content
stringlengths
2
11.3k
url
stringlengths
26
27
title
stringlengths
3
125
พานาโซนิคได้โชว์หุ่นยนต์ผลิตสินค้าในโรงงานตัวใหม่ "Parallel Link" ที่นอกจากจะลดการใช้พลังงานลงถึงร้อยละ 50 แล้ว ยังสามารถเรียนรู้กระบวนการผลิตใหม่โดยให้คนบังคับแขนกลในทิศทางต่างๆ ลองดูคลิปวีดีโอสาธิตได้ท้ายข่าว ที่มา: Akihabara News ผ่าน Engadget Panasonic introduces a new Parallel link robot in Japan from HIC Network on Vimeo.
https://jusci.net/node/1262
หุ่นยนต์ "Parallel Link" จากพานาโซนิคเรียนรู้กระบวนการผลิตใหม่โดยให้คนจับแขนกลให้
การศึกษานำร่องของนักวิทยาศาสตร์อาหาร (food scientists) มหาวิทยาลัยรัฐฟลอริด้า (The Florida State University) ระบุว่าแตงโมเป็นอาวุธธรรมชาติที่ต่อต้านภาวะก่อนความดันโลหิตสูง (prehypertension;120-139/85-89 mmHg) ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือการศึกษาครั้งแรกในมนุษย์ที่พบว่า การได้รับสารสกัดจากแตงโม 6 กรัมต่อวัน นาน 6 สัปดาห์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดแดงใหญ่ (aortic blood flow) และช่วยลดความดันโลหิตในประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้ง 9 คน (ผู้ชาย 4 คน และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 5 คน มีอายุระหว่าง 51-57 ปี) ที่มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูง ทำไมต้องเป็นแตงโม ? เพราะในร่างกายของคนเรานั้นจะมีการเปลี่ยน L-citrulline เป็น L-arginine ซึ่งเป็นกรดอะมิโน (amino acid) ที่จำเป็นในการสร้างไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) เพื่อควบคุมความตึงของหลอดเลือด (vascular tone) และความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ซึ่งการรับประทาน L-citrulline เป็นอาหารเสริมนั้น ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เพราะจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้, รบกวนระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract discomfort) และท้องเสีย ในทางตรงกันข้าม เราสามารถรับประทานแตงโม โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ อีกทั้งยังมี L-citrulline, วิตามิน เอ, บี 6, ซี, ไฟเบอร์, โพแทสเซียม และไลโคปีน รวมถึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (serum glucose levels) อีกด้วย ทั้งนี้การรับประทาน L-citrulline อาจทำให้สามารถลดขนาดของยาลดความดันโลหิต (antihypertensive drugs) ที่จำเป็นในการควบคุมระดับความดันโลหิตลงได้อีกด้วย สนใน อ่านรายงานการศึกษานำร่องฉบับล่าสุดได้ใน American Journal of Hypertension ค่ะ ใครที่เป็นความดันโลหิตสูง ก็ลองรับประทานแตงโมเยอะๆ ดูนะคะ ^^ ที่มา : physorg
https://jusci.net/node/1263
การศึกษาพบว่าแตงโมช่วยลดความดันโลหิต
เมื่อคืนวานนี้ตามเวลาท้องถิ่น LHC (Large Hadron Collider เป็นเครื่องเร่งความเร็วอนุภาค ของศูนย์วิจัย CERN) ได้ประสบความสำเร็จในการจับอนุภาคชนกันที่ความสว่าง 1032 cm-2s-1 บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้เมื่อสมัยเริ่มการทดลองครั้งแรกในเดือนมีนาคม ลำแสงที่ได้ถูกยิงเข้าไปในวงแหวนเมื่อตอนตี 2 ตามเวลาท้องถิ่น ได้ชนกันที่ความสว่าง 1.01 x 1032 cm-2s-1 ที่ตัวตรวจจับ ATLAS (A Toroidal LHC Apparatus) และ CMS (Compact Muon Solenoid) เมื่อเวลา 3 นาฬิกา 38 นาที และชนกันที่ความสว่างรวมถึง 2 inverse picobarns ที่ ATLAS, CMS and LHCb (LHC-beauty) เมื่อเวลากลางวันของวันนี้ ความสำเร็จนี้เป็นย่างก้าวที่สำคัญก่อนที่จะไปถึงจุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่ ศาสตร์ทางฟิสิกส์แขนงใหม่จะเกิดขึ้นหรือไม่ รอลุ้นกันได้จากการทดลองตอนสิ้นปี 2011 กับการชนกันของอนุภาคที่ความสว่าง 1 inverse femtobarn !!! ที่มา - CERN เกร็ด barn เป็นหน่วยของพื้นที่ นิยมใช้ในฟิสิกส์พลังงานสูง 1 barn (b) = 10-24cm2 1 picobarn (fb) = 10-36cm2 1 femtobarn (fb) = 10-39cm2 inverse femtobarn = femtobarn-1 inverse femtobarn เป็นการวัดเหตุการณ์การชนกันของอนุภาคต่อ femtobarn และนิยมใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของการชนกันของอนุภาค.
https://jusci.net/node/1264
LHC protons 2010: mission accomplished
ปัญหาโลกร้อนนั้นเรื่องหนึ่ที่มักเถียงกันไปมาคือใครเป็นตัวการมากกว่ากันระหว่างอุตสาหกรรมกับปศุสัตว์ แต่ไม่ว่าอย่างไรสัดส่วนก๊าชที่สร้างภาวะเรือนกระจกที่มาจากมนุษย์นั้นก็มีสัดส่วนจากปศุสัตว์ถึง 10-12% ปัญหาสำคัญคือกระบวนการแปลงสภาพไนโตรเจนเป็นวัฏจักรที่แต่เดิมเรามักอาศัยวัฏจักรที่หมุนเวียนโดยมีแบคทีเรียเป็นตัวแปลงสภาพไนโตรเจนจากก๊าซมาสู่ไนโตรเจนในดิน แต่การทำปศุสัตว์อย่างหนักในช่วงหลังทำให้เรากระบวนการหมุนเวียนนี้สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ทีมงานจากแคนาดาโดย Nathan Pelletier และ Peter Tyedmer ได้จำลองแบบในคอมพิวเตอร์แล้วพบว่าหากเรายังคงเพิ่มปริมาณการบริโภคเนื้อขึ้นไปอย่างต่อเนื่องในอัตรานี้ สภาพแวดล้อมโลกจะทนได้ถึงปี 2050 เท่านั้น ที่น่าเศร้าคือประเทศที่เจริญแล้วเช่นสหรัฐฯ นั้นการบริโภคเนื้อมีปริมาณสูงกว่ากระดับที่แนะนำถึงสองเท่าตัวจนน่าจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพเอง ทีมงานวิจัยแนะนำให้ประเด็นนี้ต้องได้รับการแก้ไจจากระดับนโยบาย เช่นเดียวกับคาร์บอนที่มีกระบวนการควบคุมระดับคาร์บอนออกมาอย่างเป็นระบบแล้วในตอนนี้ ที่มา - ArsTechnica
https://jusci.net/node/1265
ปศุสัตว์อาจจะขยายตัวไปจนใกล้ขีดจำกัดของโลกนี้แล้ว
งานวิจัยของ Washington University School of Medicine in St. Louis ที่ตีพิมพ์ลงใน Lancet ฉบับวันที่ 15 ตุลาคม 2553 กล่าวว่าการกดอกอย่างเดียวเพิ่มอัตราการรอดของผู้ป่วย มากกว่าการกดอกแบบมาตรฐาน (standard CPR; กดอก สลับกับการช่วยหายใจ) โดยข้อมูลของงานวิจัยชิ้นนี้ วิเคราะห์อัตราการรอดชีวิต (survival rate) จากผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจำนวนมากกว่า 3,700 คน ที่ได้รับการช่วยชีวิตด้วยการกดอกแบบมาตรฐาน หรือกดอกเพียงอย่างเดียว พบว่าอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น 22% เมื่อผู้ช่วยชีวิตโทรแจ้ง 911 (สายด่วน 191 ของบ้านเรานั่นเอง) และได้รับการแนะนำให้กดอกเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าผู้ช่วยชีวิตจะได้รับการฝึกกดอกมาก่อนหรือไม่ ก็ไม่มีผลต่อการศึกษานี้ เมื่อผู้ช่วยชีวิตถูกสอนให้กดอกเพียงอย่างเดียว ก็ย่อมง่ายต่อการหาตำแหน่ง และการออกแรงกดอกจนกว่าทีมช่วยเหลือจะมาถึง อย่างไรก็ตามหากต้องรอทีมช่วยเหลือเป็นเวลานาน การช่วยหายใจก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ แต่ใน 5 - 10 นาทีแรกนั้น การกดอกสำคัญมากกว่า ที่มา : physorg
https://jusci.net/node/1266
การกดอกอย่างเดียว ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น
Yuri Gorby นักชีววิทยาจากสถาบัน J. Craig Venter ใน San Diego ค้นพบว่า แบคทีเรียที่อาศัยในทะเลลึกชนิดหนึ่งสา่มารถสร้างเส้นนาโน (nanowires) ด้วยโปรตีน เชื่อมต่อระหว่างแบคทีเรียด้วยกันเอง เมื่ออยู่สภาวะที่มีอ๊อกซิเจนน้อย เพื่อใช้ในการส่งต่ออ๊อกซิเจนระหว่างกัน เนื่องด้วยเทคโนโลยีระดับนาโน ทำให้เราสามารถวัดกระแสไฟฟ้าในปริมาณน้อยๆ ในเส้นนาโนด้วยการสอดแพทติเนียม แม้ว่าจะมีกระแสอิเล็กตรอนที่วัดจะมีปริมาณน้อย แต่มันก็เพียงพอต่อกิจกรรมภายในเซลล์ แม้ว่าการสร้างกระแสไฟฟ้าด้วยแบคทีเรียไม่ใช่พลังงานทางเลือก แต่มันอาจนำไปประยุกต์ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น และมันก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะราคาถูกและเพาะเลี้ยงได้ง่าย ที่มา: ScienceNews
https://jusci.net/node/1267
แบคทีเรียผลิตกระแสไฟฟ้า
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประสบความสำเร็จในการขุดอุโมงค์ลอดใต้เทือกเขาแอลป์ ซึ่งเป็นอุโมงค์สำหรับทางรถไฟที่ยาวที่สุดในโลกอันใหม่ Gotthard Base Tunnel มีคนคิดจะสร้างตั้งแต่ปี 1947 แต่ผ่านการลงประชามติในปี 1992 และเริ่มขุดเมื่อปี 1996 เวลาผ่านมาเกือบ 15 ปี วิศวกรและคนงานชาวสวิสก็ขุดอุโมงค์ได้เสร็จตามเป้าหมาย ส่วนรถไฟจะเปิดให้บริการในปี 2017 สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา การขุดอุโมงค์ครั้งนี้ช่วยลดเวลาการเดินทางจากซูริคไปยังมิลาน ซึ่งเดิมใช้เวลา 3.5 ชั่วโมง ลงเหลือ 2.5 ชั่วโมง สถิติอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในโลก ดูได้จาก Wikipedia เจ้าของสถิติอุโมงค์สำหรับทางรถไฟเดิมคืออุโมงค์ใต้น้ำ Seikan Tunnel ของญี่ปุ่น ที่มา - Gizmodo
https://jusci.net/node/1268
สวิตเซอร์แลนด์สร้างอุโมงค์สำหรับทางรถไฟที่ยาวที่สุดในโลก
ความคาดหวังว่าการทัวร์อวกาศจะเป็นอุตสาหกรรมที่ทำเงินเริ่มเข้าใกล้ความเป็นจริงอีกขั้น เมื่อบริษัท Virgin Galatic ประกาศความสำเร็จในการปล่อยยาน VSS Enterprise ลงจอดจากความสูง 13,700 เมตรได้อย่างปลอดภัย การทดสอบนี้เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของตัวยานเพื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้จากแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ โดยตัวยาน VSS Enterprise นั้นออกแบบมาเพื่อให้ทนทานต่อความเร็ว 3.5 เท่าของความเร็วเสียงเพื่อพุ่งออกนอกชั้นบรรยากาศ การปล่อยยานจากความสูง 13,700 เมตรทำให้มันกลายเป็นเครื่องร่อนเครื่องหนึ่งในกลุ่มที่ทำงานที่ความสูงที่สุดเท่าที่มีบันทึกมา อย่างไรก็ดี แนวคิดการทัวร์อวกาศก็ยังคงเป็นเรื่องที่ห่างไกลไปอีกหลายปี แต่ตอนนี้เองก็มีคนวางเงินจองตั๋วกับ Virgin Galactic ไปแล้วถึง 370 คน วีดีโดท้ายข่าวครับ ที่มา - Engadget
https://jusci.net/node/1269
Virgin Galactic ปล่อยยาน VSS Enterprise ร่อนลงจอดสำเร็จ
อัลตราซาวด์ คือคลื่นเสียงความถี่สูงเกินกว่าที่หูมนุษย์จะได้ยิน มีการนำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นช่วยคลายกล้ามเนื้อให้นักกีฬาที่มีอาการปวดเมื่อย, ช่วยละลายไขมันในผู้ป่วยที่ทำศัลยกรรมดูดไขมัน และช่วยขจัดคราบสกปรกออกจากเครื่องครัว โดยการใช้งานอัลตราซาวด์ที่เรารู้จักกันดีที่สุดคือ การสร้างภาพของทารกในครรภ์ กว่าทศวรรษที่ผ่านมา มีการใช้อัลตราซาวด์ในการต่อสู้กับโรคต่างๆ มากมาย ตอนนี้ได้มีการค้นพบประโยชน์ของอัลตราซาวด์อีกข้อหนึ่ง คือความสามารถในการยับยั้งเกราะป้องกันตามธรรมชาติ (natural barrier) ที่ทำหน้าที่ แยกหลอดเลือดออกจากเนื้อเยื่อสมองของหนูทดลองได้ชั่วคราว ซึ่งถ้าสามารถใช้เทคนิคนี้ในมนุษย์ได้ แพทย์ก็จะสามารถใช้อัลตราซาวด์ในการให้ยาทางหลอดเลือดดำ (intravenous drugs) เข้าสู่เซลล์สมองของผู้ป่วยได้โดยตรง ในปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังคงไม่มีทางรักษา ถึงแม้จะมีการพัฒนายาที่มีการพิสูจน์แล้วว่า สามารถรักษาเซลล์ประสาท (neuron) ที่ถูกทำลายจากตัวโรคเอาไว้ได้ นักวิจัยบางคนพยายามจะชะลอการดำเนินโรค โดยการฉีดยาเข้าไปในบริเวณสมองที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่การทำแบบนั้นมีความเสี่ยง, ค่าใช้จ่ายสูง และล้มเหลวถึง 9 ใน 10 ครั้ง งานวิจัยชิ้นนี้ ได้สร้างความหวังใหม่ในการรักษาอัลไซเมอร์ด้วยกระบวนการเพียง 2 ขั้นตอน คือการฉีดฟองอากาศขนาดจิ๋ว (microscopic bubble) เข้าไปในหลอดเลือดผ่านสายน้ำเกลือ (IV line) และปล่อยให้มันเคลื่อนที่เข้าไปในหลอดเลือดฝอยของสมอง (brain capillary) จากนั้นปล่อยคลื่นอัลตราวาวด์ (ultrasonic beam) เข้าไปเหนือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งจะทำให้ฟองอากาศเกิดการสั่นสะเทือน ไปรบกวนการทำงานของผนังหลอดเลือด ที่ทำหน้าที่กั้นไม่ให้สารบางอย่างผ่านเข้าไปยังสมองได้ (blood-brain barrier) ทำให้สามารถให้ยาเข้าไปยังสมองได้ในระยะเวลาสั้นๆ ที่มา : physorg
https://jusci.net/node/1270
ผู้เชี่ยวชาญ ใช้อัลตราซาวด์ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์
ปัญหาพื้นฐานของการผลักดันโครงการอะไรบางอย่าง อาจจะเริ่มต้นมาจากมุมมองของคนในชุมชนนั้นเอง กรณีพลังงานแสงอาทิตย์มีรายงานจากบริษัทวิจัย Gotham Research พบว่าแม้คนสหรัฐฯ จะหวังว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นทางออกในระยะยาวแต่ความมั่นใจในเสถียรภาพ และราคานั้นกลับตกต่ำ ตัวเลขที่สำรวจออกมาพบว่าเพียงร้อยละ 41 คิดว่าพลังงานแสงอาทิตย์มีราคาถูกพอสำหรับการใช้งาน และร้อยละ 34 เท่านั้นที่เชื่อว่าพลังงานแสงอาทิตย์มีความน่าเชื่อถือ ที่สำคัญคือคนสหรัฐฯ กลับไม่สามารถบอกได้ว่ามีเงินหนุนอุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิลอยู่มากเพียงใด โดยเงินกว่าหมื่นล้านดอลลาร์ถูกใช้ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมถ่านหินในรูปแบบของเครดิตภาษี เพื่อให้โรงงานไฟฟ้าเหล่านี้ลดการปล่อยคาร์บอนลง การต่อสู้นี้ยังเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานอีกต่อไป ที่มา - Wired
https://jusci.net/node/1271
ชาวอเมริกาหวังว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นทางออกระยะยาว แต่ยังไม่เชื่อถือมันในวันนี้
ในประเทศที่เจริญแล้วมีแนวโน้มที่คู่แต่งงานจะมีอายุสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาใหม่ที่พบในคู่แต่งงานบางคู่คือไม่สามารถมีบุตรได้เนื่องจากฝ่ายหญิงหมดประจำเดือนไปก่อนแล้ว แต่งานวิจัยล่าสุดก็สามารถบอกได้ว่ามียีนอยู่ 4 ตัวที่ส่งผลต่ออาการประจำเดือนหมดเร็วกว่าปรกติอย่างมีนัยสำคัญ รายงานเบื้องต้นนี้เป็นการสำรวจยีนของหญิงที่มีอาการประจำเดือนหมดเร็วกว่าปรกติจำนวน 2,000 คน ทีมงานวิจัยพบว่ามียีนสี่ต้วที่ส่งผลอย่างมากต่ออาการนี้ และคาดว่ายีนทั้งสี่น่าจะเป็นกุญแจสำคัญให้กับการอธิบายอาการประจำเดือนหมดก่อนวัยนี้ได้ ผู้หญิงที่มีอาการประจำเดือนหมดก่อนวัยนี้จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมลดลงขณะที่ความเสี่ยงของโรคระบบไหลเวียนโลหิต และโรคกระดูกพรุนจะสูงขึ้น ขั้นต่อไปของการวิจัยคือการติดตามกลุ่มตัวอย่าง 100,000 คนไปอีก 40 ปีข้างหน้าเพื่อยืนยันว่ายีนทั้งสี่ตัวนี้มีความเกี่ยวข้องกับอาการหมดประจำเดือนก่อนวัยนี้จริง ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1272
การตรวจยีนอาจช่วยทำนายการหมดประจำเดือนเร็วกว่าปรกติได้
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคมะเร็งในประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (chemotherapy) ที่มีอยู่ และการรักษาด้วยฮอร์โมน (hormonal therapy) ไม่สามารถฆ่าเซลล์ต้นกำเนิดของมะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer stem cells; CSCs) ได้ อย่างไรก็ตามทีมวิจัยได้มีการค้นพบส่วนประกอบของวิตามินอี หรือสาร γ-T3 (gamma-tocotrienol) ที่สามารถทำลายเซลล์ต้นกำเนิดของมะเร็งต่อมลูกหมากได้สำเร็จ และยับยั้งการเกิดซ้ำของโรค โดยสาร γ-T3 นี้ สามารถยังยั้งการก่อมะเร็ง (tumor formation) ในหนูทดลองที่มีการใส่เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก และเลี้ยงด้วยน้ำที่มีวิตามินอีผสมอยู่ได้อย่างสมบูรณ์ มากกว่า 70% ที่มา : physorg
https://jusci.net/node/1273
วิตามินอี แถวหน้าของการต่อสู้มะเร็งต่อมลูกหมาก
นักวิจัยจากสถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) เผยว่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบใหม่ จะมีขนาดบางเท่ากระดาษ และจะถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตั้งแต่บนกระจกหน้าต่าง ไปจนถึง บนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ผลงานวิจัยครั้งล่าสุดนี้นักวิจัยจาก MIT ได้โชว์ต้นแบบของเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์นี้โดยมันสามารถให้พลังงานแก่หลอดไฟ แอลอีดี (LED) Karen Gleason อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมีจาก MIT เผยว่าในแต่ละเซลล์ ของเซลล์แสงอาทิตย์ประกอบไปด้วย 5 ชั้นและถูกวางบนกระดาษ โดยในแต่ละชั้นจะทำหน้าที่ต่างๆกัน เช่น บางชั้นจะทำปฏิกริยา และทำการปล่อยอิเล็กตรอน ในขณะที่ชั้นอื่นทำหน้าที่เป็นวงจรไฟฟ้า Karen Gleason กล่าวว่าขณะนี้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้ยังอยู่ในขั้นทดลอง ซึ่งยังมีปัญหาเรื่องอัตราการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้ยังมีอัตราค่อนข้างต่ำ ที่มา Dicovery News
https://jusci.net/node/1274
เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์บางเท่ากระดาษ
การสังเคราะห์อนุภาคนาโน (nanoparticles) เป็นพื้นฐานของนาโนเทคโลยี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการคอมโพสิทและขนาดมัน ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาไปสู่การประยุกต์ในจำพวก โซลาเซลล์ (solar cell) หรือ พวกไบโอเซ็นเซอร์ต่างๆ Wenge Yang นักวิจัยห้องแล็ป Geophysical Laboratory จากสถาบัน Carnegie ได้กล่าวว่า "มันยากที่จะสร้างอนุเล็กๆ เหล่านี้ในอดีตมันต้องการสภาวะสุญญากาศและต้องสร้างในโลหะตัวนำเหลว (metal-conducting liquid)" ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ high-energy X-rays ศึกษาโึครงสร้างผลึกนาโน (nanocrystals) ด้วยการเลี้ยวเบน ผลึกซึ่งเริ่มปลูก (growth) จะโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วย เราจะเห็นการวิวัฒนาการและการเคลื่อนไหวของมันนับตั้งแต่เริ่มปลูก เป้าหมายก็คือการใช้เทคนิคใหม่นี้ศึกษาปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความดัน ทำให้เราสามารถออกแบบวัสดุใหม่ๆ ได้ตามความต้องการเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านวัสดุด้านพลังงาน ( energy material ) ( ตามความเข้าใจของผู้แปล น่าจะหมายถึงวัสดุจำพวก โซลาเซลล์ หรือ เซลล์เชื้อเพลิง ( fuel cell ) เป็นต้น ) ที่มา : ScienceNews
https://jusci.net/node/1275
ก้าวใหม่สู่นาโนเทคโนโลยีด้วยผลึกนาโน
Dead Sea Scroll เป็นจารึกโบราณที่ถูกค้นพบในถ้ำริมทะเลสาบ Dead Sea ในอิสราเอล จากรึกเหล่านี้เขียนลงในกระดาษโบราณ นับรวมกันได้ 972 ชิ้น โดยคาดว่าถูกเขียนขึ้นระหว่าง 150 ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ. 70 เนื้อหาส่วนมากเกี่ยวข้องกับตำนานของชาวฮีบรูโบราณ ความสำคัญของมันคืออาจกล่าวถึงเนื้อหาของคัมภีร์ไบเบิลในยุคนั้น เพราะคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันตกทอดมาฉบับที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ดังนั้นไบเบิลในปัจจุบันอาจ "ผิด" ไปจากไบเบิลใน Dead Sea Scroll ที่มีอายุเก่ากว่ากันถึงหนึ่งพันปี ปัจจุบัน Dead Sea Scroll อยู่ใต้การครอบครองของอิสราเอล ที่ผ่านมามีนักโบราณคดีที่ได้สัมผัสกับมันน้อยมาก จนเกิดคำถามว่าเพราะเหตุใด อิสราเอลจึงได้หวง Dead Sea Scroll ขนาดนี้ และก่อให้เกิดคำถามถึง "ทฤษฎีสมคบคิด" อย่างมาก (การ์ตูนเรื่อง Evangelion นำพล็อตส่วนนี้ไปเป็นเนื้อเรื่องด้วย) ล่าสุด Israel Antiquities Authority ผู้ดูแลจารึกชุดนี้เปิดเผยว่ากำลังร่วมมือกับกูเกิล เพื่อถ่ายภาพความละเอียดสูงของ Dead Sea Scroll ทั้งหมด และจะนำขึ้นเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ถ่ายภาพจะถูกติดตั้งที่ IAA ปีหน้า และกระบวนการถ่ายภาพจะเริ่มขึ้นหลังจากนั้น การเผยแพร่ Dead Sea Scroll ผ่านอินเทอร์เน็ตจะช่วยให้การศึกษาค้นคว้าเดินหน้าอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกันก็เป็นการอนุรักษ์เอกสาร เพราะผู้ศึกษาไม่จำเป็นต้องจับตัวเอกสารฉบับจริงนั่นเอง ที่มา - Guardian
https://jusci.net/node/1276
Dead Sea Scroll จะเผยแพร่สู่ชาวโลกด้วยความร่วมมือจากกูเกิล
กราฟีนเป็นวัสดุที่สร้างความหวังให้กับก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ IBM สามารถนำมาผลิตทรานซิสเตอร์, ญี่ปุ่นและเกาหลีนำมาผลิตอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์โค้งงอ วันนี้ก็มาถึงเวลาของประเทศไทยที่นักวิจัยจากเนคเทคสามารถพิมพ์กราฟีนนี้ลงบนพื้นผิวด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตกันได้แล้ว น้ำหมึกกราฟีนนี้ทำจากกราฟีนที่ผสานเข้ากับพอลิเมอร์นำไฟฟ้า เมื่อพิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตราคาถูกได้ทำให้มีความเป็นไปได้ที่เราจะสร้างเซ็นเซอร์ราคาถูกประสิทธิภาพสูงได้ในอนาคต งานวิจัยนี้ค้นคว้าโดยหน่วยปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค โดย ดร. อดิสร เตือนตรานนท์, ดร. อนุรัตน์ วิศิษฐ์สรอรรถ, นายชาคริต ศรีประจวบวงษ์, และ นายดิษยุทธ์ โภคารัตนกุล และกำลังอยู่ระหว่างการยื่นขอจดสิทธิบัตร ที่มา - NECTEC Thailand Facebook
https://jusci.net/node/1277
NECTEC ประสบความสำเร็จในการพิมพ์กราฟีนลงบนพื้นผิวด้วยอิงค์เจ็ต
นิวตริโนเป็นอนุภาคพื้นที่ฐานที่ค่อนข้างแปลกจากอนุภาคอื่นๆ ด้วยความที่มันมีมวลน้อยมาก, ไม่มีประจุไฟฟ้า, และเดินทางด้วยความเร็วใกล้แสง ทำให้การตรวจจับทำได้ยาก และการศึกษาพฤติกรรม และผลกระทบของมันก็ยากมาก การสร้างห้องวิจัยจำเป็นต้องแยกจากโลกภายนอกให้อยู่ใต้ดินลึกมาก จึงมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ล่าสุดรัฐบาลอินเดียก็อนุมัติงบประมาณและสถานที่ให้สร้างห้องทดลองนิวตริโนห้องที่ 5 ของโลกแล้ว ห้องทดลองนี้สร้างโดย Indian Neutrino Observatory (INO) โดยใช้งบประมาณรวม 270 ล้านดอลลาร์ ห้องทดลองต้องขุดลึกลงไปใต้ภูเขาหินยาวสองกิโลเมตร และมีนักวิทยาศาสตรประจำการอยู่ 90 คนจาก 26 หน่วยงาน การศึกษานิวตริโนสามารถใช้เพื่อศึกษาดวงอาทิตย์ของเราเองด้วย เพราะขณะที่อนุถาคอื่นๆ ถูกรบกวนจากภาวะของดวงอาทิตย์ เช่นโฟตอนอาจจะใช้เวลาถึง 40,000 ปีก่อนจะหลุดออกมาถึงโลกของเรา แต่นิวตริโนจะพุ่งออกมาโดยตรงจากแกนกลางดวงอาทิตย์ถึงโลกของเราด้วยความเร็วใกล้แสงโดยแทบไม่ถูกรบกวนใดๆ ที่มา - BBC
https://jusci.net/node/1278
อินเดียอนุมัติสร้างห้องวิจัยนิวตริโนห้องที่ห้าของโลก
นักวิจัยในมหาวิทยาลัยโตรอนโต้ มิสสิซูกา ประเทศแคนาดา ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหนูทดลอง โดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีตัวผู้ และตัวเมียสมดุลกัน กลุ่มที่มีตัวผู้มากกว่า และกลุ่มที่มีตัวเมียมากกว่า เมื่อเลี้ยงมันจนโตแล้วศึกษาพฤติกรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศของพวกมัน จากการศึกษาพบว่า อัตราส่วนระหว่างเพศในท้องของแม่หนูไม่มีผลกับเรื่องนี้ แต่อัตราส่วนระหว่างเพศตอนเลี้ยงดูนั้นให้ผลชัดเจนกว่า ซึ่งผลที่ได้คือ หนูตัวผู้ที่มีพี่สาวน้องสาวมากกว่านั้น จะใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมทางเพศน้อยกว่า แต่มีจำนวนครั้ง และปริมาณอสุจิไม่ต่างกับกลุ่มหนูตัวผู้ในกลุ่มอื่น ๆ นั่นหมายความว่า หนูตัวผู้ในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพทางเพศมากกว่าหนูตัวผู้ในกลุ่มอื่น แต่เรื่องนี้กลับถูกชดเชยโดยการที่ หนูตัวผู้ในกลุ่มนี้กลับเป็นที่สนใจของหนูตัวเมียน้อยกว่าหนูตัวผู้ในกลุ่มอื่น ซึ่งพวกเขาสังเกตจากปฎิกิริยาของหนูตัวเมียจากการวิ่งเข้าหา หรือกระดิกหู ถึงจะเป็นเรื่องของหนู แต่ก็เอามาปรับใช้กับมนุษย์ได้อยู่บ้างเช่นกัน มันแสดงให้เห็นว่า ครอบครัวมีส่วนสำคัญ จำนวนพี่สาวน้องชาย และการปฏิบัติต่อกันนั้นมีผลสำคัญ และมันยังแสดงให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อมที่คุณเติบโตมานั้น ไม่ได้เป็นตัวกำหนดบุคลิกลักษณะของคุณ แต่มันช่วยให้เกิดขึ้นต่างหาก ที่มา: PhysOrg สำหรับมนุษย์แล้ว ประสิทธิภาพไม่เท่ากับประสิทธิผลนะครับ
https://jusci.net/node/1279
มีพี่สาวน้องสาวมากเกินไปมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ
เมื่อปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ตัดสินใจส่งยานอวกาศพุ่งชนดวงจันทร์ เพื่อดูว่ามีน้ำอยู่ใต้ผิวของดวงจันทร์มากน้อยแค่ไหน ปีนี้ NASA ได้ข้อสรุปแล้วว่ามีน้ำมากกว่าที่คิดไว้ น้ำเหล่านี้อยู่ในรูปน้ำแข็งใต้ผิวดิน และมีปริมาณมากพอสำหรับมนุษย์จะไปตั้งฐานบนดวงจันทร์แบบถาวร นอกจากนี้ NASA ยังพบว่าดวงจันทร์มีก๊าซไฮโดรเจน แอมโมเนีย และมีเธน อยู่เป็นปริมาณมาก ซึ่งอาจใช้ผลิตพลังงานเชื่อเพลิงได้ในอนาคต ส่วนแผนการของ NASA ที่จะส่งคนขึ้นไปบนดวงจันทร์อีกครั้งนั้นยังไม่ชัดเจนมากนัก โดย NASA ยังขัดแย้งกับรัฐบาลสหรัฐเรื่องงบประมาณและเป้าหมายอยู่ ที่มา - ComputerWorld
https://jusci.net/node/1280
NASA บอกว่าดวงจันทร์มีน้ำเพียงพอสำหรับการตั้งฐาน
การศึกษาของ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) แสดงให้เห็นสารที่มีพลังในการต่อสู้มะเร็งในต้นบร็อคโคลี่ชื่อ sulforaphane เป็นครั้งแรก ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารที่มีศักยภาพในการต้านมะเร็งอย่างมาก อีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการต้านกระบวนการอักเสบอีกด้วย โดยสามารถหลั่งออกมาจากบร็อคโคลี่ได้ด้วยการย่อยของแบคทีเรียในทางเดินอาหารส่วนล่าง (gut) แล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย การทดสอบทำโดยฉีดสาร glucoraphanin ซึ่งเป็นสารต้นกำเนิดของสาร sulforaphane เข้าไปในลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (cecum) ที่มีแบคทีเรียประจำถิ่นเหมือนกับลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ และเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหารส่วนล่างของหนูที่โดนผูกไว้ (ligated lower gut) พิสูจน์ให้เห็นว่า มีสาร sulforaphane ในเลือดจากหลอดเลือดดำมีเซนเทอริค (mesenteric vein) ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่มีเลือดจากทางเดินอาหารไหลไปที่ตับ เอ้า มากินบร็อคโคลี่กันเถอะ !!! ที่มา : physorg
https://jusci.net/node/1281
การค้นพบ อาจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เพิ่มพลังในการต้านมะเร็งของต้นบร็อคโคลี่
ช่วงนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในภาวะไม่ดีนัก แต่ที่น่ากังวลคคือการเปลี่ยนแปลงของแรงงานสหรัฐฯ ในช่วงนี้กลับผลักให้แรงงานที่เรียนจบวุฒิสูงๆ กลับไม่สามารถเข้าทำงานในตำแหน่งที่น่าจะตรงกับสิ่งที่เรียนมาได้ The Chronicle รายงานถึงงานที่ปรกติไม่ต้องการวุฒิปริญญาตรี พบว่าแรงงานในงานเหล่านี้กลับมีคนเรียนจบปริญญาอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นพนักงานเสิร์ฟ ที่มีคนจบปริญญาทำงานอยู่ถึง 317,759 คน, พนักงานบริการลูกค้า 482,784 คน, พนักงานขายทางโทรศัพท์ 54,713 คน แนวโน้มเช่นนี้ทำให้น่าวิตกว่าสหรัฐฯ กำลังไม่มีงานให้กับแรงงานที่มีวุฒิสูงเหล่านี้ หรืออีกทางหนึ่งคนที่เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยอาจจะไม่มีความสนใจที่จะทำงานในสายที่ตนเรียนอยู่ตั้งแต่แรก เช่น อาจจะเรียนเพื่อพัฒนาตัวเอง ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรหากสหรัฐฯ ไม่ได้ทำงบประมาณขาดดุลมหาศาลเพื่อมาสนับสนุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของประเทศอย่างหนักเช่นทุกวันนี้ บางทีที่บ้านเราบอกว่าเรียนมาแล้วไม่ค่อยได้ใช้ ปัญหาอาจจะเบากว่ามากแล้วก็เป็นได้ ถ้ามีการศึกษาอย่างจริงจัง ที่มา - The Chronicle
https://jusci.net/node/1282
อุตสาหกรรมสหรัฐฯ กำลังไม่มีงานให้แรงงานความรู้สูง?
