docid
stringlengths 3
10
| title
stringlengths 1
182
| text
stringlengths 1
31.2k
|
---|---|---|
1000597#0 | อดีตพระนางชิน | อดีตพระนางชิน (; 15 ธันวาคม 2019 - 16 พฤษภาคม 2080) พระมเหสีของ เจ้าชายย็อนซัน พระราชาลำดับที่ 10 แห่ง ราชวงศ์โชซ็อน |
1000597#1 | อดีตพระนางชิน | พระนางถูกปลดเมื่อ พ.ศ. 2049 หลังจากเหตุการณ์ รัฐประหารพระเจ้าจุงจง |
1000619#0 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | ภารกิจ |
1000619#1 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | ปรัชญา |
1000619#2 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | เรียนเก่ง วินัยดี และมีความสุข |
1000619#3 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | วิสัยทัศน์ |
1000619#4 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จะเป็นโรงเรียนต้นแบบในการปฏิรูปการเรียนรู้ให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข มีมาตรฐานในการบริหารจัดการศึกษา |
1000619#5 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | มีปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของสังคม |
1000619#6 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างองค์กรความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง |
1000619#7 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | – พ.ศ. 2537 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอนุบาลสาธิต รับนักเรียนอายุระหว่าง 2-3 ปี จัดชั้นเรียนเป็น 4 ชั้น คือ บริบาลศึกษา อนุบาล 1 อนุบาล 2 และอนุบาล 3 |
1000619#8 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | – พ.ศ. 2544 ย้ายอาคารเรียนจากบ้านเด็กราชภัฏมาอยู่สถานที่ปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมี อาจารย์ปราณีต มาลัยวงษ์เป็นผู้บริหารโรงเรียน |
1000619#9 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | – พ.ศ. 2547 มีอาจารย์จุฑานาถ รอดภิรมย์ เป็นผู้บริหารโรงเรียน |
1000619#10 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | – พ.ศ. 2548 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตอนุบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เข้าอยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นผู้รับใบอนุญาต และมีอาจารย์จุฑานาถ รอดภิรมย์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ นางลักษณา สุนทรสัจบูล เป็นผู้อำนวยการ ต่อมา พ.ศ. 2550 เปลี่ยนผู้อำนวยการเป็น นางเขมิกา รอดขันเมือง |
1000619#11 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | – พ.ศ. 2555 เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มี ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นผู้รับใบอนุญาต ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา ด้วงแพง เป็นผู้จัดการ และมีนางภวิศา พงษ์เล็ก ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ |
1000619#12 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สังกัดจากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 ได้โอนบรรดากิจการต่างๆของโรงเรียนสาธิตอนุบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มาเป็นโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ตามมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 7/2555โดยเป็นหน่วยงานภายในหน่วยงานหนึ่งที่เทียบเท่าคณะ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมีนางภวิศา พงษ์เล็ก เป็นรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับชั้นที่เปิดสอนมี 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา |
1000619#13 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | ปัจจุบันเปิดสอนถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมี รองศาสตราจารย์ ศิริพร พัสดร เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน |
1000619#14 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | ที่อยู่ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
https://www.facebook.com/satitudru/ |
1000619#15 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | www.satit.udru.ac.th |
1000647#0 | The Mirror กระจกสะท้อนกรรม | The Mirror กระจกสะท้อนกรรม เป็นละครชุดทางโทรทัศน์แนว ดราม่า-สืบสวน-สยองขวัญ สร้างจากบทประพันธ์ของ นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี 2561 ผลิตละครโดย บริษัท มายน์แอทเวิร์คส์ จำกัด กำกับการแสดงโดย นำแสดงโดย ไม่มี ออกอากาศทุกคืนวันอาทิตย์ เวลา 17.00 - 18.00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 |
1000658#0 | ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2018 นัดชิงชนะเลิศ | การแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2018 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2018, เป็นทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลที่เป็นเจ้าภาพโดย ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์. ครั้งนี้เป็นนัดชิงชนะเลิศครั้งที่ 15 ของ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, ทัวร์นาเมนต์ที่มีการจัดขึ้นโดยฟีฟ่าระหว่างสโมสรที่เป็นผู้ชนะจากแต่ละทีมแต่ละสมาพันธ์จากหกทวีป, เช่นเดียวกับแชมป์ลีกจากชาติเจ้าภาพ. |
1000658#1 | ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2018 นัดชิงชนะเลิศ | รอบชิงชนะเลิศเป็นการตัดสินกันระหว่าง สโมสรจากสเปน เรอัล มาดริด, เป็นตัวแทนของ ยูฟ่า ในฐานะครองแชมป์ของ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และสโมสรจากยูเออี อัล-ไอน์, เป็นตัวแทนเจ้าภาพในฐานะทีมชนะเลิศของ ยูเออี โปร-ลีก. จะลงเล่นที่ ซาเหย็ด สปอร์ตส์ ซิตี สเตเดียม ในเมือง อาบูดาบี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561. |
