้มีระบบงานที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การคัดเลือกและดูแลให้บุคลากรมีคุณสมบัติเป็นไปตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ มาตรการควบคุมภายในเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานและเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทําธุรกรรมที่มีลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้ ข้อ ๗ ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีบุคลากรที่ทําหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุน โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและความเข้าใจธุรกิจ และต้องเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (2) ไม่ฝ่าฝืนจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนด ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญต่อการดํารงความเป็นผู้มีวิชาชีพ หรือในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของความเป็นผู้มีวิชาชีพ ข้อ ๘ ในการชักชวนให้ผู้ลงทุนเข้าเป็นคู่สัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน (2) เปิดเผยหรือดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจเข้าทําสัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อผู้ลงทุนอย่างเพียงพอและภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ในกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้มีการระบุเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน ข้อจํากัดการลงทุน และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดโครงการแล้ว ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง หากได้รับความยินยอมจากกองทุนรวมดังกล่าวแล้ว ข้อ ๙ สัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีกรอบหรือขอบเขตการลงทุนหรือข้อห้ามการลงทุนที่ชัดเจน (2) ไม่มีข้อตกลงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้ากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า (3) กําหนดสิทธิของลูกค้าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) มีข้อมูลและคําเตือนต่าง ๆ ที่จําเป็นที่ลูกค้าต้องรับรู้และทําความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) มีข้อตกลงที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในกรณีที่ลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๑๐ ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) คํานวณมูลค่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมประกาศกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. และหากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทใดที่สมาคมมิได้ประกาศกําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าไว้ ให้การคํานวณมูลค่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นไปตามวิธีการที่ได้ตกลงกับลูกค้า (2) วัดผลการดําเนินงานของการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมประกาศกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดเผยข้อมูลการลงทุน ผลการดําเนินงานหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการจัดการให้ลูกค้าทราบ การให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง จะต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มาและความเป็นสากล รวมทั้งความครอบคลุมของหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ออกหรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นทําการซื้อขายมิได้อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดประเภทสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้าแต่ละประเภทจะลงทุนหรือมีไว้ได้ ข้อ ๑๒ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว หรือที่ยังมีผลใช้บังคับเนื่องจากบทเฉพาะกาลของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเงินทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเงินทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,463
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 2/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 38/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 8 ในการชักชวนให้ผู้ลงทุนเข้าเป็นคู่สัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน (2) เปิดเผยหรือดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจเข้าทําสัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อผู้ลงทุนอย่างเพียงพอและภายในระยะเวลาที่เหมาะสม (3) จัดให้มีการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ลงทุนแสดงความประสงค์ที่จะได้รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน ให้นําความในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มาใช้บังคับกับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง (3) โดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้มีการระบุเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน ข้อจํากัดการลงทุน และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดโครงการแล้ว ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) หากได้รับความยินยอมจากกองทุนรวมดังกล่าวแล้ว” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,464
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 12/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 12/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 38/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่ฝ่าฝืนจรรยาบรรณและมาตรฐาน การประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนด ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญต่อการดํารงความเป็นผู้มีวิชาชีพ หรือในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของความเป็นผู้มีวิชาชีพ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 38/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 7/1 ในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องแต่งตั้งบุคลากรเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องเป็นบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,465
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 4/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 4/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 7/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทธ. 38/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 “ข้อ 7/2 ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,466
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ. 38/2556 หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 38/2556 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 41 มาตรา 43 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “สมาคม” หมายความว่า สมาคมกํากับผู้ประกอบธุรกิจจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. “ลูกค้า” หมายความว่า บุคคลซึ่งมอบหมายให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นผู้ให้บริการแก่ตนในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 2 ในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักการแห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักการดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยในการปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในเรื่องใดที่ประกาศนี้ รวมทั้งประกาศหรือแนวทางที่ออกตามประกาศนี้ มิได้มีข้อกําหนดไว้ หรือมีข้อกําหนดแต่จําเป็นต้องพิจารณาหรือตีความข้อกําหนดดังกล่าว ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินธุรกิจ พิจารณา หรือตีความให้เป็นไปตามหลักการของประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ข้อ 3 สํานักงานอาจกําหนดแนวทาง (guideline) ในรายละเอียดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้ได้ และเมื่อได้ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้แล้ว ข้อ 4 ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในฐานะที่ได้รับความไว้วางใจให้จัดการเงินทุนของลูกค้า ต้องลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยใช้ความสามารถเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเต็มที่ เพื่อคํานึงถึงและรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ลูกค้า และตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต และความรอบคอบระมัดระวัง ข้อ 5 ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องกํากับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติงานตามข้อกําหนดในประกาศนี้ รวมทั้งหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 6 ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องจัดให้มีระบบงานที่แสดงให้เห็นได้ว่ามีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การบริหารความเสี่ยง การคัดเลือกและดูแลให้บุคลากรมีคุณสมบัติเป็นไปตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ มาตรการควบคุมภายในเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลการปฏิบัติงานและเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทําธุรกรรมที่มีลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งการจัดเก็บเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้ ข้อ 72 ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องไม่ฝ่าฝืนจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมกําหนด ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญต่อการดํารงความเป็นผู้มีวิชาชีพ หรือในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือโดยรวมของความเป็นผู้มีวิชาชีพ ข้อ 7/12 ในการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องแต่งตั้งบุคลากรเพื่อทําหน้าที่เป็นผู้จัดการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจในธุรกิจจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องเป็นบุคลากรที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ข้อ 7/2( ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจัดให้มีบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้คําแนะนําเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ให้นําประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาให้ข้อมูลหรือคําแนะนําเกี่ยวกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 81 ในการชักชวนให้ผู้ลงทุนเข้าเป็นคู่สัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) เสนอนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน (2) เปิดเผยหรือดําเนินการให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่จําเป็นต่อการตัดสินใจเข้าทําสัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อผู้ลงทุนอย่างเพียงพอและภายในระยะเวลาที่เหมาะสม (3) จัดให้มีการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ลงทุนแสดงความประสงค์ที่จะได้รับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน ให้นําความในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนหรือการทําธุรกรรมในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มาใช้บังคับกับการประเมินความเหมาะสมในการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง (3) โดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้มีการระบุเกี่ยวกับนโยบายการลงทุน ข้อจํากัดการลงทุน และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดโครงการแล้ว ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) หากได้รับความยินยอมจากกองทุนรวมดังกล่าวแล้ว ข้อ 9 สัญญาจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีกรอบหรือขอบเขตการลงทุนหรือข้อห้ามการลงทุนที่ชัดเจน (2) ไม่มีข้อตกลงในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างลูกค้ากับผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า (3) กําหนดสิทธิของลูกค้าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) มีข้อมูลและคําเตือนต่าง ๆ ที่จําเป็นที่ลูกค้าต้องรับรู้และทําความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (5) มีข้อตกลงที่จะให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด ในกรณีที่ลูกค้าร้องขอให้มีการระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยอนุญาโตตุลาการของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ 10 ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) คํานวณมูลค่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมประกาศกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. และหากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทใดที่สมาคมมิได้ประกาศกําหนดวิธีการคํานวณมูลค่าไว้ ให้การคํานวณมูลค่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นไปตามวิธีการที่ได้ตกลงกับลูกค้า (2) วัดผลการดําเนินงานของการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามหลักเกณฑ์ที่สมาคมประกาศกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต.ให้ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเปิดเผยข้อมูลการลงทุน ผลการดําเนินงานหลักเกณฑ์และวิธีการคํานวณมูลค่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และข้อมูลอื่นใดที่มีผลกระทบต่อการจัดการให้ลูกค้าทราบการให้ความเห็นชอบตามวรรคหนึ่ง จะต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มาและความเป็นสากล รวมทั้งความครอบคลุมของหลักเกณฑ์ที่สมาคมกําหนด ข้อ 11 ในกรณีที่ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะมีการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ออกหรือศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นทําการซื้อขายมิได้อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงาน ก.ล.ต. ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจกําหนดประเภทสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลูกค้าแต่ละประเภทจะลงทุนหรือมีไว้ได้ ข้อ 12 ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว หรือที่ยังมีผลใช้บังคับเนื่องจากบทเฉพาะกาลของประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเงินทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ แนวทาง คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ 13 ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทธ. 83/2552 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการเงินทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ 14 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,467
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้น และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2553 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2553 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2554 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2554 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2554 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2555 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2556 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 54/2556 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทจดทะเบียน” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ “ตราสารทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีข้อความตรงกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน “บุคคลที่มีความสัมพันธ์” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้กับบริษัทที่ออกตราสารทุน (1) กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง (2) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้กับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทที่ออกตราสารทุน (1) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (2) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าว ซึ่งหมายถึง (ก) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว (ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย (3) บริษัทที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึง (ก) บริษัทที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น “ผู้มีอุปการคุณ” หมายความว่า บุคคลที่มีลักษณะของการอุปการคุณที่สร้างประโยชน์อย่างชัดเจนให้กับบริษัทที่ออกตราสารทุน เช่น ลูกค้า ผู้จําหน่ายวัตถุดิบ เป็นต้น “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกตราสารทุนซึ่งยื่นคําขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (public offering) และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท และจะเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทอื่นไปพร้อมกับการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหลักทรัพย์นั้น (securities swap) ข้อ ๕ ในการจําหน่ายตราสารทุน บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องปฏิบัติตามที่กําหนดในหมวดนี้ และหมวดดังต่อไปนี้ด้วย (1) การจัดจําหน่ายตราสารทุน ให้เป็นไปตามหมวด 2 (2) การจองซื้อตราสารทุน ให้เป็นไปตามหมวด 3 (3) การจัดสรรตราสารทุน ให้เป็นไปตามหมวด 4 ข้อ ๖ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจําหน่ายตราสารทุนที่เสนอขายไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน ข้อ ๗ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องไม่กําหนดค่าตอบแทนแก่บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 9 ในลักษณะที่เป็นการจูงใจหรือสนับสนุนให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวจําหน่ายตราสารทุนของตนโดยไม่คํานึงถึงความเหมาะสมในการลงทุนของผู้ลงทุน ข้อ ๘ ในขั้นตอนการสํารวจความต้องการซื้อหุ้น (book building) ของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering) บริษัทที่ออกหุ้นต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าขั้นตอนดังกล่าวจะไม่มีการนําความต้องการซื้อหุ้นและราคาที่จะเสนอซื้อหุ้นของบุคคลที่มีความสัมพันธ์มาพิจารณากําหนดราคาเสนอขายหุ้นของบริษัท หมวด ๒ การจัดจําหน่ายตราสารทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือเสนอขายตราสารทุนดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น และบริษัทที่ออกตราสารทุนดังกล่าวมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อยู่แล้ว ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม แต่ไม่รวมถึงข้อห้ามในการจัดสรรหลักทรัพย์ ข้อ ๑๐ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องจัดให้มีข้อตกลงเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับการจําหน่ายตราสารทุนในลักษณะที่ทําให้บริษัทที่ออกตราสารทุนยังคงปฏิบัติเป็นไปตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๑ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องไม่จําหน่ายหรือยินยอมให้มีการจําหน่ายตราสารทุนของตนพร้อมกับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบุคคลอื่น เว้นแต่จะได้ระบุความประสงค์หรือความยินยอมดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน หมวด ๓ การจองซื้อตราสารทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องกําหนดวิธีการจองซื้อด้วยวิธีการยื่นใบจองซื้อไม่ว่าในรูปแบบเอกสารหรือผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการจองซื้อขั้นต่ําในการจองซื้อตราสารทุน ข้อ ๑๓ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องจัดให้มีใบจองซื้อในรูปเอกสารเตรียมพร้อมไว้อย่างเพียงพอเพื่อจัดส่งหรือแจกจ่ายให้ผู้ลงทุนตามที่ร้องขอได้ ข้อ ๑๔ ใบจองซื้อตราสารทุนต้องมีรายการของข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ที่อยู่ เลขที่บัตรประจําตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทาง เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร (ถ้ามี) ของผู้จองซื้อ และจํานวนที่จองซื้อ (2) ข้อความที่ให้ผู้จองซื้อแสดงว่าผู้จองซื้อได้รับหนังสือชี้ชวน หรือข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) (ถ้ามี) และระบุรูปแบบของหนังสือชี้ชวนที่ได้รับ หรือข้อความที่ผู้จองซื้อไม่ประสงค์จะรับหนังสือชี้ชวน (3) ข้อความเตือนให้ผู้จองซื้อทราบว่าการลงทุนในตราสารทุนมีความเสี่ยง และก่อนตัดสินใจจองซื้อตราสารทุน ผู้จองซื้อควรอ่านหนังสือชี้ชวน หรือข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) (ถ้ามี) อย่างรอบคอบด้วย ข้อ ๑๕ การจองซื้อตราสารทุนด้วยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากการยื่นใบจองซื้อ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ก่อนรับการจองซื้อ (1) จัดให้ผู้จองซื้อให้ข้อมูลซึ่งมีรายละเอียดตามข้อ 14(1) (2) มีคําเตือนในลักษณะเดียวกับที่กําหนดตามข้อ 14(3) (3) มีวิธีการที่ทําให้มั่นใจว่าผู้จองซื้อได้รับข้อมูลตามข้อ 16 แล้ว ข้อ ๑๖ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องจัดให้มีช่องทางในการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนไม่ว่าในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์หรือในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม เว้นแต่ผู้ลงทุนแสดงเจตนาโดยสมัครใจที่จะไม่รับหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่เป็นการจําหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ หากผู้ลงทุนไม่ประสงค์จะรับหนังสือชี้ชวน บริษัทที่ออกหุ้นต้องแจกจ่ายหรือจัดส่งไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) ที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูล ก่อนที่ผู้ลงทุนนั้นจะทําการจองซื้อหุ้น ความในวรรคสองมิให้นํามาใช้บังคับกับการจําหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่บริษัทต่างประเทศดังกล่าวมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ข้อ ๑๗ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องไม่นําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อตราสารทุนในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่คาดว่าจะได้รับจากการเสนอขายตราสารทุนทั้งหมดไปใช้ในกิจการใด ๆ และต้องส่งคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้จองซื้อที่ไม่ได้รับการจัดสรรตามระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด ข้อ ๑๘ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระบุในหนังสือชี้ชวนในการให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนที่จะยกเลิกการจองซื้อตราสารทุนภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามที่กําหนดเมื่อมีเหตุที่ทําให้บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระงับหรือหยุดการเสนอขายตราสารทุนหรือไม่สามารถส่งมอบตราสารทุนที่เสนอขายได้ โดยบริษัทที่ออกตราสารทุนจะคืนเงินค่าจองซื้อตราสารทุนให้แก่ผู้ลงทุนที่ยกเลิกการจองซื้อตราสารทุนตามระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด ข้อ ๑๙ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระบุในหนังสือชี้ชวนว่า ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถส่งคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อตราสารทุนตามระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 17 หรือข้อ 18 ได้ แล้วแต่กรณี ผู้จองซื้อมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลาส่งคืนเงินค่าจองซื้อตราสารทุน หมวด ๔ การจัดสรรตราสารทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๐ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องแบ่งแยกตราสารทุนที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยข้อมูลการจัดสรรตราสารทุนดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน รวมทั้งบริษัทที่ออกตราสารทุนต้องดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ ๒๑ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องไม่จัดสรรหุ้นให้แก่บริษัทย่อย ข้อ ๒๒ ในกรณีที่บริษัทที่ออกตราสารทุนประสงค์จะจัดสรรตราสารทุนให้แก่บุคคล[[1]](#_ftn1)ที่มีความสัมพันธ์หรือผู้มีอุปการคุณ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แบ่งแยกตราสารทุนที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือผู้มีอุปการคุณออกจากตราสารทุนที่จะจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน (ก) ประเภทบุคคลที่มีความสัมพันธ์ รวมถึงจํานวนที่จะจัดสรรให้บุคคลดังกล่าว (ข) กลุ่มบุคคลที่จะได้รับจัดสรรเนื่องจากเป็นผู้มีอุปการคุณ ลักษณะความสัมพันธ์ ที่เป็นการสร้างประโยชน์อย่างต่อเนื่องหรือชัดเจนให้กับบริษัทที่ออกตราสารทุนโดยกลุ่มบุคคลดังกล่าว และจํานวนที่บุคคลดังกล่าวจะได้รับการจัดสรรให้ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก บริษัทที่ออกหุ้นจะจัดสรรหุ้นให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์และผู้มีอุปการคุณรวมกันได้ไม่เกินจํานวนหุ้น ตามที่กําหนดในข้อ 22/1 (3) ในกรณีที่จะจัดสรรหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกให้แก่ผู้มีอุปการคุณ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 24 ด้วย (4) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียน บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระบุข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายตราสารทุน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลดังนี้ (ก) รายชื่อบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่จะได้รับการจัดสรรตราสารทุน (ข) จํานวนตราสารทุนที่จะจัดสรรให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์แต่ละราย (ค) เหตุผลและความจําเป็นที่จัดสรรให้กับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ ข้อ ๒๒/๑ ในการคํานวณหุ้นที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์และผู้มีอุปการคุณให้ใช้วิธีการคํานวณดังนี้ RP + Sup + Em ![]() 25% ของ ( A – B ) โดย Sup ![]() 15% ของ ( A – B ) RP = จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ Sup = จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณ Em = จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่กรรมการหรือพนักงานที่บริษัทที่ออกหุ้นเสนอขายหุ้นให้ในช่วงเวลาเดียวกับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก แต่ไม่รวมถึงกรรมการหรือพนักงานที่จองซื้อหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะที่เป็นลูกค้าทั่วไป A = จํานวนหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ B = จํานวนหุ้นที่ได้แบ่งไว้เพื่อจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตามสัดส่วนในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น (ถ้ามี) ทั้งนี้ สัดส่วนหุ้นทั้งหมดที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้น จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือผู้มีอุปการคุณตามวรรคหนึ่ง ไม่ให้นับรวมหุ้นที่ได้จัดสรรให้แก่บุคคลดังนี้ (1) หุ้นที่ได้จัดสรรให้บุคคลดังกล่าวในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตามสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลนั้นที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทจดทะเบียน ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น ทั้งนี้ สัดส่วนหุ้นทั้งหมดที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้น (2) หุ้นที่ได้จัดสรรให้บุคคลดังกล่าวในฐานะที่เป็นลูกค้าของบริษัทที่ออกหุ้น ในกรณีบริษัทที่ออกหุ้นเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้หรือหน่วยลงทุน ข้อ ๒๒/๒ ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก หากมีผู้ถือหุ้นของบริษัทนําหุ้นมาเสนอขายในคราวเดียวกัน โดยจะมีการจัดสรรหุ้นให้ผู้มีอุปการคุณด้วย ให้นับรวมการจัดสรรหุ้นในกรณีดังกล่าวในการคํานวณตามข้อ 22(2) ด้วย บริษัทที่ออกหุ้นต้องดูแลให้ผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งดําเนินการในลักษณะที่ทําให้บริษัทที่ออกหุ้นยังปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่บริษัทที่ออกตราสารทุนไม่ได้มีการแบ่งแยกและเปิดเผยข้อมูลการจัดสรรตราสารทุนให้กับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ตามที่กําหนดในข้อ 22(1) บริษัทที่ออกตราสารทุนจะจัดสรรตราสารทุนให้บุคคลดังกล่าวได้ต่อเมื่อมีตราสารทุนคงเหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้อตราสารทุนรายอื่นทั้งหมดแล้วเท่านั้น ข้อ ๒๔ บริษัทที่ออกหุ้นจะจัดสรรหุ้นให้กับผู้มีอุปการคุณในการเสนอขายหุ้นต่อ[[1]](#_ftn1)ประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหุ้นต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อที่กําหนดโดยผู้บริหารสูงสุดของบริษัท (2) บัญชีรายชื่อตาม (1) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทในการกําหนดลักษณะความสัมพันธ์ที่เป็นการสร้างประโยชน์อย่างชัดเจนให้กับบริษัท ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการอนุมัติดังกล่าวต้องสะท้อนถึงลักษณะของบุคคลที่เป็นผู้มีอุปการคุณ ของบริษัทอย่างแท้จริง และต้องไม่มีลักษณะเป็นการจูงใจให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทอย่างไม่ถูกต้อง บริษัทที่ออกหุ้นต้องมีกระบวนการในการดูแลติดตามให้การจัดสรรหุ้นให้กับผู้มีอุปการคุณ เป็นไปตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๒๕ ในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําหุ้นเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และได้มีการแบ่งแยกหุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้น บริษัทที่ออกหุ้นต้องจัดทํารายชื่อผู้มีอุปการคุณที่ได้รับการจัดสรรที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปโดยใช้แบบ 35-IPO-1M ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานและเสนอรายงานตามแบบดังกล่าวต่อคณะกรรมการของบริษัทที่ออกหุ้นในการประชุมที่จะมีขึ้นในครั้งแรกหลังจากวันที่บริษัทได้รายงานผลการขายหุ้นดังกล่าวต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หมวด ๕ อื่น ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้การอ้างอิงประกาศดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุนหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,468
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้น และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ของบริษัทที่ออกตราสารทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2553 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 44/2553 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 18/2554 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 25 กรกฏาคม พ.ศ. 2554 (5) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 21/2554 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (6) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 39/2554 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 (7) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 23/2555 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 (8) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 16/2556 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 8) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556 (9) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 54/2556 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ข้อ ๓ ในประกาศนี้ คําว่า “แบบแสดงรายการข้อมูล” “บริษัทใหญ่” “บริษัทย่อย” “บริษัทจดทะเบียน” “ผู้บริหาร” “ผู้มีอํานาจควบคุม” และ “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวในประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดบทนิยามในประกาศเกี่ยวกับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ “ตราสารทุน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น “หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า หนังสือชี้ชวนที่มีข้อความตรงกับร่างหนังสือชี้ชวนที่ได้ยื่นไว้ต่อสํานักงาน “บุคคลที่มีความสัมพันธ์” หมายความว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้กับบริษัทที่ออกตราสารทุน (1) กรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง (2) กองทุนส่วนบุคคลของบุคคลตาม (1) “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้กับกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอํานาจควบคุมของบริษัทที่ออกตราสารทุน (1) คู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว (2) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของบุคคลดังกล่าว ซึ่งหมายถึง (ก) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบุคคลดังกล่าวเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าว (ข) บุคคลธรรมดาหรือบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทตาม (ก) เกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น หรือบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นในบริษัทในทอดใดเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น การถือหุ้นของบุคคลธรรมดาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมหุ้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลธรรมดานั้นด้วย (3) บริษัทที่มีบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึง (ก) บริษัทที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลตาม (1) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่บริษัทตาม (ก) ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทนั้น (ค) บริษัทที่ถูกถือหุ้นต่อไปเป็นทอด ๆ โดยเริ่มจากบริษัทตาม (ข) ในบริษัทที่ถูกถือหุ้น โดยการถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวในแต่ละทอดมีจํานวนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทที่ถูกถือหุ้นนั้น “ผู้มีอุปการคุณ” หมายความว่า บุคคลที่ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือเกื้อกูลกับบริษัทที่ออกตราสารทุน เช่น ลูกค้า ผู้จําหน่ายวัตถุดิบ พนักงานของบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อย หรือกิจการที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจ เป็นต้น “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๑ บททั่วไป \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบริษัทที่ออกตราสารทุนซึ่งยื่นคําขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (public offering) และมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสํานักงาน แต่ไม่รวมถึงบริษัทที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท และจะเสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทอื่นไปพร้อมกับการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหลักทรัพย์นั้น (securities swap) ข้อ ๕ ในการจําหน่ายตราสารทุน บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องปฎิบัติตามที่กําหนดในหมวดนี้ และหมวดดังต่อไปนี้ด้วย (1) การจัดจําหน่ายตราสารทุน ให้เป็นไปตามหมวด 2 (2) การจองซื้อตราสารทุน ให้เป็นไปตามหมวด 3 (3) การจัดสรรตราสารทุน ให้เป็นไปตามหมวด 4 ข้อ ๖ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจําหน่ายตราสารทุนที่เสนอขายไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน ข้อ ๗ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องไม่กําหนดค่าตอบแทนแก่บริษัทหลักทรัพย์ตามข้อ 9 ในลักษณะที่เป็นการจูงใจหรือสนับสนุนให้บริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวจําหน่ายตราสารทุนของตนโดยไม่คํานึงถึงความเหมาะสมในการลงทุนของผู้ลงทุน ข้อ ๘ ในขั้นตอนการสํารวจความต้องการซื้อหุ้น (book building) ของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering) บริษัทที่ออกหุ้นต้องดําเนินการให้มั่นใจได้ว่าขั้นตอนดังกล่าวจะไม่มีการนําความต้องการซื้อหุ้นและราคาที่จะเสนอซื้อหุ้นของบุคคลที่มีความสัมพันธ์มาพิจารณากําหนดราคาเสนอขายหุ้นของบริษัท หมวด ๒ การจัดจําหน่ายตราสารทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือเสนอขายตราสารทุนดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เว้นแต่ (1) เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น และบริษัทที่ออกตราสารทุนมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อยู่แล้ว โดยบริษัทดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม แต่ไม่รวมถึงข้อห้ามในการจัดสรรหลักทรัพย์ (2) เป็นการเสนอขายตราสารทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไป โดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อตราสารทุนได้ต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่านั้น และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วการถือหุ้น (preferential public offering) ข้อ ๑๐ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องจัดให้มีข้อตกลงเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ดําเนินการเกี่ยวกับการจําหน่ายตราสารทุนในลักษณะที่ทําให้บริษัทที่ออกตราสารทุนยังคงปฏิบัติเป็นไปตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๑ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องไม่จําหน่ายหรือยินยอมให้มีการจําหน่ายตราสารทุนของตนพร้อมกับหลักทรัพย์ที่ออกโดยบุคคลอื่น เว้นแต่จะได้ระบุความประสงค์หรือความยินยอมดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนในหนังสือชี้ชวน หมวด ๓ การจองซื้อตราสารทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องกําหนดวิธีการจองซื้อด้วยวิธีการยื่นใบจองซื้อไม่ว่าในรูปแบบเอกสารหรือผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการจองซื้อขั้นต่ําในการจองซื้อตราสารทุน ข้อ ๑๓ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องจัดให้มีใบจองซื้อในรูปเอกสารเตรียมพร้อมไว้อย่างเพียงพอเพื่อจัดส่งหรือแจกจ่ายให้ผู้ลงทุนตามที่ร้องขอได้ ข้อ ๑๔ ใบจองซื้อตราสารทุนต้องมีรายการของข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ที่อยู่ เลขที่บัตรประจําตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทาง เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร (ถ้ามี) ของผู้จองซื้อ และจํานวนที่จองซื้อ (2) ข้อความที่ให้ผู้จองซื้อแสดงว่าผู้จองซื้อได้รับหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) และระบุรูปแบบของหนังสือชี้ชวนที่ได้รับ หรือข้อความที่ผู้จองซื้อไม่ประสงค์จะรับหนังสือชี้ชวน (3) ข้อความเตือนให้ผู้จองซื้อทราบว่าการลงทุนในตราสารทุนมีความเสี่ยง และก่อนตัดสินใจจองซื้อตราสารทุน ผู้จองซื้อควรอ่านหนังสือชี้ชวนหรือข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) อย่างรอบคอบด้วย ข้อ ๑๕ การจองซื้อตราสารทุนด้วยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากการยื่นใบจองซื้อ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ก่อนรับการจองซื้อ (1) จัดให้ผู้จองซื้อให้ข้อมูลซึ่งมีรายละเอียดตามข้อ 14(1) (2) มีคําเตือนในลักษณะเดียวกับที่กําหนดตามข้อ 14(3) (3) มีวิธีการที่ทําให้มั่นใจว่าผู้จองซื้อได้รับข้อมูลตามข้อ 16 แล้ว ข้อ ๑๖ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องจัดให้มีช่องทางในการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนไม่ว่าในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์หรือในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม เว้นแต่ผู้ลงทุนแสดงเจตนาโดยสมัครใจที่จะไม่รับหนังสือชี้ชวน ในกรณีที่เป็นการจําหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ หากผู้ลงทุนไม่ประสงค์จะรับหนังสือชี้ชวน บริษัทที่ออกหุ้นต้องแจกจ่ายหรือจัดส่งไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) ที่ปรากฏในแบบแสดงรายการข้อมูล ก่อนที่ผู้ลงทุนนั้นจะทําการจองซื้อหุ้น