การพบธาตุใหม่ๆ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดในปัจจุบัน จากการยิงโปรตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสโดยตรงทำให้เกิดธาตุใหม่ที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ และมักจะไม่เสถียรขึ้นมา อย่างไรก็ตามห้องวิจัย Lawrence Berkeley National Laboratory ก็ได้พบธาตุหมายเลข 114 ในไอโซโทปที่ค่อนข้างเสถียร ก่อนหน้านี้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของธาตุหมายเลข 114 นี้พบว่ามันมักจะสลายตัวไปภายในเวลาน้อยกว่าหนึ่งในสิบวินาทีเท่านั้น แต่การตรวจสอบครั้งล่าสุดนี้พบว่าบางไอโซโทปสามารถคงสภาพได้นานถึง 2.7 วินาที ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าเป็นเวลา "ชั่วนิรันดร์" สำหรับธาตุที่หมายเลขอะตอมสูงๆ เช่นนี้ เป็นที่เชื่อกันว่าการรวมตัวระหว่างนิวตรอนและโปรตรอนที่ลงตัว จะทำให้เกิดไอโซโทปที่ค่อนข้างเสถียรเป็นพิเศษสำหรับแต่ละธาตุ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถอธิบายถึงความพอดีเช่นนี้ได้ดีนัก การค้นพบใหม่นี้สร้างความหวังว่าเราจะเข้าใจถึงแกนกลางของอะตอมได้ดีขึ้น ที่มา - Wired
https://jusci.net/node/1283
พบธาตุที่ 114 มี isotope ที่เสถียร
จากการศึกษาของโรงพยาบาลเฮนรี่ฟอร์ด พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคผิวหนังอักเสบ (cellulitis) ควรได้รับการรักษาด้วยยาแวนโคมัยซิน (vancomycin) เป็นลำดับแรก มากกว่ายาฆ่าเชื้อ (antibiotic) ตัวอื่น เช่น เพนิซิลิน (penicillin) บางครั้งแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ก็มีความคลุมเครือ ในเรื่องความเหมาะสม ระหว่างการใช้แวนโคมัยซิน หรือยาในกลุ่ม B-lactam (Beta lactam) อย่างเพนิซิลินหรือเซฟาโลสปอริน (cephalosporins) ในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบ การศึกษาของโรงพยาบาลเฮนรี่ฟอร์ด ที่ทำระหว่างเดือนธันวาคม 2548 ถึง เดือนตุลาคม 2551 พบว่าผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ 226 คน ที่รักษาด้วย การฉีดแวนโคมัยซินเข้าหลอดเลือดดำ มีผลการรักษาดีกว่าและออกจากโรงพยาบาลได้โดยเฉลี่ยเร็วกว่าผู้ป่วยอีก 199 คน ที่รักษาด้วย การฉีดยา B-lactam เข้าหลอดเลือดดำ 1 วัน นอกจากนี้เชื้อเอ็มอาร์เอสเอ (MRSA: Methicilin Resistant Staphylococcus Aureus) ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าดื้อต่อยาฆ่าเชื้อเพนิซิลิน และยาอื่นๆ นั้น ไวต่อยาแวนโคมัยซิน ที่มา : physorg
https://jusci.net/node/1284
แวนโคมัยซิน เป็นยาที่ควรใช้เป็นอันดับแรกในการรักษาผิวหนังอักเสบ
นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าแผ่นดินไหวใหญ่ที่ประเทศเฮติเมื่อต้นปี อาจสร้างแรงกดดันที่มองไม่เห็นอยู่ใต้พื้นโลก และอาจส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่อีกรอบ เกาะ Hispaniola ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศเฮติ (อีกประเทศบนเกาะนี้คือสาธารณรัฐโดมินิกัน) เป็นจุดเสี่ยงของแผ่นดินไหวอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมืองหลวงของไฮติ Port-au-Prince การประเมินนี้ทำโดยนักวิทยาศาสตร์สองทีม ซึ่งความเห็นออกมาใกล้เคียงกันว่า "เฮติยังไม่ปลอดภัย" อย่างไรก็ตามต้องศึกษาต่อในรายละเอียดอีกมาก ที่มา - ABC
https://jusci.net/node/1285
เฮติมีความเสี่ยงจะโดนแผ่นดินไหวใหญ่อีกรอบ
Virgin Galactic บริษัทในเครือ Virgin Group ซึ่งหันมาเอาดีทางการขนส่งอวกาศเชิงพาณิชย์ ได้เปิดใช้งาน "Spaceport America" ท่าอวกาศยานเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลกแล้ว ท่าอวกาศยานแห่งนี้อยู่ที่เมือง Upham ในรัฐนิวเม็กซิโก จุดหลักของท่าคือรันเวย์พื้นหนา 42 นิ้ว ซึ่งรองรับน้ำหนักของยานอวกาศทุกชนิดที่มีในปัจจุบันได้สบาย การฉลองท่าอวกาศยานใหม่มีการโชว์ยานขนส่งอวกาศ WhiteKnightTwo ขนยานอวกาศ SpaceShipTwo ด้วย ลูกค้าของ Virgin Galatic ที่ต้องการสัมผัสอวกาศ ต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละ 200,000 ดอลลาร์ต่อเที่ยว (ประมาณ 6 ล้านบาท) ซึ่งขณะนี้มีลูกค้าต่อคิวกันยาว ที่มา - PC Magazine
https://jusci.net/node/1286
Virgin Galactic เปิด "ท่าอวกาศยาน" เชิงพาณิชย์แห่งแรก
บริษัท Kimberly-Clark วางจำหน่ายกระดาษชำระแบบม้วนตรา Scott รุ่นใหม่ ซึ่งใช้ชื่อว่า Naturals Tube-Free ความพิเศษของกระดาษชำระแบบนี้คือเป็นม้วนที่ไม่มีแกนกลางครับ (ดูภาพประกอบ) จุดเด่นอันใหม่นี้ช่วยลดปริมาณขยะจากแกนของกระดาษชำระได้มาก เฉพาะในอเมริกามีปริมาณขยะจากแกนกลางกระดาษชำระถึง 160 ล้านปอนด์ต่อปี Kimberly-Clark ไม่เปิดเผยความลับในการผลิต บอกเพียงแค่ว่าใช้กระบวนการม้วนกระดาษแบบพิเศษ ที่มา - USA Today ผ่าน Gizmodo
https://jusci.net/node/1288
พบกับ "ม้วนกระดาษชำระที่ไม่มีแกนกลาง"
ต้องกันกำกวมก่อนว่า ไม่ใช่ว่าเราผลิตสเตมเซลล์จากพืชนะครับ แต่หมายถึงการเอาสเตมเซลล์ของพืชมาใช้ Stem Cell - เซลล์ต้นแบบ หมายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ได้วิวัฒนาการเปนเซลล์อวัยวะของอะไรเปนพิเศษ และถ้านำไปไว้กับเซลล์อะไรก็จะพัฒนาตัวเองเปนเซลล์ชนิดนั้น ซึ่งได้มีการวิจัยสเตมเซลล์ในสัตว์(รวมถึงคน) เพื่อใช้ในการแพทย์ เช่นการใช้สเตมเซลล์รักษาเซลล์ประสาท อย่างสมองหรือไขสันหลัง ดังที่ทราบกันดีว่า วัตถุดิบเคมี สารสกัดต่างๆ เราได้มาจากพืชเปนส่วนใหญ่ ซึ่งหากเปนสเตมเซลล์ที่เพาะเลี้ยงได้ ก็จะสามารถสกัดสารต่างๆออกมาได้ในปริมาณมากอย่างสม่ำเสมอ จึงเปนสิ่งสำคัญในอุตสาหกรรมเคมีที่ต้องใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น ยา และเครื่องสำอาง ในตอนนี้ก็เริ่มมีการวิจัย สเตมเซลล์ ของ พืช โดยการนำเซลล์ของพืช ที่เก็บจาก *Cambium มาเพาะเลี้ยงในเตาปฏิกรณ์ชีวะ (ต้นฉบับใช้คำว่า Bioreactor ผมเข้าใจว่าเปนถังเพาะเลี้ยงเซลล์) อันที่จริงก่อนหน้านี้ก็มีการใช้ สเตมเซลล์เทียม ในการเพาะเลี้ยง โดยการนำเซลล์พืชมากระทำการ กำจัดความแตกต่าง (ต้นฉบับใช้คำว่า dedifferentiation มันคือการทำให้เซลล์พืช กลายเปนเซลล์ที่ไม่มีลักษณะของความเปนไม้ใบหรือเนื้อไม้) ซึ่งทำให้สามารถเพาะเลี้ยงได้เหมือนสเตมเซลล์ แต่การเพาะเลี้ยงด้วยวิธีการนี้ ไม่สามารถทำให้เจริญเติบโตได้มากนัก ต่างจากเซลล์ที่เก็บมาจากส่วน Cambium ซึ่งจะมีสภาพเปน **Meristematic Cell มีความสามารถในการเจริญเติบโตมากกว่า และยังผลิตสารสกัดในเซลล์มากกว่าเซลล์ปกติอีกด้วย จากข่าวต้นทาง มีการทดลองโดยใช้เซลล์ต้นยิว ซึ่งมีสาร Taxol ที่มีผลดีในการรักษามะเร็งปอดและมะเร็งมดลูก นำมาเพาะเลี้ยงในถัง 20 ลิตร (จากข่าวต้นทางไม่บอกปริมาณการเจริญเติบโต แต่บอกว่า ด้วยวิธีเก่าไม่สามารถที่จะเพาะเลี้ยงได้นอกจากในขวดขนาดเล็ก) ผลออกมา จากที่เคยเก็บเกี่ยว Taxol ได้ 20-84 มิลลิกรัม ต่อเซลล์ปริมาณ 1 กิโลกรัม ด้วยการใช้สเตมเซลล์ มีสาร Taxol เพิ่มขึ้นถึง 264 มิลลิกรัม ด้วยวิธีการเดียวกันนี้มีการทดลองกับโสม แปะก๊วย และมะเขือเทศ ซึ่งได้ผลออกมาอย่างดีเช่นเดียวกัน ไม่แน่ว่าผลผลิตการเกษตรในอนาคตที่ไม่ใช่อาหาร เช่นไบโอดีเซล ยางพารา หรือเยื่อกระดาษ ก็สามารถจะเพาะเลี้ยงเปนอุตสาหกรรมใหญ่ได้ ที่มา : ArsTechnica *Cambium : ผิวหน้าของชั้นวงปีรอบนอก ระหว่างเปลือกไม้กับเนื้อไม้ ในส่วนนี้จะยังมีการแบ่งตัวเจริญเติบโตอยู่ **Meristematic Cell : [Wikipedia|Meristem] สรุปก็คือ สเตมเซลล์ของพืชนั่นหละครับ แต่มีความแตกต่างจากสเตมเซลล์ในสัตว์เล็กน้อย เช่น มันไม่ได้เปนเซลล์ที่เปนต้นแบบโดยสมบูรณ์เหมือนเซลล์สัตว์ และยังสามารถจะเพิ่มจำนวนได้เองต่างจากสเตมเซลล์ในสัตว์ด้วย
https://jusci.net/node/1289
แนวทางอุตสาหกรรมใหม่ ด้วยสเต็มเซลล์จากพืช
มาตรฐานการวัดมวลในระบบ SI ที่เป็นกิโลกรัมอย่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ถูกเทียบจากมาตรฐานกลางคือแท่งแพลตินัมหรือทองคำขาวขนาด 1 กิโลกรัมที่ถูกเก็บไว้ในห้องนิรภัยในฝรั่งเศส ปัญหาคือแท่งแพลตินั่มนี้จะเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาไม่ว่าจะเก็บไว้ดีแค่ไหนก็ตาม การเสื่อมสลายของมวลมาตรฐานทำให้เราวัดค่าอื่นๆ ที่พึ่งมวลในการนิยามค่าได้ยากตามไปด้วย เช่น ไฟฟ้า (แอมแปร์), โมล, หรือกระทั่งความสว่าง ข้อเสนอใหม่คือการนิยามมวลด้วยค่าคงที่ Planck แทนเพื่อไม่ให้นิยามปริมาณมวลจะเสื่อมสภาพได้อีก โดยหากข้อเสนอนี้ผ่านจริงจะทำให้หน่วยพื้นฐาน 7 หน่วยได้รับการนิยามขึ้นใหม่ แม้ข้อเสนอนี้จะมีโอกาสได้รับการยอมรับ แต่ทาง NIST ก็ระบุว่าค่าคงที่พื้นฐานเช่น Planck เอง หรือค่าคงที่ Avogadro, และค่าคงที่ Boltzmann นั้นต้องได้รับการปรับปรุงให้แม่นยำขึ้นกว่าที่มีอยู่ตอนนี้เสียก่อน ที่มา - NIST
https://jusci.net/node/1290
สหรัฐฯ เสนอมาตรฐานวัดมวลด้วยค่าคงที่แทนแท่งแพลตินัม
ศาสตราจารย์ Zhipeng Wu แถลงข่าวถือเครื่องตรวจเนื้องอกในเต้านมแบบพกพา โดยสามารถแสดงภาพได้ตามเวลาจริง ก่อนหน้านี้การตรวจสอบเนื้องอกในเต้านมต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะในโรงพยาบาล และรอผลการตรวจนานหลายนาที แต่เครื่องรุ่นใหม่นี้ใช้คลื่นวิทยุและใช้เวลาต่ำภาพ เครื่องยังเป็นขั้นตอนการวิจัย ยังคงต้องรออีกนานกว่าจะสามารถใช้งานได้จริง ที่มา - School of Electrical and Electronic Engineering
https://jusci.net/node/1291
มหาวิทยาลัย Manchester แสดงเครื่องตรวจเนื้องอกในเต้านมแบบพกพา
จากการวิเคราะห์ข้อมูล 50 ปีย้อนหลัง ศ. Pinhas Alpert, ศ. Zev Levin และ ดร. Noam Halfon แห่งภาควิชา Geophysics and Planetary Sciences มหาวิทยาลัย Tel Aviv University สรุปว่า "การทำฝนเทียมแบบ cloud seeding โดยการใช้ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (silver iodide) และคาร์บอนไดออกไซด์แข็งกระตุ้นการกลั่นตัวของเมฆนั้นอาจจะไม่ได้ให้ผลที่มีประสิทธิภาพดังที่เคยเชื่อกัน" ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มาจากปริมาณน้ำฝนในบริเวณทะเลกาลิลี (Sea of Galilee) ทางตอนเหนือของประเทศอิสราเอล เทียบกันในช่วงเวลาที่มีและไม่มีการทำฝนเทียม รวมทั้งเทียบกับบริเวณใกล้เคียงที่ไม่มีการทำฝนเทียมด้วย จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นในบางช่วงเวลานั้นไม่มีปัจจัยเกี่ยวข้องกับการทำฝนเทียมแต่อย่างใด แต่กลับมีความสัมพันธ์อย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศในบริเวณนั้น เช่น พายุไซโคลนซึ่งทำให้ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นทั่วพื้นที่ทั้งในเขตที่มีและไม่มีการทำฝนเทียม ศ. Pinhas Alpert กล่าวเสริมว่า "สภาวะเพียงอย่างเดียวที่การทำฝนเทียมแบบ cloud seeding พอจะมีโอกาสประสบความสำเร็จคือต้องปฏิบัติการกับเมฆที่เกิดจากการยกตัวของมวลอากาศความชื้นสูงที่เคลื่อนที่ผ่านแนวเทือกเขา (orographic clouds) เท่านั้น" ข้อมูลการวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Atmospheric Research Zev Levin, Noam Halfon, Pinhas Alpert. Reassessment of rain enhancement experiments and operations in Israel including synoptic considerations. Atmospheric Research, 2010; 97 (4): 513 DOI: 10.1016/j.atmosres.2010.06.011 ที่มา Science Daily
https://jusci.net/node/1292
งานวิจัยชี้การทำฝนเทียมแบบ cloud seeding อาจไม่ได้มีประสิทธิภาพดังที่เคยเชื่อกัน
อันนี้เป็นข่าวเล็กๆจาก Ars Technica ครับ มีทีมวิจัยหนึ่ง ได้ตรวจพบว่า DNA ของเห็ดทรัฟเฟิลชุดหนึ่ง เป็นตัวกำหนดเพศ สรุปได้ว่าเห็ดทรัฟเฟิลไม่ได้แพร่สปอร์ตามปกติ แต่มีการผสมพันธุ์ด้วย! ซึ่งนี่อาจจะเปนกุญแจสำคัญที่จะทำให้เราสามารถนำเห็ดทรัฟเฟิลมา "เลี้ยง" ได้ เรื่องประหลาดคือ เห็ดพวกนี้จะอยู่รวมกันเปนสังคมเพศเดี่ยวครับ คือมันจะเกาะรวมกันเป็นกลุ่มในที่แห่งหนึ่ง แต่ทั้งกลุ่มมีเพศเดียว สืบพันธุ์ไม่ได้ และถึงจะจับทั้งสองเพศมารวมกัน แต่เมื่อออกลูกหลานไปได้ซักพัก จะมีเพศใดเพศหนึ่งค่อยๆลดลง จนในที่สุดก็จะกลายเปนสังคมเพศเดียวเหมือนเดิม จึงต้องอาศัยสัตว์หรือแมลง คอยเอาสปอร์ของเพศตรงข้ามมาส่งให้ การสืบพันธุ์จึงจะดำเนินต่อไปได้ ที่มา : Washington Post ที่มา 2 : Telegraph เกร็ดเล็กๆ - หมูเปนสัตว์ที่โปรดปรานทรัฟเฟิลมากครับ ทราบมาว่า คนเก็บเห็ดทรัฟเฟิลจะเลี้ยงหมูไว้หาเห็ดนี่มาตั้งแต่สมัยยุคโรมัน [ข้อมูลจากวิกิพีเดีย] ตั้งแต่อดีตแล้วที่สัตว์จำพวกหมูป่าในฝรั่งเศส สามารถดมกลิ่นหาเห็ดทรัฟเฟิลที่อยู่ลึกลงไปในดินกว่าสามเมตร และขุดขึ้นมากินอย่างเอร็ดอร่อย ผมเชื่อว่าไอ้พวกนี้แหละ ตัวการหลักที่คอยส่งสปอร์ให้เห็ดทรัฟเฟิลไม่สูญพันธุ์ ป.ล. ผมยังไม่เคยกินเห็ดทรัฟเฟิลเลย ใครเคยแล้วช่วยบอกหน่อยครับว่ามันอร่อยยังไง ป.ล.2 ปัจจุบันมีการใช้หมาแทน เพราะถึงหมูจะเก่งกว่า แต่มันขุดมาแล้วก็ต้องเลี้ยงมันด้วยทรัฟเฟิลนั่นด้วย บางคนก็เลยขี้เหนียว แต่เปนที่ยอมรับกันว่า อย่างน้อยถ้าเปนเรื่องของกิน หมูดมกลิ่นเก่งกว่าหมาหลายเท่า ป.ล.3 เห็นว่าเห็ดนี่มันเปนยาโป๊วด้วย
https://jusci.net/node/1293
เห็ดก็มีเพศ!
ทางอินเดียเพิ่งเตรียมสร้างห้องวิจัยนิวตริโนไป แต่ห้องวิจัย Fermilab ก็ประกาศว่าพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีนิวตริโนแบบที่สี่แล้ว โดยก่อนหน้านี้มีนิวตริโนที่พบแล้วสามแบบคือ อิเล็กตรอน, มิวออน (muon), และเทา (tau) หลักฐานที่ว่านี้ได้จากการทดลอง Mini Booster Neutrino Experiment (MiniBooNE) ที่ตรวจพบพฤติกรรมที่แปลกออกไปจากอนุภาคนิวตริโนที่เรารู้จักทั้งสามแบบ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าสิ่งที่มันตรวจพบนี้คือนิวตริโนแบบใหม่ โครงการ MiniBooNE คือโครงการวิจัยเพื่อค้นหามวลของอนุภาคนิวตริโนเพื่อทำความเข้าใจกับมันได้ดีขึ้น โดยเรารู้ว่านิวตริโนนั้นมีมวลน้อยมาก เพราะถูกแรงดึงดูดดูดได้เล็กน้อย และต้องใช้แรงนิวเคลียร์แบบอ่อนเพื่อกระทำการใดๆ กับมันเป็นหลัก ห้องวิจัย Fermilab เป็นห้องวิจัยแรกที่ประกาศการค้นพบนิวตริโนแบบเทา ที่มา - University of Michigan
https://jusci.net/node/1294
Fermilab พบหลักฐานบ่งชี้้ถึงนิวตริโนแบบที่สี่
ตั้งแต่เหตุการณ์ก่อการร้ายวันที่ 11 กันยายน 2001 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้โน้มน้ามให้ชาติต่างๆใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biometric Technologies) เพื่อเพิ่มมาตราการด้านความปลอดภัย ในอดีตเทคโนโลยีเหล่านี้มีราคาแพง จึงถูกใช้ในกองทัพ ตามชายแดน หรือ อาคารของรัฐบาล แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเหล่านี้มีราคาทีถูกลง จึงเป็นที่สนใจของภาคเอกชนและในวงการอุตสาหกรรม 10 เทคโนโลยีที่ใช้ในการยืนยันตัวบุคคล การยืนยันตัวบุคคลด้วยลายนิ้วมือ ลายนิ้วมือเป็นสิ่งที่รู้จักกันทั่วไป และเป็นวิธีที่มีความถูกต้อง โดยคนๆหนึ่งจะมีลักษณะของลายนิ้วมือที่เฉพาะเจาะจง การยืนยันตัวบุคคลด้วยใบหน้า ใบหน้าถูกนำมาใช้ในการยืนยันตัวบุคคลโดย การวัดระยะห่างระหว่างดวงตาทั้ง 2 ข้าง หรือ ระยะห่างระหว่างคิ้วถึงหน้าผาก แต่การยืนยันตัวบุคคลด้วยวิธีนี้มีข้อบกพร่อง ตรงที่ภาพถ่ายที่มีแสงและเงามีผลต่อการวิเคราะห์ หรือ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็อาจทำให้รูปหน้าเปลี่ยนแปลง หรือคนที่เคยได้รับการศัลยกรรมพลาสติก แต่ด้วยเทคโนโลยีการถ่ายภาพ 3 มิติสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนมุมของหน้าได้ การยืนยันตัวบุคคลด้วยเสียง เสียงที่เปล่งออกมาของแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะ ถึงแม้ว่าหูของมนุษย์จะไม่สามารถแยกแยะเสียงที่เล็กที่สุดซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล แต่ด้วยระบบยืนยันตัวบุคคลด้วยเสียงนั้นสามารถแยกแยะเสียงในระดับที่เล็กที่สุดได้ การยืนยันตัวบุคคลด้วยท่าทางการเดิน การวิเคราะห์ท่าทางการเดินนั้น เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับโตรงสร้างของร่างกาย ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของแต่ละคนเหมือน ลายนิ้วมือ หรือ หน้าตา นักวิจัยสามารถใช้การวิเคราะห์ท่าเดินเพื่อบอกความยาวของแต่ละก้าว หรือความสูงของบุคคลนั้นๆ ได้ นักวิจัยกล่าวต่อว่าวิธีการนี้ไม่ต้องการขออนุญาติต่อบุคคลนั้นๆ และยากที่จะปลอมแปลง จังอาจจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะใข้ในสนามบินได้ การยืนยันตัวบุคคลด้วยม่านตา ม่านตาของแต่ละคนมีความแตกต่างกันและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าลายนิ้วมือ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการถ่ายภาพม่านตาจากระยะไกลจะยังไม่สามารถใช้ได้ในปัจจุบัน การยืนยันตัวบุคคลด้วยลายมือ ความกว้าง ความยาว ความหนา หรือพื้นที่ผิวบนมือของแต่ละคนสามารถใช้ในการยืนยันตัวบุคคลได้ วิธีการนี้สามารถแยกความแต่กต่างในกลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง การยืนยันตัวบุคคลด้วยหู หูเป็นหนึ่งในตัวคนเราที่มีลักษณะเฉพาะ และไม่่เหมือนใบหน้า หูของคนเราไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงตามอายุ นักวิจัยจาก University of Southampton คนพบวิธีทำแผนที่รอยพับ หรือรอยโค้งต่างๆที่หู ซึ่งสามารถนำมายืนยันตัวบุคคลได้ ด้วยวิธีนี้สามารถทำการวิเคราะห์ได้ถึงแม้ว่าจะมีเส้นผมขวางอยู่ การยืนยันตัวบุคคลด้วยเส้นเลือดดำบนมือ รูปแบบเส้นเลือดดำในมือเป็นลักษณะเฉพาะ ไม่เปลี่ยนแปลงตามอายุ และยากต่อการปลอมแปลงเพราะว่ามันอยู่ในร่างการเรา โดยการใช้แสงอินฟราเรดถ่ายภาพที่มือ จะแสดงถึงเส้นเลือดหรือหลอดเลือดต่างๆ การยืนยันตัวบุคคลด้วยวิธีนี้ไม่ต้องการ การสัมผัสกับเครื่องมือ เป็นการง่ายที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง การยืนยันตัวบุคคลด้วยภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะวัดการทำงานของร่างกาย ในแต่ละคนจะมีลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในการวิจัยอยู่ การยืนยันตัวบุคคลด้วยดีเอ็นเอ (DNA) ดีเอ็นเอเป็นวิธีที่ทรงประสิทธืภาพมากที่สุด มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือที่สุด แต่ข้อเสียของวิธีการนี้คือใช้เวลานานในการวิเคราะห์ ถ้าหากนักวิจัยสามารถพัฒนาจนสามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการนี้จะกลายเป็นวิธีการสำคัญที่ใช้ยืนยันตัวบุคคล เนื้อหาเต็มๆ และรูปประกอบดูได้จากที่มานะครับ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ ที่มา Discovery news
https://jusci.net/node/1295
10 เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ยืนยันตัวตน
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Tel Aviv University จับมือกับบริษัทเอกชนวิจัยพัฒนาสร้างเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุระเบิดและสารพิษความแม่นยำสูงได้สำเร็จ จากผลการทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าจมูกสุนัขเสียอีก ทางมหาวิทยาลัย Tel Aviv University ได้ประกาศความสำเร็จนี้เมื่อวันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2010 ศาสตราจารย์ Fernando Patolsky หัวหน้าทีมวิจัยพัฒนายืนยันผลการทดสอบว่าเซ็นเซอร์ใหม่นี้สามารถตรวจจับได้แม้กระทั่ง PETN (pentaerythritol tetranitrate) ที่ถูกซ่อนไว้มิดชิดในตลับหมึกพรินเตอร์ ซึ่ง PETN นี้เป็นวัตถุระเบิดที่มีการแพร่โมเลกุลในอากาศน้อยมาก แม้แต่สุนัขที่ฝึกมาก็ยังไม่สามารถตรวจจับได้โดยง่าย เซ็นเซอร์ใหม่ที่ว่านี้พัฒนาด้วยนาโนเทคโนโลยี ภายในตัวเครื่องต้นแบบประกอบด้วย silicon nanowires เชื่อมต่อกันเป็นวงจรที่มีความไวต่อสภาวะไฟฟ้าของสภาพแวดล้อมเป็นอย่างสูง วงจรนี้เคลือบด้วยสารประกอบที่ออกแบบมาให้จับกับโมเลกุลของสารวัตถุระเบิดในอากาศโดยเฉพาะ นอกจากความแม่นยำแล้ว อุปกรณ์เซ็นเซอร์นี้ยังสามารถพกพาได้ง่ายอีกด้วย ทีมนักวิจัยคาดว่าจะสามารถผลิตอุปกรณ์เชิงพาณิชย์ป้อนตลาดได้ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ที่มา Discovery News
https://jusci.net/node/1296
เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุระเบิดที่แม่นยำมากกว่าจมูกสุนัข
ตำราภูมิคุ้มกันวิทยาที่ใช้กันในปัจจุบันอาจจะต้องเขียนใหม่กันยกเล่ม เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ค้นพบว่าแอนติบอดี้ที่ร่างกายสร้างขึ้นตามธรรมชาติสามารถเข้าไปจำกัดไวรัสในเซลล์ได้ ตามที่เราเชื่อกันทุกวันนี้ ระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำลายไวรัสได้เมื่อไวรัสอยู่ภายนอกเซลล์เท่านั้น เช่น ในกระแสเลือด หรือ น้ำเหลือง เป็นต้น เมื่อไวรัสผ่านเข้าไปในเซลล์ได้แล้วก็จะไม่มีอะไรทำลายไวรัสได้เลย ไม่ว่าจะเป็นแอนติบอดี้หรือยาปฏิชีวนะ หนทางสุดท้ายในการทำลายไวรัสก็คือต้องทำลายทั้งเซลล์ทิ้ง แต่การค้นพบครั้งใหม่แสดงให้เห็นว่าแอนติบอดี้ที่ร่างกายสร้างขึ้นสามารถเข้าไปในเซลล์ที่ถูกไวรัสบุกรุกและทำลายไวรัสได้จากภายในเซลล์เลย เมื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์ แอนติบอดี้จะไปกระตุ้นโปรตีนในเซลล์ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "TRIM21" จากนั้นโปรตีนนี้จะทำหน้าที่ไปกระตุ้นระบบป้องกันต่างๆ ในเซลล์อีกที หลังจากถูกทำลายจนหมดฤทธิ์ ไวรัสก็จะถูกกำจัดทิ้งออกนอกเซลล์ กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นรวดเร็วมาก กินเวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าเกินจากสองชั่วโมงไปแล้ว แอนติบอดี้ที่เข้ามาอยู่ในเซลล์ก็จะสลายตัวไปเอง ดร. Leo James หัวหน้าทีมนักวิจัยกล่าวว่า "นี่คือโอกาสสุดท้ายก่อนที่เซลล์จะติดไวรัส หลังจากนี้แล้วต้องทำลายทั้งเซลล์ทิ้งสถานเดียว" ดร. Leo James กล่าวต่อไปว่า "ความสุดยอดของกระบวนการนี้คือ ในวิธีเช่นนี้ไวรัสไม่มีโอกาสที่จะสร้างโปรตีนของมันเองออกมาต่อต้านระบบภูมิคุ้มกันได้เลย เราสามารถทำลายไวรัสได้โดยที่ไม่ทำอันตรายให้กับเซลล์ร่างกายของเราแม้แต่น้อย" ไวรัสที่พบว่าถูกทำลายได้ด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่ rhinovirus ที่ทำให้เกิดโรคหวัด, noravirus, และ rotavirus ตอนนี้การทดลองยังอยู่ในขั้นทดลองกับเซลล์มนุษย์ที่เลี้ยงในหลอดทดลองเท่านั้น แต่นักวิจัยเชื่อว่ากุญแจสำคัญของกระบวนการนี้ คือ โปรตีน TRIM21 ซึ่งยังคงต้องวิจัยในระดับที่ทดลองในร่างกายสิ่งมีชีวิตต่อไป ทีมนักวิจัยคาดว่าการทดสอบในระดับคลีนิกนั้นต้องใช้เวลาอีก 2-5 ปี หากได้ผลสำเร็จ ก็อาจจะเป็นครั้งแรกที่มนุษยชาติได้รู้จักกับ "ยาแก้โรคหวัด" จริงๆ สักที ("ยาแก้ไข้" ในปัจจุบันไม่ได้ทำลายเชื้อหวัดโดยตรง แต่เป็นการบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคเท่านั้นเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพอจะสร้างภูมิคุ้มกันออกมาทำลายเชื้อหวัด) ที่มา The Independent via Popular Science
https://jusci.net/node/1297
การค้นพบครั้งใหม่: ระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติสามารถทำลายไวรัสภายในเซลล์ได้
ความยากของพลังงานหมุนเวียนประการหนึ่งคือการเก็บพลังงาน เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนเช่นลม, คลื่น, หรือแสงอาทิตย์นั้นมักมีข้อจำกัดในการผลิตพลังงานไม่ได้ตลอดเวลา และการเก็บพลังงานในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้านั้นมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่วันนี้ MIT หรือสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ทก็ได้แสดงความสำเร็จในการเก็บความร้อนไว้ในรูปแบบของพันธเคมี สารที่ใช้เก็บความร้อนนี้คือ fulvalene diruthenium เมื่อมันได้รับความร้อนสูงพอ โมเลกุลของมันจะบิดตัวไปเสถียรอยู่ที่รูปแบบที่เปลี่ยนไป และเมื่อได้รับสารกระตุ้น (catalyst) มันจะคลายตัวและปล่อยความร้อนออกมา โดยความร้อนที่ได้อาจจะสูงถึง 200 องศาเซลเซียส เพียงพอแก่การต้มน้ำร้อน กระบวนการเปลี่ยนสถานะของสารที่กลับไปกลับมาได้ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าอนาคตเราจะขนส่งพลังงานในรูปแบบของแบตเตอรี่ความร้อนโดยตรง เมื่อพลังงานหมดเราก็เพียงนำแบตเตอรี่เหล่านี้ไปตากแดด หากเราต้องการความร้อนเช่นต้มน้ำ ก็อาจจะใช้ความร้อนที่เก็บไว้ หรือหากต้องการแรงกลขับเคลื่อนก็ค่อยไปแปลงพลังงานภายหลังอีกครั้ง หรืออนาคตเราจะกลับไปใช้รถจักรไอน้ำกันอีกครั้ง? ที่มา - MIT
https://jusci.net/node/1298
MIT ประสบความสำเร็จในการสร้างแบตเตอรี่ "ความร้อน"
การส่งภาพแบบฮาโลกราฟิก หรือภาพสามมิติแท้จริงที่เครื่องฉายฉายวัตถุขึ้นมาทั้งก้อนนั้นเป็นความฝันของมนุษยชาติกันมานานตั้งแต่ภาพยนตร์หลายสิบปีก่อน และวันนี้เราก็ใกล้ความฝันนี้ไปอีกขั้นเมื่อความก้าวหน้าทางวัสดุศาสตร์ทำให้เราสามารถส่งภาพฮาโลกราฟิกที่อัพเดตทุกๆ สองวินาที ขีดจำกัดสำคัญของภาพฮาโลกราฟิกคือการแสดงภาพบนวัสดุที่เรียกว่า photoreactive polymer โดยแผ่นโพลิเมอร์นี้เมื่อถูกกระตุ้นโดยแสงเลเซอร์จะเกิดภาวะทึบแสงและสะท้อนแสงออกมา เมื่อเรากระตุ้นการทึบแสงนี้เป็นจุดๆ จำนวนมากก็จะทำให้เกิดภาพสามมิติขึ้นมาได้ แต่ปัญหาคือการลบภาพเดิมและวาดภาพใหม่นั้นทำได้ช้ามาก โดยทีมของดร. Pierre-Alexandre Blanche เคยสร้างแผ่นโพลิเมอร์ที่อัพเดตภาพได้ทุกๆ สี่นาทีเมื่อสองปีที่แล้ว การลดเวลาอัพเดตภาพเหลือเพียงสองวินาทีทำให้เราเริ่มสัมผัสได้ถึงการเคลื่อนไหวของภาพฮาโลกราฟิกเป็นครั้งแรก Blanche ระบุว่าทีมของเขาน่าจะเร่งความเร็วในการอัพเดตภาพขึ้นไปอีกร้อยเท่าตัวได้ภายในสองปีข้างหน้า เวลา 0.02 วินาทีจะทำให้เราสามารถแสดงภาพได้ 50 ภาพต่อวินาทีซึ่งก็คือภาพเคลื่อนไหวอย่างสมบูรณ์ ถึงตอนนั้นอาจจะต้องเตรียมหุ่น R2D2 กันให้พร้อม ที่มา - Wired