1000681#0 | ภูมิอากาศวิทยา | ภูมิอากาศวิทยา ( จากภาษากรีก , "klima" แปลว่า "สถานที่ หรือเขต" และ หรือ "-logia") หรือ ภูมิอากาศศาสตร์ (climate science) คือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภูมิอากาศซึ่งนิยามทางวิทยาศาสตร์ว่าคือสภาพของลมฟ้าอากาศเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในสาขาการศึกษาสมัยใหม่ถือเป็นสาขาหนึ่งของบรรยากาศศาสตร์และสาขาย่อยของภูมิศาสตร์กายภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์โลก ภูมิอากาศวิทยาปัจจุบันศึกษาทั้งสมุทรศาสตร์และชีวธรณีเคมี องค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิอากาศสามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์อากาศระยะสั้นโดยใช้เทคนิคแอนะล็อก เช่น เอลนีโญ-ความผันผวนซีกโลกใต้ (El Niño–Southern Oscillation: ENSO) ความผันผวนแมดเดน–จูเลียน (Madden–Julian oscillation: MJO) ความผันผวนแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic oscillation: NAO) ภาวะวงแหวนซีกโลกเหนือ (Northern Annular Mode: NAM) ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าความผันผวนอาร์กติก (Arctic oscillation: AO) ดัชนีแปซิฟิกเหนือ (Northern Pacific: NP) ความผันผวนทศวรรษแปซิฟิก (Pacific Decadal Oscillation: PDO) และความผันผวนระหว่างทศวรรษแปซิฟิก (Interdecadal Pacific Oscillation: IPO) แบบจำลองภูมิอากาศถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์ที่หลากหลายสำหรับการศึกษาตั้งแต่การศึกษาพลวัตของลมฟ้าอากาศและระบบภูมิอากาศไปจนถึงการคาดการณ์ภูมิอากาศในอนาคต ลมฟ้าอากาศเป็นที่รู้จักกันว่าคือสภาพของบรรยากาศในช่วงเวลาหนึ่ง ในขณะภูมิอากาศเกี่ยวข้องกับสภาพบรรยากาศในช่วงเวลานาน |
1000708#0 | เต้นต้านวี่น | เต้นต้านวี่น (; เกิด 25 พฤศจิกายน 2534) เป็นนักฟุตบอลอาชีพจากพม่า เล่นในตำแหน่งกองหลังให้กับฟุตบอลทีมชาติพม่า ปัจจุบันย้ายจากสโมสรฟุตบอลยะดะนาโบนมาร่วมทีมราชบุรี มิตรผล ด้วยสัญญายืมตัวเป็นเวลา 1 ฤดูกาล |
1000717#0 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ () เป็นชายาในเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกซัคเซินและสมเด็จพระราชินีแห่งเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย โดยการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งโปแลนด์ ในระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินี พระองค์ไม่เคยเสด็จเยือนเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียเลย ทรงประทับอยู่ในซัคเซินตลอดรัชสมัย ทรงดำรงพระอิสริยยศ มาร์คกราฟวีน ตั้งแต่แรกประสูติ พระองค์ทรงมีพระราชสมญานามว่า "เสาหลักแห่งความเชื่อของแซกโซนี" ( ) อันเนื่องมาจากการปฏิเสธที่จะเข้ารีตในนิกายคาทอลิกของพระองค์ ในขณะที่พระราชสวามีและพระราชโอรส เจ้าชายฟรีดริช เอากุสท์ ต่างเข้ารีตในนิกายคาทอลิกทั้งสิ้น |
1000717#1 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาใน คริสเตียน แอ็นสท์ มาร์คกราฟแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ และพระชายาองค์ที่สอง โซฟี ลูอีเซอ พระราชธิดาของ อีเบอฮารด์ที่ 3 ดยุกแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค พระองค์ถูกตั้งพระนามตามพระราชบิดา คริสเตียน และ พระอัยกา อีเบอฮารด์ ในฐานะพระราชธิดาของมาร์คกราฟแห่งราชรัฐไบรอยท์ พระองค์ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ มาร์คกราฟวีน ตั้งแต่แรกประสูติ พระองค์ทรงมีพี่น้องที่ทรงพระเยาว์กว่าอีกห้าพระองค์ มีเพียงสองพระองค์เท่านั้นที่ทรงเจริญพระชนม์มายุถึงวัยผู้ใหญ่ พระองค์ทรงใกล้ชิดกับพระประยูรญาติในไบรอยท์ และทรงเสด็จกลับมาเยี่ยมบ่อยๆ หลังจากทรงอภิเษกสมรสแล้ว |
1000717#2 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับ ฟรีดิช เอากุสท์ ดยุกแห่งซัคเซิน พระอนุชาของเจ้าผู้คัดเลือกโยฮัน เกออรค์ที่ 4 ในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1693 เมื่อพระชนม์มายุ 21 ชันษา การอภิเษกสมรสเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองและไม่ค่อยราบรื่นนัก ดยุกเอากุสท์ทรงเห็นว่าพระองค์น่าเบื่อ ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงเจ็บปวดจากการนอกใจของพระราชสวามี |
1000717#3 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | สามปีต่อมา ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1696 ทรงให้กำเนิดพระราชโอรส เจ้าชายฟรีดริช เอากุสท์ ในกรุงเดรสเดิน นี้เป็นการทรงพระครรภ์ครั้งเดียว ตลอดระยะเวลา 34 ปี แห่งการอภิเษกสมรส พระราชโอรสองค์น้อยถูกเลี้ยงดูโดยพระอัยกี เจ้าหญิงอันนา โซฟีแห่งเดนมาร์ก พระองค์และพระสัสสุเข้ากันได้ดี ดังนั้นพระองค์จึงเสด็จไปเยี่ยมพระราชโอรสบ่อยครั้ง |
1000717#4 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | พระองค์กลายมาเป็นชายาในเจ้าผู้คัดเลือกเมื่อดยุกเอากุสท์สืบตำแหน่งเป็นเจ้าผู้คัดเลือกต่อจากพระเชษฐาในปี ค.ศ. 1694 ในพิธีเฉลิมฉลองการขึ้นเป็นเจ้าผู้คัดเลือกของดยุกเอากุสท์ เหล่าข้าราชบริพารและเชื้อพระวงศ์ต่างแต่งตัวเป็นเทพและเทพี รวมทั้งพระสนมของพระราชสวามี มาเรีย ออโรร่า ฟอน เคอนิจมารค์ รวมในขบวบพิธีด้วยในฐานะเทพีออโรร่า |
1000717#5 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | ในขณะที่พระองค์รับบทเป็นสาวพรหมจารีที่ติดตามเทพีเวสต้า ใน ค.ศ. 1696 พระองค์ทรงให้กำเนิดพระราชโอรสและรัชทายาทองค์เดียว เจ้าชายฟรีดิช เอากุสท์ นับว่าเป็นการทรงพระครรภ์ครั้งเดียวตลอดระยะเวลาแห่งการอภิเษกสมรส |
1000717#6 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | ในปี ค.ศ. 1697 ดยุกเอากุสท์เข้ารีตเป็นคาทอลิกและไดรับการเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ดยุกเอากุสไม่ได้บอกเรื่องเหล่านี้กับพระองค์ การเข้ารีตของดยุกเอากุสท์ก่อให้เกิดคำครหาไปทั่วดินแดนซัคเซิน และพระองค์ก็ถูกบังคับให้รับรองเสรีภาพทางศาสนาของซัคเซิน ตามหลักการแล้ว พระองค์ต้องตามเสด็จดยุกเอากุสไปยังโปแลนด์เพื่อราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเครือจักรภพ ในนครกรากุฟ และจากฤดูร้อน ค.ศ. 1697 จนถึงวันบรมราชาภิเษกในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1697 ดยุกเอากุสท์พยายามให้พระองค์เสด็จมาโปแลนด์ อย่างไรก็ตามพระองค์ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพิธีราชาภิเษก ถึงแม้พระราชบิดาและดยุกเอากุสท์จะพยายามเกลี้ยกล่อมพระองค์มากแค่ไหนก็ตามตามเงื่อนไขในกฏบัตรที่ดยุกเอากุสท์ลงนามหลังการขึ้นครองราชย์ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าพระองค์ จะต้องทำให้พระนางคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีน มาเข้ารีตนิกายคาทอลิก ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1698 พระเจ้าออกัสตัสทรงเชิญพระนางมายังนครดันท์ซิช |
1000717#7 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | ซึ่งมีชาวโปรเตสแตนท์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นจุดที่พระราชบิดาจะมารับพระองค์ พระเจ้าออกัสตัสสัญญาว่าจะให้พระองค์นับถือนิกายโปรเตสแตนต์เช่นเดิม และอนุญาตให้พระองค์มีศิษยาภิบาลโปรเตสแตนต์ประจำพระองค์ ตราบใดที่ความศรัทธานิกายโปรเตสแตนต์ของพระนางถูกเก็บเป็นความลับจากสาธารณะชน |