ข้อ ๑๗ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องไม่นําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อตราสารทุนในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่คาดว่าจะได้รับจากการเสนอขายตราสารทุนทั้งหมดไปใช้ภในกิจการใด ๆ และต้องส่งคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้จองซื้อที่ไม่ได้รับการจัดสรรภายในสิบสี่วันนับแต่วันปิดการเสนอขาย ข้อ ๑๘ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระบุในหนังสือชี้ชวนในการให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนที่จะยกเลิกการจองซื้อตราสารทุนภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามที่กําหนดเมื่อมีเหตุที่ทําให้บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระงับหรือหยุดการเสนอขายตราสารทุนหรือไม่สามารถส่งมอบตราสารทุนที่เสนอขายได้ โดยบริษัทที่ออกตราสารทุนจะคืนเงินค่าจองซื้อตราสารทุนให้แก่ผู้ลงทุนที่ยกเลิกการจองซื้อตราสารทุนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลายกเลิกการจองซื้อตราสารทุน ข้อ ๑๙ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระบุในหนังสือชี้ชวนว่า ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถส่งคืนเงินให้แก่ผู้จองซื้อตราสารทุนตามระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 17 หรือข้อ 18 ได้ แล้วแต่กรณี ผู้จองซื้อมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราไม่ต่ํากว่าร้อยละเจ็ดจุดห้าต่อปีนับแต่วันที่พ้นกําหนดเวลาส่งคืนเงินค่าจองซื้อตราสารทุน หมวด ๔ การจัดสรรตราสารทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๐ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องแบ่งแยกตราสารทุนที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยข้อมูลการจัดสรรตราสารทุนดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน รวมทั้งบริษัทที่ออกตราสารทุนต้องดําเนินการให้เป็นไปตามที่กําหนดในหมวดนี้ ข้อ ๒๑ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องไม่จัดสรรหุ้นให้แก่บริษัทย่อย ข้อ ๒๒ ในกรณีที่บริษัทที่ออกตราสารทุนประสงค์จะจัดสรรตราสารทุนให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แบ่งแยกตราสารทุนที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ออกจากตราสารทุนที่จะจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยประเภทบุคคลดังกล่าวรวมถึงจํานวนที่จะจัดสรรไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก บริษัทที่ออกหุ้นจะจัดสรรหุ้นให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ได้ไม่เกินจํานวนหุ้นที่ได้กําหนดไว้ตามวิธีการคํานวณดังนี้ จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ตามวรรคหนึ่งไม่ให้นับรวมหุ้นที่ได้จัดสรรให้บุคคลดังกล่าวในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทจดทะเบียนตามสัดส่วนการถือหุ้น ในกรณีบริษัทที่ออกหุ้นเป็นบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียน ในการนับจํานวนหุ้นที่จะจัดสรรให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมจํานวนหุ้นที่จะจัดสรรให้กับบริษัทประกันซึ่งมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอํานาจควบคุม บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ของผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ด้วย (3) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียน บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระบุข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายตราสารทุน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลดังนี้ (ก) รายชื่อบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่จะได้รับการจัดสรรตราสารทุน (ข) จํานวนตราสารทุนที่จะจัดสรรให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์แต่ละราย (ค) เหตุผลและความจําเป็นที่จัดสรรให้กับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่บริษัทที่ออกตราสารทุนไม่ได้มีการแบ่งแยกและเปิดเผยข้อมูลการจัดสรรตราสารทุนให้กับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ตามที่กําหนดในข้อ 22(1) บริษัทที่ออกตราสารทุนจะจัดสรรตราสารทุนให้บุคคลดังกล่าวได้ต่อเมื่อมีตราสารทุนคงเหลือจากการจองซื้อของผู้จองซื้อตราสารทุนรายอื่นทั้งหมดแล้วเท่านั้น ข้อ ๒๔ ข้อกําหนดในการจัดสรรตราสารทุนให้กับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ตามข้อ 22 ไม่ให้ใช้กับการจัดสรรตราสารทุนในลักษณะที่เป็นการเสนอขายตราสารทุนต่อประชาชนเป็นการทั่วไป โดยกําหนดเงื่อนไขให้ผู้ที่จะซื้อตราสารทุนได้ต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่านั้น และจํานวนการจองซื้อไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้น (preferential public offering) ข้อ ๒๕ ในการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําหุ้นเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และได้มีการแบ่งแยกหุ้นบางส่วนไว้เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณของบริษัทที่ออกหุ้น บริษัทที่ออกหุ้นต้องจัดทํารายชื่อผู้มีอุปการคุณที่ได้รับการจัดสรรที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไปโดยใช้แบบ 35-IPO-1M ที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานและเสนอรายงานตามแบบดังกล่าวต่อคณะกรรมการของบริษัทที่ออกหุ้นในการประชุมที่จะมีขึ้นในครั้งแรกหลังจากวันที่บริษัทได้รายงานผลการขายหุ้นดังกล่าวต่อสํานักงานตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรายงานผลการขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หมวด ๕ อื่น ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนที่ ทจ. 29/2551 เรื่อง การจอง การจัดจําหน่าย และการจัดสรรหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ให้การอ้างอิงประกาศดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุนหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,469
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2558 เรื่อง การจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 15/2558 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้น และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (2) และ (3) ของข้อ 14 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ข้อความที่ให้ผู้จองซื้อแสดงว่าผู้จองซื้อได้รับหนังสือชี้ชวน หรือข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) (ถ้ามี) และระบุรูปแบบของหนังสือชี้ชวนที่ได้รับ หรือข้อความที่ผู้จองซื้อไม่ประสงค์จะรับหนังสือชี้ชวน (3) ข้อความเตือนให้ผู้จองซื้อทราบว่าการลงทุนในตราสารทุนมีความเสี่ยง และก่อนตัดสินใจจองซื้อตราสารทุน ผู้จองซื้อควรอ่านหนังสือชี้ชวน หรือข้อมูลที่มีสาระตรงตามข้อมูลสรุป (executive summary) (ถ้ามี) อย่างรอบคอบด้วย” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “ความในวรรคสองมิให้นํามาใช้บังคับกับการจําหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทต่างประเทศที่มีหรือจะมีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่บริษัทต่างประเทศดังกล่าวมีตลาดหลักสําหรับการซื้อขายหุ้นเป็นตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ปประกาศ ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558 (นายวรพล โสคติยานุรักษ์) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,470
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2559 เรื่อง การจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 3)
-ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2559 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้น และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของ (2) ในข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,471
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 41/2559 เรื่อง การจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 41/2559 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้น และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 9 บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องจัดให้การชักชวน แนะนํา หรือเสนอขายตราสารทุนดําเนินการผ่านบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ เว้นแต่เป็นการเสนอขายใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น และบริษัทที่ออกตราสารทุนดังกล่าวมีสถานะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์อยู่แล้ว ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ด้วย โดยอนุโลม แต่ไม่รวมถึงข้อห้ามในการจัดสรรหลักทรัพย์” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,472
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 11/2560 เรื่อง การจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 11/2560 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้น และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 17 และข้อ 18 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 17 บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องไม่นําเงินที่ได้รับเป็นค่าจองซื้อตราสารทุนในส่วนที่เกินกว่าจํานวนที่คาดว่าจะได้รับจากการเสนอขายตราสารทุนทั้งหมดไปใช้ในกิจการใด ๆ และต้องส่งคืนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้จองซื้อที่ไม่ได้รับการจัดสรรตามระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด ข้อ 18 บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระบุในหนังสือชี้ชวนในการให้สิทธิแก่ผู้ลงทุนที่จะยกเลิกการจองซื้อตราสารทุนภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามที่กําหนดเมื่อมีเหตุที่ทําให้บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระงับหรือหยุดการเสนอขายตราสารทุนหรือไม่สามารถส่งมอบตราสารทุนที่เสนอขายได้ โดยบริษัทที่ออกตราสารทุนจะคืนเงินค่าจองซื้อตราสารทุนให้แก่ผู้ลงทุนที่ยกเลิกการจองซื้อตราสารทุนตามระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าวที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกําหนด” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก บริษัทที่ออกหุ้นจะจัดสรรหุ้นให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ได้ไม่เกินจํานวนหุ้นที่ได้กําหนดไว้ตามวิธีการคํานวณดังนี้ จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ได้ 25% ของ ( A – B ) A = จํานวนหุ้นที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายในครั้งนี้ B = จํานวนหุ้นที่ได้แบ่งไว้เพื่อจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตามสัดส่วน ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น (ถ้ามี) ทั้งนี้ สัดส่วนหุ้นทั้งหมดที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้น จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ตามวรรคหนึ่งไม่ให้นับรวมหุ้นที่จัดสรรให้บุคคลดังกล่าวในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตามสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลนั้นที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทจดทะเบียน ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น ทั้งนี้ สัดส่วนหุ้นทั้งหมดที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้น” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,473
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 42/2560 เรื่อง การจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 6)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 42/2560 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้น และใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 6) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 89/27 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “ผู้มีอุปการคุณ” ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““ผู้มีอุปการคุณ” หมายความว่า บุคคลที่มีลักษณะของการอุปการคุณที่สร้างประโยชน์อย่างชัดเจนให้กับบริษัทที่ออกตราสารทุน เช่น ลูกค้า ผู้จําหน่ายวัตถุดิบ เป็นต้น” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 11/2560 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 22 ในกรณีที่บริษัทที่ออกตราสารทุนประสงค์จะจัดสรรตราสารทุนให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือผู้มีอุปการคุณ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) แบ่งแยกตราสารทุนที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือผู้มีอุปการคุณออกจากตราสารทุนที่จะจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไปไว้อย่างชัดเจน และเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน (ก) ประเภทบุคคลที่มีความสัมพันธ์ รวมถึงจํานวนที่จะจัดสรรให้บุคคลดังกล่าว (ข) กลุ่มบุคคลที่จะได้รับจัดสรรเนื่องจากเป็นผู้มีอุปการคุณ ลักษณะความสัมพันธ์ ที่เป็นการสร้างประโยชน์อย่างต่อเนื่องหรือชัดเจนให้กับบริษัทที่ออกตราสารทุนโดยกลุ่มบุคคลดังกล่าว และจํานวนที่บุคคลดังกล่าวจะได้รับการจัดสรรให้ (2) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก บริษัทที่ออกหุ้นจะจัดสรรหุ้นให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์และผู้มีอุปการคุณรวมกันได้ไม่เกินจํานวนหุ้น ตามที่กําหนดในข้อ 22/1 (3) ในกรณีที่จะจัดสรรหุ้นที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกให้แก่ผู้มีอุปการคุณ บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อ 24 ด้วย (4) ในกรณีที่เป็นการเสนอขายตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียน บริษัทที่ออกตราสารทุนต้องระบุข้อมูลในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการออกและเสนอขายตราสารทุน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อมูลดังนี้ (ก) รายชื่อบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่จะได้รับการจัดสรรตราสารทุน (ข) จํานวนตราสารทุนที่จะจัดสรรให้บุคคลที่มีความสัมพันธ์แต่ละราย (ค) เหตุผลและความจําเป็นที่จัดสรรให้กับบุคคลที่มีความสัมพันธ์” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 22/1 และข้อ 22/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 “ข้อ 22/1 ในการคํานวณหุ้นที่จะจัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์และผู้มีอุปการคุณ ให้ใช้วิธีการคํานวณดังนี้ RP + Sup + Em 25% ของ ( A – B ) โดย Sup 15% ของ ( A – B ) RP = จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์ Sup = จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณ Em = จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่กรรมการหรือพนักงานที่บริษัทที่ออกหุ้นเสนอขายหุ้นให้ ในช่วงเวลาเดียวกับการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก แต่ไม่รวมถึงกรรมการหรือพนักงานที่จองซื้อหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ในฐานะ ที่เป็นลูกค้าทั่วไป A = จํานวนหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ B = จํานวนหุ้นที่ได้แบ่งไว้เพื่อจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตามสัดส่วน ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น (ถ้ามี) ทั้งนี้ สัดส่วนหุ้นทั้งหมดที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนต้องไม่เกินกว่า สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้น จํานวนหุ้นที่จัดสรรให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์หรือผู้มีอุปการคุณตามวรรคหนึ่ง ไม่ให้นับรวมหุ้นที่ได้จัดสรรให้แก่บุคคลดังนี้ (1) หุ้นที่ได้จัดสรรให้บุคคลดังกล่าวในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตามสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลนั้นที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทจดทะเบียน ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้น ทั้งนี้ สัดส่วนหุ้นทั้งหมดที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนต้องไม่เกินกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ถือหุ้นในบริษัทที่ออกหุ้น (2) หุ้นที่ได้จัดสรรให้บุคคลดังกล่าวในฐานะที่เป็นลูกค้าของบริษัทที่ออกหุ้น ในกรณีบริษัทที่ออกหุ้นเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่จํากัดเฉพาะหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้หรือหน่วยลงทุน ข้อ 22/2 ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรก หากมีผู้ถือหุ้นของบริษัทนําหุ้นมาเสนอขายในคราวเดียวกัน โดยจะมีการจัดสรรหุ้นให้ผู้มีอุปการคุณด้วย ให้นับรวมการจัดสรรหุ้นในกรณีดังกล่าวในการคํานวณตามข้อ 22(2) ด้วย บริษัทที่ออกหุ้นต้องดูแลให้ผู้ถือหุ้นตามวรรคหนึ่งดําเนินการในลักษณะที่ทําให้บริษัทที่ออกหุ้นยังปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นที่กําหนดในหมวดนี้” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 24 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ซึ่งถูกยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 41/2559 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 “ข้อ 24 บริษัทที่ออกหุ้นจะจัดสรรหุ้นให้กับผู้มีอุปการคุณในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) บุคคลที่ได้รับการจัดสรรหุ้นต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อที่กําหนดโดยผู้บริหารสูงสุดของบริษัท (2) บัญชีรายชื่อตาม (1) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทในการกําหนดลักษณะความสัมพันธ์ที่เป็นการสร้างประโยชน์อย่างชัดเจนให้กับบริษัท ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการอนุมัติดังกล่าวต้องสะท้อนถึงลักษณะของบุคคลที่เป็นผู้มีอุปการคุณ ของบริษัทอย่างแท้จริง และต้องไม่มีลักษณะเป็นการจูงใจให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทอย่างไม่ถูกต้อง บริษัทที่ออกหุ้นต้องมีกระบวนการในการดูแลติดตามให้การจัดสรรหุ้นให้กับผู้มีอุปการคุณ เป็นไปตามวรรคหนึ่งด้วย” ข้อ ๕ ให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสํานักงานให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปซึ่งได้ยื่นคําขออนุญาตต่อสํานักงานก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ อยู่ภายใต้บังคับของข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดสรรตราสารทุนให้แก่บุคคลที่มีความสัมพันธ์และผู้มีอุปการคุณตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 40/2557 เรื่อง การจําหน่ายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ประเภทหุ้นและใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทที่ออกตราสารทุน ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1,474