https://jusci.net/node/1299
การสื่อสารแบบฮาโลกราฟิกใกล้เป็นจริง
จริงๆ แล้วการที่สัตว์ตัวเมียจะมีลูกโดยที่ไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้ไม่ใช่เรื่องแปลก นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์ลักษณะนี้โดยทั่วไปว่า "Parthenogenesis" สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดสามารถออกลูกออกหลานแพร่พันธุ์ได้ต่อเนื่องหลายชั่วรุ่นโดยไม่ต้องอาศัยตัวผู้เลย แต่สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังแล้ว ปรากฏการณ์ลักษณะนี้ไม่ได้มีให้พบเห็นกันบ่อยครั้ง ที่ทราบๆ กันก็มีสัตว์เลื้อยคลานจำพวก lizards ไม่กี่ชนิด ดังนั้นการค้นพบล่าสุดที่ว่างู boa constrictors (Boa constrictors) ตัวเมียสามารถมีลูกได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์นั้นจึงเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิทยาศาสตร์พอสมควร นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย North Carolina State University at Raleigh ได้ทำการศึกษาชีวิตของงู boa constrictors ที่เลี้ยงอยู่ในร้านขายงู พบว่ามีงูตัวเมียตัวหนึ่งให้กำเนิดลูกงูเป็นเพศเมียล้วน และทุกตัวมีสีคาราเมลเป็นงูตัวแม่หมดซึ่งยีนสีคาราเมลนี้เป็นยีนด้อยของงูพันธุ์นี้ด้วย นอกจากนี้เมื่อทดสอบทางพันธุกรรมเพิ่มเติมก็พบว่าไม่มีลูกงูตัวไหนเลยมียีนแปลกปลอมจากงูตัวผู้ที่งูตัวแม่เคยผสมพันธุ์หรือเคยเจอมาก่อน นักวิทยาศาสตร์ยิ่งสับสนหนักเข้าไปใหญ่มีตรวจดูบันทึกพบว่าในปีที่คนเลี้ยงปล่อยงูตัวผู้ให้ผสมพันธุ์ แม่งูตัวนี้กลับออกลูกแบบ Parthenogenesis แต่ปีที่ไม่มีงูตัวผู้ แม่งูตัวเดียวกันกลับออกลูกที่มีการผสมของไข่กับสเปิร์มตามปกติ! ในการค้นพบครั้งนี้ตามมาด้วยความกังวลของนักอนุรักษ์ เนื่องจากการสืบพันธุ์แบบ Parthenogenesis เช่นนี้จะทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรงูลดลงเรื่อยๆ หากลูกงูที่เกิดจาก Parthenogenesis สามารถออกลูกต่อได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้ ลักษณะด้อยบางอย่างที่ไม่เป็นผลดีก็จะแพร่กระจายไปในประชากร ส่งผลให้งูเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในที่สุด ที่มา Live Science ป.ล. ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นข่าวดีของคนเลี้ยงงูนะ รู้สึกว่างู boa constrictor นี่จะค่อนข้างฮิตซะด้วย หน้าตามันคล้ายๆ งูหลามเลยอะ
https://jusci.net/node/1300
งูตัวเมียมีลูกได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์
ตำราชีววิทยาที่เราเรียน (และหลับบ้าง อะไรบ้าง ^.^) มาตั้งแต่ ม. ต้น ล้วนพร่ำสอนกันมาว่าลักษณะของเยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิต (cell membrane) นั้นเป็นชั้นไขมัน (lipid bilayer) ที่ไหลไปมาได้ทั่วเหมือนชั้นน้ำมันในน้ำ ตามทฤษฎี "Fluid Mosaic Model" ที่เชื่อกันมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่จากการทดลองโดย Christopher W. Harland และ Miranda J. Bradley นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยโอเรกอนกลับพิสูจน์ได้ว่า แท้จริงแล้วเยื่อหุ้มเซลล์มีลักษณะหยุ่นหนืด (viscoelastic) เหมือนแป้งข้าวโพดผสมน้ำข้นๆ ที่ตีจนเหนียวยังไงยังงั้น การทดลองทำโดยการสังเกตการเคลื่อนที่ของอนุภาคระดับขนาดนาโนเมตรที่มีชั้นเยื่อของไขมันยึดอยู่แบบเดียวกับลักษณะพื้นฐานที่พบในเยื่อหุ้มเซลล์ทั่วไป เมื่อทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วสรุปได้ว่า คุณสมบัติของชั้นเยื่อไขมันนั้นไม่ตรงกับลักษณะที่ของไหลแบบนิวโตเนียน (Newtonian Fluids) ควรจะเป็น แต่กลับมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความหนืดและความยืดหยุ่นแบบที่พบในน้ำแป้งข้นๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อถูกแรงกระทบก็สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนหนังยาง ไม่ใช่ยุบยวบไปแบบไม่มีแรงต้านดังที่เคยเข้าใจกัน ถ้าใครหาแป้งข้าวโพดมาตีเล่นไม่ได้ ลองดูตัวอย่างวิดีโอสาธิตหลังเบรคว่าแป้งข้าวโพดที่ตีจนเหนียวนั้นมันเด้งดึ๋งขนาดไหน ที่มา PhysOrg
https://jusci.net/node/1301
แท้จริงแล้วเยื่อหุ้มเซลล์เราเด้งดึ๋งได้
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าในจุดที่มีเซลล์เนื้องอกหรือมะเร็งจะพบเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งอยู่ด้วยเสมอ จนบางครั้งถือเอาว่าถ้าพบเซลล์ภูมิคุ้มกันแบบนี้อยู่รอบๆ กลุ่มเซลล์เมื่อไร ก็ให้สรุปได้เลยว่ากลุ่มเซลล์นั้นคือเซลล์เนื้องอก อย่างไรก็ตาม เซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดดังกล่าวก็ยังไม่เป็นที่ศึกษากันมากนัก ขนาดชื่อเฉพาะยังไม่มีเลย จนถึงตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังเรียกเซลลนี้ว่า "FAP-expreessing cell" ไปพลางๆ ก่อน (พลางๆ กันมาแล้วกว่า 20 ปี) ตามคุณสมบัติของมันที่มี Fibroblast Activation Protein (FAP) อยู่รอบผิวเซลล์ หลักฐานจากการทดลองของทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Douglas Fearon แห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์อาจจะทำให้มุมมองที่เรามีต่อเจ้าพวกเซลล์นี้ต้องเปลี่ยนไป เมื่อพบว่า เซลล์พวกนี้นี่แหละเป็นพวกทุรยศ! มันนี่เองที่แอบช่วยเหลือปกป้องเจ้าพวกเซลล์เนื้องอกตัวร้าย การทดลองครั้งนี้ทำในหนูทดลองโดยการฉีดเซลล์เนื้องอกเข้าไปในร่างกายหนูสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มทดลองที่นักวิจัยกำจัด FAP-expressing cell ทิ้งหลังจากที่ฉีดเซลล์เนื้องอกเข้าไปแล้ว ผลการทดลองเป็นว่า เมื่อ FAP-expressing cell ถูกกำจัด เนื้องอกก็หยุดการขยายตัวทันที บางกลุ่มก็มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมด้วย ส่วนในกลุ่มควบคุม เนื้องอกเจริญตามปกติไปตามเรื่องของมัน เมื่อดูลึกลงไปอีก ทีมวิจัยก็พบว่า ในบรรดาเซลล์เนื้องอกที่ตายนั้น กว่าครึ่งตายเพราะขาดออกซิเจน ศาสตราจารย์ Fearon ตั้งสมมติฐานเพิ่มเติมว่า FAP-expressing cell อาจจะช่วยเหลือการเจริญของเซลล์เนื้องอกโดยการไปขัดขวางการทำงานของโปรตีน 2 ชนิด เพราะเมื่อนักวิจัยทดลองปิดกั้นการทำงานของโปรตีน 2 ตัวที่ว่า เซลล์เนื้องอกก็มีการตายน้อยลงเหมือนกัน FAP-expressing cell นี้นอกจากจะพบรอบๆ เซลล์เนื้องอกแล้ว ยังพบตามบริเวณที่มีการอักเสบเรื้อรัง เช่น ตามข้อของผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ ฯลฯ อีกด้วย ที่มา New Scientist หมายเหตุ คำว่าเนื้องอกกับมะเร็งมีความหมายแตกต่างกันนะครับ ไม่เหมือนกันซะทีเดียว เนื้องอก (tumour) คือกลุ่มก้อนของเนื้อเยื่อที่เซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งตัวอย่างผิดปกติ ตามปกติเซลล์ร่างกายของเราทุกเซลล์จะถูกกำหนดว่าต้องหยุดขยายตัวและตายเมื่อไร แต่เซลล์เนื้องอกจะไม่หยุดการเจริญและขยายตัวเลยตราบเท่าที่ยังมีอาหารและปัจจัยเพียงพอ เนื้องอกส่วนใหญ่จะไม่มีอันตรายหากมันไม่แพร่ขยายลุกลามไปทั่วอวัยวะหรือร่างกาย แต่บางครั้งเนื้องอกก็อาจจะกลายเป็นมะเร็งที่มีอันตรายถึงชีวิตได้ มะเร็ง (cancer) คืออาการโรคที่เซลล์ร่างกายบางกลุ่มขยายและแบ่งตัวผิดปกติ ลุกลามไปทั่วอวัยวะหรือทั้งร่างกาย จนเซลล์ร่างกายปกติได้รับอาหารและปัจจัยไม่เพียงพอ
https://jusci.net/node/1302
เมื่อภูมิคุ้มกันของเราแอบเข้าข้างปกป้องเซลล์มะเร็ง
หลายคนคงจำหุ่นยนต์ที่แปลงร่างจากรถไปเป็นหุ่นยนต์ได้ จากหนังเรื่อง Transformer ล่าสุด แผ่นวัสดุที่ทำจากเซรินผสมไฟเบอร์กลาสสามารถพับตัวเองได้ โดยแผ่นนี้ถูกแบ่งเป็นสามเหลี่ยม 32 ชิ้นย่อย รอยต่อระหว่างชิ้นถูกเชื่อมด้วยซิลิกอนยืดหยุ่น โดยรอยต่อนี้เมื่อถูกให้ความร้อนจากกระแสไฟฟ้า โดยเวลาที่ใช้พับประมาณ 15 วินาที ชมวิดีโอด้านใน Daniela Rus นักวิจัยผู้คิดค้นจาก MIT บอกว่า "แทนที่เราจะโปรแกรมให้เป็นแบบดิจิตอล เราก็เปลี่ยนเป็นแบบกลไกแทน" รูปร่างที่พับขึ้นกับว่าเราตั้งโปรแกรมมันอย่างไร "เรากำลังหาทางให้มันปรับเปลี่ยนได้หลายรูปแบบ" Robert J. Wood ผู้ร่วมพัฒนาจาก Harvard University กล่าวเสริม ที่มา ScientificAmerican ลองชมวิดีโอด้านล่าง
https://jusci.net/node/1303
แผ่นวัสดุพับตัวเองได้
Cleveland Clinic ได้ทำการสำรวจบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ และรวบรวม 10 อันดับนวัตกรรมทางการแพทย์ที่จะมีผลต่อชีวิตของเราในปีหน้าครับ 10 อันดับดังกล่าวมีดังนี้ การตรวจค้นหาโรคอัลไซเมอร์ การฉีดสาร AV-45 ซึ่งเป็นสารรังสีที่จะสามารถจับกับ Beta-myeloid Plaque ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอัลไซเมอร์ และสามารถทำ PET-Scan ได้ว่าสมองนั้นมีโอกาสเกิดอัลไซเมอร์ได้ (ซึ่งในปัจจุบันการบอกว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ชัวร์ๆ นั้นยังต้องรอการยืนยันด้วยการตัดเนื้อสมองไปดูหลังตายเท่านั้นครับ) ยา Anti-CTLA-4 (ipilimumab) ในการรักษามะเร็งผิวหนัง melanoma โดยยาดังกล่าวนั้นจะไปจับกับ CTLA-4 (cytotoxic T-Lymphocyte associated antigen 4) ซึ่งทำให้ T Cell ทำงานได้ดีขึ้นในผู้ป่วยโรคดังกล่าว การใช้วัคซีนรักษามะเร็ง วัคซีน sipuleucel-T นั้นสามารถกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้านตัวโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่กำลังเป็นอยู่ได้ (ซึ่งแตกต่างจากการให้วัคซีนปกติที่ให้ในคนที่ไม่เป็นโรค) และอัตราตายในสี่เดือนไปกว่า 24% ผลจากการศึกษา JUPITER ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่สุขภาพแข็งแรง ปริมาณไขมันชนิด LDL ไม่สูงเกินเกณฑ์แต่มีปริมาณ CRP สูงอาจจะจำเป็นต้องกินยาลดไขมันในกลุ่ม statin เพื่อลดอุบัติการของการเกิดโรคหัวใจ ยา Protease Inhibitor สำหรับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบชนิด C ซึ่งได้แก่ยา telaprevir และ boceprevir โดยการเพิ่มยานี้เข้าไปในการรักษาแบบเดิมนั้นช่วยลดปริมาณไวรัสได้มากกว่า การเฝ้าระวังโรคหัวใจล้มเหลวระยะไกล ซึ่งทำโดยการฝังหรือใส่เครื่องวัดสัญญาณต่างๆ เช่นความดันของหลอดเลือด Pulmonary Artery ไว้ในตัวผู้ป่วย และส่งสัญญาณผ่านระบบไร้สายไปยังแพทย์ การผ่าตัดกระเพาะเพื่อช่วยการลดน้ำหนักผ่านทางปาก (Transoral Gastroplasty - TOGA) ซึ่งทำการลดขนาดของกระเพาะด้วยการส่องกล้องเข้าไปทางปากแล้วไปเย็บกระเพาะให้เล็กลง โดยการผ่าตัดวิธีนี้ทำให้ไม่มีแผลที่หน้าท้องเลยเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบส่องกล้องธรรมดา การตรวจหา Nitric Oxide ในผู้ป่วยโรคหอบหืด โดยปริมาณของ NO ในลมหายใจออกนั้นจะสามารถบอกถึงความรุนแรงของตัวโรคในปอด และทำให้สามารถประเมินและปรับยาได้แม่นยำขึ้น ยารุ่นใหม่สำหรับโรค Multiple Sclerosis ซึ่งก็คือ fingolimod ที่ช่วยลดอาการของผู้ป่วยด้วยการป้องกันไม่ให้ T Cell เข้าสู่เนื้อเยื่อของระบบประสาทไปทำลายเยื่อหุ้มผิวประสาท (Myelin Sheath) การใช้แคปซูลติดกล้อง (Capsule Endoscopy) ในการตรวจโรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก ซึ่งทำได้ง่ายกว่าการส่องกล้องด้วยวิธีใส่กล้องไปในทางเดินอาหารตามปกติ ที่มา: Cleveland Clinic via MedGadget
https://jusci.net/node/1304
จับตา 10 นวัตกรรมทางการแพทย์ในปี 2011
ทฤษฎีเรื่องอุบัติของน้ำบนโลกที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันอธิบายไว้ว่า แรกเริ่มเดิมทีนั้นโลกของเราไม่มีน้ำอยู่เลย เพราะว่าอุณหภูมิเริ่มต้นตอนที่โลกถือกำเนิดนั้นสูงมากจนน้ำ (ถ้ามีอยู่) ระเหยหนีไปในอวกาศหมด ต่อมาพอโลกเริ่มเย็นลง ก็มีอุกกาบาตหรือดาวหางซึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์จากอวกาศพุ่งเข้ามาชนโลก แล้วก็ บู้ม! กลายเป็นโกโก้ครั้นช์ เอ๊ย ไม่ใช่ กลายเป็นมหาสมุทร ทะเลอย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ แต่จากการจำลองของทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Nora de Leeuw แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนได้เสนอหลักฐานใหม่ที่ว่า "โลกของเรานี้อาจมีน้ำมาตั้งแต่ต้น คือ ตั้งแต่วันแรกที่โลกถือกำเนิดเลย" ทีมนักวิจัยได้ทำการจำลองสภาพของฝุ่นผงอวกาศในคอมพิวเตอร์ ฝุ่นผงในแบบจำลองนั้นประกอบด้วยแร่ olivine ซึ่งเป็นแร่ที่พบได้ทั่วไปในระบบสุริยะของเราและเนบิวลา ดังนั้นพออนุมานได้ว่ามันก็น่าจะเป็นฝุ่นที่รวมเข้าไปในกลุ่มก้อนมวลก่อนจะเป็นดาวเคราะห์ด้วย จากการคำนวณสรุปได้ว่าการจะแยกโมเลกุลของน้ำออกจากฝุ่นผงนี้ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ขนาดในอุณหภูมิที่สูงถึง 630 องศาเซลเซียส โมเลกุลน้ำก็ยังคงอยู่ในเม็ดฝุ่นผงนี้ได้อย่างสบายๆ นักวิจัยคาดว่าโลกคงจะเก็บสะสมน้ำมาจากฝุ่นพวกนี้ตั้งแต่ตอนที่โลกเริ่มถือกำเนิด ในจุดที่อุณหภูมิและความดันสูงขนาดนั้น โมเลกุลน้ำที่แทรกอยู่ในฝุ่นผงพวกนี้ก็ค่อยๆ แยกตัวออกมาเรื่อยๆ พอโลกเย็นลง น้ำที่เป็นของเหลวก็รวมตัวกันกลายเป็นมหาสมุทรและทะเล ทฤษฎีใหม่นี้หลบเลี่ยงจุดอ่อนของทฤษฎี "ดาวหางโกโก้ครั้นช์" ไปได้สองข้อ ข้อแรกคือสัดส่วนของ "น้ำ-หนัก" (น้ำที่ในโมเลกุลประกอบด้วยดิวทีเรียมแทนที่จะเป็นไฮโดรเจน) ในมหาสมุทรบนโลกนั้นน้อยกว่าในดาวหางมาก ถ้าน้ำบนโลกมาจากดาวหางจริง สัดส่วนของ "น้ำ-หนัก" ก็ควรจะมีมากกว่านี้ ข้อสองคือถ้ามีลูกอุกกาบาตขนาดยักษ์แบบนั้นพุ่งชนโลกจริง แร่แพลตินัมและโลหะหายากอื่นๆ ที่พบได้ทั่วไปในอุกกาบาตก็ควรหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริงแร่พวกนี้กลับหาได้ยากมากบนโลก อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์หลายท่านก็ยังเชื่อว่าน้ำบนโลกอาจจะไม่ได้มีที่มาจากแหล่งเดียว น้ำที่ได้จากฝุ่นผงตอนที่โลกถือกำเนิดอาจจะเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็อาจจะมีบางส่วนมาจากแหล่งอื่นๆ ได้เช่นกัน ที่มา New Scientist
https://jusci.net/node/1305
โลกของเราอาจมีน้ำมาตั้งแต่ต้น
ผลการศึกษาจากโรงพยาบาลเซนต์ไมเคิล ประเทศแคนาดา พบว่าคนที่ดูแก่กว่าอายุจริงนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องมีสุขภาพร่างกายหรือสุขภาพจิตแย่เสมอไป นักวิจัยทำการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 คน อายุตั้งแต่ 30 ถึง 70 ปี ทุกคนจะได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตอย่างละเอียด แล้วถ่ายรูปไว้ จากนั้นนักวิจัยจะนำรูปถ่ายของแต่ละคนไปให้แพทย์ 58 คนลงความเห็นว่า เมื่อตัดสินจากรูปถ่าย กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนควรจะมีอายุเท่าไร ผลออกมาปรากฏว่ากลุ่มคนที่แพทย์ลงความเห็นว่ามีอายุมากกว่าอายุจริง 1-5 ปี ไม่ได้มีระดับสุขภาพแย่อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี 99% ของกลุ่มที่แพทย์ลงความเห็นว่ามีอายุมากกว่าอายุจริงเกิน 10 ปีขึ้นไปจะตรวจพบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพจริง ดังนั้นแล้วใครที่โดนเพื่อนทักว่าเป็น "พี่" หรือ "น้า" ก็ยังไม่ต้องกังวลนะครับ คุณยังอาจจะสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี แต่หากโดนทักว่า "ลุง" หรือ "ป้า" เมื่อไร ก็เตรียมตัวไปตรวจสุขภาพกันได้เลย ที่มา Science Daily
https://jusci.net/node/1306
การดูแก่กว่าอายุจริงไม่ได้หมายความว่าสุขภาพไม่ดี
พฤติกรรมการเสียสละ (Altruism) เป็นสิ่งที่พบได้แพร่หลายในสิ่งมีชีวิต ไม่เว้นแม้แต่ในมนุษย์ และนักวิทยาศาสตร์ก็มีความเชื่อมาตลอดว่าลักษณะนี้ต้องเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมโดยพันธุกรรม (อย่างน้อยก็บางส่วน) งานของทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Martin Reuter แห่งมหาวิทยาลัยบอนน์ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นครั้งแรกว่า ความแตกต่างของยีนแค่ตัวเดียวก็มีผลต่อพฤติกรรมการเสียสละของมนุษย์ได้ การทดลองเริ่มต้นโดยให้นักเรียนนักศึกษาประมาณ 100 คนท่องจำชุดตัวเลขชุดหนึ่ง เมื่อท่องจำได้ ก็จะได้เงินรางวัลจำนวน 5 ยูโร นักศึกษาแต่ละคนมีสิทธิ์เลือกว่าจะเอาเงินกลับบ้านหรือจะบริจาคในกล่องบริจาคก็ได้ โดยการตัดสินใจนี้จะถูกปิดเป็นความลับส่วนตัวของแต่ละคน มีเพียงนักวิจัยที่รู้เนื่องจากแอบนับเงินในกล่องบริจาคไว้ก่อนแล้วล่วงหน้า สุดท้ายนักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมทุกคนจะถูกขูดเยื่อบุข้างแก้มเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอ ยีนที่เป็นเป้าหมายหลักในการทดลองนี้คือ ยีนที่มีชื่อว่า "COMT" โดยยีนนี้จะปรากฏได้สองรูปแบบคือ COMT-Val และ COMT-Met ที่นักวิจัยเลือกยีนตัวนี้มีเหตุผลเพราะมีการศึกษากันมานานแล้วว่ายีน COMT นั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง เช่น Dopamine โดยเอนไซม์ที่ยีน COMT-Val สร้างมีผลในการยับยั้ง Dopamine ได้ดีกว่าเอนไซม์ที่สร้างจาก COMT-Met ถึง 4 เท่า นอกจากนี้ยีน COMTทั้งสองรูปต่างก็กระจายอยู่ในประชากรในสัดส่วนที่พอๆ กันอีกด้วย ผลการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มียีน COMT-Val (ซึ่งมี Dopamine ทำงานได้น้อยกว่า) บริจาคเงินมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มียีน COMT-Met ถึงสองเท่า จากที่รู้ๆ กันทั่วไป Dopamine มีส่วนในพฤติกรรมทางสังคมหลายอย่างของสัตว์ เช่น การผสมพันธุ์และการครองคู่ นอกจากนี้ Dopamine ยังเกี่ยวข้องกับความรู้สึกและอารมณ์ที่ดีๆ อีก ดังนั้นผลที่ออกมารูปแบบนี้ถือเป็นการยืนยันสมมติฐานที่คาดไว้ ต่อไปเราคงมีโครงการตัดต่อพันธุกรรมนักการเมือง หรือไม่ก็ประท้วงจับใครบางคนไปดอง Dopamine ^.^ พัฒนาการความเฮฮากีฬาสีกันไปอีกขั้น ที่มา Science Daily
https://jusci.net/node/1307
ยีนตัวเดียวก็กำหนดความใจบุญของเราได้
สมัยผมเด็กๆ มีดพับถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สุดยอดแห่งความเท่ ยิ่งถ้าใครมี MacGyver เป็นฮีโร่ในดวงใจด้วยแล้วก็จะกลายเป็นอุปกรณ์ที่พลาดไม่ได้ แม้เรามักคิดกันว่ามีดพับมีต้นกำเนิดจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพราะมีดพับยี่ห้อ Vitorinox ก็มาจากที่นั่น แต่พิพิธภัณฑ์ Fitzwilliam ก็กำลังจัดแสดงมีดพับจากยุคคริสตศักราชที่ 3 (ปี ค.ศ. 201-300) ตัวมีดพับเมื่อกางออกมาจะประกอบไปด้วย ส้อม, พายขนาเล็ก, ไม้จิ้มฟัน, มีด, เดือยตะปู, และช้อนอยู่ทางปลาย เอามาถือในยุคนี้อาจจะไม่เท่ แต่ 1800 ปีก่อนมันน่าจะเจ๋งมาก ที่มา - Fitzwilliam
https://jusci.net/node/1309
พิพิธภัณฑ์ Fitzwilliam จัดแสดง "มีดพับ" อายุ 1800 ปี
ในเชิงสัญลักษณ์ GM Volt (หรือ Chevrolet Volt) เป็นเหมือนตัวแทนของรถยนต์รุ่นใหม่หลังการล่มสลายและเกิดใหม่ของ GM (รวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐ) แต่ในเชิงเทคนิค มันคือความก้าวหน้าของวงการรถยนต์พลังไฟฟ้า ที่ใช้ซอฟต์แวร์เข้ามามีส่วนช่วยอย่างมาก รถปกติในปี 1980 มีส่วนที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แค่ 5% เท่านั้น แต่ปัจจุบัน Volt มีส่วนประกอบอิเล็กทรอนิสก์ถึง 40% มันมีคอนโทรลเลอร์มากกว่า 100 ตัว ซอฟต์แวร์มีขนาด 10 ล้านบรรทัด และมันมีหมายเลขไอพีของตัวเองด้วย Micky Bly หัวหน้าฝ่ายรถยนต์อิเล็กทรอนิกส์ของ GM บอกว่าเทียบกับคู่แข่งในตลาดแล้ว Volt มีโค้ดเยอะกว่า 40-60% และ "จิตวิญญาณ" ในการออกแบบนั้นเปลี่ยนมาเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์แทนเครื่องกลแล้ว ส่วนการทดสอบนั้นใช้ IBM Rational เข้าช่วย ที่มา - SmartPlanet
https://jusci.net/node/1310
GM Volt รถยนต์ไฮเทคที่รันด้วยโค้ด 10 ล้านบรรทัดและมีเลขไอพีของตัวเอง
ระดับวิทยาการสเต็มเซลล์ของมนุษยชาติก้าวล้ำหน้าไปอีกขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์ (McMaster University) ได้ค้นพบวิธีการเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังไปเป็นเซลล์ตั้งต้นเม็ดเลือด (hematopoietic progenitor cells) ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านการแปลงกลับไปมาเป็น pluripotent stem cells ก่อน (pluripotent stem cells คือสเต็มเซลล์ตั้งต้นที่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ต่างๆ ได้หลายชนิด) ก่อนอื่นเลยต้องอธิบายก่อนว่าการเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังให้กลายไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดนั้นสามารถทำได้อยู่แล้วในปัจจุบันโดยใช้ pluripotent stem cells ที่สกัดจากตัวอ่อนทารก (embryo) หรือจะเป็น pluripotent stem cells ที่แปลงมาจากเซลล์ผิวหนังของผู้รับเองก็ได้ ซึ่งทั้งสองวิธีล้วนมีข้อด้อย กล่าวคือสเต็มเซลล์ที่สกัดจากตัวอ่อนทารกนั้นอาจจะกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกันของผู้รับ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดเนื้องอกได้ด้วย ส่วนการแปลงเซลล์ผิวหนังกลับไปเป็น pluripotent stem cells แล้วค่อยแปลงกลับมาเป็นเม็ดเลือดนั้นเป็นกระบวนการที่วกวน เสียเวลาและกำลังทรัพย์เป็นอย่างมาก Mick Bhatia ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย McMaster's Stem Cell and Cancer Research Institute และคณะจึงค้นหาหนทางใหม่ในการเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังจากร่างกายปกติของผู้ใหญ่ไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดแบบที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการแปลงกลับไปกลับมา และในที่สุดก็ทำได้สำเร็จ คณะวิจัยกล่าวว่าสามารถใช้วิธีใหม่นี้ผลิตเลือดได้มากพอสำหรับการถ่ายเลือดหนี่งครั้งโดยใช้เพียงแค่แผ่นผิวหนังขนาด 4 x 3 ตารางเซ็นติเมตรเท่านั้น! จากการคาดการณ์ การทดสอบในระดับคลีนิคน่าจะมาได้ให้เห็นกันในปี ค.ศ. 2012 หรืออีกเพียงไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ถึงเวลานั้นผู้ป่วยที่ต้องการเลือดก็คงมีโอกาสในการรักษามากขึ้นและเสี่ยงอันตราย (จากบิลค่ารักษา) น้อยลง ที่มา Bangkok Post, Science Daily
https://jusci.net/node/1311
นักวิทยาศาสตร์เปลี่ยนเซลล์ผิวหนังให้กลายเป็นเลือดได้แล้ว
องค์กรตำรวจสากล หรือ Interpol ที่เคยมีชื่อปรากฏในหน้าข่าวการเมืองประเทศเราอยู่พักหนึ่งได้ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ในงานประชุมสามัญตำรวจโลกครั้งที่ 79 (79th Interpol General Assembly) ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ว่า นับจากนี้ไป ตำรวจสากลจะจับมือกับ CITES (Convention on International Trade in Endangered Species) เดินหน้าปราบปรามอาชญากรสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง แน่นอนครับ คนที่หน้าชื่นตาบานที่สุดสำหรับข่าวนี้ก็คงไม่พ้น CITES หลังจากทราบมติการประชุม John Scanlon เลขาธิการของ CITES ออกมากล่าวชื่นชมตำรวจสากลว่า "คงไม่มีสิ่งไหนเยี่ยมยอดไปกว่านี้อีกแล้ว หน้าที่ปกป้องสิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลกคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากตำรวจสากล พวกโจรชั่วที่ขโมยทรัพยากรธรรมชาติไปแสวงหาผลประโยชน์จะต้องโดนจับมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม" ทางองค์กรตำรวจสากลก็ยืนยันว่าอาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่จำกัดในพรมแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง และอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมเป็นขบวนการที่มีความสัมพันธ์กับอาชญากรรมในรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น การฆาตกรรม คอร์รัปชั่น โจรกรรม เป็นต้น องค์การตำรวจสากลเน้นย้ำอีกด้วยว่าทุกประเทศต้องรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ร่วมกัน เพราะอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของโลกใบนี้ทั้งใบ เป็นไปได้ว่าหลังจากงานประชุมจบลงในวันพฤหัสบดีนี้ (11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010) องค์กรตำรวจสากลคงจะมีการจัดตั้ง "คณะกรรมการอาชญากรรมสิ่งแวดล้อม" (Environmental Crime Committee) เพื่อดูแลจัดสรรปันส่วนงบประมาณและกำลังคนในการนี้โดยเฉพาะ ที่มา PhysOrg
https://jusci.net/node/1312
ตำรวจสากลประกาศสงครามกับอาชญากรสิ่งแวดล้อม