1000717#8 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | พระเจ้าออกัสตัสยังให้การรับรองว่า พระราชโอรสจะไม่ถูกบังคับให้เข้ารีต โดยเจ้าชายฟรีดิช เอากุสท์ จะอยู่ในความปกครองของพระอัยกี เจ้าหญิงอันนา โซฟีแห่งเดนมาร์ก |
1000717#9 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | พระนางคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอเหล่านั้น และปฏิเสธที่จะตามพระราชบิดาไปยังนครดันท์ซิช. ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1698 พระราชสวามีและพระราชบิดาลงนามในเอกสารที่กรุงวอร์ซอ เพื่อรับรองเสรีภาพทางศาสนาให้แก่พระนางคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนในนครดันท์ซิชและทอร์น พระราชบิดาทรงกลับมายังเดรสเดินแบบลับๆ พร้อมเอกสาร และพยายามให้พระองค์เสด็จไปโปแลนด์ ถึงแม้พระราชบิดาจะพยายามอยู่หลายครั้ง และคำขอร้องจากพระราชสวามี พระนางคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีน ก็ปฏิเสธที่จะเสด็จไปยังโปแลนด์ และพระองค์ก็ไม่เคยเสด็จเยือนเครือจักรภพเลย ตลอดรัชสมัยของพระเจ้าออกัสตัส |
1000717#10 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | ตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าออกัสตัสทรงเสด็จไป-มาระหว่างโปแลนด์และซัคเซิน ในระหว่างที่พระราชสวามีทรงประทับในซัคเซิน พระนางคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนมักจะปรากฏพระองค์เคียงข้างพระราชสวามี เช่น การประพาสซัคเซินของพระราชสวามีหลังการขึ้นครองราชบัลลังก์โปแลนด์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1699 และทรงปรากฏพระองค์เคียงข้างกันในโรงละครในกรุงเดรสเดิน แต่ก็บางครั้งเช่นกันที่ทั้งสองพระองค์ไม่ได้พบกันเป็นเวลานาน เช่นช่วงปี ค.ศ. 1700–ค.ศ. 1703 และ ค.ศ. 1714–ค.ศ. 1717 ซึ่งพระเจ้าออกัสตัสทรงใช้เวลาอยู่ในโปแลนด์ อันเนื่องมาจากทรงติดพันการรบใน มหาสงครามเหนือ แต่อย่างไรก็ตามพระเจ้าออกัสตัสจะทรงเสด็จมาเยี่ยมพระองค์เป็นประจำทุกปีที่พรีคเซน ระหว่างทางที่จะทรงเสด็จไปเดรสเดิน |
1000717#11 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | พระนางคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีน ทรงแยกกันอยู่กับพระราชสวามี ทรงเสด็จไปประทับ ณ ปราสาทฮาร์เทนเฟรด ในทอร์เกา ตลอดถดูหนาวและปราสาทส่วนพระองค์ในพรีคเซน ตลอดถดูร้อน ซึ่งอยู่ใกล้ตำหนักของพระสัสสุและพระราชโอรส พระองค์ทรงเสด็จไปเยี่ยมทั้งสองพระองค์บ่อยครั้ง และบางครั้งก็ทรงเสด็จประพาสไปยังไบรอยท์ และบางครั้งก็เสด็จไปที่เอมม์เพื่อทรงสปา ทรงเสด็จไปยังกรุงเดรสเดินในช่วงเทศกาลและคริสต์มาส
พระนางคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีน ยังทรงมีบทบาทในราชสำนักเสมอๆ โดยจะทรงปรากฏพระองค์ในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น การเสด็จเยือนซัคเซินของพระมหากษัตริย์เดนมารก์ ในปี ค.ศ. 1709 และพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระราชโอรสในปี ค.ศ. 1719 |
1000717#12 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | หลังจากการที่ทรงแยกกันอยู่กับพระราชสวามี ทำใหพระองค์หันไปสนใจกิจกรรมทางการกุศลและวัฒนธรรมแทน ทรงสนใจและเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของเด็กกำพร้า และทรงอุปถัมภ์การศึกษาพระประยูรญาติหลายพระองค์ เช่น ชาร์ล็อต คริสทีนแห่งบรันสวิก ผู้ซึ่งต่อมาได้อภิเษกสมรสกับ อเล็กเซย์ เพโทรวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย พระราชโอรสใน จักรพรรดิปีเตอร์มหาราช โซฟี มักดาเลเนอ แห่งบรันเดินบวร์ค-คูล์มบาค ผู้ซึ่งต่อมาได้อภิเษกสมรสกับ มงกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก และโซฟี คาโรไลเนอแห่งบรันเดินบวร์ค-คูล์มบาค ผู้ซึ่งต่อมาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งโอสไฟร์ลันด์ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสนใจในการทำธุรกิจอีกด้วย ในปี ค.ศ. 1697 พระองค์ทรงซื้อกิจการโรงงานกระจกจากคอนสแตนติน ฟรีเมล พระองค์โปรดการเล่นไพ่และบิลเลียด ซึ่งก่อให้เกิดภาระหนี้สินเป็นจำนวนมากในปี ค.ศ.1711 อีกทั้งยังทรงสร้างเรือนส้ม และในบั่นปลายพระชนม์ชีพทรงวางแผนที่จะสร้างคอนแวนต์โปรเตสแตนต์สำหรับสตรีชนชั้นสูง |
1000717#13 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | พระนางคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีน และพระสัสสุ เจ้าหญิงอันนา โซฟีแห่งเดนมาร์ก ทรงได้รับความนิยมอย่างสูงในซัคเซิน ในฐานะสัญลักษณ์แห่งนิกายโปรแตสแตนท์และผู้ปกป้องแซกโซนีจากการครอบงำของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ด้วยเหตุนี้นักเทศน์โปรแตสแตนต์จึงมองภาพลักษณ์ของพระองค์ในฐานะคริสต์ชนโปรเตสแตนต์ผู้เศร้าโศก ผู้ถูกคุมขังอยู่ปราสาทของพระองค์เอง ซึ่งสะท้อนออกมาชัดเจนยิ่งขึ้นหลังจากที่พระราชโอรสเสด็จไปยังโปแลนด์และเข้ารีตในนิกายคาทอลิก |
1000717#14 | คริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีนแห่งบรันเดนบูร์ก-ไบรอยท์ | พระนางคริสตีน เอเบอร์ฮาร์ดีน สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 55 ชันษา และมีพิธีฝังพระบรมศพในโบสถ์ประจำเขตที่พรีคเซนในวันที่ 6 กันยายน พระราชสวามีและพระราชโอรสไม่ได้เสด็จมาร่วมพิธี โยฮัน เซบัสทีอัน บัค ได้ประพันธ์คันตาตาเพื่อระลึกถึงพระองค์ ออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1727 ที่โบสถ์ประจำ มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช |
1000745#0 | ณัฐพล ไรยวงศ์ | ณัฐพล ไรยวงศ์ |
1000745#1 | ณัฐพล ไรยวงศ์ | ณัฐพล ไรยวงศ์ เกิดที่ โรงพยาบาลลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ได้รับตำแหน่งเดือน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และรางวัล To be number one idol4 |
1000745#2 | ณัฐพล ไรยวงศ์ | เริ่มเข้าวงการและมีผลงานจากการแสดงในซีรีส์ ไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์ ออกอากาศทางช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 และต่อมาได้เซ็นสัญญาเป็นนักแสดงสังกัด สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยมีผลงานละคร เรื่องแรก คือ ใต้ร่มพระบารมี ซึ่งเป็นละครชุดพิเศษที่ได้แรงบันดาลใจมาจากพระอัจฉริยภาพและแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และมีผลงานละครอีกหลายเรื่อง |