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 2/2560 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้คำแนะนำที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 2/2560 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็น การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 11/2547 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 45/2549 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 29/2552 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 14/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “การให้คําแนะนํา” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่บุคคลอื่นเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (2) ธนาคารพาณิชย์ (3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง (4) บริษัทหลักทรัพย์ (5) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (6) บริษัทประกันชีวิต (8) กองทุนรวม (9) กองทุนส่วนบุคคล (10) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) กองทุนประกันสังคม (13) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (14) นิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ตามงบการเงินตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท (15) บุคคลอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สามารถนําเงินไปลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศหลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ข้อ ๓ การให้คําแนะนําในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (1) การให้คําแนะนําในประเทศไทยหรือจากประเทศไทยแก่ผู้ลงทุนไม่เกิน 15 ราย ในรอบระยะเวลา 12 เดือนใด ๆ โดยมิได้กระทําการใด ๆ อันเป็นการแสดงตนว่าจะให้บริการการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การให้คําแนะนําจากประเทศไทยแก่ผู้ลงทุนที่อยู่ต่างประเทศ โดยมีการแสดงตนว่าเป็นการให้บริการการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในนามของบุคคลที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น (3) การให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนในประเทศไทยของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ โดยมีลักษณะดังนี้ (ก) ในกรณีที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ต้องมีการให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น (ข) ในกรณีที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบัน ต้องมีลักษณะดังนี้ 1. ต้องเป็นการให้คําแนะนําโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังนี้ 1.1 หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (“IOSCO”) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (“MMOU”) (“IOSCO MMOU”) 1.2 หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศ Organization for Economic Co-operation and Development (“OECD”) 1.3 หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) (“AEC”) 2. ต้องเป็นการให้คําแนะนําผ่านผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวได้แจ้งชื่อบุคลากรจากต่างประเทศที่จะเข้ามาให้คําแนะนํานั้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว ตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ประกาศหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศหลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือประกาศการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณี (4) การให้คําแนะนําทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นใด ที่มีลักษณะดังนี้ครบถ้วน (ก) ให้คําแนะนําโดยมิได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงินหรือความต้องการของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (ข) เผยแพร่คําแนะนําในวงกว้างเป็นการทั่วไป โดยบุคคลที่ต้องการข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายและไม่จําเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก และ (ค) ไม่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้คําแนะนําแก่บุคคลอื่นเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาจากปริมาณของเนื้อหาการให้คําแนะนํา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (5) การให้คําแนะนําผ่านสื่อหรือผ่านการจัดสัมมนา ที่เจ้าของสื่อ เจ้าของรายการ เจ้าของคอลัมน์ เจ้าของที่อยู่เว็บ หรือผู้จัดสัมมนา มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีลักษณะดังนี้ (ก) ในกรณีที่ให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบัน โดยผู้ให้คําแนะนําเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ ต้องมีการให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น (ข) ในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนําในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ต้องจัดให้มีบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือบุคลากรจากต่างประเทศที่ได้รับการแจ้งชื่อตาม (3)(ข) แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่ในการให้คําแนะนําภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,475
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 9/2560 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้คำแนะนำที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 9/2560 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็น การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 2/2560 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 การให้คําแนะนําในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (1) การให้คําแนะนําในประเทศไทยหรือจากประเทศไทยแก่ผู้ลงทุนไม่เกิน 15 ราย ในรอบระยะเวลา 12 เดือนใด ๆ โดยมิได้กระทําการใด ๆ อันเป็นการแสดงตนว่าจะให้บริการการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การให้คําแนะนําจากประเทศไทยแก่ผู้ลงทุนที่อยู่ต่างประเทศ โดยมีการแสดงตนว่าเป็นการให้บริการการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในนามของบุคคลที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น (3) การให้คําแนะนําเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น (4) การให้คําแนะนําแก่กลุ่มบริษัทในเครือซึ่งมีความสัมพันธ์กับบริษัทที่เป็นผู้ให้คําแนะนําในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทที่เป็นผู้ให้คําแนะนํา โดยมีโครงสร้างการถือหุ้นระหว่างกันไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทที่เป็นผู้ให้คําแนะนําด้วยการมีอํานาจควบคุมระหว่างกัน (ค) บริษัทที่มีผู้มีอํานาจควบคุมกิจการเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีอํานาจควบคุมกิจการของบริษัทที่เป็นผู้ให้คําแนะนํา ให้คําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” ตามวรรคหนึ่ง (ค) มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามคําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” ที่กําหนดในมาตรา 89/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (5) การให้คําแนะนําทั่วไป (general advice) แก่ผู้ลงทุนโดยนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศเพื่อให้คําแนะนําทั่วไปแก่ผู้ลงทุน ให้คําว่า “การให้คําแนะนําทั่วไป” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การให้คําแนะนําซึ่งไม่มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ (6) การให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ (ก) ต้องเป็นการให้คําแนะนําโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังนี้ 1. หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (“IOSCO”) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (“MMOU”) (“IOSCO MMOU”) 2. หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศ Organization for Economic Co-operation and Development (“OECD”) 3. หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) (“AEC”) (ข) ต้องเป็นการให้คําแนะนําผ่านผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวได้แจ้งชื่อบุคลากรจากต่างประเทศที่จะเข้ามาให้คําแนะนํานั้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว ตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ประกาศหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศหลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือประกาศการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณี (7) การให้คําแนะนําทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นใด ที่มีลักษณะดังนี้ครบถ้วน (ก) ให้คําแนะนําโดยมิได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงินหรือความต้องการของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (ข) เผยแพร่คําแนะนําในวงกว้างเป็นการทั่วไป โดยบุคคลที่ต้องการข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายและไม่จําเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก และ (ค) ไม่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้คําแนะนําแก่บุคคลอื่นเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาจากปริมาณของเนื้อหาการให้คําแนะนํา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (8) การให้คําแนะนําผ่านสื่อหรือผ่านการจัดสัมมนา ที่เจ้าของสื่อ เจ้าของรายการ เจ้าของคอลัมน์ เจ้าของที่อยู่เว็บ หรือผู้จัดสัมมนา มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีลักษณะดังนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ต้องให้คําแนะนําเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น (ข) ในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนําในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ต้องจัดให้มีบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือบุคลากรจากต่างประเทศที่ได้รับการแจ้งชื่อตาม (6) แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่ในการให้คําแนะนําภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,476
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 2/2560 เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้คำแนะนำที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 2/2560 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็น การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับประมวล) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 11/2547เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2547 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 45/2549 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 (3) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 29/2552 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (4) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กข. 14/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ข้อ 2 ในประกาศนี้ “การให้คําแนะนํา” หมายความว่า การให้คําแนะนําหรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะให้คําแนะนําไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่บุคคลอื่นเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ลงทุนสถาบัน” หมายความว่า (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (2) ธนาคารพาณิชย์ (3) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง (4) บริษัทหลักทรัพย์ (5) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (6) บริษัทประกันชีวิต (7) บริษัทประกันวินาศภัย (8) กองทุนรวม (9) กองทุนส่วนบุคคล (10) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (11) กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (12) กองทุนประกันสังคม (13) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (14) นิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ตามงบการเงินตั้งแต่5,000 ล้านบาท (15) บุคคลอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกําหนดให้สามารถนําเงินไปลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ตามที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนด “ประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยมาตรฐานการประกอบธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน ระบบงาน และการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศหลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสําหรับผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ประกาศการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ” หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการให้บริการแก่ลูกค้าในการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ข้อ 3( การให้คําแนะนําในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (1) การให้คําแนะนําในประเทศไทยหรือจากประเทศไทยแก่ผู้ลงทุนไม่เกิน 15 รายในรอบระยะเวลา 12 เดือนใด ๆ โดยมิได้กระทําการใด ๆ อันเป็นการแสดงตนว่าจะให้บริการการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การให้คําแนะนําจากประเทศไทยแก่ผู้ลงทุนที่อยู่ต่างประเทศ โดยมีการแสดงตนว่าเป็นการให้บริการการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในนามของบุคคลที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายของประเทศนั้น (3) การให้คําแนะนําเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น (4) การให้คําแนะนําแก่กลุ่มบริษัทในเครือซึ่งมีความสัมพันธ์กับบริษัทที่เป็นผู้ให้คําแนะนําในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทที่เป็นผู้ให้คําแนะนํา โดยมีโครงสร้างการถือหุ้นระหว่างกันไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น (ข) บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทที่เป็นผู้ให้คําแนะนําด้วยการมีอํานาจควบคุมระหว่างกัน (ค) บริษัทที่มีผู้มีอํานาจควบคุมกิจการเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีอํานาจควบคุมกิจการของบริษัทที่เป็นผู้ให้คําแนะนํา ให้คําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” ตามวรรคหนึ่ง (ค) มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามคําว่า “อํานาจควบคุมกิจการ” ที่กําหนดในมาตรา 89/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (5) การให้คําแนะนําทั่วไป (general advice) แก่ผู้ลงทุนโดยนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศเพื่อให้คําแนะนําทั่วไปแก่ผู้ลงทุน ให้คําว่า “การให้คําแนะนําทั่วไป” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการให้คําแนะนําซึ่งไม่มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุนฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ (6) การให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ (ก) ต้องเป็นการให้คําแนะนําโดยผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากหน่วยงานกํากับดูแลด้านสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในต่างประเทศหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังนี้ 1. หน่วยงานกํากับดูแลที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (“IOSCO”) โดยหน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นพหุภาคีประเภท Signatory Aใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation andthe Exchange of Information (“MMOU”) (“IOSCO MMOU”) 2. หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศ Organizationfor Economic Co-operation and Development (“OECD”) 3. หน่วยงานกํากับดูแลของประเทศที่อยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) (“AEC”) (ข)( ต้องเป็นการให้คําแนะนําผ่านผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวได้แจ้งชื่อผู้ที่จะให้คําแนะนํานั้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว ตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ประกาศหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศหลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือประกาศการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณี (7) การให้คําแนะนําทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นใด ที่มีลักษณะดังนี้ครบถ้วน (ก) ให้คําแนะนําโดยมิได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงินหรือความต้องการของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ (ข) เผยแพร่คําแนะนําในวงกว้างเป็นการทั่วไป โดยบุคคลที่ต้องการข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายและไม่จําเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิก และ (ค) ไม่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้คําแนะนําแก่บุคคลอื่นเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือความเหมาะสมในการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาจากปริมาณของเนื้อหาการให้คําแนะนํา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. ประกาศกําหนด (8) การให้คําแนะนําผ่านสื่อหรือผ่านการจัดสัมมนา ที่เจ้าของสื่อ เจ้าของรายการ เจ้าของคอลัมน์ เจ้าของที่อยู่เว็บ หรือผู้จัดสัมมนา มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีลักษณะดังนี้ (ก) ในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนําแก่ผู้ลงทุนสถาบัน ต้องให้คําแนะนําเฉพาะแก่ผู้ลงทุนสถาบันเท่านั้น (ข) ในกรณีที่เป็นการให้คําแนะนําในกรณีอื่นนอกเหนือจาก (ก) ต้องจัดให้มีบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน หรือบุคลากรจากต่างประเทศที่ได้รับการแจ้งชื่อตาม (6) แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทําหน้าที่ในการให้คําแนะนําภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,477
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๑/๒๕๖๖ เรื่อง การกำหนดลักษณะการให้คำแนะนำที่ไม่ถือเป็น การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ๓)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒๑/๒๕๖๖ เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็น การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภท การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ๓) โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมการกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓ และมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (ข) ของ (๖) ในข้อ ๓ แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๒/๒๕๖๐ เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็น การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. ๙/๒๕๖๐ เรื่อง การกําหนดลักษณะการให้คําแนะนําที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(ข) ต้องเป็นการให้คําแนะนําผ่านผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวได้แจ้งชื่อผู้ที่จะให้คําแนะนํานั้นต่อสํานักงาน ก.ล.ต. แล้ว ตามประกาศมาตรฐานการประกอบธุรกิจ ประกาศหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศหลักเกณฑ์การจัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือประกาศการลงทุนในผลิตภัณฑ์ ในตลาดทุนที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ แล้วแต่กรณี” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นายพิชิต อัคราทิตย์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,478