ถ้ามีคนบอกว่า "วันหนึ่งในอนาคต เราจะได้เห็นหุ่นยนต์ที่เรียนรู้จริยธรรมแบบมนุษย์ได้" เราก็คงมองคนนั้นว่าต้องเพิ่งอ่านนิยายมหากาพย์ภาคหุ่นยนต์ของไอแซค อาซิมอฟ จบมาแล้วเพ้อไปเป็นแน่ แล้วถ้าผมบอกว่า "วันนี้ ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ มีคนสอนให้หุ่นยนต์สามารถเรียนรู้จริยธรรมได้แล้วจริงๆ" หละ คุณจะเชื่อหรือไม่ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงครับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ Susan Anderson อาจารย์วิชาปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยคอนเน็คติคัต และสามีนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของเธอ ศาสตราจารย์ Michael Anderson แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์ตฟอร์ด (University of Hartford) ได้ร่วมมือกันนับเป็นเวลากว่า 10 ปีสร้างศาสตร์สาขาใหม่ขึ้นมา ศาสตร์นี้มีชื่อว่า "จริยธรรมของหุ่นยนต์" (Machine Ethics) ศาสตร์นี้เป็นการนำเอาทฤษฏีทางจริยธรรมเข้าไปประยุกต์ใช้กับเทคนิคของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อสร้างแนวทางในการโปรแกรมให้หุ่นยนต์ประพฤติปฏิบัติงานได้ตามแบบแผนจริยธรรมของมนุษย์ พื้นฐานทางปรัชญาที่ใช้ในศาสตร์นี้คือ "การตัดสินใจต่อหน้าที่เฉพาะหน้า" (prima facie duty approach) ซึ่งวางรากฐานโดย David Ross นักปรัชญาชาวสก็อตในปี 1930 ซึ่งหลักปรัชญานี้อธิบายการตัดสินใจกระทำการของมนุษย์โดยการไตร่ตรองระหว่างสมดุลของข้อผูกพันทางจริยธรรมต่างๆ เช่น การทำความดี การไม่ทำร้ายผู้อื่น การรักษาสัญญา การสำนึกบุญคุณ เป็นต้น คู่สามีภรรยา Susan และ Michael Anderson นับได้ว่าเป็นคนแรกที่นำหลักนี้เข้ามาใช้กับปัญญาประดิษฐ์ในหุ่นยนต์ (หรืออาจจะเป็นคนแรกที่นำหลักนี้มาประยุกต์ในทางปฏิบัติด้วยซ้ำ) การทดลองขั้นแรกของพวกเขาคือการโปรแกรมหุ่นยนต์พี่เลี้ยงหน้าตาน่ารักที่มีชื่อว่า "Nao" หน้าที่ของ Nao ในขณะนี้มีเพียงอย่างเดียวคือ การดูแลไม่ให้ผู้สูงอายุลืมกินยา ฟังดูก็ไม่น่าจะมีอะไรซับซ้อน กับแค่การเตือนให้กินยา นาฬิกาปลุกก็ทำได้นี่หน่า แต่ Nao มีความพิเศษตรงที่สามารถเรียนรู้ได้ว่าการเตือนให้ผู้สูงอายุทานยานั้นเป็นการดูแลไม่ให้ผู้สูงอายุได้รับอันตราย Nao ถูก "โปรแกรม" ให้เข้าใจความสำคัญในหน้าที่ของตัวเองและรับผิดชอบต่อหน้าที่นั้น Nao จะรู้ว่าต้องเตือนผู้สูงอายุบ่อยแค่ไหน และรู้จักกาละเทศะว่าเมื่อไรควรเข้าไปเตือน เมื่อไรที่ไม่ควรรบกวน หากผู้สูงอายุปฏิเสธยา Nao ผู้แสนดีก็จะทำหน้าที่ไปแจ้งแก่แพทย์ผู้ดูแลด้วย นอกจากเล่นกับ Nao เอ๊ย ทำงานวิจัยแล้ว ศาสตราจารย์ทั้งสองท่านยังแต่งหนังสือเกี่ยวกับศาสตร์ของ "จริยธรรมของหุ่นยนต์" ออกมาด้วย ความคาดหวังในอนาคตก็คือการสร้างมาตรฐานให้ปัญญาประดิษฐ์ในหุ่นยนต์เรียนรู้และหาทางตอบสนองต่อทางเลือกทางจริยธรรม (ethical dilemmas) ในสภาวะการณ์ต่างๆ ในชีวิตจริงได้อย่างถูกต้อง ที่มา PhysOrg ป.ล. อ่านข่าวนี้แล้วผมนึกถึงนิยายของ ไอแซ็ก อาซิมอฟ จริงๆ นะ ตัวเอกในเรื่องที่เป็นคนวางรากฐานจิตวิทยาหุ่นยนต์ก็ชื่อ "ซูซาน" (ซูซาน แคลวิน) เหมือนกันเลย
https://jusci.net/node/1313
จากนิยายสู่เรื่องจริง: สอนจริยธรรมให้กับหุ่นยนต์
ปัญหาการชาร์จไฟของรถไฟฟ้าที่มักใช้เวลานานนั้นมีการเสนอถึงกระบวนการเปลี่ยนแบตเตอรี่กันมานานแล้ว โดยการทำช่องเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้เป็นมาตรฐาน รถไฟฟ้าเหล่านี้สามารถเข้าศูนย์เพื่อเปลี่ยนถ่ายแบตเตอรี่ก้อนใหม่ที่มีไฟเต็มแล้วขับต่อไปได้ในเวลาไม่กี่นาที แต่ที่น่าสนใจคือบริษัทจีนอย่าง Beijing Pride Power Systems Technology ก็ประกาศว่าบริษัทเตรียมจะขายรถ C71 EV ภายในปี 2011 นี้แล้ว ด้วยราคา 300,000 หยวนหรือประมาณ 1,300,000 บาท แบตเตอรี่นั้นวางอยู่ใต้ท้องรถ มีขนาดความจุ 22kWh หนัก 340 กิโลกรัม ตัวเซลล์แบตเตอรี่เป็นแบบ lithium iron phosphate จ่ายไฟที่ความต่างศักย์ 3.2 โวลต์ต่อเซลล์ โดยแต่ละแพ็กจะรวมเอาเซลล์ 10 เซลล์ และชุดแบตเตอรี่จะรวม 10 แพ็ก หรือ 100 เซลล์เข้าด้วยกัน ไฟฟ้าทั้งหมดสามารถเดินทางได้ 150 กิโลเมตร และทำความเร็วสูงสุดได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่แน่ใจว่าระยะทางที่ว่านี้เปิดแอร์, วิทยุ, และเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ แล้วหรือไม่ ที่มา - Tech-On
https://jusci.net/node/1314
บริษัทจีนเริ่มบุกตลาดรถไฟฟ้า เตรียมขายรถแบบถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ปีหน้า
ในภาวะโลกร้อนเช่นนี้ หลายคนมุ่งหน้าไปหาพลังงานทางเลือก และหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่รู้จักกันมากที่สุดก็คงไม่พ้น "พลังงานลม" แต่เราคงต้องเจอปัญหาใหม่กันซะแล้ว เมื่อ Diandong Ren แห่งมหาวิทยาลัยเทกซัส ณ ออสติน พบว่าการที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น กระแสลมที่พัดจะมีความเร็วน้อยลง ทำให้เก็บเกี่ยวพลังงานลมมาใช้ได้น้อยลงด้วย Diandong Ren อธิบายว่ากระแสลมในชั้นบรรยากาศที่สูงจากพื้นดิน 1000 เมตรซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของกังหันพลังงานลมนั้นเกิดจากระดับความแตกต่างของอุณหภูมิที่ค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จากเส้นศูนย์สูตรถึงขั้วโลก ยิ่งความแตกต่างมีมาก กระแสลมก็ยิ่งแรง แต่ภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิที่ขั้วโลกสูงขึ้น ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับขั้วโลกจึงน้อยลง ส่งผลให้กระแสลมลดน้อยลงตามไปด้วย จากการคำนวณ เมื่ออุณหภูมิของโลกบริเวณเส้นละติจูดกลางๆ และละติจูดสูงๆ เพิ่มขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส ความเร็วของกระแสลมจะลดลงถึง 4-12% ทั้งนี้เมื่อตัดปัจจัยเรื่องสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป ตอนนี้เราก็คงต้องเลือกแล้วว่าจะวางกังหันเพิ่มขึ้นหรือจะหันไปหาพลังงานทางเลือกอย่างอื่นดี ที่มา PhysOrg
https://jusci.net/node/1315
ภาวะโลกร้อนทำให้พลังงานลมบนโลกน้อยลง
คลิกดูรูปประกอบ ที่นี่ กันครับว่ารูของสัตว์สี่ขาเมื่อ 350 ล้านปีที่แล้วหน้าตามันเป็นอย่างไร ร่องรอยรูโบราณนี้ค้นพบโดยคณะสำรวจนักบุพชีววิทยาที่นำโดยศาสตราจารย์ Ed Simpson แห่งมหาวิทยาลัย Kutztown University รัฐเพนซิลวาเนีย ลักษณะของรูในภาพถูกถมทับด้วยตะกอนที่กลายเป็นหิน แต่ก็พอจะมองเห็นได้ถึงโครงสร้างดั้งเดิมที่มีปากเปิดเป็นรูปกรวยที่คาดว่าน่าจะเปิดสู่แม่น้ำในยุคบรรพกาล จากปากรูก็เป็นท่อหักลงแล้วก็โค้งขึ้นสู่บริเวณที่เป็นโพรงที่คาดว่าน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ศาสตราจารย์ Ed Simpson ได้ถามความเห็นของนักศึกษาที่ร่วมทีมสำรวจจนได้ข้อสรุปว่าร่องรอยของรูนี้น่าจะเกิดจากการขุดของสัตว์สี่ขา ไม่น่าจะใช่ร่องรอยที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำหรือการกร่อนทลายตามธรรมชาติ เพราะรูมีขนาดลึกเกินกว่าจะเกิดขึ้นเองได้ เมื่อประเมินจากอายุของชั้นหินแล้ว พบว่ารูนี้มีอายุถึง 350 ล้านปี ดังนั้นสัตว์สี่ขาเจ้าของรูนี้มีโอกาสอย่างสูงที่จะเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหรือสัตว์เลื้อยคลานในยุคแรกๆ ความยาวลำตัวน่าจะประมาณ 2 ฟุต ศาสตราจารย์ Ed Simpson ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่ารูนี้เป็นวิวัฒนาการชั้นแรกเริ่มของรูปแบบรูในยุคต่อมาที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น รูของสัตว์ในยุคเพอร์เมียนจะมีลักษณะเป็นเกลียว เพื่อป้องกันอันตรายจากผู้บุกรุก เป็นต้น ที่มา Discovery News ป.ล. เหตุผลหลักที่ผมเขียนข่าวนี้ เพราะชอบวิธีการหาคำตอบของศาสตราจารย์คนนี้ คือ หันไปถามความเห็นของนักศึกษา แล้ววิเคราะห์ร่วมกัน แถมยังให้เครดิตนักศึกษาที่เสนอความเห็นเป็นชื่อแรกในบทความตีพิมพ์ด้วย ป.ล. ตรงย่อหน้าที่ 3 ตอนเขียน "รู" "กรวย" "ท่อ" ผมอ่านทวน แก้แล้วแก้อีก กลัวติดเรท :P
https://jusci.net/node/1316
ค้นพบรูของสัตว์สี่ขาที่เก่าแก่ที่สุด
ในวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลมีแนวคิดหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของแนวคิดทั้งหมดในสาขาวิชานี้เลย ทุกอย่างในสาขาล้วนต่อยอดมาจากแนวคิดนี้ทั้งสิ้น สิ่งนั้นเรียกว่า "Central Dogma" หลักการสั้นๆ ก็มีแค่ DNA เก็บข้อมูลพันธุกรรม, ข้อมูลใน DNA แปลงไปเป็น RNA, ข้อมูลบนสาย RNA ก็แปลงไปเป็นโปรตีนทำหน้าที่ต่างๆ ในเซลล์ ขั้นตอนแต่ละขั้นใน Central Dogma จะมีระบบตรวจสอบความถูกต้องที่เข้มงวดมากๆ ซึ่งผมไม่ขอลงละเอียดในที่นี้ (จริงๆ คือลืมไปหมดแล้ว เนียนนน ^.^) โอกาสความผิดพลาดแทบจะไม่ต่างจากศูนย์เท่าไร แต่ความเชื่อนี้ก็ต้องเป็นอันสั่นคลอน เมื่อ Mingyao Li นักพันธุศาสตร์จากโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียในรัฐฟิลาเดลเฟีย และคณะ ค้นพบว่ารหัสพันธุกรรมที่แปลงจาก DNA มาเป็น RNA นั้นมีความผิดพลาดกระจายอยู่เต็มไปหมด อันที่จริง RNA ที่สังเคราะห์จากสาย DNA ต้นแบบนั้นจะมีการตัดต่อและดัดแปลงเพิ่มเติมหลังจากกระบวนการ Transcription (กระบวนการคัดลอกข้อมูลพันธุกรรมจาก DNA ไปสู่ RNA) เป็นปกติอยู่แล้ว เช่น การเติมเบสปิดหัวปิดท้าย การตัด-เชื่อม เป็นต้น แต่ความแตกต่างระหว่าง RNA กับ DNA ต้นแบบที่คณะวิจัยค้นพบในครั้งนี้มันมีเป็นจำนวนมากและพบได้ทั่วไปเกินกว่าที่คาดกันไว้มาก จากการศึกษาเซลล์เม็ดเลือดขาวของกลุ่มตัวอย่าง 27 คน พบว่ามียีนถึงกว่า 4,000 ยีนที่ RNA "สะกด" ผิด และมีจุดที่สะกดผิดอยู่ถึง 20,000 ตำแหน่งทั่วทั้ง genome ลักษณะของการสะกดผิดที่พบบ่อยที่สุดคือ ตำแหน่งที่เป็น A ในสาย DNA กลายเป็น G ในสาย RNA ลักษณะการสะกดผิด A เป็น G นี้คิดเป็นสัดส่วนถึงหนึ่งในสามของการสะกดผิดทั้งหมด ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังงงงวยกับการค้นพบนี้ -_-? ไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร? และจะส่งผลต่อการสร้างโปรตีนหรือการทำงานของเซลล์อย่างไรบ้าง? สิ่งที่คาดกันไว้ก่อนมีแค่ว่า สาย RNA ที่สะกดผิดนี้น่าจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะถูกแปลรหัสไปสร้างโปรตีนเพี้ยนๆ ออกมา ที่มา Science News
https://jusci.net/node/1317
RNA ก็สะกดรหัสพันธุกรรมผิดกันได้
ช่วงนี้มหาวิทยาลัยก็น่าจะเปิดเทอมกันหมดแล้ว ข่าวนี้น่าจะเหมาะกับชีวิตนักศึกษานะครับ (แม้หัวข้อข่าวจะฟังดูชวนท้อแท้ไปหน่อยก็ตาม) เราคงสังเกตกันได้ว่าเพื่อนร่วมรุ่นมหาวิทยาลัยของเราหลายคนมีพรสวรรค์พัฒนาความสามารถในการเก็บสะสมไขมันได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงแค่ 4 ปี และพวกที่ได้รับพรสวรรค์นี้มักจะไม่ค่อยพอใจกับความสามารถของตัวเอง บ้างก็โทษฮอร์โมน บ้างก็โทษเพื่อน หนักหน่อยโทษโชคชะตาฟ้าดิน ไปโน่น แต่จากผลการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ Jeanne Johnston แห่งมหาวิทยาลัยอินเดียนา และคณะ ได้แสดงให้เห็นว่า "น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นนั้นอาจเป็นผลมาจากกิจกรรมในชีวิตช่วงเรียนมหาวิทยาลัยของเรานั่นเอง" คณะวิจัยพบว่า เวลาที่ใช้ออกกำลังกาย, เวลาที่นั่งนิ่งๆ, น้ำหนักตัว และ BMI (Body Mass Index) ของนักศึกษาปีหนึ่งกับนักศึกษาที่อยู่ในระดับปีสูงๆ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นักศึกษาปีสูงๆ มีแนวโน้มในการออกกำลังกายน้อยลง เช่น แทนที่จะเดินไปเรียนก็นั่งรถ ในขณะเดียวกันก็นั่งทำงานและนั่งเล่นเฉยๆ มากขึ้น และในที่สุดด้วยระดับกิจกรรมที่ลดน้อยลง น้ำหนักตัวและ BMI ก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วยเป็นเงาตามตัว เหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกตัว พอวันวัดตัวตัดชุดรับปริญญานั่นแหละถึงได้ตระหนักความจริงอันโหดร้าย ข่าวนี้ไม่ได้เขียนมาเพื่อทำร้ายจิตใจใครนะครับ สำหรับใครที่ยังเรียนอยู่ วันนี้ยังทันที่จะลุกขึ้นมาออกกำลังกาย ส่วนคนที่จบมาแล้วก็ยังคงไม่สายเกินแก้ครับ เรื่องแล้วมาแล้วให้แล้วไปดีกว่านะ ที่มา PhysOrg
https://jusci.net/node/1318
ชีวิตในมหาวิทยาลัยทำให้คนอ้วนขึ้น
ใครชอบไปเที่ยวทะเลอาบแดดคงรู้จักอาการผิวไหม้แดด (Sunburn) กันดี และคงรู้ด้วยว่ามันปวดแสบแค่ไหน ผลการศึกษาใหม่พบว่า วาฬ (หรือ ปลาวาฬ ที่หลายคนเรียกกัน) ก็เจอกับอาการผิวไหม้แดดได้เหมือนๆ กับมนุษย์ Karina Acevedo-Whitehouse และคณะได้ทำการถ่ายรูปและเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อผิวหนังของวาฬสามชนิดที่อาศัยอยู่ในอ่าวแคลิฟอร์เนีย ได้แก่ วาฬสีน้ำเงิน (Blue whales), วาฬครีบ (Fin whales), และ วาฬสเปิร์ม (Sperm whales) ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007-2009 การเก็บตัวอย่างทำโดยการยิงลูกดอกไปที่วาฬแล้วสกัดเนื้อเยื่อที่ติดมากับลูกดอกนั้น คณะวิจัยพบว่า เนื้อเยื่อผิวหนังที่เก็บมาเกือบทุกชิ้นมีเซลล์ที่ถูกทำลายด้วยรังสี UV (Ultraviolet ray) อยู่ด้วยในปริมาณมากจนน่าเป็นห่วง บางชิ้นก็พบเซลล์ที่ถูกทำลายนี้ในระดับชั้นผิวที่ลึกมาก หรือพูดง่ายๆ คือ โดนแดดเผาไหม้ทะลุไปถึงชั้นหนังแท้กันเลยทีเดียว วาฬชนิดที่มีอาการผิวไหม้แดดหนักหนาสาหัสที่สุด คือ วาฬสีน้ำเงิน ซึ่งมีเม็ดสี (pigment) ในผิวหนังน้อยกว่าวาฬอีกสองชนิดที่ทำการสำรวจ แต่ก็ไม่ใช่ว่าวาฬชนิดอื่นจะมีอาการดีกว่ากันมากนัก โดยเฉพาะวาฬสเปิร์มที่ต้องเจอกับแสงแดดมากกว่า เพราะใช้ชีวิตอยู่ใกล้ผิวน้ำมากกว่า อย่าลืมนะครับ วาฬไม่มีขนหรือเกล็ดหนาๆ ที่จะป้องกันแสงแดดได้เลย ในมหาสมุทรก็ไม่มีที่ร่มให้เข้าไปหลบแดดด้วย นักวิจัยเชื่อว่าสาเหตุที่วาฬมีอาการผิวไหม้แดดมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมานี้เป็นเพราะชั้นโอโซนที่บางลง ทำให้รังสี UV ส่องผ่านมาถึงผิวโลกได้มากขึ้น พื้นที่อ่าวแคลิฟอร์เนียที่ทำการสำรวจก็อยู่ใกล้กับพื้นที่เขตร้อนซึ่งมีระดับของรังสีที่ก่อให้เกิดมะเร็งสูงกว่าเขตอบอุ่นและเขตหนาวถึง 5 เท่า แม้ว่าปัจจุบันเราจะมีมาตรการลดการใช้สารที่ทำลายชั้นโอโซนกันอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคาดว่าต้องใช้เวลาอีกประมาณ 70 ปี กว่าชั้นโอโซนจะกลับมามีระดับเท่ากับที่เคยมีในปี ค.ศ. 1950 กว่าจะถึงเวลานั้น ใครจะอาสาไปทาครีมกันแดดให้วาฬบ้าง :D ที่มา Discovery News
https://jusci.net/node/1319
วาฬก็มีอาการผิวไหม้แดดได้
เราได้เห็นข่าวงู boa contrictors ออกลูกได้เองโดยไม่ต้องผสมพันธุ์กันไปแล้ว มาคราวนี้นักวิทยาศาสตร์ก็เจอสัตว์เลื้อยคลานที่ตัวเมียออกลูกได้เองโดยไม่ต้องผสมพันธุ์อีกครั้ง เป็นชนิดใหม่ (new species) ซะด้วย ที่สำคัญมันเป็นอาหารท้องถิ่นของประเทศเวียดนาม! บ้านใกล้เรือนเคียงเรานี้เอง เรื่องของเรื่องเริ่มต้นมาจากที่ Ngo Van Tri แห่ง Vietnam Academy of Science and Technology สังเกตเห็นว่าแย้ (butterfly lizard) ชนิดหนึ่งที่ขายทั่วไปตามร้านอาหารในจังหวัด Ba Ria-Vung Tau ประเทศเวียดนาม นั้นมีหน้าตาเหมือนกันหมดทุกตัว ด้วยความแปลกใจ เขาเลยถ่ายรูปแล้วส่งไปให้ดอกเตอร์ Lee Grismer และ Jesse Grismer ชาวสหรัฐอเมริกาสองพ่อลูกผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลาน สองพ่อลูกเห็นภาพที่ส่งมาก็แปลกใจว่าทำไมถึงมีแต่ภาพแย้ตัวเมีย ไม่เห็นภาพของแย้ที่น่าจะเป็นตัวผู้เลย (แย้ตัวผู้กับตัวเมียจะมีลวดลายต่างกัน) จึงตัดสินใจตีตั๋วบีนไปเวียดนามทันที เมื่อมาถึงประเทศเวียดนาม สองพ่อลูกถึงกับช็อคด้วยความผิดหวัง เพราะภาพที่เห็นต่อหน้าต่อตาคือสิ่งล้ำค่าอย่างสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลกกลับถูกยกเสิร์ฟในชามมาให้ลูกค้ากินกันชามแล้วชามเล่า ทั้งที่พวกเขาต้องนั่งเครื่องบินข้ามมาค่อนโลก ต่อจักรยานยนต์มาอีก 8 ชั่วโมงเพื่อจะได้มาเห็นแย้พวกนี้ตัวเป็นๆ กับตา แต่โชคดีที่แย้ชนิดนี้ไม่ได้เป็นสัตว์หายาก อันที่จริงพบได้ทั่วไปในท้องถิ่นซะด้วย หลังจากไปกว้านซื้อมาทั้งตลาดและจ้างเด็กๆ แถวนั้นให้ไปจับมาจากป่า สองพ่อลูก Lee Grismer และ Jesse Grismer ก็ได้ทำการสำรวจแย้ชนิดนี้รวมเกือบ 70 ตัว ผลปรากฏว่าทุกตัวเป็นเพศเมียหมดเลย! แย้ชนิดใหม่นี้ได้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leiolepis ngovantrii ตามชื่อ Ngo Van Tri ผู้ค้นพบคนแรก ดูรูปแย้ได้ ที่นี่ ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าแย้ชนิดใหม่นี้น่าจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม (hybrid species) ของแย้ท้องถิ่นสองชนิด จากการวิเคราะห์ mitochondrial DNA พบว่าสายพันธุ์ทางฝั่งแม่คือ L. guttata ส่วนสายพันธุ์ทางฝั่งพ่อนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด (mitochondrial DNA เป็นข้อมูลทางพันธุกรรมที่สืบทอดจากทางแม่สู่ลูก) ด้วยความที่ว่าแย้ที่ค้นพบนั้นมีแต่ตัวเมืย แถมหน้าตาเหมือนกันไปหมด ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแย้ L. ngovantrii นี้ต้องแพร่พันธุ์โดยไม่อาศัยการผสมพันธุ์กับตัวผู้ (Parthenogenesis) อย่างแน่นอน แต่แม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใหม่และแพร่พันธุ์โดย Parthenogenesis แย้ชนิดนี้ก็ดูเหมือนจะไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์แต่อย่างใด ทั้งนี้น่าจะเป็นผลมาจากการที่มันเป็นสายพันธุ์ลูกผสมนั่นเอง ทำให้ความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรมีมากอยู่แล้วตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมรับมือกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา บทเรียนนี้สอนให้รู้ว่า ก่อนจะเปิบพิสดารครั้งต่อไป ดูตัวแปลกๆ ที่อยู่ในชามให้ดีๆ คุณอาจจะค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกก็ได้ ที่มา National Geographic via Live Science
https://jusci.net/node/1320
พบแย้ชนิดใหม่ที่ออกลูกได้เอง...เสิร์ฟร้อนๆ ในชาม!
บริษัทวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ที่ชื่อว่า SRI International ได้เปิดตัววัสดุแบบใหม่ที่เรียกว่า electroadhesion ที่สามารถควบคุมความ "เหนียว" ด้วยไฟฟ้าได้ ทำให้เราสามารถสร้างพื้นผิวที่เปลี่ยนสถานะไปมาระหว่างเหนียวกับไม่เหนียวได้ตลอดเวลา คุณสมบัตินี้ทำให้เราสามารถสร้างอุปกรณ์แบบใหม่ๆ ได้มากมาก เช่นพื้นผิวเหนียวเช่นเทปกาวนั้นมักเสื่อมสภาพเมื่อถูกฝุ่นผงเป็นเวลานานๆ แต่ด้วยการปรับสภาพเป็นไม่เหนียวได้ก็จะทำให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้นมาก electroadhesion สามารถรองรับน้ำหนักได้ประมาณ 3 ขีดต่อตารางนิ้ว และใช้พลังงาน 70 ไมโครวัตต์ต่อตารางนิ้วเพื่อให้คงสภาพความเหนียว SRI สาธิตการทำงานด้วยหุ่นยนต์ปีนกำแพง (วีดีโอดูได้ท้ายข่าว) เอาล่ะ ใครอยากเป็น Spiderman บ้าง? ที่มา - Engadget
https://jusci.net/node/1321
SRI เปิดตัววัสดุดูดติดแบบควบคุมด้วยไฟฟ้า
ความเชื่อทั่วไปที่ว่าคนพิการอย่างหนึ่งมักจะมีประสาทสัมผัสอีกอย่างหนึ่งที่เหนือกว่าคนปกติทั่วไปดูเหมือนจะได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริงซะแล้ว เมื่อดอกเตอร์ Charlotte Codina แห่งมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ได้ค้นพบว่า คนหูหนวกสามารถพัฒนาประสาทสัมผัสทางการมองเห็นให้ดีกว่าคนปกติทั่วไปได้ การทดลองของ ดร. Charlotte Codina เป็นการสังเกตการตอบสนองของเด็กพิการหูหนวกแต่กำเนิดและเด็กปกติที่มีอายุตั้งแต่ 5-15 ปี โดยให้เด็กนั่งหน้าจอ LED ครึ่งทรงกลม เด็กจะต้องขยับจอยสติ๊กตามไฟ LED ที่กระพริบขึ้นบนทั้งสองข้างของจอแบบสุ่ม ซ้ายบ้างขวาบ้าง ตรงกลางจอจะมีกล้องซ่อนอยู่เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของลูกนัยน์ตาเด็ก ผลการทดลองที่ได้ออกจะแปลกประหลาดไปจากที่คาดเล็กน้อย โดยแบ่งรูปแบบได้ตามช่วงอายุของเด็กเป็น 3 ช่วงอายุ ดังนี้ เด็กเล็ก 5-10 ขวบ เด็กหูหนวกตอบสนองต่อการกระพริบของไฟ LED ช้ากว่าเด็กปกติ เด็กโต 11-12 ขวบ เด็กหูหนวกสามารถตอบสนองต่อการกระพริบของไฟ LED ได้เท่ากับเด็กปกติ เด็กก่อนวัยรุ่น 13-15 ขวบ เด็กหูหนวกตอบสนองการกระพริบของไฟ LED ได้เร็วกว่าเด็กปกติ แสดงให้เห็นว่าคนหูหนวกมีพัฒนาการสัมผัสการมองด้านข้าง (peripheral vision) มากกว่าคนปกติทั่วไป แม้ว่าในช่วงต้นของพัฒนาการ เด็กหูหนวกจะตอบสนองได้ช้ากว่า แต่เมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ ประสาทสัมผัสทางการมองเห็นของคนหูหนวกจะก้าวหน้าขึ้นมากกว่าคนปกติทั่วไป ในที่สุดคนหูหนวกที่โตเป็นผู้ใหญ่ก็จะมองเห็นได้ดีขึ้น กว้างขึ้น และตอบสนองได้เร็วกว่าคนทั่วไปมาก ที่มา PhysOrg
https://jusci.net/node/1322
คนหูหนวกมองได้ดีกว่าคนปกติ
นอกจากช็อกโกแลตจะทำให้หัวใจหนุ่มๆ หลายคนกระชุ่มกระชวยในวันวาเลนไทน์แล้ว (แต่กับบางคนจะเกิดอาการหัวใจห่อเหี่ยว) ในทางการแพทย์ช็อกโกแลตก็มีประโยชน์กับสุขภาพหัวใจของเราด้วย โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เรื่องนี้แม้จะรู้กันมานาน แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าเพราะอะไร (หมายถึงเรื่องในทางการแพทย์นะ ไม่ใช่เรื่องวันวาเลนไทน์) ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Ingrid Persson แห่งมหาวิทยาลัย Linköping University ในประเทศสวีเดนได้แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่าสารเคมีในช็อกโกแลตช่วยหัวใจของเราได้อย่างไร ทีมของศาสตราจารย์ Ingrid Persson ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างชาย 10 คน หญิง 6 คนที่มีอายุระหว่าง 20-45 ปี กลุ่มตัวอย่างทุกคนจะได้รับประทานช็อกโกแลตที่มีความเข้มข้นของโกโก้ 72% เป็นปริมาณ 75 กรัม นักวิจัยจะเจาะตัวอย่างเลือดของกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนทานช็อกโกแลต และหลังทาน 30 นาที, 1 ชั่วโมง, และ 3 ชั่วโมงเพื่อไปทำการตรวจวิเคราะห์ ผลการทดลองพบว่าหลังทานช็อคโกแลต ความดันเลือดและระดับการทำงานของเอนไซม์ ACE (Angiotensin-converting enzyme) ในเลือดของกลุ่มตัวอย่างลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะตัวอย่างเลือดที่เจาะหลังจากทานไปแล้ว 3 ชั่วโมง ระดับการทำงานของเอนไซม์ ACE ลดลงจากก่อนทานอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉลี่ยลดลงถึง 18% เมื่อเทียบกับเลือดที่เจาะก่อนทานช็อกโกแลต ศาสตราจารย์ Ingrid Persson อธิบายผลการทดลองนี้ว่าความดันเลือดของกลุ่มตัวอย่างที่ลดลงหลังจากรับประทานช็อกโกแลตเป็นผลมาจากที่สารในช็อกโกแลตไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ACE ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้นี่แหละที่เป็นตัวควบคุมความดันเลือดและสมดุลของของเหลวในร่างกาย เมื่อเอนไซม์ ACE ทำงานได้น้อยลง ความดันเลือดจึงน้อยลงตามไปด้วย สารออกฤทธิ์ที่คาดว่าจะเป็นตัวการในเรื่องนี้มีสองตัว คือ catechins และ procyanidines เนื่องสารทั้งสองนี้พบได้ในอาหารอีกหลายชนิดที่มีผลต่อการลดความดันเลือดในร่างกาย นอกจากช็อกโกแลตแล้ว หนึ่งในอาหารยอดนิยมที่มี catechins และ procyanidines อยู่ก็คือ ชาเขียว นั่นเอง รู้เช่นนี้แล้ว วันวาเลนไทน์ปีหน้า ใครที่ไม่ได้ช็อกโกแลต ก็ให้ไปซื้อชาเขียวมากินรักษาหัวใจกันเองนะครับ ที่มา Science Daily
https://jusci.net/node/1323
ทำไมช็อกโกแลตถึงดีกับหัวใจของเรา
ก่อนอื่นลองร้องหัวข่าวเปนเพลงดูนะครับ :D มุกเล็กน้อยพอกระษัยนะ อันนี้เปนงานวิจัยเรื่องของตัวอ่อนของแมลงวันผลไม้ครับ ว่ามันหนีรอดจาการคุกคามของนักล่าในธรรมชาติมาได้อย่างไร ก็ มีการทดลอง โดยฉายแสงลงไปที่ตัวหนอนที่โดนผ่าตัดเอาตาปกติออกไป ผลการทดลองปรากฏว่า เมื่อฉายแสงที่มีความเข้มประมาณ 0.57 mW/mm^2 หรือมากกว่า (เข้าใจว่าหน่วยนี้คือ มิลลิวัตต์ต่อตารางมิลลิเมตร แต่หน่วยมันสับสนยังไงอยู่นา...) หนอนน้อยตาบอดก็จะรู้สึกได้และพยายามกระดึ๊บหนี (จากแหล่งข่าว : แสงแดดในวันอากาศแจ่มใสของซานฟรานซิสโกมีความเข้มอยู่ที่ 1 mW/mm^2 ครับ) โดยสรุปคือ หนอนแมลงวันมีเซลล์ประสาทประเภทรับแสงกระจายอยู่ทั่วตัว ทำให้มันรับรู้ได้ว่ามุมไหนมีแสง และปลายเส้นประสาทประเภทนี้ยังเรียงตัวกันอย่างดีไม่มีการซ้อนทับกัน แล้วมันเกี่ยวกับการเอาชีวิตรอดอย่างไร? ว่ากันง่ายๆคือ มันทำให้หนอนพวกนี้รู้ตัวว่ามันกำลังอยู่ท่ามกลางความสว่างหรือเปล่า ถ้าใช่มันก็จะพยายามหนีไปหาที่มืดซึ่งปลอดภัยกว่า ซึ่งอาจจะเปนเพราะหนอนแมลงวันผลไม้ ใช้ชีวิตโดยการเจาะเข้าไปอาศัยในเนื้อผลไม้ โดยที่เมื่อหัวมุดเข้าไปแล้วก็จะมองอะไรไม่เห็น มันจึงมีเซลล์รับแสงทั่วตัว เพื่อให้รู้ว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งโดนแสงอยู่หรือไม่ ที่มา : ArsTechnica ป.ล. ยังไม่ทราบว่าเพราะอะไร แต่ผลการทดลองได้มาว่า เซลล์รับแสงของหนอนพวกนี้จะไวต่อแสงสีม่วงและน้ำเงินมากกว่า นั่นคือไม่ค่อยมีปฏิกิริยาตอบสนองกับแสงสีแดงและเขียว ส่วนตัวผมวิเคราะห์ว่า เพราะแสงเฉดฟ้าถึงม่วงเปนช่วงแสงที่จะกระจายตัวในอากาศและสะท้อนกับพื้นผิวต่างๆมากที่สุด ต่ำลงกว่านั้นเปนช่วงแสงที่ทะลุทะลวงกว่า ไม่จำเปนต่อการรับรู้เพื่อเอาชีวิตรอด คือเซลล์รับแสงช่วงอื่นไม่มีก็ไม่ตายเลยหายไปตามธรรมชาติ แต่ช่วงสีน้ำเงินนี่คอขาดบาดตายมากกว่า ป.ล.2 ส่วนตัวแล้วผมสนใจมากเลยว่า การได้มีโลกทัศน์แปลกๆแบบนี้ ถ้าเปนสมองคน เราจะได้เห็นอะไร แบบไหน โลกนี้จะมีรูปร่างยังไง
https://jusci.net/node/1324
หนอนน้อยมีตารอบตัว (รอบตัว รอบตัว)