1000755#0 | ไฮน์ริช บรือนิง | ไฮน์ริช อาโลอีซียึส มารีอา อีลีซาเบท บรือนิง () (26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 – 30 มีนาคม ค.ศ. 1970) เป็นนักการเมืองพรรคกลางเยอรมันและนักวิชาการ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในช่วงสาธารณรัฐไวมาร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง 1932 |
1000755#1 | ไฮน์ริช บรือนิง | นักรัฐศาสตร์และนักเคลื่อนไหวทางสังคมคริสเตียนด้วยปริญญาเอกที่เกี่ยวข้องกับระบบรางรถไฟบริติชที่เป็นของรัฐ เขาได้เข้าสู่วงการเมืองในปี ค.ศ. 1920 และได้รับเลือกให้เข้าสู่รัฐสภาไรชส์ทาคในปี ค.ศ. 1924 ไม่นานหลังจากนั้น บรือนิงได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1930 เขาต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ บรือนิงได้ตอบสนองด้วยการให้สินเชื่ออย่างรัดกุมและลดค่าจ้างและเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด นโยบายเหล่านี้นำไปสู่การว่างงานที่เพิ่มมากขึ้นและทำให้บรือนิงหมดความเป็นที่นิยมอย่างมาก, สูญเสียจากการสนับสนุนต่อเขาในรัฐสภาไรชส์ทาค ด้วยผลลัพธ์นี้ บรือนิงได้จัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า รัฐบาลประธานาธิบดี ซึ่งเป็นรากฐานอำนาจรัฐบาลของเขาในกฤษฏีกาภาวะฉุกเฉินประธานาธิบดีซึ่งได้เรียกใช้ตามอำนาจรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค บรือนิงได้ประกาศลาออกจากคณะรัฐมนตรีของเขา เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 ภายหลังจากนโยบายของเขาในการแจกจ่ายที่ดินแก่คนงานที่กำลังตกงาน ทำให้เขาเกิดความขัดแย้งกับประธานาธิบดีและเจ้าของที่ดินปรัสเซีย และประธานาธิบดีจึงได้ปฏิเสธที่จะลงนามอีกต่อไป |
1000755#2 | ไฮน์ริช บรือนิง | ด้วยความหวาดกลัวที่จะถูกจับกุม หลังระบอบนาซีรุ่งเรืองอำนาจ บรือนิงได้หนีออกจากเยอรมนีในปี ค.ศ. 1934 หลังจากนั้นก็ได้ไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร จนท้ายที่สุดเขาได้ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เขาได้อาศัยอยู่ที่นั้นซึ่งอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบากในช่วงปีแรกในฐานะผู้ลี้ภัยจากนาซี แต่ก็ได้กลายเป็นศาสตราจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ. 1937 และเป็น Lucius N. Littauer ศาสตราจารย์ของรัฐบาลที่ฮาร์วาร์ด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 - 1952 เขาได้กล่าวเตือนต่อสาธารณชนอเมริกันเกี่ยวกับแผนการสำหรับการทำสงครามของฮิตเลอร์ และต่อมาเกี่ยวกับการรุกรานสหภาพโซเวียตและแผนการสำหรับแผ่ขยายอำนาจ เขาได้เดินทางกลับมายังเยอรมนีในปี ค.ศ. 1951 เพื่อรับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์วิชารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคโลญ แต่ก็ได้เดินทางกลับมายังสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1955 และเขาได้ใช้ชีวิตในวัยเกษียณในรัฐเวอร์มอนต์ เขาได้กลายเป็นสมาชิกของสถานศึกษาศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1938 |
1000755#3 | ไฮน์ริช บรือนิง | บรือนิงยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในประวัติศาสตร์เยอรมนี ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ได้โต้เถียงกันว่า เขาเป็นป้อมปราการสุดท้ายของสาธารณรัฐไวมาร์ หรือสัปเหร่อของสาธารณรัฐ หรือทั้งสองอย่าง นักวิชาการได้แบ่งออกเป็นห้องจำนวนมากสำหรับการวางแผนที่เขามีในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำและช่วงเวลาที่ไร้เสถียรภาพางการเมืองครั้งใหญ่ ในขณะที่เขาได้มุ่งหมายที่จะปกป้องรัฐบาลสาธารณรัฐ นโยบายของเขา ที่โดดเด่นจากการใช้อำนาจฉุกเฉินของเขา ยังมีส่วนทำให้เกิดความเสื่อมถอยอย่างทีละน้อยของสาธารณรัฐไวมาร์ในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรี |
1000778#0 | อองซอ | อองซอ (; เกิด 5 มีนาคม ค.ศ. 1990) เป็นนักฟุตบอลชาวพม่า เล่นในตำแหน่งกองหลังให้กับทีมชาติพม่า และหงสาวดียูไนเต็ดในเมียนมาเนชันแนลลีก |
1000792#0 | นานดะจอ | นานดะจอ (; เกิด 3 กันยายน 2539) นักฟุตบอลอาชีพจากพม่าเล่นให้กับฟุตบอลทีมชาติพม่าและชานยูไนเต็ด เขาเกิดในเมืองอมรปุระ เขตมัณฑะเลย์ เขาเล่นฟุตบอลตั้งแต่อายุ 10 ปี ใน พ.ศ. 2555 เขาร่วมทีมเยาวชนของมะกเว เขาเป็นกัปตันฟุตบอลทีมชาติพม่ารุ่นอายุต่ำกว่า 19 ปี |
1000815#0 | พระเจ้าอัลฟอนโซมหาราช | อัลฟอนโซที่ 3 หรือ อัลฟอนโซมหาราช () เสด็จพระราชสมภพ ค.ศ. 838 สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 910 ที่ซาโมรา ราชอาณาจักรเลออน ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอัสตูเรียสตั้งแต่ปี ค.ศ. 866 ถึง ค.ศ. 910 ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าออร์ดอนโญที่ 1 |
1000815#1 | พระเจ้าอัลฟอนโซมหาราช | เมื่อชนะในการต่อสู้แย่งชิงสิทธิ์ในการสืบทอดบัลลังก์ พระองค์ย้ายเมืองหลวงจากเดิมที่เคยอยู่ที่โอบิเอโดมาอยู่ที่นครเลออนของชาวโรมันที่บูรณะใหม่ พระองค์สามารถยึดครองโปร์ตู (โอพอร์โต) ได้ในปี ค.ศ. 868 และทำให้ราชอาณาจักรกัสตียาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแถวๆ บูร์โกส ทรงผูกสัมพันธไมตรีกับชาวบาสก์ และกำลังฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ของชาววิซิกอธขึ้นมาในตอนที่กำลังสร้างโบสถ์ของนักบุญเจมส์ที่ซันติอาโกเดกอมโปสเตลา ศาสนสถานของราชอาณาจักรคริสเตียน การขยายอาณาเขตของพระเจ้าอัลฟอนโซอาจเกิดขึ้นในช่วงที่รัฐเอมีร์กอร์โดบาของชาวมุสลิมกำลังสั่นสะเทือน การครองความเป็นใหญ่ของชาวอาหรับได้ถูกท้าทายโดยผู้คัดค้านชาวเบอร์เบอร์ ช่วงที่กอร์โดบาตกอยู่ในอันตราย ความเกรียงไกรของพระเจ้าอัลฟอนโซก็เริ่มปราฏกตัวขึ้นมา ในปลายรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 สามารถยึดครองกูอิงบรา, ซาโมรา และบูร์โกส พระองค์ถูกปลดลงจากบัลลังก์โดยพระโอรสในปี ค.ศ. 910 และสิ้นพระชนม์ระหว่างถูกขับไล่ออกจากประเทศ พระองค์อาจเป็นคนเขียนหรือเป็นคนสั่งให้เขียน "พงศาวดารของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3" แหล่งข้อมูลสำคัญของประวัติศาสตร์สเปนยุคแรกๆ |
1000815#2 | พระเจ้าอัลฟอนโซมหาราช | รัชสมัยของพระเจ้าอัลฟอนโซโดดเด่นในด้านความสำเร็จในการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับราชอาณาจักรในช่วงที่เจ้าชายอุมัยยะฮ์แห่งกอร์โดบากำลังอ่อนแอ พระองค์ต่อสู้และได้รับชัยชนะมากมายหลายครั้งเหลือชาวมุสลิมของอัลอันดะลุส |