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของ กรรมการและผู้บริหารของบริษัท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 89/3 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ (1) คําว่า “บริษัท” “บริษัทย่อย” และ “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ตามหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (2) “สถาบันการเงิน” หมายความว่า กิจการที่ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (ข) ธุรกิจหลักทรัพย์ (ค) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ง) ธุรกิจประกันภัย (จ) ธุรกิจสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (3) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการที่สํานักงานแต่งตั้งขึ้นเพื่อให้ความเห็นต่อสํานักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ (4) “ลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ” หมายความว่า ลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ข้อ ๒ ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับกรรมการและผู้บริหารของบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวด ๑ ลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทต้องไม่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ ดังต่อไปนี้ (1) มีความบกพร่องในด้านความสามารถตามกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลตลาดทุน ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4 เป็นลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1 (2) มีประวัติการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 5 เป็นลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 2 (3) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น บริษัท หรือตลาดทุนโดยรวม ในเรื่องที่มีนัยสําคัญ ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 6 เป็นลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 3 ข้อ ๔ ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1 (1) เป็นบุคคลล้มละลาย หรือ (2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ (3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยสํานักงาน หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดี อันเนื่องจากกรณีที่สํานักงานกล่าวโทษ หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี ทั้งนี้ เฉพาะในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามที่ระบุในบัญชีท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้กรณีดังต่อไปนี้เป็นลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 2 (1) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษโดยหน่วยงานที่กํากับดูแลสถาบันการเงินไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ หรืออยู่ระหว่างถูกดําเนินคดีอันเนื่องจากกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวกล่าวโทษ หรืออยู่ระหว่างถูกหน่วยงานดังกล่าว ห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของสถาบันการเงิน หรือเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี ทั้งนี้ เฉพาะในมูลเหตุเนื่องจากการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน และทําให้เกิดความเสียหายไม่ว่าจะต่อสถาบันการเงินที่บุคคลนั้นเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร หรือต่อลูกค้า หรือ (2) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึงสามปี ทั้งนี้ ในความผิดอาญาแผ่นดินเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือ (3) เป็นผู้ที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกัน และยังไม่พ้นสามปีนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ข้อ ๖ ให้กรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีพฤติกรรมดังต่อไปนี้เป็นลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 3 (1) มีพฤติกรรมกระทําการ หรือละเว้นกระทําการโดยไม่สุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการทําธุรกรรมของบริษัทหรือบริษัทย่อย และเป็นเหตุให้บริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย หรือเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์โดยมิชอบ หรือ (2) มีพฤติกรรมในการเปิดเผย หรือเผยแพร่ข้อมูล หรือข้อความเกี่ยวกับบริษัท หรือบริษัทย่อยอันเป็นเท็จที่อาจทําให้สําคัญผิด หรือโดยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งในสาระสําคัญซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะโดยการสั่งการ การมีส่วนรับผิดชอบ หรือมีส่วนร่วมในการจัดทํา เปิดเผย หรือเผยแพร่ข้อมูลหรือข้อความนั้น หรือโดยการกระทําหรือละเว้นการกระทําอื่นใด ทั้งนี้ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าโดยตําแหน่ง ฐานะ หรือหน้าที่ของตน ไม่อาจล่วงรู้ถึงความเป็นเท็จของข้อมูลหรือข้อความดังกล่าว หรือการขาดข้อเท็จจริงที่ควรต้องแจ้งนั้น หรือ (3) มีพฤติกรรมที่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทําดังกล่าว ให้การทําธุรกรรมดังต่อไปนี้ของบริษัทหรือบริษัทย่อย ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการ การอนุมัติ การสนับสนุน การได้รับประโยชน์ หรือการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสําคัญในลักษณะอื่นใดเข้าลักษณะการมีพฤติกรรมไม่สุจริตตามวรรคหนึ่ง (1) เว้นแต่จะพิสูจน์ได้เป็นประการอื่น (1) ธุรกรรมที่มิได้กระทําในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนผู้ประกอบธุรกิจจะพึงกระทํากับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน และไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบริษัทหรือบริษัทย่อยเป็นสําคัญ หรือมีลักษณะไปในทางเอื้อประโยชน์แก่ตนหรือบุคคลอื่น (2) ธุรกรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการทํารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือการทํารายการที่มีนัยสําคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ข้อ ๗ การมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการหรือผู้บริหารตามข้อ 4 ข้อ 5 และข้อ 6 ให้มีผลตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) ลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1 ให้มีผลเมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาในเรื่องที่กําหนด หรือเมื่อสํานักงานได้มีหนังสือกล่าวโทษบุคคลนั้นต่อพนักงานสอบสวน แล้วแต่กรณี และมีผลไปจนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าว (2) ลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 2 ให้มีผลเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่มีลักษณะตามข้อ 5 ต่อสํานักงาน และสํานักงานได้มีหนังสือแจ้งบุคคลที่ถูกพิจารณาและบริษัทที่บุคคลนั้นเป็นกรรมการหรือผู้บริหารให้ทราบถึงการมีลักษณะดังกล่าวแล้ว และมีผลไปจนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าว (3) ลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 3 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในหนังสือของสํานักงานซึ่งแจ้งบุคคลที่ถูกพิจารณาและบริษัทที่บุคคลนั้นเป็นกรรมการหรือผู้บริหารให้ทราบถึงการมีลักษณะเข้ากรณีที่กําหนดตามข้อ 6 แล้ว และมีผลไปจนกว่าจะพ้นเงื่อนไข หรือระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ซึ่งต้องไม่เกินสิบปี ทั้งนี้ ในการกําหนดระยะเวลาดังกล่าวให้คํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมของผู้ถูกพิจารณาเป็นสําคัญ ข้อ ๘ การมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจในช่วงระยะเวลาตามข้อ 7 เป็นผลให้บุคคลพ้นจากการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท และจะดํารงตําแหน่งดังกล่าวในบริษัทต่อไปไม่ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 89/4 และมาตรา 89/6 วรรคสอง แล้วแต่กรณี หมวด ๒ การพิจารณาลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 3 \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๙ ในการพิจารณาการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 3 หากเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ สํานักงานอาจไม่ยกขึ้นเป็นเหตุในการพิจารณาลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของบุคคลนั้นได้ (1) มีลักษณะไม่ร้ายแรง หรือ (2) เกิดขึ้นมาแล้วเกินกว่าสิบปี นับถึงวันที่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อสํานักงาน ข้อ ๑๐ ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 3 และการกําหนดระยะเวลาการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ ให้สํานักงานนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาใช้ประกอบการพิจารณา (1) บทบาทความเกี่ยวข้อง และพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกพิจารณา (2) การลงโทษที่บุคคลนั้นได้รับไปแล้ว (3) ผลกระทบหรือความเสียหายต่อบริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม หรือผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมที่พิจารณา (4) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท ผู้ถือหุ้นโดยรวม หรือตลาดทุนโดยรวม เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมทํานองเดียวกันนั้นซ้ําอีก (5) พฤติกรรมอื่นของผู้ถูกพิจารณาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน (6) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดที่แสดงถึงความไม่เหมาะสมที่จะเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท ข้อ ๑๑ ให้สํานักงานด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทําหน้าที่ในการพิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน รวมทั้งเสนอความเห็นต่อสํานักงานเกี่ยวกับการพิจารณาสั่งให้บุคคลมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 3 ตลอดจนพิจารณาให้ความเห็นต่อสํานักงานในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่เกินห้าคนซึ่งไม่เป็นเลขาธิการหรือพนักงานของสํานักงาน โดยในจํานวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย และด้านการเงินหรือการบัญชี ด้านละหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารธุรกิจซึ่งแต่งตั้งจากรายชื่อบุคคลที่สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยเป็นผู้เสนออีกหนึ่งคน ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้สํานักงานแต่งตั้งพนักงานของสํานักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ กรรมการรายใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาในลักษณะที่อาจมีผลกระทบต่อการให้ความเห็นอย่างเป็นกลาง ให้ผู้นั้นแจ้งการมีส่วนได้เสียนั้นและห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ข้อ ๑๒ ในการแจ้งบุคคลใดว่ามีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 3 สํานักงานจะกระทําได้ต่อเมื่อได้ดําเนินการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (1) เปิดโอกาสให้ผู้ถูกพิจารณามีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง (2) เสนอข้อเท็จจริง รวมทั้งคําชี้แจงของผู้ถูกพิจารณา (ถ้ามี) ให้คณะกรรมการพิจารณา และหากคณะกรรมการประสงค์จะให้ผู้ถูกพิจารณาชี้แจงเพิ่มเติม ให้สํานักงานจัดให้มีการชี้แจงเช่นนั้น (3) ได้รับความเห็นของคณะกรรมการด้วยมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนกรรมการที่เข้าร่วมประชุมว่าบุคคลที่ถูกพิจารณามีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ รวมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการกําหนดระยะเวลาให้บุคคลดังกล่าวมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ (4) แจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นให้ผู้ถูกพิจารณาทราบเพื่อให้โอกาสชี้แจง หรือโต้แย้งอีกครั้งภายในระยะเวลาที่กําหนด ในการปฏิบัติอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ข้อ ๑๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสที่จะได้รับความไว้วางใจให้เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนหรือบริษัทจดทะเบียน รวมทั้งกระบวนการและขั้นตอนในการพิจารณาลักษณะที่ขาดความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีการแต่งตั้งบุคคลที่มีลักษณะไม่เหมาะสมดํารงตําแหน่งที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การบริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,479
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 3/2559 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 2)
- ร่าง - ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2559 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของ กรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 89/3 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) มีความบกพร่องในด้านความสามารถตามกฎหมาย หรือถูกดําเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลตลาดทุน ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4 เป็นลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4) และ (5) ของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 “(4) ถูกเปรียบเทียบโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบที่แต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามที่ระบุในบัญชีท้ายประกาศนี้ เว้นแต่สํานักงานเมื่อพิจารณาโดยรับฟังความเห็นของคณะกรรมการตามข้อ 11 แล้ว เห็นว่าการกระทําที่เป็นเหตุให้ถูกเปรียบเทียบดังกล่าวมีลักษณะไม่ร้ายแรง ทั้งนี้ ในการพิจารณาดังกล่าวให้นําปัจจัยตามที่กําหนดในข้อ 10 มาพิจารณาโดยอนุโลม หรือ (5) เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามที่ระบุในบัญชีท้ายประกาศนี้ โดยการกล่าวหาหรือดําเนินคดีโดยบุคคลอื่นที่มิใช่สํานักงาน” ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1 ให้มีผลตามระยะเวลา ดังนี้ (ก) ลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 4(1) และ (2) ให้มีผลเมื่อศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษาในเรื่องที่กําหนด หรือตามข้อ 4(3) ให้มีผลเมื่อสํานักงานได้มีหนังสือกล่าวโทษบุคคลนั้นต่อพนักงานสอบสวน และมีผลไปจนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าว (ข) ลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 4(4) ให้มีผลเมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบมีคําสั่งเปรียบเทียบ และมีผลไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดซึ่งต้องไม่เกินกว่าสามปี (ค) ลักษณะขาดความน่าไว้วางใจกลุ่มที่ 1 ตามข้อ 4(5) ให้มีผลเมื่อศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิด และมีผลไปจนกว่าจะพ้นสามปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษ หรือนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาให้ปรับ แล้วแต่กรณี ในการกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง (ข) ให้สํานักงานพิจารณาโดยรับฟังความเห็นของคณะกรรมการตามข้อ 11 และให้นําปัจจัยตามที่กําหนดในข้อ 10 มาประกอบการพิจารณา โดยอนุโลม” ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,480
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 3/2560 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2560 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของ กรรมการและผู้บริหารของบริษัท \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 มาตรา 89/3 และมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 3/2559 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “บริษัท” “บริษัทย่อย” และ “ผู้บริหาร” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวที่กําหนดไว้ตามหมวด 3/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “สถาบันการเงิน” หมายความว่า กิจการที่ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ (1) ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (2) ธุรกิจหลักทรัพย์ (3) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) ธุรกิจประกันภัย (5) ธุรกิจสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น “กระบวนพิจารณาในชั้นศาล” หมายความว่า การดําเนินการในชั้นศาล ไม่ว่าการดําเนินการนั้นจะเป็นการกระทําโดยคู่ความฝ่ายใดทําต่อศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือศาลกระทําต่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือต่อทุกฝ่าย ตั้งแต่วันที่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลจนถึงวันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุด ข้อ ๓ การขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น มี 3 กรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจที่ใช้บังคับทั่วไป ซึ่งมีรายละเอียดตามข้อ 4 (2) กรณีมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ เนื่องจากมีพฤติกรรมซึ่งมีลักษณะเป็นการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ พ.ศ. 2535 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ซึ่งมีรายละเอียดตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 (3) กรณีมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจอยู่แล้วก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ ซึ่งมีรายละเอียดตามข้อ 8 ข้อ ๔ บุคคลที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นผู้ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ (1) เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นบุคคลที่ไม่สามารถดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน เนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายเกี่ยวกับการกํากับดูแลสถาบันการเงินไม่ว่าตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ และอยู่ระหว่างเวลาที่ยังไม่สามารถกลับมาเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอํานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินได้อีก ทั้งนี้ เฉพาะลักษณะต้องห้ามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) การทุจริตต่อหน้าที่ หรือทุจริต หลอกลวง หรือฉ้อโกงเกี่ยวกับทรัพย์สิน (ข) การบริหารงานที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามคําสั่งของหน่วยงานกํากับดูแล หรือบริหารงานหรือจัดการงานที่ไม่เหมาะสม (ค) การกระทําที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือการกระทําที่ไม่เป็นธรรมหรือเป็นการเอาเปรียบ (3) เป็นบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึง 3 ปี (ก) ความผิดตามมาตรา 281/2 วรรคสอง มาตรา 289 ประกอบกับมาตรา 90 (เฉพาะที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชน) หรือมาตรา 306 ถึงมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ข) ความผิดตามมาตรา 92 ถึงมาตรา 100 มาตรา 125 ประกอบกับมาตรา 16 (เฉพาะที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกงประชาชน) หรือมาตรา 145 ถึงมาตรา 150 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 (4) เป็นบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในความผิดอาญาแผ่นดินเกี่ยวกับการบริหารงานที่มีลักษณะหลอกลวง ฉ้อโกง หรือทุจริตเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้วไม่ถึง 3 ปี (5) เป็นผู้ที่ศาลมีคําสั่งถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกัน และยังไม่พ้น 3 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน (6) เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมซึ่งมีลักษณะเป็นการกระทําความผิดตาม (3) อันเป็นเหตุให้สํานักงานมีหนังสือกล่าวโทษบุคคลนั้นต่อพนักงานสอบสวน และอยู่ในกระบวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน กระบวนการพิจารณาและการดําเนินการฟ้องคดีของพนักงานอัยการ หรือกระบวนพิจารณาในชั้นศาล การกล่าวโทษของสํานักงานตามวรรคหนึ่งจะต้องผ่านกระบวนการสอบทานการพิจารณาตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๕ บุคคลที่มีพฤติกรรมซึ่งมีลักษณะเป็นการกระทําความผิดตามมาตรา 238 มาตรา 240 ถึงมาตรา 243 มาตรา 281/2 วรรคหนึ่ง และมาตรา 281/10 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติและตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 จนเป็นเหตุให้เกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นผู้ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจ (1) ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ในความผิดที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สํานักงานเป็นผู้กล่าวหาหรือดําเนินคดี (2) คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งเห็นควรให้นํามาตรการลงโทษปรับทางแพ่งมาใช้บังคับกับบุคคลดังกล่าว โดยมีการแจ้งเป็นหนังสือ (3) สํานักงานกล่าวโทษบุคคลดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวน ข้อ ๖ การพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา 89/4 หรือมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เนื่องจากการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามข้อ 5 ให้มีผลตามระยะเวลาดังต่อไปนี้ (1) กรณีศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกตามข้อ 5(1) ให้เริ่มพ้นจากตําแหน่งเมื่อศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ไม่ว่าศาลจะมีคําพิพากษาให้รอการลงโทษหรือไม่ และมีผลไปจนกว่าจะพ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้ว 3 ปี (2) กรณีคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่งเห็นควรให้นํามาตรการลงโทษปรับทางแพ่งมาใช้บังคับตามข้อ 5(2) ให้เริ่มพ้นจากตําแหน่งเมื่อมีการแจ้งเป็นหนังสือถึงกรณีดังกล่าว และมีผลไปจนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่สํานักงานกําหนดซึ่งต้องไม่เกินกว่า 3 ปี ในการกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้สํานักงานนําปัจจัยตามที่กําหนดในข้อ 7 มาประกอบการพิจารณา (3) กรณีสํานักงานกล่าวโทษบุคคลนั้นต่อพนักงานสอบสวนตามข้อ 5(3) ให้เริ่มพ้นจากตําแหน่งเมื่อสํานักงานมีหนังสือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน และมีผลไปจนกว่าจะเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ (ก) พนักงานอัยการมีคําสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือเมื่อศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง (ข) พ้นโทษจําคุกหรือพ้นจากการรอลงโทษมาแล้ว 3 ปี การกล่าวโทษของสํานักงานตามวรรคหนึ่งจะต้องผ่านกระบวนการสอบทานการพิจารณาตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ข้อ ๗ ในการกําหนดระยะเวลาการมีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามข้อ 6(2) ให้สํานักงานนําปัจจัยดังต่อไปนี้มาประกอบการพิจารณา (1) บทบาทความเกี่ยวข้อง และพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกพิจารณา (2) การลงโทษที่บุคคลนั้นได้รับไปแล้ว (3) ผลกระทบหรือความเสียหายต่อบริษัทหรือผู้ถือหุ้นโดยรวม หรือผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมที่พิจารณา (4) การแก้ไขหรือการดําเนินการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท ผู้ถือหุ้นโดยรวม หรือตลาดทุนโดยรวม เพื่อแก้ไข เยียวยา หรือป้องกันมิให้เกิดข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมทํานองเดียวกันนั้นซ้ําอีก (5) พฤติกรรมอื่นของผู้ถูกพิจารณาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของสํานักงาน (6) ประวัติหรือพฤติกรรมในอดีตอื่นใดที่แสดงถึงความไม่เหมาะสมที่จะเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท ข้อ ๘ บุคคลใดถูกเปรียบเทียบความผิดหรือถูกสํานักงานกล่าวโทษเป็นหนังสือต่อพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นเหตุให้มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 บุคคลนั้นยังคงเป็นผู้ที่มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจตามประกาศนี้ โดยบุคคลดังกล่าวยังคงต้องพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา 89/4 หรือมาตรา 89/6 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ต่อไปจนกว่าจะครบกําหนดเวลาหรือเงื่อนไขตามที่กําหนดไว้ในประกาศดังกล่าว ข้อ ๙ ในกรณีที่ประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553 หรือประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๑๐ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,481