ก็ ตอนนี้ กำลังมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์เล็กๆน้อยๆที่น่าจะเปนประโยชน์สูงประหยัดสุด นั่นคือ เครื่องปั่นไฟจากเศษพลังงานครับ ขอเกริ่นก่อนเลยว่า ในเครื่องจักร รวมถึงเครื่องจักรชีวภาพอย่างร่างกายของสิ่งมีชีวิต มักจะมีเศษเกินของพลังงานจากกิจกรรมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเปนความร้อน ความเครียด การสั่นสะเทือน เสียง และอื่นๆอีกมากมาย จะดีแค่ไหนหากเราสามารถคั้นเอาพลังงานเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้อีกเล็กน้อย ก็ได้มีการค้นคว้าวัสดุที่จะใช้ทำ Piezoelectric Effect ซึ่งก็คือการนำ คริสตัล(หรือวัสดุบางประเภท เช่นเซรามิค กระดูก โปรตีนบางชนิด) มาใส่แรงกดเข้าไป ก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์ขึ้นมาได้จำนวนนิดหน่อย ส่วนที่สำคัญคือเครื่องมือที่จะเก็บพลังงานเล็กน้อยเหล่านั้นไว้ได้ อาจเปน Capacitor หรือ Battery ก็ตามแต่ แต่จากการทดลองหยาบๆก็ยังสามารถแสดงตัวเลขขึ้นจอ LED ได้ครับ ซึ่งก็ได้วัสดุที่เหมาะสมคือ แบเรียมไททาเนต ซึ่งมีความเข้ากันได้กับชีวเคมี(ไม่เปนพิษต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต) การทดลองคือทำอุปกรณ์ขนาดประมาณนิ้วโป้ง มีแผ่นฉนวนหุ้มคริสตัลของแบเรียมไททาเนตบางๆ ผลที่ได้คือการบีบเบาๆหนึ่งครั้ง สามารถให้พลังงานได้ประมาณ 10 นาโนแอมป์ ความต่างศักย์ 1/3 โวลท์ (และเมื่อปล่อยก็จะได้กระแสไฟที่ความต่างศักย์ทวนทิศ) เป้าหมายของการค้นคว้าคือการสร้างอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ทางการแพทย์ ที่ต้องฝังเข้าไปในร่างกาย จะได้ใช้พลังงานส่วนเกินเหล่านี้เปนหลัก เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ ครับ ที่มา : ArsTechnica
https://jusci.net/node/1325
แล้วเราจะไม่เหนื่อยเปล่า
ต่อไปนี้เราจะมีเหตุผลที่จะไปกินโคขุนและสเต๊กกันมากขึ้น เมื่องานวิจัยโดย Frank Kachanoff จากมหาวิทยาลัย McGill ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ชายมีแนวโน้มจะใจเย็นลงเมื่อมองเห็นภาพเนื้อ การทดลองใช้ผู้ชาย 82 คน ให้จัดเรียงภาพตามคำสั่ง หากทำผิดพลาดจะถูกลงโทษด้วยเสียง โดยที่ผู้จัดการทดลองคาดกว่าเมื่อผู้เข้าร่วมเห็นภาพเนื้อ จะกระตุ้นความเกรี้ยวกราดในตัวเรา จากสัญชาตญาณในการล่า แต่ปรากฏว่าผู้เข้าร่วมที่เห็นภาพเนื้อกลับใจเย็นลง นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรเจรจาธุรกิจ หรือทำความเข้าใจกับคนรอบข้างในมื้ออาหาร ต่อไปเราจะน้ำหนักขึ้นกันอย่างใจเย็น ที่มา - The Globe and Mail
https://jusci.net/node/1326
มองเนื้อ (อาหาร) ช่วยให้ใจเย็น
หลังจากเมื่อวานเราเห็นข่าวความดีของช็อคโกแลตไปหยกๆ วันนี้ก็มีข่าวร้ายสำหรับคนรักช็อกโกแลตซะแล้ว เมื่อนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ใน 20 ปีข้างหน้า ราคาช็อกโกแลตจะพุ่งสูงขึ้นจนคนธรรมดามิอาจเอื้อมถึงอีกต่อไป ราคาช็อคโกแลตแท่งหนึ่งในอนาคตอาจจะพุ่งไปแตะระดับสามร้อยกว่าบาทเลยทีเดียว! สถิติที่เป็นลางร้ายของคำพยากรณ์นี้ก็คือ ในเวลาเพียง 6 ปีที่ผ่านมา ราคาช็อกโกแลตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ทุบสถิติราคาสูงที่สุดในรอบสามทศวรรษ แม้จะเป็นสถิติที่น่าตกใจ แต่คำอธิบายกลับง่ายมาก เรื่องนี้เป็นไปตามทฤษฎีอุปสงค์-อุปทานที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ทุกวันนี้อุปสงค์หรือความต้องการช็อกโกแลตของตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงมาก ใครๆ ก็ชอบช็อกโกแลต โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังจะก้าวขึ้นไปเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างจีนและอินเดีย การบริโภคช็อกโกแลตถือเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แม้อุปสงค์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวอุปทานหรือปริมาณช็อกโกแลตที่ป้อนเข้าสู่ตลาดกลับมีปริมาณลดลงทุกปี สาเหตุนั้นมาจากเกษตรกรผู้ปลูกต้นโกโก้ (เมล็ดโกโก้ใช้ทำช็อกโกแลต) ต่างพากันทยอยเลิกปลูกโกโก้ไปแล้วหลายต่อหลายราย มันอาจจะฟังดูแปลกๆ ที่ทุกคนต่างก็ชอบกินช็อกโกแลต ราคาก็ดี บริษัทขายช็อกโกแลตก็รวยเอาๆ แต่เกษตรกรกลับไม่อยากปลูกโกโก้ขาย จะไปให้อยากปลูกขายได้ไงหละ รู้หรือไม่ว่าแรงงานในไร่โกโก้นั้นได้ค่าจ้างเพียงคนละ 80 เซ็นต์ (ประมาณ 24 บาท) ต่อวัน! อันนี้คือตัวเลขจากประเทศไอวอรี่โคสต์ ผู้ส่งออกเมล็ดโกโก้อันดับหนึ่งของโลก นี่ยังไม่นับเรื่องของแมลงศัตรูพืชและโรคพืช, สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป, และภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้น ทุกอย่างนี้ล้วนแต่กระทบต่อปริมาณผลผลิตเมล็ดโกโก้ทั้งสิ้น อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ต้นโกโก้เป็นพืชเศรษฐกิจที่ไม่มีใครอยากปลูกก็คือ หลังจากปลูกไปสักหน่อย ต้นโกโก้มันจะดูดสารอาหารจากดินไปใช้จนเกลี้ยง หลังจากแปลงปลูกเดิมหมดสารอาหารแล้ว เกษตรกรก็ต้องถางป่าใหม่ ย้ายที่ปลูก แล้วรอไปอีกอย่างต่ำ 5 ปีกว่าจะเก็บผลผลิตได้ ถ้าไม่โดนแมลงกินหมดเหี้ยนไปเสียก่อน ด้วยปัญหาต่างๆ เหล่านี้นี่เอง ทำให้แรงงานภาคเกษตรของประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ๆ ของโลก เช่น ประเทศไอวอรี่โคสต์ ประเทศอินโดนีเซีย เปลี่ยนเป้าหมายไปสู่พืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ที่มีอนาคตมากกว่า เช่น ปาล์มน้ำม้น ยางพารา เป็นต้น ไม่ใช่ว่าบริษัทขายช็อกโกแลตจะนิ่งดูดายกับปัญหานี้นะครับ บริษัทระดับข้ามชาติใหญ่ๆ อย่างแคดเบอรี่ส์และเนสท์เล่ ต่างมีมาตรการแก้ไขปัญหากันอย่างรีบเร่ง แต่สถานการณ์ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นมากสักเท่าไร เพราะฉะนั้นก็อย่าเพิ่งมองโลกในแง่ดีกันเกินไปนัก ระหว่างนี้ตอนที่ราคามันยังไม่แพงมาก ใครคิดจะตุนช็อกโกแลตเก็บไว้กันบ้างเอ่ย? ที่มา The Independent via Live Science
https://jusci.net/node/1327
ในอีก 20 ปีข้างหน้า ช็อคโกแลตจะแพงกว่าไข่ปลาคาเวียร์
ภาวะโลกร้อนอาจจะไม่เลวร้ายอย่างที่เราคิด อย่างน้อยก็กับต้นไม้ในป่าดิบชื้น Carlos Jaramillo นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันสมิธโซเนียนพบว่า โลกร้อนครั้งใหญ่คราวที่แล้ว ป่าดิบชื้นไม่ได้ลดน้อยหายไปเลยแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามกลับมีพืชชนิดใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย ที่ว่าโลกร้อนครั้งใหญ่คราวที่แล้วนี่เขาหมายถึงเมื่อ 60 ล้านปีที่แล้วนะครับ เป็นช่วงต่อของยุค Paleocene และ Eocene ในครั้งนั้นอุณหภูมิของโลกสูงกว่าในปัจจุบันถึง 5 องศาเซลเซียส ปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศก็สูงแตะระดับเกือบ 1,000 ppm ในเวลาที่อุณหภูมิสูงขึ้นเช่นนั้น หลักฐานฟอสซิลระบุว่าพืชพันธุ์ในป่าดิบชื้นของเขต Neotropics (เขตร้อนของทวีปอเมริกา) วิวัฒนาการแยกสายเกิดสายพันธุ์ใหม่มากมาย โดยเฉพาะพืชมีดอก (Angiosperms) อยากจะบอกว่าต้นโกโก้ที่เป็นพระเอกของข่าวที่แล้วก็ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้เช่นกัน ข่าวนี้ไม่ใช่จะบอกว่าภาวะโลกร้อนที่มาจากน้ำมือมนุษย์เป็นสิ่งดีนะครับ แค่จะชี้ให้เห็นว่าผลกระทบของมันอาจจะไม่ได้ร้ายแรงขนาดเป็นวันสิ้นโลกแบบที่หลายคนวิตกจริตกันไปเอง ที่มา The Register
https://jusci.net/node/1328
ภาวะโลกร้อนอาจทำให้ป่าเจริญขึ้น
หน้าหนาวแม้ท้องถนนจะเต็มไปด้วยหิมะ แต่ปริมาณน้ำที่ใช้งานได้กลับลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากกลายเป็นน้ำแข็งไปเสียหมด ทางการจีนกำลังประสบปัญหาไม่มีน้ำดื่ม น้ำใช้ให้กับเมืองทางภาคเหนือที่ประสบภัยหนาวอย่างหนัก จึงต้องใช้เครื่องละลายน้ำแข็งมาละลายเอาน้ำจากหิมะ เครื่องละลายน้ำแข็งขนาดใหญ่จะถูกติดตั้งไว้ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน โดยมีกำลังการละลายน้ำแข็งรวมถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อแก้ปัญหาน้ำดื่มในเมือง ขณะที่น้ำใช้นั้นทางการจีนอาศัยการกวาดหิมะลงไปในแมน้ำเพื่อให้ละลายและเพิ่มระดับของแม่น้ำขึ้น ปักกิ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากถึง 20 ล้านคน และต้องการน้ำ 3.55 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เครื่องละลายน้ำแข็งนั้นมีกำลังรวมเพียง 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทำให้เมืองปักกิ่งจะอยู่ในภาวะขาดน้ำต่อไปอีกพักใหญ่ ที่มา - PhysOrg
https://jusci.net/node/1329
จีนละลายน้ำแข็งแก้ปัญหาภัยแล้ง
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับงานนี้ ผลการทดลองวิทยาศาสตร์ดูจะกลายเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติไปซะแล้ว เมื่อการทดลองชี้ให้เห็นว่ามนุษย์อาจจะมีความสามารถเห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ งานทดลองนี้เป็นของ Daryl Bem นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เขาทำการทดลองหลายชุดกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนนักศึกษามากกว่า 1,000 คน และผลการทดลองหลายอย่างชี้ให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตัวอย่างการทดลองที่ให้ผลลักษณะเช่นนั้น ได้แก่ การทดลองแรก ผู้วิจัยเตรียมรายการคำศัพท์ขึ้นมาชุดหนึ่ง แล้วให้กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนดูคำในรายการนั้น จากนั้นกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนจะต้องท่องคำที่จำได้จากรายการนั้นออกมา สุดท้ายผู้วิจัยจะสุ่มเลือกคำคำหนึ่งจากรายการนั้นมาให้กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนพิมพ์ ผลปรากฏว่าคำศัพท์ที่กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มจะจำได้มากที่สุดคือคำที่พวกเขาจะได้รับคำสั่งให้พิมพ์ในขั้นสุดท้ายนั่นเอง อีกการทดลองหนึ่งเป็นการทดลองเรื่อง "Priming effect* แบบถอยหลัง" ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างดูรูปภาพลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสองแบบ คือ ภาพสวยงามกับภาพน่าเกลียด แล้วให้กลุ่มตัวอย่างเลือกตัดสินใจว่าภาพที่เห็นนั้นสวยหรือน่าเกลียด สุดท้ายผู้วิจัยจะสุ่มแสดงคำคุณศัพท์คำหนึ่งที่จะสื่อถึงความสวยงามหรือความน่าเกลียดให้กลุ่มตัวอย่างดูเป็นเวลาสั้นๆ ผลออกมากลายเป็นว่ากลุ่มที่ตัวอย่างที่จะต้องเห็นคำคุณศัพท์ที่มีความหมายตรงข้ามกับรูปในขั้นตอนสุดท้าย ใช้เวลาในการเลือกตอบว่าภาพนั้นสวยงามหรือน่าเกลียดมากกว่า เช่น ถ้ากลุ่มตัวอย่างคนนั้นจะต้องเห็นคำว่า "น่าเกลียด" ในขั้นตอนสุดท้าย เขาจะใช้เวลาในการตัดสินใจว่าภาพดอกกุหลาบนั้นเป็นของ "สวยงาม" มากกว่าคนที่จะได้เห็นคำว่า "สวยงาม" ในขั้นตอนสุดท้าย การทดลองต่อมา ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างเดาก่อนว่าจะมีภาพวาบหวิว (erotic image) โผล่ขึ้นมาที่จอใดระหว่างสองจอซ้ายขวา ผลก็ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเลือกได้ถูกต้องว่าสุดท้ายแล้วภาพจะโผล่ขึ้นมาที่จอใด แต่ต้องบอกไว้ก่อนตรงบรรทัดนี้ว่าผลการทดลองของ Daryl Bem ไม่ได้ตรงเป๊ะ 100% นะครับ ผลแต่ละอันเรียกได้ว่าแสดงแนวโน้มแบบเฉียดปริ่มน้ำกันเลยทีเดียว เช่นในการทดลองที่ให้เดาว่ารูปจะโผล่จอไหนนั้น มีเพียง 53.1% ที่เลือกได้ถูก เลยครึ่งมานิดหน่อยเอง อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายท่านอึ้งกับผลการทดลองครั้งนี้มาก แม้แนวโน้มจะน้อยนิดสักแค่ไหน มันก็คือครั้งแรกที่มีหลักฐานจากผลการทดลองที่แน่นหนาพิสูจน์ให้เห็นว่ามนุษย์เดาอนาคตได้ ดังนั้นคงไม่น่าแปลกใจที่งานชิ้นนี้กลายเป็นเป้าจับผิดของนักวิทยาศาสตร์ทั้งวงการไปแล้วตอนนี้... และจนถึงในขณะที่ผมเขียนข่าวอยู่นี้ ยังไม่มีใครเจอจุดอ่อนในการทดลองของ Daryl Bem ได้เลยสักคน! *Priming Effect เป็นปรากฏการณ์ที่นักจิตวิทยารู้จักกันดี การทดลองที่แสดงให้เห็นถึง Priming effect นั้นจะให้กลุ่มตัวอย่างได้เห็นคำคุณศัพท์ "สวยงาม" หรือ "น่าเกลียด" ก่อนเป็นเวลาสั้นๆ จากนั้นจะฉายภาพให้ดูแล้วจับเวลาที่กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนใช้ในการตัดสินใจว่าภาพนั้น "สวยงาม" หรือ "น่าเกลียด" กลุ่มที่เห็นคำว่า "สวยงาม" มาก่อนมักจะใช้เวลาตัดสินใจกับภาพที่สวยงามน้อยกว่ากลุ่มที่เจอกับคำว่า "น่าเกลียด" มาก่อนในตอนแรก กลับกันกลุ่มที่เห็นคำว่า "น่าเกลียด" ก็ตัดสินใจกับภาพน่าเกลียดได้เร็วกว่า ที่มา New Scientist, Live Science
https://jusci.net/node/1330
จริงหรือไม่?...คนเรามองเห็นอนาคตได้
หลายคนอาจจะแปลกใจว่าทุกวันนี้คนเราเรียกกันเป็นพี่เป็นน้องง่ายดีเหลือเกิน ใช่ไม่ใช่ครับ พี่น้องงงงง!! มีผลการทดลองชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าถ้าเรามีพันธุกรรมใกล้ชิดกันแล้ว ความคิดเห็นของเราก็มีแนวโน้มที่จะตรงกันด้วย ทีมนักวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Timothy Bates จากมหาวิทยาลัยเอดินเบรอะได้ทำการทดลองกับ แพด เอ๊ย แฝดจำนวนเกือบ 1,000 คู่ โดยให้แฝดเหล่านี้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้สึกต่อทัศนคติของคนรอบข้างในเรื่องแนวคิดทางศาสนา, เชื้อชาติ, และชาติพันธุ์ แบบสอบถามจะถามว่าทัศนคติต่อคนรอบข้างในเรื่องพวกนี้มีความสำคัญต่อพวกเขาเพียงใด ผลปรากฏว่าแฝดแท้ (Identical twins) ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมใน DNA เหมือนกันให้คำตอบที่มีรูปแบบตรงกันมากกว่าคู่ของ แดงเทียม อุ๊บ แฝดเทียม (non-identical twins) ที่เกิดจากไข่คนละใบ แต่อย่างไรก็ตามผลการวิจัยยังชี้เพิ่มเติมว่าความคิดเห็นของคนยังมีปัจจัยที่เกิดจากสังคมแวดล้อมเข้ามามีอิทธิพลด้วย ไม่ใช่แค่ปัจจัยทางพันธุกรรมอย่างเดียว ที่มา PhysOrg ป.ล. ไม่ต้องกลัวครับถ้าใส่มุกแขวะการเมือง ผมจะพยายามล้อให้ครบทุกสี ไม่ให้น้อยหน้ากันเลย ไม่สองมาตรฐาน ^.^
https://jusci.net/node/1331
ถ้าเห็นด้วยกับเรา เราคือพี่น้องกัน
นักวิทยาศาสตร์เกิดความเชื่อใหม่ขึ้นมาอีกแล้วครับ ทฤษฎีใหม่คราวนี้เสนอมาว่า คนที่เป็น Dyslexia อาจจะมีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะและความคิดสร้างสรรค์เหนือกว่าคนปกติธรรมดาทั่วไป Dyslexia เป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางการมองเห็นรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่มีอาการไม่สามารถอ่านหรือแยกแยะตัวอักษรได้เหมือนคนทั่วไป ประมาณกันว่าเด็กหนึ่งในทุกๆ สิบสองคนมีอาการ Dyslexia ติดตัวมาแต่กำเนิด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิดเดิ้ลเซ็กซ์ (Middlesex University) ทำการวัดความสามารถทางศิลปะ เช่น ความสามารถในการกะเกณฑ์ตำแหน่งและระยะ ความสามารถในการเข้าใจข้อมูลสามมิติ เป็นต้น ในกลุ่มชายหญิงที่มีอาการ Dyslexia จำนวน 41 คน ผลที่ได้ปรากฏว่าผู้ชายที่มีอาการ Dyslexia สามารถทำคะแนนในแบบทดสอบต่างๆ ได้สูงกว่าผู้ชายปกติทั่วไป โดยเฉพาะความสามารถในการจดจำภาพและความสามารถในการเดินทางในสภาพจำลองสามมิติ (ผมก็แปลกใจเหมือนกัน ข่าวไม่พูดถึงผลของผู้หญิงแฮะ) ด้วยพรสวรรค์ที่พิสูจน์ได้เช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งสมมติฐานว่าบรรดาศิลปินที่ยิ่งใหญ่ของโลก เช่น ปิกัสโซ และ ลีโอนาร์โด ดา วินซีอาจจะเป็น Dyslexia ก็ได้ จึงสามารถรังสรรค์งานศิลปะและการออกแบบสร้างสรรค์ที่เหนือกว่ามนุษย์ทั่วไปจะสร้างขึ้นมาได้ ที่มา The Telegraph ป.ล. ผมสงสัยว่าคนที่ตั้งสมมติฐานนี้คลั่ง Percy Jackson มากไปหรือเปล่า? ถึงได้คิดว่าคนที่เป็น Dyslexia จะเป็นลูกครึ่งเทพไปหมด
https://jusci.net/node/1332
ปิกัสโซ กับ ลีโอนาร์โด ดา วินซี อาจจะเป็น Dyslexia
ต้านภัยไข้เลือดออกด้วยการปล่อยยุงเพิ่มเนี่ยนะ? งงกันหละสิ ไม่ต้องแปลกใจครับเพราะยุงลายที่ปล่อยในการสู้กับโรคไขเลือดออกนี้เป็นยุงพิเศษที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้เป็นหมัน โครงการปล่อยยุง GM (Genetically Modified Mosquitoes) เป็นโครงการวิจัยของบริษัท Oxitec การทดลองปล่อยยุงคราวนี้ทำในเขตทดลองพื้นที่ 40 เอเคอร์บนเกาะ Cayman Islands ระยะเวลาเริ่มกันตั้งแต่ประมาณเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคมที่เพิ่งผ่านมาปีนี้เอง โดยยุงลายตัวผู้ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้เป็นหมันถูกปล่อยเข้าไปในพื้นที่ทุกๆ สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมจำนวนยุงที่ปล่อยไปแล้วทั้งหมดกว่า 3,000,000 ตัว จากการประเมินครั้งล่าสุดในเดือนสิงหาคม พบว่ายุงลายในพื้นที่ลดลงไปถึง 80% เมื่อเทียบกับพื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่ได้ปล่อยยุง GM เข้าไป แม้ว่าจะยังประเมินไม่ได้ว่าปริมาณยุงที่ลดลงจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกได้มากแค่ไหน เพราะการทดลองทำในพื้นที่ขนาดเล็ก แต่ประชากรยุงลดลงไปตั้ง 80% อย่างนี้มันก็เป็นสัญญาณที่ดีมากๆ มาถึงบรรทัดนี้ คงยังมีคงงงๆ อยู่ว่า ทำไมพอปล่อยยุงขนมจีนเปล่าๆ (ไม่มีน้ำยา) เข้าไปในธรรมชาติแล้วประชากรยุงมันถึงลดลงไปได้? คำตอบมันอยู่ตรงที่ยุงตัวผู้ที่เป็นหมันนั้นจะเข้าไปแย่งผสมพันธุ์กับยุงตัวเมีย ทำให้โอกาสที่ยุงตัวเมียกับยุงตัวผู้ตามธรรมชาติจะได้ผสมพันธุ์กันลดน้อยลง เมื่อยุงตัวเมียผสมพันธุ์กับยุงที่เป็นหมัน ไข่ที่วางก็จะไม่ฟักออกมาเป็นตัว ฉะนี้แล้วยุงรุ่นต่อไปๆ จึงได้ลดจำนวนลงยังไงหละ วิธีการนี้เรียกว่า Sterile insect technique เป็นวิธีการควบคุมปริมาณแมลงที่ประสบความสำเร็จมาหลายครั้งแล้ว เช่น การควบคุม tsetse fly ที่เป็นพาหะนำโรค sleeping sickness ในแอฟริกา เป็นต้น แต่นี่คือครั้งแรกที่มีการใช้ Sterile technique กับยุงลาย หลายคนอาจจะยังสงสัยต่อไปอีกว่าทำไมต้องเลี้ยงแล้วปล่อยๆ ให้มันยุ่งยากด้วย รมยาฆ่าแมลงเข้าไปให้ตายเกลี้ยงสะใจกว่าเยอะ รมยาอย่างนั้นมันก็ตายจริงครับ แต่ว่าไหนจะผลกระทบจากสารเคมี ไหนจะผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีก ถ้ายุงดันตายหมด ตัวอะไรที่กินยุงหรือลูกน้ำยุงอาจจะพากันอดตายตามไปด้วยก็ได้ แล้วตัวอะไรที่กินตัวที่กินยุงก็ต้องอดตายตาม แล้วตัวอะไรที่กินตัวที่กินตัวที่กินยุงก็ต้อง... (พวกนักอนุรักษ์ก็คิดอะไรกันปวดหัวแบบนี้หละครับ) นี่ยังไม่นับเรื่องภาวะโลกร้อนนะ อันหลังโลกร้อนนี่ไม่เกี่ยว ลบๆ โรคไข้เลือดออกเป็นหนึงในโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุดในโลก ตัวเลขจาก World Health Organization คาดว่าในแต่ละปี มีคนติดเชื้อมากถึง 50 ล้านคน ถ้าการทดลองนี้สำเร็จและเอาไปขยายผลต่อได้ ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่มา AP via Popular Science
https://jusci.net/node/1333
ความหวังครั้งใหม่ ยุงลาย GM ถูกปล่อยเข้าต้านภัยไข้เลือดออกแล้ว
ข่าวนี้ผมไม่เขียนคงไม่ได้ เพราะเว็บข่าววิทยาศาสตร์ที่ผมอ่านแทบจะทุกอันลงข่าวนี้กันหมด ฝรั่งนี่รักแม้ว เอ๊ย รักแมวกันจริงๆ แต่เรื่องมันก็น่าสนใจจริงหนะแหละ ไม่เฉพาะกับคนรักแมวเท่านั้น รับรองว่าน่าสนใจสำหรับทุกคน ก่อนอื่นต้องถามคนแถวนี้ว่า เคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ว่าเวลาเจ้าเหมียวกินน้ำกินนมนั้น มันทำอย่างไร? นึกไม่ออกดูเหมียวสามตัวข้างล่างนี้ก่อนก็ได้ครับ ^.^ ดูแบบนี้คงยังไม่ได้อะไร เอาเป็นว่าเข้าเรื่องกันดีกว่า นักฟิสิกส์จากสถาบันชั้นนำของโลก ได้แก่ Roman Stocker และ Pedro Reis แห่ง MIT, Sunghwan Jung จากเวอร์จิเนียเทค, และ Jeffrey Aristoff จากมหาวิทยาลัยปริ๊นซ์ตัน ได้อธิบายให้โลกรู้เป็นครั้งแรกว่าสัตว์ตระกูลแมวดื่มของเหลวได้อย่างไร อย่าเพิ่งขำกัน เข้าโหมดจริงจังแล้วนะ คำตอบเรื่องแมวกินนมนี้ทำให้นักฟิสิกส์ต้องมหัศจรรย์ใจไปตามๆ กัน เนื่องจากสิ่งที่พวกเขาค้นพบจากเรื่องที่เห็นได้ทั่วไปเช่นนี้กลับกลายเป็นความสลับซับซ้อนอันประณีตแห่งศาสตร์ Hydrodynamics อย่างที่ไม่มีใครเคยคาดคิด สัตว์ในตระกูลแมวไม่มีแก้มใหญ่ๆ ที่จะสร้างแรงดูดของเหลวมาเก็บไว้ในโพรงปากได้ นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่ามันน่าจะดื่มของเหลวแบบเดียวกับที่สุนัขดื่ม คือ เอาลิ้นขวักน้ำเข้ามาในปาก แต่ไม่รู้ว่า Roman Stocker ต้นคิดของงานวิจัยนี้ไปสังเกตเห็นแมวที่บ้านกินนมท่าไหน เลยสนใจขึ้นมา เขากับเพื่อนเลยจับเจ้า Cutta Cutta (Cutta เป็นภาษาของชนเผ่าอะบอริจินชนพื้นเมืองทวีปออสเตรเลีย แปลว่า ดวงดาว) แมวที่เขาเลี้ยงไว้มาถ่ายวิดีโอตอนที่มันกินนมด้วยกล้องวิดีโอความเร็วสูง แล้วกรอวิดีโดนั่งดูภาพช้า เพื่อหาคำตอบว่าเจ้า Cutta Cutta เอาน้ำนมเข้าปากได้อย่างไร สิ่งที่พบน่าสนใจมาก เมื่อพวกเขาสังเกตว่าตอนที่แมวกินน้ำนมนั้น มันจะโค้งลิ้นเป็นรูปตัว J แล้วฉกลงไปที่ผิวหน้าของเหลวอย่างรวดเร็ว ตอนที่ดึงลิ้นกลับ ส่วนผิวหน้าของของเหลวจะพุ่งขึ้นมาด้วยตามแรงเฉื่อยและดึงของเหลวส่วนหนึ่งตามขึ้นมาด้วย เกิดเป็นแท่งทรงกระบอกลอยตั้งขึ้นมาในอากาศ จังหวะเพียงเสี้ยววินาทีก่อนที่แท่งของเหลวนี้จะตกลงไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก แมวจะหุบปากงับของเหลวเอาไว้ เหตุการณ์ทั้งหมดนี้นับเป็นหนึ่งรอบ สำหรับเจ้า Cutta Cutta รอบหนึ่งใช้เวลาเพียง 1/4 วินาที มีของเหลวเข้าปากแมวรอบละประมาณ 0.1 ml แมวจะทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีของเหลวกักไว้ในปากมากพอ ก็จะกลืนลงคอไปสักทีหนึ่ง อธิบายแล้วเหนื่อย = =' ดูวิดีโอดีกว่านะ เชื่อหรือไม่ ตลอดกระบวนการทั้งหมดนี้ มีเพียงผิวหน้าของปลายลิ้นแมวเท่านั้นที่แตะผิวของเหลว ดังนั้นเวลาแมวกินน้ำ จะเห็นได้ว่ามีน้ำกระเด็นออกรอบจานน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย (ผมไม่ได้เลี้ยงแมวอะ ที่บ้านใครเลี้ยงแมว กลับไปสังเกตดูกันเองนะครับ) Roman Stocker กับเพื่อนๆ นักฟิสิกส์ได้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การดื่มของเหลวของแมวขึ้นมาเพื่ออธิบายหลักการนี้ จากสมการในแบบจำลอง พวกเขาพบว่าอัตราส่วนของแรงโน้มถ่วงกับแรงเฉื่อยในแท่งของเหลวจังหวะที่แมวงับปากนั้นมีค่าเกือบจะเท่ากับ 1 ตลอด ไม่ใช่แค่เจ้าแมวเหมียว Cutta Cutta เท่านั้น เจ้าเหมียวยักษ์สามตัวในวิดีโอแรกก็ด้วย สัตว์ตระกูลแมวทุกตัวก็อธิบายได้ด้วยหลักการนี้หมดเลย เพียงแต่ว่าถ้าแมวยิ่งมีลิ้นใหญ่ มันก็จะยิ่งฉกลิ้นช้าลงเพื่อปรับระดับให้แรงโน้มถ่วงกับแรงเฉื่อยสมดุลกัน วิดีโอข้างล่างนี้เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบการทำงานของลิ้นแมว โดยฉายที่ความเร็ว 1 ส่วน 100 เท่าของความเร็วจริง ในอนาคตข้างหน้า หลักการนี้อาจจะไปประยุกต์ใช้ในวงการหุ่นยนต์และเครื่องกลในการจัดการกับของเหลวและวัตถุที่นิ่มๆ เช่น เนื้อเยื่อร่างกาย เป็นต้น ที่มา PhysOrg, Live Science, Ars Technica, Science Daily (จริงๆ มีเยอะกว่านี้นะครับ แต่ผมเก็บ bookmarks ไว้เท่านี้) ป.ล. วิดีโอสิงโตสามตัวกินน้ำข้างบนก็เป็นวิดีโอที่นักฟิสิกส์ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ด้วย
https://jusci.net/node/1334
นักฟิสิกส์รู้แล้วว่าแมวกินน้ำได้อย่างไร
พอดีผมผ่านไปเจอบทความเกี่ยวกับแอลกอฮอลล์จาก Lifehacker เห็นว่าน่าสนใจดี (แอลกอฮอลล์ในบทความนี้หมายถึง Ethyl alcohol หรือ Ethanol ที่อยู่ในเครื่องดื่มเท่านั้น ไม่รวมไปถึงแอลกอฮอลล์ชนิดอื่น) เลยขอสรุปย่อๆ เอามาแบ่งปันกันไว้ที่นี่แล้วกัน ก่อนจะอ่าน ขอประกาศให้รับรู้ไว้ก่อนว่า บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อความรู้ทางวิชาการเท่านั้น เราไม่สนับสนุนการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ใดๆ ทั้งสิ้น ในร่างกายเรามีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Alcohol dehydrogenase (AD) เอนไซม์ตัวนี้ทำหน้าที่ในการสลายโมเลกุลแอลกอฮอลล์ให้กลายเป็นอัลดีไฮด์ (Aldehyde) จากนั้นอัลดีไฮด์ก็จะถูกสลายต่อโดย Aldehyde dehydrogenase ผู้ชายสลายแอลกอฮอลล์ได้เร็วกว่าผู้หญิง เพราะว่า AD ในผู้ชายทำงานได้ดีกว่าในผู้หญิง และประสิทธิภาพของ AD จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยอัตราการลดลงนี้ในผู้ชายจะเร็วกว่าในผู้หญิง ดังนั้นเมื่ออายุมากขึ้น เช่น เกิน 55 หรือ 60 ปีขึ้นไป ผู้ชายก็จะสลายแอลกอฮอลล์แย่กว่าผู้หญิง กินเหล้าเมื่อท้องอิ่มจะเมาช้าลง เพราะว่าเมื่อเรากินอิ่ม หูรูดกระเพาะ pyloric sphincter จะปิดเพื่อกักอาหารไว้ในกระเพาะ ดังนั้นแอลกอฮอลล์ที่คลุกๆ อยู่กับก้อนอาหารจึงมีเวลาอยู่ในกระเพาะนานขึ้นและถูกสลายด้วย AD ในกระเพาะได้มากขึ้น (จริงๆ แอลกอฮอลล์บางส่วนสามารถถูกดูดซึมผ่านผนังกระเพาะได้เลย แต่ยังไงก็ช้ากว่าถ้าเทียบกับให้มันผ่านไปถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก) พันธุกรรมมีส่วนกับความ "แข็ง" ของคอคุณด้วย ในคนเอเซียประมาณหนึ่งในสาม ยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ Aldehyde dehydrogenase มีการกลายพันธุ์ทำให้การสลายอัลดีไฮด์ในขั้นสุดท้ายทำได้ไม่ดี อัลดีไฮด์ที่ตกค้างอยู่ในกระแสเลือดจะทำให้เกิดอาการ "หน้าแดง", หัวใจเต้นสั่นรัว, มึนงง, อาเจียน หรือที่เรียกว่า "เมาอ้วกแตก" นั่นเอง อย่ากินยาแอสไพรินก่อนดื่มเหล้า เนื่องจากแอสไพริน (Aspirin) จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของ AD ในร่างกายคุณ (ถ้าคุณกำลังคิดจะเอาความรู้ข้อนี้ไปประยุกต์ใช้ในทางตรงกันข้ามกับคนอื่น ผมไม่ขอรับผิดชอบอะไรในทางกฏหมายทั้งสิ้น) ความสัมพันธ์ของการดูดซึมและการกำจัดแอลกอฮอลล์เป็นกราฟเส้นโค้ง เนื้อเยื่อในร่างกายเราจะดูดซึมแอลกอฮอลล์ไปใช้เป็นพลังงานได้บางส่วน แต่เมื่อความเข้มข้นของแอลกอฮอลล์ในเลือดสูงเกินกว่าระดับหนึ่ง เช่น 25 mg% ในกรณีที่ท้องว่าง ร่างกายก็จะดูดซึมแอลกอฮอลล์ได้ช้าลง ส่วนอัตราการกำจัดนั้นจะคงที่ในแต่ละคน การดื่มแอลกอฮอลล์อาจทำให้คุณมีอายุยืนขึ้น โดยเฉพาะถ้าดื่มในปริมาณปานกลางเป็นประจำ เชื่อกันว่าแอลกอฮอลล์จะไปเพิ่มปริมาณ HDL (High-density lipoprotein) ซึ่งถือกันว่าเป็นคอเลสเตอรอล "ดี" ในร่างกาย หรืออีกทฤษฎีก็ว่ากันว่าแอลกอฮอลล์ช่วยลดความเครียด พอสุขภาพจิตดี ชีวิตก็ยาว แอลกอฮอลล์ไม่ได้ฆ่าเซลล์ประสาทในสมอง อันนี้เป็นความเชื่อผิดๆ ที่น่าจะแพร่หลายกันที่สุด เหล้าที่เราดื่มกันเข้าไปไม่สามารถฆ่าเซลล์สมองเราได้นะครับ ถ้าอยากจะฆ่าเซลล์สมองด้วยแอลกอฮอลล์ ต้องจับเอาเซลล์มาแช่แอลกอฮอลล์ 70% ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งแอลกอฮอลล์ในกระแสเลือดไม่มีทางถึงระดับนั้นได้เลย แค่ 0.25% คุณก็สลบเหมีอดไปก่อนแล้ว แต่แอลกอฮอลล์มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของสมอง เพราะโมเลกุลของแอลกอฮอลล์จะไปแย่งจับกับ glutamate receptors บนเซลล์ประสาท ทำให้สารสื่อประสาทไม่สามารถส่งผ่านสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์ประสาทสองอันได้ ดังนั้นเวลาเราเมา ระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ การพูด การตัดสินใจ การทำงาน ก็จะผิดเพี้ยนไปหมด แอลลกอฮอลล์ทำให้ความสามารถบนเตียงลดลง ด้วยเหตุผลที่บอกไปในข้อที่แล้ว แอลกอฮอลล์จะยับยั้งการทำงานของระบบประสาทโดยรวม ทำให้อารมณ์สุนทรีย์ของคุณลดลงไปด้วย ฉะนั้นท่านชายที่ชอบขอ "ดื่มปลุกใจ" ก่อนขึ้นสังเวียน ก็คิดใหม่ ทำใหม่ ได้แล้วนะครับ เราอาจจะจำเหตุการณ์ในช่วงที่เมาไม่ได้ เพราะอย่างที่บอกไปแล้ว โมเลกุลแอลกอฮอลล์จะไปจับกับ glutamate receptors ซึ่งเป็น receptors กลุ่มเดียวกับ receptors ของ N-Methyl-D-aspartic acid ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่นำส่งข้อมูลในสมองส่วนที่เก็บความจำ "เหยียบเท้ากู! รู้มั้ยกูลูกใคร" คำแบบนี้น่าจะเป็นประโยคยอดฮิตในสถานบันเทิง ซึ่งก็ไม่แปลกครับ เพราะจากการทดลอง แอลกอฮอลล์จะทำให้เรามีแนวโน้มมองเห็นว่าคนอื่นตั้งใจ "หาเรื่อง" แม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดจากอุบัติเหตุก็ตาม แอลกอฮอลล์ไม่ช่วยทำให้คุณนอนหลับสบายขึ้น คนนอนไม่หลับหลายคนชอบแอบย่องลงมาหาเหล้ากินเพราะคิดว่าเหล้าช่วยให้นอนหลับสบาย แต่ความจริงแล้ว แอลกอฮอลล์มีผลแค่ทำให้คุณง่วงๆ มึนๆ แล้วก็หลับเท่านั้นเอง หลังจากนั้นเมื่อเซลล์ประสาทในสมองคุณพยายามจะปลดล็อคตัวเองจากโมเลกุลแอลกอฮอลล์ที่ไปจับ glutamate receptors การนอนของคุณก็จะเริ่มไม่เป็นสุขแล้ว ยิ่งถ้าคุณกินกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเข้าไปด้วย ก็ขอให้ลืมการนอนค่ำคืนนั้นไปได้เลย ที่มา Lifehacker