1000815#3 | พระเจ้าอัลฟอนโซมหาราช | ช่วงปีแรกของการครองราชย์ พระองค์ต้องขับเคี่ยวกับผู้แย่งชิงบัลลังก์ คือ เคานต์ฟรูเอลาแห่งกาลิเซีย ทรงถูกบีบให้หนีไปกัสตียา แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนฟรูเอลาถูกลอบสังหาร พระเจ้าอัลฟอนโซจึงกลับมาโอบิเอโดอีกครั้ง |
1000815#4 | พระเจ้าอัลฟอนโซมหาราช | ทรงปราบกบฏชาวบาสก์ในปี ค.ศ. 867 ต่อมาก็กบฏชาวกาลิเซีย ทรงพิชิตโอพอร์โตกับกูอิงบราในปี ค.ศ. 868 และ 878 ตามลำดับ ราวปี ค.ศ. 869 พระองค์สานสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรปัมโปลนาและกระชับสายสัมพันธ์ด้วยการแต่งงานกับฆีเมนา ที่เข้าใจกันว่าเป็นพระธิดาของพระเจ้าการ์เซีย อีนญีเกส หรือไม่ก็อาจเป็นสมาชิกของราชวงศ์ฆีเมเนสแต่เป็นไปได้น้อย และยังทรงแต่งพระขนิษฐา เลโอเดกุนเดีย กับเจ้าชายแห่งปัมโปลนา |
1000815#5 | พระเจ้าอัลฟอนโซมหาราช | พระองค์มีคำสั่งให้เขียนพงศาวดารสามฉบับที่แสดงให้เห็นว่าราชอาณาจักรอัสตูเรียสเป็นรัฐที่สืบทอดมาจากอดีตราชอาณาจักรวิซิกอธ พระองค์ยังเป็นผู้อุปถัมภ์งานศิลปะเช่นเดียวกับพระอัยกา ทรงสร้างโบสถ์ซันโตอาดริอาโนเดตูญโญน |
1000815#6 | พระเจ้าอัลฟอนโซมหาราช | พระโอรสของพระเจ้าอัลฟอนโซ ได้แก่ การ์เซีย, ออร์ดอญโญ, กอนซาโล, ฟรูเอลา และรามีโร ได้สบคบคิดกันต่อต้านกระองค์ โดยมีพระสสุระของการ์เซียเป็นผู้ยุยง พระเจ้าอัลฟอนโซจับการ์เซียจำคุกแต่เหล่าพระโอรสของพระองค์สามารถถอดพระองค์ออกจากตำแหน่งได้ ทรงหนีไปบูร์โกส แต่ก็กลับมาโน้มน้าวการ์เซียให้ไปสู้รบกับชาวมัวร์ร่วมกับพระองค์ ในปี ค.ศ. 910 พระเจ้าอัลฟอนโซสิ้นพระชนม์ในซาโมราด้วยสาเหตุทางธรรมชาติ ทรงครองราชย์เป็นเวลา 44 ปี หลังการสิ้นพระชนม์ราชอาณาจักรของพระองค์ถูกแบ่งออก การ์เซีย พระโอรสคนโตกลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออน ออร์ดอญโญ พระโอรสคนที่สองขึ้นครองราชย์ในกาลิเซีย ขณะที่ฟรูเอลาได้รับอัสตูเรียสที่มีโอบิเอโดเป็นเมืองหลวง ดินแดนทั้งหมดกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหลังพระเจ้าการ์เซียสิ้นพระชนม์โดยไร้ซึ่งพระโอรสธิดา เลออนจึงตกเป็นของพระเจ้าออร์ดอญโญ เมื่อพระเจ้าออร์ดอญโญสิ้นพระชนม์ ดินแดนทั้งหมดกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟรูเอลา ทว่าการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าฟรูเอลาในปีต่อมาได้เริ่มต้นการต่อสู้ห่ำหั่นกันเองอันนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพในการสืบทอดบัลลังก์ที่ดำเนินอยู่เป็นเวลาหนึ่งปี |
1000826#0 | พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 4 แห่งเลออน | อัลฟอนโซที่ 4 หรือ อัลฟอนโซผู้เป็นพระ () สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 933 ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งเลออนและอัสตูเรียสตั้งแต่ ค.ศ. 926 ถึง ค.ศ. 932 ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าออร์ดอนโญที่ 2 และเป็นผู้สืบทอดต่อตำแหน่งของพระเจ้าฟรูเอลาที่ 2 พระปิตุลา ทรงผนวชเป็นพระ, สละราชบัลลังก์ และพยายามกอบกู้บัลลังก์กลับคืนมา รัชสมัยสั้นๆ ของพระองค์คือหนึ่งในความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 932 |
1000826#1 | พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 4 แห่งเลออน | เมื่อพระเจ้าออร์ดอนโญที่ 2 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 924 ผู้สืบทอดต่อบัลลังก์แห่งเลออนไม่ใช่หนึ่งในพระโอรสแต่กลับเป็นพระเจ้าฟรูเอลาที่ 2 แห่งอัสตูเรียสผู้เป็นพระอนุชา หลังพระเจ้าฟรูเอลาสิ้นพระชนม์ในอีกหนึ่งปีต่อมา สถานการณ์ด้านการสืบทอดตำแหน่งนั้นคลุมเครือ แต่อัลฟอนโซ โฟรอีลัซ พระโอรสของพระองค์ ก็ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ อย่างน้อยก็ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรของพระบิดา ซันโช ออร์ดอนเญซ, อัลฟอนโซ และรามีโร พระโอรสทั้งสามของพระเจ้าออร์ดอนโญที่ 2 อ้างตนเป็นทายาทโดยชอบธรรมและก่อกบฏต่อลูกพี่ลูกน้องของตน ทั้งสามผลักดันอัลฟอนโซ โฟรอีลัซไปทางชายแดนตะวันออกของอัสตูเรียสโดยมีฆีเมโน การ์เซสแห่งปัมโปลนาให้การสนับสนุน จากนั้นทั้งสามได้แบ่งอาณาจักรกัน อัลฟอนโซ ออร์ดอนเญสได้ราชบัลลังก์เลออน ส่วนซันโชผู้เป็นพระเชษฐาได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์ในกาลิเซีย |
1000826#2 | พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 4 แห่งเลออน | พระเจ้าอัลฟอนโซถอนตัวจากราชบัลลังก์ให้รามีโร พระอนุชา ในปี ค.ศ. 931 ไปอยู่ที่ศาสนสถาน หนึ่งปีต่อมาพระองค์จับอาวุธ ช่วยออร์ดอนโญและรามีโร พระโอรสของพระเจ้าฟรูเอลา ต่อกรกับรามีโร พระอนุชาของพระองค์เอง และกลับมาใช้ชีวิตในทางโลกอีกครั้ง พระองค์พ่ายแพ้ ถูกทำให้ตาบอด และถูกส่งกลับไปตายที่ซาฮากุน พระเจ้าอัลฟอนโซอภิเษกสมรสกับโอเนกา ซันเชซแห่งปัมโปลนา หลานอาของฆีเมโน การ์เซส พันธมิตรของพระองค์ และเป็นพระธิดาของพระเจ้าซันโชที่ 1 แห่งปัมโปลนากับตอดาแห่งนาวาร์ ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันสองคน คือ พระเจ้าออร์ดอนโญที่ 4 แห่งเลออนกับฟรูเอลา ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งเรื่องดินแดนในช่วงรัชสมัยของพระเจ้ารามีโรที่ 3 แห่งเลออน |
1000833#0 | โรงเรียนนาด้วงวิทยา | โรงเรียนนาด้วงวิทยา (อักษรย่อ : น.ด.ว.; อังกฤษ: Naduang Wittaya School) หรือเรียกอย่างย่อว่า นาด้วง เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในจังหวัดเลย เปิดการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษาประจำอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย อยู่ในสหวิทยาเขตหลักเมืองเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
1000833#1 | โรงเรียนนาด้วงวิทยา | โรงเรียนนาด้วงวิทยา ก่อตั้งวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 แรกเริ่มใช้ศาลาการเปรียญวัดเวียงล้อมเป็นที่ทำการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราว โดยเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 95 คน มีนายถนอม จันทนา ศึกษาธิการกิ่งอำเภอนาด้วง รักษาการครูใหญ่ ต่อมากรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายธวัชชัย ศรีภูมิสวัสดิ์ อาจารย์ 1 โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มาดำแรงตำแหน่งครูใหญ่มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ หลังจากก่อตั้งโรงเรียนได้ 1 ปี โรงเรียนได้รับบริจาคที่ดินเพื่อปรับสภาพที่ตั้งโรงเรียนจากชาวบ้านซึ่งเป็นที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ในปัจจุบัน เป็นเนื้อที่ทั้งหมด 78 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา |