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กด. 19/2553 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 19/2553 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 64(2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้นําหลักเกณฑ์การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้มาใช้บังคับกับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล และร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายศุกูกด้วยโดยอนุโลม ผู้ที่ไม่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์ในการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูกและร่างหนังสือชี้ชวน จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,482
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 6/2560 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2560 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การเสนอขายศุกูก \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 63 และมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กด. 19/2553 เรื่อง การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายศุกูก ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ข้อ ๒ ให้นําหลักเกณฑ์การยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นกู้ตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนสําหรับการเสนอขายศุกูกที่ได้รับอนุญาตให้ออกและเสนอขายภายใต้ประกาศดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่ได้รับยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนตามประกาศดังกล่าว แล้วแต่กรณี ด้วย (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการออกและเสนอขายศุกูก และการเปิดเผยข้อมูล (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตให้เสนอขายศุกูกที่ออกใหม่โดยทรัสตีผู้ออกศุกูกซึ่งเป็นกิจการต่างประเทศ และการเปิดเผยข้อมูล ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,483
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 10/2560 เรื่อง การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศเพื่อให้คำแนะนำทั่วไปแก่ผู้ลงทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 10/2560 เรื่อง การให้ความเห็นชอบนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้คําแนะนําทั่วไปแก่ผู้ลงทุน เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนในตลาดทุนไทยมีความหลากหลายมากขึ้นเป็นลําดับ การมีคําแนะนําประกอบการลงทุนที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ จึงจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับผู้ลงทุนที่ประสงค์จะลงทุนในตลาดทุนไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ลงทุนมีช่องทางที่จะได้รับคําแนะนําประกอบการลงทุนมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงได้ประกาศยกเว้นการให้คําแนะนําทั่วไปโดยนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และเพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับคําแนะนําทั่วไปจากนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่มีคุณภาพและมีความเป็นอิสระ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความเห็นชอบนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศเพื่อให้คําแนะนําทั่วไปแก่ผู้ลงทุน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 3 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “คําแนะนําทั่วไป” (general advice) หมายความว่า คําแนะนําที่ให้แก่ผู้ลงทุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าหรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใด ๆ ซึ่งไม่มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ ข้อ ๒ ในกรณีที่นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ประสงค์จะให้คําแนะนําทั่วไปแก่ผู้ลงทุน ให้นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศดังกล่าวยื่นคําขอรับความเห็นชอบต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานตามแนวทางและวิธีการที่จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. (1) มีโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรและกระบวนการในส่วนที่เกี่ยวกับการให้คําแนะนําทั่วไปที่แสดงได้ถึงความเป็นอิสระ (2) มีการประกอบธุรกิจโดยมีการดําเนินงาน (established presence) ในประเทศที่มีการกํากับดูแลตลาดทุนอันเป็นที่ยอมรับของสํานักงาน ก.ล.ต. ดังนี้ (ก) ประเทศที่มีการพัฒนาของตลาดทุนในระดับที่ได้มาตรฐานสากล (advanced market) และมีหน่วยงานกํากับดูแลตลาดทุนที่ทําหน้าที่กํากับดูแลผู้ประกอบธุกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่เป็นสมาชิกของ International Organization of Securities Commissions (“IOSCO”) ซึ่งเป็นพหุภาคีประเภท Signatory A ใน Multilateral Memorandum of Understanding Concerning Consultation and Cooperation and the Exchange of Information (“MMOU”) (“IOSCO MMOU”) (ข) ประเทศอื่นนอกจาก (ก) ที่มีมาตรฐานการกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เทียบเคียงได้กับมาตรฐานการกํากับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของประเทศไทย (3) สามารถให้คําแนะนําทั่วไปแก่ผู้ลงทุนที่มิใช่ผู้ลงทุนสถาบันได้โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศที่มีการกํากับดูแลตลาดทุนอันเป็นที่ยอมรับของสํานักงาน ก.ล.ต. ตาม (2) (4) มีความน่าเชื่อถือโดยพิจารณาจากฐานลูกค้าและส่วนแบ่งการตลาด (5) มีระบบการควบคุมคุณภาพของกระบวนการให้คําแนะนํา ให้สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาคําขอรับความเห็นชอบตามวรรคหนึ่งภายใน 30 วันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอและเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๓ ในการให้คําแนะนํา นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. ต้องแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่า การให้คําแนะนํานี้เป็นคําแนะนําทั่วไป ซึ่งไม่มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการลงทุน วัตถุประสงค์ในการลงทุน ฐานะทางการเงิน หรือความต้องการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ ข้อ ๔ เมื่อนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศขาดคุณสมบัติตามข้อ 2 หรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 3 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. มีอํานาจสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบได้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,484
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กธ. 4/2557 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2557 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับ ใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีเงินกองทุนเพียงพอที่สามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะและขอบเขตการประกอบธุรกิจ ให้ผู้ประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ดํารงเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด (1) ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจําหน่ายหลักทรัพย์ ที่เป็นหน่วยลงทุน โดยมีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในครอบครอง ให้ดํารงเงินกองทุนตามอัตราที่กําหนดไว้ในข้อ 2 (2) ผู้ประกอบธุรกิจเฉพาะการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โดยไม่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในครอบครอง ให้ดํารงเงินกองทุนตามอัตราที่กําหนดไว้ในข้อ 3 (3) ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนไม่ว่าจะประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วยหรือไม่ ให้ดํารงเงินกองทุนตามอัตราที่กําหนดไว้ในข้อ 4 เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้คําว่า “หน่วยลงทุน” หมายความรวมถึงใบทรัสต์ของทรัสต์ที่มีลักษณะทํานองเดียวกับกองทุนรวม หรือหลักทรัพย์อื่นที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กําหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่มีลักษณะการลงทุนทํานองเดียวกับหน่วยลงทุนด้วย ข้อ ๒ ผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 1(1) ต้องดํารงเงินกองทุนไม่ต่ํากว่าอัตราสูงสุดของอัตราดังต่อไปนี้ (1) สิบล้านบาท (2) มูลค่าของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในรอบสามเดือนต่อปี ทั้งนี้ เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (3) มูลค่าร้อยละสิบสองของรายได้เฉลี่ยต่อปีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแต่ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ทั้งนี้ รายได้เฉลี่ยดังกล่าวให้คํานวณจากรายได้ย้อนหลังสามปีก่อนปีที่ต้องดํารงเงินกองทุน ข้อ ๓ ผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 1(2) ต้องดํารงเงินกองทุนไม่ต่ํากว่าอัตราสูงสุดของอัตราตามข้อ 2 แต่อัตราตามข้อ 2(1) ให้เป็นอัตราหนึ่งล้านบาทแทน ข้อ ๔ ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ต้องดํารงเงินกองทุนไม่ต่ํากว่าอัตราสูงสุดของอัตราดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งแสนบาท (2) มูลค่าของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในรอบสามเดือนต่อปี ทั้งนี้ เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (3) มูลค่าร้อยละสิบของรายได้เฉลี่ยต่อปีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแต่ไม่เกินห้าล้านบาท ทั้งนี้ รายได้เฉลี่ยดังกล่าวให้คํานวณจากรายได้ย้อนหลังสามปีก่อนปีที่ต้องดํารงเงินกองทุน ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่งประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย การดํารงเงินกองทุนยังคงเป็นไปตามวรรคหนึ่ง โดยให้นําค่าใช้จ่ายและรายได้รวมที่เกิดจากการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามาใช้ในการคํานวณ ข้อ ๕ ให้ผู้ประกอบธุรกิจใช้สินทรัพย์สภาพคล่องที่ปราศจากภาระผูกพันหรือกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการประกอบวิชาชีพ (professional indemnity insurance) ในการดํารงเงินกองทุนตามข้อ 2 ข้อ 3 หรือข้อ 4 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องและกรมธรรม์ดังกล่าวให้เป็นไปตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๖ การคํานวณเงินกองทุนตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๗ ข้อกําหนดในข้อ 1 ไม่ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจในข้อดังกล่าวที่มีลักษณะหรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินดังนี้ (ก) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (ข) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต (ค) สถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น (2) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่ระหว่างหยุดการประกอบธุรกิจตามที่ได้มีหนังสือแจ้งต่อสํานักงาน (3) ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีหน้าที่ดํารงเงินกองทุนตามประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดํารงเงินกองทุนอื่นอยู่ก่อนแล้ว ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประกอบธุรกิจหรืออยู่ระหว่างยื่นคําขอรับใบอนุญาตอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ดํารงเงินกองทุนให้เป็นไปตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557 (นายอัชพร จารุจินดา) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,485
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 12/2560 เรื่อง การดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 12/2560 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับ ใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2557 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 ผู้ประกอบธุรกิจตามข้อ 1(2) ต้องดํารงเงินกองทุนไม่ต่ํากว่าอัตราสูงสุดของอัตราดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งล้านบาท (2) มูลค่าของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในรอบสามเดือนต่อปี ทั้งนี้ เฉพาะค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (3) มูลค่าร้อยละสิบสองของรายได้เฉลี่ยต่อปีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแต่ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ทั้งนี้ รายได้เฉลี่ยดังกล่าวให้คํานวณจากรายได้ย้อนหลังสามปีก่อนปีที่ต้องดํารงเงินกองทุน ผู้ประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่งที่มีคุณสมบัติและได้แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท ให้ดํารงเงินกองทุนในอัตราไม่ต่ํากว่าหนึ่งแสนบาทแทน” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 4/2557 เรื่อง การดํารงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตเฉพาะบางประเภทธุรกิจ ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 4 ผู้ประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ต้องดํารงเงินกองทุนไม่ต่ํากว่าอัตราสูงสุดของอัตราดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งแสนบาท (2) มูลค่าของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในรอบสามเดือนต่อปี ทั้งนี้ เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ (3) มูลค่าร้อยละสิบของรายได้เฉลี่ยต่อปีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแต่ไม่เกินห้าล้านบาท ทั้งนี้ รายได้เฉลี่ยดังกล่าวให้คํานวณจากรายได้ย้อนหลังสามปีก่อนปีที่ต้องดํารงเงินกองทุน ผู้ประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่งที่มีคุณสมบัติและได้แจ้งความประสงค์ต่อสํานักงานตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ชั่วคราวในการประกอบธุรกิจสําหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภท ต้องดํารงเงินกองทุนในอัตราไม่ต่ํากว่าหนึ่งแสนบาท ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ให้นําค่าใช้จ่ายและรายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามารวมคํานวณในการดํารงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี” ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,486
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงิน ในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกู้ยืมเงิน (2) การก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ข้อ ๒ ในประกาศนี้ คําว่า “บริษัทจัดการ” “กองทุนรวม” “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” “โครงการที่แล้วเสร็จ” “หน่วยลงทุนคล้ายหนี้” และ “หน่วยลงทุนคล้ายทุน” ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคําดังกล่าวตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน “บริษัทย่อย” หมายความว่า บริษัทที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) มีกองทุนรวมเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น และเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น และ (2) ลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ข้อ ๓ บริษัทจัดการจะกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมได้ ต่อเมื่อได้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนแล้ว และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อดําเนินการตามข้อ 4 (2) ผู้ให้กู้ยืมต้องไม่ใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (3) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกองทุนรวมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 ข้อ ๔ บริษัทจัดการจะกู้ยืมเงินเพื่อกองทุนรวมได้ เฉพาะเพื่อการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) การได้มาซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (2) การก่อสร้าง ต่อเติม หรือพัฒนาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการไม่แล้วเสร็จให้เป็นโครงการแล้วเสร็จ (3) การปรับปรุงทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมลงทุนให้มี ความเหมาะสมต่อการจัดหาผลประโยชน์ (4) การชําระหนี้กู้ยืมเงินหรือภาระผูกพันที่กองทุนรวม หรือที่กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมลงทุน ได้ก่อภาระหนี้ไว้เพื่อใช้ในการดําเนินการ (1) (2) หรือ (3) (refinance) (5) กรณีอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๕ กองทุนรวมต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกินกว่าสามเท่า เว้นแต่การเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินเพิ่มเติม หรือออกหน่วยลงทุนคล้ายหนี้เพิ่มเติม การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่กองทุนรวมมีการแบ่งชนิดของหน่วยลงทุนเป็นหน่วยลงทุนคล้ายหนี้และหน่วยลงทุนคล้ายทุน ให้คิดส่วนของหนี้จากผลรวมของมูลค่าเงินกู้ยืมและจํานวนเงินทุนที่ชําระแล้วของหน่วยลงทุนคล้ายหนี้ และคิดส่วนของทุนจากจํานวนเงินทุนที่ชําระแล้วของหน่วยลงทุนคล้ายทุน (2) กรณีที่กองทุนรวมลงทุนในหุ้นของบริษัทย่อย ให้คํานวณส่วนของหนี้สินและส่วนของทุนของบริษัทย่อยตามหลักการจัดทํางบการเงินรวม (consolidated basis) รวมในอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกองทุนรวมด้วย ข้อ ๖ บริษัทจัดการต้องดําเนินการเพื่อให้มีการจํากัดความรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงินที่แสดงว่า กองทุนรวมมีความรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม (2) ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการต้องไม่มีข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (ก) ข้อกําหนดที่แสดงว่า กองทุนรวมมีสิทธิเรียกให้ผู้ถือหน่วยลงทุนคืนเงินทุนหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับไว้แล้วโดยชอบให้แก่กองทุนรวม ไม่ว่าด้วยเหตุใด (ข) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องรับผิดในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างกองทุนรวมกับบุคคลภายนอก ข้อ ๗ บริษัทจัดการอาจนําทรัพย์สินของกองทุนรวมไปเป็นหลักประกันการชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่กองทุนรวมเข้าทําสัญญาตามประกาศนี้ ข้อ ๘ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หมายเหตุ - เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานสามารถกู้ยืมเงินจากบุคคลภายนอก เพื่อนําไปลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ก่อสร้าง ต่อเติมหรือพัฒนาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานให้แล้วเสร็จ ปรับปรุงทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือชําระหนี้เงินกู้ที่กองทุนรวมกู้ยืมมาเพื่อดําเนินการดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
