Normalization และ pre-tokenization
ก่อนที่เราจะเจาะลึกเกี่ยวกับอัลกอริทึม 3 แบบ ของ subword tokenization ที่ใช้กับโมเดล Transformer (Byte-Pair Encoding [BPE], WordPiece, และ Unigram) อันดับแรก เราจะมาเรียนเกี่ยวกับขั้นตอน preprocessing ที่ tokenizer ใช้เพื่อจัดแต่งข้อความก่อนการ tokenize หลักกันก่อน
บทนี้จะเป็นภาพรวมระดับสูงของขั้นตอนต่างๆในไปป์ไลน์ tokenization:
ก่อนแยกข้อความออกเป็น subtokens ตัว tokenizer จะดำเนินการสองขั้นตอน คือ normalization และ pre-tokenization
Normalization
ขั้นตอน normalization เกี่ยวข้องกับทำความสะอาดข้อมูลทั่วไป เช่น การลบช่องว่างที่ไม่จำเป็นแปลงข้อความเป็นตัวพิมพ์เล็ก และ/หรือ การลบเครื่องหมายเน้นเสียงออก (accents) หากคุณคุ้นเคยกับ Unicode normalization (เช่น NFC หรือ NFKC) นี่ก็เป็นสิ่งที่ tokenizer อาจใช้เช่นกัน
🤗 Transformers tokenizer
มี attribute ที่เรียกว่า backend_tokenizer
ที่เราสามารถเรียกใช้ได้ เพื่อเข้าถึง tokenizer พื้นฐานของ 🤗 Tokenizers library:
from transformers import AutoTokenizer
tokenizer = AutoTokenizer.from_pretrained("bert-base-uncased")
print(type(tokenizer.backend_tokenizer))
<class 'tokenizers.Tokenizer'>
attribute ชื่อ normalizer
ของ tokenizer
object มี method ชื่อ normalize_str()
ที่เราสามารถใช้เพื่อดูผลลัพธ์ของการ normalization ได้:
print(tokenizer.backend_tokenizer.normalizer.normalize_str("Héllò hôw are ü?"))
'hello how are u?'
ในตัวอย่างนี้ เนื่องจากเราเลือกใช้ checkpoint bert-base-uncased
การ normalization จึงแปลงข้อความเป็นตัวพิมพ์เล็กและลบเครื่องหมายเน้นเสียงออก
✏️ ลองดูสิ! โหลด tokenizer จาก checkpoint bert-base-cased
และใช้มันกับ input เดียวกันกับข้างบนนี้ แล้วดูว่าผลลัพธ์ต่างกันอย่างไร ระหว่าง tokenizer เวอร์ชัน cased และ uncased
Pre-tokenization
ในหัวข้อถัดไปคุณจะได้เรียนรู้ว่า เราไม่สามารถเทรน tokenizer จาก raw text โดยตรงได้ ก่อนอื่นเราจะต้องแยกข้อความเป็น entity เล็กๆ เช่นแยกออกเป็น คำ ขั้นตอนพวกนี้คือการ pre-tokenization ดังที่คุณเห็นในบทที่ 2 tokenizer แบบ word-based จะแบ่งข้อความเป็นคำ โดยการแบ่งตรงช่องว่าง และ เครื่องหมายวรรคตอน คำที่ได้จะถูกนำมาใช้เป็นขอบเขตของ subtokens ที่ tokenizer เอาไว้ใช้ในการเทรน
สำหรับ fast tokenizer ถ้าหากเราอยากจะดูว่ามันทำอะไรบ้างในขั้นตอน pre-tokenization เราจะใช้ method ชื่อ pre_tokenize_str()
ของ attribute ชื่อ pre_tokenizer
จาก tokenizer
object:
tokenizer.backend_tokenizer.pre_tokenizer.pre_tokenize_str("Hello, how are you?")
[('Hello', (0, 5)), (',', (5, 6)), ('how', (7, 10)), ('are', (11, 14)), ('you', (16, 19)), ('?', (19, 20))]
คุณจะเห็นว่าตัว tokenizer มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ offsets ด้วย ซึ่งทำให้มันสามารถสร้าง offsets mapping ให้เราได้อย่างที่เห็นในบทที่แล้ว สำหรับข้อความ input ในตัวอย่างนี้ ช่องว่างสองช่อง(หลังคำว่า are) ถูกแทนที่ด้วยหนึ่งช่องว่างเท่านั้น แต่เราจะเห็นว่าค่า offsets ยังนับช่องว่างพวกนี้อยู่ สังเกตค่า offsets ตรง are
และ you
เนื่องจากเราใช้ BERT tokenizer ขั้นตอน pre-tokenization คือการตัดข้อความตรงช่องว่างและเครื่องหมายวรรคตอนเท่านั้น ส่วน tokenizer อื่นๆ อาจจะมีการหลักการตัดคำแบบอื่นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใช้ tokenizer ของ GPT-2:
tokenizer = AutoTokenizer.from_pretrained("gpt2")
tokenizer.backend_tokenizer.pre_tokenizer.pre_tokenize_str("Hello, how are you?")