1000833#2 | โรงเรียนนาด้วงวิทยา | ปัจจุบันโรงเรียนนาด้วงวิทยา นายประเสริฐ อินทรมณีพันธ์ เป็นผู้อำนวยการ โดยโรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนในระดับช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 มีอาคารเรียนทั้งหมด จำนวน 3 หลัง อาคารโรงฝึกงาน 2 หลัง อาคารหอประชุม 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง โรงเรียนนาด้วงวิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ประจำอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย |
1000833#3 | โรงเรียนนาด้วงวิทยา | โรงเรียนนาด้วงวิทยามีอาคารเรียน 3 หลัง อาคารปฏิบัติการ 2 หลัง อาคารชั่วคราว 1 หลัง หอประชุม 1 หลัง และสถานที่ต่างๆ ดังนี้ |
1000848#0 | จอห์นที่ 2 แครซิเมียร์ วาซา | พระเจ้าจอห์นที่ 2 แครซิเมียร์ วาซา (; ; ; 22 มีนาคม ค.ศ. 1609 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 1672) ทรงเป็น พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ และ แกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนีย จากราชวงศ์วาซา เป็นพระราชโอรสองค์รองของ พระเจ้าซิกมุนด์ที่ 3 วาซา นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์สวีเดนด้วย ทรงขึ้นสืบราชสมบัติต่อจาก พระเจ้าววาดือสวัฟที่ 4 วาซา พระเชฐษา รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่วุ่นวายที่สุดสมัยหนึ่งของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ทั้งเหตุการณ์ กบฎคอสแซค ภายใต้การนำของ โบห์ดัน คเมลนิทสกี ทำให้พระราชอำนาจของพระองค์สั่นคลอน ในขณะที่อิทธิพลของเหล่าชนชั้นสูงเพิ่มมากขึ้น ท้ายที่สุดแล้วพระองค์ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยข้างต้น รวมทั้งจากภาวะซึมเศร้าหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสี มารี ลูอีซ กอนซากา ในปั่นปลายพระชนม์ชีพทรงเข้าร่วมคณะเยสุอิต และได้เป็นอธิการวัดเซ็นต์-เจอร์เมน-เดส-เพรส |
1000848#1 | จอห์นที่ 2 แครซิเมียร์ วาซา | พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์โปแลนด์พระองค์ที่สามและพระองค์สุดท้ายจาก ราชวงศ์วาซา
พระองค์ทรงเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระราชินีโบน่า สฟอร์ซ่า พระองค์สุดท้าย |
1000856#0 | การทำแผนที่ | การทำแผนที่ ( จากภาษากรีก χάρτης "chartēs" แปลว่า "พาไพรัส, แผ่นกระดาษ หรือแผนที่"; และ γράφειν "graphein" แปลว่า "เขียน") คือการศึกษาและการปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างแผนที่ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ และเทคนิค การทำแผนที่อาศัยพื้นฐานของความจริงในการสร้างแบบจำลองด้วยการสื่อความหมายของข้อมูลเชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ |
1000856#1 | การทำแผนที่ | ปัญหาพื้นฐานของการทำแผนที่แบบดั้งเดิม ประกอบด้วย |
1000856#2 | การทำแผนที่ | การทำแผนที่สมัยใหม่ถือเป็นรากฐานทางทฤษฎีและการปฏิบัติจำนวนมากของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
1000875#0 | พระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอน | รามีโรที่ 1 () สิ้นพระชนม์ 8 มีนาคม ค.ศ. 1063 หรือ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1069 ครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอารากอนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1035 พระองค์เป็นบุตรชายนอกสมรสของพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งนาวาร์ ในช่วงที่พระบิดายังมีชีวิตอยู่ พระองค์บริหารปกครองอารากอนและได้รับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ตามพินัยกรรมของพระบิดา ในปี ค.ศ. 1045 พระองค์ผนวกดินแดนที่เป็นของกอนซาโล พระอนุชา หลังกอนซาโลสิ้นพระชนม์ ต่อมาพระเจ้ารามีโรพิชิตดินแดนส่วนหนึ่งมาจากชาวมัวร์และทำให้กษัตริย์ชาวมัวร์ของเฮวสกา, ซาราโกซา และเลริดายอมจ่ายบรรณาการให้พระองค์ |
1000875#1 | พระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอน | รามีโรเป็นบุตรชายนกสมรสของพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งปัมโปลนา (นาวาร์) กับซันชาแห่งอัยบาร์ ซึ่งเป็นภรรยาลับของกษัตริย์ ในช่วงรัชสมัยของพระบิดา พระองค์ได้เป็นสักขีพยานในกฎบัตรในปี ค.ศ. 1011 และได้รับพระราชทานที่ดินมากมายในเคานตีอารากอน และในการแบ่งราชอาณาจักรหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าซันโชที่ 3 ในปี ค.ศ. 1035 รามีโรได้เคานตีอารากอนโดยมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง ซึ่งเป็นส่วนย่อยในนาวาร์และประเทศของชาวบาสก์ที่ตกเป็นของการ์เซีย พระเชษฐาคนโตต่างมารดา เคานตีกัสตียาตกอยู่ในการครอบครองของเฟร์นันโด ขณะที่ซาบราร์เบและริบาโกร์ซาตกเป็นของกอนซาโล รามีโรได้ครองอารากอนภายใต้การปกครองของการ์เซีย |
1000875#2 | พระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอน | รามีโรหาทางขยายอาณาเขตด้วยการยึดดินแดนมาจากชาวมัวร์และการ์เซีย พระเชษฐาผู้เป็นกษัตริย์แห่งนาวาร์ หลังพระบิดาสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน พระองค์สนับสนุนเอมีร์แห่งตูเดลาให้รุกรานนาวาร์ แม้จะพ่ายแพ้ที่สมรภูมิตาฟายา แต่พระองค์ก็ได้ดินแดนมาเพิ่ม หนึ่งในนั้นคือซังเกวซา และสถาปนาตนเป็นรัฐกึ่งอิสระ ในปี ค.ศ. 1043 ทรงได้รับการอนุมัติจากพระเจ้าการ์เซียให้ผนวกซาบราร์เบและริบาโกร์ซาซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นของกอนซาโล พระอนุชาที่เป็นพระโอรสตามกฎหมายคนสุดท้องของพระบิดา การรวมตัวกันครั้งนี้ถือกำเนิดรัฐอิสระเทียมอารากอนที่มีเมืองหลวงอยู่ที่ฆากา ซึ่งต่อมาจะเติบโตเป็นราชอาณาจักรอารากอน |
1000875#3 | พระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอน | ก่อนอภิเษกสมรส พระเจ้ารามีโรมีภรรยาลับชื่อว่าอามูญญา ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน คือ ซันโช รามีเรซ ที่ได้รับความไว้วางใจให้บริหารปกครองเคานตีริบาโกร์ซา |
1000875#4 | พระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอน | พระเจ้ารามีโรสิ้นพระชนม์ในสมรภูมิเกราส์ในปี ค.ศ. 1063 ด้วยพระชนมายุ 55 – 56 พรรษา ขณะกำลังพยายามยึดเมือง ร่างของพระองค์ถูกฝังที่อารามซันฆวนเดลาเปญญาในซันตากรูซเดลาเซโรส |