https://jusci.net/node/1335
ไขข้อข้องใจ แอลกอฮอลล์ทำอะไรกับร่างกายเราบ้าง
จากชื่อหัวข้อข่าว หลายคนคงเดากันไปแล้วว่าข่าวนี้จะเป็นเรื่องของวิทยาการหุ่นยนต์อีกแล้วสินะ ไม่ใช่ๆ "ตัวต่อพลังงานแสงอาทิตย์" นี้ ก็คือ ตัวต่อที่เป็นแมลงจริงๆ ต่อหัวเสือ หรือ Oriental hornet (Vespa orientalis) เป็นแมลงที่หลายคนคงจะรู้จักชื่อของมันดีตามหน้าข่าว แล้วรู้หรือไม่ว่าตัวต่อชนิดนี้มีโซลาร์เซลล์ติดอยู่บนตัวด้วย ก่อนจะเพ้อเจ้อไปไกลคิดว่า CIA แอบส่งสายพันธุ์ต่อนี้ไปสืบราชการลับทั่วโลก เรื่องจริงคือผิวแข็งๆ ที่ล้อมรอบตัวต่อ (cuticle) นี้มีรงควัตถุ (pigments) ที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ เป็นความอัศจรรย์ของธรรมชาติที่มีมาก่อนเทคโนโลยีโซล่าร์เซลล์ของมนุษย์นับร้อยล้านปี เรื่องแผ่น cuticle ของตัวต่อสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงได้เป็นเรื่องที่รู้กันมานานตั้งแต่ปี 1991 แล้วจากงานของ Ishay และคณะ ที่ทดลองฉายแสงลงไปยังแผ่น cuticle ที่ผ่าเอามาจากตัวต่อ และก็มีการศึกษาในเรื่องนี้ตามๆ กันเรื่อยมา กระแสไฟฟ้าที่วัดได้จากตัวต่อจะมีค่าประมาณหลักร้อยมิลลิโวลต์ (mV) และกระแสไม่กี่นาโนแอมแปร์ (nA) เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Tel Aviv University นำโดย Marian Plotkin ได้ส่องดูผิว cuticle ของต่อหัวเสือ พบว่าบนตัวต่อหัวเสือจะคลุมด้วย cuticle 2 สีด้วยกัน คือ สีน้ำตาลมี melanin เป็นรงควัตถุ, และสีเหลืองมี xanthopterin ลักษณะพื้นผิวของ cuticle นี้ก็จะเป็นร่องและผิวนูนขึ้นเรียงกันอย่างเป็นระเบียบคล้ายๆ กับเกรตติงที่ใช้หักเหแสง (Diffraction grating) พวกเขาพบว่าลักษณะการเรียงตัวเช่นนี้มีประสิทธิภาพในการเก็บพลังงานแสงที่ตกกระทบได้มากถึง 99% และเมื่อทดลองสร้างโซล่าร์เซลล์ที่ทำจากรงควัตถุ xanthopterin ซึ่งเป็นสารตัวเดียวที่อยู่ใน cuticle สีเหลือง ก็พบว่าเกิดกระแสไฟฟ้าจากการทดลองขึ้นมาเช่นกัน ถึงตรงนี้คงจะมีคนสงสัยตะหงิดๆ ขึ้นมาแล้วว่าเจ้าต่อหัวเสือจะเอากระแสไฟฟ้าไปทำอะไร คงไม่ใช่ไปเสียบคอมเล่นเฟซบุ๊คแน่ๆ ^.^ คำถามนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบคำตอบที่แน่ชัด ได้แต่เสนอทฤษฎีที่พอฟังเข้าท่าไปต่างๆ นานา เช่น เอากระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นบางตัว ไว้ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ถ้าแสงแดดแรงมากๆ ก็เปลี่ยนมันให้เป็นไฟฟ้าเก็บไว้ให้หมด วันไหนอากาศเย็นค่อยเอาไฟฟ้ามาแปลงเป็นความร้อน ไว้กระตุ้นกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ว่องไวขึ้น มีการทดลองพบว่าตัวต่อที่สลบจะฟื้นลุกขึ้นมาวิ่งๆ บินๆ ได้เร็วขึ้น ถ้าถูกส่องด้วยรังสี UV (Ultraviolet) ที่มา New Scientist ป.ล. ในที่มาระบุชื่อตัวต่อชนิดนี้เป็น Vespa orientalis และบอกว่ามันขุดรูอยู่ใต้ดิน แต่พอผมไปหาชื่อสามัญภาษาไทยของตัวต่อชนิดนี้กลับได้มาว่าเป็น "ต่อหัวเสือ" และมันทำรังบนต้นไม้ ผมสงสัยว่าต้องมีที่ไหนสักที่แล้วหละที่สับสนชื่อชนิดต่อหัวเสือในสกุล Vespa ดังนั้นในเนื้อหาที่แปล ผมจึงขอใช้คำว่า "ต่อหัวเสือ" เฉยๆ ซึ่งเป็นชื่อสามัญของ Vespa spp. ไม่ระบุชื่อละเอียด ป.ล. ต่ออีกหน่อย แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็นเว็บไทยแหละที่สับสน เพราะเว็บที่ผมเจอส่วนใหญ่เป็นเว็บตัดแปะข่าว ผมเจออันที่หนักหน่อยก็เรียก Vespa sp. เป็น paper wasp ก็มี และอีกทั้ง ใน Checklist ของแมลงในวงศ์ย่อย Vespinae ก็ไม่มีรายชื่อ V. orientalis กระจายตัวอยู่ในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ [1, 2]
https://jusci.net/node/1337
ตัวต่อพลังงานแสงอาทิตย์
ประกาศล่วงหน้าว่าคืนนี้ (15 พฤศจิกายน) ทาง Jusci จะรวมฐานข้อมูลผู้ใช้เข้ากับทาง Blognone อย่างเป็นทางการ โดยก่อนหน้านี้แม้ภายนอกผู้ใช้จะสามารถล็อกอินโดยใช้รหัสผ่านเดียวกันได้ แต่ฐานข้อมูลก็จะแยกกัน การรวมฐานข้อมูลนี้จะทำให้ผู้ใช้ทุกคนที่ล็อกอิน Blognone หรือ Jusci อยู่ สามารถใช้งานอีกเว็บหนึ่งได้โดยไม่ต้องล็อกอินใหม่อีกครั้ง กระบวนการนี้อาจจะทำให้เว็บใช้งานไม่ได้เป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง อย่างไรก็ตามผมพยายามทำให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ครับ
https://jusci.net/node/1338
Jusci เตรียมทำ SSO กับ Blognone
บริษัท Commercial Aircraft Corp. of China (Comac) แสดงโมเดลเครื่องบินขนาด 156 ที่นั่งที่จะเตรียมทดลองบินในปี 2014 และเริ่มส่งมอบให้กับสายการบินในปี 2016 เครื่องบิน C919 จะเป็นเครื่องรุ่นเทียบเท่ากับเครื่อง Boegin 737 หรือเครื่อง Airbus A320 โดยในรุ่นนี้บริษัทของจีนจะผลิตเพียงตัวถัง (airframe) ด้วยตัวเอง ส่วนเครื่องยนต์, ระบบควบคุม, และชิ้นส่วนอื่นๆ นั้นจะซื้อจากบริษัทในสหรัฐฯ และฝรั่งเศส เครื่อง C919 จะมีสองรุ่นคือรุ่นปรกติ พิสัยการบิน 2,200 กิโลเมตร และรุ่นบินไกล ที่มีพิสัยการบิน 3,000 กิโลเมตร บริษัท Comac นั้นเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนมีเงินทุนจดทะเบียน 19,000 ล้านหยวน หรือเกือบแสนล้านบาทไทย ประเทศที่พื้นที่กว้างใหญ่อย่างจีนนั้นปัญหาคมนาคมเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเอาจริงเอาจัง แม้ที่ผ่านมาจีนจะลงทำทางรถไฟอย่างหนัก แต่วิธีที่เร็วที่สุดในการสร้างเส้นทางขนส่งก็ยังเครื่องบิน โดนจีนเองเตรียมจะสร้างสนามบินเพิ่มเติมอีก 70 แห่งภายในปี 2020 ประเด็นที่หลายประเทศกังวลกันมากคือทางการจีนจะดึงเอาเทคโนโลยีการผลิตมาเป็นของตัวเอง แม้แทบทุกบริษัทที่เข้าร่วมประมูลในโครงการครั้งนี้จะยืนยันว่ามีการรักษาทรัพยสินทางปัญญาไว้เป็นอย่างดีก็ตาม ที่มา - LA Times
https://jusci.net/node/1339
จีนเตรียมผลิตเครื่องบินโดยสารของตัวเองในปี 2016
เมื่อวานหลังจากผมเขียนข่าวแมวน้ำกินได้ เอ๊ย ข่าวแมวกินน้ำ ก็มีสมาคมคนรักหมาโทรมาต่อว่าต่อขานผมมากมายที่สร้างสองมาตรฐานในวงการสัตว์เลี้ยง มีบางคนขู่จะยึดทำเนียบ server ของ JuSci เราด้วย จนผมต้องตะลีตะลานไปหาข่าวหมามาเขียนบ้าง ^ข้อความข้างบนนี้ไร้สาระโดยสิ้นเชิง เมื่อวานผมเขียนข่าวแมวๆ ไปแล้ว วันนี้ขอข่าวหมาๆ บ้างแล้วกัน คราวนี้ก็เกี่ยวกับน้ำและของเหลวเช่นเคย แต่ไม่ใช่เรื่องกินน้ำเหมือนเดิมแล้ว เป็นเรื่องของการสะบัดน้ำออกจากขนแทน เคยทราบกันหรือเปล่าว่าหลักการของถังปั่นแห้งในเครื่องซักผ้าหลังบ้านเรามีที่มาจากการสะบัดน้ำออกจากตัวของหมาน้อยธรรมดาๆ นี่เอง สิ่งที่มีให้เราเห็นในชีวิตประจำวันนี่แหละสร้างความพิศวงให้กับนักวิทยาศาสตร์มานักต่อนักแล้ว และเชื่อหรือไม่ แม้ว่าเราจะลอกเอาหลักการนี้มาใช้ตั้งนานแล้ว จนถึงป่านนี้นักฟิสิกส์ยังหาสมการทางคณิตศาสตร์มาอธิบายหลักการสะบัดน้ำออกจากขนหมาแบบเป๊ะๆ ไม่ได้เลย ทำได้แต่เพียงคร่าวๆ เท่านั้น ขนาดว่าสมการคร่าวๆ ที่มีนี้ยังประกอบด้วยตัวแปรมากมายจนเกือบจะหาทางแก้กันไม่ได้ จริงๆ การสะบัดขนเปียกน้ำแบบที่สุนัขใช้เป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขน (แมวก็น่าจะทำแบบเดียวกันมั้ง) ด้วยความสนใจ David Hu และเพื่อนนักฟิสิกส์ของเขาจึงได้ทำการถ่ายวิดีโอการสะบัดขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดต่างๆ ด้วยกล้องวิดีโอความเร็วสูงและกล้องรังสี X-ray เพื่อที่จะดูการเคลื่อนไหวทั้งข้างนอกและข้างในร่างกายขณะที่สัตว์สะบัดตัว จากผลที่ได้ พวกเขาพบว่าขณะที่สัตว์สะบัดตัว ทั้งส่วนหัว, ลำตัว, และผิวหนังจะเคลื่อนที่หมดเลย โดยการหมุนจะเริ่มจากส่วนหัว จากนั้นคลื่นที่เกิดจากการสะบัดหัวก็จะส่งผ่านพลังงานต่อไปยังส่วนลำตัว หากยังแรงไม่พอ สัตว์ก็จะหมุนส่วนหัวเพิ่มเพื่อให้คลื่นมีแอมพลิจูด (Amplitude) สูงขึ้น ส่งผลให้ทั้งตัวหมุนแรงและเร็วขึ้นอีก ใครที่ยังไม่สะใจเพราะอ่านอย่างเดียวไม่เห็นภาพ อย่าเพิ่งเอาน้ำไปราดหมาหน้าบ้านนะครับ ลองดูวิดีโอกันตรงนี้ดีกว่าว่าถ้ากรอภาพตอนเจ้าตูบสะบัดน้ำแบบช้าๆ แล้วมันจะเป็นอย่างไร ในขณะที่ระยะทางสะบัดของหัวและร่างกายถูกจำกัดด้วยโครงสร้างของโครงกระดูก ผิวหนังซึ่งโดยปกติจะมีลักษณะหย่อนยานอยู่แล้วจะรับแรงจากการหมุนและสะบัดต่อไปได้ระยะทางที่ไกลกว่าด้วยความเร่งที่สูงกว่า (ลองสังเกตหนังหน้าของบูลด็อกในวิดีโอข้างบน ผมเข้าใจว่าช่างวิดีโอของ Discovery เลือกหมาหน้าย่นมาก็ด้วยเหตุนี้) ตรงนี้เองที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างแรงสะบัดน้ำออกจากขน สังเกตได้ว่าสัตว์ที่มีขนปุยๆ ยาวๆ จะมีผิวหนังหย่อนๆ ย่นๆ ทุกตัว นอกจากนี้ทีมของ David Hu ยังค้นพบด้วยว่าสัตว์ที่ตัวเล็กกว่าจะต้องสะบัดตัวด้วยความเร็วที่สูงกว่าสัตว์ขนาดใหญ่ สัตว์ที่ตัวเล็กมากๆ อาจจะต้องสะบัดให้ถึงความเร่ง 20g กันเลยทีเดียว (g หมายถึงแรงโน้มถ่วงของโลกที่ระดับน้ำทะเล มีค่าประมาณ 9.8 m/s^2) ส่วนสัตว์ตัวใหญ่ๆ แบบหมีหรือสุนัขพันธุ์โตๆ จะสะบัดที่ความเร็วประมาณ 4 รอบต่อวินาทีขึ้นไป นักวิทยาศาสตร์ยังตั้งสมมติฐานต่อไปอีกว่ารูปร่างของขนก็มีส่วนสำคัญด้วย ขนที่มีปลายเรียวแหลมจะสามารถสะบัดน้ำออกได้ง่ายกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำเป็นต้องมีวิวัฒนาการที่ทำให้ตัวแห้งได้เร็วที่สุด เนื่องจากในธรรมชาติ ขนที่แห้งจะช่วยกักเก็บความอบอุ่นในร่างกายได้มากกว่า หากขนเปียกนานเกินไป สัตว์อาจจะถึงกับตายได้จากอากาศที่หนาวเย็น ว้าว! เพิ่งรู้ว่าเรื่องตัวเปียกตัวแห้งมันจะคอขาดบาดตายได้เยี่ยงนี้ ที่มา Discovery News คำเตือน: เนื่องด้วยจากการติดตามข่าวแมวกินน้ำเมื่อวาน ผมสืบทราบมาว่ามีหลายท่านพยายามเอาท่าแมวกินน้ำไปปฏิบัติตาม ซึ่งนั่นก็อาจจะไม่อันตรายเท่าไร แต่สำหรับท่าหมาสะบัดขนนี้ กรุณาอย่าลอกเลียนแบบ หากกระดูกกระเดี้ยวท่านหลุดไป เราไม่รู้จะรับผิดชอบยังไงดี (ก่อนจะได้อ่านบรรทัดนี้ มีใครทำตามไปแล้วบ้าง ยกมือขึ้น)
https://jusci.net/node/1340
จากหมาเปียกน้ำสู่เครื่องซักผ้า
เทอโรซอร์ (Pterosaurs) คือสัตว์เลื้อยคลานที่มีปีกสามารถบินไปบนอากาศได้ มีชีวิตอยู่ในช่วงเดียวกับไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ตัวสุดท้ายตายจากโลกนี้ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว แต่เราก็รับรู้การมีอยู่พวกมันได้จากซากฟอสซิล ชีวิตของสัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้ดึงดูดความสนใจจากผู้คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง แต่สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์สนใจเกี่ยวกับเทอโรซอร์เป็นอย่างมากก็คือ คำถามที่ว่า มันขึ้นบินได้อย่างไร? แม้ว่าเทอโรซอร์จะมีปีกขนาดใหญ่ยักษ์ แต่ว่าตัวของมันก็ใหญ่โตมาก ขาหลังของมันก็มีขนาดเล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับขาคู่หน้า ดังนั้นหากจะให้มันกระโดดออกตัวขึ้นบินแบบนกกระจอก มันก็คงทำได้แค่กระโดดเหยงๆ ครั้นจะให้มันวิ่งเร่งความเร็วก่อนบินแบบนกอัลบาทรอส (Albatross) มันก็คงจะสะดุดปีกตัวเองหกล้มกลิ้งหลุนๆ ตกหน้าผาตาย อาเมน... Mark Witton นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ ประเทศอังกฤษ เชื่อว่าการออกตัวขึ้นบินของเทอโรซอร์จะต้องเป็นลักษณะเฉพาะที่ใช้ประโยชน์จากขาคู่หน้าและกล้ามเนื้ออกอันใหญ่โตทรงพลังของมัน เขาจึงได้สร้างแบบจำลองการขึ้นบินของเทอโรซอร์ขึ้นมา ในแบบจำลองนี้ เขาอธิบายว่าเทอโรซอร์จะทะยานตัวขึ้นบินในลักษณะเดียวกับท่าทางในจังหวะยกตัวขึ้นกระโดดของนักกระโดดค้ำถ่อ ซึ่งไม้ค้ำถ่อของเทอโรซอร์ก็คือท่อนขาคู่หน้าของมันนั่นเอง ลองดูวิดีโอจำลองข้างล่างนี้ครับ ด้วยการขึ้นบินวิธีนี้ เทอโรซอร์แทบจะไม่ต้องใช้พื้นที่ในการยกตัวขึ้นในอากาศเลย จากคลานๆ สี่ขาอยู่ (นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าเทอโรซอร์เดินด้วยการคลานสี่ขา ไม่ได้เดินสองขาเหมือนนกหรือไดโนเสาร์บางชนิด) ถ้ามันต้องการบิน มันก็แค่ดันตัวเองไปข้างหน้า แล้วก็ใช้แรงจากขาหน้าผลักตัวเองขึ้นไปลอยในอากาศ หลังจากที่อยู่ในอากาศแล้ว เทอโรซอร์สามารถกระพือปีกเพิ่มความเร็วได้สูงสุดถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือถ้าร่อนแบบธรรมดาๆ ก็จะมีความเร็วอยู่ที่ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่ทะยานขึ้นบินด้วยวิธีคล้ายๆ กันนี้ สัตว์นั้นคือ ค้างคาวดูดเลือด (Vampire bats) ที่มา New Scientist
https://jusci.net/node/1341
เทอโรซอร์ออกตัวขึ้นบินได้อย่างไร
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ ค้นพบวิธีใหม่ในการซ่อมตึกร้าวแล้ว วิธีซ่อมแบบใหม่นี้คือใช้กาวปะไปเลย ง่ายสุดๆ ตรงไหนร้าวก็เอากาวไปปะ ไม่ต้องสงสัยกันครับ กาวที่ใช้ไปปะซ่อมรอยร้าวบนตึกนั้นไม่ใช่กาวตราช้างหรือกาวลาเท็กซ์ที่ขายกันในตลาดแน่นอน แต่มันคือกาวพิเศษที่เป็นแบคทีเรีย ไม่ใช่กาวที่สร้างจากแบคทีเรียนะ ย้ำกันอีกที กาวนี้คือแบคทีเรียตัวเป็นๆ เลย แบคทีเรียที่ใช้เป็นกาวซ่อมตึกนี้คือ แบคทีเรียชนิด Bacillus subtilis ที่ถูกตัดต่อทางพันธุกรรมแบบพิเศษ เมื่อปล่อยสปอร์ของแบคทีเรียนี้ลงบนผนังคอนกรีตที่มีรอยร้าว แบคทีเรียก็จะเจริญเติบโตแล้วแทรกลงไปยังส่วนลึกสุดของรอยร้าว พอพวกมันขยายโคโลนีไปถึงส่วนที่ลึกที่สุดแล้ว เจ้าพวกขบวนการแบคทีเรียแสนรู้ก็จะจัดการแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง สร้างผลึกแคลเซียมคาร์บอเนต หรือ หินปูน กลุ่มที่สอง กลายร่างเป็นเส้นใยยึดผลึกแคลเซียมคาร์บอเนต กลุ่มที่สาม สร้างกาวออกมายึดสองส่วนข้างบนไว้ด้วยกันและเติมเต็มช่องในรอยร้าว ทั้งสามกลุ่มนี้จะช่วยกันโบกฉาบรอยร้าวของตึกให้เรียบเนียนเหมือนใหม่ ที่สำคัญมันไม่อู้ไปนอนกลางวันด้วย ทีมนักวิจัยผู้สร้างแบคทีเรียสายพันธุ์นี้ตั้งชื่อมันซะไพเราะเพราะพริ้งว่า "BacillaFilla" ไม่ต้องกังวลไปนะครับว่า BacillaFilla มันจะกลายพันธุ์แล้วรวมร่างกันสร้างตึกบัญชาการเพื่อทำสงครามยึดครองโลก เพราะนักวิจัยเขาใส่ยีนที่ควบคุมให้มันเติบโตได้เฉพาะ pH ที่เหมาะสมบนผนังคอนกรีตเท่านั้น ถ้ามันไม่ได้อยู่บนแผ่นคอนกรีตนานชั่วระยะเวลาหนึ่ง สปอร์และเซลล์ก็จะทำลายตัวเองไปก่อนที่มันจะวางแผนทำอะไรได้ ที่มา Tech News Daily
https://jusci.net/node/1342
แบคทีเรียพันธุ์ใหม่เชื่อมตึกร้าวได้
หลายคนคงยังไม่รู้ว่า ฮอร์โมนในร่างกายเรามีอยู่ตัวหนึ่งที่ถือว่าเป็น "ฮอร์โมนแห่งความรัก" ด้วย ฮอร์โมนตัวนั้นมีชื่อว่า Oxytocin Oxytocin คือฮอร์โมนที่รู้จักกันดีว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะหลั่งออกมาตอนคลอดลูก, ขณะให้นมลูก, และขณะร่วมเพศ นักชีววิทยาเชื่อกันว่า Oxytocin เป็นฮอร์โมนที่สร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูกและคู่ครอง ด้วยเหตุนี้เองมันเลยถูกขนานนามให้เป็น "ฮอร์โมนแห่งความรัก" หรือ "Love Hormone" และจากการวิจัยที่ผ่านมาเร็วๆ นี้เองพบว่า นอกเหนือจากความรักแล้ว Oxytocin ยังมีส่วนให้คนเราใจอ่อนยอมบริจาคเงินให้กับโครงการต่างๆ ในโฆษณาทีวีด้วย ทีมวิจัยที่นำโดย Paul Zak แห่งมหาวิทยาลัย Claremont Graduate University ใน California ได้ทำการทดลองโดยจัดให้กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนได้รับ Oxytocin หรือยาปลอม (placebo) อย่างใดอย่างหนึ่ง หลังจากนั้นผู้วิจัยจะฉายโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการสาธารณประโยชน์ เช่น โครงการลดโลกร้อน โครงการเมาไม่ขับ โครงการงดสูบุหรี่ ฯลฯ ให้กลุ่มตัวอย่างรับชม เมื่อชมโฆษณาจบ กลุ่มตัวอย่างจะต้องทำแบบสอบถามว่ารู้สึกอย่างไรกับโฆษณา ผลการวิจัยได้ออกมาว่า คนที่ดม Oxytocin เข้าไปมีแนวโน้มที่จะบริจาคเงินให้โครงการเหล่านั้นมากกว่าผู้ที่ดมยาปลอมถึง 56% นี่เองอาจจะเป็นคำอธิบายว่าทำไมโฆษณาและรายการทีวีหลายๆ อันถึงได้ชอบใช้เด็กเล็กๆ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์นัก เพราะการเห็นเด็กน้อยน่ารักๆ ก็กระตุ้นการหลั่ง Oxytocin ได้เหมือนกัน (อันนี้ไม่เกี่ยวกับการเป็นโลลิ) ถ้าข่าวต่อไปใน Blognone มี "Android/iOS SDK เวอร์ชันหน้าจะเสริมคำสั่งให้มือถือปล่อย Oxytocin" ก็จงทำใจไว้เถิดว่าเตรียมเสียตัว เอ๊ย เสียตังค์ กันได้เลย :P ที่มา Science Daily ป.ล. ผมเคยอ่านเจอว่า Oxytocin เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดความอิจฉาริษยาด้วยนะ แต่จำไม่ได้ว่าอ่านจากที่ไหน ขอเวลาหาแหล่งอ้างอิงแปบ
https://jusci.net/node/1343
(ฮอร์โมน)รักแท้แพ้โฆษณา
คำตอบคือ เรื่องนี้จริง ครับ แต่อ่านให้จบก่อนดีกว่าครับ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ผมคิดว่าหลายคนคงจะมีความเชื่อที่ว่า ถ้าเราดื่มน้ำก่อนทานอาหารในแต่ละมื้อ ทำให้เรากินอาหารได้น้อยลงและอิ่มเร็วขึ้น เพราะน้ำเข้าไปแย่งที่ในกระเพาะหมด พอกินน้อยลง เราก็จะได้ไม่อ้วน ความเชื่อนี้เพิ่งจะได้รับการพิสูจน์จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์เมื่อไม่กี่ปีมานี้นี่เอง ล่าสุดงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากเวอร์จิเนียเทคที่ได้ตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์โดยทดลองกับผู้มีอายุ 55 ปีขึ้นไปที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างต้องเข้าคอร์สลดน้ำหนักเหมือนกัน แต่กลุ่มหนึ่ง นักวิจัยบอกให้ดื่มน้ำสองถ้วยก่อนทานอาหารทุกมื้อเป็นเวลา 30 นาที ส่วนอีกกลุ่มไม่บอกอะไร ผลออกมาปรากฏว่ากลุ่มที่ดื่มน้ำลดน้ำหนักไปได้เฉลี่ย 15.5 ปอนด์ ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้ดื่มน้ำลดได้เพียง 11 ปอนด์โดยเฉลี่ย (อ้างอิง Dennis et al 2010) ย้อนไปก่อนหน้านั้นสองปี ในปี 2008 ก็มีการทดลองคล้ายๆ กันนี้จากเวอร์จิเนียเทคอีกเช่นเคย ทดลองกับผู้สูงอายุที่น้ำหนักเกินเหมือนกันเลย ผลที่ได้ก็ออกมาในทางเดียวกัน กล่าวคือ กลุ่มที่ดื่มน้ำก่อนทานอาหารได้รับแคลอรี่น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดื่มน้ำก่อนทานถึง 12% (อ้างอิง Davy et al 2008) ผลวิจัยทั้งสองอันก็ฟังดูปรกติดีหนิ แล้วทำไมผมถึงต้องบอกให้อ่านให้จบก่อนด้วย? ถ้าสังเกตดูให้ดี จะพบว่างานวิจัยนี้ทำกับผู้สูงอายุทั้งนั้น นี่แหละครับข้อแม้ที่ผมต้องการให้อ่านให้จบ เพราะว่า; แรกเริ่มนั้นมีผลการศึกษาในปี 2007 (ไม่ต้องเดาครับ นักวิจัยจากเวอร์จิเนียเทคอีกตามเคย) ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าสำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีนั้น การดื่มน้ำก่อนทานอาหารนั้นมีผลน้อยมากจนถึงแทบไม่มีเลยในการช่วยลดความอยากอาหารและปริมาณแคลอรีที่ได้รับ (อ้างอิง Van Walleghen et al 2007) เหตุผลที่เป็นอย่างนี้ก็ไม่มีใครทราบว่าทำไม ดังนั้นหากคุณอายุเกินห้าสิบหกสิบปีขึ้นไป แล้วอยากลดความอ้วน การดื่มน้ำก่อนมื้ออาหารเป็นเวลา 30 นาทีช่วยคุณได้ครับ แต่ถ้าคุณอายุน้อยกว่านั้น คุณคงต้องหามาตรการลดความอ้วนอื่นมาช่วยแล้วแหละ ที่มา The New York Times
https://jusci.net/node/1344
"ดื่มน้ำก่อนกินข้าวช่วยลดความอ้วน" เรื่องจริงหรือหลอกลวง?
ข่าวนี้อาจจะเป็นข่าวร้ายสักนิดสำหรับคนที่ต้องพึ่งพาเครื่องดื่มชูกำลัง เช่น นักเรียนนักศึกษาที่ชอบอ่านหนังสือเตรียมสอบดึกๆ พวกทำงานกะกลางคืน หรือคนที่ต้องใช้กำลังกายเยอะๆ งานวิจัยที่นำโดย Amelia M. Arria ได้ชี้ให้เห็นว่าการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเป็นประจำอาจจะนำไปสู่การดื่มสุราขนาดหนักและอาการติดสุราได้ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ถามนักเรียนนักศึกษาจำนวนกว่า 1,000 คนเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เมื่อนำผลมาวิเคราะห์และตัดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ออกไป พบว่าการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์อย่างมีนัยสำคัญ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเป็นประจำมีแนวโน้มที่จะเริ่มดื่มแอลกอฮอลล์ในอายุที่น้อยกว่า, มีปริมาณการดื่มแอลกอฮอลล์ในแต่ละครั้งมากกว่า, และมีโอกาสติดสุราสูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มหรือดื่มเครื่องดื่มชูกำลังแบบนานๆ ครั้ง นักวิจัยเชื่อว่าแนวโน้มเช่นนี้น่าจะมาจากความเชื่อผิดๆ ในการผสมเครื่องดื่มชูกำลังกับเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เพราะเชื่อว่าจะทำให้ไม่เมา อันที่จริงคาเฟอีนในเครื่องดื่มชูกำลังไม่สามารถทำลายฤทธิ์ของแอลกอฮอลล์ได้ แต่คาเฟอืนจะไปกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวตลอดเวลาจนเราคิดว่าตัวเองไม่เมาทั้งที่เมาแอ๋ไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "เมาตาค้าง" (wide-awake drunkenness) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อแปลกๆ อีกว่าเครื่องดื่มชูกำลังพวกนี้ช่วยลดอาการแฮ้ง (hangover) และหลอกเครื่องตรวจแอลกอฮอลล์ไม่ให้ตรวจเจอแอลกอฮอลล์ในลมหายใจได้ ซึ่งความเชื่อทั้งหมดนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เอาเป็นว่าถ้าใครจำเป็นต้องใช้เครื่องดื่มชูกำลังพวกนี้ ก็ระวังอย่าดื่มให้มากเกินไปแล้วกัน ที่มา Science Daily
https://jusci.net/node/1345
เครื่องดื่มชูกำลังอาจเพิ่มโอกาสในการติดเหล้า
คำตอบคือ "เรื่องนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์" ความเชื่ออย่างหนึ่งที่แพร่หลายมากๆ เกี่ยวกับการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) คือ ถ้าเราทำกิจกรรมที่ฝึกหัดใช้สมองบ่อยๆ เช่น เล่นเกมส์ปริศนา ทายอักษรไขว้ เรียนภาษา คุยกับเพื่อน เป็นต้น สมองเราจะแข็งแรงและไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ในทางวิทยาศาสตร์แล้ว เรื่องนี้กลับยังไม่มีเหตุผลจากการทดลองมายืนยันแน่ชัด ยิ่งไปกว่านั้นผู้เชื่ยวชาญด้านระบบประสาทหลายท่านก็ไม่ค่อยอยากจะเชื่อด้วยว่ากิจกรรมพวกนี้จะมีส่วนช่วยจริง เช่น ศาสตราจารย์ Philip Sloane แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ที่ Chapel Hill ได้ให้ความเห็นไว้ว่า I’d be surprised if it actually makes a difference. อย่างไรก็ตาม กิจกรรมพวกนี้ก็ยังอาจจะมีประโยชน์ต่อระบบประสาทของเราอยู่บ้าง มีหลักฐานจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการที่มีสุขภาพสมองดีนั้นสัมพันธ์กับการมีเพื่อนเยอะอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ก็ยังมีงานทดลองที่ยืนยันว่าการฝึกพูดภาษาที่สองช่วยเลื่อนอายุที่จะเริ่มเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย (ไม่ได้ลดความเสี่ยงนะครับ แค่เลื่อนเวลาออกไปแค่นั้นเอง) สิ่งที่ ร.ศ. Daniel Kaufer ผู้อำนวยการ UNC Memory Disorders Clinic เสนอแนะสำหรับการลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์คือ การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ กินผักเยอะๆ ตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อควบคุมระดับความดันเลือด, คอเลสเตอรอล, ระดับน้ำตาล งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกที่ศีรษะ สิ่งเหล่านี้อาจจะช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ได้ในระดับหนึ่ง ที่มา PhysOrg
https://jusci.net/node/1346
"เล่นเกมส์ไขปริศนาบ่อยๆ ช่วยลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์" เรื่องจริงหรือหลอกลวง?