มันจะแบ่งข้อความตรงช่องว่างและเครื่องหมายวรรคตอนเช่นเดียวกัน แต่มันจะยังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับช่องว่างไว้และใช้เครื่องหมาย Ġ
เพื่อแทนช่องว่างพวกนี้ การทำแบบนี้ทำให้เราสามารถกู้คืนช่องว่างพวกนี้ได้ตอนที่เรา decode token เหล่านี้
[('Hello', (0, 5)), (',', (5, 6)), ('Ġhow', (6, 10)), ('Ġare', (10, 14)), ('Ġ', (14, 15)), ('Ġyou', (15, 19)),
('?', (19, 20))]
สังเกตว่า ช่องว่างสองช่องจะไม่ถูกรวมเป็นหนึ่งช่องแบบใน BERT tokenizer
ในตัวอย่างสุดท้ายนี้ เราจะมาดู T5 tokenizer กัน ซึ่งใช้อัลกอริทึมที่ชื่อ SentencePiece :
tokenizer = AutoTokenizer.from_pretrained("t5-small")
tokenizer.backend_tokenizer.pre_tokenizer.pre_tokenize_str("Hello, how are you?")
[('▁Hello,', (0, 6)), ('▁how', (7, 10)), ('▁are', (11, 14)), ('▁you?', (16, 20))]
คล้ายกับใน GPT-2 tokenizer T5 tokenizer จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับช่องว่าง และแทนที่พวกมันด้วยเครื่องหมายพิเศษ (_
) แต่มันจะแบ่งตรงช่องว่างเท่านั้น และจะไม่แบ่งตรงเครื่องหมายวรรคตอน
สังเกตว่า มันจะเพิ่มช่องว่างตรงต้นประโยคด้วย (ก่อนคำว่า Hello
) และมันจะไม่นับช่องว่างสองช่องที่อยู่ระหว่าง are
และ you
คุณได้เห็นแล้วว่า tokenizers ต่างๆ ประมวลผลข้อความอย่างไร ตอนนี้เราจะมาดูอัลกอริทึมต่างๆกัน เริ่มที่ SentencePiece ซึ่งเป็นอัลกอริทึมที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง จากนั้นในอีกสามหัวข้อต่อไป เราจะมาดูเกี่ยวกับอัลกอริทึม 3 แบบ ของ subword tokenization
SentencePiece
SentencePiece คืออัลกอริทึมสำหรับการ preprocessing ข้อความ เพื่อนำข้อความพวกนี้ไปใช้ในโมเดลต่างๆที่คุณจะได้เรียนในอีกสามบทถัดจากนี้ จะมันมองข้อความเป็นอักขระ Unicode และแทนที่ช่องว่างด้วยสัญลักษณ์พิเศษ ▁
ถ้าใช้งานร่วมกับ Unigram algorithm (ดูบทที่ 7) มันจะไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอน pre-tokenization เลยด้วย ซึ่งมีประโยชน์สำหรับภาษาที่ไม่ได้ใช้ช่องว่างในการแบ่งคำเช่น ภาษาจีนหรือญี่ปุ่น
ความสามารถหลักอีกอย่างของ SentencePiece คือ reversible tokenization (การตัดคำที่แปลงกลับได้): เนื่องจากมันไม่ได้ treat พวกช่องว่างแบบพิเศษ เวลา decode ประโยคที่ตัดแล้วกลับคืน เราสามารถเชื่อม (concatenate)แต่ละ token ได้เลยและ และแทนที่ _
ด้วยช่องว่าง ผลลัพธ์ก็คือ ข้อความที่ ถูก normalized
อย่างที่คุณได้เห็นก่อนหน้านี้ BERT tokenizer จะลบช่องว่างที่ต่อกันออก ทำให้ตอนรวม token กลับ เราจะไม่ได้ข้อความแบบเดิม
ภาพรวมของแต่ละอัลกอริทึม
ในบทถัดไป เราจะมาเรียนรู้อย่างละเอียด เกี่ยวกับอัลกอริทึมสามแบบ สำหรับ subword tokenization ได้แก่ BPE (ใช้กับ GPT-2 และ โมเดลอื่นๆ), WordPiece (ใช้กับ BERT), และ Unigram (ใช้กับ T5 และโมเดลอื่นๆ) ก่อนที่จะไปเริ่มกัน เรามาดูภาพรวมของแต่ละอัลกอริทึมกันก่อน คุณสามารถกลับมาดูตารางนี้ใหม่ได้หลังจากที่อ่านบทถัดไปแล้ว เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้น
โมเดล | BPE | WordPiece | Unigram |
---|---|---|---|
การเทรน | เริ่มจาก vocabulary ขนาดเล็ก และเรียนกฎในการรวม token เข้าด้วยกัน | เริ่มจาก vocabulary ขนาดเล็ก และเรียนกฎในการรวม token เข้าด้วยกัน | เริ่มจาก vocabulary ขนาดใหญ่ เรียนกฎเพื่อลบ token ออกจาก vocabulary |
ขั้นตอนการเทรน | รวม token ถ้ามันเป็นคู่ที่พบบ่อย | รวม token ถ้ามันเป็นคู่ที่มี score ที่ดีที่สุด โดย score คำนวณจากความถี่ของคู่ token นั้น และให้คะแนนสูงถ้าแต่ละ token มีความถี่ต่ำ | ลบ token ออกจาก vocabulary เพื่อทำให้ค่า loss ลดลง โดยที่ค่า loss คำนวณจาก training corpus |
สิ่งที่เรียน | กฎในการรวม token (merge rules) และ vocabulary | เรียนแค่ vocabulary | เรียน vocabulary และ score ของแต่ละ token |
Encoding | แยกคำออกเป็นตัวอักษร และทำการรวมโดยใช้กฎที่เรียนระหว่างการเทรน | หาคำย่อยที่ยาวที่สุดที่อยู่ใน vocabulary เริ่มจากต้นคำและทำต่อไปเรื่อยๆจนหมดคำ | หาการแบ่งคำที่เหมาะสมที่สุดโดยใช้ score ที่เรียนระหว่างการเทรน |
ในบทต่อไปเรามาเรียนเกี่ยวกับ BPE อย่างละเอียดกัน!