1000875#5 | พระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอน | พระมเหสีคนแรกของพระเจ้ารามีโร คือ จิสแบร์กา บุตรสาวของแบร์นาด์แห่งบิกอร์เร อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1036 หลังแต่งงานกับพระองค์ จิสแบร์กาเปลี่ยนชื่อเป็นเอร์เมซินดา ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันห้าคน คือพระมเหสีคนที่สองของพระเจ้ารามีโร คือ แอนเญ็ส (อิเนส) ซึ่งอาจะเป็นบุตรสาวของดยุคแห่งอากีแตน เท่าที่รู้ทั้งคู่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน |
1000875#6 | พระเจ้ารามีโรที่ 1 แห่งอารากอน | ก่อนอภิเษกสมรส พระองค์มีบุตรชายนอกสมรสหนึ่งคนกับอามูญญาซึ่งเป็นภรรยาลับ คือ |
1000876#0 | พระเจ้าจอหน์แห่งโปแลนด์ (แก้ความกำกวม) | พระเจ้าจอหน์แห่งโปแลนด์ อาจหมายถึง |
1000881#0 | ภูมิศาสตร์สุขภาพ | ภูมิศาสตร์สุขภาพ () คือการประยุกต์ใช้สารสนเทศ มุมมอง และวิธีการทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ โรค และการดูแลสุขภาพ |
1000881#1 | ภูมิศาสตร์สุขภาพ | การศึกษาภูมิศาสตร์สุขภาพได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงในภูมิศาสตร์การแพทย์ซึ่งเป็นสาขาของภูมิศาสตร์สังคม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของแบบจำลองทางสังคมในการดูแลสุขภาพมากกว่าแบบจำลองทางการแพทย์ ทำให้เกิดนิยามใหม่ของสุขภาพและการดูแลสุขภาพแยกจากการป้องกันและรักษาความเจ็บป่วยอันเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นอยู่โดยทั่วไป ภายใต้แบบจำลองนี้การเจ็บป่วยก่อนหน้านี้บางส่วน (เช่น การเสียสุขภาพจิต) ได้รับการยอมรับว่าเป็นเพียงภาวะผิดปกติทางพฤติกรรมเท่านั้น และการแพทย์ประเภทอื่น ๆ (เช่น การแพทย์ทางเลือกหรือการแพทย์แผนโบราณ) ได้รับการศึกษาโดยนักวิจัยทางการแพทย์ ในบางครั้งเป็นการสงเคราะห์โดยนักภูมิศาสตร์สุขภาพซึ่งไม่เคยได้รับการศึกษาทางการแพทย์ การเปลี่ยนแปลงนิยามของการดูแลนี้ทำให้ไม่ต้องมีการจำกัดทางพื้นที่อีกต่อไป เช่น โรงพยาบาลหรือสำนักงานแพทย์ นอกจากนี้แบบจำลองทางสังคมให้ความสำคัญกับการเข้าถึงอย่างใกล้ชิดในการดำเนินการโดยไม่ใช้พื้นที่ทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับปัจเจกบุคคลที่เป็นผู้บริโภคด้านสุขภาพ |
1000881#2 | ภูมิศาสตร์สุขภาพ | การเข้าถึงระเบียบวิธีการทางเลือกนี้จึงเป็นภูมิศาสตร์การแพทย์ที่ขยายขอบเขตรวมกับแนวคิดปรัชญาอื่น ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์การเมืองแบบมากซ์ โครงสร้างนิยม ปฏิสัมพันธ์นิยมเชิงสังคม มนุษยนิยม คตินิยมสิทธิสตรี และทฤษฎีเพศวิภาษ |
1000896#0 | ตะโก้น | ตะโก้น สามารถหมายถึงสถานที่หลายแห่งในประเทศพม่า เช่น |
1000951#0 | สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด | สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ก่อตั้งสโมสรในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งอดีตสโมสรเคยใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอล บียู เดฟโฟ และ สโมสรฟุตบอลเดฟโฟ ตามลำดับ ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก 4 และใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา เป็นสนามเหย้า |
1000951#1 | สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด | สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลบียู เดฟโฟ โดยเป็นทีมฟุตบอลที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ บริษัท เดฟโฟ สปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเสื้อผ้ากีฬาชั้นนำ โดยมีนายพีระพันธ์ เครือคงคา เป็นประธานสโมสร และใช้ผู้เล่นจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นหลัก โดยเริ่มส่งทีมลงแข่งขันครั้งแรกใน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2558 กลุ่มกรุงเทพมหานครและภาคกลาง |
1000951#2 | สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด | สโมสรลงแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ใน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 กลุ่มกรุงเทพมหานครและภาคกลาง โดยบุกไปเสมอ สโมสรฟุตบอลปลวกแดง ระยอง ยูไนเต็ด 1–1 ที่สนามพัฒนาสปอร์ตคลับ ก่อนที่จะพบกับชัยชนะในลีกเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ในนัดที่บุกไปชนะ ทหารบก เอฟซี ถึง สนามกีฬากองทัพบก 1–0 โดยการแข่งขันฤดูกาลแรกของสโมสรจบด้วยอันดับที่ 12 ในกลุ่มกรุงเทพมหานครและภาคกลาง |
1000951#3 | สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด | ปัจจุบันสโมสรใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นสนามเหย้า โดยเป็นสนามกีฬาที่มีมาตรฐานอยู่ในการกำกับดูแลของกรมพลศึกษา |
1000951#4 | สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด | "ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561" |
1000951#5 | สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด | "ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561" |
1000951#6 | สโมสรฟุตบอลรังสิต ยูไนเต็ด | "ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน"
"ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561"
รายนามผู้ผลิตชุดแข่ง และผู้สนับสนุนหลัก ฤดูกาล 2558 ถึงปัจจุบัน |
1000984#0 | คำสั่งว่าด้วยลิขสิทธิ์ในตลาดเดียวดิจิทัล | คำสั่งว่าด้วยลิขสิทธิ์ในตลาดเดียวดิจิทัล () 2016/0280(COD) หรือเรียก คำสั่งลิขสิทธิ์อียู เป็นคำสั่งสหภาพยุโรป (อียู) ที่มีการเสนอโดยเจตนาเพื่อรับประกัน "ตลาดที่มีการทำหน้าที่อย่างดีสำหรับการแสวงหาประโยชน์ของงานและเนื้อหาสาระอื่น... โดยคำนึงถึงการใช้โดยเฉพาะดิจิทัลและเนื้อหาที่ได้รับการคุ้มครองข้ามพรมแดน" คำสั่งฯ ขยายกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหภาพยุโรปที่มีอยู่เดิม และเป็นส่วนประกอบของโครงการตลาดเดียวดิจิทัลของอียู คณะกรรมาธิการรัฐสภายุโรปว่าด้วยกิจการกฎหมายริเริ่มคำสั่งฯ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2561 รัฐสภายุโรปอนุมัติคำสั่งฯ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 และปัจจุบันกำลังผ่านการอภิปรายไตรภาคี (Trilogue) อย่างเป็นทางการซึ่งคาดว่าจะยุติในเดือนมกราคม 2562 หากได้รับการประมวล ประเทศสมาชิกอียูจะต้องตรากฎหมายเพื่อรองรับคำสั่งนี้ |
1000984#1 | คำสั่งว่าด้วยลิขสิทธิ์ในตลาดเดียวดิจิทัล | ที่ประชุมยุโรปอธิบายเป้าหมายหลักของที่ประชุมฯ ว่าเป็นไปเพื่อคุ้มครองสิ่งพิมพ์เผยแพร่สื่อ ลด "ช่องว่างมูลค่า" ระหว่างกำไรที่แพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตและผู้ผลิตเนื้อหาได้ ส่งเสริม "ความร่วมมือ" ระหว่างสองกลุ่มดังกล่าว และสร้างข้อยกเว้นด้านลิขสิทธิ์สำหรับการทำเหมืองข้อความและข้อมูล ข้อเสนอจำเพาะของคำสั่งฯ รวมถึงการให้ลิขสิทธิ์โดยตรงแก่ผู้พิมพ์เผยแพร่สื่อในการใช้สิ่งพิมพ์เผยแพร่ของตนโดยแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตอย่างผู้เผยแพร่ข่าวออนไลน์ (ข้อ 11) และกำหนดให้เว็บไซต์ซึ่งให้มีเนื้อหาที่ผู้ใช้โพสต์เป็นหลักออกมาตรการ "ยังผลและได้สัดส่วน" เพื่อป้องกันการโพสต์ที่ไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเนื้อหามีลิขสิทธิ์หรือต้องรับผิดสำหรับการกระทำของผู้ใช้ (ข้อ 13) |