ภูมิใจที่เกิดมาจนกันได้แล้วครับพวกเรา Michael Kraus นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ค้นพบว่าคนจน (หรือคนที่รู้สึกว่าตัวเองด้อยโอกาสทางสังคม) สามารถอ่านอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่นได้ดีกว่าคนรวย (หรือคนที่รู้สึกว่าตนเองมีสถานะทางสังคมสูง) งานวิจัยของ Michael Kraus ในครั้งนี้เป็นการทดลองถึง 3 ชุดด้วยกัน คือ การทดลองแรกให้พนักงานของมหาวิทยาลัยจำนวน 200 กว่าคน เข้ามากรอกข้อมูลระดับการศึกษาของตนเอง จากนั้นผู้เข้าร่วมทดลองจะได้ชมภาพถ่ายของสีหน้าคนในอารมณ์ต่างๆ และต้องตอบให้ถูกว่าคนในภาพมีอารมณ์เช่นไร ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า คนที่จบเพียงแค่ระดับไฮสคูลทำคะแนนได้ดีกว่าคนที่จบระดับวิทยาลัยหรือสูงกว่า ถึง 7% การทดลองต่อมาทดลองกับนักศึกษาจำนวน 106 คน ทุกคนจะต้องทำแบบสอบถามเพื่อประเมินระดับทางสังคมและเศรษฐกิจของตนเอง (socioeconomic status หรือ SES) จากนั้นนักวิจัยจะจับคู่ให้แต่ละคู่เข้าไปสอบสัมภาษณ์งานแบบหลอกๆ ในการสอบทั้งสองคนจะต้องเดาความรู้สึกของอีกฝ่ายให้ถูกต้อง ผลปรากฏว่าคนที่ประเมินว่าตนเองมีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำกว่ามีแนวโน้มที่จะเดาอารมณ์ของเพื่อนที่เข้าร่วมสัมภาษณ์ได้ถูกต้องแม่นยำกว่าคนที่คิดว่าตนเองอยู่ในระดับสูง จะเห็นว่าผลการทดลองสองอันแรกแสดงหลักฐานให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจนั้นสัมพันธ์กับความสามารถในการเดาอารมณ์คนอื่น ถึงตรงนี้ คนขี้สงสัยอาจจะตั้งข้อสังเกตว่า "ถ้ากลับกันหละ? ไม่ใช่ว่าเพราะรวยแล้วทำให้เราเดาอารมณ์คนอื่นแย่สักหน่อย แต่มันอาจจะเป็นเพราะว่าคนที่สนใจแต่ตัวเอง (เลยไม่มีเวลาไปสนใจอารมณ์คนอื่น) มีแนวโน้มจะถีบตัวเองให้มีสถานะทางสังคมสูงและเศรษฐกิจกว่าคนทั่วไปก็เป็นไปได้" เพื่อตอบข้อสงสัยนี้ การทดลองที่สามจึงได้มีขึ้น ในการทดลองนี้ นักศึกษาจำนวน 81 คน (คนละกลุ่มกับพวก 106 คนในการทดลองที่สอง) จะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกได้ดูรูปของมหาเศรษฐีระดับโลก เช่น บิล เกตส์ ฯลฯ ส่วนอีกกลุ่มได้ดูรูปสภาพชีวิตของคนที่ยากจนข้นแค้น ผลการทดลองที่สามพบว่า นักศึกษาที่ได้ดูรูปของ บิล เกตส์ จะรู้สึกว่าตนเองดูด้อยค่าลงไปทันทีไม่ว่าตอนแรกพวกเขาจะประเมินตัวเองไว้อย่างไรก็ตาม ส่วนนักศึกษาอีกกลุ่มที่ดูรูปคนจน จะรู้สึกว่าสถานะชีวิตของตนเองดีขึ้นทันตาเห็น เมื่อจับทั้งสองกลุ่มมาทำแบบทดสอบเดาอารมณ์จากภาพถ่ายเหมือนกับการทดลองแรก นักศึกษากลุ่มแรกทำคะแนนได้ดีกว่าอีกกลุ่มถึง 6% นักจิตวิทยาค่อนข้างจะแปลกใจกับผลที่ได้นี้ เนื่องจากส่วนใหญ่มักจะคาดกันว่าคนที่มีการศึกษาดีหรือมีสถานะทางสังคมสูงน่าจะเข้าอกเข้าใจเพื่อนมนุษย์ได้ดีกว่า แต่ผลที่ออกมาแบบนี้กลับพลิกความคาดหมายไปเลย หลายท่านคิดว่าที่คนจนมีความตั้งใจในการสังเกตความรู้สึกคนรอบข้างมากกว่า อาจจะเป็นเพราะพวกเขามีความรู้สึกในระดับร่วมกับเพื่อนมนุษย์ทั่วไปมากกว่าก็ได้ ที่มา Live Science
https://jusci.net/node/1347
คนจนอ่านความรู้สึกคนอื่นได้ดีกว่าคนรวย
ในที่สุด Japanese Aerospace Exploration Agency หรือ JAXA (คงประมาณ NASA ของอเมริกา) ก็ได้แถลงการณ์ยืนยันแล้วว่าฝุ่นที่ยานอวกาศ Hayabusa เก็บได้และส่งกลับมายังโลกนั้นมาจากดาวเคราะห์น้อยจริงๆ ยานอวกาศ Hayabusa ถูกส่งขึ้นไปยังอวกาศในปี ค.ศ. 2003 โดยมีภารกิจไปเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อย (asteroid) ที่มีชื่อว่า Itokawa ซึ่งตลอดภารกิจก็มีเหตุการณ์ระทึกใจให้ได้ลุ้นกันใจเต้นตุ้บๆ แต่ในปี 2005 Hayabusa ก็อุตส่าห์พาตัวเองร่อนลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย Itokawa ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและส่งแคปซูลตัวอย่างกลับมายังโลกได้สำเร็จ แคปซูลจาก Hayabusa ตกมาถึงพื้นโลกบนดินแดนของประเทศออสเตรเลียเมื่อเดือนมิถุนายน 2010 ที่ผ่านมานี้เอง แม้ว่าในการตรวจสอบชั้นแรก JAXA พบว่า Hayabusa เก็บตัวอย่างได้ แต่ก็ยังไม่มีใครกล้ายืนยันว่ามันเป็นฝุ่นจากดาวเคราะห์น้อยจริงๆ หรือเป็นฝุ่นบนโลกเข้าไปแอบเนียน จนกระทั่งเมื่อวานนี้เอง (16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010) JAXA ถึงได้ออกมายืนยันผลทดสอบว่าฝุ่นที่ Hayabusa เก็บได้เป็นของจริงจากดาวเคราะห์น้อย Itokawa ลองเข้าไปอ่านประกาศของ JAXA และดูภาพของฝุ่นอวกาศได้จาก หน้า Press Release ของ JAXA จากการส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ scanning electron microscopes (SEM) ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ JAXA พบว่าฝุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่ olivine และ plagioclase ในสัดส่วนที่ไม่มีทางพบได้ในหินใดๆ บนโลก แถมยังเจอแร่ troilite ซึ่งพบได้จากวัตถุในอวกาศเท่านั้นอีกด้วย ความสำเร็จของ Hayabusa นี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มนุษยชาติสามารถเก็บฝุ่นจากดาวเคราะห์น้อยได้ จากการวิเคราะห์ฝุ่นเหล่านี้ นักดาราศาสตร์เชื่อว่าจะทำให้ความเข้าใจในกำเนิดระบบสุริยะของเราก้าวหน้าไปอีกขั้น ที่มา New Scientist ป.ล. ถ้าใครอยากดูฝุ่น มาดูบ้านผมก็ได้ แต่ไม่ใช่ฝุ่นอวกาศนะ เป็นฝุ่นถนน ถ้าไม่ถูสักสองวันนี่ ราดน้ำปลูกข้าวได้เลย T-T
https://jusci.net/node/1348
ยืนยันแล้ว! ยานอวกาศญี่ปุ่นเก็บฝุ่นจากดาวเคราะห์น้อยได้จริงๆ
โครงการ eSTI² เป็นโครงการพัฒนาชิปและซอฟต์แวร์ที่จำเป็น เพื่อตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infection - STI) ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ได้รับเงินทุนวิจัยจากคณะกรรมการเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ของอังกฤษจำนวน 6.4 ล้านดอลลาร์ ปัญหาสำคัญของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือผู้ป่วยมักอายที่จะเดินทางไปตรวจรักษาที่สถานพยาบาลอย่างถูกต้อง แม้วิทยาการรักษาจะดีขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง การที่ผู้ป่วยสามารถตรวจภาวะของโรคได้เองที่บ้านแล้วรายงานผลไปยังแพทย์เพื่อรักษาระยะไกลจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และยังช่วยลดการระบาดของโรคได้อีกทางด้วย ทีมวิจัยประกอบด้วยหน่วยงานจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัย Brunel, มหาวิทยาลัย Warwick, และมหาวิทยาลัยแห่งลอนดอน ที่มา - eWeek
https://jusci.net/node/1349
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้รับเงินทุน 6.4 ล้านดอลลาร์
ข่าวใหญ่จาก CERN มาอีกแล้วครับ ความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลงานของทีมการทดลอง ALPHA (Anti-hydrogen Laser Physics Apparatus) ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเข้าร่วมมากมาย เช่น University of Liverpool, Swansea University, University of California, Berkeley และ Lawrence Berkeley National Laboratory (LBNL) โดยเป้าหมายของทีม ALPHA นี้ก็คือศึกษาคุณสมบัติของสิ่งที่เรียกว่า "ปฎิสสาร" ปฏิสสาร หรือ Antimatter คือสิ่งที่ตรงข้ามกับสสาร (matter) เช่น โพสิตรอนซึ่งเป็นปฏิสสารของอิเล็กตรอน มีทุกอย่างเหมือนกับอิเล็กตรอนหมดแต่มีประจุเป็นบวก เป็นต้น นักพิสิกส์เชื่อกันว่าในตอนที่เกิดบิ๊กแบง (Big Bang) เมื่อ 14,000 ล้านปีก่อน สสารและปฏิสสารถูกสร้างขึ้นมาในปริมาณที่เท่าๆ กัน แต่ด้วยเหตุผลที่ยังไม่มีใครทราบ ปฏิสสารในเอกภพของเราหายไปเกือบหมด เหลือแต่สสารอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เหตุผลที่เราแทบจะไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับปฏิสสารเลย ก็เพราะว่าเราไม่มีเวลาพอจะสังเกตมันนั่นเอง ไม่ใช่เพราะนักวิทยาศาสตร์อู้งานหรือกิ๊กเยอะ แต่เป็นเพราะทันทีที่ปฏิสสารเกิดขึ้นและสัมผัสกับสสาร (ไม่ว่าจะเป็นหลอดทดลอง ผนัง อากาศ) ปฏิสสารกับสสารจะหักล้างกันเองเหลือแต่พลังงานในรูปรังสีแกมมา อย่างดีที่สุดที่เคยทำได้ คือเมื่อปี 2002 ทีม ATHENA ของ CERN สร้าง antihydrogen (ปฏิสสารของอะตอมไฮโดรเจน) และประคับประคองให้มันชีวิตอยู่ได้นานแค่ไม่กี่มิลลิวินาทีก่อนที่มันจะชนกับสสารแล้วหายไป ALPHA เข้ามารับไม้ต่อจากทีม ATHENA ที่ปิดตัวลงไปในปี 2004 และสร้างผลงานต่อจนสามารถกัก antihydrogen ให้มีชีวิตได้นานถึงหลักร้อยมิลลิวินาทีเป็นครั้งแรกจนเป็นข่าวใหญ่โตเขย่าวงการฟิสิกส์ทั่วโลกในตอนนี้ การทดลองของ ALPHA เริ่มจากการสร้างกลุ่มเมฆของ antiproton และโพสิตรอนขนาดเล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 มม. ยาว 20 มม. ที่คนละด้านของสนามแม่เหล็ก โดย antiproton นั้นถูกลดพลังงานลงด้วย Antiproton decelerator จนมีอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส ส่วนโพสิตรอนนั้นมาจากการสลายตัวของโซเดียมกัมมันตรังสีมีอุณหภูมิ -230 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ใช้สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าควบคุมกลุ่มเมฆ antiproton ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า "Autoresonance" แหย่ๆ ดันๆ ไปเรื่อยๆ จนเจอกับกลุ่มเมฆโพสิตรอนตรงกลางขวดสนามแม่เหล็ก (magnetic bottle) ที่ทำจากตัวนำยิ่งยวด (superconducting magnet) เมื่อเจอกัน antiproton และโพสิตรอนจะรวมกันเป็น antihydrogen ซึ่งในขั้นนี้ก็ antihydrogen ที่ได้ก็ยังมีพลังงานมากอยู่เกินกว่าจะถูกกักไว้ได้ มันจะต้องถูกผลักไปผลักมาในขวดแม่เหล็กให้พลังงานลดลงเสียก่อน แม้ antihydrogen ไม่มีคุณสมบัติทางแม่เหล็กและทางไฟฟ้า แต่มีมีบางเสี้ยวขณะที่มันจะเกิด magnetic moment เนื่องจากสปินของตัวมันเองและการกระจายตัวของประจุในโครงสร้าง ในเสี้ยวขณะนี้เอง ที่นักวิทยาศาสตร์จะใช้การเร่งสนามแม่เหล็กอย่างเร็วแบบที่เรียกว่า magnetic mirror สร้างแรงผลักดันมันเข้าไปตรงกลางขวดแม่เหล็ก ดันกันแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนอุณหภูมิลดลงมาอยู่ที่ -272.5 องศาเซลเซียส (หรือสูงกว่าศูนย์องศาสัมบูรณ์เพียง 0.5) antihydrogen ที่เย็นลงพอก็จะถูกดักอยู่ในสนามแม่เหล็กตรงกลางที่มีขั้วแม่เหล็ก 8 ทิศทางล้อมรอบ (octupole magnetic field) เทคนิคนี้มีชื่อว่า Minimum Magnetic Field Trap นักวิทยาศาสตร์จะเดินเครื่องให้นานระดับหนึ่งจนมั่นใจว่าพอกัก antihydrogen ได้แล้ว ก็จะปิดสนามแม่เหล็กอย่างรวดเร็วเพื่อให้เครื่องตรวจจับนับ antihydrogen ที่กักไว้ได้ เวลาที่ใช้ในการดับสนามแม่เหล็กนี้อยู่ภายในแค่ 9 มิลลิวินาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นการดับเครื่องที่เร็วกว่าการดับเครื่องปกติเกือบพันเท่า (การดับเครื่องแบบนี้อันตรายมากเพราะมันจะทำให้เกิดความร้อนและความเครียดในตัวเครื่องอย่างสูง นักวิทยาศาสตร์ต้องทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าเครื่องรับได้จริงๆ) ทีม ALPHA ประกาศว่า antihydrogen ที่ดักด้วยวิธีนี้มีอายุได้นานถึง 172 มิลลิวินาที (ประมาณแมวฉกน้ำได้สามส่วนสี่จึก) อันนี้คือนับจาก antihydrogen ตัวที่มีอายุน้อยที่สุดแล้วนะ จากการทดลองตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทีม ALPHA รายงานว่ากัก antihydrogen ได้จำนวน 38 ตัวจากการทดลอง 335 ครั้ง ใช้ antiproton ไป 10 ล้านตัว โพสิตรอนอีก 700 ล้านตัว มี antihydrogen ที่เกิดขึ้นน่าจะถึงหลักล้านตัว (antihydrogen ที่พอจะกักไว้ในสนามแม่เหล็กได้ต้องมีพลังงานต่ำมากถึงมากที่สุด ส่วนใหญ่พวกมันจะมีพลังงานสูงเกินไปเกินกว่าจะกักได้) อย่างไรก็ดีทีม ALPHA เชื่อว่า ประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับน่าจะมีอยู่แค่ประมาณ 50% ดังนั้นเชื่อว่า antihydrogen ที่ดักได้จริงน่าจะถึง 80 ตัวเลยทีเดียว การกักปฏิสสารได้นานพอขนาดนี้เป็นก้าวแรกในการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การศึกษาปฏิสสารอย่างจริงจัง นักวิทยาศาสตร์จะได้รู้สักทีว่าปฏิสสารมีพฤติกรรมอย่างไร ทำไมมันหายไปไหนหมด และวิทยาการแห่งมนุษยชาติก็จะใกล้คำตอบการกำเนิดแห่งเอกภพเข้าไปอีกขั้น แต่ว่า ALPHA จะทำอะไรก็รีบทำเถิด มัวนอนใจไม่ได้ เพราะตอนนี้ ATRAP คู่แข่งของ ALPHA ใน CERN ออกมาท้าโดยตั้งเป้าแล้วว่าจะทำลายสถิตินี้ให้จงได้ Gerald Gabrielse หัวหน้าทีม ATRAP เกทับว่า ด้วยวิธีใหม่ล่าสุดที่เพิ่งจะค้นพบเมื่อต้นปีนี้ antiproton ที่ทีม ATRAP สร้างได้มีอุณหภูมิต่ำกว่า -267 องศาเซลเซียสเสียอีก ด้วยอุณหภูมิตั้งต้นระดับนี้ antihydrogen ของ ATRAP ต้องอยู่นานกว่าแน่นอน ที่มา PhysOrg, New Scientist, Science Daily, Scientific American, Science News, The Telegraph, Popular Science
https://jusci.net/node/1350
ครั้งแรกในโลก นักวิทยาศาสตร์ CERN จับปฏิสสารได้อยู่หมัดแล้ว
ข่าวสั้นๆละกันนะครับ CERN ได้สร้าง ตรวจพบ ดักจับ และขัง Anti Hydrogen ได้ทั้งหมด 38 อะตอม อย่างที่ทราบกันดีว่า อะตอมในโลกเรา(และอย่างน้อย-กาแลกซี่ของเรา) ประกอบด้วยโปรตอน อนุภาคขนาดใหญ่ขั้วบวก เปนแกนกลางร่วมกับนิวตรอน และมีอิเล็คตรอนวิ่งวนรอบๆ Anti Matter ก็คืออะตอมที่มี แอนตี้โปรตอน(อนุภาคขนาดใหญ่ขั้วลบ)เปนแกนกลางแทนโปรตรอน และมีโพสิตรอนวิ่งวนรอบๆแทน และดังที่ทราบอีกเช่นกันว่า Antimatter(ปฏิสสาร) ไม่สามารถสัมผัสกับวัตถุในโลกเราได้ เพราะมันจะทำให้อนุภาคที่เปนขั้วตรงข้ามวิ่งชนกัน ปลดปล่อยพลังงานออกมาจำนวนมาก และสลายตัวไป แอนตี้ไฮโดรเจนไม่ใช่ของใหม่ครับ ครั้งแรกที่สร้างมันขึ้นมาได้ก็ที่ CERN นี่แหละ ตอนปี 2002 ที่มันเปนข่าว เพราะตอนนี้มีกระบวนการเก็บรักษามันได้แล้ว ด้วยเครื่องมือที่ชื่อ ALPHA กระบวนการของมันง่ายๆครับ มันคือตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด ที่จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กออกมาในจังหวะเดียวกับอะตอมของ(แอนตี้)ไฮโดรเจน ซึ่งเราสามารถคำนวนจังหวะคลื่นนี้ได้จากโครงสร้างของอะตอม การมีคลื่นแม่เหล็กที่ตรงจังหวะกัน ทำให้มันส่งผลกระทบเหมือนที่แม่เหล็กทำกับเหล็กครับ จากนั้นก็ปรับความแรงของแม่เหล็ก และลดอุณหภูมิให้เลือกครึ่งเคลวิน อะตอมของไฮโดรเจนก็จะถูกกักอย่างเสถียร หลังจากนี้ก็จะมีการสร้างแอนตี้ไฮโดนเจนมาเพิ่ม และเก็บมาเพื่อศึกษาคุณสมบัติของมันต่อไป ที่มา : Ars Technica ป.ล. เท่าที่อ่านดู ดูเหมือนว่าตอนนี้จะปล่อยทิ้งไปหมดแล้วครับ (แค่ 176 มิลลิวินาที หลังจากมันเกิดเท่านั้นเอง) ดูเหมือนว่า การจะพิสูจน์ว่ามีอะตอมไฮโดรเจนโดนดักจับได้รึเปล่า คือต้องปล่อยให้มันไปชนอะไรแล้วสลายไป จากนั้นก็ดูผลของอนุภาคที่เกิดจากการสลายตัวของมัน ถึงจะสรุปผลได้น่ะครับ
https://jusci.net/node/1351
มี Anti Hydrogen โดนขังอยู่ที่ CERN
วงการทำขวดน้ำคงจะไม่มีใครมาลบสถิตินี้ไปอีกนาน เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จีนและเยอรมันที่นำโดย Qianyan Zhang ได้สร้างขวดน้ำที่เล็กที่สุดในโลกขึ้นมา หลายคนจะเขม่นแล้วว่า ขวดที่สร้างโดยนักวิทยาศาสตร์เนี่ยจะเล็กขนาดไหนกันเชียวถึงได้ลง JuSci เอาเป็นว่าขวดน้ำที่ว่านี้ใส่น้ำได้แค่ 1 โมเลกุล แค่นี้เล็กพอมั้ย ขวดน้ำที่เล็กที่สุดในโลกนี้ทำจาก fullerene ที่ดัดแปลงนิดหน่อย (fullerene คือ โมเลกุลของอะตอมคาร์บอนเรียงตัวกันต่อเนื่อง ถ้าเป็นรูปทรงกลมที่เกิดจากอะตอมคาร์บอน 60 ตัวมาจับกันเหมือนลูกบอลจะเรียกว่า Buckyball*) มีตัวล็อคฝาปิดทำจากหมู่ฟอสเฟต (phosphate moiety) ถ้าอยากจะเปิดขวดนี้ก็เอาหมู่ฟอสเฟตออก น้ำก็จะไหลเข้าออกขวดได้ พอเอาหมู่ฟอสเฟตมาปิด โมเลกุลน้ำก็จะถูกขังอยู่ในขวด ขวดน้ำนี้คงยังไม่มีขายตามเซเว่นนะครับ ไม่ต้องไปหาซื้อ ภาพจาก PhysOrg ที่มา PhysOrg *ขอบคุณ neizod สำหรับข้อมูลเพิ่มเดิมของ fullerene
https://jusci.net/node/1352
ขวดน้ำที่เล็กที่สุดในโลก
ก่อนหน้านี้วงการวิทยาศาสตร์เคยมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ช่วยให้ความจำดีขึ้นและแม่นยำขึ้นทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ถึงกับเชื่อกันเลยว่าบางทีการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจจะช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) และชิโซฟรีเนีย (schizophrenia) ก็ได้ แต่ก็ยังไม่มีใครทราบว่าเอสโตรเจนไปทำอะไรกับระบบประสาทของเรากันแน่ จนกระทั่งเร็วๆ นี้ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Northwestern University Feinberg School of Medicine นำโดย Deepak Srivastava ได้ค้นพบแล้วว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เราฉลาดขึ้นได้ด้วยการไปช่วยให้เซลล์สมองสื่อสารกันได้มากขึ้นนั่นเอง ในการวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยให้สารที่มีลักษณะโมเลกุลคล้ายกับเอสโตรเจนกับเซลล์ประสาทของหนูทดลองที่เพาะเลี้ยงไว้ในห้องแล็บ สารนี้จะไปกระตุ้นตัวรับเอสโตรเจน (estrogen receptor) บนเซลล์ หลังจากได้รับสาร นักวิจัยเอาเซลล์ไปส่องกล้องดู ก็พบว่ามี dendritic spines ยื่นเพิ่มขึ้นออกมามากมาย dendritic spines นี่แหละคือช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทด้วยกัน ดังนั้นยิ่งมี dendritic spines เยอะเท่าไร เซลล์ประสาทก็จะส่งผ่านข้อมูลกันได้เร็วขึ้นและมากขึ้น ส่งผลให้การทำงานของสมองเราดีขึ้นไปด้วย อาการผิดปกติทางสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และชิโซฟรีเนียส่วนหนึ่งก็มาจากที่ผู้ป่วยมีแขนงเซลล์ประสาทลดลง (ส่วนทำไมมันถึงได้ลดลงนั้นก็ยังคงต้องศึกษากันต่อไป) ไม่ใช่ว่ารู้อย่างนี้แล้วจะวิ่งไปคลีนิกขอเอสโตรเจนมาโด๊ปกันเลยนะ มีรายงานเหมือนกันว่าการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมและหัวใจวาย ตอนนี้ความหวังของเราก็อยู่ที่การสร้างสารสังเคราะห์สักตัวที่กระตุ้นตัวรับเอสโตรเจน (estrogen receptor) และหวังต่อไปว่าสารนี้จะให้ผลดีต่อสมองเหมือนเอสโตรเจนโดยที่ไม่ต้องเอาสุขภาพชีวิตบั้นปลายเราไปแลก รอต่อไปครับ ยาเพิ่มความฉลาดที่เรารอคอยคงมาสักวัน อืม ลืมบอกไปอย่าง ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงด้วยนะครับ ผู้ชายก็มีเหมือนกันแต่ในปริมาณน้อยกว่ามาก รู้เช่นนี้ คุณผู้หญิงที่ชอบหงุดหงิดเวลาแฟนทำอะไรงี่เง่า ก็อย่าไปโกรธเขาเลย ทำใจว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ ผมไม่สนับสนุนการกระทำรุนแรงต่อบุรุษนะ :P ที่มา Live Science
https://jusci.net/node/1353
ไขปริศนาฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยให้สมองเราทำงานดีขึ้นได้อย่างไร
คำเตือนล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) บอกมาว่าขณะนี้ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นับจากชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทยติดกับประเทศเมียนมาร์ไปจนถึงชายแดนฝั่งตะวันออกของไทยที่ติดกับกัมพูชา กำลังมีเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ใหม่ระบาดอยู่ และเชื้อนี้ทนทานแม้กระทั่งยาที่ดีที่สุดในตอนนี้อย่าง Artemisinin ก็เอาไม่อยู่ WHO เคยรายงานการอุบัติของเชื้อมาลาเรียดื้อยาสายพันธุ์ใหม่ในบริเวณชายแดนไทย-พม่าไปแล้วเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน แต่ดูเหมือนว่าประเทศเหล่านี้ (ไม่ต้องหันไปไหนเลย ประเทศนี้หนะแหละ) กลับไม่สนใจที่จะดำเนินมาตรการป้องกันอย่างจริงจัง สายพันธุ์ที่ระบาดในตอนนี้คาดว่าคงจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ก็มาจากการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ที่ WHO รายงานเมื่อสองปีที่แล้วเป็นแน่ ช่วงนี้ยุงเยอะด้วย ระวังตัวกันนะครับ โดยเฉพาะคนที่อยู่พื้นที่เสี่ยงไข้มาลาเรีย ที่มา PhysOrg, CBS News
https://jusci.net/node/1354
[Breaking News] เชื้อมาลาเรียดื้อยาสายพันธุ์ใหม่กำลังระบาดในภูมิภาคอาเซียน
รู้สึกว่าพักหลังๆ นี้ผลประกาศรางวัลโนเบลจะเป็นเรื่องเป็นราวกันให้นินทากันสนุกปากดีจริงๆ คราวปีที่แล้ว (2009) ที่ บารัค โอบามา ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไปแบบขัดสายตาชาวโลกนั่นก็รับคำติคำชมกันไปจุกรอบวง (คำชมไม่เท่าไร แต่เสียงคำตินี่ดังข้ามปี) มาปี 2010 นี้ เรื่องสนุกกลับมาจากทางฝั่งของรางวัลสาขาฟิสิกส์ ซึ่งผู้ได้รับรางวัลคือ Andre Geim กับ Konstantin Novoselov จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร ในฐานะผู้สร้างความก้าวหน้าในการศึกษาวิจัยกราฟีน (graphene) ใครอยากรู้จักกราฟีนเพิ่มเติมก็ไปหาอ่านที่อื่นเอาเอง ในตอนนี้เราไม่สน เราจะสนแต่เรื่องคนตีกัน คณะกรรมการรางวัลโนเบลใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินนั้นเป็นเรื่องที่คงไม่มีใครทราบ แต่ที่แน่ๆ มีนักวิทยาศาสตร์ในวงการกราฟีนไม่พอใจกับผลการประกาศนี้หลายคน หัวหอกที่ลุกขึ้นมาวิจารณ์คณะกรรมการในเรื่องนี้ คือ Walt de Heer แห่ง Georgia Institute of Technology จนถึงกับร่อนจดหมายไปถึงคณะกรรมการรางวัลโนเบลเลย เนื้อความในจดหมายชี้ข้อผิดพลาดที่ปรากฏในเอกสารประกอบผลประกาศไว้หลายจุดด้วยกัน ลองไปอ่านฉบับเต็มได้จาก www.gatech.edu/graphene/ ในจดหมายอาจจะเป็นเรื่องทางวิชาการล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เท่าไร แต่เวลาให้สัมภาษณ์นักข่าวนี่ De Heer ปล่อยเต็มที่เลย มีประโยคหนึ่งถึงกับบอกว่า "คณะกรรมการรางวัลโนเบลไม่ได้ทำการบ้านมา" The Nobel Prize committee did not do its homework. อย่านึกว่า Geim จะอยู่เฉย พี่แกก็ออกมาสวนกลับเหมือนกัน หาว่า De Heer เป็นพวกอยากดัง เลยออกมาหาเรื่องโจมตีคณะกรรมการรางวัลโนเบลให้เป็นข่าว อูย แรงได้อีก If he complains about Stockholm, some people might start thinking that he contributed something important. เรื่องนี้ก็อาจจะมีมูลเหมือนกันนะ เพราะตัว De Heer เองก็จดสิทธิบัตรการใช้กราฟีนในงานอิเล็กทรอนิกส์ไว้หลายตัวเหมือนกัน ใครว่าเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนลึกลับซ่อนเงื่อนพิสดารมีแต่เฉพาะในแวดวงการเมือง วงการนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่น้อยหน้าเหมือนกัน ประเด็นหลักๆ เลยที่คณะกรรมการรางวัลโนเบลถูกโจมตีก็คือ เรื่องการให้ความสำคัญกับผลงานตีพิมพ์ของ Andre Geim กับ Konstantin Novoselov ในปี 2004 มากจนเกินไป เช่น รูป Figure 3 ในเอกสารที่เอามาจากผลงานตีพิมพ์ปี 2004 แล้วบอกว่าได้มาจากกราฟีนที่เป็นชั้นของอะตอมคาร์บอนชั้นเดียว จริงๆ แล้วรูปข้อมูลที่ได้มาจากชั้นของกราฟีนที่เรียงซ้อนกันหลายชั้น หรือ few-layer graphene (FLG) หรืออีกชื่อที่รู้จักกันดีคือ กราไฟท์ (graphite) แต่เรื่องนี้ Geim เจ้าของรางวัลก็ออกมาชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะยังไงซะทีมของเขาก็ได้รายงานผลคล้ายกันนี้ในปี 2005 จากการทดลองกับกราฟีนชั้นเดียวไปแล้ว เรื่องยังไม่จบ เพราะในเอกสารประกอบผลประกาศนั้นยังมีอีกรูปที่หลายคนยังข้องใจอยู่ คือ Figure 4 ซึ่งมีรูปสองรูป รูปหนึ่งทางซ้ายเป็นของ Novoselov กับ Geim อันนี้ไม่มีใครติดใจ แต่รูปทางขวามันเป็นผลงานของนักฟิสิกส์อีกคน แต่คำบรรยายใต้ภาพดันอ้างถึงงานของ Novoselov กับ Geim สองครั้ง ชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าทั้งสองรูปมาจากงานของทั้งสองคนเท่านั้น นักฟิสิกส์ที่โดนพาดพิงในรูป Figure 4 คือ Philip Kim แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งถ้านับกันตามเนื้อผ้า ผลงานของ Kim ในปี 2005 นี้มีความสำคัญสูสีกับผลงานของ Novoselov กับ Geim ในปีเดียวกันเลย แม้แต่ตัว Geim เองยังยอมรับ ถึงกับออกปากว่ายินดีที่จะรับรางวัลร่วมกันกับ Kim ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดี Kim กลับยอมรับผลการตัดสินของคณะกรรมการรางวัลโนเบล ไม่ออกมาโต้เถียงอะไร (โห! พระเอกมากๆ ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สนใจ เพราะเราจะดูคนตีกัน) และเรื่องที่ฉาวที่สุดในเอกสารนั้นก็คือ การที่บอกว่างานของ Novoselov กับ Geim ในปี 2004 ดุจดังดวงประทีปชี้ทางสว่างให้กับงานเกี่ยวกับกราฟีนซึ่งก่อนหน้านี้เคยคิดว่าไม่สามารถแยกออกมาได้และเป็นสารที่ไม่เสถียร ในจุดนี้มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนเข้าข้าง De Heer กระโดดเข้ามาคลุกวงใน ตัวอย่างเช่น Paul McEuen แห่ง Cornell University in Ithaca ก็ออกมาปฏิเสธคำกล่าวอ้างนี้ McEuen ยืนยันว่ากราฟีนมันสร้างได้ก่อนปี 2004 แน่ๆ และนักวิจัยหลายกลุ่มก็มีผลงานอุทิศให้กับเรื่องนี้มากมาย ผลงาน Novoselov กับ Geim ในปี 2004 ไม่ได้ดีเลิศเลออะไรขนาดนั้น ถ้าจะให้ความดีความชอบก็ควรจะให้กับผลงานของ Novoselov กับ Geim ในปี 2005 และผลงานของ Kim ในปีเดียวกันมากกว่า แบบนั้นยังพอจะฟังขึ้น เมื่อโดนวิจารณ์หนักเข้า Novoselov กับ Geim เจ้าของรางวัล และ Ingemar Lundström กรรมการรางวัลโนเบล ก็ออกมาขานรับเป็นเสียงเดียวกัน ยืนยันในจุดยืนเดิมว่างานของ Novoselov กับ Geim ในปี 2004 มีความสำคัญจริงๆ ก่อนหน้านั้นแม้จะพอมีนักวิทยาศาสต์เชื่อว่ากราฟีนทำได้อยู่บ้าง แต่ก็มีปริมาณน้อยมากๆ แต่หลังจากที่ผลงานปี 2004 ตีพิมพ์ นักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงได้หันความสนใจมาศึกษากราฟีนกันมากขึ้น ดูได้จากจำนวนการอ้างอิงถึง 3,357 ครั้ง (ตัวเลขจาก Web of Knowledge citation index) ตอนนี้กระแสของฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับผลรางวัลก็ยังคงปะทุอยู่เนืองๆ ผ่านสื่อข่าววิทยาศาสตร์ เอกสารประกอบผลรางวัลที่ว่าก็ได้รับการแก้ไขแล้วในบางจุด แต่ส่วนใหญ่จะแก้เรื่องการตกหล่นชื่ออ้างอิงเสียมากกว่า ประเด็นร้อนหลักๆ ยังอยู่แทบจะครบถ้วน รอดูวันที่ 10 ธันวาคม ปี 2010 นี้ ว่าจะมีม็อบนักฟิสิกส์ไปปิด Stockholm Concert Hall มั้ย? ว่าแต่นักฟิสิกส์นี่เขาใช้สีอะไรกันอะ :P ที่มา Scientific American
https://jusci.net/node/1355
รางวัลโนเบลทำพิษ นักฟิสิกส์เปิดฉากฉะกันนัว