1,487
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 14/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 14/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงิน ในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 6/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 2 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย “โครงการที่แล้วเสร็จ” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มมีรายได้ในเชิงพาณิชย์แล้ว “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ใช่โครงการที่แล้วเสร็จ” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (1/1) ในข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในกากู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554 “(1/1) การกู้ยืมเงินตาม (1) ต้องไม่มีลักษณะดังนี้ (ก) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (ข) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ 1. ให้สิทธิกองทุนรวมในการชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (callable) หรือให้สิทธิเจ้าหนี้ในการเรียกให้กองทุนรวมชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) 2. มีการกําหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น 3. ไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (ค) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ([นาย](http://www.sec.or.th/TH/AboutUs/Pages/link-OrganizationOfTheSEC/SEC_achaporn.aspx)วรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,488
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 20/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 20/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงิน ในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองในข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554 “ในกรณีของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย นอกจากการกู้ยืมเงินเพื่อดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว บริษัทจัดการอาจกู้ยืมเงินเพื่อชําระค่าขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนก็ได้ หากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยมีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เป็นการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทยชนิดที่มีการกําหนดเงื่อนไขการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวน” ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 ([นาย](http://www.sec.or.th/TH/AboutUs/Pages/link-OrganizationOfTheSEC/SEC_achaporn.aspx)วรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,489
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 24/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 5)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 24/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงิน ในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 5) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 20/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ([นาย](http://www.sec.or.th/TH/AboutUs/Pages/link-OrganizationOfTheSEC/SEC_achaporn.aspx)วรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,490
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กน. 1/2554 หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กน. 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (ฉบับประมวล) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 126(5) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การกู้ยืมเงิน (2) การก่อภาระผูกพันแก่ทรัพย์สินของกองทุนรวม ข้อ 22 ในประกาศนี้ “บริษัทจัดการ” หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม “กองทุนรวม” หมายความว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 “ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน” หมายความว่า ทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานตามประกาศดังต่อไปนี้ แล้วแต่กรณี (1) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (2) ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนเกี่ยวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออนาคตประเทศไทย “โครงการที่แล้วเสร็จ” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มมีรายได้ในเชิงพาณิชย์แล้ว “โครงการที่ไม่แล้วเสร็จ” หมายความว่า กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ใช่ โครงการที่แล้วเสร็จ ข้อ 3 บริษัทจัดการจะกู้ยืมเงินในนามของกองทุนรวมได้ ต่อเมื่อได้ระบุเรื่องดังกล่าวไว้ในโครงการจัดการกองทุนรวมและหนังสือชี้ชวนแล้ว และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อดําเนินการตามข้อ 4 (1/1)2 การกู้ยืมเงินตาม (1) ต้องไม่มีลักษณะดังนี้ (ก) มีข้อตกลงและเงื่อนไขทํานองเดียวกับข้อกําหนดของหุ้นกู้ที่ให้ไถ่ถอนหุ้นกู้เมื่อมีการเลิกบริษัท (perpetual bond) (ข) มีลักษณะของอนุพันธ์แฝง เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าลักษณะที่ครบถ้วนดังนี้ 1. ให้สิทธิกองทุนรวมในการชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (callable) หรือให้สิทธิเจ้าหนี้ในการเรียกให้กองทุนรวมชําระหนี้คืนก่อนกําหนด (puttable) 2. มีการกําหนดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนไว้อย่างแน่นอนหรือเป็นอัตราที่ผันแปรตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินหรืออัตราดอกเบี้ยอื่น 3. ไม่มีการกําหนดเงื่อนไขการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่อ้างอิงกับปัจจัยอ้างอิงอื่นเพิ่มเติม (ค) มีลักษณะเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (2) ผู้ให้กู้ยืมต้องไม่ใช่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม (3) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกองทุนรวมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5 ข้อ 4 บริษัทจัดการจะกู้ยืมเงินเพื่อกองทุนรวมได้ เฉพาะเพื่อการดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) การได้มาซึ่งทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน (2) การก่อสร้าง ต่อเติม หรือพัฒนาทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการไม่แล้วเสร็จให้เป็นโครงการแล้วเสร็จ (3) การปรับปรุงทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมลงทุนให้มีความเหมาะสมต่อการจัดหาผลประโยชน์ (4) การชําระหนี้กู้ยืมเงินหรือภาระผูกพันที่กองทุนรวม หรือที่กิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมลงทุน ได้ก่อภาระหนี้ไว้เพื่อใช้ในการดําเนินการ (1) (2) หรือ (3) (refinance) (5) กรณีอื่นใดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด 4ยกเลิก ข้อ 51 กองทุนรวมต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกินกว่าสามเท่า เว้นแต่การเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการกู้ยืมเงินเพิ่มเติม การคํานวณอัตราส่วนตามวรรคหนึ่ง ให้คํานวณส่วนของหนี้สินและส่วนของทุนของบริษัทย่อยตามหลักการจัดทํางบการเงินรวม (consolidated basis) รวมในอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกองทุนรวมด้วย ข้อ 6 บริษัทจัดการต้องดําเนินการเพื่อให้มีการจํากัดความรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงินที่แสดงว่า กองทุนรวมมีความรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินไม่เกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม (2) ข้อผูกพันระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนกับบริษัทจัดการต้องไม่มีข้อกําหนดดังต่อไปนี้ (ก) ข้อกําหนดที่แสดงว่า กองทุนรวมมีสิทธิเรียกให้ผู้ถือหน่วยลงทุนคืนเงินทุนหรือผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับไว้แล้วโดยชอบให้แก่กองทุนรวม ไม่ว่าด้วยเหตุใด (ข) ข้อกําหนดที่แสดงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องรับผิดในความเสียหายใด ๆที่เกิดขึ้นภายใต้สัญญาที่ทําขึ้นระหว่างกองทุนรวมกับบุคคลภายนอก ข้อ 7 บริษัทจัดการอาจนําทรัพย์สินของกองทุนรวมไปเป็นหลักประกันการชําระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่กองทุนรวมเข้าทําสัญญาตามประกาศนี้ ข้อ 8 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554 (นายวิจิตร สุพินิจ) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,491
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 24/2558 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2558 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าเกษตร อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 9 และมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร” หมายความว่า ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรเกี่ยวกับสินค้าเกษตร โดยสามารถประกอบธุรกิจได้หลายประเภทดังต่อไปนี้ (1) การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) การเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) การเป็นที่ปรึกษาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) การเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” หมายความว่า ผู้ที่ถือหุ้นหรือผู้รับประโยชน์จากหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับใบอนุญาต เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับประโยชน์จากหุ้น หมายความถึง ผู้รับประโยชน์จากหุ้นตามที่กําหนดในมาตรา 25 วรรคสี่ หมวด ๑ คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต ข้อ ๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรต้องเป็น (1) ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 อยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวสิ้นผลใช้บังคับ (2) บริษัทนอกเหนือจากบริษัทตาม (1) ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ข้อ ๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ต่อเมื่อมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท เว้นแต่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลตามข้อ 3(1) ให้พิจารณาทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามข้อ 5 (2) ไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ในระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานอันดีของธุรกิจ (3) แสดงได้ว่าบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนที่ปฏิบัติงานด้านใดด้านหนึ่งดังนี้ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 24 และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน (ก) งานเกี่ยวกับการบริหาร กําหนด ควบคุม และกํากับดูแลนโยบายของผู้ขอรับใบอนุญาต (ข) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการแนะนําการลงทุน การวางแผนการลงทุน การวิเคราะห์การลงทุนหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน การจัดการลงทุน หรือการจัดการสาขาของผู้ขอรับใบอนุญาต (ค) งานเกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และจัดการหน่วยธุรกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติการ การกํากับดูแลการปฏิบัติงาน การตรวจสอบกิจการภายใน หรือการบริหารความเสี่ยง (4) แสดงได้ว่าบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสอง และประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการ และหุ้นส่วนของนิติบุคคลนั้นต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวด้วย มิให้นําความในวรรคหนึ่ง (3) มาใช้บังคับกับผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็นนิติบุคคล ตามข้อ 3(1) ซึ่งได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ข้อ ๕ ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลตามข้อ 3(1) ให้พิจารณาคุณสมบัติเกี่ยวกับทุนจดทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) มีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าล้านบาทในวันที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต (2) แสดงได้ว่าจะสามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วตามที่กําหนดไว้ในข้อ 10(4) ได้ หมวด ๒ ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตและค่าธรรมเนียม ข้อ ๖ ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคําขอต่อสํานักงาน ก.ล.ต. พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคําขอตามแบบและวิธีการที่สํานักงาน ก.ล.ต. จัดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงาน ก.ล.ต. ข้อ ๗ ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 4 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต. ใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ ค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ให้เป็นดังนี้ (1) คําขอรับใบอนุญาต คําขอละ 30,000 บาท (2) ใบอนุญาต ฉบับละ 150,000 บาท เมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนแล้ว ให้ผู้ยื่นคําขอชําระค่าธรรมเนียมคําขอรับใบอนุญาตแก่สํานักงาน ก.ล.ต. ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในวันที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๙ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 8 แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ 3(1) หมวด ๓ เงื่อนไขการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1) จะเริ่มประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรตามประเภทที่กําหนดในใบอนุญาตได้ต่อเมื่อสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถแสดงได้ถึงเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ (ข) มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรตามประเภทที่ขอเริ่มประกอบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดําเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้ (ค) มีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรตามประเภทที่ขอเริ่มประกอบธุรกิจ (ง) มีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรตามประเภทที่ขอเริ่มประกอบธุรกิจ (2) ต้องประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่กําหนดในใบอนุญาต ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต (3) ต้องดํารงคุณสมบัติตามข้อ 4 และดําเนินการในเรื่องที่ได้แสดงไว้ใน (1) (ก) (ข) (ค) และ (ง) ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลตามข้อ 3(1) ซึ่งได้รับการผ่อนผันคุณสมบัติเกี่ยวกับบุคลากรในธุรกิจตลาดทุนตามข้อ 4 วรรคสอง ต้องมีและดํารงคุณสมบัติในเรื่องดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (4) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลตามข้อ 3(1) ต้องมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังนี้ (ก) สามสิบห้าล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (ข) ห้าสิบล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในวรรคหนึ่ง คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวได้ ข้อ ๑๑ การปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการเริ่มประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรตามที่กําหนดในข้อ 10(1) สําหรับผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรที่ใช้คุณสมบัติการเป็นนิติบุคคลตามข้อ 3(1) ในการขอรับใบอนุญาต ให้พิจารณาภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้เพิ่มเติมด้วย (1) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีการประกอบธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ยื่นคําขอรับใบอนุญาต โดยการประกอบธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวมีลักษณะเดียวกับประเภทของธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จะเริ่มประกอบธุรกิจ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถเริ่มประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรประเภทนั้นได้โดยไม่ต้องให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบความพร้อมในการประกอบธุรกิจ (2) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตได้ขอให้สํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบความพร้อมในการประกอบธุรกิจในระหว่างการพิจารณาให้ใบอนุญาต และสํานักงาน ก.ล.ต. ตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถแสดงได้ถึงความพร้อมในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กําหนดก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาต ให้ถือว่าผู้ได้รับใบอนุญาตมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดแล้ว ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,492
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 14/2560 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 14/2560 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สินค้าเกษตร (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 6 มาตรา 9 และมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2558 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 อยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561” ข้อ 2 ให้ยกเลิกวรรคสองของข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2558 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 4/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2558 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ข้อ 4/1 ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลตามข้อ 3(1) ซึ่งได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรหลังวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ผู้ขอรับใบอนุญาตดังกล่าวต้องแสดงได้ว่ามีโครงสร้างการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งถือหุ้นอยู่ ณ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รายหนึ่งหรือหลายรายรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ผู้ถือหุ้นเดิมตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของผู้ขอรับใบอนุญาตที่ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์” ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2558 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ในกรณีที่สํานักงาน ก.ล.ต. พิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนตามที่กําหนดในข้อ 4 และข้อ 4/1 ให้สํานักงาน ก.ล.ต. เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตภายในหกสิบวันนับแต่วันที่สํานักงาน ก.ล.ต. ได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน และคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสํานักงาน ก.ล.ต.” ข้อ 5 ให้ยกเลิกความใน (3) ของวรรคหนึ่งในข้อ 10 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2558 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(3) ต้องดํารงคุณสมบัติตามข้อ 4 และดําเนินการในเรื่องที่ได้แสดงไว้ใน (1) (ก) (ข) (ค) และ (ง) ตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร” ข้อ 6 ให้ยกเลิกข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 24/2558 เรื่อง การขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,493