1000984#2 | คำสั่งว่าด้วยลิขสิทธิ์ในตลาดเดียวดิจิทัล | ข้อ 11 และ 13 ดึงดูดการวิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งจากในทวีปยุโรปและอเมริกา ข้อ 11 ถูกวิจารณ์ว่าเป็น "ภาษีลิงก์" ซึ่งกำหนดให้เว็บไซต์ "ได้ใบอนุญาตก่อนลิงก์ไปยังนิยายข่าว" และข้อ 13 เป็น "การห้ามมีม" บนพื้นฐานที่ว่าเทคโนโลยีการจับคู่เนื้อหาที่ใช้เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดของคำสั่งฯ ไม่สามารถระบุวิธีโดยชอบอย่างวรรณกรรมล้อ (parody) ได้ ผู้สนับสนุนคำสั่งฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสื่อและผู้พิมพ์เผยแพร่ ปฏฺเสธการให้เหตุผลเหล่านี้และอ้างว่าการเผยแพร่สารสนเทศเท็จและการรณรงค์ทำหญ้าเทียม (astroturfing) ที่แพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่อย่างกูเกิลดำเนินการอยู่ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ข้างกูเกิลเริ่มการรณรงค์อย่างเปิดเผยต่อต้านข้อเสนอนี้ โดยขู่ปิดยูทูปในอียูหากไม่ได้รับการประนีประนอม |
1001003#0 | มายทีน | MYTEEN (ภาษาเกาหลี:마이틴) ย่อมาจาก Make Your Teenager เป็นกลุ่มบอยแบนด์ประเทศเกาหลีใต้ที่ก่อตั้งโดยบริษัท The Music Works ในปี 2016 และเปิดตัวครั้งแรกในปี 2017 ด้วยรายการเรียลลิตี้ MYTEEN GO! กลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 7 คน ได้แก่ แทบิน ชอนจิน อึนซู ชีฮอน จุนซอบ ยูบิน ฮันซึล |
1001003#1 | มายทีน | ยูบินเข้าแข่งขันในรายการประกวดร้องเพลง Superstar K6 ในปี 2014 จบรายการด้วยอันดับ TOP4 ต่อมาเขาได้เซ็นสัญญากับ The Music Works และเปิดตัวในฐานะศิลปินเดี่ยวพร้อมปล่อยซิงเกิ้ล "To To Bone It You" กับ มินฮยอก BTOB ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2016 หลังจากนั้น 1 เดือน ยูบิน เข้าร่วมกลุ่มกับสมาชิกอีก 6 คนในปี 2017 เปิดตัวด้วยชื่อ MYTEEN โดยนำคำว่า "MY" และ "TEENAGER" มาประกอบกัน สมาชิกที่เหลืออีก 6 คนคือ แทบิน, ชอนจิน, อึนซู, ชีฮอน, จุนซอบ, ฮันซึล |
1001003#2 | มายทีน | ในเดือนมกราคม 2017 พวกเขาจัด fanmeeting ที่ฮ่องกงและมีรายการเรียลลิตี้ครั้งแรกของพวกเขาTrainee Escape - Myteen Go! (ภาษาเกาหลี: 연습생탈출프로젝트-마이틴GO!) ออกอากาศทางช่อง MBC Music |
1001003#3 | มายทีน | เดบิต์ครั้งแรกในวันที่ 26 กรกฎาคม ด้วยอัลบั้มแรก มีชื่อว่า MYTEEN GO! เพลง title ของพวกเขาคือ "Amazing" จัดแสดงที่ Ilchi Art Hall ในวันเดียวกันกับที่ปล่อยอัลบั้ม |
1001003#4 | มายทีน | ในเดือนตุลาคม 2017 สมาชิก4 คน (ชอนจิน, อึนซู, ชีฮอน และ จุนซอบ) เข้าร่วมรายการ MIXNINE ซึ่งมีสมาชิกเพียงสามคนเท่านั้น (ชอนจิน, ชีฮอน และ จุนซอบ) ผ่านการคัดเลือกและเข้าสู่ Top 170. ชอนจิน และ จุนซอบ ตกรอบในตอนที่ 7 และ 10 ตามลำดับในขณะที่ จีฮอน ผ่านเข้ารอบสุดท้าย แต่ไม่ได้เดบิวต์กับทางรายการ |
1001003#5 | มายทีน | MYTEEN ปล่อยอัลบั้ม FUZZLEในวันที่ 10 กรกฎาคม 2018 โดยมีทั้งหมด7เพลง รวมถึง title "She Bad" พวกเขายังจัดแสดงคัมแบ็กที่ Ilchi Art Hall ในวันเดียวกันกับที่ปล่อยอัลบั้ม |
1001003#6 | มายทีน | MYTEEN เดบิวต์ที่ญี่ปุ่นด้วยซิงเกิลอัลบั้มแรกของพวกเขาในญี่ปุ่น 'SHE BAD (เวอร์ชันญี่ปุ่น)' ในวันที่ 24 ตุลาคม 2018 |
1001073#0 | แขวงศิริราช | แขวงศิริราช เป็นแขวงหนึ่งใน 180 แขวงของกรุงเทพมหานคร โดยเป็น 1 ใน 5 แขวงในเขตบางกอกน้อย จัดเป็นแขวงที่มีพื้นที่น้อยที่สุด คือ 1.258 ตร.กม. และมีจำนวนประชากร 17,022 คน (ธันวาคม พ.ศ. 2560) มีเนื้อที่ตั้งแต่บริเวณรอบ ๆ โรงพยาบาลศิริราชครอบคลุมไปจนถึงฝั่งซ้ายของถนนวังหลังตั้งแต่บริเวณคลองบ้านขมิ้น และสองฝั่งถนนอรุณอมรินทร์ไปจนถึงสะพานอรุณอมรินทร์ที่ข้ามคลองบางกอกน้อย ซึ่งเป็นเขตติดติดกับแขวงอรุณอมรินทร์ ในเขตบางกอกน้อย และอีกฝั่งของถนนผ่านแยกบ้านขมิ้นไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานข้ามคลองมอญอันเป็นเขตติดต่อกับแขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ |
1001087#0 | ฟาร์มโทมิตะ | ฟาร์มโทมิตะ () เป็นฟาร์มในเมืองนากะฟูราโนะ จังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครซัปโปโระไปราว 120 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ราว 2 ชั่วโมง ฟาร์มเปิดให้เข้าชมระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายน ช่วงเหมาะสมไปเยือนที่สุดคือเดือนกรกฎาคม การเข้าชมฟาร์มไม่มีค่าใช้จ่าย |
1001087#1 | ฟาร์มโทมิตะ | ฟาร์มโทมิตะก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1903 โดยนายโทกูมะ โทมิตะ เกษตรกรจากจังหวัดฟูกูอิ ก่อนที่ในปี 1958 จะได้เริ่มมีการปลูกต้นลาเวนเดอร์เพื่อใช้ทำน้ำมันหอมระเหย พื้นที่แปลงลาเวนเดอร์เคยกว้างที่สุดถึง 1,400 ไร่ในปี 1970 ก่อนที่จะลดขนาดลงมา ต่อมาในปี 1976 ทุ่งลาเวนเดอร์ของฟาร์มโทมิตะถูกนำไปใช้เป็นภาพบนปฏิทินของกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น (JR) ทำให้เกิดกระแสนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาเยี่ยมชมจากทั่วญี่ปุ่น ตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มมีการพัฒนาฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการปลูกดอกไม้ สร้างเรือนกระจก สร้างพิพิธภัณฑ์ตามมา |
1001087#2 | ฟาร์มโทมิตะ | ในปัจจุบัน ฟาร์มโทมิตะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้กว่าหนึ่งล้านคนต่อปี และกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวในจังหวัดฮกไกโด |
1001108#0 | ราชอาณาจักรอัสตูเรียส | ราชอาณาจักรอัสตูเรียส ()เป็นราชอาณาจักรในคาบสมุทรไอบีเรียที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 718 โดยเปลาโย ผู้นำชาวอัสตูเรียส และเป็นกลุ่มทางการเมืองกลุ่มแรกของชาวคริสต์ที่สถาปนาขึ้นหลังชาวอุมัยยะฮ์พิชิตอีสปาเนียของชาววิซิกอธในปี ค.ศ. 718 หรือ 722 เปลาโยได้ปราบกองทัพอุมัยยะฮ์ที่สมรภูมิโกบาดองกาซึ่งถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเรกองกีสตา ราชอาณาจักรอัสตูเรียสได้เปลี่ยนเป็นราชอาณาจักรเลออนในปี ค.ศ. 924 เมื่อพระเจ้าฟรูเอลาที่ 2 แห่งอัสตูเรียสขึ้นเป็นกษัตริย์โดยมีพระราชสำนักอยู่ในเลออน |