นักดาราศาสตร์ค้นพบเป็นครั้งแรกว่ากาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเราก็มีดาวเคราะห์ลูกบุญธรรมด้วย ถ้าคุณคิดว่าดาวทุกดวงในกาแล็กชี่ทางช้างเผือกเกิดมาพร้อมกันแล้วอยู่ด้วยกันอย่างนี้มาตลอด ก็คงต้องทำความเข้าใจกันใหม่แล้ว เพราะว่าเมื่อ 6-9 พันล้านปีที่ผ่านมา กาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเราเคยเขมือบกาแล็กซี่อีกกาแล็กซี่หนึ่งเข้ามา และจากการค้นพบเร็วๆ นี้พบว่า มีดาวเคราะห์(อย่างน้อย) 1 ดวงเหลือรอดมาจากการเขมือบครั้งนั้นด้วย นักวิทยาศาสตร์จาก Max Planck Institute for Astronomy (M.P.I.A.) ใน Heidelberg ประเทศเยอรมนี และ European Space Agency ได้ค้นพบว่าดาว HIP 13044 ซึ่งมีกำเนิดมาจากกาแล็กซี่อื่นมีดาวเคราะห์โคจรรอบเป็นบริวาร ดาว HIP 13044 อยู่ห่างจากโลกของเรา 2,000 ปีแสง เหตุผลที่เชื่อกันว่าดาว HIP 13044 กำเนิดมาจากกาแล็กซี่อื่นนั้นเป็นเพราะมันล่องลอยอยู่ใน Helmi stream ซึ่งเป็นกลุ่มทางของดาวที่กระจายตัวเหยียดยาวเป็นระยะทางถึง 42,000 ปีแสงตัดกับระนาบของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ลักษณะแบบนี้เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่ามันคือเศษซากของกาแล็กซี่ที่ถูกแรงโน้มถ่วงขนาดมหาศาลฉีกยืดออกไปในขณะที่มันโดนเขมือบโดยกาแล็กซี่ทางช้างเผือก นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ว่า HIP 13044 b ตามชื่อดาวฤกษ์ที่มันโคจรรอบ HIP 13044 b นั้นถือได้ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่เราค้นพบโคจรอยู่ใน Helmi stream HIP 13044 b มีมวลประมาณ 1.25 เท่าของดาวพฤหัส ระยะวงโคจรของมันสั้นกว่าระยะทางจากดาวพุธถึงดวงอาทิตย์เสียอีก นอกจากจะเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่เราค้นพบว่ารอดจากการเขมือบโดยกาแล็กซี่ทางช้างเผือกแล้ว HIP 13044 b ยังมีเรื่องแปลกประหลาดให้น่าสงสัยอีกถึง 2 เรื่อง อย่างแรกเลย คือ HIP 13044 b กับ HIP 13044 ดาวฤกษ์ของมันมีแร่โลหะน้อยมาก ปริมาณโลหะทั้งหมดของดาว HIP 13044 คิดได้เป็นเพียง 1% ของดวงอาทิตย์เท่านั้น อันนี้ขัดกับทฤษฏีกำเนิดดาวเคราะห์ที่เชื่อกันว่าจะต้องมีแกนกลางเป็นโลหะ (core-accretion model) โดยสิ้นเชิง นักวิทยาศาสตร์เสนอว่า HIP 13044 b จะต้องถือกำเนิดโดยวิธีที่แตกต่างออกไป หรือ disk-instability model ซึ่งเกิดจากการหมุนวนและแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของแก๊ส มีเพียงวิธีนี้เท่านั้นที่ดาวเคราะห์ที่มีโลหะอยู่น้อยขนาดนี้จะถือกำเนิดได้ อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ HIP 13044 นั้นเป็นดาวฤกษ์ที่มีอายุมากแล้ว มันได้ผ่านช่วงวิวัฒนาการ red giant phase ซึ่งเป็นช่วงที่มันจะขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดงแล้วก็กลืนกินดาวเคราะห์บริวารรอบๆ จากนั้นมันจึงหดตัวลงเหลือเท่าขนาดที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า HIP 13044 b รอดมาได้เพราะว่าตอนแรกเริ่มเดิมที วงโคจรของมันอยู่ห่างจาก HIP 13044 มากพอสมควร พอ HIP 13044 ขยายตัว มันก็ถูกลากเข้ามา เพียงแต่ยังไม่ใกล้พอจะโดนกลืน พอ HIP 13044 หดตัวลง HIP 13044 b ก็เลยโคจรอยู่รอบๆ ต่อไป (ดวงอาทิตย์ของเราจะใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนหมดและกลายเป็นดาวยักษ์แดงในอีกประมาณ 5 พันล้านปีข้างหน้า ถึงตอนนั้นโลกก็คงไม่น่ารอด) อย่างไรก็ตาม HIP 13044 b ก็คงมีอายุต่อไปได้อีกไม่กี่ร้อยล้านปีแน่ๆ เพราะเมื่อ HIP 13044 เผาเชื้อเพลิงฮีเลียมที่ใจกลางของมันหมด มันก็จะขยายตัวอีกครั้ง และจะใหญ่กว่าคราวเป็นดาวยักษ์แดงซะอีก ถ้า HIP 13044 b รอดได้อีก มันคงได้รับตำแหน่งดาวเคราะห์ที่ดวงดีที่สุดในจักรวาล ที่มา Discovery News, Science News, Scientific American
https://jusci.net/node/1356
ของเราอาจไม่ใช่ของเรา...ดาวเคราะห์ที่มาจากกาแล็กซี่อื่น
เมื่อปี 2006 พลูโตถูกลดขั้นจาก "ดาวเคราะห์" ไปเป็น "ดาวเคราะห์แคระ" ถือได้ว่าเป็นข่าวใหญ่ที่สุดในวงการดาราศาสตร์ระดับโลก การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่โตขนาดนี้ย่อมมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ไม่ว่าจะอย่างไรสหภาพดาราศาสตร์สากลก็ยังยึดถือชื่อ​ "ดาวเคราะห์แคระพลูโต" เรื่อยมานับจากนั้น แต่จากข้อมูลใหม่ในปี 2010 นี้ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอาจจะมีความหวังที่จะได้เห็น "ดาวเคราะห์พลูโต" กลับมาอีกครั้ง ย้อนความกลับไปสักหน่อย วันวานอันแสนชื่นที่วงการดาราศาสตร์เชื่อกันว่าระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์อยู่ 9 ดวงต้องมีอันพังทลายลงหลังจากการค้นพบ Eris ในปี ค.ศ. 2005 ในตอนนั้นนักดาราศาสตร์เชื่อว่า Eris มีขนาดและมวลมากกว่าพลูโตอยู่เล็กน้อย แต่โคจรห่างจากดวงอาทิตย์ถึง 15,000 ล้านกิโลเมตร ไกลกว่าวงโคจรของพลูโตเกือบสองเท่า ความจริงข้อนี้รบกวนจิตใจของนักดาราศาสตร์ผู้อ่อนไหวอย่างไม่อาจจะทานทน เพราะเริ่มเกิดความไม่แน่ใจว่าควรจะนับ Eris เป็นดาวเคราะห์ดีหรือไม่ แล้วถ้าอนาคตเกิดเจออะไรแบบ Eris เพิ่มขึ้นมาอีก เราจะรู้ได้อย่างไรว่าระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์กี่ดวงกันแน่ ในปี 2006 สหภาพดาราศาสตร์สากล หรือ International Astronomical Union (IAU) จึงประกาศคำนิยามของดาวเคราะห์เสียใหม่ โดยกำหนดให้วัตถุในอวกาศที่จะเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะได้ต้อง โคจรรอบดวงอาทิตย์เท่านั้น ไม่ใช่โคจรอยู่วงโคจรของดาวเคราะห์หรือวัตถุในอวกาศอื่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อีกที มีขนาดใหญ่พอที่จะคงรูปร่างทรงกลมได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของตัวเอง แต่ไม่ใหญ่จนเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันแบบดาวฤกษ์ได้ มีอาณาบริเวณของวงโคจรแยกออกจากวัตถุในอวกาศอื่นๆ อย่าง "ชัดเจน" (clearing its neighborhood) ข้อที่สำคัญที่สุดและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดคือข้อสาม เนื่องจากพลูโตและดวงจันทร์ของมัน "ชารอน" ล่องลอยและดูเหมือนว่าจะโคจรไปกับวัตถุอื่นๆ ใน Kuiper Belt (กลุ่มวัตถุนำ้แข็งที่โคจรรอบระบบสุริยะ อยู่เลยจากวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป) อาณาบริเวณอย่างชัดเจนของพลูโตจึงเป็นที่น่ากังขายิ่งนัก ดังนั้นตามคำนิยาม นักดาราศาสตร์เลยจัดกลุ่มใหม่ให้พลูโตอยู่ในประเภทที่เรียกว่า "ดาวเคราะห์แคระ" (Dwarf planet) ซึ่งคำว่า "ดาวเคราะห์แคระ" อันนี้ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับวัตถุอวกาศที่เกือบได้เป็นดาวเคราะห์แต่ขาดข้อกำหนดข้อสามข้อเดียว และเพื่อความสบายใจ Eris ก็ถูกเหมายกเข่งให้เป็นดาวเคราะห์แคระไปด้วยเลยในคราวเดียวกัน วงการดาราศาสตร์จะได้จบปัญหากวนใจไปตลอดกาล แน่นอนว่าในตอนนั้นก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมาย หลายคนข้องใจกับคำนิยามนี้มากๆ บางคนก็อ้างว่ามีนักดาราศาสตร์เข้าร่วมโหวตคำนิยามนี้แค่ 5% เอง จะเอามาตัดสินใจแทนนักวิทยาศาสตร์ทั้งโลกได้อย่างไร ผ่านมา 4 ปี คำวิจารณ์ต่างๆ ก็เริ่มจะซาลงแล้ว จนกระทั่งวันที่ 6 พฤศจิกายน 2010 ที่เพิ่งผ่านมานี้เอง กระแส "ดาวเคราะห์พลูโต" ก็กลับมาอีกครั้ง เพราะจากการวัดครั้งใหม่ Eris ดันมีขนาดเล็กกว่าพลูโต ขนาดของ Eris ที่วัดได้ใหม่นี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง 2,340 กิโลเมตร เล็กกว่าพลูโตซึ่งมีขนาด 2,342 กิโลเมตร อยู่ตั้ง 2 กิโลแหนะ ความต่าง 2 กิโลเมตรนี้ก็เกินพอแล้วที่จะทำให้ฝ่ายที่อยากให้พลูโตเป็นดาวเคราะห์ยกขึ้นเอามาเป็นข้ออ้างให้ IAU พิจารณาการปลดพลูโตใหม่อีกรอบ ทั้งสองฝ่ายก็มีเหตุมีผลสนับสนุนความคิดตัวเอง เริ่มจากฝ่ายที่เชียร์ "ดาวเคราะห์พลูโต" Alan Stern นักดาวเคราะห์วิทยาจาก Southwest Research Institute ให้ความเห็นถากถางคำนิยามของ IAU ว่า "ถ้าจะนับกันตามนี้เคร่งๆ ก็ยกเลิกดาวเคราะห์ไปให้หมดได้เลย เพราะไม่เห็นจะมีอะไรในระบบสุริยะที่จะมีอาณาบริเวณชัดเจนสักอัน" If you take the IAU's definition strictly, no object in the solar system is a planet. No object in the solar system has entirely cleared its zone. Stern ให้ความเห็นว่าข้อกำหนดอันที่สามมันตลกสิ้นดี ในระยะที่ห่างจากดวงอาทิตย์มากๆ จะเอาอะไรเป็นตัววัดอาณาบริเวณ มีแต่ดาวเคราะห์แบบใหญ่เบิ้มๆ เท่านั้นจึงจะพอกะประมาณอาณาบริเวณที่ว่าได้ ถ้าเอาโลกไปไว้ในวงโคจรของดาวยูเรนัส ก็อย่าหวังเลยว่าจะได้เห็นอาณาบริเวณของโลก แล้วอย่างนี้จะถือว่าโลกไม่ใช่ดาวเคราะห์ได้หรือไม่? Stern เสนอให้ยกเลิกข้อกำหนดข้อสามซะ แล้วก็รับพลูโตกลับเข้ามาเป็นวงศ์วาน "ดาวเคราะห์" แบบเดิม รวมไปถึง Eris และวัตถุอื่นๆ ที่ผ่านเกณฑ์สองข้อแรกด้วย อีกเหตุผลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการวัดครั้งใหม่ก็คือ เรื่องความผิดปรกติของมวลของ Eris แม้ว่า Eris มีขนาดพอๆ กับพลูโต (หรือเล็กกว่านิดหน่อยตามมุมมองของฝ่ายโปรดาวเคราะห์พลูโต) แต่มวลของมันกลับมากกว่าพลูโตเกือบ 25% ความแตกต่างเช่นนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่ามันอาจจะเป็นวัตถุคนละประเภทกัน ดังนั้นคำถามที่ตามมาคือ การจัด Eris กับพลูโตไว้ในกลุ่มดาวเคราะห์แคระเหมือนกันเป็นเรื่องสมควรหรือไม่? ฝ่ายที่จะเอา "ดาวเคราะห์แคระพลูโต" ก็มีความเห็นของเขาเหมือนกัน อย่าง Mike Brown นักดาราศาสตร์จาก Caltech ผู้ค้นพบ Eris เชื่อว่าการตั้งพลูโตเป็นดาวเคราะห์ในตอนแรกเป็นความผิดพลาดของประวัติศาสตร์ ในตอนนั้นยังไม่มีใครรู้ว่ามี Kuiper Belt อยู่ (พลูโตถูกค้นพบในปี 1930 ส่วน Kuiper Belt ค้นพบในปี 1992) Brown เชื่อว่าถ้ารู้มาตั้งแต่แรก คงไม่มีคนสติดีคนไหนเรียกพลูโตว่าเป็นดาวเคราะห์หรอก It's just a funny historical accident that we found Pluto so early, and that it was the only thing known out there for so long. No one in their right mind would not have called it a planet back then, because we didn't know any better. อีกคนที่อยากเห็นพลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระ คือ Neil deGrasse Tyson ผู้อำนวยการหอดูดาว Hayden Planetarium ในนิวยอร์ค คิดว่า "พลูโตคงจะดีใจที่ในที่สุดมันก็ได้มีครอบครัวเป็นของตัวเองสักที" ไม่ต้องเป็นดาวเคราะห์ข้าวนอกนาอีกต่อไป I group Pluto with the other icy bodies in the Kuiper Belt. I think it's happier there, actually. Pluto has family in the outer solar system. บางคนคงจะรู้สึกเหนื่อยหนาระอาใจกับนักดาราศาสตร์สองก๊วนนี้เต็มทน จะเอาอะไรกันหนักกันหนากับแค่ชื่อ ขนาดพลูโตเองมันยังไม่เห็นออกมาโวยอะไร จริงๆ แล้ว "ชื่อ" ก็มีส่วนสำคัญอยู่พอสมควร ฝ่ายที่ชอบ "ดาวเคราะห์พลูโต" ก็อ้างว่าคำว่าดาวเคราะห์มันดึงดูดให้คนสนใจมากกว่า เพราะมันให้ความรู้สึกว่าเป็นเหมือนๆ กันกับโลก ฝ่ายที่ชอบ "ดาวเคราะห์แคระ" ก็ไม่อยากจะเพิ่มรายชื่อดาวเคราะห์ให้มันยาวเหยียดแบบไม่รู้จบรู้สิ้น ปัจจุบันนักดาราศาสตร์หลายคนเริ่มที่จะไม่อยากใช้คำว่า "ดาวเคราะห์" แบบเดิมอีกแล้ว เพราะคำนี้ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาลในยุคที่ความรู้ดาราศาสตร์ยังไม่มากเท่าปัจจุบัน ทางออกอีกทางที่น่าจะดีกว่าคือการจัดชนิดของวัตถุในอวกาศใหม่หมดเลยให้ครอบคลุมสิ่งที่เรารู้หรือจะรู้เพิ่มในอนาคต แยกไปเลยอันไหนเป็นดาวยักษ์ ดาวน้ำแข็ง ดาวปฐพี ดาวรูหนู ดาวรูแมว ฯลฯ แล้วไม่ต้องมาเถียงกันอีก อันไหนตรงอันไหนก็ยัดใส่อันนั้น ตอนนี้โพลล์ความเห็นเรื่องจะเอาพลูโตกลับมาเป็นดาวเคราะห์หรือไม่ที่ SPACE.com ยังถือว่าสูสีกันอยู่พอควร ตามเวลาที่ผมเขียนอยู่ตอนนี้ (13.00 น. วันที่ 21 พ.ย. 2010 ตามเวลาประเทศไทย) คะแนนของฝ่าย "ดาวเคราะห์พลูโต" อยู่ที่ 44%, ฝ่าย "ดาวเคราะห์แคระพลูโต" 36%, และพวก "แทงกั๊กขอดูก่อน" มีคะแนนอยู่ที่ 20% ชาว JuSci มีความเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ เชิญลุยเต็มที่กันได้ที่ comment ข้างล่าง ที่มา Live Science, SPACE.com
https://jusci.net/node/1357
พลูโตอาจกลับมาเป็นดาวเคราะห์?
ผมหมายถึง "อาการพูดติดอ่าง" ซึ่งเป็นความผิดปกติในการพูดนะครับ คนละอย่างกับการติดอ่างอาบน้ำ (รู้นะคิดกันไปถึงไหนแล้ว) อาการติดอ่าง (stuttering) เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการพูดที่พบกันได้บ่อยๆ มีเด็กถึง 5% ที่พูดติดอ่าง แต่ 80% จะหายเองเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ สำหรับผู้ใหญ่ที่โตแล้วยังมีอาการพูดติดอ่างนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย โดยประมาณผู้ชายติดอ่างมากกว่าผู้หญิงถึง 5 เท่า ดร. Soo-Eun Chang แห่ง Michigan State University ได้เสนอผลการวิจัยที่ชี้ว่าอาการพูดติดอ่างของผู้ชายกับผู้หญิงนั้นแตกต่างกัน ทีมวิจัยของ ดร. Soo-Eun Chang ศึกษาลักษณะการทำงานของสมองของคนติดอ่าง 18 คนและคนปกติ 14 คน ด้วยวิธีสองวิธี คือ functional magnetic resonance imaging (fMRI) ซึ่งจะแสดงบริเวณสมองที่ถูกกระตุ้นในระหว่างที่พูด และ diffusion tensor imaging ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงโครงสร้างของการเชื่อมต่อระหว่างสมองแต่ละส่วน ผลที่ได้นั้นพบว่าสมองของผู้ที่มีอาการติดอ่างมีการเชื่อมต่อของส่วนวางแผน (planning area) กับส่วนประมวลผล (execution area) ใน motor cortex ของสมองซีกซ้ายน้อยกว่าคนปกติ ในขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมต่อระหว่างสมองสองซีกมากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ผู้ชายที่ติดอ่างกับผู้หญิงที่ติดอ่างก็มีลักษณะของการเชื่อมต่อในสมองต่างกันด้วย กล่าวคือ ผู้หญิงที่ติดอ่างจะมีการเชื่อมต่อของส่วนควบคุม (control area) ใน motor cortex กับส่วน sensory ในสมองทั้งสองซีกมากกว่าผู้ชายที่ติดอ่างอย่างเห็นได้ชัด การค้นพบนี้จะเป็นการปูทางในการทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการติดอ่างของผู้หญิงและผู้ชายได้ดียิ่งขึ้น งานต่อไปก็คือการตรวจสอบอีกครั้งในเด็กเพื่อดูว่าลักษณะความแตกต่างเช่นนี้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงใดของการเจริญเติบโต ที่มา Science Daily
https://jusci.net/node/1358
ผู้ชายกับผู้หญิงติดกันคนละ..อะ..อะ..อ่าง
บางทีศรัทธาที่เรามีต่อยี่ห้อสินค้าอาจจะเป็นสิ่งทดแทนความเชื่อทางศาสนาก็ได้ ทีมวิจัยร่วมจากมหาวิทยาลัย Tel Aviv University, Duke University และ New York University ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศรัทธาที่คนมีต่อศาสนากับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า สิ่งที่พวกเขาค้นพบอาจจะขัดกับความคาดหมายของใครหลายๆ คนในที่นี้ก็ได้ การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ คือ ส่วนแรกคือการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยได้เก็บข้อมูลจำนวนร้านสินค้ายี่ห้อดังๆ (เช่น Apple, Macy's และ Gap) เทียบกับจำนวนสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและจำนวนคนที่เข้าร่วมพิธีกรรมในหลายเมืองและมลรัฐทั่วสหรัฐอเมริกา เมื่อตัดปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ, การศึกษา, และความเจริญของเมืองออกไปแล้ว พบว่าจำนวนร้านสินค้าเหล่านี้มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับสถานที่ประกอบพิธีกรรมและความตื่นตัวทางกิจกรรมศาสนาของประชาชน ส่วนที่สองของงานวิจัยเป็นการทดลอง นักวิจัยแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะต้องเขียนบทความเกี่ยวกับอิทธิพลของศาสนาต่อชีวิต ส่วนอีกกลุ่มให้เขียนเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน จากนั้นทั้งสองกลุ่มจะต้องเข้าไปช็อปปิ้งในสถานการณ์จำลอง สินค้าที่มีให้เลือก ได้แก่ แว่นตากันแดด, เครื่องประดับ, ถ่านไฟฉาย, และยาทาแก้ปวด ผลปรากฏว่านักศึกษาที่เขียนรายงานเกี่ยวกับศาสนามาก่อนมีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อสินค้ามียี่ห้อน้อยกว่านักศึกษาอีกกลุ่ม โดยเฉพาะกรณีที่สินค้านั้นเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ภายนอก เช่น เครื่องประดับ แว่นตา เสื้อผ้า นอกจากนี้ผลการศึกษาที่มีผู้เข้าร่วมประมาณ 300 คนเข้ามากรอกข้อมูลและช็อปปิ้งในสถานการณ์จำลองบนอินเตอร์เน็ตก็ให้ผลในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ไม่ค่อยเคร่งศาสนาหรือไม่ได้นับถือศาสนามักจะชอบเลือกซื้อสินค้าที่มียี่ห้อมากกว่าผู้ที่นับถือศาสนาอย่างจริงจัง นักวิทยาศาสตร์เสนอสมมติฐานว่า การเลือกใช้สินค้าที่มียี่ห้ออาจจะเป็นหนทางในการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของคนที่ไม่ได้เอาศาสนามาเป็นเครื่องค้ำชูจิตใจ เป็นคล้ายๆ สิ่งทดแทนการแสดงความศรัทธาต่อความเชื่อทางศาสนาอะไรประมาณนั้น เช่น คนที่เคร่งศาสนาอาจจะมีสัญลักษณ์เป็นไม้กางเขนหรืออะไรอย่างอื่นไว้แสดงความเป็นตัวตน คนที่ไม่มีศาสนาก็อาจจะยึดถือ iPhone หรือกระเป๋าหลุยส์วิคตองด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาคล้ายๆ กัน ที่มา Science Daily
https://jusci.net/node/1359
ไร้ศาสนา แต่ไม่ไร้ยี่ห้อ
กล้องจุลทรรศน์สามมิติรุ่นใหม่ที่พัฒนาโดย Institute for Soft Matter and Functional Materials ร่วมกับสถาบันมะเร็งแห่งสหรัฐฯ ได้แถลงถึงความสำเร็จในการถ่ายภาพเซลล์โดยมีรายละเอียดสูงมาก ภาพที่ได้จากกล้องนี้มีรายละเอียดครบถ้วนทั้งผนังนิวเคลียสสองชั้น, ช่องเมมเบรนของนิวเคลียส, ไลโซโซม, และรายละเอียดอื่นๆ ที่ความละเอียดระดับ 30 นาโนเมตร โดยรายละเอียดระดับนี้ไม่สามารถเก็บภาพได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบแสงปรกติอีกแล้ว กล้องรุ่นใหม่นี้อาศัยรังสีเอ็กซ์ในการเก็บภาพ โดยต้องการชิ้นตัวอย่างที่แช่แข็งโดยไม่ต้องการการย้อมสีล่วงหน้า และทีมวิจัยคาดว่ามันจะสร้างความเข้าใจใหม่ๆ ให้กับโครงสร้างของเซลล์ในอนาคตได้ต่อไป ที่มา - Medical Daily
https://jusci.net/node/1360
กล้องจุลทรรศน์ใหม่ให้รายละเอียดเซลล์ได้โดยไม่ต้องย้อมสี
นักวิทยาศาสตร์สงสัยกันมานานแล้วว่าทำไมยาต้านมะเร็งที่เข้าไปตัดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็ง (Angiogenesis inhibitors) ถึงใช้ไม่ค่อยได้ผลนัก ตอนนี้คำตอบก็ได้ปรากฏชัดขึ้นมาแล้วว่า "เซลล์มะเร็งอาจจะสร้างเส้นเลือดของมันได้เอง" คำตอบนี้ได้มาจากผลงานวิจัย 2 ชิ้นที่ศึกษาเซลล์เนื้องอกในสมองชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "glioblastoma" ผู้วิจัยทั้งสองทีมพบว่าเซลล์เส้นเลือดที่สกัดได้จากกลุ่มเนื้องอกชนิดนี้มีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายๆ กับเซลล์เนื้องอก เมื่อทดสอบนำเซลล์เนื้องอกไปเพาะเลี้ยงทั้งในจานและฉีดเข้าไปในสมองหนูทดลอง ก็พบเส้นเลือดพัฒนาขึ้นมาในก้อนเนื้องอกเช่นกัน โดยเซลล์เนื้องอกกลุ่มหนึ่งจะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ตั้งต้นที่มีคุณสมบัติคล้ายๆ stem cells ก่อน จากนั้นเซลล์เหล่านี้ก็จะพัฒนาไปเป็นเส้นเลือด ทีมของ Viviane Tabar แห่ง Memorial Sloan-Kettering Cancer Center ในกรุงนิวยอร์ค ได้ทดสอบฉีด Avastin (ซึ่งเป็นยาต้านมะเร็งที่ออกฤทธิ์ทำลายเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็ง) เข้าไปในเซลล์เนื้องอกในจานเพาะเชื้อ ผลการทดลองปรากฏว่า Avastin สามารถยับยั้งไม่ให้เซลล์ตั้งต้นเปลี่ยนเป็นเส้นเลือดได้ แต่กลับไม่สามารถหยุดยั้งการสร้างเซลล์ตั้งต้นที่จะสร้างเส้นเลือดได้ อีกทีมที่นำโดย Ruggero De Maria แห่ง Italian National Institute of Health ในกรุงโรม ได้พบว่าเมื่อฆ่าเซลล์เส้นเลือดที่เกิดจากเซลล์เนื้องอก ก้อนเนื้องอกมีขนาดหดเล็กลง แสดงให้เห็นว่าเส้นเลือดพวกนี้ทำหน้าที่ในการนำเลือดมาเลี้ยงเนื้องอกจริงๆ เข้าทำนอง ทำเอง ใช้เอง มะเร็งเจริญ หากว่าความสามารถนี้เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในมะเร็งชนิดอื่นๆ การให้ยาฆ่ามะเร็งอาจจะเพิ่มความยุ่งยากขึ้นมาอีก เพราะต้องฆ่าทั้งเส้นเลือดจากร่างกายและเส้นเลือดที่มะเร็งสร้างขึ้นมาเอง ที่มา Scientific American
https://jusci.net/node/1361
เซลล์มะเร็งสร้างเส้นเลือดได้เอง
เริ่มต้นจากการศึกษาโรคประหลาดชนิดหนึ่ง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับเป็นวิธีใหม่ในการสร้าง stem cells โรคประหลาดที่เป็นต้นเหตุของเรื่องนี้มีชื่อว่า Fibrodysplasia Ossificans Progressiva (FOP) เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่เนื้อเยี่อ soft tissue ของผู้ป่วยจะกลายเป็นกระดูก (bone) และกระดูกอ่อน (cartilage) ทำให้ร่างกายค่อยๆ แข็ง "กลายเป็นหิน" ไปเรื่อยๆ ทั่วโลกมีคนเป็นโรคนี้ไม่เกิน 1,000 คน ทีมนักวิจัยที่นำโดย Damian Medici สังเกตเห็นว่ากระดูกที่เกิดจาก FOP มีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับ endothelial cells (เซลล์บุผนังเส้นเลือดชั้นใน) พวกเขาจึงเริ่มทำการทดลองเพื่อที่จะตรวจสอบว่าเซลล์กระดูกและกระดูกอ่อนพวกนี้พัฒนามาจาก endothelial cells จริงหรือไม่ เมื่อพวกเขาตัดต่อยีนที่ทำให้เกิด FOP เข้าไปใน endothelial cells ปกติ แล้วเอาไปเลี้ยงในห้องทดลอง พวกเขาก็พบกับสิ่งประหลาดที่ไม่คาดคิดมาก่อน ผลที่ได้ตรงกับสมมติฐานแรกของพวกเขา คือ endothelial cells ที่มียีน FOP สามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์กระดูกและเซลล์กระดูกอ่อนได้จริง แต่ขั้นตอนก่อนที่มันจะเปลี่ยนไปเป็นกระดูกนั้น endothelial cells พวกนี้มันเปลี่ยนกลับไปเป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้าย mesenchymal stem cells (stem cells ในผู้ใหญ่ที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นกระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ เซลล์ไขมัน เซลล์ประสาท) พวกเขาจึงทำการทดลองต่อไปโดยให้สารโปรตีนสองชนิด คือ TGF-beta2 และ BMP4 ลงไปใน endothelial cells ปกติที่เลี้ยงไว้ สารทั้งสองนี้สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดอาการเช่นเดียวกับยีน FOP ผลปรากฏว่า endothelial cells ที่เลี้ยงไว้ก็สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็น stem cells ได้เช่นกัน และ stem cells เหล่านี้ก็สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ต่างๆ ได้เหมือนกับ stem cells ที่ทำจากวิธีอื่นด้วย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยให้การสร้าง stem cells มีประสิทธิภาพขึ้น เพราะสามารถใช้ endothelial cells จากตัวผู้ป่วยเองมาทำได้โดยตรงเลย ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการต่อต้านจากภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วย อย่างนี้จะเรียกว่าอะไรดีนะ "โชคช่วย" หรือว่า "รู้จักใช้โอกาส" ที่มา Science Daily
https://jusci.net/node/1362
นักวิทยาศาสตร์พบวิธีใหม่ในการสร้าง stem cells โดยบังเอิญ
พลังงานมืด หรือ Dark energy คือสิ่งสมมติในทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่าเป็นพลังงานที่ผลักให้ทุกสิ่งในเอกภพเคลี่อนห่างออกจากกันและทำให้เอกภพขยายตัวด้วยความเร่ง เพื่อจะหาหลักฐานว่าพลังงานมืดมีอยู่จริงหรือไม่ สถาบันวิทยาศาสตร์ 23 สถาบันจากสหรัฐอเมริกา, บราซิล, สเปน, เยอรมนี, และสหราชอาณาจักร จึงได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องตรวจจับพลังงานมืดขึ้นมา เครื่องตรวจจับนี้คือกล้องขนาดยักษ์ที่ถ่ายรูปได้ละเอียดถึง 570 ล้านพิกเซล มันจะถ่ายรูปกาแล็กซี่ 300 ล้านกาแล็กซี่เป็นเวลา 5 ปี เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์เอามาวิเคราะห์หาหลักฐานชี้วัดการมีอยู่ของพลังงานมืด เครื่องตรวจจับนี้เริ่มสร้างตั้งแต่เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2010 เพิ่งมาเสร็จเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้เอง และวิดีโอท้ายเบรคนี้ คือ การย่นเวลาเกือบ 10 เดือนนั้นให้เหลือเพียง 3 นาทีกว่าๆ หลังจากสร้างเสร็จ เครื่องตรวจจับนี้จะถูกนำไปติดตั้งกับกล้องโทรทรรศน์ Blanco telescope ที่หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory ในประเทศชิลี ในปี 2011 ที่มา New Scientist ป.ล. ถ้าดูภาพในวิดีโอจาก New Scientist TV แล้วไม่ชัดสะใจ ดูอันที่มันชัดๆ ได้จากใน Youtube (เครดิตคนหาวิดีโอ: hisoft)
https://jusci.net/node/1363
มาดูกัน...เขาสร้างเครื่องตรวจจับพลังงานมืดกันอย่างไร
จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จาก University of Newcastle และ Macquarie University พบว่า การเอียงหน้าที่ถูกต้องอาจจะส่งผลให้เราดูสวย/หล่อขึ้นได้ การวิจัยจำลองรูปหน้าของผู้หญิงและผู้ชายที่เอียงในองศาที่ต่างกัน แล้วให้อาสาสมัครลงคะแนนความสวยงาม/หล่อเหลาสำหรับแต่ละรูป ผลจากคะแนนที่ได้ปรากฏว่าหน้าของผู้หญิงที่จัดให้มีองศาเอียงมาข้างหน้าจะดูมีความเป็นผู้หญิงและมีเสน่ห์มากขึ้น แต่หากเอียงไปด้านหลังจะดูมีเสน่ห์น้อยลง ส่วนหน้าของผู้ชายจะให้ผลตรงกันข้าม คือ ถ้าเอียงมาข้างหน้าจะดูเป็นผู้ชายน้อยลง แต่ถ้าเอียงไปข้างหลังจะดูเป็นผู้ชายและดึงดูดใจสาวมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผลเช่นนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการและสรีระร่างกายของแต่ละเพศ ผู้ชายที่ส่วนใหญ่จะสูงกว่า เมื่อมองใบหน้าผู้หญิงจากมุมก้ม ก็จะเห็นใบหน้าผู้หญิงในองศาที่เอียงมาด้านหน้า ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงมักจะเตี้ยกว่าผู้ชาย จึงเห็นใบหน้าผู้ชายในมุมองศาที่เอียงไปทางด้านหลัง ลักษณะเช่นนี้อาจจะมีส่วนในพฤติกรรมการจับคู่ผสมพันธุ์ของมนุษย์มาตั้งแต่เริ่มต้นวิวัฒนาการ สรุปแล้ว การถ่ายรูป "แอ๊บแบ๊ว" ของสาวๆ ใน Hi5, Facebook มันก็มีเบื้องลึกเบื้องหลังทางวิทยาศาสตร์รองรับอย่างนี้นี่เอง ที่มา PhysOrg
https://jusci.net/node/1364
เอียงหน้าให้ถูก ผูกใจหนุ่ม/สาวได้