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 26/2558 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2558 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2551 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ข้อ ๒ ให้ทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) หนึ่งร้อยล้านบาท สําหรับ (ก) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 (ข) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ไม่ได้จํากัดเฉพาะสินค้าหรือตัวแปรบางประเภท (ค) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็น ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่จํากัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เกี่ยวกับโลหะมีค่า (2) ห้าสิบล้านบาท สําหรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีลักษณะตามข้อ 3 ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรใช้คุณสมบัติการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 ในการขอรับใบอนุญาต ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ (1) ยี่สิบห้าล้านบาท ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (2) สามสิบห้าล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (3) ห้าสิบล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,494
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 15/2560 เรื่อง การกำหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 15/2560 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 26/2558 เรื่อง การกําหนดทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรตามวรรคหนึ่งได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตหลังวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวมีทุนจดทะเบียนซึ่งชําระแล้วไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท ตั้งแต่วันที่มีโครงสร้างการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งถือหุ้นอยู่ ณ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รายหนึ่งหรือหลายรายรวมกันน้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ผู้ถือหุ้นเดิมตามวรรคสอง ให้หมายความถึงผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับใบอนุญาตที่ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,495
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 28/2558 เรื่อง การผ่อนผันการดำรงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 28/2558 เรื่อง การผ่อนผันการดํารงฐานะทางการเงินของ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 66/2547 เรื่อง การดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ให้ผ่อนผันจํานวนเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ต้องดํารงแก่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร เนื่องจากใช้คุณสมบัติการเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในข้อ 2 ข้อ ๒ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามข้อ 1 ดํารงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิเมื่อสิ้นวันทําการใด ๆ ไม่น้อยกว่าจํานวนดังต่อไปนี้ในช่วงระยะเวลาที่กําหนด (1) เจ็ดล้านบาทและไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (2) สิบล้านบาทและไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดของหนี้สินทั่วไปและทรัพย์สินที่ต้องวางเป็นประกัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,496
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 16/2560 เรื่อง การผ่อนผันการดำรงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 16/2560 เรื่อง การผ่อนผันการดํารงฐานะทางการเงินของ ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขาย สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 28/2558 เรื่อง การผ่อนผันการดํารงฐานะทางการเงินของผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 “ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรหลังวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 มีโครงสร้างการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งถือหุ้นอยู่ ณ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องแนวทางการดําเนินการรวมตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รายหนึ่งหรือหลายรายรวมกันน้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจํานวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท ให้การผ่อนผันการดํารงฐานะทางการเงินตามข้อ 2 สิ้นสุดลง ผู้ถือหุ้นเดิมตามวรรคสอง ให้หมายความถึงผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับใบอนุญาตที่ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,497
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและ การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียน หลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 222 ประกอบกับมาตรา 206 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการสิ้นสุดลง ของใบอนุญาตตามโครงการทดสอบดังต่อไปนี้ (1) ใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ (2) ใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (3) ใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบ แล้วแต่กรณี “โครงการทดสอบ” หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox) ข้อ ๓ ในการเข้าร่วมโครงการทดสอบ ให้บุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาต ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามแบบคําขอรับใบอนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับใบอนุญาตตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน (1) เป็นบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในการประกอบการ (innovative financial services) ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทย หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย (3) มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการทดสอบในเรื่องดังนี้ (ก) มีเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร ที่สามารถรองรับการประกอบการตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบได้อย่างเหมาะสม (ข) มีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบการ (ค) มีกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ โดยมีรายละเอียดครอบคลุมการดําเนินการในส่วนของการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (ง) มีแผนการรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการประกอบการให้สํานักงานทราบอย่างต่อเนื่อง (จ) มีแผนการรองรับการออกจากโครงการทดสอบ (exit strategy) ที่ชัดเจน เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบหรือต้องออกจากโครงการทดสอบก่อนครบกําหนดระยะเวลา (4) มีการกําหนดขอบเขตการประกอบการในวงจํากัดเพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง เช่น จํากัดประเภทหรือจํานวนของผู้ใช้บริการ เป็นต้น (5) มีการกําหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการทดสอบไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต (6) มีผลการศึกษาหรือผลการวิจัยที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในการนํานวัตกรรมมาใช้ในการประกอบการ (7) ไม่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการทดสอบมาก่อน ข้อ ๔ ให้สํานักงานดําเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุญาต โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ ใบอนุญาตดังกล่าวให้มีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอขยายระยะเวลาการประกอบการออกไป ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงานก่อนใบอนุญาตสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า 90 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอขยายระยะเวลาตามวรรคสามให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๕ ใบอนุญาตสิ้นสุดลงเมื่อเป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ครบกําหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตตามข้อ 4 วรรคสอง หรือตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาออกไปตามข้อ 4 วรรคสี่ แล้วแต่กรณี (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตยุติการประกอบการก่อนครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบโดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามข้อ 6 (3) คณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามข้อ 8 ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอยุติการประกอบการก่อนครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขออนุญาตยุติการประกอบการ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงานก่อนยุติการประกอบการไม่น้อยกว่า 60 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามที่ได้แสดงไว้ตามข้อ 3(3) หรือ (4) ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๘ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการประกอบการไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทยหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทยตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3(2) (2) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านวัตกรรมที่นํามาใช้ในการประกอบการอาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง (3) ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติที่แสดงไว้ในข้อ 3 (4) ผู้ได้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สําหรับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบ แล้วแต่กรณี ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (5) ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 7 ให้สํานักงานแจ้งคําสั่งตามวรรคหนึ่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบเป็นหนังสือ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,498
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กธ. 23/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ================================================ ที่ กธ. 23/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและ การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียน หลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (ฉบับที่ 2) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 222 ประกอบกับมาตรา 206 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) เป็นบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น” ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8) ของข้อ 3 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน ลงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 “(8) ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงได้ว่าจะไม่คิดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่นจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์จากผู้ใช้บริการตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบ” ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,499
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ละตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสำนักหักบัญชีหลักทรัพย์ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (ฉบับประมวล)
ประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ละตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 17/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ ในการขอรับใบอนุญาตและ การออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการให้บริการเป็นนายทะเบียน หลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (ฉบับประมวล) --------------------------- อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551และมาตรา 222 ประกอบกับมาตรา 206 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการสิ้นสุดลงของใบอนุญาตตามโครงการทดสอบดังต่อไปนี้ (1) ใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ (2) ใบอนุญาตประกอบการเป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (3) ใบอนุญาตการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ "ใบอนุญาต" หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตาม โครงการทดสอบ แล้วแต่กรณี "โครงการทดสอบ" หมายความว่า โครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (Regulatory Sandbox) ข้อ ๓ 3 ในการเข้าร่วมโครงการทดสอบ ให้บุคคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาต ยื่นคําขอรับใบอนุญาตตามแบบคําขอรับใบอนุญาต พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอรับใบอนุญาตตามที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชนต่อคณะกรรมการ ก..ต. ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุในคู่มือสําหรับประชาชน (1) เป็นบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ สมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (2) มีการนํานวัตกรรมมาใช้ในการประกอบการ (innovative financial services)ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการ ในตลาดทุนไทย หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย (3) มีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการทดสอบในเรื่องดังนี้ (ก) มีเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร ที่สามารถรองรับการประกอบการตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการทดสอบได้อย่างเหมาะสม (ข) มีการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบการ (ค) มีกระบวนการติดต่อและให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ โดยมีรายละเอียดครอบคลุมการดําเนินการในส่วนของการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (ง) มีแผนการรายงานผลการทดสอบและความคืบหน้าในการประกอบการให้สํานักงานทราบอย่างต่อเนื่อง (จ) มีแผนการรองรับการออกจากโครงการทดสอบ (exit strategy) ที่ชัดเจนเมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบหรือต้องออกจากโครงการทดสอบก่อนครบกําหนดระยะเวลา (4) มีการกําหนดขอบเขตการประกอบการในวงจํากัดเพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง เช่น จํากัดประเภทหรือจํานวนของผู้ใช้บริการ เป็นต้น (5) มีการกําหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการทดสอบไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต (6) มีผลการศึกษาหรือผลการวิจัยที่แสดงถึงความเป็นไปได้ในการนํานวัตกรรมมาใช้ในการประกอบการ (7) ไม่มีประวัติว่าเคยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าร่วม โครงการทดสอบมาก่อน (8) ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดง ได้ว่าจะไม่คิดคําธรรมเนียมหรือคําตอบแทนอื่นจากการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์จากผู้ใช้บริการตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วม โครงการทดสอบ ข้อ ๔ ให้สํานักงานดําเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาอนุญาต โดยคณะกรรมการ ก..ต. จะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชน ทั้งนี้ใบอนุญาตดังกล่าวให้มีระยะเวลาสิ้นสุดไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอขยายระยะเวลาการประกอบการออกไปให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบล้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยยื่นผ่านสํานักงานก่อนใบอนุญาตสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า 90 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอขยายระยะเวลาตามวรรคสามให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๕ ใบอนุญาตสิ้นสุดลงเมื่อเป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ครบกําหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตตามข้อ 4 วรรคสอง หรือตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาออกไปตามข้อ 4 วรรคสี่ แล้วแต่กรณี (2) ผู้ได้รับใบอนุญาตยุติการประกอบการก่อนครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบโดยได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามข้อ 6 (3) คณะกรรมการ ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามข้อ 8 ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอยุติการประกอบการก่อนครบกําหนดระยะเวลาการเข้าร่วมโครงการทดสอบ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นคําขออนุญาตยุติการประกอบการ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชนต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.โดยยื่นผ่านสํานักงานก่อนยุติการประกอบการไม่น้อยกว่า 60 วัน ทั้งนี้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะพิจารณาคําขอตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่สํานักงานได้รับคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคําขอที่ถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือสําหรับประชาชน ข้อ ๗ ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติตามที่ได้แสดงไว้ตามข้อ 3(3) หรือ (4) ให้สํานักงานมีอํานาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่สํานักงานกําหนด ข้อ ๘ คณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อ (1) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการประกอบการไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการในตลาดทุนไทยหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทยตามที่ได้แสดงไว้ในข้อ 3(2) (2) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่านวัตกรรมที่นํามาใช้ในการประกอบการอาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมีนัยสําคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง (3) ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถดํารงคุณสมบัติที่แสดงไว้ในข้อ 3 (4) ผู้ได้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สําหรับการประกอบการเป็นสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ หรือนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบ แล้วแต่กรณี ที่กําหนดในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสําหรับสํานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และนายทะเบียนหลักทรัพย์ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุน (5) ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของสํานักงานตามข้อ 7 ให้สํานักงานแจ้งคําสั่งตามวรรคหนึ่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทราบเป็นหนังสือ ข้อ ๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 (นายวรวิทย์ จําปีรัตน์) ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
1,500